ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…หลวงปู่สอน อนุสาสโก ทายาทธรรมองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต ทายาทธรรมองค์หลวงปู่หลุย จันทสาโร พระอริยสงฆ์แห่งเมืองเลย โดยองค์หลวงปู่สำลี สุทธจิตโต ท่านได้นำพระสงฆ์และฆราวาส มากราบขอขมาแด่องค์หลวงปู่สอน อนุสาสโก ซึ่งเป็นวัตรปฏิบัติของพระกรรมฐานสายพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ได้ยึดแบบแนวทางปฏิปทากันเรื่อยมาจนถึงปุจจุบัน…”

    เกร็ดข้อมูลเพิ่มเติม

    มีธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์อย่างหนึ่งในเทศกาลเข้าพรรษา ที่พระสงฆ์จะไปถวายสักการะขอขมาแด่พระสังฆเถระ ซึ่งอาจจะล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจต่อพระเถระในรอบปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นได้ทุกเวลาหากมีความประมาท ก่อนอธิษฐานเข้าพรรษาจึงธรรมเนียมปฏิบัติคือการขอขมาต่อพระรัตนตรัย จากนั้นขอขมาต่อพระเถระในอารามที่พระสงฆ์จะอยู่จำพรรษา หลังเข้าพรรษาก็จะนิยมไปถวายสักการะและขอขมาต่อพระเถระตามวัดต่างๆ ขอให้ท่านอดโทษ ยกโทษให้ หลังวันเข้าพรรษาตามอารามต่างที่มีพระเถระผู้มีตำแหน่งในการผู้ปกครองคณะสงฆ์จึงมีพระภิกษุจากวัดต่างๆเดินทางมาถวายสักการะและขอขมาต่อพระสังฆเถระ ณ อารามทั้งหลาย

    คำขอขมานิยมกล่าวเป็นภาษาบาลีว่า “เถเร ปมาเทน ทวารตฺตเยน กตํ สพฺพํ อปราธํ ขมตุ โน ภนฺเต” แปลว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระเถระจงอดโทษซึ่งความผิดทั้งปวงที่พวกข้าเจ้าได้กระทำล่วงเกินด้วยความประมาทในพระเถระ ด้วยไตรทวาร” พระเถระก็จะบอกว่า “อหํ ขมามิ ตุมฺเหหิปิ เม ขมิตพฺพํ “ ข้าพเจ้ายกโทษให้ และขอให้พวกท่านพึงยกโทษให้แก่ข้าพเจ้าด้วย”

    ในท้ายที่สุดพระเถระก็จะให้พรในทำนองว่าสิ่งที่ทำผิดมาแล้วก็ขอให้แล้วไป ให้กลับตัวกลับใจเสียใหม่เริ่มต้นกันใหม่ ภาษิตที่นิยมนำมาแสดงมาจากอังคุลิมาลสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (13/534/396) ความว่า “ครั้งหนึ่งพระพระองคุลิมาลไปในที่ลับเร้นอยู่ เสวยวิมุติสุข ได้เปล่งอุทานในเวลานั้นว่า

    “โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ

    โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภามุตฺโตว จนฺทิมา

    ยสฺส ปาปํ กตํ กมฺมํ กุสเลน ปหียติ

    โสมํ โลกํ ปภาเสติ อพฺภามุตฺโตว จนฺทิมา ฯ
    แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “ ก็ผู้ใด เมื่อก่อนประมาท ภายหลังผู้นั้นไม่ประมาท เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดังพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆฉะนั้น ผู้ใดทำกรรมอันเป็นบาปแล้ว ย่อมปิดเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ”
    พระองคุลิมาลคืออดีตมหาโจรที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มีคำบรรยายในพระสูตรว่า “โจรองคุลิมาลเป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในกาฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เขาเข่นฆ่ามนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้”
    พระพุทธเจ้าเสด็จเดินผ่านทางที่องคุลิมาลอาศัยอยู่ องคุลิมาลก็ถือดาบผูกสอดแล่งธนูเดินตามหลังพระพุทธเจ้าไปด้วยเจตนาจะปล้นและฆ่า แต่เดินอย่างไรก็ไม่ทัน แม้จะวิ่งก็ยังตามไม่ทัน เพราะพระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธาภิสังขารที่แม้องคุลิมาลจะวิ่งเต็มกำลังก็ไม่อาจจะตามทันพระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปตามปรกติได้ องคุลิมาลวิ่งจนเหนื่อยจึงกล่าวขึ้นว่า “จงหยุดก่อนสมณะ จงหยุดก่อนสมณะ” พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านเล่าจงหยุดเถิด”

    คำว่า “หยุด” ในอังคุลิมาลสูตร(๑๓/๕๒๕/๓๙๑) พระพุทธเจ้าอธิบายไว้ว่า “ดูกร องคุลิมาล เราวางอาชญาในสัตว์ได้แล้ว จึงชื่อว่าหยุดแล้วในกาลทุกเมื่อ ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเราจึงหยุดแล้ว ท่านยังไม่หยุด”

    ภายหลังองคุลิมาลได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาจนบรรลุพระอรหัตเป็นพระอรหันต์ จึงนิยมเรียกกันว่าโจรกลับใจ จากผู้ร้ายกลายเป็นพระอรหันต์ในการถวายสักการะขอมาพระสังฆเถระจึงนิยมนำคำอุทานที่พระองคุลิมาลแสดงไว้มาเป็นอุทาหรณ์ว่าแม้ผู้ที่ได้ชื่อว่าทำผิดมามาก แต่ภายหลังก็สามารถกลับตัวเป็นคนดีได้….”

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -อนุสาสโก-ทาย.jpg
    -อนุสาสโก-ทาย.jpg
    -อนุสาสโก-ทาย.jpg
    -อนุสาสโก-ทาย.jpg
    -อนุสาสโก-ทาย.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…เทียนพรรษา…”

    “…ในช่วง วันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นอีกวันที่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จะถือโอกาสเข้าวัดทำบุญ ฟังเทศน์ แต่อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เรามักจะเห็นพร้อมๆ กันกิจกรรมการทำบุญคือ “ถวายเทียนพรรษา”

    ในอดีตมีเรื่องเล่าว่าในระหว่างวันเข้าพรรษา พระภิกษุสงฆ์จะไม่สามารถไปจำวัดที่อื่นได้ และประกอบกับว่าในช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝน วัดในต่างจังหวัดไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องอาศัยแสงสว่างจากเทียน ญาติโยม จึงมีการถวายเทียนในวันเข้าพรรษา เป็นที่มาของการ “แห่เทียนเข้าพรรษา”

    โดยการทำบุญด้วยการถวายเทียนแบบนี้มีอานิสงส์ผลบุญที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้การทำบุญด้วยวิธีอื่นๆ แต่จะได้อานิสงส์อย่างไรบ้าง เรามีข้อมูลมาให้ได้รู้กัน

    นักปราชญ์แต่โบราณเล่าถึงเรื่องราว อานิสงส์การถวายเทียนหรือหลอดไฟในวันเข้าพรรษาว่า “การถวายเทียนเข้าพรรษา หรือว่า ถวายกระแสไฟในพระพุทธ-ศาสนา เหมือนกัน อย่างนี้ถ้าเกิดเป็นเทวดาจะมีรัศมีกายสว่างมาก
    ถ้าบรรลุมรรคผล จะเป็นบุคคลผู้เลิศใน ทิพจักขุญาณ อย่างพระอนุรุทธ”

    ท่านได้ถวายเทียนเข้าพรรษาตลอดมา ถวายพระประทีปโคมไฟวัดไหนมืดชอบถวายตะเกียงบ้างน้ำมันบ้างให้มีแสงสว่างต่อมาในชาติสุดท้าย เมื่อเป็น พระอรหันต์วิชชาสาม ท่านสามารถมี ทิพจักขุญาณสว่างกว่าพระอรหันต์ทั้งหมด แม้แต่ พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณก็ยังสู้ไม่ได้

    อีกประการหนึ่งถ้าท่านทั้งหลายไปเกิดเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหม ก็จะมีรัศมีกายสว่างมาก เพราะเทวดา นางฟ้า และพรหมเขาถือรัศมีกายเป็นสำคัญเขาไม่ถือเครื่องแต่งกายเป็นสำคัญ องค์ไหนถ้ารัศมีกายสว่างมากองค์นั้นมีบุญมาก เมื่อมีจิตใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชาเช่นนี้ พระชินศรีตรัสว่าเป็นมงคลอันสูงสุด

    ดังพระบาลีว่า “ปูชาปูชะนียานัง เอตัมมังคลมุตตมัง” การบูชาบุคคลผู้ควรบูชาเป็นมงคลอันสูงสุด อนึ่งชื่อว่าได้ขวนขวายในกิจ อันปราศจากโทษความเดือนร้อนในภายหลังมิได้ ย่อมได้รับผลพิเศษทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

    การถวายเทียนพรรษานี้เป็นโบราณประเพณีที่ทำสืบๆ มาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุทั้งปวงต้องจำพรรษาในอาวาสของตน ๓ เดือน พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงได้จัดทำให้เป็นกุศลพิธีขึ้น เมื่อได้นำเทียนไปถวายพระสงฆ์แล้ว ท่านก็จะได้จุดบูชาต่อหน้าพระประธานในพระอุโบสถ ส่งผลให้ผู้ถวายย่อมได้รับอานิสงส์ คือ

    ๑. ทำให้เกิดปัญญา ทั้งชาตินี้และชาติหน้า เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งเทียน

    ๒. ทำให้สว่างไสวรุ่งเรือง ผู้ถวายย่อมทำให้มีความรุ่งเรืองด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ

    ๓. ทำให้คลี่คลายเรื่องราวต่างๆ ที่มีปัญหาให้ร้ายกลายเป็นดี

    ๔. เจริญไปด้วยมิตรบริวาร

    ๕. ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย

    ๖. เมื่อจากโลกนี้ไปย่อมมีกายทิพย์อันสว่างไสว

    ๗. เมื่อลาลับโลกนี้ไปย่อมไปสู่สุคติสวรรค์

    ๘. หากบารมีมากพอ ย่อมทำให้เกิดดวงตาจักษุ คือปัญญารู้แจ้งเข้าสู่พระนิพพาน

    คำถวายเทียนพรรษา

    ยัคเฆ ภันเต สังโฆ ปะฏิชานาตุ มะยัง ภันเต เอตัง ปะทีปะยุคัง สะปะริวารัง เตมาสัง พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ อิมัสมิง อุโปสะถาคาเร นิยยาเทมะ สาธุ โน ภันเต อะยัง เตมาสัง พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ ปะทีปะยุคัสสะ ทานัสสะ อานิสังโส อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ปิยะชะนานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ ฯ

    คำแปล

    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับทราบ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอมอบถวาย เทียนคู่นี้ พร้อมกับของบริวารไว้ ณ พระอุโบสถนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษา ขออานิสงส์แห่งการถวายคู่เทียน เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษานี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ปิยชนทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย ตลอดกาลนานเทอญ ฯ

    เคล็ดลับทำบุญ

    ตั้งแต่ในอดีตที่เคยมีการถวายเทียน มีความเชื่อว่า จะทำให้ชีวิตดีรุ่งเรืองโชติช่วงเหมือนดังแสงไฟจากเทียน หากเจอปัญหาก็จะพบทางออกที่เป็นเหมือนแสงสว่างของเทียน ต่อมาก็ได้มีการถวายเทียนเพื่อเป็นการเสิรมดวงความรัก โดยนิยมถวายเป็นคู่ เพราะเชื่อว่าแสงเทียนจะช่วยส่องสว่างในชีวิตเสริมให้ดวงความรักดีขึ้น มีชีวิตคู่ที่ราบรื่น

    สำหรับคนโสดก็จะทำให้พบเจอแต่เรื่องดีๆ หรือเจอกับเนื้อคู่ในเร็ววันนั่นเอง

    อย่างไรก็ดีตั้งแต่ในอดีต ผู้คนนิยมถวายเทียนพรรษาเพื่อให้พระภิกษุได้ใช้ส่องสว่างขณะจำพรรษาอยู่ที่วัด เชื่อว่าการถวายเทียน จะช่วยให้ชีวิตโชติช่วง พบเจอแต่เรื่องดีหรือ ถวายหลอดไฟก็ได้ แต่ผมแนะนำให้ถวายเป็นเทียนพรรษาดีกว่า เพราะตามตำราโบราณ มันได้ความรู้สึกบางอย่าง ซึ่งดีกว่าเป็นหลอดไฟ หากเป็นเทียน เวลาพระไปเดินจงกลมตรงไหน ก็จุดได้เลย…”

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg
    .jpg
    .jpg
    .jpg
    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…แบบอย่างการออกบวชครั้งสมัยพุทธกาล…”

    พระมหากัสสปะ ผู้เลือกเดินบนหนทางสมถะ

    เมื่อพบว่าทรัพย์สมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ สมุนบริวาร แม้กระทั่งคู่ครองที่งดงาม มิใช่ปัจจัยที่จะเกื้อหนุนให้ชีวิตเดินทางถึง ‘ฝั่ง’ ได้ จึงไม่มีเหตุผลใดที่เขา – พระมหากัสสปะ จะผูกมัดตนเองไว้กับส่วนเกินของชีวิตเหล่านั้น

    คนที่มีโอกาสเกิดมาบนกองทอง พรั่งพร้อมด้วยข้าทาสบริวาร ให้รางวัลชีวิตด้วยวัตถุแพรพรรณ อาจจะ “เสพติดความสุข” เสียจนหาหนทางคืนสู่สามัญไม่ถูก แต่สำหรับมนุษย์ผู้เชื่อมั่นว่า หนึ่งชีวิตในหนึ่งชาติของตนมีคุณค่าและความหมายเหนือกว่านั้น เขาย่อมไม่ปล่อยให้ชีวิตลอยคว้างห่างจาก “ฟากฝั่ง” อันเป็นจุดหมายที่แท้จริง

    ความสนุกสบายที่มากมายจนล้นเกินได้ทำให้ชายผู้มีอันจะกินคนหนึ่งเห็นแง่มุมของชีวิตต่างไปจากเดิม เมื่อเขาพบว่า ทรัพย์สมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ สมุนบริวาร แม้กระทั่งคู่ครองที่งดงาม มิใช่ปัจจัยที่จะเกื้อหนุนให้ชีวิตเดินทางถึงฝั่งได้ จึงไม่มีเหตุผลใดที่เขาจะผูกมัดตนเองไว้กับส่วนเกินของชีวิตเหล่านั้น

    เมื่อสิ้นบุญบุพการี “ปิปผลิมาณพ” และคู่ชีวิตพร้อมใจกันปลดปล่อยตนเองจากชีวิตทางโลก หันเข้าหาหนทางแห่งธรรม ผู้คนจึงเรียกขานปิปผลิมาณพว่า “พระมหากัสสปะ” ตามชื่อสกุลของท่าน

    พระมหากัสสปะเป็นอัครสาวกที่โดดเด่นด้านการธุดงค์ ท่านใช้ชีวิตปลีกเร้นจากผู้คน รอนแรมบำเพ็ญภาวนาอยู่ตามป่าเขา เพื่อให้ชีวิตได้พบความสุขอันแท้จริง นั่นคือความสงบทั้งกายและใจ ท่านบวชได้เพียง 7 วันก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

    หากกล่าวถึงวัตรปฏิบัติ เห็นจะไม่มีพระสาวกรูปใดที่เคร่งครัดในการปฏิบัติเท่าพระมหากัสสปะ ท่านยึดมั่นในการใช้ผ้าบังสุกุลจีวร การเที่ยวบิณฑบาตโดยมิได้เลือกว่าผู้ทำบุญจะอยู่ในชนชั้นใด นอกจากนี้ท่านยังปฏิบัติอยู่ในป่ามิได้ขาด แม้ท่ามกลางป่าดงรกชัฏจะทำให้เกิดอุปสรรคในการบำเพ็ญเพียร แต่ท่านก็มิได้ย่อท้อหรือหวั่นไหวเลยแม้แต่น้อย

    ครั้งหนึ่งพระมหากัสสปะสละผ้าสังฆาฏิอันอ่อนนุ่มของท่านปูลาดเป็นอาสนะถวายพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งอธิษฐานจิตห่มผ้าบังสุกุลซึ่งเกลือกกลั้วด้วยฝุ่นเป็นประจำ พระพุทธองค์จึงทรงเห็นว่า สมควรที่พระองค์จะทรงเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับพระมหากัสสปะเพื่อเป็นการตอบแทน ทั้งที่พระองค์ไม่เคยปฏิบัติเช่นนี้กับพระสาวกรูปใดเลย

    พระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าครั้งนั้นมิได้ทำให้พระมหากัสสปะเกิดลำพองตน หากกลับทำให้ท่านเกิดมานะที่จะกระทำความดียิ่งขึ้น เพื่อให้สมกับที่พระพุทธองค์ทรงพระกรุณา

    พระศาสดาจึงสรรเสริญว่า พระมหากัสสปะเป็นผู้รักสันโดษและสงบเสงี่ยมเจียมตนอยู่เสมอ

    ความที่เป็นพระนักปฏิบัติ ชาวพุทธทั่วไปจึงรู้จักพระมหากัสสปะด้วยข้อมูลที่จำกัด แต่คุณูปการที่ท่านมีต่อพระศาสนานั้น นับว่าช่วยธำรงพระพุทธศาสนาให้คงอยู่จนถึงปัจจุบัน

    หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระมหากัสสปะเป็นผู้ริเริ่มให้มีการรวบรวมและบันทึกพระธรรมคำสอนของพระศาสดา ไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นผลให้แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาไม่สูญหายไปกับกาลเวลา

    พุทธศาสนิกชนในปัจจุบันจึงมีโอกาสได้รับรู้สาระสำคัญที่พระพุทธเจ้าเคยสั่งสอนอย่างครบถ้วน ซึ่งนับเป็นคุณูปการของพระมหากัสสปะโดยแท้

    หากพระมหากัสสปะไม่เด็ดเดี่ยวพอที่จะละทิ้งความสุขนอกกาย แล้วเรียนรู้ความจริงอันสูงสุดด้วยการใช้ชีวิตมักน้อยสมถะโดยไม่ยึดติดกับวัตถุใด ๆ แล้ว ศาสนิกชนชาวพุทธก็อาจไม่มีแบบอย่างที่ดีของการใช้ชีวิตอย่างสุขสงบ รวมทั้งอาจจะไม่มีผู้ส่งต่อคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ดำรงอยู่เช่นในวันนี้ ก็เป็นได้..”

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    สื่อสารกับผู้ชาย อย่าลืมศักดิ์ศรีของเขา
    สื่อสารกับผู้หญิง อย่าลืมดูอารมณ์ของเธอ
    สื่อสารกับผู้บังคับบัญชา อย่าลืมตำแหน่งของเขา
    สื่อสารกับผู้สูงอายุ อย่าลืมเกียรติยศของท่าน
    สื่อสารกับวัยรุ่น อย่าลืมความตรงไปตรงมาของเขา
    สื่อสารกับเด็กๆ อย่าลืมความไร้เดียงสาของเขา
    เพราะหากไม่รู้จักปรับท่าที
    ถือดีว่าตนเด่น จะเจอแต่กำแพง
    แข็งกร้าวมีข้อดีของความแข็งกร้าว
    อ่อนโยนมีข้อดีของความอ่อนโยน
    การดำเนินชีวิต บางทีก็ต้องประนีประนอม
    โอนอ่อนไม่ใช่อ่อนแอ
    ประนีประนอมไม่ใช่หน่อมแน้ม
    ดูอย่างลิ้นกับฟันสิ ใครไปก่อนกัน

    พระครูสังฆวิสุทธิ์ พระอาจารย์พวงพิด ธัมมธโร

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -อย่าลื.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…ความอยาก…เป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้จิตเข้าสู่ความสงบได้…”

    “…ก่อนนั่งสมาธินั้น ต้องชำระจิตใจให้ผ่องใสเสียก่อน กำหนดปล่อยวาง อดีต อนาคต ปัจจุบัน อารมณ์นั้น ๆ อย่าเพิ่งยึดมาเป็นคติธรรม ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย เดี๋ยวนี้เราบวชมาเป็นพระในศาสนาของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ควรที่จะตั้งใจเจริญสมณธรรมเพื่อว่าขยำเสียซึ่งกิเลสให้หมดไปสิ้นไปให้ได้
    นั่นแหละปล่อยวางความอยาก อย่าให้ความอยากเกิดขึ้น อยากให้จิตเป็นสมาธิ อยากรู้ธรมเห็นธรรม ไม่เป็นไป อันนี้ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย

    ความอยาก นั้นเป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้จิตเข้าสู่ความสงบได้ ให้ปล่อยวางเสมอ

    อุปาทาน ความหึงหวงห่วงอาลัยร่างกายนั้น นั่งนาน เดินนาน กลัวว่าจะเกิดโรคเหน็บชาอย่างโน้นอย่างนี้ อย่าให้มีอุปาทานเป็นเหตุให้เกิดภพ ภพเป็นเหตุให้เกิดชาติ ถ้าตัวเรายังยึดถือและเสียดายอยู่ ได้ชื่อว่าเราทำความเพียรอยากได้ของตายของฉิบหาย ไม่ใช่ทาง พระพุทธเจ้าไม่สอน
    นั่นแหละทำใจให้เหมือนกับผ้าเช็ดเท้า หรือดินและน้ำ ธรรมดาว่าดินและน้ำนั้น ใครจะอาบหรือขุดก่นมันอย่างไร มันก็ไม่ว่าอะไร อันนี้ฉันใด จิตใจของพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลายที่ท่านข้ามโอฆะไปพระนิพพานแล้วนั้น ท่านก็ทำใจอย่างนั้น มีใจอันผ่องใส นั่นแหละชำระปล่อยวาง…”

    จากหนังสือ “ชีวประวัติ หลวงปู่จันทา ถาวโร” ที่ระลึกงานถวายเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร

    จากหนังสือ “ชีวประวัติ หลวงปู่จันทา ถาวโร” ที่ระลึกงานถวายเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร

    -เป็นเครื่องกี.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…ช้าง…ในอดีตชาติเคยเป็นญาติกัน…มาขอส่วนบุญ…”

    “…คืนหนึ่งในขณะที่เดินจงกรมอยู่ประมาณ ๔ – ๕ ทุ่ม ก็มีช้างฝูงใหญ่ราว ๑๐ ตัว เดินเข้ามาหาพอห่างได้ระยะ ๑ เส้น (๒๐ วา) จ่าฝูงก็กระทืบตีน ๓ ครั้ง แล้วก็โบกหูไปมาแล้วก็ชูงวงขึ้น ขณะนั้นอาตมาก็ไม่มีความสะทกสะท้านหรือเกรงกลัวแต่อย่างใดทั้งสิ้น เพราะอำนาจพระธรรมเกิดขึ้นแล้วที่จิต คือความสงบนั้น จึงกำหนดถามพระธรรมตัวเองขึ้นว่า….

    ช้างเขามาทำอะไรกัน ?

    พระธรรมพูดขึ้นว่า…. “…ช้างฝูงนี้เป็นญาติของเรามาแต่ชาติปางก่อนโน้น เขามาอนุโมทนาส่วนบุญกับเรา จงอุทิศส่วนบุญให้เขาเสีย…”

    ก็เลยตั้งใจมั่นแล้วแผ่เมตตาให้ว่า….
    ช้าง…พวกท่านกับอาตมาเป็นญาติกันมาแต่ชาติปางก่อนโน้น มาชาตินี้ก็ได้มาประสบพบปะกันแล้ว จงอนุโมทนาส่วนบุญนะ จะอุทิศให้ ปุญญัง อุทิสสะ ทานัง สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ ขอให้ท่านทั้งหลายจงได้รับส่วนบุญเถิด จากนั้นก็ให้โอวาทแก่เขาว่า…..

    ขอให้พวกท่านทั้งหลาย จงน้อมเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไปไว้เป็นที่พึ่งนะ ไหว้พระ สวดมนต์ ภาวนา ประจำชีวิต ไม่ลดละ ท่านทั้งหลายจงตั้งตนอยู่ในศีล ๕ ปาปะกัง ปาณาติบาท อย่าเพิ่งฆ่าสัตว์ตัดชีวิตมนุษย์นะ เป็นบาป อย่าเพิ่งลักขโมยกินของไร่ของสวนเขานะ เป็นบาป เขาจะฆ่าเอา อย่าเพิ่งนอกใจซึ่งกันและกัน นั่นแหละอันนี้เป็นข้อสำคัญมั่นหมาย เมื่อพวกท่านมีไตรสรณคมน์ พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นสรณะที่พึ่งแล้ว มีศีล ๕ ประจำชีวิตอีก ก็จะได้มนุสสธัมโม เปลี่ยนชาติภพจากสัตว์เดรัจฉานไปเป็นมนุษย์ เมื่อเปลี่ยนชาติเปลี่ยนภพแล้วจะได้ทำคุณงามความดีเหมือนอย่างข้าพเจ้านี่แหละ

    เขาก็ตั้งใจฟังจนจบ จากนั้นจ่าฝูงก็กระทืบเท้า ๓ ครั้ง แล้วโบกหูพึบพับ ๆ จากไป….”

    จากหนังสือ “ธรรมพเนจร” หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ในอดีตชาติเคยเป็น.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “….นั่งสมาธิ นั่งวิปัสสนา และนั่งกรรมฐาน
    เหมือนหรือต่างกันอย่างไร…?

    ตอบ….

    – นั่งสมาธิ นั่งวิปัสสนา และนั่งกรรมฐาน ก็มีความหมายอันเดียวกัน

    – คำว่า สมาธิ แปลว่า ตั้งมั่นในการเพ่งอยู่ที่กรรมฐานที่เราสมมติตั้งไว้
    – คำว่า นั่งวิปัสสนา ก็หมายความว่า เรามีปัญญารอบคอบในกรรมฐานที่ตั้งไว้นั่นเอง

    – และ นั่งกรรมฐาน เล่า คำว่า “ฐาน” ก็แปลว่า ฐานความตั้งมั่นในสมาธิ

    ฐานความตั้งมั่นในปัญญานั่นเอง แต่ใส่ชื่อลือนามหลายอย่างเฉยๆ

    คำว่า “กรรมฐาน” เอาตัว ร. ๒ ตัว,
    เอาตัว ม.ไม้หันอากาศก็ถูก (ภาษาบาลี หรือมคธ)
    แต่เอาภาษาไทยใช้ตัว ร. ๒ ตัว
    ก็มีคำถามต่อไปว่า เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราปฏิบัติได้หรือทำให้สำเร็จแล้ว

    เรารู้ได้อย่างนี้คือ สิ่งที่มีโลภ โกรธ หลงจัดมาแต่เดิม
    ถึงแม้มันมีอยู่มันก็เบากว่าแต่ก่อน
    สมมติว่าแต่ก่อนเราฆ่าสัตว์ได้อย่างไม่อาลัย
    แล้วเราไม่ทำเหมือนแต่ก่อนเสียแล้ว เพราะนึกละอายตนเอง
    ข้อต่อไปอีก เราไม่เสียดายอยากล่วงละเมิดเสียเลย เพราะเห็นดิ่งลงไปแล้วว่ามันเป็นเวรสนองเวรจริงๆ ส่วนจะมาช้าหรือเร็วตามส่วนนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับผลของกรรมนั่นเอง เราจะรู้ตัวหรือไม่รู้ก็ไม่มีปัญหา ผลของกรรมต้องตามมาไม่ต้องสงสัย เราเชื่อดิ่งลงอย่างนี้แล้ว เราจึงไม่เสียดายอยากละเมิด นี้เรียกว่าเราสำเร็จในตอนนี้แล้ว แม้สิ่งอื่นๆ ก็โดยนัยเดียวกัน
    ที่ปรารภมานี้ก็พอที่จะเข้าใจได้บ้างแล้ว จะอย่างไรก็ตามธรรมะของพระพุทธศาสนา เราก็ต้องปฏิบัติเป็นคู่กับอารมณ์ของเรา ดีกว่าปล่อยอารมณ์ไปทางอื่น

    ยกอุทาหรณ์อีก จะสะอาดหรือไม่สะอาดขาดตัวก็ตามแต่ก็ต้องได้อาบน้ำอยู่นั่นเอง ถ้าไม่อาบน้ำก็จะยิ่งไปใหญ่ เข้าสังคมใดๆ ไม่ได้ ฉันใดก็ดีถ้าไม่ประพฤติศีลธรรมแล้ว ก็ไม่มีอะไรจะมาล้างหัวใจให้สะอาดได้ เดี๋ยวก็จะฆ่าทั้งบิดามารดาด้วย ตลอดทั้งท่านผู้มีพระคุณ เช่น พระอรหันต์เป็นต้น และก็ให้เข้าใจว่า ความสำเร็จอยู่กับความพยายาม ไม่ว่าจะทางดีทางชั่ว แต่ให้ผลต่างกันเท่านั้น ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส “เพียรละความชั่ว ประพฤติความดี” เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย…”

    หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -นั่งวิปัสสนา.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...