ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันอังคาร ที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม ความว่า

    1f340.png “ดิถีเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว พุทธบริษัททุกหมู่เหล่าพึงระลึกถึงและกระทำสักการบูชาพระรัตนตรัยเป็นกรณีพิเศษ เนื่องด้วยเป็นวันคล้ายวันประกาศพระศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธัมมจักกัปวัตนสูตรเป็นพระปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ กระทั่งมีผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม ขอประทานอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา จึงบังเกิดพระรัตนตรัยครบองค์ ๓

    1f340.png ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงการปฏิเสธส่วนที่สุดโต่งสองทาง คือการประกอบตัวให้พัวพันด้วยกามสุขทั้งหลายทางหนึ่ง และการฝืนตนให้ได้รับความทุกข์ทรมานอีกทางหนึ่ง พร้อมกำหนดแนวทางดำเนินชีวิตโดยทางสายกลาง แสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความดับทุกข์ คืออริยมรรคมีองค์ ๘

    1f340.png ในอริยอัฏฐังคิกมรรคดังกล่าวนั้น มีข้อปฏิบัติสำคัญเพื่อความพ้นทุกข์ประการหนึ่ง ซึ่งเราทั้งหลายพึงพินิจพิจารณาให้ถ้วนถี่ พร้อมน้อมนำมาเป็นวิถีปฏิบัติประจำชีวิต ได้แก่ ‘สัมมาวาจา’ ที่แปลว่า การเจรจาชอบ

    1f340.png ในสังคมที่มีบุคคลหลายหมู่คณะอยู่ร่วมกัน มีผู้คนเจรจาติดต่อกันผ่านอุปกรณ์การสื่อสารอันรวดเร็ว และง่ายดายขึ้นนั้น ย่อมทำให้ ‘วจีทุจริต’ หรือการประพฤติชั่วทางวาจาปรากฏขึ้นอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ คำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด และคำเพ้อเจ้อเหลวไหล ล้วนเป็นต้นเหตุใหญ่ของความวิวาทบาดหมาง ความขุ่นเคือง และความคลางแคลงใจกัน

    1f340.png เพราะฉะนั้นจึงขอสาธุชนทุกท่าน อาศัยดิถีอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาที่มาบรรจบถึง เป็นโอกาสทบทวนจิตใจและตั้งปณิธานว่าจะดำเนินชีวิตด้วย ‘ปิยวาจา’ พูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน จริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ เหมาะสำหรับกาลเทศะ เพื่อความผาสุกร่มเย็นของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมประเทศชาติสืบไป

    1f340.png ขออานุภาพแห่งคุณความดีที่ท่านทั้งหลายร่วมกันบำเพ็ญ จงเป็นเครื่องกางกั้นสรรพพิบัติภัย อันอาจก่อให้เกิดความแตกแยกร้าวฉาน ขอคุณธรรมประจำใจสาธุชน จงดลบันดาลความสมัครสมานสามัคคีให้บังเกิดในบ้านเมืองไทย เพื่อความร่มเย็นสถาพรภายใต้ร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป ตลอดกาลนาน เทอญ.”

    -ว.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    พระธรรมเทศนา ปลุกใจสู้กิเลส หลวงปู่มั่น(ภูริทัตโต) หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี ไม่มีอะไรจะสุขหรือทุกข์ยิ่งกว่าใจ ความสกปรกก็ดี ความสะอาดก็ดี ไม่มีอะไรจะสกปรกและสะอาดยิ่งกว่าจิตใจ ความโง่ก็ดี ความฉลาดก็ดี ก็คือใจ ท่านสอนไว้ว่า “มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา” สิ่งทั้งหลายสำคัญอยู่ที่ใจ สำเร็จแล้วด้วยใจ

    ศาสนาก็สอนลงที่ใจ ศาสนาออกก็ออกจากใจ รู้ก็รู้ที่ใจ พระพุทธเจ้ารู้ก็รู้ที่ใจ นำออกจากใจนี้ไปสอนโลก ก็สอนลงที่ใจของสัตว์โลก ไม่ได้สอนที่อื่นใดเลย

    ในโลกธาตุนี้จะกว้างแคบขนาดไหนไม่สำคัญ ธรรมมีจุดหมายลงที่ใจแห่งเดียว ใจที่ควรกับธรรมอยู่แล้วก็เข้าถึงกันได้โดยลำดับ ที่ท่านว่า “มีอุปนิสัย” นั้นหมายถึง ผู้ควรอยู่แล้ว เห็นได้อย่างชัดเจน ผู้มีนิสัยสูงต่ำต่างกันอย่างไรพระองค์ทรงทราบ เช่น ผู้มีอุปนิสัยที่จะสามารถบรรลุถึงที่สุดแห่งธรรม ควรจะเสด็จไปโปรดก่อนใครๆ เพราะเกี่ยวกับชีวิตอันตรายที่จะมาถึงผู้นั้นในกาลข้างหน้า เร็วกว่าธรรมดาที่ควรจะเป็น ก็รีบเสด็จไปโปรดคนนั้นก่อน ที่ท่านว่า “ทรงเล็งญาณดูสัตวโลก” ผู้ที่มาเกี่ยวข้องกับ “ตาข่าย” คือพระญาณของพระองค์

    คำว่า “เล็งญาณดูสัตวโลก” นั้น ท่านเล็งญาณดูจิตใจนั่นเอง ท่านไม่ได้เล็งญาณดูต้นไม้ภูเขา ดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นวัตถุหยาบๆ และใหญ่โตยิ่งกว่าคนและสัตว์ แต่เมื่อเกี่ยวกับธรรมแล้ว ใจเป็นสิ่งที่ใหญ่โตมากกว่าสิ่งใดในโลก และเหมาะสมกับธรรมอย่างยิ่ง การเล็งญาณก็ต้องเล็งดูที่ใจ การสั่งสอนก็ต้องสั่งสอนลงที่ใจ ให้ใจรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ ซึ่งมีอยู่กับใจเอง

    สำหรับเจ้าของไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าอะไรผิดอะไรถูก การแก้ไขจะแก้ด้วยวิธีใดก็ไม่ทราบทางแก้ไข วิธีแก้ไขพระองค์ก็สอน ไม่ใช่สิ่งที่นำมาสอนนั้นไม่มีอยู่กับจิตใจของสัตว์โลก เป็นสิ่งที่มีอยู่ด้วยกัน เป็นแต่เพียงผู้นั้นยังไม่ทราบ ถูกปิดบังหุ้มห่ออยู่ด้วยสิ่งสกปรกทั้งหลาย ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ไม่มีอะไรที่จะสกปรกยิ่งกว่าใจ และสกปรกไม่มีวันสะอาดเลยถ้าไม่ชำระซักฟอกด้วยการบำเพ็ญธรรม ร่างกายเราสกปรกยังมีวันชะวันล้างให้สะอาดได้ เสื้อผ้ากางเกงสถานที่สกปรก ยังมีการชำระซักฟอกเช็ดถูล้างให้สะอาดสะอ้านได้ตามกาลเวลา

    แต่จิตใจที่สกปรกโดยที่เจ้าของไม่ได้สนใจนั้นน่ะ มันสกปรกมาตั้งแต่เมื่อไหร่ และสกปรกไปตลอดกาลตั้งแต่วันเกิดจนกระทั่งวันตาย ภพนี้ถึงภพนั้น ภพไหนก็ภพไหน มีแต่เรื่องสกปรกพาให้เป็นไป พาให้เกิดพาให้ตายเรื่อยๆ ไปอย่างนั้น หาเวลาสะอาดไม่ได้ ท่านเรียกว่า “ใจสกปรก” สิ่งที่สกปรกมันจะพาไปดีได้อย่างไร? อยู่ก็อยู่กับความสกปรก ไม่ใช่ของดี ผลแห่งความสกปรกก็คือความทุกข์ความลำบาก คติที่ไปก็ลำบาก สถานที่อยู่ก็ลำบาก กำเนิดที่เกิดก็ลำบาก มีแต่ของลำบาก ลำบากหมดเพราะความสกปรกของใจ จึงไม่ใช่เป็นของดี ควรจะเห็นโทษของใจที่สกปรก ไม่มีสิ่งใดที่น่าสะอิดสะเอียนยิ่งกว่าใจที่สกปรก อย่างอื่นที่สกปรกไม่ค่อยได้มีครูมีอาจารย์สอนกันเหมือนใจสกปรก

    ส่วนจิตใจที่สกปรกนี้ ต้องหาผู้สำคัญมาสอนจึงจะสอนได้ ใครจะมาสอนเรื่องการซักฟอกจิตใจที่สกปรกนี้ให้สะอาดสะอ้านไม่ได้ นอกจากธรรมของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ที่ทรงรู้ทรงเห็น และทรงสละเป็นสละตายในการบำเพ็ญ เพื่อรู้ทั้งพระทัยของพระองค์เองตลอดถึงวิธีแก้ไข แล้วก็นำมาสั่งสอนโลกได้ถูกต้อง ตามวิธีที่พระองค์ทรงบำเพ็ญและได้ทรงเห็นผลนั้นมาแล้ว ใจจึงต้องมีครูอาจารย์สอนอย่างนี้

    ความทุกข์มันก็เป็นผลมาจากสิ่งที่สกปรกนั้นเอง ออกมาจากความโง่ โง่ต่อตัวเองแล้วก็โง่ต่อสิ่งต่างๆ ไปเรื่อยๆ ตัวเองโง่อยู่แล้ว สิ่งที่มาเกี่ยวข้องก็ไม่ทราบว่าอะไรถูกอะไรผิด แม้ไม่ชอบใจก็ต้องได้ยึดต้องได้คว้า คนเราจึงต้องมีทุกข์ทั้งๆ ที่ไม่ต้องการกันเลย แต่ทำไมจึงต้องเจอกันอยู่ทุกแห่งทุกหนทุกเวล่ำเวลา ทุกสัตว์ทุกบุคคล ก็เพราะไม่สามารถที่จะหลบหลีกปลีกตัวออกได้ ด้วยอุบายต่างๆ แห่งความฉลาดของตน นั้นแลจึงต้องอาศัยคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ได้รับการซักฟอกด้วยความดีทั้งหลายเป็นลำดับๆ มา

    ทานก็เป็นการซักฟอกกิเลสประเภทหนึ่ง ศีลก็เป็นการซักฟอกกิเลสประเภทหนึ่ง ภาวนาก็เป็นการซักฟอกกิเลสประเภทต่างๆ รวมตัวเข้ามาอยู่ในองค์ภาวนานี่! ล้วนแต่เป็น “น้ำสะอาด” ที่ซักฟอกสิ่งสกปรกซึ่งรกรุงรังอยู่ภายในจิตใจของสัตว์โลกนี้แล

    อุบายวิธีต่างๆ พระพุทธเจ้าจึงได้สอนกันมาเป็นลำดับลำดา องค์นี้ผ่านไปแล้วองค์นั้นก็มาตรัสรู้ ตรัสรู้ก็ตรัสรู้ในธรรมอันเดียวกัน ความจริงอันเดียวกัน เพื่อจะแก้กิเลสตัณหาอาสวะของสัตว์โลกอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้นโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงเหมือนๆ กัน

    นี่เรานับว่าเป็นผู้มีวาสนา ได้เป็นผู้ใคร่ต่อศีลต่อธรรม ซึ่งเป็น “น้ำที่สะอาดที่สุด” สำหรับชะล้างสิ่งที่สกปรกที่มีอยู่ภายในใจของตน คนที่ไม่มีความสนใจกับธรรมไม่เชื่อธรรมและไม่เชื่อศาสนา เหล่านี้มีจำนวนมากมาย เราไม่ได้เข้ากับคนประเภทนั้นก็นับว่า “เป็นวาสนาอย่างยิ่ง”

    แม้คนดีมีธรรมในใจจะมีจำนวนน้อย ก็มีเราคนหนึ่งที่มีส่วนอยู่ด้วย สำหรับผู้ที่ใคร่ต่ออรรถต่อธรรม มีความเชื่อความเลื่อมใสพระโอวาทของพระพุทธเจ้าที่ทรงสั่งสอนไว้ นับว่าเป็นผู้ที่มีวาสนา นี่แหละวาสนาของเรา! คืออันนี้เองเป็นพื้นฐานที่จะให้เราได้บำเพ็ญความดีสืบเนื่องกันเป็นลำดับมา เป็นความเจริญรุ่งเรือง จิตใจก็จะได้มีความสะอาดสะอ้านขึ้น เมื่อจิตใจมีความสะอาดขึ้นโดยลำดับ ความสุขก็ปรากฏขึ้นเป็นเงาตามตัว ความเพลินอันใดจะเหมือนความเพลินของใจ ที่รื่นเริงไปด้วยอรรถด้วยธรรม มีความรักใคร่ใฝ่ใจในธรรม

    การประพฤติปฏิบัติก็เป็นไปด้วยความอุตส่าห์พยายาม ผลก็ปรากฏขึ้นมาให้เป็นความสงบร่มเย็น เป็นความเพลินอยู่ภายในจิตใจ ท่านจึงว่า “รสอะไรก็สู้รสแห่งธรรมไม่ได้” “รสแห่งธรรมชำนะซึ่งรสทั้งปวง” คือรสอันนี้ไม่มีวันจืดจาง ไม่มีเบื่อ ไม่มีชินชา เป็นรสหรือเป็นความสุข เป็นความรื่นเริงดูดดื่มไปโดยลำดับลำดา แม้ที่สุดจนมาถึงขั้น วิมุตติพระนิพพานแล้ว ความสุขนั้นยิ่งมีความสม่ำเสมอตัว คือคงที่ คงเส้นคงวา ตายตัว

    การพยายามจะยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับความพอใจ เราพอใจแล้วงานอะไรมันก็ทำได้ทั้งนั้น สำคัญอยู่ที่ความพอใจ เล็งดูเหตุดูผลเข้ากันได้แล้ว ความพอใจหากมาเอง ถึงไม่มีก็บังคับได้ เราบังคับเรา บังคับคนอื่นยังยากยิ่งกว่า เราบังคับเรา เราอยู่กับตัวเราเอง จะบังคับให้ทำอะไรก็ได้

    “เอ้า! นั่งภาวนาวันนี้ก็นั่ง” “เอ้า เดินจงกรมก็ได้” เอ้า ทำบุญให้ทาน เอ้า รักษาศีลนะ ได้ทั้งนั้น เราเป็นเจ้าของเราเป็นหัวหน้า เป็นผู้บังคับบัญชาจิตใจ เราเป็นเจ้าของ เจ้าของทุกส่วนภายในร่างกายเรา อาการเคลื่อนไหวทั้งภายนอกภายในเราเป็นผู้รับผิดชอบ เราเป็นผู้ระมัดระวัง เราเป็นผู้รักษาเอง ควรหรือไม่ควรอย่างไร เป็นหน้าที่ของเราจักต้องบังคับบัญชาหรือส่งเสริมเราเอง ในสิ่งที่ควรหรือไม่ควร เราทราบอยู่ด้วยดี

    หากเราไม่สามารถปกครองตนเองได้ในขณะนี้แล้ว เราจะเอาความสามารถมาจากไหนในวันหน้าเดือนหน้าปีหน้า ชาติหน้าภพหน้า? เราต้องทำความเข้าใจไว้กับปัจจุบันด้วยดีตั้งแต่บัดนี้ ปัจจุบันนี้แลเป็นรากฐานสำคัญที่จะส่งไปถึงอนาคตให้มีความเจริญรุ่งเรืองขนาดไหน ต้องไปจากปัจจุบันซึ่งบำเพ็ญอยู่ทุกวัน เจริญอยู่ทุกวัน ส่งเสริมอยู่ทุกวัน บำรุงอยู่ทุกวัน เจริญขึ้นทุกวัน นี่แหละหลักปัจจุบันอยู่ที่เราเวลานี้

    วันเดือนปี ภพชาติน่ะ มันเป็นผลพลอยได้ที่จะสืบเนื่องกันโดยลำดับ เช่นเดียวกับเมื่อวานนี้สืบเนื่องมาถึงวันนี้ แล้วก็สืบเนื่องไปถึงพรุ่งนี้ ส่วนผลที่จะได้รับดีชั่วมันขึ้นอยู่กับเรา เราเป็นผู้รับผิดชอบ จึงต้องพิจารณาให้เห็นประจักษ์เสียแต่บัดนี้ที่ยังควรแก่กาลอยู่

    ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็น “สนฺทิฏฺฐิโก” ประกาศอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่วันพระองค์ทรงประกาศธรรมสอนโลก ก็ประกาศเรื่อง “สนฺทิฏฺฐิโก” นี้ด้วยกันตลอดมาจนปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะพึงรู้พึงเห็นภายในใจของตัวเอง กำลังเรามีเท่าไรเราก็ทราบ ผลที่ได้รับมากน้อยเพียงไรก็ทราบภายในจิตใจ เพราะใจเป็นผู้คอยรับทราบอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วทำไมจะไม่ทราบ บกพร่องที่ตรงไหนเร่งเข้าไป การเร่งอยู่โดยสม่ำเสมอ ความบกพร่องนั้นก็ค่อยสมบูรณ์ขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งสมบูรณ์เต็มที่ได้ ไม่ใช่สมบูรณ์ด้วยความท้อถอย ความท้อถอยเป็นเรื่องที่จะตัดทอนสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ลดลงไป และเป็นสิ่งที่กีดกันสิ่งที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น บรรดาสิ่งที่เราพึงใจทั้งหลายจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีการส่งเสริมอันเป็นเหตุให้ผลเกิดขึ้นได้!

    โง่เราก็โง่มาพอ จะเอาไปแข่งกันได้ยังไง เพราะต่างคนต่างโง่เต็มตัวอยู่ภายในใจด้วยกัน จะเอาไปแข่งกันได้อย่างไร ไม่ใช่เรื่องจะแข่งขันกัน เพราะต่างก็มีด้วยกันทุกคน สกปรกก็สกปรก ทุกข์ก็ทุกข์ด้วยกัน รู้ด้วยกันทุกคน ต่างคนต่างทุกข์ ต่างคนต่างรู้ ต่างคนต่างรับภาระเหล่านี้ด้วยกัน ไม่ใช่เรื่องที่จะมาแข่งขันกันได้ เราไม่มีความสงสัยในเรื่องเหล่านี้

    เอาให้ฉลาด ไม่ฉลาดกว่าใครก็ตาม ขอให้ฉลาดเหนือเรื่องที่เคยมีอยู่ในจิตใจของเราซึ่งเคยหลอกลวงเรามานาน เราคล้อยตามสิ่งเหล่านี้มานานแล้ว ให้พยายามทำความฉลาดให้ทันกันกับเรื่องของตัวเองนี่แหละสำคัญ! เมื่อทันกับเรื่องของตัวเองแล้ว จะเรียกว่า “ชนะตัวเอง” ดังที่ท่านพูดไว้ในหลักธรรมก็ไม่ผิดนี่ ชนะอะไรก็ตาม ที่ท่านพูดไว้ในธรรมบทหนึ่งว่า “โย สหสฺสํ สหสฺเสน สงฺคาเม มานุเส ชิเน, เอกญฺจ เชยฺยมตฺตานํ, ส เว สงฺคามชุตฺตโม” การชนะสงครามที่คูณด้วยล้าน ถึงขนาดนั้น ล้วนแต่เป็นการก่อเวรทั้งนั้น ไม่ใช่เป็นของดีเลย การชนะตนนี่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นของประเสริฐสุด”

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ปลุกใจสู้ก.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ันนี้วันพระ วันสำคัญในทางพระพุทธศาสนาอีกวันคือวันอาสาฬหบูชา เรามาดูกันนะคะว่าวันนี้สำคัญอย่างไร

    วันอาสาฬหบูชา เป็นวันหยุดราชการไทย หนึ่งในวันสำคัญของศาสนาพุทธ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก แก่ปัญจวัคคีย์ เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 และถือเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

    ความสำคัญวันอาสาฬหบูชา
    อาสาฬห หมายถึง เดือน 8 ทางจันทรคติ ดังนั้นคำว่า “อาสาฬหบูชา” จึงหมายถึง การบูชาในเดือน 8 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในศาสนาพุทธ 3 ประการคือ

    เป็นวันที่มีการประกาศศาสนาเป็นครั้งแรก มีการแสดงพระปฐมเทศนา หรือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งเป็นสัจธรรมที่พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณทรงตรัสรู้
    เป็นวันที่เกิดประรัตนไตรครบ 3 องค์ คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ
    เป็นวันที่พระโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม หลังจากฟังปฐมเทศนาจบ

    ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
    ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ถือเป็น เทศนากัณฑ์แรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ โดยมี 5 ท่านคือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะและอัสสชิ เป็นนักบวชที่ออกบวช เพื่อติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้า

    ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปฐมเทศนา ซึ่งโกณฑัญญะ เป็นคนแรกที่ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน ได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา

    ประวัติวันอาสาฬหบูชา
    การบูชาในเดือน 8 เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากในปี พ.ศ.2501 คณะสังฆมนตรี ได้กำหนดให้วันนี้เป็นหนึ่งในวันสำคัญทางพุทธศาสนา มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยมีความสำคัญเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน ให้เวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมเทศนา ส่วนเวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิต โดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชา

    ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ ข อ ง ป ฐ ม เ ท ศ น า

    ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการคือ

    ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
    ๑. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค
    ๒. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น

    การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่

    ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง

    ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม

    ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต

    ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต

    ๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต

    ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี

    ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด

    ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

    ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่

    ๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด

    ๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ

    ๓. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา

    ๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น

    ผ ล จ า ก ก า ร แ ส ด ง ป ฐ ม เท ศ น า

    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแล้ว ปรากฏว่าโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดเข้าใจธรรม เรียกว่า เกิดดวงตาแห่งธรรมหรือธรรมจักษุ บรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอบรรพชาและถือเป็นพระภิกษุสาวก รูปแรกในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ

    เทียนเข้าพรรษา
    เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณีนำเทียนไป ถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจ แสงสว่างของดวงเทียน

    เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)

    -วันสำคัญใ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “วันอาสาฬหบูชา”

    วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงปฐมเทศนา “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” โปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ และท่านโกณทัญญะ ได้บรรลุพระโสดาบันเป็นปฐมสาวก

    (พระธรรมเทศนา หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    (พระราชพรหมยาน แห่งวัดท่าซุง)

    สำหรับใจความจริง ๆ ใน “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” ความมุ่งหมายขององค์สมเด็จพระจอมไตร ก็หมายเอา “อริยสัจ” คือว่า อริยสัจนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสก็หมายถึง เป็นเรื่องของความจริง

    คำว่า “อริยะ” นี่เขาแปลว่า บริสุทธิ์ผุดผ่อง “อริยสัจ” หมายถึง เราทรงความจริงที่เราเข้าถึงความบริสุทธิ์ทางใจ เรื่องของกายแต่ละคนหาความบริสุทธิ์ไม่ได้ เพราะกายมันสกปรก ความบริสุทธิ์จริงๆ มันต้องเป็นความบริสุทธิ์ทางใจ ความบริสุทธิ์ทางใจ ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสในวันนั้นว่า โดยย่อท่าน
    บอกว่า “จงละตัณหา ๓ ประการ” ตัณหา แปลว่า ความอยาก

    ๑. สิ่งที่ยังไม่มี อยากให้มีขึ้นเรียกว่า “กามตัณหา”
    กาม เขาแปลว่า ความใคร่ ตัณหา แปลว่า อยากใคร่ อยากจะได้

    ๒. สิ่งที่มีอยู่แล้ว อยากให้ทรงตัวอย่างนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างนั้นเรียกว่า “ภวตัณหา”

    ๓. สิ่งที่มันเปลี่ยนแปลงไป มันจะต้องแตก มันจะต้องตาย มันจะต้องพัง เราไปนั่งภาวนา บนบานสานกล่าว ขออย่าให้แตก ให้ตาย ให้พังเลย ทรงอยู่อย่างนี้ อย่างนี้ท่านเรียกว่า “วิภวตัณหา”

    ได้ทรงแนะนำบรรดาปัญจวัคคีย์ฤๅษีทั้ง ๕ ว่า เธอทั้งหลาย จงพยายามละตัณหาทั้ง ๓ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

    ด้วยอำนาจของอริยสัจ คือรู้ตามความเป็นจริง จงพิจารณาว่าร่างกายของคนก็ดีของสัตว์ก็ดี ที่มีอยู่นั้นไม่ใช่ร่างกายของเราจริง มันเป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น มันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความเปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง และมีการสลายตัวไปในที่สุด ในเมื่อเธอทั้งหลายวางภาระนี้เสียได้ เธอก็จะพ้นจากความทุกข์ คือเป็นพระอริยเจ้า เข้าพระนิพพาน

    เมื่อองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงเทศน์จบ ปรากฏว่า ท่านโกณฑัญญะเป็นโสดาบัน เป็นเหตุให้องค์สมเด็จพระพิชิตมารดีพระทัยมาก จึงได้เปล่งอุทานวาจาว่า
    “อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ”

    คำว่า “อัญญาสิ” นี่แปลว่า “รู้แล้ว” ซึ่งแปลเป็นใจความว่า “โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ”

    พระองค์ดีใจมาก เพราะเทศน์กัณฑ์แรกมีคนบรรลุมรรคผล แม้แต่เบื้องต้น เป็นอันว่าคำว่า “อัญญา” ต่อหน้าคำว่า “โกณฑัญญะ” เฉยๆ มีมาตั้งแต่วันนั้น

    ท่านโกณฑัญญะท่านฟังอะไร ฟังยังไงจึงได้พระโสดาบัน อันนี้ฟังยังไง ไม่ต้องว่าไปถึง ว่าไปสามเดือนมันก็ยังไม่จบ มาว่ากันถึงอารมณ์ อารมณ์จิต
    เวลานั้นของท่านตั้งยังไง ที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงตัณหา ๓ ประการ ให้วางตัณหา ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ซึ่งเรียกกันว่าอริยสัจ

    อันดับต้น ท่านอัญญาโกณฑัญญะมีความเคารพในพระพุทธเจ้าจริง มีความเคารพในพระธรรมจริง เวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ มีแต่พระพุทธเจ้ากับพระธรรมเข้าถึงไตรสรณคมน์ ๒ ประการ

    แล้วหลังจากนั้นท่านอัญญาโกณฑัญญะไม่มีความสงสัยในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องของศีล ท่านออกบวชมานาน ทรงศีลบริสุทธิ์ จิตยึดมั่นที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า ถ้าถึงนิพพานเมื่อไร นิพพานเป็นแดนเอกันตบรมสุข เป็นสุขอย่างยิ่งไม่มีการเคลื่อน ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
    ไม่ไปไหน ท่านผูกใจในพระนิพพาน จึงเป็นพระโสดาบัน

    สรุปความง่าย ๆ ก็เรียกว่า การที่เป็นพระโสดาบัน ของท่านอัญญาโกณฑัญญะ หรือของบรรดาท่านพุทธบริษัทก็เช่นเดียวกัน เขาเป็นกันอย่างนี้ อารมณ์จริง ๆ เป็นง่าย คือ

    ๑. มีความเคารพในพระพุทธเจ้าจริง เคารพในพระธรรมจริง เคารพในพระอริยสงฆ์จริง

    ๒. ทรงศีล ๕ บริสุทธิ์

    ๓. จิตคิดไว้เสมอว่า ถ้าตายชาตินี้เราไม่ไปไหนนอกจากนิพพาน เราไม่ต้องการเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดาหรือพรหม เราต้องการนิพพานอย่างเดียว

    [​IMG]

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “สติ คือขุมทรัพย์ใหญ่แห่งความเพียร”

    (คติธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

    ใครจะเจริญสมถะ หรือวิปัสสนาขั้นใดก็ตาม ถ้าขาดสติแล้ว สมถะและวิปัสสนานั้น ไม่มีทางเจริญได้เลยนับแต่เริ่มแรกปฏิบัติมา จนสุดทางเดิน ผมไม่มองเห็นธรรมใดที่เด่น และฝังลึกในใจเท่า “สติ” นี่เลย

    “สติ” เป็นทั้งพี่เลี้ยง เป็นทั้งอาหาร เป็นทั้งยารักษาของสมาธิ และปัญญาทุกขั้นธรรมดังกล่าวนี้ จะเจริญได้จนสุดขั้น ของตนล้วนขึ้นอยู่กับสติเป็นผู้บำรุงรักษา โดยจะขาดไม่ได้

    ท่านจงฟังให้ถึงใจ ยึดไว้อย่าหลงลืมสติ นี่แลคือขุมทรัพย์ใหญ่แห่งความเพียรทุกด้าน ต้องผ่านสติ นี้ก่อนจะเคลื่อนไหว โยกย้ายความคิดเห็น ไปในทางใด หยาบหรือละเอียดในธรรมขั้นใดต้องมี “สติ” เป็นตัวการสำคัญในวงความเพียร

    [​IMG]

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “ทุกข์เพราะยึดมั่นในก้อนเสื่อมรูปร่างกายนี้”

    (คติธรรม หลวงพ่อชา สุภัทโท)

    เสื่อมไปอย่างไร เปรียบเหมือนก้อนน้ำแข็ง แต่ก่อนมันเป็นน้ำเขาเอามาทำให้เป็นก้อน แต่มันก็อยู่ไม่นานหรอกมันก็เสื่อมไป เอาก้อนน้ำแข็งใหญ่ๆ เท่าเทปนี้ไปวางไว้กลางแจ้ง จะดูความเสื่อมของก้อนน้ำแข็งก็เหมือนสังขารนี้ มันจะเสื่อมทีละน้อยทีละน้อย ไม่กี่นาทีไม่กี่ชั่วโมงก้อนน้ำแข็งก็จะหมด ละลายเป็นน้ำไป นี่เรียกว่า เป็นขะยะวัยยัง ความสิ้นไป ความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย

    เป็นมานานแล้ว ตั้งแต่มีโลกขึ้นมา เราเกิดมา เราเก็บเอาสิ่งเหล่านี้มาด้วยไม่ใช่ว่าเราทิ้งไปไหน พอเกิดเราเก็บเอาความเจ็บ ความแก่ ความตายมาพร้อมกัน

    ดังนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจึงตรัสไว้ว่า ขะยะ-วัยยัง ความสิ้นไปเสื่อมไปของสังขารทั้งหลาย เรานั่งอยู่บนศาลานี้ทั้งอุบาสก อุบาสิกา ทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งหมดนี้ มีแต่ก้อนเสื่อมทั้งนั้นนี่ที่ก้อนมันแข็ง เปรียบเช่นก้อนน้ำแข็ง แต่ก่อนเป็นน้ำ มันเป็นก้อนน้ำแข็งแล้วก็เสื่อมไป เห็นความเสื่อมมันไหม ดูอาการที่มันเสื่อมซี ร่างกายของเรานี่ทุกส่วนมันเสื่อม ผมมันก็เสื่อมไป ขนมันก็เสื่อมไป เล็บมันก็เสื่อมไป หน้ามันก็เสื่อมไป อะไรทุกอย่างมันเสื่อมไปทั้งนั้น ไม่อยากทุกข์ต้องรู้จักทางแก้ไข

    ถ้ามันทุกข์แล้วไม่รู้จะไปฟ้องใคร ถ้าทุกข์เกิดขึ้นจะไปแก้ตรงไหน คือ อยากแต่ว่าไม่ให้มันทุกข์เฉยๆ เท่านั้น อยากไม่ให้มันทุกข์ แต่ไม่รู้จักทางแก้ไขมัน แล้วก็อยู่ไป อยู่ไปจนถึงวันแก่ วันเจ็บ แล้วก็วันตาย

    คนโบราณบางคนเขาว่า เมื่อมันเจ็บมันไข้จวบลมหายใจจะขาด ให้ค่อยๆเข้าไปกระซิบใกล้หูคนไข้ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ มันจะเอาอะไร พุทโธนั่นนะ คนที่ใกล้จะนอนในกองไฟ จะรู้จักพุทโธอะไร

    ตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอายุรุ่นๆ ทำไมไม่เรียนพุทโธให้มันรู้ หายใจติดบ้างไม่ติดบ้าง “แม่ๆ พุทโธ พุทโธ” ว่าให้มันเหนื่อยทำไม อย่าไปว่าเลย มันหลายเรื่อง เอาได้แค่นั้นก็สบายแล้ว โยมชอบเอาแต่ต้นกับปลายมัน ตรงกลางไม่เอาหรอก ชอบอย่างนั้น บริวารพวกเราทั้งหลายก็ชอบอย่างนั้น ทั้งญาติโยมทั้งพระ ทั้งเณร ชอบแต่ทำอย่างนั้น ไม่รู้จักแก้ไขภายในจิตของเจ้าของ ไม่รู้จักที่พึ่ง แล้วก็โกรธง่าย และก็อยากหลายด้วยทำไม คือคนที่ไม่มีที่พึ่งทางใจ อยู่เป็นฆราวาส มีอายุ ๒๐-๓๐-๔๐ ปี กำลังแรงดีอยู่ พ่อบ้านแม่บ้านทั้งหลายก็พอพูดกันรู้เรื่องกันหน่อย นี่ ๕๐ ปีขึ้นไปแล้ว พูดกันไม่รู้เรื่องกันแล้ว เดี๋ยวก็นั่งหันหลังให้กันหรอก แม่บ้านพูดไปพ่อบ้านทนไม่ได้ พ่อบ้านพูดไปแม่บ้านฟังไม่ได้ เลยแยกกันหันหลังให้กัน เลยแตกกันเลย

    คิดและพิจารณาบ่อยๆ พลอยให้เกิดปัญญา

    วันนี้ขอฝากให้เป็นการบ้าน เอาไปทำการบ้าน จะทำไร่ทำนาทำสวน ให้เอาคำหลวงพ่อมาพิจารณาว่า เราเกิดมาทำไม เอาย่อๆ ว่าเกิดมาทำไม มีอะไรเอาไปได้ไหม ถามเรื่อยๆ นะ ถ้าใครถามอย่างนี้บ่อยๆ มีปัญญานะ ถ้าใครไม่ถามเจ้าของอย่างนี้ โง่ทั้งนั้นแหละ เข้าใจไหม บางทีฟังธรรมวันนี้แล้วกลับไปถึงบ้านจะพบเย็นนี้ก็ได้ ไม่นานนะมันเกิดขึ้นทุกวัน เราฟังธรรมอยู่มันเงียบ บางทีมันรออยู่ที่รถ เมื่อเราขึ้นรถมันก็ขึ้นรถไปด้วย ถึงบ้านมันก็แสดงอาการออกมา อ้อ หลวงพ่อท่านสอนไว้จริงของท่านละมังนี่ ตาไม่ดี ไม่เห็นนะ เอาละ วันนี้เทศน์มากก็เหนื่อย นั่งมามากก็เหนื่อยสังขารร่างกายนี้

    (คัดลอกจาก บางส่วนของหนังสือ “อยู่เพื่ออะไร”)

    [​IMG]

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...