ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…มุตโตทัย…” มูลมรดกอันเป็นต้นทุนทำการฝึกฝนตน โดยท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทฺตตเถระ

    “…เหตุใดหนอ ปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดี จะรับศีลก็ดี หรือจะทำการกุศลใดๆ ก็ดี จึงต้องตั้ง นะโม ก่อน จะทิ้ง นะโม ไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ นะโม ก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญ จึงยกขึ้นพิจารณา ได้ความว่า น คือธาตุน้ำ โม คือ ธาตุดิน พร้อมกับบาทพระคาถา ปรากฏขึ้นมาว่า มาตาเปติกะสมุภะโว โอทะนะกุมมาสะปัจจะโย สัมภะวะธาตุของมารดาบิดาผสมกัน จึงเป็นตัวตนขึ้นมาได้ น เป็นธาตุของ มารดา โม เป็นธาตุของ บิดา ฉะนั้นเมื่อธาตุทั้ง ๒ ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า กลละ คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ถือปฏิสนธิในธาตุ นะโม นั้น

    เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว กลละ ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น อัมพุชะ คือเป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น ฆะนะ คือเป็นแท่ง และ เปสี คือชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็นปัญจะสาขา คือ แขน ๒ ขา ๒ หัว ๑ ส่วนธาตุ พ คือลม ธ คือไฟ นั้นเป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลังเพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า ลมและไฟก็ไม่มี คนตาย ลมและไฟก็ดับหายสาบสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง ๒ คือ นะโม เป็นเดิม

    ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย นะ มารดา โม บิดา เป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมาด้วยการให้ข้าวสุกและขนมกุมมาส เป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดาว่า บุพพาจารย์ เป็นผู้สอนก่อนใครๆ ทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ทำให้กล่าวคือรูปกายนี้แล เป็นมรดกดั้งเดิมทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอกก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลยเพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น “มูลมรดก” ของมารดาบิดาทั้งสิ้น จึงว่าคุณท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่ เราต้องเอาตัวเราคือ นะโม ตั้งขึ้นก่อนแล้วจึงทำกิริยาน้อมไหว้ลงภายหลัง นะโม ท่านแปลว่านอบน้อมนั้นเป็นการแปลเพียงกิริยา หาได้แปลต้นกิริยาไม่ มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุน ทำการฝึกหัดปฏิบัติตนไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ…”

    ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทฺตตเถระ

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -มูลมรดกอันเป็.jpg
    -มูลมรดกอันเป็.jpg
    -มูลมรดกอันเป็.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…เคยเกิดเป็นมนุษย์…แต่ทำผิดต่อพระสงฆ์จึงเกิดมาเป็นพญานาค…”

    “…พญานาคในแม่น้ำโขงนี้ เมื่อขึ้นมาคารวะท่าน ท่านบอกว่าตัวใหญ่โตมาก ระหว่างที่หัวมากราบคารวะท่านที่ถ้ำแต่ส่วนหางยังอยู่ที่ฝั่งน้ำ ห่างกันเป็นกิโลเมตร บุพกรรมของเขาเคยเกิดเป็นมนุษย์รักษาศีล อุปัฏฐากพระเจ้าพระสงฆ์เป็นอันดี แต่กรรมบัง ถือสนิทเอามีดของพระไปใช้เป็นส่วนตัว จึงมาเกิดเป็นพญานาคเช่นนี้ แม้จะเป็นผู้มีฤทธิ์แต่ก็ยังอาภัพอับวาสนาเป็นสัตว์เดรัจฉาน ท่านเลยเทศนาสั่งสอนพญานาคนั้นให้ยึดมั่นในศีลห้า และไตรสรณาคมน์

    เรื่องกรรมเล็กกรรมน้อยนี้ หลวงปู่จะเตือนศิษย์เสมอมิให้ประมาทโดยเฉพาะผู้ที่ปรนนิบัติพระเจ้าพระสงฆ์ จะเป็นฆารวาสก็ดี ภิกษุด้วยกันก็ดี พึงระมัดระวังให้จงดีโดยเฉพาะพระภิกษุ อย่าละเมิดธรรมวินัยได้ แม้การใช้สอยบริขารของสงฆ์เช่นกัน จะต้องเก็บงำรักษาเป็นอันดี ท่านยกว่าแม้แต่ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังทรงตำหนิตักเตือนพระ อย่าเห็นแต่บาปเล็ก กรรมน้อย

    ขึ้นชื่อว่าบาปกรรม นรชนไม่ควรดูหมิ่นว่าเล็กน้อย เปรียบเหมือนภาชนะที่เขาเปิดปากตั้งไว้กลางแจ้ง เมื่อฝนตก น้ำฝนหยดเดียวไม่ทำให้ภาชนะเต็มก็จริงอยู่ แต่เมื่อฝนตกอยู่บ่อย ๆ ภาชนะนั้นย่อมเต็มได้แน่ ๆ ฉันใดผู้ทำบาปอยู่ แม้ทีละน้อย ๆ ย่อมทำกองบาปให้ใหญ่โตขึ้นโดยลำดับได้ฉันนั้นเหมือนกัน…”

    จากหนังสือ “ชีวประวัติ พระคุณเจ้า หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ฉบับปรับปรุง พ.ศ.๒๕๓๕ วัดป่าโคกมน บ้านโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -แต่ท.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…หลวงปู่ชา สุภัทโท แสดงธรรมโปรดโยมมารดา
    ในวาระสุดท้าย ก่อนที่ท่านจะละโลกละขันธ์อย่างสงบ…”

    (ปกิณกธรรมหลวงปู่ชา สุภัทโท)

    อุ้มท้องเทวดา , พระสงฆ์ , พระโพธิสัตว์ , พระพุทธเจ้า ใครบ้างมีสิทธิ์ “ตั้งครรภ์อริยะบุคคล” ?

    ภาพที่เห็นคือภาพของ …

    หลวงปู่ชา สุภทฺโท แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ไปแสดงธรรมโปรด “แม่ชีพิมพ์” โยมมารดาผู้อุ้มท้องให้กำเนิด ในวาระสุดท้ายแห่งชีพของแม่ชี ใจความสำคัญในการแสดงธรรมโปรดโยมมารดาครานั้นว่า

    “การปล่อยวางกายนี้ไม่ใช่ของเรา ให้ปล่อยไป สิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมะ อย่าไปอาลัยอาวรณ์กับสกนธิ์ร่างกาย ทำจิตใจให้เบิกบาน ให้อยู่กับคำบริกรรม”

    รุ่งเช้าแม่ชีพิมพ์ได้ “ละโลก ละขันธ์” อย่างสงบเมื่อ ปี พ.ศ.๒๕๑๗ ปฏิปทาหนึ่งของพ่อแม่ครูอาจารย์ และอริยะชนทั้งหลายคือการดูแลบุพการีอย่างดีที่สุด และ “ที่สุด” ที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญคือการ “ให้ธรรม ชักนำสู่ทางวิมุติ”

    เมื่อได้อ่านความกตัญญูของท่านเหล่านี้ ความหาญกล้า องอาจของสตรีเพศที่อุ้มท้องพระอริยะ (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพียงหญิงชาวนา ชาวบ้านธรรมดา) ฉันรู้สึกซาบซึ้ง นับถือ ในหัวใจอันหาญกล้าของท่านเหล่านั้นทุกครา และสงสัยว่า ..

    ทำบุญอันไหนหนอ…

    จึงได้ให้อริยะสงฆ์หน่อเนื้อพระพุทธเจ้ามาจุติในครรภ์ตนเอง”

    กล่าวอย่างย่อในพระไตรปิฎกได้แสดงไว้ว่า สตรีผู้ที่จะมีสิทธิ์อุ้มท้องเทวดา พระสงฆ์ พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้านั้น ล้วนแล้วแต่ต้องเคยมี “บุญสัมพันธ์” กันมานับอสงไขกัปป์ อย่างหยาบที่สุด คือ การทำบุญสุนทานร่วมกัน การปฏิบัติธรรมร่วมกัน และการอธิษฐานให้ได้อุ้มท้องอริยะเหล่านั้น นอกจากนั้นสตรีเหล่านั้นต้อง”บำเพ็ญธรรม” อย่างยิ่งยวดหลายภพหลายชาติเพื่อให้กาย และจิต วิญญาณ สะอาดพอที่จะรองรับการจุติของพระอริยบุคคล

    ครรภ์ของสตรีที่บริสุทธิ์….

    ที่สุดในจักรวาลคือ “ครรภ์ของพระนางสิริมหามายา” พุทธมารดา เป็นครรภ์ที่บริสุทธิ์ และยิ่งใหญ่จนไม่มีชีวิตวิญญาณใดจะร่วมจุติในอุทรได้ นั่นจึงเป็นคำตอบว่า เพราะเหตุใดพระนางสิริมหามายาจึงสวรรคตหลังจากให้กำเนิดเจ้าชายสิทธัตถะเพียงแค่ ๗ วัน

    อ่านแล้วลูกทั้งหลายพึงสังวรณ์ สำเหนียกถึงการเสียสละ ดวงใจอันประเสริฐ ความรักอันพิสุทธิ์ของมารดา และพึงสำรวจ พัฒนา ตนเองว่า มารดาของเราอุ้มท้อง…เทวดา…อริยะ…หรือสัตว์นรก…

    หากเป็นอย่างหลัง พึงรีบปฏิบัติ ปฏิวัติตนเองใหม่ เร่งบำรุงท่านทั้งทางโลก และทางธรรมเทอญ…

    หลวงปู่ชา สุภัทโท

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -สุภัทโท-แสดงธ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    พระพุทธรูป
    พระเจดีย์
    พระอุโบสถ
    เป็นสัญลักษณ์แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    จัดเป็นปูชนียวัตถุสูงสุด ผู้สร้างพระพุทธรูปจะได้ประโยชน์ ดังนี้

    ๑.ได้บุญตั้งแต่วินาทีแรกที่คิดสร้าง
    อันประกอบด้วยศรัทธาในพระพุทธองค์จัดเป็น ตถาคตโพธิศรัทธา

    ๒. เมื่อบริจาคทรัพย์ในการสร้างจัดเป็น ทานบารมี

    ๓. เมื่อขวนขวายติดตามตลอดงานจัดสร้างพระปฏิมา
    จัดเป็นกุศลส่วน วัยยาวัจจมัย

    ๔ .เมื่อองค์พระปฏิมาสำเร็จสมบูรณ์ ได้เป็นที่ตั้งแห่งความตามอนุสรณ์
    ถึงพระพุทธคุณทั้งตนเองด้วย ทั้งผู้อื่นด้วย
    กุศลจะเกิดเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ได้อาศัยพระพุทธปฏิมา

    ๕. อำนาจแห่งกุศลที่สร้างพระพุทธปฏิมา
    ส่งผลให้ได้เกิดเป็นคนรูปงาม
    มีบุคลิกสง่าเป็นที่เคารพรักใคร่ของประชาชน
    และมีอิสริยยศ บริวาร ทรัพย์สมบัติ
    ตลอดจนความสุขสถาพร ไม่เป็นโรควิกลวิกาล

    ๖. ปิดอบายภูมิ และส่งให้ปฏิสนธิในสุคติภูมิทันทีในสมัยกาลมรณะแล้ว
    หากมีอารมณ์ในกุศลกิจนั้นปรากฎให้จิตก่อนจุติ

    ๗. เป็นการส่งเสริมพุทธศิลป์ให้เจริญแพร่หลาย
    พุทธศิลป์นั้นในชนที่เจริญทางสติปัญญา
    เขายกย่องว่าเป็นศิลปะอันสุขุมประณีตละเอียดอ่อน
    เป็นสัญญลักษณ์แห่งสันติธรรม และปัญญาธนบริสุทธิ์

    พระครูสังฆวิสุทธิ์ (ธมมฺธโร)

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg
    .jpg
    .jpg
    .jpg
    .jpg
    .jpg
    .jpg
    .jpg
    .jpg
    .jpg
    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…เราทั้งหลายอย่าประมาท
    ให้ใส่ใจเจ้าของ
    สะสมบุญไว้ให้มาก
    ตั้งใจอยู่เสมอ
    จึงจักได้สวัสดี…”

    จากหนังสือ อรรถธรรมคำแก้ว วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( หลวงปู่จาม ) ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

    โภชเนมัตตัญญุตา
    ความรู้จักประมาณในอาหาร

    พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย
    เมื่อยังไม่ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่
    ออกมหาภิเนษกรมณ์แล้ว ทำความเพียรอยู่
    วันหนึ่งไปบิณฑบาต
    ไม่ได้อะไร ระหว่างทาง
    เจอสุนัขคาบเนื้อที่เหล่ามนุษย์ย่างไว้ เจ้าของเนื้อวิ่งไล่มา ทันสุนัขนั้น ตีเข้าที่ตัว จนสุนัขนั้นทิ้งเนื้อแล้ววิ่งหนีไป

    ..ฝ่ายเจ้าของเนื้อนั้น ก็ไม่เก็บเนื้อกลับไปเพราะรังเกียจว่าโดนน้ำลายสุนัขแล้ว ฝ่ายสุนัขก็ไม่กล้ากลับมาเอาเนื้อนั้นเพราะโดนไม้ตี ..

    พระโพธิสัตว์ไปบิณฑบาตได้ยืนมองอยู่ ได้เห็นว่า มนุษย์ก็ไม่เอา สุนัขก็ไม่เอา พระองค์เลยไปจับเอามาใส่บาตร และก็มีความภาคภูมิใจว่า

    “บิณฑบาตวันนี้ของเราบริสุทธิ์จริงหนอ สุนัขก็สละแล้ว เจ้าของเขาก็สละแล้ว แล้วมันจะพิษมีภัยอะไร”

    พอฉันเสร็จก็ไปนั่งทำความเพียร เพลิดเพลินว่าเราได้อาหารบิณฑบาตบริสุทธิ์ ศีลเราก็บริสุทธิ์ จะมีอันตรายใดๆอีกเล่า..
    แต่พอกระทำความเพียรสักพัก
    เกิดความง่วงเหงาหาวนอน

    ณ ทีนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้า อยู่ที่ภูเขามูลมัลทกะ อยากจะช่วย
    ก็กระทำให้ได้ยินเสียงดังขึ้นว่า
    “นิททา ตันทิ ภิฌัมมะตา
    อะระติ มะทะสัมภัทโธ”

    อันตรายมากทีเดียว ทำไมท่านบอกไม่มีอันตราย… การง่วงนอน การบิดขี้เกียจ
    การเมาอาหาร
    ภโหหิ ปริปัณโท
    นั้นแหละ คืออันตรายมากที่สุด

    พระโพธิสัตว์พอได้ยินเสียงนี้
    ก็สะดุ้งตื่นโพรงขึ้นมา …

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ๑. อะไร คมที่สุด
    พราหมณ์ตอบว่า มีดที่ลับหินดีแล้ว คมที่สุด
    พระพุทธเจ้าตอบว่า. วาจาที่ใส่ร้ายผู้อื่น ทำร้ายหัวใจผู้อื่น คมที่สุด

    ๒. อะไร ไกลที่สุด
    พราหมณ์ตอบว่า ดวงอาทิตย์ สุดขอบจักรวาล ไกลสุด
    พระพุทธเจ้าตอบว่า. อดีดที่ผ่านมาตั้งหลายกัปหลายกัลป์ ยาวที่สุด

    ๓. อะไร ใหญ่ที่สุด
    พราหมณ์ตอบว่า. ภูเขา โลก มหาสมุทร ใหญ่ที่สุด
    พระพุทธเจ้าตอบว่า. ตัณหาความทยานอยาก ไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้ก่อภพก่อชาติ ใหญ่ที่สุด

    ๔. อะไร หนักที่สุด
    พราหมณ์ตอบว่า. หิน เหล็ก แร่ ดิน น้ำ หนักที่สุด
    พระพุทธเจ้าตอบว่า. คำสัญญาใดๆ ที่พูดง่ายแต่ทำยาก คำสัญญานั้นแล เป็นสิ่งที่หนักสุด

    ๕. อะไร เบาที่สุด
    พราหมณ์ตอบว่า. นุ่น สำลี ลม ใบไม้แห้ง
    พระพุทธเจ้าตอบว่า. การปล่อยวาง การรู้เท่าทันว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แบบนี้แล เบาที่สุด

    ๖. อะไร ใกล้เราที่สุด
    พราหมณ์ตอบว่า. พ่อแม่ ญาติ ใกล้เราที่สุด
    พระพุทธเจ้าตอบว่า. ความตายที่วิ่งตามเหมือนเงาตามตัวต่างหาก ที่ใกล้ตัวเราที่สุด

    ๗. อะไร ง่ายที่สุด
    พราหมณ์ตอบว่า กิน นอน พูด หายใจ ง่ายที่สุด
    พระพุทธเจ้าตอบว่า. การพูดธรรมะ แบ่งปันให้แสงสว่างแก่ผู้อื่น ง่ายที่สุด เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย

    พราหมณ์ได้ฟังคำตอบจากพระพุทธเจ้าแล้ว ไตร่ตรองพิจารณา โดยเหตุผลแล้ว จึงยอมมอบกายถวายตัวยอมสมาทานศีล เป็นพุทธมามะกะ และได้ดวงตาเห็นธรรมโดยทั่วกัน. พร้อมกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้าว่า สัถถาเทวะมนุสสานัง พระองค์เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายโดยแท้จริง

    พระพุทธองค์ตรัสว่า.. “บุคคลแม้ไม่มีทรัพย์สินเงินทองแต่ก็สามารถให้ทานกับผู้อื่นได้ด้วยสิ่งของ ๕ ประการ”
    ๑. ใบหน้าเป็นทาน : สามารถให้รอยยิ้มความสดใส
    ๒. วาจาเป็นทาน : พูดให้กำลังใจ ชื่นชมและปลอบประโลมผู้อื่นให้มาก
    ๓. จิตใจเป็นทาน : สามารถเปิดอกเปิดใจกับผู้อื่น ด้วยความนอบน้อมและจริงใจ
    ๔. ดวงตาเป็นทาน : ใช้แววตาแห่งความหวังดีความโอบอ้อมอารีย์ให้กับผู้อื่น
    ๕. กายเป็นทาน : สามารถใช้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -อะไร-คมที่สุด.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    มากกว่า ๒๕๕๐ ปีที่ผ่านมาแล้ว
    พระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
    ได้ตรัสพยากรณ์ถึงภัย ๕ ประการที่จะมาในอนาคตว่า
    ๑ ภิกษุจักชอบจีวรสีงาม ละผ้าบังสุกุล
    ๒ ภิกษุจักชอบอาหารบิณฑบาตรอันประณีต
    ละการบิณฑบาตร ละการฉันในบาตร
    ๓ ภิกษุจักพอใจในเสนาสนะอันสวยงาม ละโคนต้นไม้
    ๔ ภิกษุจักคลุกคลี ในภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุณีทั้งหลาย
    ในสามเณรทั้งหลาย ในคนวัด ( ลูกศิษย์ลูกหา )
    แล้วจักพูดคุย ถือพรรค ถือพวก ถือศิษย์ ถือญาติโยม
    บอกใบ้เพื่อ ลาภยศ ลาภผล

    “โอวาทธรรมหลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ”
    คัดจาก หนังสือโพธิ์พระเบื้องพุทธบาท
    ( มหาปุญฺโญวาท ๕ )

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -๒๕๕๐-ปีที่ผ่านมา.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ๖๕.) ท่านครูอาจารย์สิงห์ (ขนฺตยาคโม) เพิ่นถือการใช้ผ้ารองนั่ง ผ้านิสีทนะ ตลอดเป็นวัตร ผ้าปูนั่งของเพิ่นต้องเหน็บไว้ที่เอว ตลอด จะนั่งตรงไหนก็ปูแล้วนั่ง ตั้งแต่เราป่วยแล้วก็ได้ข่าวจากครูอาจารย์ฝั้น (อาจาโร) ว่าเพิ่นเอาธรรมยุติไปเผยแพร่ทางโคราช ทางปราจีนบุรี ทางนครนายก จัดการแบ่งหมู่พระเถระให้แยกย้ายกันอยู่ในอีสานเกือบทุกจังหวัด อยู่วัดดาราภิรมย์แม่ริม ได้ข่าวว่า เพิ่นครูอาจารย์สิงห์ใหญ่ไปแล้ว ท่านอาจารย์ลี (ธมฺมธโร) ก็ไปแล้ว (มรณภาพไปแล้ว) ครูอาจารย์สิงห์ (ขนฺตยาคโม) เป็นแบบอย่างของผู้มีขันติ หากเห็นพระเณรผิดพระวินัยนี้ เพิ่นต้องเอาเดี๋ยวนั้นเลยบอกสอนเดี๋ยวนั้นเลย

    ๖๖.) ท่านครูอาจารย์สิงห์ (ขนฺตยาคโม) อยู่ขอนแก่นแพร่ขยายธรรมยุติได้รวดเร็วมั่นคงสะดวกทุกอย่าง ก็เพราะได้แม่เข็มเป็นสาวแก่แต่เป็นคนมีเงินมาก คอยบำรุงอุปัฏฐากดูแลบำรุงอยู่ตลอดเวลา จนที่สุดตามไปอยู่ปฏิบัติด้วยที่วัดสาลวัน เพราะเคยเป็นคู่บำเพ็ญบารมีธรรมกันมาก่อน เป็นคู่ทำความดีทำความชั่วร่วมกันมานานหลายร้อยองค์พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ในโลก พอมาพบปะกันเข้าก็ตั้งใจเอาใจใส่กันดีแก้ไขช่วยเหลือกันไป

    ๖๗.) อัญญาท่านข้าวต้ม ญาท่านข้าวต้มคนนี้เคยเป็นอาจารย์ของท่านอาจารย์สิงห์มาก่อนสมัยยังไม่ทันได้บวช เป็นพระมหานิกาย อยู่อำเภอบุ่ง บ้านหัวตะพานกินข้าวต้มมัดข้าวต้มกลีบใบตองห่อหมก ๓๐ มัดๆ หนึ่งมีอยู่ ๓ กลีบ แกะกิน ๆ จนหมด
    ถ้ากินกล้วย กล้วยนี้หละกล้วยมะนีออง กล้วยน้ำว้านี้หละ หมด ๓๕๐ ลูก
    ถ้ากินน้ำอ้อยหีบต้มเคี่ยวพอเหลืองเยี่ยวโค ฉันหมดรวดเดียว ๒ หาบ ๆ ละ ๒ กระบอก ๆ หนึ่ง ๒ ปล้องข้อไม้ไผ่บ้านยกกระบอกนี้หมดหยุดพักหายใจ เอากระบอกใหม่มาจนหมด หมดก็ทิ้งกระบอก

    ผู้ข้าฯ ได้ไปกับท่านอาจารย์สิงห์ (ขนฺตยาคโม) ตอนที่เป็นเณรเพิ่นเกณฑ์ไปใช้ให้หาบน้ำอ้อยไปถวายครูบาอาจารย์ของท่าน ถ้ากินข้าวปุ้นขนมจีนนี้ก็หมดเป็นหาบโต่ง ข้างหนึ่งเส้นข้างหนึ่งน้ำยา ฉันหลาย ฉันได้ คนร่างใหญ่ อกใหญ่ เอวรัด ท้องแบน มือตีนแข้งขาใหญ่ยาว ลุกยืนแล้วมือหย่อนเลยหัวเข่า

    อัญญาท่านองค์นี้ต้องเกิดมากินแท้ละ เป็นหมู่เดียวกันกับสมเด็จอ้วน (ติสฺโส) วัดบรมนิวาส อายุเท่ากัน เรียนอยู่เมืองอุบลฯ พร้อมกัน แต่มิได้ถูกคัดเลือกให้เข้าไปเรียนกรุงเทพ ทางการจึงส่งมาอยู่หัวตะพานเป็นเจ้าอธิการปกครองอยู่ในเขตนี้ ปลูกกล้วยเอง ทำรั้ววัดเอง ให้เขาขุดหลุมขุดหน่อให้ ให้เขาตัดไม้ใหญ่ ไม้ทำรั้วผ่าหัวได้แล้วเอาตีนเหยียบใช้มือฉีกจนสุดปลาย แข็งแรงสมกับกินได้หลาย อายุมากแล้วสมเด็จอ้วนฯ (สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺสเถร)) สั่งห้ามมิให้กินหลายเหมือนแต่ก่อนให้ลดลงมาครึ่งหนึ่ง กลัวธาตุไฟไม่ย่อยอาหาร ผู้คนเอาเงินข้าวของมาให้ท่านไม่เอาอะไรสักอย่าง แจกจ่ายไปตามวัดต่าง ๆ ส่งเข้าวัดเมืองอุบล ส่งไปช่วยกิจการโรงเรียนของสมเด็จอ้วนฯ อายุยืนกว่าสมเด็จอ้วนฯ

    ท่านอาจารย์ลี (ธมฺมธโร) มาตรวจการแทนสมเด็จอ้วนฯ ได้เอาของฝากจากสมเด็จฯ ไปถวายให้ แต่อัญญาท่านข้าวต้มนี้เคารพนับถือสมเด็จอ้วนมาก ไม่ถือว่าเคยเป็นสหธรรมกันมาก่อน แต่ถือเคารพในฐานะอื่น ท่านอาจารย์สิงห์ (ขนฺตยาคโม) ว่าเพราะการกินของเพิ่นนั่นเองถึงเข้าศึกษาในกรุงเทพมิได้ แต่ก็จำบาทพระคาถาได้มาก ภาวนาอย่างอื่นไม่เอา เอาแต่ศึกษาในกสิณ ปีใดฝนแล้งชาวบ้านก็ขอให้เพิ่นเรียกฝนมาให้ เก่งทางด้านกสิณ ที่นอนเพิ่นเอาสะหนะฟูกพื้นบ้านซ้อน ๆ กันหลายเครือหลายชั้นแล้วก็นอน พระโบราณพากันถือปฏิบัติปฏิปทาแปลก ๆ แต่ก็มีดีของตนทุกองค์ เพราะใส่อกใส่ใจดี (ปฏิปทาการบำเพ็ญใช่ว่าจะเหมือนกันที่ไหน)

    ๖๘. อัญญาท่านธรรมปาล คนชาวเมืองอุบล ไปคล้องช้างป่าโพป่าลายเมืองแม้วแม่กัสสี ฝั่งลาว เป็นป่าช้างอยู่ ไปคล้องเอาช้างมาใช้งานเข้าป่าลึกไปปะเอากับหมู่คนป่า คนใหญ่เขาวิ่งหนีกันหมด เพิ่น (อัญญาท่านธรรมปาล) เป็นเด็กน้อยหนีไปไม่ทัน เขาเอาช้างไล่จับเอา ช้างเอางวงกอดไว้เขาเอากลับมาเมืองอุบล

    ทีแรกก็ให้กินข้าวโพด ข้าวฟ่าง คั่วข้าวตอกกับน้ำผึ้งให้กิน ต่อมาก็ผสมกับสุกลงไป ให้กินผักกินเนื้อ ค่อย ๆเพิ่มข้าวให้ทีละนิด ๆ จนหลายปีกินข้าวนึ่งได้ โตใหญ่มาเขาเอาไปไว้วัดให้รับใช้พระเณร ให้พระเณรสอนหนังสือ เรียนหนังสือไทยน้อย ไทยกลาง ไทยลาว หนังสือเวียงจันทร์ มูลกัจจายน์ เรียนได้ดีเรียนเก่ง แปลหนังสือได้ แปลมคธบาลีได้ เขาจึงให้อยู่วัดป่าน้อย เป็นหลักเป็นเค้าสงฆ์ศาสนาในวัดป่าน้อยเมืองอุบลนั้นเอง

    จำบาทพระคาถาของพระพุทธเจ้าได้ ๓ หมื่นบาทพระคาถา ท่องได้แปลได้ขยายได้ เป็นต้นเค้าของนักปราชญ์เมืองอุบลในต้นยุคต้นสมัย เมืองอุบลฯ ใครติดขัดอะไรไปถามไม่มีข้องคา สาธยายชี้แจงให้แจ่มแจ้งหมด จนที่สุด เขาตั้งชื่อให้ว่า ธรรมปาล ผู้รักษาพระธรรม
    ทางด้านการปฏิบัติก็มิใช่ของเล่น ขึ้นไปเดินจงกรมอยู่บนหลังคากุฏิได้ เวลาเดียวกันผู้คนเห็นพร้อมกันหลายที่คนนั้นเห็นอยู่นั่น คนนั้นเห็นอยู่นั่น คนคุยอยู่วัดก็ว่าเวลานี้นั่งคุยอยู่วัดอยู่ จะไปเห็นอยู่ที่อื่นได้อย่างใด ผู้คนถกเถียงกัน พากันเข้าไปถามเพิ่น ๆ ก็ว่า “ อยากไปก็ไป อยากมาก็มา อยากอยู่ก็อยู่ ” องค์นี้เก่งหลายอย่าง เคร่งครัด เป็นรุ่นใหญ่รุ่นโบราณก่อนรุ่นอื่นสุดในเมืองอุบล เวลาเขาเผาศพ ทำศพอยู่วัดป่าน้อย หากระดูกไม่มี มีแต่ขี้เถ้าไฟ น่าแปลกมาก อัญญาท่านธรรมปาล

    ๖๙.) ท่านอาจารย์สิงห์ (ขนฺตยาคโม) เป็นลูกศิษย์ต้นของเพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) แต่ก่อนเป็นครูสอนหนังสือ เป็นคนบ้านหนองขอน หัวตะพาน เทศน์ดังชัดเจน ปัญญาไว รู้จักจิตใจของผู้คนพระเณร ชอบเขียนหนังสือ ชอบตั้งปัญหาธรรมให้อุบายในการข่มใจของพระเณร สงเคราะห์ดูแลเอาใจใส่พระเณร เพิ่นครูอาจารย์มั่นวางใจกว่าองค์อื่น

    เคร่งครัดมากในพระวินัย สอนพระเณรก็ให้รักษาวินัยศีลของตนกว่าชีวิต รู้ข่มขู่พระเณรที่หละหลวม ใช้ไม้สีฟันใหญ่ ฟันห่างฉันจังหันได้มาก ชอบผักกับน้ำพริก ชอบรสเผ็ด ยกย่องออกชื่อพระเณร ผู้ขยันการงาน ผู้อดทน ผู้ตั้งใจ ชื่นชมต่อผู้เคารพธรรมเคารพวินัย เคารพการศึกษา
    สอนให้ถือเอาแบบอย่างพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ให้รักษาพระศาสนาแบบพระเถรเจ้าทั้งหลายที่พากันรักษามา ทำสังคายนามาเป็นทอด ๆ ไม่ให้หละหลวม ไม่ให้ย่อหย่อน เหยาะแหยะโลเล
    ท่านอาจารย์สิงห์ (ขนฺตยาคโม) สอนละเอียดดีมาก หัวค่ำให้ไหว้พระสวดมนต์ แผ่เมตตา เดินจงกรมภาวนา ค่อนคืน มันสงบสงัดดีให้ลุกขึ้น ล้างหน้าล้างตา เดินจงกรม แผ่เมตตา ภาวนา ใกล้แจ้ง ตี ๓ ตี ๔ ลุกขึ้นไหว้พระ เดินจงกรม ทำวัตร ปฏิบัติครูบาอาจารย์ พูดประจำอยู่เสมอว่า

    “ไม่ภาวนาพ้นทุกข์ไม่ได้ งานของนักบวช คือ ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา สมบูรณ์ได้ด้วยความไม่ประมาท ”

    ๗๐.) ท่านอาจารย์มหาปิ่น (ปญฺญาพโล) เปรียญ ๕ ประโยคจากวัดบวร กรุงเทพฯ เป็นน้องชายแท้ ๆ ของท่านอาจารย์สิงห์ (ขนฺตยาคโม) จำบาทพระคาถาได้เก่งได้มาก มักพูดเป็นบาลี เพิ่นครูอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) ชวนให้ออกปฏิบัติ อยู่เมืองอุบล ก็ได้ท่านอาจารย์มหาปิ่น (ปญฺญาพโล) เป็นผู้ชี้แจงแนะนำในความรู้จากหนังสือวรรณา ๒ เล่ม แปลบทสวดมนต์ไหว้พระ ให้พระเณรฟังแม้แต่เพิ่นครูอาจารย์มั่นก็เปิดโอกาสให้แสดงบาลี แปลบาลีให้ฟัง ชี้แจงกรรมฐาน ๕ ได้ละเอียด ว่า

    “ กรรมฐาน ๕ เป็นฐานของใจ จึงชื่อว่า กรรมฐาน เพราะเป็นทางเริ่มต้นที่จะพ้นทุกข์ได้ ”
    มักถามพระเณรเสมอๆ ว่า
    “ ผู้ใดเกิด ผู้ใดแก่ ผู้ใดเจ็บ ผู้ใดตาย ผู้นั้นเป็นใคร
    ผู้รู้เกิดแก่เจ็บตาย ผู้นั้นเห็นมรรค
    ผู้สมบูรณ์ในศีลจึงเป็นผู้สมบูรณ์ที่ ๑
    ผู้สมบูรณ์ในสมาธิจึงเป็นผู้สมบูรณ์ที่ ๒
    ผู้สมบูรณ์ในปัญญาจึงเป็นผู้สมบูรณ์ที่ ๓ ”
    ท่านอาจารย์มหาปิ่นชอบฉันข้าวจ้ำน้ำผึ้ง แต่ท่านอาจารย์สิงห์น้ำพริกต้องเผ็ด ท่านอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล ติดอาหารทางภาคกลาง ชอบรสหวานรสส้ม ท่านอาจารย์สิงห์ต้องคอยหาน้ำผึ้งไว้ให้

    คัดจากธรรมประวัติองค์หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ : วัยติดตนต้นธรรม

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ท่านครูอาจารย์สิงห์.jpg
    -ท่านครูอาจารย์สิงห์.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    จิตนี้เป็นพุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย โดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    จิตหนึ่งนี้เท่านั้นเป็นพุทธะ ไม่มีความแตกต่างระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้นเขาจึงแสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำให้เขาพลาดจากพุทธะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งที่เป็นพุทธะให้เที่ยวแสวงหาพุทธะ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะพยายามจนสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถบรรลุถึงพุทธะได้เลย

    เขาไม่รู้ว่าเพียงแต่เขาหยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้คือพุทธะนั่นเองและพุทธะคือสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่งๆ นี้เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฎอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่

    สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้ง ๖ ก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วน เหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงดูเถิดเมื่อเราผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว คือเป็นจิตหนึ่งหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะทั้งหลายอยู่แล้ว

    เราก็ไม่ควรจะพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งที่สมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ (ถึงแม้ว่าจะเคร่งครัดต่อการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ก็ตาม แต่จิตยังชอบปรุงแต่งอยู่ก็จัดว่าการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ นั้นไร้ความหมาย) แต่เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ก็ทำมันไป แต่อย่าไปยึดมั่นถือมั่นและเมื่อโอกาสผ่านไปแล้วอยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน

    ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิตนั้นคือพุทธะก็ดี และถ้าเรายังยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆอยู่ด้วยความยึดมั่นถือมั่นอยู่ก็ดี และต่อการบำเพ็ญกุศลต่างๆ ด้วยความยึดมั่นถือมั่นอยู่ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่

    จิตหนึ่งนั่นแหละคือพุทธะ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิเช่นเดียวกับความว่าง คือมันไม่มีรูปร่างหรือปรากฎการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธะที่มีอยู่ตลอดกาลนั้นไม่ใช่พุทธะแห่งความยึดมั่นถือมั่น

    จิตเป็นเหมือนกับความว่างซึ่งภายในนั้นไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้เมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลกความว่างที่แท้จริงนั้นมันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อดวงอาทิตย์ตกความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้นยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิตของพุทธะและของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น

    ถ้าเรามองพุทธะว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ผุดผ่องใสและรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เขลา มืดมนและมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สกนึกคิดเหล่านี้อันเป็นผลมาจากความยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมนั้นจะกันเราไว้เสียซึ่งความรู้อันสูงสุด ถึงแม้เราจะปฏิบัติกันมาตลอดกี่กัปนับไม่ถ้วนประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้นและไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียวที่จิตจะอิงอาศัยได้เพราะจิตนั้นเองคือพุทธะ

    เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่องทาง ทางโน้นไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะแสวงหาพุทธะนอกตัวเราเอง พวกเรายังคงยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลาย ต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้นทั้งหมดนี้เป็นอันตราย (กล่าวคือ เราควรทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาด้วยการละด้วยการวาง ไม่ทำด้วยการยึดมั่นถือมั่น และหวังผล เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเป็นเพียงเสบียงเป็นปัจจัยช่วยเหลือเราเท่านั้น)

    เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้นโดยภายในแล้ว ย่อมเหมือนกับไม้หรือหินคือภายในนั้นปราศจากการเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วเหมือนกับความว่าง กล่าวคือปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะไม่มีรูปร่างและไม่อาจจะหายไปได้เลย

    จิตนี้ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหากปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสัตว์โลกทั้งปวงก็เช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง

    หลักธรรมที่แท้จริงก็คือจิตนั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ จิตนั่นแหละคือหลักธรรมซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต การที่กล่าวว่าจิตนั้นไม่ใช่จิตดังนี้นั่นแหละย่อมหมายถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริง สิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด

    จิตนี้คือพุทธโยนิอันบริสุทธิ์ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นของธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้นและไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่หยุด

    ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้วเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือความว่างเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกหนแห่ง สงบเงียบและไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง

    จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ

    สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งมันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพุทธะอยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ได้สำเร็จ แล้วคนพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย

    พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้นไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียงจิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งแล้วมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย จิตหนึ่งซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ทั้งนี้เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัด เหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมด

    จิตหนึ่งนี้เป็นสิ่งที่เราเห็นตำตาแท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผลกับมันดูซิ เราจะหล่นไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่างอันปราศจากขอบทุกๆ ด้านซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้
    การหยุดคิดหยุดนึกหยุดกริยาแห่งจิตหมายถึงการหยุดสังสารวัฏนั่นเอง เพราะไม่ว่าเราจะกำหนดจิตคิดสิ่งใดๆ สิ่งนั้นๆ ก็ยังเป็นสิ่งภายนอกอยู่ดี เป็นของปรุงแต่งขึ้นมาในโลก การกำหนดรู้ก็ย่อมมีสิ่งที่ถูกกำหนดรู้เป็นธรรมดา จะเป็นรูปก็ตามเป็นนามก็ตาม เมื่อสิ่งนั้นถูกกำหนดรู้ได้ก็ย่อมจะมีสภาวะ เมื่อมีสภาวะก็ย่อมมีอันเสื่อมไปเป็นธรรมดา เพราะเป็นของปรุงแต่งจากเหตุปัจจัยทั้งสิ้น

    “…จิตที่ส่งออกนอกเพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้นเป็นสมุทัย
    ผลของจิตที่ส่งออกนอกนั้นเป็นทุกข์
    จิตเห็นจิตเป็นมรรค
    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตเป็นนิโรธ…”

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ไม่มีคว.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…ตามปูมประวัติหมู่บ้านบอกว่า ชาวบ้านผือได้ให้ความเคารพและผูกพันกับหลวงปู่มั่น(ภูริทัตโต) มาก เมื่อหลวงปู่มั่น แสดงเจตนาที่จะทิ้งวัดเพื่อไปปลงสังขารที่สกลนคร เนื่องจากท่านได้พิจารณาเห็นว่า หากท่านมรณภาพที่วัดป่าบ้านผือ ชาวบ้านคงต้องฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอีกเป็นจำนวนมากเลี้ยงดูผู้ที่มางานปลงศพของท่าน ทำให้ท่านเกิดความเมตตาสงสารสัตว์เหล่านั้นมาก ในที่สุดท่านจึงปรารถนาการปลงสังขารที่อำเภอเมืองสกลนคร เพราะเห็นว่าที่นั่นมีตลาดที่ทำมาค้าขายกันเป็นปกติอยู่แล้ว อาหารการกินก็หาซื้อได้ง่าย

    หลวงปู่มั่นได้สั่งเสียชาวบ้านผือครั้งสุดท้ายด้วยถ้อยคำภาษาอีสานที่กินใจอย่างยิ่งว่า

    “เมือเสียเด้อ หมดทอนี่หละเด้อ เอาน้ำไปหดไม้แก่นล่อน ให้มันป่งเป็นใบ บ่มีดอกเด้อ ให้พากันเฮ็ด พากันทำตามที่อาตมาเคยพาเฮ็ดพาทำนั้นเด้อ อย่าลืมเด้อ…ให้พากันรักษาศีลห้า ถ้าผู้ใด๋รักษาศีลห้าได้ตลอดชีวิต ผู้นั้นเลิศที่สุด หมดทอนี้หละ”

    จากบันทึกของหลวงตาทองคำ จารุวณฺโณผู้อุปฐากองค์หลวงปู่มั่นในช่วงอาพาธได้บันทึกเหตุการณ์ในช่วงที่ท่านมาพักอาพาธไว้ในหนังสือ ” บันทึกวันวาน ” ไว้ดังนี้

    “… คืนวันที่ ๑๑ ที่มาพักวัดกลางบ้านภู่ เวลาตีสามเห็นจะได้ ท่านพระอาจารย์มีอาการไม่สบายมาก ท่านโบกมือขวาบอกว่าไปสกลฯ ไปสกลฯ จนอาการทุเลาลง คณะคิลานุปัฎฐาก ( ผู้ปฏิบัติภิกษุไข้ ) ก็ทำการเช็ดตัว ถวายน้ำล้างหน้า เช็ดหน้า ห่มผ้า ก็รุ่งสว่างพอดี

    อาหารบิณฑบาตพระป่วยก็นำมา ผู้เล่าตักถวาย ท่านอาจารย์วันประคองข้างหลัง อาหารช้อนแรก ท่านเริ่มเคี้ยวพอกลีนได้ครึ่งหนึ่ง ก็มีอาการไอ ไอ ไอติดต่อกัน อาหารช้อนแรกยังไม่ได้กลีนก็ต้องคายออก

    ตักถวายช้อนที่สอง ท่าน ยังไม่ได้เคี้ยวเกิด ไอ ไอ ไอใหญ่ ท่านคายลงกระโดนแล้วบอกว่า

    ” เรากินมา ๘๐ ปีแล้ว กินมาพอแล้ว ”

    ผู้เล่าถวายน้ำอุ่นให้ดื่มเพื่อระงับอาการไอ

    ท่านบอกว่า ” เอากับข้าวออกไป ”

    ผู้เล่าอ้อนวอนท่าน อีก ” เอาอีกแล้ว ทองคำนี้ พูดไม่รู้จักภาษา บอกว่า เอาออกไป มันพอแล้ว ” ก็จำใจนำออกไป

    พอท่านบ้วนปากเสร็จ จึงเข้าไปประคองแทนท่านอาจารย์วัน ท่านบอกว่า ” พลิกเราไปด้านนั้นทางหน้าต่างด้านใต้ ” แล้วบอกว่า ” เปิดหน้าต่างออก ”

    ผู้เล่ากราบเรียนว่า ” อากาศยังหนาวอยู่ สายๆ จึงค่อยเปิด ”

    “เอาอีกแล้ว ทองคำนี้ไม่รู้ภาษาจริงๆ บอกว่าให้เปิดออก หูจาวหรือจึงไม่ได้ยิน”

    พอเปิดหน้าต่างออกไป อะไรได้คนเต็มไปหมดทั้งบริเวณ ประมาณได้เป็นร้อยๆ คน ทุกคนที่มาจะเงียบหมดไม่มีเสียงให้ปรากฏ ถ้าเราอยู่ที่ลับตาจะไม่รู้ว่ามีคนมาทุกคนก้มกราบประนมมือ

    ท่านพระอาจารย์กล่าวว่า

    “พวกญาติโยมพากันมามาก มาดูพระเฒ่าป่วยดูหน้าตาสิ เป็นอย่างนี้ละญาติโยมเอ๋ย ไม่ว่าพระไม่ว่าคน พระก็มาจากคน มีเนื้อมีหนังเหมือนกัน คนก็เจ็บป่วยได้ พระก็เจ็บป่วยได้ สุดท้ายก็คือ ตาย ได้มาเห็นอย่างนี้แล้วก็จงพากันนำไปพิจารณา เกิดมาแล้ว ก็แก่ เจ็บ ตาย แต่ก่อนจะตาย ทานยังไม่มีก็ให้มีเสีย ศีลยังไม่เคยรักษาก็รักษาเสีย ภาวนายังไม่เคยเจริญ ก็เจริญให้พอเสีย จะได้ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ด้วยความไม่ประมาท นั้นละจึงจะสมกับที่ได้เกิดมาเป็นคน เท่านี้ละ พูดมากก็เหนื่อย” นี้คือ โอวาทที่ท่านฯ ให้ไว้แก่ชาวพรรณานิคมตั้งแต่นั้นจนวาระสุดท้ายท่านไม่ได้พูดอักเลย …”

    ภายหลังญาติโยมทางวัดป่าสุทธาวาสได้จัดรถมารับองค์ท่านและมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาสในคืนวันนั้นเอง…”

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ” การ…ภาวนาทีแรก
    ต้องใช้…สติ
    มีสติ…บังคับ
    อย่า…กดจนเกินไป

    ให้มีสติ…รู้อยู่
    มันจะเคลื่อนไหวไปอย่างไง…ดู

    เช่นอย่างเรา…พุทโธ ๆ
    ให้รู้อยู่…กับพุทโธ
    เอาพุทโธเป็นจุด ที่สติตั้งลงจุด…นั้น

    ความรู้…
    ก็อยู่ที่นั่น กับพุทโธ ๆ
    ให้อยู่…ที่นั่น…”

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ภาวนาทีแรก.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    อย่าเหยียบคนต่ำอย่าล้ำคนสูง
    “ดวงจิตไม่เป็นดีและไม่เป็นชั่ว
    แต่เป็นผู้รู้ดีและรู้ชั่วเป็นผู้ละดีละชั่ว”

    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...