ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “หลวงปู่มั่น พุทธสาวกอรหันต์ที่สมบูรณ์แบบ”

    “องค์กร UNESCO ได้ประกาศยกย่องให้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เป็นบุคคลสำคัญของโลกประจำวาระปี ๒๕๖๓ – ๒๕๖๔

    หลวงปู่มั่น เกิดมาพร้อม บุคลิกพิเศษ ที่ทำให้ท่านกลายเป็น สาวกที่สมบูรณ์แบบ ของพระพุทธเจ้า

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คือหนึ่งในพระวิปัสสนาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย ท่านเป็นผู้มีปฏิปทาสันโดษ มักน้อย แสวงหาความวิเวก และปรารภความเพียรตั้งแต่วันแรกบรรพชา-อุปสมบทจวบจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ชนิดที่เรียกได้ว่าครบถ้วนสมบูรณ์แบบ วัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดของหลวงปู่มั่นก็คือ บิณฑบาตเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร ฉันมื้อเดียวเป็นวัตร และใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

    หากผู้ใดต้องการถวายจีวร ผ้าสบง ผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าเล็กๆ น้อยๆ ใดๆ ให้แก่ท่าน ก็เป็นอันรู้กันว่าจะต้องนำไปวางไว้ที่บันไดบ้าง วางไว้ใกล้ๆ กุฏิของท่านบ้าง วางไว้ตรงทางเดินไปห้องน้ำบ้าง เมื่อท่านเห็นก็จะบังสุกุลเอา บางผืนท่านก็ใช้ บางผืนก็ไม่ได้ใช้ ใครไม่รู้อัธยาศัยแล้วนำไปถวายกับมือ ท่านจะไม่รับ

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระนักปฏิบัติ ท่านเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าที่มีความสมบูรณ์แบบด้วยบุคลิกลักษณะทั้งภายนอกและภายใน นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเกียรติคุณของท่านจึงขจรขจายจนถึงทุกวันนี้ แทนที่ความศรัทธาในตัวท่านจะเลือนหายไปเมื่อท่านละสังขาร ก็กลายเป็นว่าศรัทธานั้นกลับเจริญงอกงามขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

    หลวงปู่มั่นมีไฝอยู่ตรงระหว่างคิ้ว ลักษณะคล้ายกับพระอุณาโลมของพระพุทธเจ้า ไฝเม็ดนี้เป็นจุดดำเล็ก ๆ มีขนสามเส้น ไม่ยาวมาก โค้งหักเป็นตัวอักษร ก. และเป็นเส้นละเอียดอ่อนมาก ถ้าไม่สังเกตจะไม่เห็น เวลาท่านปลงผมจะปลงขนที่ว่านี้ออกด้วย แต่ไม่นานก็งอกขึ้นใหม่ในลักษณะเดิมอีก

    หูของหลวงปู่มั่นมีลักษณะยาน จมูกโด่ง แววตาของท่านก็เหมือนแววตาของไก่ป่า (คือเป็นวงแหวนในตาดำ) ส่วนที่มือของท่านนั้น นิ้วชี้จะยาวกว่านิ้วอื่น แล้วไล่ลงมาจนถึงนิ้วก้อย นิ้วเท้าก็เหมือนกัน

    ตลอดชีวิตของหลวงปู่มั่นนั้น ท่านเดินทางธุดงค์ข้ามภูเขาไปไม่รู้กี่ลูกต่อกี่ลูกจนเท้าพองไปหมด

    ศิษย์ท่านหนึ่งคือหลวงปู่หล้า เขมปัตโต เคยเล่าว่า เวลาล้างเท้าให้หลวงปู่มั่นจะเห็นฝ่าเท้าของท่านเป็นลายก้นหอยสองอัน และมีรอยอยู่กลางฝ่าเท้าเหมือนกากบาท เวลาท่านเดินไปไหนแล้วนำไปก่อน สานุศิษย์จะไม่เดินเหยียบรอยเท้าของท่าน และเมื่อท่านเดินผ่านไปแล้ว ชาวบ้านไปส่องดูก็จะเห็นเป็นลาย “ตารางหมากรุก” ปรากฏอยู่ที่รอยฝ่าเท้าทั้งสองข้าง ส่วนรอยนิ้วเท้าก็เป็นลายก้นหอยเหมือนกัน จะเรียกก้นหอยหรือวงจักรก็ได้ มีอันใหญ่กับอันเล็กสองอัน

    สิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะพิเศษทางกายภาพของหลวงปู่มั่น บุคคลทุกระดับเมื่อเข้าถึงตัวหลวงปู่มั่นแล้ว ท่านจะเป็นกันเองมาก เวลาคุยก็สนุกสนานเหมือนคนรู้จักกันมานาน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า หากบุคคลที่เข้าไปหาท่านเป็นพวกที่มักจะเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ ท่านจะไม่ค่อยเป็นกันเองเท่าไหร่ ถามคำไหน ได้คำนั้น ถ้าไม่ถามท่านก็นั่งเฉย

    หลวงปู่มั่นเคยพูดว่า

    “ผู้ที่จะมาศึกษาธรรมะกับเรา จะเป็นญาติโยมก็ดี หรือเป็นพระสงฆ์ก็ดี ขอให้เก็บหอกเก็บดาบไว้ที่บ้านเสียก่อน อย่านำมาที่นี่ อยากมาปฏิบัติ มาฟังเทศน์ฟังธรรม ถ้านำหอกนำดาบมาจะไม่ได้ฟังเทศน์ของพระแก่องค์นี้”

    แม้กระทั่งเด็กที่ไม่รู้เดียงสา หลวงปู่มั่นก็ทำเสมือนว่าเป็นเพื่อนได้ ในความรู้สึกของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เวลาท่านอยู่กับเด็ก กิริยาของท่านจะเข้ากับเด็กได้ดี

    คุณสมบัติอันเป็นมิตรของท่านนี้ทำให้ใครก็ตามที่เข้าไปหาท่านแล้ว กลับออกมาก็อยากเข้าไปอีก ใครได้ฟังเทศน์ฟังธรรมแล้ว กลับมาก็อยากกลับไปฟังอีก

    ที่มา : ปกิณกธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    หนังสือ “รำลึกวันวาน”
    โดย หลวงตาทองคำ จารุวัณโณ

    [​IMG]

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “หัวใจเราทุกคน คือผู้แบกหามนรกสวรรค์”

    (ธรรมเทศนา หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
    (เทศน์โปรดคุณเพาพงา วรรธนะกุล)
    (ณ วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี)
    (เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๙)

    ไปที่ไหนมีแต่คำถามว่า “นรก สวรรค์ มีไหม?” เราขี้เกียจจะตอบ ไม่ทราบจะตอบไปทำไมกัน ก็ผู้แบกนรก สวรรค์ ก็คือหัวใจซึ่งมีอยู่กับทุกคนอยู่แล้ว
    จะตอบไปให้เสียเวล่ำเวลาทำไมกัน เพราะเราไม่ได้เป็น “สมุห์บัญชีนรก สวรรค์ นี่” แก้ตัวเหตุที่จะไปนรกสวรรค์นี่ซิ! แก้เหตุชั่วและบำรุงเหตุดี คำว่า “ทุกข์”มันก็ไม่มี ถ้าแก้ถูกจุดแล้วมันจะผิดไปไหน!
    เพราะ “สวากขาตธรรม” สอนให้แก้ถูกจุด ไม่ผิดจุด!
    คำว่า “นิยยานิกธรรม” ก็เป็นเครื่องนำผู้ที่ติดอยู่ในความทุกข์ร้อน ด้วยอำนาจแห่งความลุ่มหลงออกไป ด้วย “สวากขตธรรม” อยู่แล้ว จะแก้ที่ไหนถ้าไม่แก้ที่จิต ปัญหาอันใหญ่โตก็มีอยู่ที่จิตนี่เท่านั้น ความรู้อันนี้แหละ หยาบก็อยู่กับความรู้นี้ ละเอียดก็อยู่กับความรู้นี้ ทำให้คนหยาบทำให้คนละเอียด ก็คือความรู้นี้
    เพราะกิเลสเป็นผู้หนุนหลัง ทำให้คนละเอียดใจละเอียด ก็เพราะความดีเป็นเครื่องหนุน ละเอียดจนกระทั่งสุดความละเอียดแล้วก็สุดสมมุติ ยุติด้วยความพ้นทุกข์ ไม่มีเชื้อสืบต่ออีกต่อไป

    (เครดิตข้อมูลจาก เพจ : พุทธมหาเจดีย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ภูผาแดง)

    [​IMG]

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “ภาวนาไปพร้อมทำงาน บุญก็เกิด งานก็ได้”

    (คติธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
    (เล่าโดย หลวงปู่ทุย ฉันทกโร)

    หลวงปู่มั่นเพิ่นว่า บุญบ่ต้องเสียเงินเสียทอง บ่ต้องไปแสวงหาที่ไหน พวกทำนาก็ ทำนาไปนำ พุทโธไปนำ นาก็ได้ บุญก็ได้ พวกเฮ็ดงานก็ เฮ็ดงานไปนำ พุทโธไปนำ งานก็ได้ บุญก็ได้ บ่ต้องไปแสวงหาที่ไหน มันบ่เอา เอาแต่เฮ็ดงานไปนำ เบิ่งโทรทัศน์ไปนำ จิตก็หมุนอยู่ในวัฏวน จำคำหลวงปู่มั่นไว้เด๊

    [​IMG]

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “พ่อแม่ครูอาจารย์ทั้ง ๓ องค์ หลวงปู่ชอบ หลวงปู่ขาว หลวงปู่แหวน เปิดธรรมธาตุให้กันฟัง”

    (จากธรรมประวัติ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม)
    (เว็บไซต์ วัดถ้ำสหาย watthasahai.com)

    หลังออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๘ หลวงปู่ชอบท่านอยากเที่ยววิเวกในเขต อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ก่อนที่จะกลับภาคอีสาน ท่านจึงได้ชวนหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ออกเที่ยววิเวกด้วยกัน แต่หลวงปู่แหวนท่านยังอยากอยู่ที่วัดป่าห้วยน้ำรินต่อไปอีกสักระยะ พอดีกับที่หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งพักอยู่ที่บ้านโหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ทราบว่าสหายทั้งสองคือหลวงปู่แหวน และ หลวงปู่ชอบ พักอยู่ด้วยกันที่วัดป่าห้วยน้ำริน จึงเดินทางมาเยี่ยม หลวงปู่ขาวมีความประสงค์ที่จะชวนหลวงปู่แหวน และ หลวงปู่ชอบกลับอีสานด้วยกัน เพราะต่างองค์ต่างก็มาพักอยู่ทางภาคเหนือหลายปีแล้ว

    เมื่อหลวงปู่ทั้งสามมีโอกาสมาเจอกันอีกครั้ง ต่างองค์ต่างก็เล่าถึงผลของการปฏิบัติสู่กันฟัง ตอนหนึ่งหลวงปู่ขาวได้ถามหลวงปู่ชอบว่า “ ท่านอาจารย์ชอบไปอยู่ทางพม่าเป็นอย่างไรบ้าง ภาวนาดีไหม ” หลวงปู่ชอบตอบว่า “ ภาวนาอยู่ทางเมืองพม่าดีมาก การปฏิบัติมีแต่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จนสุดหนทางที่ผมจะต้องเดินต่อไปอีก ไม่มีภาระอะไรเหลือให้ผมทำอีกแล้ว ผมมีปัญญาเป็นของตนเองแล้ว การเกิดของผมนับแต่นี้เป็นต้นไป เป็นอันว่ายุติไว้ที่ชาตินี้เท่านั้น ”เมื่อหลวงปู่แหวน กับ หลวงปู่ขาว ได้ฟังคำตอบของหลวงปู่ชอบ ต่างองค์ต่างก็ทราบว่าหลวงปู่ชอบท่านสำเร็จกิจแล้วในพระศาสนา ต่างก็พากันอนุโมทนากับหลวงปู่ชอบที่ข้ามพ้นวังวนไปได้แล้ว ส่วนหลวงปู่ขาว ท่านบอกกับสหธรรมิกทั้งสองของท่านว่า “ พันธุ์ข้าวของผมสุกหมดแล้ว ไม่มีเชื้อเหลือพอที่จะปลูกให้มันเกิดขึ้นมาได้อีกแล้ว ” ในส่วนขององค์หลวงปู่แหวนในตอนนั้น ท่านนั่งฟังสหายทั้งสองของท่านสนทนากัน ท่านก็อนุโมทนายินดีกับเพื่อนด้วย ที่พากันก้าวพ้นห้วงทุกข์ไปได้หมด ยังเหลือแต่องค์ท่านเท่านั้นที่ยังมีงานให้ต้องสะสางต่อไปอีก หลวงปู่ชอบ และ หลวงปู่ขาว จึงได้ชวนหลวงปู่แหวนกลับภาคอีสานด้วยกัน แต่หลวงปู่แหวนได้ปฏิเสธ และจะอยู่ที่เชียงใหม่ต่อไป ถ้าตราบใดที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ก็จะไม่กลับเด็ดขาด ถ้าหากว่าสิ้นกิเลสแล้วเมื่อไหร่เรื่องที่จะกลับอีสานค่อยคิดดูอีกที เมื่อเพื่อนยืนยันเช่นนั้น หลวงปู่ขาว กับ หลวงปู่ชอบจึงได้เดินทางกลับภาคอีสานด้วยกัน

    -พ่อแม่ครูอาจารย์.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “หลวงพ่อปาน มีความกตัญญูเป็นเลิศ”

    (ธรรมเทศนา หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง)

    หลวงพ่อปานท่านมีความกตัญญูต่อแม่ท่านมาก ทั้งพ่อทั้งแม่นั่นแหละ พ่อหรือแม่ก็ดีเวลาป่วย ท่านไม่ยอมให้อยู่ที่บ้าน ท่านเอามารักษาตัวอยู่ที่วัด ให้นอนในกุฏิท่าน ผ้านุ่งแม่ของท่านท่านซักเอง ท่านเอาผ้านุ่งแม่ของท่านไปตากไว้บนขื่อ ไอ้ขื่อบ้านนี่มันสูงพอสมควร มันสูงกว่าหัวคนนะ เวลาเดินมาหัวคนนี่ต้องลอดขื่อผ้านุ่งแม่ของท่าน ท่านไปตากไว้บนขื่อ เวลาแม่ของท่านลุกไม่ถนัด ท่านก็อุ้มลุกอุ้มนั่ง ถึงแม้ว่าแม่ของท่านเป็นผู้หญิง แต่ว่าเวลานั้น ท่านเป็นพระ มีคนหลายคนเข้ามาตำหนิท่าน

    พวกผู้หญิงเขาตำหนิท่านว่า “คุณปาน…โยม
    ของคุณนะเป็นผู้หญิง ผ้านุ่งเอาไปตากไว้บนขื่อ
    ซักผ้านุ่งของแม่เอง อุ้มลุกอุ้มนั่ง เช็ดขี้เช็ดเยี่ยว
    เองอย่างนี้แม่จะบาป”

    ท่านก็เลยบอกว่า
    “พระพุทธเจ้าท่านว่าไม่บาปนี่
    พระพุทธเจ้าท่านว่าดี”

    ท่านก็ตอบกับคนพูดว่า “เวลานี้ฉันไม่ใช่คนแล้ว ฉันเป็นพระ พอฉันมาเป็นพระ ฉันก็เป็นลูกของพระพุทธเจ้า ในเมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นพ่อว่าไม่บาปแต่ทรงกล่าวสรรเสริญว่าเป็นความดี ฉันก็เลยทำตามท่านนะซิ หากว่าฉันจะทำตามคนอื่นพูด ก็ชื่อว่าฉันไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ฉันทำตามคำของพระพุทธเจ้า ก็ชื่อว่าฉันไม่เชื่อคนอื่น

    ถ้าว่าฉันเป็นฆราวาส ฉันจะเชื่อชาวบ้าน แต่เวลานี้
    ฉันเป็นพระ ฉันต้องเชื่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า
    ท่านเทศน์ไว้ในพระไตรปิฎกมีอยู่”

    [​IMG]

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ้าทำบุญทุกวัน .. รับรองได้ว่า
    ตายไปนี้ไม่ต้องมารอรับส่วนบุญของผู้อื่น
    ผู้ที่มารอรับส่วนบุญนี้เป็นพวกที่ทำบุญน้อย
    หรือไม่ทำเลย บางพวกก็ไม่ยอมทำบุญเลย

    วันเกิดก็ไม่ทำ
    วันพระวันปีใหม่ก็ไม่ทำ
    วันอะไรก็ไม่ทำทั้งนั้น
    เอาเงินไปกินไปดื่มไปเที่ยวไปเล่นกันดีกว่า
    สนุกกว่าสบายกว่า
    พวกนี้แหละ.. เป็นพวกที่จะต้องมาคอยรับส่วนบุญ
    ถ้าเรายังรักเขาอยู่เป็นห่วงเขาอยู่เวลาเราทำบุญ
    เราก็อุทิศบุญไปได้

    การอุทิศบุญนี้.. ก็ไม่ต้องใช้น้ำไม่ต้องกรวดน้ำ
    บุญไม่ใช่น้ำ เพราะเอาน้ำมาเป็นตัวอย่างของบุญว่าเวลาเราเทน้ำลงไปนี้เหมือนกับเราเทบุญลงไป
    ส่งบุญไป บุญเป็นเหมือนกระแสน้ำ
    ความจริงบุญก็คือ.. กระแสของความสุข
    ที่เราส่งให้แก่ผู้อื่นนั่นเอง

    เรียกว่าเป็นการอุทิศบุญ ไม่ต้องมีน้ำ
    เพียงตั้งจิตอธิษฐานว่าขอแบ่งบุญแบ่งกุศลส่วนนี้
    ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมีชื่อนั้นชื่อนี้ว่าไป

    ต้องบอกชื่อ..
    ถ้าไม่บอกเขาก็จะไม่สามารถมารับได้
    เพราะไม่รู้ว่าจะให้ใคร นี่คือบุญที่เกิดเวลาที่เราทำบุญ และเราเป็นห่วงเป็นใยในบุคคลที่เรารักเคารพที่ล่วงลับไปแล้ว กลัวเขาจะเดือดร้อน กลัวเขาเป็นขอทาน ถ้าเขาเป็นขอทานถ้าเราส่งบุญนี้ไปก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเขาได้

    แล้วบุญเสริมอีกข้อหนึ่งก็คือ ..
    การอนุโมทนาบุญ การอนุโมทนาบุญก็คือให้เราร่วมทำบุญเวลาเห็นผู้อื่นเขาทำบุญด้วย หรือให้สนับสนุนการทำบุญของผู้อื่น อย่าไปขัดขวางการทำบุญ

    เพราะการทำบุญนี้มี..
    แต่คุณมีแต่ประโยชน์ทั้งกับผู้ทำและแก่ผู้อื่นผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่บางทีเราไม่ชอบ เราไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะคนที่เรารักชอบทำบุญ เวลาเขาทำบุญแทนที่เราจะอนุโมทนาเรากลับไปขัดขวางเขา อันนี้ไม่ถูกเพราะว่าเป็นการขัดขวางการรับประทานอาหารของเขา

    บุญนี้เป็นอาหารของใจ
    เขาทำแล้วเขามีความสุข เขาได้พัฒนาจิตใจของเขาให้สูงขึ้น ให้ไปสู่พระนิพพานในที่สุด เราจึงไม่ควรที่จะไปขัดขวาง.

    ธรรมะบนเขา
    พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

    -รับรองไ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “หลวงปู่บุญฤทธิ์ไปฝึกอภิญญากับหลวงปู่ชอบ”

    (ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต)
    (ที่พักสงฆ์สวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี)

    เมื่อหลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต เดินทางปฏิบัติธรรม ไปจำพรรษากับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    “หลังจากได้พบพระป่าที่วัดเจดีย์หลวงในครั้งนั้นแล้ว พระอาจารย์บุญฤทธิ์ ก็เดินทางกลับกรุงเทพฯ ท่านเล่าเรื่องต่อไปดังนี้ อาตมาเดินทางกลับกรุงเทพฯ ได้มาพักอยู่ที่วัดบรมนิวาส ก็ที่วัดนี้ อาตมาได้มาพบกับท่านพ่อลี ธมฺมธโร ท่านมาพักถวายธรรมแด่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสฺสเถร (ติสฺโส อ้วน)

    วันหนึ่ง อาตมาหาโอกาสเข้าไปปรนนิบัติ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ก็ได้ถามขึ้นว่า

    “ท่านอาจารย์ครับ พระอาจารย์ชอบน่ะ
    คือใครครับผม ?”

    “โอ นั่นแหละลูกศิษย์มีอภิญญาของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโตถามทำไมล่ะ เคยเห็นท่านหรือ ?”

    อาตมาตอบท่านไปว่า
    “ครับ เคยเห็นท่านที่วัดเจดีย์หลวง ถ้างั้นกระผมกราบลาท่านอาจารย์ไปเชียงใหม่อีก ขอไปปฏิบัติกับท่านอาจารยชอบ”

    กราบลาแล้ว ก็เป็นอันเก็บบาตร กลด สิ่งต่างๆ อีกครั้ง ขึ้นไปเชียงใหม่ ที่รีบเร่งเพราะได้ยินคำว่า “อภิญญา”

    เรื่องอภิญญา ฌานสมาบัติ พระนิพพาน นี่ต้องใจมาก ก็เราบวชเข้ามาก็พึงหวังความจริงข้อนี้ ก่อนออกเดินทาง ท่านเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ท่านก็ทักท้วงว่า “อ้าว ! จะไปไหนละ นี่ก็จวนจะเข้าพรรษาแล้ว ท่านจะไปไหน ไม่อยู่จำพรรษาด้วยกันหรือไงกัน ?”

    อาตมาก็เรียนท่านไปว่า
    “กระผมจะไปจำพรรษากับท่านอาจารย์ชอบครับ”

    “เฮ้ย ! เดี๋ยวก็ถูกหามออกมาจากป่าหรอกนะ ไข้ป่าจะเล่นงานเอา อย่าไปเลย”

    อาตมาไม่ฟังเสียง เดินทางแน่วไปเลย ขึ้นรถไฟไปเชียงใหม่ จิตใจเวลานั้นไม่มีการย่อท้อ หามออกจากป่าก็ช่าง ตายก็ช่าง ขอให้ได้ศึกษาอยู่กับท่านให้ได้อภิญญาก็แล้วกัน มันต้องเรียนเอาให้ได้

    ท่านพระอาจารย์บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ท่านอยู่ในกรุง ทำงานเป็นข้าราชการหลายปี ชีวิตที่เคยอยู่ในความสะดวกสบาย มีน้ำมีไฟสะดวกทุกอย่าง ไม่เคยเดือดร้อนในการอยู่การกิน เมื่อต้องไปอยู่ป่าก็จะทำให้เกิดความลำบาก แล้วขณะนี้ ความตั้งใจของพระภิกษุหนุ่ม มุ่งสู่ป่าดงพงไพร ไปอยู่กับพระอาจารย์ผู้ยิ่งยงในการธุดงค์ ใช้ชีวิตแบบป่าๆ อยู่กับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    หลายคนตั้งปัญหาถามว่า
    “มันจะไหวหรือท่าน ? แน่ใจหรือท่าน ?”

    พระอาจารย์บุญฤทธิ์ บอกกับตัวท่านเองในขณะนั้นว่า “ไม่ลองจะรู้หรือ ! จะหามออกจากป่าอย่างสิ้นท่า หรือว่าจะอยู่ป่าอย่างสะดวกสบายเย้ยกิเลสตัณหา ก็จะรู้กันคราวนี้แหละ”

    พระอาจารย์ เล่าความรู้สึกและเหตุการณ์ในตอนนั้นว่า “ใครๆ เขาห้ามปรามกัน เพราะเกรงว่าอาตมาจะตายเสียก่อน เพราะถ้าไปอยู่กับท่านหลวงปู่ชอบ
    ละก็ต้องบุกหนักทีเดียว ท่านชอบไปอยู่ป่ากับพวกกะเหรี่ยงพวกยาง อาหารการกินก็ไม่ค่อยจะมี กินใบหญ้าใบไม้ แล้วก็ปลาร้าลูกหนูแดงๆ น่ะ

    อาตมาอยากได้อภิญญา ไม่ฟังเสียง แล่นไปจังหวัดเชียงใหม่ ก็ไปพบกับ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระผู้มีพลังจิตสูงองค์หนึ่ง

    เวลานั้นอาตมาไม่รู้ ก็ได้รับการทักท้วงจากท่านว่า “อย่าเพิ่งไปเลย รอหน้าแล้งก่อนเถอะ
    เวลานี้อากาศชื้น ลำบากมาก เธอจะทนไม่ได้”

    ไม่ฟังเสียง ไปอย่างเดียว เดินทางไปถึงวัดป่าห้วยน้ำริน แวะกราบนมัสการ
    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านก็ห้ามอีกว่า “อยู่ที่นี่ก่อน อย่าเพิ่งไป !”

    แหม…อาตมาไม่ฟังเสียงท่านผู้เป็นครูบาอาจารย์เลย ตั้งใจไปให้ได้ไม่ย่อท้อ ลำบากก็ช่าง เป็นการทรมานตัวเอง ที่มีโอกาสพบท่านที่วัดเจดีย์หลวงอยู่แล้ว แต่ก็พลาดโอกาสเมื่อวันวิสาขบูชามิหนำซ้ำยังนึกปรามาสท่านเสียอีก ฉะนั้น ต้องทำโทษตัวเอง ทรมานให้มันรู้สึกที่ไม่รู้จักอะไรเป็นอะไร นั่น คิดอย่างนั้น ก็ทำให้เกิดกำลังใจจะเดินทางไปกราบท่านให้จงได้ ญาติโยมได้กราบเรียนถามถึงความยากลำบากในครั้งนั้นรวมทั้งก่อนพบองค์หลวงปู่ชอบนั้น
    ท่านมีความเคารพศรัทธามากน้อยแค่ไหน

    พระอาจารย์บุญฤทธิ์ ท่านเล่าดังนี้

    “อ้าว ! ก็จิตมันรู้ได้ทันทีว่า ที่ครูบาอาจารย์ท่านทักท้วงมาตั้งแต่กรุงเทพฯ จนมาถึงเชียงใหม่ ท่านผู้เป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ก็ทักท้วงอีก ทำให้อาตมายิ่งแน่ใจในปฏิปทาของท่านหลวงปู่ชอบ ว่าจะต้องเป็นชีวิตที่ลำบากยากแค้นมาก และสถานที่ที่ท่านไปอยู่บำเพ็ญภาวนานั้นจะต้องเป็นสถานที่กันดารไปมาลำบาก ขึ้นเขาลงห้วย ยากตลอดทั้งไปและอยู่ทีเดียว อาตมาคิดปลงตก ตายเป็นตาย ขอไปตายกับท่านเพื่อเอาอภิญญาให้ได้ จะได้รู้ว่าคนมีอภิญญาน่ะมันเป็นลักษณะไหนกันแน่”

    [​IMG]

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “แรงอธิษฐานหลวงปู่ชอบช่วยสร้างธาตุพนม”

    (ธรรมประวัติ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม)
    (จากหนังสือฐานสโมบูชา หน้า ๒๖๕)

    หลวงปู่ชอบ ฐานสโมกับพระธาตุพนม

    โยม: หลวงปู่เจ้าค่ะ พวกเราเคารพเลื่อมใส ศรัทธาหลวงปู่กันมาก อยากบำเพ็ญบุญ ทำกุศลถวายหลวงปู่เท่าใดก็ไม่อิ่ม หลวงปู่บำเพ็ญบารมีทำบุญอะไรในชาติก่อนเจ้าคะ จึงได้บวชเป็นหลวงปู่ให้พวกเราได้กราบไหว้บูชาอย่างนี้

    หลวงปู่ : ไปธาตุพนม สร้างธาตุพนม ไปกับพ่อเชียงหมุน ชาติก่อนซึ่งเป็นสหายกัน ช่วยกันสร้างธาตุพนม “เอาเงิน ๕๐ สตางค์ กับผ้าขาววาหนึ่ง” เอาไปทานกับเพิ่น

    โยม : หลวงปู่ทำบุญแล้วอธิษฐานหรือเปล่าเจ้าคะ อธิษฐานว่าอย่างไร ตอนให้ทานเงิน ๕๐ สตางค์

    หลวงปู่ : อธิษฐานว่า ให้ได้บวช ให้พ้นทุกข์ ว่าอย่างนี้แหละ

    โยม : เงิน ๕๐ สตางค์ สมัยโน้นคงจะมากนะหลวงปู่

    หลวงปู่ : มากอยู่

    โยม : สร้างตั้งแต่แรกเลยหรือคะหลวงปู่

    หลวงปู่ : อือ

    โยม : แต่ก่อนพระธาตุพนมสูงอย่างนี้หรือเปล่าเจ้าคะ หลวงปู่ไปสร้างอายุเท่าไรแล้ว

    หลวงปู่: สูง ตอนไปเฒ่าแล้ว อายุ ๗๐ ปี เป็นคนลาว ข้ามมาจากฝั่งโน้น

    [​IMG]

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    มีเรื่องเล่า มีหญิงคนหนึ่งเป็นคนมีฐานะ
    มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย ตอนมีชีวิตไมคิดสร้างบุญกุศลคิดแต่กินๆ อยู่ๆ ไปวันๆ จนล้มป่วยแล้วก็เสียชีวิต ก่อนตายก็มีจิตห่วงทรัพย์สมบัติห่วงลูกหลาน เลยเกิดเป็นเปรต มีความหิวโหยอยู่ตลอดเวลา หวังให้ลูกหลานอุทิศบุญให้แต่ลูกหลานก็ไม่มีเวลาทำแต่งาน วันพระก็ไม่คิดจะทำบุญเลย แม้แต่ตัวลูกหลานเองยังเอาตัวไม่รอดเลย ดังนั้นตอนมีชีวิตอยู่เราต้องหมั่นสร้างบุญกุศลให้มากๆ อย่าหวังพึงคนอื่น ไม่มีใครที่จะช่วยเราได้ตลอดเวลา เราต้องทำเองสร้างเองดีที่สุด

    -มีหญิงคนหน.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “วิธีเจริญภาวนาอานาปานสติ แบบที่ ๒”

    (โดย ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)

    มีข้อสำคัญอยู่ ๗ ข้อคือ

    ๑. ให้ภาวนาพุทลมเข้ายาวๆโธลมออกยาวๆก่อน ๓ครั้ง หรือ ๗ ครั้ง (คำภาวนากับลมให้ยาวเท่ากัน) ตั้งใจสูดหายใจสบายๆ สดชื่น

    ๒. ให้รู้จักลมเข้า-ลมออกโดยชัดเจน

    ๓. ให้รู้จักสังเกตลมในเวลาเข้า-ออกว่ามีลักษณะอย่างไรสบายหรือไม่สบายกว้างหรือแคบขัดหรือสะดวกช้าหรือเร็วสั้นหรือยาวร้อนหรือเย็น

    ถ้าไม่สบายก็ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขจนได้รับความสะดวกสบายเช่นเข้ายาวออกยาวไม่สบายให้เปลี่ยนเป็นเข้าสั้นออกสั้นเป็นต้นจนกว่าจะได้รับความสบาย(การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขลมหายใจ
    ตรงนี้สำคัญมากที่สุดควรพากเพียรพยายามทำตามที่ท่านบอกไว้นี้ให้ได้ดูข้อ ๔ ด้วย) เมื่อได้รับความสบายสะดวกดีแล้วให้กระจายลมที่สบายนั้นไปในส่วนต่างๆของร่างกาย เช่นสูดลมเข้าไปที่ท้ายทอยปล่อยลงไปในกระดูกสันหลังให้ตลอด

    ๐ ถ้าเป็นเพศชาย ให้ปล่อยไปตามขาขวาทะลุถึงปลายเท้าแล้วกระจายไปในอากาศแล้วก็กลับมาสูดใหม่ ปล่อยเข้าไปในท้ายทอยปล่อยลงไปในกระดูกสันหลังปล่อยไปตามขาซ้ายทะลุถึงปลายเท้าแล้วกระจายไปในอากาศแล้วก็ปล่อยลงคอหอยกระจายไปที่ขั้วปอดขั้วตับกระจายเรื่อยไปจนถึงกระเพาะเบากระเพาะหนัก แล้วก็สูดลมหายใจเข้าไปตรงกลางอกทะลุไปจนถึงลำไส้ กระจายลมสบายเหล่านี้ให้ทั่วถึงกันได้จะได้รับความสะดวกสบายขึ้นมาก

    ๐ ถ้าเป็นเพศหญิง ให้กระจายลมทางซ้ายก่อน เพราะเพศหญิงและชายเส้นประสาทต่างกัน

    ๔. ให้รู้จักขยายลมเป็น๔แบบคือ

    (๑) เข้ายาวออกยาว
    (๒) เข้าสั้นออกสั้น
    (๓) เข้าสั้นออกยาว
    (๔) เข้ายาวออกสั้น

    แบบใดเป็นที่สบายให้เอาแบบนั้นหรือทำให้สบายได้ทุกแบบยิ่งดีเพราะสภาพของบุคคลลมหายใจย่อมเปลี่ยนแปลงได้ทุกเวลา

    ๕. ให้รู้จักที่ตั้งของจิตฐานไหนเป็นที่สบายของตัวให้เลือกเอาฐานนั้น(คนที่เป็นโรคเส้นประสาทปวดศีรษะห้ามตั้งข้างบนให้ตั้งอย่างสูงตั้งแต่คอหอยลงไปและห้ามสะกดจิตสะกดลมให้ปล่อยลมตามสบายปล่อยใจตามลมเข้า-ลมออกให้สบายแต่อย่าให้หนีไปจากวงของลม) ฐานเหล่านั้นได้แก่

    (๑) ปลายจมูก
    (๒) กลางศีรษะ
    (๓) เพดาน
    (๔) คอหอย
    (๕) ลิ้นปี่
    (๖) ศูนย์สะดือ

    นี้ฐานโดยย่อคือที่พักของลม

    ๖. ให้รู้จักขยายจิตคือทำความรู้สึกให้กว้างขวางออกไปทั่วสรรพางค์กาย

    ๗. ให้รู้จักประสานลมและขยายจิตออกให้กว้างขวางให้รู้ส่วนต่างๆของลมซึ่งมีอยู่ในร่างกายนั้นก่อนแล้วจะได้รู้ในส่วนอื่นทั่วๆไปอีกมาก คือธรรมชาติลมมีหลายจำพวกลมเดินในเส้นประสาทลมเดินหุ้มเส้นประสาททั่วๆไปลมกระจายออกจากเส้นประสาทแล่นแทรกแซงไปทั่วทุกขุมขนลมให้โทษและให้คุณย่อมมีปนกันอยู่โดยธรรมชาติของมัน สรุปแล้วคือ

    ๑) เพื่อช่วยให้พลังงานที่มีอยู่ในร่างกายทุกส่วนของคนเราทุกคนให้ดีขึ้นเพื่อต่อสู้สิ่งต่างๆในตัวเช่นไม่สบายในร่างกายเป็นต้น

    ๒) เพื่อช่วยความรู้ที่มีอยู่แล้วในตัวของคนทุกคนให้แจ่มใสขึ้นเพื่อเป็นหลักวิชชาวิมุตติวิสุทธิ์ความหมดจดสะอาดในทางจิตใจ

    หลักอานาปานสติทั้ง ๗ ข้อนี้ ควรถือไว้เป็นหลักสูตรเพราะเป็นเรื่องสำคัญของอานาปานสติทั้งสิ้น เมื่อรู้เรื่องสำคัญเหล่านี้แล้วก็เท่ากับว่าเราได้ตัดถนนเส้นใหญ่ ส่วนถนนซอยนั้นไม่สำคัญคือส่วนปลีกย่อยของ อานาปานสติ นั้นยังมีอยู่อีกมากแต่ไม่ค่อยสำคัญ ฉะนั้นจึงควรปฏิบัติและดำเนินตามแบบนี้ไว้ให้มากท่านจะได้รับความปลอดภัยเป็นอย่างยิ่งทีเดียว

    ๐ แขกจรของจิต

    ถ้าท่านรู้จักการปรับปรุงแก้ไขลมหายใจของตัวเองโดยสมบูรณ์เรียบร้อยแล้วก็เท่ากับว่าคนในบ้านของท่านเป็นคนดีส่วนปลีกย่อยนั้นเปรียบเหมือนคนนอกบ้านคือแขกถ้าคนในบ้านของเราดีคนนอกบ้านก็ต้องดีไปตามเรา คนนอกบ้านหรือแขกในที่นี้ได้แก่นิมิตต่างๆและลมสัญจรที่ต้องผ่านไปผ่านมาในรัศมีแห่งลมของเราที่ทำอยู่ เช่นนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นจากลมให้ปรากฏเป็นรูปบางทีเกิดเป็นแสงสว่างขึ้นบางทีปรากฏเป็นรูปคนหรือรูปสัตว์เป็นตัวเองหรือคนอื่น

    บางคราวเกิดนิมิตขึ้นทางหูเช่นได้ยินเสียงคำพูดของบุคคลอื่นจำได้บ้างไม่ได้บ้าง บางคราวให้ปรากฏกลิ่นต่างๆขึ้นทางจมูกบางทีก็เป็นกลิ่นหอม บางทีก็เหม็นเหมือนซากศพ บางคราวหายใจเข้าไปให้เกิดความอิ่มเอิบซึมซาบไปทั่วสรรพางค์กายจนไม่รู้สึกหิวข้าวหิวน้ำ บางคราวให้เกิดสัมผัสขึ้นในทางกายให้มีอาการอุ่นๆร้อนๆเย็นๆชาๆส่ายไปส่ายมาตามสรรพางค์กาย บางทีให้ผุดขึ้นทางจิตใจซึ่งเราไม่เคยนึกคิดก็เกิดขึ้นได้ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ชื่อว่าแขก ก่อนที่เราจะรับแขกเหล่านี้ ให้ปรับปรุงจิตและลมหายใจของตัวเองให้เรียบร้อยและมั่นคงเสียก่อนจึงค่อยรับแขก

    การที่เราจะต้อนรับแขกเหล่านี้เราต้องบังคับปรับปรุงแขกให้อยู่ในอำนาจของเราเสียก่อน ถ้าแขกไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเราอย่าเพิ่งไปคลุกคลีกับเขาเขาอาจจะนำความเสื่อมเสียมาสู่เราได้ ถ้าหากเรารู้จักปรับปรุงเขาสิ่งเหล่านั้นก็จะเป็นเครื่องสนับสนุนเราต่อไป

    การปรับปรุงนั้นได้แก่การเจริญปฏิภาคนิมิตคือให้ขยายสิ่งที่ปรากฏมานั้นให้เป็นไปตามอำนาจแห่งจิตคือทำให้เล็กให้โตให้ใกล้ให้ไกลให้เกิดให้ดับให้มีข้างนอกข้างในก็ได้สิ่งเหล่านี้จึงจะเป็นประโยชน์ในการทำจิต ถ้าคล่องแคล่วชำนาญในนิมิตเหล่านี้ก็จะกลายเป็นวิชชา เช่น ตาทิพย์เห็นรูปโดยไม่ต้องลืมตา หูทิพย์ฟังเสียงในที่ไกลได้ จมูกทิพย์ดมกลิ่นไกลได้ ลิ้นทิพย์ดื่มรสของธาตุต่างๆซึ่งมีอยู่ในอากาศธาตุอันจะเป็นประโยชน์แก่ร่างกายสามารถป้องกันความหิวความอยากได้ สัมผัสอันเป็นทิพย์ก็จะเกิดขึ้นในทางกายเช่นเราต้องการความเย็นก็จะเย็นขึ้นต้องการความร้อนก็จะร้อนขึ้นต้องการความอบอุ่นก็จะปรากฏขึ้นต้องการความเข้มแข็งของร่างกายก็จะมีขึ้นเพราะธาตุทั้งหลายที่จะให้เป็นประโยชน์แก่ร่างกายซึ่งมีอยู่ในโลกก็จะแล่นเข้ามาปรากฏในกายของเรา

    ดวงใจก็จะเป็นทิพย์และมีอำนาจสามารถจะทำให้เกิดญาณต่างๆ เช่นบุพเพนิวาสานุสติญาณระลึกชาติได้ จุตูปปาตญาณรู้จักความเกิดตายของสัตว์ว่ามาอย่างไรไปอย่างไรอาจทราบได้ อาสวักขยญาณความรู้เป็นเหตุที่จะฟอกอาสวะกิเลสให้สิ้นไป ถ้าเราเป็นผู้มีสติปัญญาย่อมรับแขกมาทำงานในบ้านของเราได้เป็นอย่างดีนี่เป็นส่วนปลีกย่อยในการปฏิบัติอานาปานสติโดยย่อ

    ฉะนั้นสิ่งทั้งหลายที่กล่าวมาให้ทบทวนดูให้ดีอย่าพึงยินดีในสิ่งที่ปรากฏอย่าพึงยินร้ายหรือปฏิเสธในสิ่งที่ปรากฏควรจะตั้งจิตเป็นกลางทบทวนดูให้รอบคอบละเอียดลออเสียก่อนว่าเป็นของควรเชื่อถือได้หรือไม่มิฉะนั้นจะเป็นเหตุให้สำคัญผิดไปก็มีดีชั่วถูกผิดสูงต่ำทั้งหมดมันสำคัญอยู่ที่ ดวงจิตของเราฉลาดหรือโง่รู้จักพลิกแพลงดัดแปลงแก้ไข เมื่อดวงจิตของเราเป็นผู้โง่อยู่แล้วแม้ของสูงอาจจะกลายเป็นของต่ำของดีอาจจะกลายเป็นของชั่ว

    ๐ ลมหายใจกับอริยสัจ

    ถ้าหากเราได้รู้เรื่องราวต่างๆของลมและส่วนปลีกย่อยของลมก็จะได้รู้ในอริยสัจธรรมนอกจากนั้นยังเป็นหนทางบรรเทาทุกข์ของร่างกายได้อย่างดีอีก
    ตัวสติเป็นตัวยาลม-อานาปาน์ฯเป็นกระสายเมื่อสติเข้าไปฟอกแล้วลมย่อมบริสุทธิ์

    ลมที่บริสุทธิ์จะส่งไปฟอกโลหิตต่างๆในร่างกายให้สะอาดและเมื่อโลหิตสะอาดแล้วเป็นเหตุจะบรรเทาโรคภัยต่างๆในตัวได้ถ้าเป็นผู้มีโรคเส้นประสาทประจำอยู่แล้วก็จะหายได้อย่างดีทีเดียว นอกจากนี้ก็ยังสามารถจะสร้างความเข้มแข็งของร่างกายให้ได้รับความสุขยิ่งขึ้น

    เมื่อร่างกายได้รับความสุขจิตใจก็สงบได้อย่างดี
    เมื่อจิตสงบได้เช่นนั้นย่อมเกิดกำลังสามารถที่จะระงับเวทนาในเวลาที่นั่งสมาธิให้ทนทานได้หลายชั่วโมง เมื่อกายสงบจากเวทนาจิตย่อมสงบปราศจากนิวรณ์ได้เป็นอย่างดีกายก็มีกำลังใจก็มีกำลังเรียกว่าสมาธิพลัง เมื่อสมาธิมีกำลังเช่นนั้นแล้วย่อมเกิดปัญญาสามารถจะแลเห็น(อริยสัจคือ) ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรคแจ้งประจักษ์ขึ้นในลมหายใจของตัวที่มีอยู่ทุกคน ถ้าจะอธิบายก็ได้ความอย่างนี้คือ
    ลมหายใจเข้าออกเป็นทุกขสัจลมเข้าเป็นชาติทุกข์ลมออกเป็นมรณทุกข์

    ไม่รู้จักลมเข้าไม่รู้จักลมออกไม่รู้จักลักษณะของลมเป็นสมุทัยสัจ ลมออกรู้ว่าออกลมเข้ารู้ว่าเข้ารู้ลักษณะของลมโดยชัดเจนเป็นสัมมาทิฐิองค์อริยมรรคคือมีความถูกต้องตามความเป็นจริงของลมหายใจ หายใจแบบใดสบาย ก็รู้และรู้จักวิธีแต่งลมหายใจของตัวว่าแบบนี้ไม่สบายเราจะต้องหายใจแบบนี้จึงจะเป็นที่สบายนี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะดำริชอบ

    วจีสังขารซึ่งนึกคิดวิตกวิจารในกองลมทั้งปวงอยู่โดยชอบชื่อว่าสัมมาวาจาวาจาชอบ รู้จักวิธีปรับปรุงลมหายใจของตนโดยวิธีการต่างๆเช่นหายใจเข้ายาวออกยาวหายใจเข้าสั้นออกสั้นหายใจเข้าสั้นออกยาวหายใจเข้ายาวออกสั้นจนไปถูกลมอันเป็นที่สบายแห่งตนดังนี้ชื่อว่าสัมมากัมมันตะการงานชอบ

    รู้จักทำลมหายใจฟอกโลหิตในร่างกายให้สะอาดบริสุทธิ์แล้วส่งไปหล่อเลี้ยงหทัยวัตถุรู้จักแต่งลมให้เป็นที่สบายของร่างกายรู้จักประกอบลมให้เป็นที่สบายแห่งดวงจิตหายใจเข้าไปอิ่มกายอิ่มจิตนี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะเลี้ยงชีวิตชอบ

    รู้จักพยายามเปลี่ยนลมหายใจของตนจนเป็นที่สบายกายสบายจิตถ้ายังไม่ได้รับความสบายเกิดขึ้นในตัวก็พากเพียรพยายามอยู่เรื่อยไปอยู่อย่างนั้นนี้เรียกว่าสัมมาวายามะเพียรชอบ

    รู้ลมหายใจเข้า-ออกทุกขณะเวลาและรู้กองลมต่างๆที่มีอยู่ในร่างกายเช่นลมพัดขึ้นเบื้องบนลมพัดลงเบื้องต่ำลมพัดในท้องลมพัดในลำไส้ลมพัดไปตามชิ้นเนื้อซาบซ่านไปทั่วทุกขุมขนมีสติสัมปชัญญะตามรู้อยู่ทุกขณะลมหายใจเข้าออกนี้เรียกว่าสัมมาสติระลึกชอบ

    ดวงจิตสงบอยู่ในเรื่องของลมอย่างเดียวไม่ไปเหนี่ยวอารมณ์อย่างอื่นเข้ามาแทรกแซงทำไปจนลมละเอียดเป็นอัปนาฌานจนกว่าจะเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นในที่นั้นเรียกว่าสัมมาสมาธิ

    นึกถึงลมเรียกว่า “วิตก” กระจายลมขยายลมเรียกว่า “วิจารณ์” ลมได้รับความสะดวกทั่วถึงแล้วอิ่มกายอิ่มจิตเรียกว่า “ปีติ” กายไม่กระวนกระวายใจไม่กระสับกระส่ายก็เกิดสุข เมื่อได้รับความสุขแล้วจิตย่อมไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่นย่อมแนบสนิทอยู่กับอารมณ์เดียวเรียกว่าเอกัคตารมณ์ตั้งใจไว้ชอบนี้เรียกว่าสัมมาสมาธิเบื้องต้นในองค์อริยมรรค มรรคสัจทั้งหมดที่กล่าวมาคือศีลสมาธิปัญญาเข้ามาสันนิบาตในดวงจิตได้แล้วโดยสมบูรณ์ย่อมทำให้รู้แจ้งในกองลมทั้งปวงว่าหายใจอย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดอกุศลจิตหายใจอย่างนี้เป็นเหตุให้เกิดกุศลจิต และไม่ติดอยู่ในกายสังขารคือลมไม่ติดอยู่ในวจีสังขารไม่ติดอยู่ในจิตสังขารทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่วปล่อยวางไว้ตามสภาพแห่งความเป็นจริงนี้เรียกว่านิโรธสัจ

    ถ้าจะย่นอริยสัจ๔ให้สั้นเข้าไปอีกอย่างหนึ่งก็คือ
    ๏ ลมหายใจเข้า-ออกเป็นทุกขสัจ
    ๏ ไม่รู้จักลมหายใจเข้าไม่รู้จักลมหายใจออกเป็นสมุทัยสัจหรืออวิชชาโมหะ
    ๏ ทำให้แจ้งในกองลมทั้งปวงจนละได้ไม่ยึดถือเรียกว่านิโรธสัจ
    ๏ ที่มีสติสัมปชัญญะประจำอยู่ในกองลมเรียกว่ามรรคสัจ
    เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติถูกต้องตามแนวทางของอานาปานสติเป็นผู้มีวิชาอาจรู้จริงได้ทั้ง๔อย่างได้อย่างชัดเจนย่อมถึงวิมุตติ

    ๐ มีแต่ไม่ติด

    วิมุตตินั้นคือดวงจิตที่ไม่เข้าไปติดอยู่ในเหตุฝ่ายต่ำอันได้แก่ทุกข์สมุทัยไม่ติดอยู่ในเหตุฝ่ายสูงผลฝ่ายสูงคือมรรคและนิโรธ ไม่ติดอยู่ในสิ่งที่ให้เรารู้ไม่ติดอยู่ในความรู้ไม่ติดอยู่ในรู้แยกสภาพธรรมไว้เป็นส่วนๆได้เช่นนี้ชื่อว่าเป็นผู้มีวิชชาวิมุตติคือรู้จักเบื้องต้นเบื้องปลายและท่ามกลางวางไปตามสภาพแห่งความเป็นเองที่เรียกว่าสัพเพธัมมาอนัตตา

    การติดอยู่ในสิ่งที่ให้เรารู้คือธาตุขันธ์อายตนะเหล่านี้เป็น กามุปาทาน ติดวิชาความรู้ของตัวเป็นทิฏฐุปาทาน ไม่รู้จักตัวรู้คือพุทธะเป็นสีลัพพตุปาทานย่อมเป็นเหตุให้หลงกายสังขารวจีสังขารและจิตสังขารอันเกิดจากอวิชชา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ทั้งเหตุทั้งผลพระองค์มิได้เข้าไปยึดในเหตุฝ่ายต่ำผลฝ่ายต่ำมิได้เข้าไปยึดในเหตุฝ่ายสูงผลฝ่ายสูงอยู่นอกเหตุเหนือผล

    สุขทุกข์พระองค์ก็มีใช้แต่พระองค์มิได้ติดสุขติดทุกข์ดีชั่วพระองค์ก็รู้อยู่โดยสมบูรณ์อัตตาและอนัตตาพระองค์ก็มีอยู่โดยสมบูรณ์แต่พระองค์ก็มิได้ไปยึดถือในเรื่องราวเหล่านั้น วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งสมุทัยก็มีใช้แต่พระองค์ก็มิได้ติดมรรคคือปัญญาพระองค์ก็มีใช้พระองค์รู้จักแต่งพระองค์ด้วยพิธีการต่างๆเช่นแต่งโง่แต่งฉลาดแล้วรู้จักใช้โง่ใช้ฉลาดในกิจพระศาสนา

    ส่วนนิโรธเล่าพระองค์ก็มีใช้แต่มิได้ยึดถือคือไม่มีการติดในสิ่งเหล่านั้นจึงเรียกว่าเป็นผู้สมบูรณ์ได้จริง
    ก่อนที่พระองค์จะละได้เช่นนั้นพระองค์ก็ต้องบำเพ็ญให้เกิดมีขึ้นโดยสมบูรณ์เสียก่อนแล้วจึงค่อยปล่อยวาง เป็นการปล่อยวางด้วยความสมบูรณ์มั่งมีมิใช่จะวางจะปล่อยด้วยความยากจนอย่างบุคคลธรรมดาแม้พระองค์ทรงวางแล้วก็ยังมีใช้อยู่

    พระองค์มิได้ทรงปฏิเสธในการที่พระองค์ได้บำเพ็ญศีลสมาธิปัญญามาตั้งแต่ยังมิได้ตรัสรู้จนได้รู้แจ้งเห็นจริงแล้วก็ยังทรงใช้ศีลสมาธิและปัญญาอยู่ทุกประการ จนวันเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานตราบถึงขณะจิตที่นิพพานนั้นก็ยังบำเพ็ญสมาธิสมาบัติอยู่คือพระองค์ได้เสด็จปรินิพพานในระหว่างรูปฌานและอรูปฌาน

    เพราะฉะนั้นพุทธบริษัททั้งหลายก็ไม่น่าที่จะปฏิเสธศีลสมาธิปัญญากันเสีย คนบางคนจะถือศีลก็กลัวสีลัพพตปรามาส บางคนจะบำเพ็ญสมาธิก็กลัวโง่กลัวบ้าก็มี แท้จริงคนเรามีความโง่ความบ้าประจำอยู่แล้ว
    การกระทำสมาธิจิตนั้นเป็นเรื่องแก้โง่แก้บ้าต่างหาก
    ปัญญาดุจรัตนะ

    ถ้าได้ศึกษาโดยทางที่ถูกต้องย่อมเกิดปัญญาอันบริสุทธิ์เหมือนเพชรพลอยที่เจียระไนแล้วย่อมเกิดแสงขึ้นในตัวของมันเองโดยธรรมชาตินั้นแลจึงเรียกว่าเป็นตัวปัญญาที่แท้เกิดขึ้นเฉพาะตัวที่เรียกว่าเป็นปัตจัตตังเป็นได้เฉพาะตัวรู้ได้เฉพาะตัว แต่โดยส่วนมากคนเราเข้าใจผิดไม่รู้จักลักษณะของปัญญาไปถือเอาปัญญาไม่แท้มาทับของแท้เสียคล้ายๆกับว่าเอาปรอทมาทากระจกแล้วมองเห็นเงาของตัวและคนอื่นได้โดยอาศัยของอื่นมาฉาบทาก็เข้าใจว่าตัวเป็นผู้ฉลาดมองเห็นธรรม ลักษณะอย่างนี้ก็เท่ากับลิงส่องกระจกเงาเท่านั้นเองตัวเดียวก็จะต้องกลับกลายเป็นสองตัวก็จะเล่นเงาของตนอยู่อย่างนี้เรื่อยไป
    ถ้าปรอทหลุดออกจากบานกระจกเมื่อไรลิงตัวนั้นก็จะหน้าตกซบเซาอยู่โดยไม่รู้ตัวว่าเงานั้นมันมาจากเรื่องอะไร

    บุคคลผู้ได้ปัญญาที่ไม่แท้จริงคิดเอาเดาเอาตามสัญญาอารมณ์ว่าตนรู้ตนเห็นโดยปราศจากความรู้สึกตนเองแล้วก็จะได้รับความทุกข์โศกในคราวประสบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าเมื่อภายหลัง ฉะนั้นส่วนสำคัญของปัญญาโดยธรรมชาติในทางพระพุทธศาสนาย่อมเกิดจาก“การอบรมดวงจิต”โดยเฉพาะ(ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา) เหมือนแสงเพชรที่เกิดในตัวของมันเองย่อมมีรัศมีแผ่โดยรอบและเกิดแสงสว่างได้ทั้งในที่มืดและที่สว่าง ส่วนเงาในกระจกนั้นใช้ได้สำหรับสถานที่แจ้งมีแสงสว่างส่องเห็นถ้าเอาเข้าไปในที่มืดแล้วจะส่องเงาตัวเองไม่ได้เลยไม่เหมือนแสงเพชรแสงพลอยที่เจียระไนแล้ว ย่อมมีแสงได้ทั่วไป

    ฉะนั้นพระองค์จึงได้ทรงแสดงไว้ว่าปัญญาไม่มีที่ลับและปิดบังได้ในโลกนั้นแลเรียกว่าปัญญาระตะนัง (รัตนะคือปัญญา) เป็นตัวที่จะทำลายเสียได้ซึ่งอวิชชาตัณหาและอุปาทานก็จะบรรลุคุณธรรมอย่างสูงสุดคือพระนิพพานไม่เจ็บไม่ตายไม่สาบไม่สูญมีอยู่โดยธรรมชาติของธรรมเรียกว่าอมตะ

    อย่างนี้ถูกหรือผิด โดยมากคนเรามักจะต้องการแต่ปัญญาและวิมุตติเมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่อาจจะเป็นไปได้เอะอะก็อนิจจังทุกขังอนัตตากันเสียเลยทีเดียวสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนที่พระองค์จะปฏิเสธอนิจจังของไม่เที่ยงนั้นพระองค์ได้ทำได้รู้จนปรากฏเห็นเป็นของเที่ยงเสียก่อน

    ก่อนที่จะปฏิเสธทุกขังพระองค์ก็ได้ทำทุกข์อันนั้นให้เป็นสุขเสียก่อนก่อนที่จะปฏิเสธอนัตตาที่ไม่ใช่ตัวตนนั้นพระองค์ก็ได้ทำอนัตตาให้เป็นอัตตาขึ้นเสียก่อนจึงได้เห็นของเที่ยงของจริงที่แอบอิงอยู่ในทุกขังอนิจจังอนัตตา แล้วก็ได้รวบรวมยอดแห่งธรรมเหล่านั้นเข้ามาเป็นอันเดียวเช่นทำทุกขังอนิจจังอนัตตาให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนี้หมวดหนึ่งนับเป็นพวกเดียวกันมีลักษณะเสมอกันหมดทั้งโลก

    ส่วนนิจจังสุขังอัตตานี้เป็นอีกหมวดหนึ่งพระองค์ทรงปล่อยได้แล้วในส่วนสังขารโลกและสังขารธรรมไม่ข้องอยู่ในของเที่ยงและของไม่เที่ยงไม่ข้องอยู่ในทุกข์และสุขไม่ข้องอยู่ในอัตตาและอนัตตาจึงได้นามว่าวิมุตติวิสุทธิ์นิพพานไม่ต้องไปยึดสังขารธรรมและสังขารโลกทั้งหมดนี้เป็นลักษณะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญมา แต่ปฏิปทาของพุทธบริษัททั้งหลายส่วนมากมักจะเป็นผู้รู้ก่อนเกิดเป็นผู้เลิศก่อนทำต้องการแต่ความละความพ้นกันฝ่ายเดียว ถ้าละโดยปราศจากเหตุอันสมบูรณ์แล้วมันจะเลอะถ้าพ้นกันโดยปราศจากเหตุแล้วมันจะผิด

    สำหรับผู้ปรารถนาดีอยากเป็นแต่คนดี“เหตุ” ประกอบของตนโดยอาการเช่นนั้นมีแล้วหรือยัง ?
    ถ้าหากว่าไม่ต้องการสร้าง เหตุแห่งความละความพ้นโดยสมบูรณ์แล้วพวกเราจะพ้นไปได้อย่างไร

    ๐ อย่าคมนอกฝัก

    พระพุทธองค์ยังทรงแสดงไว้ว่า ศีลปราบกิเลสอย่างหยาบที่เกิดขึ้นทาง กาย วาจาออกเสียได้ สมาธิปราบกิเลสอย่างกลางมีกามฉันทะพยาปาทะถีนะมิทธะอุทธัจจะกุกกุจจะเป็นต้น ส่วนปัญญาปราบกิเลสอย่างละเอียดมีอวิชชาตัณหาอุปาทานเป็นต้น

    คนบางคนมีปัญญาฉลาดหลักแหลมสามารถจะอธิบายข้ออรรถข้อธรรมได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแต่กิเลสเพียงหยาบๆอันเป็นคู่ปรับแห่งศีลแค่นี้ก็ยังละกันไม่ค่อยจะออกนี่คงจะเป็นเพราะขาดความสมบูรณ์แห่งศีลสมาธิปัญญากระมังจึงได้เป็นอย่างนั้น ศีลก็คงเป็นศีลอย่างเปลือกๆ

    สมาธิก็คงเป็นสมาธิอย่างเปื้อนเปรอะ ปัญญาก็คงเป็นปัญญาอย่างเลอะเลือนเคลือบเอาเสมอเหมือนกับด้วยบานกระจกที่ทาด้วยปรอทฉะนั้นจึงไม่สามารถเป็นเหตุให้สำเร็จความมุ่งหวังของพุทธบริษัทได้ตกอยู่ในลักษณะมีดที่คมนอกฝักคือฉลาดในเชิงพูดเชิงคิดแต่ดวงจิตไม่มีสมาธินี่เรียกว่าคมนอกฝัก ฟักไข่นอกรังคือแสวงหาความดีแต่ภายนอก ไม่อบรมจิตใจตนให้เป็นไปในทางสมาธิ ปักหลักกองทรายคือเที่ยวยึดถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่ตนมาเป็นสรณะที่พึ่งย่อมให้โทษ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ที่ยังไม่ได้ที่พึ่งอันเป็นแก่นสาร ฉะนั้นจึงควรที่จะต้องสร้างเหตุให้เป็นไปด้วยดีเพราะธรรมทั้งหลายย่อมไหลมาแต่เหตุดังนี้

    อัตตะนา โจทะยัตตานัง ปฏิมัง เสตะมัตตะนา

    จงเตือนตน ฝึกฝนใจ ด้วยตนเอง จงเร่งคิดพิจารณาอานาปานสติของตนด้วยตนเทอญ

    [​IMG]

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “อำนาจจิตพลังอภิญญาของหลวงปู่ชอบ”

    (จากธรรมประวัติ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม)
    (เว็บไซต์ วัดถ้ำสหาย watthamsahai.com)

    ครั้งหนึ่งหลวงปู่ชอบท่านพักอยู่ที่ผาแด่น ในเขต อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยพระเณรที่ตามขึ้นไปทำความเพียรบนยอดเขานั้น วันนั้นเป็นวันพระ จะต้องลงเขาไปร่วมอุโบสถ หลวงปู่ก็นำพระเดินลงมาจากผาแด่น พอไปถึงลำธาร ปรากฏว่าน้ำไหลแรงมาก เพราะเมื่อคืนฝนตกหนัก และได้ตกติดต่อกัน เป็นเวลานาน ทางเดินจากยอดเขา ที่จะผ่านลำธารนั้น ถูกตัดขาดด้วยกระแสน้ำ ไม่มีใครกล้าข้ามสักคน ด้วยน้ำไหลเชี่ยวและลำธารนั้นลึกมาก หลวงปู่ไปยืนพิจารณาอยู่ริมลำธาร เพียงอึดใจเดียว กระแสน้ำที่กำลังไหลเชี่ยว ก็พลันหยุดนิ่งในทันที ทุกคนที่อยู่ในเหตุการณ์ต่างตกตะลึงกันหมด ต่างก็คิดกันว่า เคยได้ยินเรื่องอัศจรรย์ของหลวงปู่มาก็มาก ไม่นึกว่าจะได้มาพบกับตาตัวเองก็คราวนี้ หลวงปู่ก้าวข้ามลำธารไปก่อน มองกลับมาเห็นศิษย์แต่ละคนกำลังอยู่ในอาการตกตะลึง ท่านจึงเรียกให้ข้ามตามท่านมา บรรดาศิษย์ทั้งหลายก็พากันกลัวๆกล้าๆ กว่าจะได้สติกัน ก็เดินข้ามลำธารกันมาหมดทุกองค์แล้ว เมื่อพ้นมาเพียงอึดใจเดียว กระแสน้ำในลำธารที่หยุดนิ่งเมื่อสักครู่นี้ ก็เกิดไหลเชี่ยวกรากต่อไปดังเดิม มีพระไปกราบเรียนถามหลวงปู่ว่าทำอย่างไรจึงหยุดน้ำได้

    หลวงปู่ตอบว่า “ภาวนาไปก็รู้เอง ”

    -อำนาจจิตพลังอภิญ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...