ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    พวกเด็กนักเรียนอย่าคึกคะนองนะลูกหลาน เรียนไปแล้วให้ตั้งใจปฏิบัติตัวให้เป็นคนดีตั้งแต่บัดนี้ต่อไปจนกระทั่งวันตาย อย่าเลอะๆ เทอะๆ ให้ตั้งใจปฏิบัติตัวให้ดี เรียนรู้มากเท่าไรๆ นำเข้ามาสู่ความประพฤติให้ดีงามไปกับความรู้ของเรา อย่าให้เป็นแบบความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ใช้ไม่ได้นะ ให้พากันตั้งอกตั้งใจปฏิบัติ ไม่มีอะไรที่จะดีกว่าธรรมที่สอนคนให้ดี นอกนั้นไม่มี เลอะเทอะไปหมด มีธรรมเท่านั้นสอนคนให้ดีได้ พระพุทธเจ้าก็เลิศด้วยธรรม สาวกทั้งหลายเลิศด้วยธรรม มีแต่ผู้เลิศด้วยธรรม ไม่ได้เลิศด้วยกิเลสความเลอะๆ เทอะๆ พากันตั้งใจปฏิบัติให้ดี

    พ่อแม่ครูอาจารย์องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม
    พุทธศักราช ๒๕๕๑

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ” …ให้พากันสร้างกรรมดี ความขี้เกียจขี้คร้านเป็นเรื่องของกิเลส เป็นข้าศึกกับการบำเพ็ญธรรมเสมอไป อย่าชินชากับมัน ถ้าชินชากับมันแล้วจมได้ไม่สงสัย ถ้าฟังเสียงอรรถเสียงธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ถือกิเลสเป็นข้าศึกต่อเรา ความขี้เกียจขี้คร้าน ความท้อแท้อ่อนแอ ความไม่เอาไหน เป็นกิเลสทั้งนั้น ปัดออกให้หมด ความว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นี่เป็นเรื่องของธรรม ให้คัดเลือกเอาแต่การทำดี จะเป็นประโยชน์แก่ตน…”

    พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -คว.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ธรรมดาโลกต้องศึกษา ต้องเรียน ต้องเขียน
    ต้องอ่าน ต้องคิดต้องนึก จึงจะเกิดความฉลาด
    แต่ในทางธรรม หยุดคิด หยุดนึก
    หยุดขีด หยุดเขียน หยุดจำ หยุดทำ
    จึงเกิดวิชาชั้นสูงได้
    เป็นของทวนกระแสโลก ซึ่งมนุษย์ทั้งหลายทำได้ยาก

    – ท่านพ่อลี ธัมมธโร

    -ต้อง.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เราไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนา
    ด้วยเจตนาดับตัวตน
    เพราะไม่เคยมีตัวตนให้ดับ
    เราต้องการดับอุปาทานว่ามีตัวตน
    อันเป็นปัจจัยแห่งการสืบสายทุกข์ต่างหาก

    – ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    -5-นาที-พระอาจารย์เปล.jpg

    คลิป 5 นาที พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป ให้พรปีใหม่ สวดมงคลจักรวาฬน้อยคลิป 5 นาที พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป ให้พรปีใหม่ สวดมงคลจักรวาฬน้อย
    ( คลิปนี้อนุญาตให้เผยแผ่ทาง Internet เป็นธรรมทาน )

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “ญาณทัศนะหลวงปู่มั่น ใช้ปราบทิฏฐิลูกศิษย์”

    (จากประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)

    อุบายสอนธรรมอันแยบคาย ท่านพระอาจารย์มั่นชาญฉลาดเชี่ยวชาญการดักใจ ทรมารกิเลสของบุคคลต่างๆได้เป็นเลิศ และมีญาณหยั่งรู้จิตใจผู้อื่นได้รวดเร็ว ทำให้ศิษทั้งหลายต่างเกรงกลัวสำรวมในการปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ท่านจะเน้นให้ลูกศิษถือสัลเลขธรรมเป็นเครื่องดำเนินอยู่เสมอ

    ท่านพระอาจารย์มั่น มีความละเอียดมากในการสอนลูกศิษย์ เวลาพระองค์ไหนป่วยแล้วขอยา ท่านจะว่า นี่จะเอาอะไรเป็นสรณะที่พึ่ง เอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง หรือเอายาเป็นที่พึ่ง ถือเอาศาสนาพุทธหรือศาสนายากันแน่ แต่ถ้าองค์ไหนป่วย แล้วไม่ยอมฉันยา ท่านก็ติเตียนอีกว่า ยามี ทำไมไม่ยอมฉัน ทำไมทำตัวเป็นคนเลี้ยงยาก ฟังดูแล้วดูเหมือนลูกศิษย์ต้องโดนทั้งขึ้นทั้งล่อง แต่ความหมายของท่านคือ ขอปราบทิฏฐิของลูกศิษย์ในเรื่องนี้ เพราะความดีไม่ได้อยู่กับการฉันยาหรือไม่ฉันยา แต่อยู่กับการใช้ปัญญาพิจารณาทุกข์นั้นต่างหาก

    -ญาณทัศนะหลวงปู่ม.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    การทำลายพระพุทธเจ้า
    กับทำลายพระพุทธศาสนา
    ย่อมเป็นกรรมหนักเสมอกัน
    พึงสังวรระวังให้รอบคอบในเรื่องนี้
    อย่าคิดอย่างประมาท

    สมเด็จพระญาณสังวร

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    กุศลจิตเป็นต้นไม้ บุญทานเป็นปุ๋ย

    ถ้าใจของเราเป็นโทษเสียแล้ว จะไปทำบุญทำทานอะไร ก็ไม่ได้ผล เหมือนกับเราขนปุ๋ยไปใส่ต้นไม้ที่ตายแล้วนั้น ดังนี้เมื่อเราอยากจะกินน้อยหน่าสักหนึ่งลูก ก็ย่อมไม่ได้สมใจ เพราะปุ๋ยที่ขนไปใส่ต้นน้อยหน่านั้น มันก็ไปดีกับต้นหญ้า แตงกวา ผักเสี้ยน ผักขมหมด หาเป็นประโยชน์แก่ต้นน้อยหน่า ซึ่งเราต้องการเก็บกินผลของมันนั้นไม่

    ฉันใดก็ดี ความสำเร็จของเรา คือ ต้องการจะละตัวโลภะ โทสะ และโมหะ ให้หมดไปก็ย่อมไม่ได้ผล ทำแต่บุญทานภายนอกไป แต่ไม่ทำกุศลภายในใจ บุญทานนั้นก็เท่ากับปุ๋ยของบุญกุศลเท่านั้น เมื่อ”ตัวจริง” มันตายไปเสียแล้ว ปุ๋ยนั้นเราจะนำมากลืนกินเข้าไปได้อย่างไร เพราะมีแต่ของสกปรก ล้วนแต่ขี้วัวขี้ควายทั้งสิ้น เราจะไปเรียกร้อง ให้ปุ๋ยที่เลอะเทอะเหล่านี้มาช่วยอย่างไรได้

    แต่ก็นับว่ายังดีกว่าคนที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเสียเลย คือ ไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา เพราะถึงอย่างไรๆ ก็ยังพอจะได้เก็บต้นผักขม ผักเสี้ยน ที่อยู่ใกล้ๆนั้นมาแกงเลียงหรือจิ้มน้ำพริกกินได้บ้าง



    ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
    วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

    -บุญทา.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    วันนี้วันที่ ๑๗ มกราคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ “พระมหาโพธิผู้จุดประทีปกลางใจคน” ครบปีที่ ๒๘ หลวงปู่ดู่ ท่านเป็นพระที่พูดน้อย ไม่มากโวหาร ด้วยจริยวัตรอันงดงาม สงบ เรียบง่าย สันโดษ จริงจังต่อการปฏิบัติธรรมมาก ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีความใฝ่รู้จึงมีความเพียรที่ศึกษาทั้งด้านปริยัติ และปฏิบัติ จากพระคณาจารย์ผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมในยุคนั้นหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อกลั่น หลวงพ่อเภา ท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม หลวงพ่อรอด (เสือ) และอีกหลายๆท่านตามจังหวัดต่าง ๆ ในการประพฤติปฏิบัตินั้น จำต้องยอมมอบกายถวายชีวิตลงไป ท่านกล่าวไว้ว่า “ถ้ามันไม่ดีหรือไม่ได้พบความจริงก็ให้มันตาย ถ้ามันไม่ตายก็ให้มันดี หรือได้พบกับความจริง” จึงขอน้อมนำชีวประวัติหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เพื่อเป็นสังฆานุสติ และมรณานุสติครับ

    พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เดิมชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    ปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น
    ชีวิตในวัยเด็กของท่านดูจะขาดความอบอุ่นอยู่มาก ด้วยกำพร้าบิดา มารดาตั้งแต่เยาว์วัย นายยวง พึ่งกุศล ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของท่านได้เล่าให้ฟังว่า บิดามารดาของท่านมีอาชีพทำนา โดยนอกฤดูทำนาจะมีอาชีพทำขนมไข่มงคลขาย เมื่อตอนที่ท่านยังเป็นเด็กทารก มีเหตุการณ์สำคัญที่ควรบันทึกไว้ คือในคืนวันหนึ่งซึ่งเป็นหน้าน้ำ ขณะที่บิดามารดาของท่านกำลังทอด “ขนมมงคล” อยู่นั้น ท่านซึ่งถูกวางอยู่บนเบาะนอกชานคนเดียว ไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกลงไปในน้ำทั้งคนทั้งเบาะ แต่เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งที่ตัวท่านไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำจนไปติดอยู่ข้างรั้ว กระทั่งสุนัขเลี้ยงที่บ้านท่านมาเห็นเข้าจึงได้เห่าพร้อมกับวิ่งกลับไปกลับมาระหว่างตัวท่านกับมารดา เมื่อมารดาท่านเดินตามสุนัขเลี้ยงออกมาจึงได้พบท่านลอยน้ำติดอยู่ที่ข้างรั้ว ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มารดาท่านเชื่อมั่นว่าท่านจะต้องเป็นผู้มีบุญวาสนามากมาเกิด

    มารดาของท่านได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเป็นทารกอยู่ ต่อมาบิดาของท่านก็จากไปอีกขณะท่านมีอายุได้เพียง ๔ ขวบเท่านั้น ท่านจึงต้องกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กจำความไม่ได้ ท่านอาศัยอยู่กับยาย โดยมีโยมพี่สาวที่ชื่อสุ่มเป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ และท่านก็ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

    สู่เพศพรหมจรรย์

    เมื่อท่านอายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมทบเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๘ ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ ณ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อกลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการามเป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อแด่ เจ้าอาวาสวัดสะแกขณะนั้นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีหลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พรหมปัญโญ”

    ในพรรษาแรก ๆ นั้น ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่าวัดประดู่โรงธรรม โดยมีพระอาจารย์ผู้สอนคือ ท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม และหลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น

    ในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐานนั้น ท่านได้ศึกษากับหลวงพ่อกลั่นผู้เป็นอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อเภา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่นซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน เมื่อท่านบวชได้พรรษาที่สองประมาณปลายปี พ.ศ.๒๔๖๙ หลวงพ่อกลั่นมรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษาหาความรู้จากหลวงพ่อเภาเป็นสำคัญ นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาจากตำรับตำราบที่มีอยู่จากชาดกบ้าง จากธรรมบทบ้าง และด้วยความที่ท่านเป็นผู้ใฝ่รู้รักการศึกษา ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่านที่จังหวัดสุพรรณบุรี และสระบุรี

    ประสบการณ์ธุดงค์

    ประมาณเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๖ ออกพรรษาแล้วท่านก็เริ่มออกเดินธุดงค์จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีเป้าหมายที่ป่าเขาทางแถบจังหวัดกาญจนบุรี และแวะนมัสการสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธฉายและรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จากนั้นท่านก็เดินธุดงค์ไปยังจังหวัดสิงห์บุรี สุพรรณบุรี จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี จึงเข้าพักปฏิบัติตามป่าเขา และถ้ำต่าง ๆ

    หลวงปู่ดู่ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าเริ่มแรกที่ท่านขวนขวายศึกษาและปฏิบัตินั้น แท้จริงมิได้มุ่งเน้นมรรคผลนิพพาน หากแต่ต้องการเรียนรู้ให้ได้วิชาต่าง ๆ เป็นต้นว่า วิชาคงกระพันชาตรี ก็เพื่อที่จะสึกออกไปแก้แค้นพวกโจรที่ปล้นบ้านโยมพ่อโยมแม่ท่านถึง ๒ ครั้ง แต่เดชะบุญ แม้ท่านจะสำเร็จวิชาต่าง ๆ ตามที่ตั้งใจไว้ ท่านกลับได้คิด นึกสลดสังเวชใจตัวเองที่ปล่อยให้อารมณ์อาฆาตแค้นทำร้ายจิตใจตนเองอยู่เป็นเวลานับสิบ ๆ ปี ในที่สุดท่านก็ได้ตั้งจิตอโหสิกรรมให้แก่โจรเหล่านั้น แล้วมุ่งปฏิบัติฝึกฝนอบรมตน ตามทางแห่งศีล สมาธิ และปัญญา อย่างแท้จริง

    ในระหว่างที่ท่านเดินธุดงค์อยู่นั้น ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าได้พบฝูงควายป่ากำลังเดินเข้ามาทางท่าน ท่านตั้งสติอยู่ครู่หนึ่งจึงตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว หยุดยืนภาวนานิ่งอยู่ ฝูงควายป่าที่ตรงมาทางท่านพอเข้ามาใกล้จะถึงตัวท่าน ก็กลับเดินทักษิณาวรรตรอบท่านแล้วก็จากไป บางแห่งที่ท่านเดินธุดงค์ไปถึง ท่านมักพบกับพวกนักเลงที่ชอบลองของ ครั้งหนึ่ง มีพวกนักเลงเอาปืนมายิงใส่ท่านขณะนั่งภาวนาอยู่ในกลด ท่านเล่าให้ฟังว่า พวกนี้ไม่เคารพพระ สนใจแต่ “ของดี” เมื่อยิงปืนไม่ออก จึงพากันมาแสดงตัวด้วยความนอบน้อม พร้อมกับอ้อนวอนขอ “ของดี” ทำให้ท่านต้องออกเดินธุดงค์หนีไปทางอื่น

    การปฏิบัติของท่านในช่วงธุดงค์อยู่นั้น เป็นไปอย่างเอาจริงเอาจัง ยอมมอบกายถวายชีวิตไว้กับป่าเขา แต่สุขภาพธาตุขันธ์ของท่านก็ไม่เป็นใจเสียเลย บ่อยครั้งที่ท่านต้องเอาผ้ามาคาดที่หน้าผากเพื่อบรรเทาอาการปวดศรีษะ อีกทั้งก็มีอาการเท้าชารุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้กระนั้น ท่านก็ยังไม่ละความเพียร สมดังที่ท่านเคยสอนลูกศิษย์ว่า “นิพพานอยู่ฟากตาย” ในการประพฤติปฏิบัตินั้น จำต้องยอมมอบกายถวายชีวิตลงไป ดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “ถ้ามันไม่ดีหรือไม่ได้พบความจริงก็ให้มันตาย ถ้ามันไม่ตายก็ให้มันดี หรือได้พบกับความจริง”

    ดังนั้น อุปสรรคต่าง ๆ จึงกลับเป็นปัจจัยช่วยให้จิตใจของผู้ปฏิบัติแข็งแกร่งขึ้นเป็นลำดับ

    นิมิตธรรม

    อยู่มาวันหนึ่ง ประมาณก่อนปี พ.ศ.๒๕๐๐ เล็กน้อย หลังจากหลวงปู่ดู่สวดมนต์ทำวัตรเย็น และปฏิบัติกิจส่วนตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็จำวัด เกิดนิมิตไปว่า ได้ฉันดาวที่มีแสงสว่างมาก ๓ ดวง ในขณะที่กำลังฉันอยู่นั้นก็รู้สึกกรอบ ๆ ดี ก็เลยฉันเข้าไปทั้งหมด แล้วจึงตกใจตื่น เมื่อท่านพิจารณาใคร่ครวญถึงนิมิตธรรมที่เกิดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจขึ้นว่าแก้ว ๓ ดวงนั้น ก็คือพระไตรสรณาคมน์นั่นเอง พอท่านว่า “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในจิตท่าน พร้อมกับอาการปีติอย่างท่วมท้น ทั้งเกิดความรู้สึกลึกซึ้งและมั่นใจว่า พระไตรสรณาคมน์นี้แหละเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดเอามาเป็นคำบริกรรมภาวนาตั้งแต่นั้บเป็นต้นมา

    หลวงปู่ดูท่านให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องการปฏิบัติสมาธิภาวนา ท่านว่า “ถ้าไม่เอา (ปฏิบัติ) เป็นเถ้าเสียดีกว่า” ในสมัยก่อนเมื่อตอนที่ศาลาปฏิบัติธรรมหน้ากุฏิท่านยังสร้างไม่เสร็จนั้น ท่านก็เมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่ท่านใช้จำวัด เป็นที่รับรองสานุศิษย์และผู้สนใจได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งนับเป็นเมตตาอย่างสูง
    ครั้งหนึ่งมีลูกศิษย์วิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้ให้ท่านฟังในเชิงว่ากล่าวว่า เป็นต้นเหตุของปัญหาและความยุ่งยาก แทนที่ท่านจะเออออไปตามอันจะทำให้เรื่องยิ่งบานปลายออกไป ท่านกลับปรามว่า “เรื่องของคนอื่น เราไปแก้เขาไม่ได้ ที่แก้ได้คือตัวเรา แก้ข้างนอกเป็นเรื่องโลก แต่แก้ที่ตัวเรานี่เป็นเรื่องธรรม”

    คำสอนของหลวงปู่ดู่ จึงสรุปลงที่การใช้ชีวิตอย่างคนไม่ประมาท นั่นหมายถึงว่าสิ่งที่จะต้องเป็นไปพร้อม ๆ กัน ก็คือ ความพากเพียรที่ลงสู่ภาคปฏิบัติ ในมรรควิถีที่เป็นสาระแห่งชีวิตของผู้ไม่ประมาท ดังที่ท่านพูดย้ำเสมอว่า “หมั่นทำเข้าไว้ ๆ”

    นอกจากความอดทน อดกลั้นยิ่งแล้ว หลวงปู่ดู่ยังเป็นแบบอย่างของผู้ไม่ถือตัว วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จันทสิริ) วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่เราเรียกกันว่ “ท่านเจ้าคุณเสงี่ยม” ซึ่งมีอายุพรรษามากกว่าหลวงปู่ดู่ ๑ พรรษามานมันการหลวงพ่อโดยยกย่องเป็นครูเป็นอาจารย์ แต่เมื่อท่านเจ้าคุณเสงี่ยมกราบหลวงพ่อเสร็จแล้วหลวงพ่อท่านก็กราบตอบ เรียกว่าต่างองค์ต่างกราบซึ่งกันและกันเป็นภาพที่พบเห็นได้ยากเหลือเกินในโลกที่ผู้คนทั้งหลายมีแต่จะเติบโตทางด้านทิฏฐิมานะ ความถือตัว อวดดี อวดเด่น ยกตนข่มท่าน ปล่อยให้กิเลสตัวหลงออกเรี่ยราด เที่ยวประกาศให้ผู้คนทั้งหลายได้รู้ว่าตนเก่ง โดยเจ้าตัวก็ไม่รู้ว่าถูกกิเลสขึ้นขี่คอพาบงการให้เป็นไป

    หลวงปู่ดู่ ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติธรรมของสำนักไหน ๆ ในเชิงลบหลู่หรือเปรียบเทียบดูถูกดูหมิ่น ท่านว่า “คนดีน่ะ เขาไม่ตีใคร” ซึ่งลูกศิษย์ทั้งหลายได้ถือเป็นแบบอย่าง

    หลวงปู่ดู่เป็นพระพูดน้อย ไม่มากโวหาร ท่านจะพูดย้ำอยู่แต่ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมและความไม่ประมาท เช่น “ของดีอยู่ที่ตัวเรา หมั่นทำ (ปฏิบัติ) เข้าไว้” “ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต” “อย่าลืมตัวตาย” และ “ให้หมั่นพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” เป็นต้น

    หลวงปู่ดู่เป็นผู้ที่มีอุบายธรรมลึกซึ้ง สามารถขัดเกลาจิตใจคนอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิได้เร่งรัดเอาผล เช่นครั้งหนึ่งมีนักเลงเหล้าติดตามเพื่อน ซึ่งเป็นลูกศิษย์มากราบนมัสการท่าน สนทนากันได้สักพักหนึ่ง เพื่อนที่เป็นลูกศิษย์ก็ชักชวนเพื่อนนักเลงเหล้าให้สมาทานศีล ๕ พร้อมกับฝึกหัดปฏิบัติสมาธิภาวนา นักเลงเหล้าผู้นั้นก็แย้งว่า “จะมาให้ผมสมาทานศีลและปฏิบัติได้ยังไง ก็ผมยังกินเหล้าเมายาอยู่นี่ครับ” หลวงปู่ดูท่านก็ตอบว่า “เอ็งจะกินก็กินไปซิ ข้าไม่ว่า แต่ให้เอ็งปฏิบัติให้ข้าวันละ ๕ นาทีก็พอ” นักเลงเหล้าผู้นั้นเห็นว่านั่งสมาธิแค่วันละ ๕ นาที ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร จึงได้ตอบปากรับคำจากหลวงพ่อ

    ด้วยความที่เป็นคนนิสัยทำอะไรทำจริง ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง ทำให้เขาสามารถปฏิบัติได้สม่ำเสมอเรื่อยมามิได้ขาดแม้แต่วันเดียว บางครั้งถึงขนาดงดไปกินเหล้ากับเพื่อน ๆ เพราะได้เวลาปฏิบัติ จิตของเขาเริ่มเสพคุ้นกับความสุขสงบจากการที่จิตเป็นสมาธิ ไม่ช้าไม่นานเขาก็สามารถเลิกเหล้าได้โดยไม่รู้ตัวด้วยอุบายธรรมที่น้อมนำมาจากหลวงปู่ ต่อมาเขาได้มีโอกาสมานมัสการท่านอีกครั้ง ทีนี้หลวงปู่ดู่ท่านให้โอวาทว่า “ที่แกปฏิบัติอยู่ ให้รู้ว่าไม่ใช่เพื่อข้า แต่เพื่อตัวแกเอง” คำพูดของหลวงปู่ทำให้เขาเข้าใจอะไรมากขึ้น ศรัทธาและความเพียรต่อการปฏิบัติก็มีมากขึ้นตามลำดับ ถัดจากนั้นไม่กี่ปี เขาผู้ที่อดีตเคยเป็นนักเลงเหล้าก็ละเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิต ตั้งใจปฏิบัติธรรมเรื่อยมา

    อีกครั้งหนึ่งมีชาวบ้านหาปลามานมัสการท่าน และก่อนกลับ ท่านก็ให้เขาสมาทานศีล ๕ เขาเกิดตะขิดตะขวงใจกราบเรียนท่านว่า “ผมไม่กล้าสมาทานศีล ๕ เพราะรู้ว่าประเดี๋ยวก็ต้องไปจับปลา จับกุ้ง มันเป็นอาชีพของผมครับ” หลวงปู่ตอบเขาด้วยความเมตตาว่า “แกจะรู้เหรอว่า แกจะตายเมื่อไหร่ ไม่แน่ว่าแกเดินออกไปจากกุฏิข้าแล้ว อาจถูกงูกัดตายเสียกลางทางก่อนไปจับปลา จับกุ้ง ก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อตอนนี้แกยังไม่ได้ทำบาปกรรมอะไร ยังไง ๆ ก็ให้มีศีลไว้ก่อน ถึงจะมีศีลขาดก็ยังดีกว่าไม่มีศีล”

    หลวงปู่ดู่ท่านไม่เพียงพร่ำสอนให้บรรดาศิษย์ทั้งหลายเจริญบำเพ็ญคุณงามความดีเท่านั้น หากแต่ยังเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญและระมัดระวังในการรักษาไว้ซึ่งคุณงามความดีนั้น ๆ ให้คงอยู่ รวมทั้งเจริญงอกงามขึ้นเรื่อย ๆ ท่านมักจะพูดเตือนเสมอ ๆ ว่า เมื่อปลูกต้นธรรมด้วยดีแล้วก็ต้องคอยหมั่นระวังอย่าให้หนอนและแมลง ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง มากัดกินทำลายต้นธรรมที่อุตส่าห์ปลูกขึ้น และอีกครั้งหนึ่งที่ท่านแสดงถึงแบบอย่างของความเป็นครูบาอาจารย์ที่ปราศจากทิฏฐิมานะและเปี่ยมด้วยอุบายธรรม ก็คือครั้งที่มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒ คน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน มากราบลาพร้อมกับเรียนให้ท่านทราบว่า จะเดินทางไปพักค้างเพื่อปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี

    หลวงปู่ดู่ท่านฟังแล้วก็ยกมือพนมขึ้นไหว้ไปทางข้าง ๆ พร้อมกับพูดว่า “ข้าโมทนากับพวกแก่ด้วย ตัวข้าไม่มีโอกาส…” ไม่มีเลยที่ท่านจะห้ามปรามหรือแสดงอาการที่เรียกว่าหวงลูกศิษย์ ตรงกันข้ามมีแต่จะส่งเสริม สนับสนุน ให้กำลังใจเพื่อให้ลูกศิษย์ของท่านขวนขวายในการปฏิบัติธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป

    แต่ถ้าเป็นกรณีที่ลูกศิษย์มาเรียนให้ท่านทราบถึงครูอาจารย์นั้นองค์นี้ ในลักษณะตื่นครูตื่นอาจารย์ ท่านก็จะปรามเพื่อวกเข้าสู่เจ้าตัว โดยพูดเตือนสติว่า “ครูอาจารย์ดี ๆ แม้จะมีอยู่มาก แต่สำคัญที่ตัวแก ต้องปฏิบัติให้จริง สอนตัวเองให้มากนั่นแหละจึงจะดี”

    หลวงปู่ดู่ท่านมีแนวทางการสอนธรรมะที่เรียบง่าย ฟังง่าย ชวนให้ติดตามฟัง ท่านนำเอาสิ่งที่เข้าใจยากมาแสดงให้เข้าใจง่าย เพราะท่านจะยกอุปมาอุปไมยประกอบในการสอนธรรมะจึงทำให้ผู้ฟังเห็นภาพและเกิดความเข้าใจในธรรมที่ท่านนำมาแสดง แม้ว่าท่านมักจะออกตัวว่าท่านเป็นพระบ้านนอกที่ไม่มีความรู้อะไร แต่สำหรับบรรดาศิษย์ทั้งหลาย คงไม่อาจปฏิเสธว่า หลายครั้งที่ท่านสามารถพูดแทงเข้าไปถึงก้นบึ้งหัวใจของผู้ฟังทีเดียว

    หลวงปู่ดู่ท่านพูดถึงการประพฤติปฏิบัติของคนสมัยนี้ว่า “คนเราทุกวันนี้ โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม เรามัวพากันยุ่งอยู่กับโลกจนเหลืองลิงติดตัง เรื่องของโลก เรื่องเละ ๆ เรื่องไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ไขเขาไม่ได้จะต้องแก้ไขที่ตัวเราเอง ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง”

    ท่านได้อบรมสั่งสอนศิษย์ โดยให้พยายามถือเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาเป็นครูสอนตนเองเสมอ เช่น ในหมู่คณะ หากมีผู้ใดประพฤติปฏิบัติดี เจริญในธรรมปฏิบัติ ท่านก็กล่าวชมและให้ถือเป็นแบบอย่าง แต่ถ้ามีผู้ประพฤติผิด ถูกท่านตำหนิติเตียน ก็ให้น้อมเอาเหตุการณ์นั้น ๆ มาสอนตนทุกครั้งไป ท่านไม่ได้ชมผู้ทำดีจนหลงลืมตน และท่านไม่ได้ติเตียนผู้ทำผิดจนหมดกำลังใจ แต่ถือเอาเหตุการณ์ เป็นเสมือนครูที่เป็นความจริงแสดงเหตุผลให้เห็นธรรมที่แท้จริง

    การสอนของท่านก็พิจารณาดูบุคคลด้วย เช่น คนบางคนพูดให้ฟังเพียงอย่างเดียว ไม่เข้าใจ บางทีท่านก็ต้องทำให้เกิดความกลัว เกิดความละอายบ้างถึงจะหยุด เลิกละการกระทำที่ไม่ดีนั้น ๆ ได้ หรือบางคนเป็นผู้มีอุปนิสัยเบาบางอยู่แล้ว ท่านก็สอนธรรมดา การสอนธรรมะของท่านบางทีก็สอนให้กล้า บางทีก็สอนให้กลัว ที่ว่าสอนให้กล้านั้น คือให้กล้าในการทำความดี กล้าในการประพฤติปฏิบัติเพื่อถอดถอนกิเลสออกจากใจไม่ให้ตกตกเป็นทาสของกิเลสอยู่ร่ำไป ส่วนที่สอนให้กลัวนั้น ท่านให้กลัวในการทำความชั่ว ผิดศีลธรรม เป็นโทษ ทำแล้วผู้อื่นเดือดร้อน บางทีท่านก็สอนให้เชื่อ คือให้เชื่อมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อในเรื่องกรรม อย่างที่ท่านเคยกล่าวว่า “เชื่อไหมล่ะ ถ้าเราเชื่อจริง ทำจริง มันก็เป็นของจริง ของจริงมีอยู่ แต่เรามันไม่เชื่อจริง จึงไม่เห็นของจริง”

    หลวงปู่ดู่ท่านสอนให้มีปฏิปทาสม่ำเสมอ ท่านว่า “ขยันก็ให้ทำ ขี้เกียจก็ให้ทำ ถ้าวันไหนยังกินข้าวอยู่ก็ต้องทำ วันไหนเลิกกินข้าวแล้วนั่นแหละ จึงค่อยเลิกทำ”

    การสอนของท่านนั้นมิได้เน้นแต่เพียงการนั่งหลับตาภาวนา หากแต่หมายรวมไปถึงการกำหนดดู กำหนดรู้ และพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ในความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านชี้ให้เห็นถึงสังขารร่างกายที่มันเกิดมันตายอยู่ตลอดเวลา ท่านว่า เราวันนี้กับเราเมื่อตอนเป็นเด็กมันก็ไม่เหมือนเก่า เราขณะนี้กับเราเมื่อวานก็ไม่เหมือนเก่า จึงว่าเราเมื่อตอนเป็นเด็ก หรือเราเมื่อวานมันได้ตายไปแล้ว เรียกว่า ร่างกายเรามันเกิด – ตาย อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก มันเกิด – ตาย อยู่ทุกขณะจิต ท่านสอนให้บรรดาศิษย์เห็นจริงถึงความสำคัญของความทุกข์ยาก ว่าเป็นสิ่งมีคุณค่าในโลก

    ท่านจึงพูดบ่อยครั้งว่า การที่เราประสบทุกข์ นั่นแสดงว่าเรามาถูกทางแล้ว เพราะอาศัยทุกข์นั่นแหละ จึงทำให้เราเกิดปัญญาขึ้นได้ใช้ชีวิตอย่างผู้รักสันโดษและเรียบง่าย

    หลวงปู่ดู่ ท่านยังเป็นแบบอย่างของผู้มักน้อยสันโดษใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่นิยมความหรูหราฟุ่มเฟือย แม้แต่การสรงน้ำ ท่านก็ยังไม่เคยใช้สบู่เลย แต่ก็น่าอัศจรรย์ เมื่อได้ทราบจากพระอุปัฏฐากว่าไม่พบว่า ท่านมีกลิ่นตัว แม้ในห้องที่ท่านจำวัด

    มีผู้ปวารณาตัวจะถวายเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับท่าน ซึ่งส่วนใหญ่ท่านจะปฏิเสธ คงรับไว้บ้างเท่าที่เห็นว่าไม่เกินเลยอันจะเสียสมณะสารูป และใช้สอยพอให้ผู้ถวายได้เกิดความปลื้มปีติที่ได้ถวายแก่ท่าน ซึ่งในภายหลังท่านก็มักยกให้เป็นของสงฆ์ส่วนรวมเช่นเดียวกับข้าวของต่างๆ ที่มีผู้มาถวายเป็นสังฆทาน โดยผ่านท่าน และเมื่อถึงเวลาเหมาะควรท่านก็จะจัดสรรไปให้วัดต่าง ๆ ที่อยู่ในชนบท และ ยังขาดแคลนอยู่

    สิ่งที่ท่านถือปฏิบัติสม่ำเสมอในเรื่องลาภสักการะ ก็คือการยกให้เป็นของ สงฆ์ส่วนรวม แม้ปัจจัยที่มีผู้ถวายให้กับท่านเป็นส่วนตัวสำหรับค่ารักษาพยาบาลท่านก็สมทบเข้าในกองทุนสำหรับจัดสรรไปในกิจสาธารณประโยชน์ต่างๆ ทั้งโรงเรียน และโรงพยาบาล

    หลวงปู่ดู่ ท่านไม่มีอาการแห่งความเป็นผู้อยากเด่นอยากดังแม้แต่น้อย ดังนั้น แม้ท่านจะเป็นเพียงพระบ้านนอกรูปหนึ่งซึ่งไม่เคยออกจากวัดไปไหน ทั้งไม่มีการศึกษาระดับสูงๆ ใน ทางโลก แต่ในความรู้สึกของลูกศิษย์ทั้งหลาย ท่านเป็นดั่งพระเถระผู้ถึงพร้อมด้วยจริยวัตรอันงดงาม สงบ เรียบง่าย เบิกบาน และถึงพร้อมด้วยธรรมวุฒิที่รู้ถ้วนทั่วในวิชชาอันจะนำพา ให้พ้นเกิดพ้นแก่พ้นเจ็บพ้นตายถึงฝั่งอันเกษม เป็นที่ฝากเป็นฝากตายและฝากหัวใจของลูกศิษย์ทุกคน

    ในเรื่องทรัพย์สมบัติดั้งเดิมของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นา ซึ่งมีอยู่ ประมาณ ๓๐ ไร่ ท่านก็ได้แบ่งให้กับหลานๆ ของท่าน ซึ่งในจำนวนนี้ นายยวง พึ่งกุศล ผู้เป็นบุตรของนางสุ่ม โยมพี่สาวคนกลางที่เคยเลี้ยงดูท่านมาตลอด ก็ได้รับส่วนแบ่งที่นาจากท่านด้วยจำนวน ๑๘ ไร่เศษ แต่ด้วยความที่นายยวงผู้เป็นหลานของท่านนี้ไม่มีทายาท ได้คิดปรึกษานางถมยา ผู้ภรรยาเห็นควรยกให้เป็น สาธารณประโยชน์จึงยกที่ดินแปลงนี้ให้กับโรงเรียนวัดสะแกซึ่งหลวงปู่ดู่ท่านก็อนุโมทนาในกุศลเจตนาของคนทั้งสอง

    ปัจฉิมวาร

    นับแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมา สุขภาพของหลวงปู่เริ่มแสดงไตรลักษณะ ให้ปรากฏอย่างชัดเจน สังขารร่างกายของหลวงปู่ซึ่งก่อเกิดมาจากธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และมีใจครองเหมือนเราๆ ท่านๆ เมื่อสังขารผ่านมานานวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีการใช้งานมาก และพักผ่อนน้อย ความทรุดโทรมก็ย่อมเกิดเร็วขึ้นกว่าปรกติกล่าวคือ สังขารร่างกายของท่านได้เจ็บป่วยอ่อนเพลียลงไปเป็นลำดับ ในขณะที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาทั้งญาติโยมและบรรพชิตก็หลั่งไหลกันมานมัสการท่านเพิ่มขึ้น ทุกวัน ในท้ายที่สุดแห่งชีวิตของหลวงปู่ดู่ ด้วยปณิธานที่ตั้งไว้ว่า “สู้แค่ตาย” ท่านใช้ ความอดทนอดกลั้นอย่างสูง แม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปัฏฐากท่านได้เล่าให้ฟังว่า บางครั้ง ถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่นและมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใคร ต้องเป็นกังวลเลย ในปีท้ายๆ ท่านถูกตรวจพบว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แม้นายแพทย์จะขอร้องท่านเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ท่านก็ไม่ยอมไป ท่านเล่าให้ฟังว่า “แต่ก่อนเราเคยอยากดี เมื่อดีแล้วก็เอาให้หายอยาก อย่างมากก็สู้แค่ตาย ใครจะเหมือนข้า ข้าบนตัวตาย”

    ประมาณปลายปี พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่เริ่มพูดบ่อยครั้งกับบรรดลูกศิษย์ เกี่ยวกับ การละสังขารของท่าน จนเมื่อวันอังคารที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ช่วงเวลาบ่ายนั้น มีนายทหารอากาศผู้หนึ่งมากราบท่านเป็นครั้งแรก หลวงปู่ท่านได้ลุกขึ้นนั่งตอนรับ ด้วยใบหน้าที่สดใส ราศีเปล่งปลั่งเป็นพิเศษ จนบรรดาศิษย์ เห็นผิดสังเกต หลวงปู่ยินดีที่ได้พบกับศิษย์ผู้นี้ ท่านว่า “ต่อไปนี้ ข้าจะได้หายเจ็บไข้เสียที ” คืนนั้นมีคณะศิษย์มากรายท่าน ท่านได้พูดว่า “ ไม่มีส่วนใดในร่างกายที่ไม่เจ็บปวดเลย ถ้าเป็นคนอื่นคงเข้าห้อง ICU ไปนานแล้ว ” พร้อมทั้งพูดหนักแน่นว่า “ข้าจะไปแล้วนะ” และกล่าวปัจฉิมโอวาทย้ำให้ทุกคนตั้งอยู่ในความไม่ประมาท “ถึงอย่างไรก็ขอให้อย่าได้ละทิ้งการปฏิบัติ ได้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติ ก็เหมือนนักมวย ขึ้นเวทีแล้วต้องชก อย่ามัวแต่ตั้งท่า เงอะๆ งะๆ” คืนนั้นหลวงปู่ก็กลับเข้ากุฏิ และละสังขารไปด้วยอาการสงบในกุฏิท่าน เมื่อเวลาประมาณ ๕ นาฬิกา ของ วันพุธที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ รวมสิริอายุได้ ๘๕ ปี ๘ เดือน ๖๕ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่พระราชทานเพลิงศพองค์หลวงปู่ดู่ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕

    _/_ _/_ _/_

    -๑๗-มกราคมเป.jpg
    วันนี้วันที่ ๑๗ มกราคมเป็นวันคล้ายวันมรณภาพหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ “พระมหาโพธิผู้จุดประทีปกลางใจคน” ครบปีที่ ๒๘ หลวงปู่ดู่ ท่านเป็นพระที่พูดน้อย ไม่มากโวหาร ด้วยจริยวัตรอันงดงาม สงบ เรียบง่าย สันโดษ จริงจังต่อการปฏิบัติธรรมมาก ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีความใฝ่รู้จึงมีความเพียรที่ศึกษาทั้งด้านปริยัติ และปฏิบัติ จากพระคณาจารย์ผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมในยุคนั้นหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อกลั่น หลวงพ่อเภา ท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม หลวงพ่อรอด (เสือ) และอีกหลายๆท่านตามจังหวัดต่าง ๆ ในการประพฤติปฏิบัตินั้น จำต้องยอมมอบกายถวายชีวิตลงไป ท่านกล่าวไว้ว่า “ถ้ามันไม่ดีหรือไม่ได้พบความจริงก็ให้มันตาย ถ้ามันไม่ตายก็ให้มันดี หรือได้พบกับความจริง” จึงขอน้อมนำชีวประวัติหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เพื่อเป็นสังฆานุสติ และมรณานุสติครับ

    พระคุณเจ้าหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เดิมชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ณ บ้านข้าวเม่า ตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    ปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น
    ชีวิตในวัยเด็กของท่านดูจะขาดความอบอุ่นอยู่มาก ด้วยกำพร้าบิดา มารดาตั้งแต่เยาว์วัย นายยวง พึ่งกุศล ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของท่านได้เล่าให้ฟังว่า บิดามารดาของท่านมีอาชีพทำนา โดยนอกฤดูทำนาจะมีอาชีพทำขนมไข่มงคลขาย เมื่อตอนที่ท่านยังเป็นเด็กทารก มีเหตุการณ์สำคัญที่ควรบันทึกไว้ คือในคืนวันหนึ่งซึ่งเป็นหน้าน้ำ ขณะที่บิดามารดาของท่านกำลังทอด “ขนมมงคล” อยู่นั้น ท่านซึ่งถูกวางอยู่บนเบาะนอกชานคนเดียว ไม่ทราบด้วยเหตุใดตัวท่านได้กลิ้งตกลงไปในน้ำทั้งคนทั้งเบาะ แต่เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งที่ตัวท่านไม่จมน้ำ กลับลอยน้ำจนไปติดอยู่ข้างรั้ว กระทั่งสุนัขเลี้ยงที่บ้านท่านมาเห็นเข้าจึงได้เห่าพร้อมกับวิ่งกลับไปกลับมาระหว่างตัวท่านกับมารดา เมื่อมารดาท่านเดินตามสุนัขเลี้ยงออกมาจึงได้พบท่านลอยน้ำติดอยู่ที่ข้างรั้ว ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มารดาท่านเชื่อมั่นว่าท่านจะต้องเป็นผู้มีบุญวาสนามากมาเกิด

    มารดาของท่านได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเป็นทารกอยู่ ต่อมาบิดาของท่านก็จากไปอีกขณะท่านมีอายุได้เพียง ๔ ขวบเท่านั้น ท่านจึงต้องกำพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กจำความไม่ได้ ท่านอาศัยอยู่กับยาย โดยมีโยมพี่สาวที่ชื่อสุ่มเป็นผู้ดูแลเอาใจใส่ และท่านก็ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่วัดกลางคลองสระบัว วัดประดู่ทรงธรรม และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ

    สู่เพศพรหมจรรย์

    เมื่อท่านอายุได้ ๒๑ ปี ก็ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมทบเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๘ ตรงกับวันอาทิตย์แรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ ณ วัดสะแก ตำบลธนู อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อกลั่น เจ้าอาวาสวัดพระญาติการามเป็นพระอุปัชฌาย์ มีหลวงพ่อแด่ เจ้าอาวาสวัดสะแกขณะนั้นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีหลวงพ่อฉาย วัดกลางคลองสระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พรหมปัญโญ”

    ในพรรษาแรก ๆ นั้น ท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่าวัดประดู่โรงธรรม โดยมีพระอาจารย์ผู้สอนคือ ท่านเจ้าคุณเนื่อง พระครูชม และหลวงพ่อรอด (เสือ) เป็นต้น

    ในด้านการปฏิบัติพระกรรมฐานนั้น ท่านได้ศึกษากับหลวงพ่อกลั่นผู้เป็นอุปัชฌาย์ และหลวงพ่อเภา ศิษย์องค์สำคัญของหลวงพ่อกลั่นซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน เมื่อท่านบวชได้พรรษาที่สองประมาณปลายปี พ.ศ.๒๔๖๙ หลวงพ่อกลั่นมรณภาพ ท่านจึงได้ศึกษาหาความรู้จากหลวงพ่อเภาเป็นสำคัญ นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาจากตำรับตำราบที่มีอยู่จากชาดกบ้าง จากธรรมบทบ้าง และด้วยความที่ท่านเป็นผู้ใฝ่รู้รักการศึกษา ท่านจึงได้เดินทางไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่านที่จังหวัดสุพรรณบุรี และสระบุรี

    ประสบการณ์ธุดงค์

    ประมาณเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๖ ออกพรรษาแล้วท่านก็เริ่มออกเดินธุดงค์จากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีเป้าหมายที่ป่าเขาทางแถบจังหวัดกาญจนบุรี และแวะนมัสการสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธฉายและรอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จากนั้นท่านก็เดินธุดงค์ไปยังจังหวัดสิงห์บุรี สุพรรณบุรี จนถึงจังหวัดกาญจนบุรี จึงเข้าพักปฏิบัติตามป่าเขา และถ้ำต่าง ๆ

    หลวงปู่ดู่ ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าเริ่มแรกที่ท่านขวนขวายศึกษาและปฏิบัตินั้น แท้จริงมิได้มุ่งเน้นมรรคผลนิพพาน หากแต่ต้องการเรียนรู้ให้ได้วิชาต่าง ๆ เป็นต้นว่า วิชาคงกระพันชาตรี ก็เพื่อที่จะสึกออกไปแก้แค้นพวกโจรที่ปล้นบ้านโยมพ่อโยมแม่ท่านถึง ๒ ครั้ง แต่เดชะบุญ แม้ท่านจะสำเร็จวิชาต่าง ๆ ตามที่ตั้งใจไว้ ท่านกลับได้คิด นึกสลดสังเวชใจตัวเองที่ปล่อยให้อารมณ์อาฆาตแค้นทำร้ายจิตใจตนเองอยู่เป็นเวลานับสิบ ๆ ปี ในที่สุดท่านก็ได้ตั้งจิตอโหสิกรรมให้แก่โจรเหล่านั้น แล้วมุ่งปฏิบัติฝึกฝนอบรมตน ตามทางแห่งศีล สมาธิ และปัญญา อย่างแท้จริง

    ในระหว่างที่ท่านเดินธุดงค์อยู่นั้น ท่านเคยเล่าให้ฟังว่าได้พบฝูงควายป่ากำลังเดินเข้ามาทางท่าน ท่านตั้งสติอยู่ครู่หนึ่งจึงตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยว หยุดยืนภาวนานิ่งอยู่ ฝูงควายป่าที่ตรงมาทางท่านพอเข้ามาใกล้จะถึงตัวท่าน ก็กลับเดินทักษิณาวรรตรอบท่านแล้วก็จากไป บางแห่งที่ท่านเดินธุดงค์ไปถึง ท่านมักพบกับพวกนักเลงที่ชอบลองของ ครั้งหนึ่ง มีพวกนักเลงเอาปืนมายิงใส่ท่านขณะนั่งภาวนาอยู่ในกลด ท่านเล่าให้ฟังว่า พวกนี้ไม่เคารพพระ สนใจแต่ “ของดี” เมื่อยิงปืนไม่ออก จึงพากันมาแสดงตัวด้วยความนอบน้อม พร้อมกับอ้อนวอนขอ “ของดี” ทำให้ท่านต้องออกเดินธุดงค์หนีไปทางอื่น

    การปฏิบัติของท่านในช่วงธุดงค์อยู่นั้น เป็นไปอย่างเอาจริงเอาจัง ยอมมอบกายถวายชีวิตไว้กับป่าเขา แต่สุขภาพธาตุขันธ์ของท่านก็ไม่เป็นใจเสียเลย บ่อยครั้งที่ท่านต้องเอาผ้ามาคาดที่หน้าผากเพื่อบรรเทาอาการปวดศรีษะ อีกทั้งก็มีอาการเท้าชารุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ แม้กระนั้น ท่านก็ยังไม่ละความเพียร สมดังที่ท่านเคยสอนลูกศิษย์ว่า “นิพพานอยู่ฟากตาย” ในการประพฤติปฏิบัตินั้น จำต้องยอมมอบกายถวายชีวิตลงไป ดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “ถ้ามันไม่ดีหรือไม่ได้พบความจริงก็ให้มันตาย ถ้ามันไม่ตายก็ให้มันดี หรือได้พบกับความจริง”

    ดังนั้น อุปสรรคต่าง ๆ จึงกลับเป็นปัจจัยช่วยให้จิตใจของผู้ปฏิบัติแข็งแกร่งขึ้นเป็นลำดับ

    นิมิตธรรม

    อยู่มาวันหนึ่ง ประมาณก่อนปี พ.ศ.๒๕๐๐ เล็กน้อย หลังจากหลวงปู่ดู่สวดมนต์ทำวัตรเย็น และปฏิบัติกิจส่วนตัวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านก็จำวัด เกิดนิมิตไปว่า ได้ฉันดาวที่มีแสงสว่างมาก ๓ ดวง ในขณะที่กำลังฉันอยู่นั้นก็รู้สึกกรอบ ๆ ดี ก็เลยฉันเข้าไปทั้งหมด แล้วจึงตกใจตื่น เมื่อท่านพิจารณาใคร่ครวญถึงนิมิตธรรมที่เกิดขึ้น ก็เกิดความเข้าใจขึ้นว่าแก้ว ๓ ดวงนั้น ก็คือพระไตรสรณาคมน์นั่นเอง พอท่านว่า “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ, สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในจิตท่าน พร้อมกับอาการปีติอย่างท่วมท้น ทั้งเกิดความรู้สึกลึกซึ้งและมั่นใจว่า พระไตรสรณาคมน์นี้แหละเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ท่านจึงกำหนดเอามาเป็นคำบริกรรมภาวนาตั้งแต่นั้บเป็นต้นมา

    หลวงปู่ดูท่านให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องการปฏิบัติสมาธิภาวนา ท่านว่า “ถ้าไม่เอา (ปฏิบัติ) เป็นเถ้าเสียดีกว่า” ในสมัยก่อนเมื่อตอนที่ศาลาปฏิบัติธรรมหน้ากุฏิท่านยังสร้างไม่เสร็จนั้น ท่านก็เมตตาให้ใช้ห้องส่วนตัวที่ท่านใช้จำวัด เป็นที่รับรองสานุศิษย์และผู้สนใจได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม ซึ่งนับเป็นเมตตาอย่างสูง
    ครั้งหนึ่งมีลูกศิษย์วิพากษ์วิจารณ์คนนั้นคนนี้ให้ท่านฟังในเชิงว่ากล่าวว่า เป็นต้นเหตุของปัญหาและความยุ่งยาก แทนที่ท่านจะเออออไปตามอันจะทำให้เรื่องยิ่งบานปลายออกไป ท่านกลับปรามว่า “เรื่องของคนอื่น เราไปแก้เขาไม่ได้ ที่แก้ได้คือตัวเรา แก้ข้างนอกเป็นเรื่องโลก แต่แก้ที่ตัวเรานี่เป็นเรื่องธรรม”

    คำสอนของหลวงปู่ดู่ จึงสรุปลงที่การใช้ชีวิตอย่างคนไม่ประมาท นั่นหมายถึงว่าสิ่งที่จะต้องเป็นไปพร้อม ๆ กัน ก็คือ ความพากเพียรที่ลงสู่ภาคปฏิบัติ ในมรรควิถีที่เป็นสาระแห่งชีวิตของผู้ไม่ประมาท ดังที่ท่านพูดย้ำเสมอว่า “หมั่นทำเข้าไว้ ๆ”

    นอกจากความอดทน อดกลั้นยิ่งแล้ว หลวงปู่ดู่ยังเป็นแบบอย่างของผู้ไม่ถือตัว วางตัวเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ยกตนข่มผู้อื่น เมื่อครั้งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จันทสิริ) วัดสุทัศนเทพวราราม หรือที่เราเรียกกันว่ “ท่านเจ้าคุณเสงี่ยม” ซึ่งมีอายุพรรษามากกว่าหลวงปู่ดู่ ๑ พรรษามานมันการหลวงพ่อโดยยกย่องเป็นครูเป็นอาจารย์ แต่เมื่อท่านเจ้าคุณเสงี่ยมกราบหลวงพ่อเสร็จแล้วหลวงพ่อท่านก็กราบตอบ เรียกว่าต่างองค์ต่างกราบซึ่งกันและกันเป็นภาพที่พบเห็นได้ยากเหลือเกินในโลกที่ผู้คนทั้งหลายมีแต่จะเติบโตทางด้านทิฏฐิมานะ ความถือตัว อวดดี อวดเด่น ยกตนข่มท่าน ปล่อยให้กิเลสตัวหลงออกเรี่ยราด เที่ยวประกาศให้ผู้คนทั้งหลายได้รู้ว่าตนเก่ง โดยเจ้าตัวก็ไม่รู้ว่าถูกกิเลสขึ้นขี่คอพาบงการให้เป็นไป

    หลวงปู่ดู่ ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติธรรมของสำนักไหน ๆ ในเชิงลบหลู่หรือเปรียบเทียบดูถูกดูหมิ่น ท่านว่า “คนดีน่ะ เขาไม่ตีใคร” ซึ่งลูกศิษย์ทั้งหลายได้ถือเป็นแบบอย่าง

    หลวงปู่ดู่เป็นพระพูดน้อย ไม่มากโวหาร ท่านจะพูดย้ำอยู่แต่ในเรื่องของการปฏิบัติธรรมและความไม่ประมาท เช่น “ของดีอยู่ที่ตัวเรา หมั่นทำ (ปฏิบัติ) เข้าไว้” “ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต” “อย่าลืมตัวตาย” และ “ให้หมั่นพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” เป็นต้น

    หลวงปู่ดู่เป็นผู้ที่มีอุบายธรรมลึกซึ้ง สามารถขัดเกลาจิตใจคนอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิได้เร่งรัดเอาผล เช่นครั้งหนึ่งมีนักเลงเหล้าติดตามเพื่อน ซึ่งเป็นลูกศิษย์มากราบนมัสการท่าน สนทนากันได้สักพักหนึ่ง เพื่อนที่เป็นลูกศิษย์ก็ชักชวนเพื่อนนักเลงเหล้าให้สมาทานศีล ๕ พร้อมกับฝึกหัดปฏิบัติสมาธิภาวนา นักเลงเหล้าผู้นั้นก็แย้งว่า “จะมาให้ผมสมาทานศีลและปฏิบัติได้ยังไง ก็ผมยังกินเหล้าเมายาอยู่นี่ครับ” หลวงปู่ดูท่านก็ตอบว่า “เอ็งจะกินก็กินไปซิ ข้าไม่ว่า แต่ให้เอ็งปฏิบัติให้ข้าวันละ ๕ นาทีก็พอ” นักเลงเหล้าผู้นั้นเห็นว่านั่งสมาธิแค่วันละ ๕ นาที ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร จึงได้ตอบปากรับคำจากหลวงพ่อ

    ด้วยความที่เป็นคนนิสัยทำอะไรทำจริง ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง ทำให้เขาสามารถปฏิบัติได้สม่ำเสมอเรื่อยมามิได้ขาดแม้แต่วันเดียว บางครั้งถึงขนาดงดไปกินเหล้ากับเพื่อน ๆ เพราะได้เวลาปฏิบัติ จิตของเขาเริ่มเสพคุ้นกับความสุขสงบจากการที่จิตเป็นสมาธิ ไม่ช้าไม่นานเขาก็สามารถเลิกเหล้าได้โดยไม่รู้ตัวด้วยอุบายธรรมที่น้อมนำมาจากหลวงปู่ ต่อมาเขาได้มีโอกาสมานมัสการท่านอีกครั้ง ทีนี้หลวงปู่ดู่ท่านให้โอวาทว่า “ที่แกปฏิบัติอยู่ ให้รู้ว่าไม่ใช่เพื่อข้า แต่เพื่อตัวแกเอง” คำพูดของหลวงปู่ทำให้เขาเข้าใจอะไรมากขึ้น ศรัทธาและความเพียรต่อการปฏิบัติก็มีมากขึ้นตามลำดับ ถัดจากนั้นไม่กี่ปี เขาผู้ที่อดีตเคยเป็นนักเลงเหล้าก็ละเพศฆราวาสเข้าสู่เพศบรรพชิต ตั้งใจปฏิบัติธรรมเรื่อยมา

    อีกครั้งหนึ่งมีชาวบ้านหาปลามานมัสการท่าน และก่อนกลับ ท่านก็ให้เขาสมาทานศีล ๕ เขาเกิดตะขิดตะขวงใจกราบเรียนท่านว่า “ผมไม่กล้าสมาทานศีล ๕ เพราะรู้ว่าประเดี๋ยวก็ต้องไปจับปลา จับกุ้ง มันเป็นอาชีพของผมครับ” หลวงปู่ตอบเขาด้วยความเมตตาว่า “แกจะรู้เหรอว่า แกจะตายเมื่อไหร่ ไม่แน่ว่าแกเดินออกไปจากกุฏิข้าแล้ว อาจถูกงูกัดตายเสียกลางทางก่อนไปจับปลา จับกุ้ง ก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อตอนนี้แกยังไม่ได้ทำบาปกรรมอะไร ยังไง ๆ ก็ให้มีศีลไว้ก่อน ถึงจะมีศีลขาดก็ยังดีกว่าไม่มีศีล”

    หลวงปู่ดู่ท่านไม่เพียงพร่ำสอนให้บรรดาศิษย์ทั้งหลายเจริญบำเพ็ญคุณงามความดีเท่านั้น หากแต่ยังเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญและระมัดระวังในการรักษาไว้ซึ่งคุณงามความดีนั้น ๆ ให้คงอยู่ รวมทั้งเจริญงอกงามขึ้นเรื่อย ๆ ท่านมักจะพูดเตือนเสมอ ๆ ว่า เมื่อปลูกต้นธรรมด้วยดีแล้วก็ต้องคอยหมั่นระวังอย่าให้หนอนและแมลง ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง มากัดกินทำลายต้นธรรมที่อุตส่าห์ปลูกขึ้น และอีกครั้งหนึ่งที่ท่านแสดงถึงแบบอย่างของความเป็นครูบาอาจารย์ที่ปราศจากทิฏฐิมานะและเปี่ยมด้วยอุบายธรรม ก็คือครั้งที่มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒ คน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่าน มากราบลาพร้อมกับเรียนให้ท่านทราบว่า จะเดินทางไปพักค้างเพื่อปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี

    หลวงปู่ดู่ท่านฟังแล้วก็ยกมือพนมขึ้นไหว้ไปทางข้าง ๆ พร้อมกับพูดว่า “ข้าโมทนากับพวกแก่ด้วย ตัวข้าไม่มีโอกาส…” ไม่มีเลยที่ท่านจะห้ามปรามหรือแสดงอาการที่เรียกว่าหวงลูกศิษย์ ตรงกันข้ามมีแต่จะส่งเสริม สนับสนุน ให้กำลังใจเพื่อให้ลูกศิษย์ของท่านขวนขวายในการปฏิบัติธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป

    แต่ถ้าเป็นกรณีที่ลูกศิษย์มาเรียนให้ท่านทราบถึงครูอาจารย์นั้นองค์นี้ ในลักษณะตื่นครูตื่นอาจารย์ ท่านก็จะปรามเพื่อวกเข้าสู่เจ้าตัว โดยพูดเตือนสติว่า “ครูอาจารย์ดี ๆ แม้จะมีอยู่มาก แต่สำคัญที่ตัวแก ต้องปฏิบัติให้จริง สอนตัวเองให้มากนั่นแหละจึงจะดี”

    หลวงปู่ดู่ท่านมีแนวทางการสอนธรรมะที่เรียบง่าย ฟังง่าย ชวนให้ติดตามฟัง ท่านนำเอาสิ่งที่เข้าใจยากมาแสดงให้เข้าใจง่าย เพราะท่านจะยกอุปมาอุปไมยประกอบในการสอนธรรมะจึงทำให้ผู้ฟังเห็นภาพและเกิดความเข้าใจในธรรมที่ท่านนำมาแสดง แม้ว่าท่านมักจะออกตัวว่าท่านเป็นพระบ้านนอกที่ไม่มีความรู้อะไร แต่สำหรับบรรดาศิษย์ทั้งหลาย คงไม่อาจปฏิเสธว่า หลายครั้งที่ท่านสามารถพูดแทงเข้าไปถึงก้นบึ้งหัวใจของผู้ฟังทีเดียว

    หลวงปู่ดู่ท่านพูดถึงการประพฤติปฏิบัติของคนสมัยนี้ว่า “คนเราทุกวันนี้ โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม เรามัวพากันยุ่งอยู่กับโลกจนเหลืองลิงติดตัง เรื่องของโลก เรื่องเละ ๆ เรื่องไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ไขเขาไม่ได้จะต้องแก้ไขที่ตัวเราเอง ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง”

    ท่านได้อบรมสั่งสอนศิษย์ โดยให้พยายามถือเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาเป็นครูสอนตนเองเสมอ เช่น ในหมู่คณะ หากมีผู้ใดประพฤติปฏิบัติดี เจริญในธรรมปฏิบัติ ท่านก็กล่าวชมและให้ถือเป็นแบบอย่าง แต่ถ้ามีผู้ประพฤติผิด ถูกท่านตำหนิติเตียน ก็ให้น้อมเอาเหตุการณ์นั้น ๆ มาสอนตนทุกครั้งไป ท่านไม่ได้ชมผู้ทำดีจนหลงลืมตน และท่านไม่ได้ติเตียนผู้ทำผิดจนหมดกำลังใจ แต่ถือเอาเหตุการณ์ เป็นเสมือนครูที่เป็นความจริงแสดงเหตุผลให้เห็นธรรมที่แท้จริง

    การสอนของท่านก็พิจารณาดูบุคคลด้วย เช่น คนบางคนพูดให้ฟังเพียงอย่างเดียว ไม่เข้าใจ บางทีท่านก็ต้องทำให้เกิดความกลัว เกิดความละอายบ้างถึงจะหยุด เลิกละการกระทำที่ไม่ดีนั้น ๆ ได้ หรือบางคนเป็นผู้มีอุปนิสัยเบาบางอยู่แล้ว ท่านก็สอนธรรมดา การสอนธรรมะของท่านบางทีก็สอนให้กล้า บางทีก็สอนให้กลัว ที่ว่าสอนให้กล้านั้น คือให้กล้าในการทำความดี กล้าในการประพฤติปฏิบัติเพื่อถอดถอนกิเลสออกจากใจไม่ให้ตกตกเป็นทาสของกิเลสอยู่ร่ำไป ส่วนที่สอนให้กลัวนั้น ท่านให้กลัวในการทำความชั่ว ผิดศีลธรรม เป็นโทษ ทำแล้วผู้อื่นเดือดร้อน บางทีท่านก็สอนให้เชื่อ คือให้เชื่อมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อในเรื่องกรรม อย่างที่ท่านเคยกล่าวว่า “เชื่อไหมล่ะ ถ้าเราเชื่อจริง ทำจริง มันก็เป็นของจริง ของจริงมีอยู่ แต่เรามันไม่เชื่อจริง จึงไม่เห็นของจริง”

    หลวงปู่ดู่ท่านสอนให้มีปฏิปทาสม่ำเสมอ ท่านว่า “ขยันก็ให้ทำ ขี้เกียจก็ให้ทำ ถ้าวันไหนยังกินข้าวอยู่ก็ต้องทำ วันไหนเลิกกินข้าวแล้วนั่นแหละ จึงค่อยเลิกทำ”

    การสอนของท่านนั้นมิได้เน้นแต่เพียงการนั่งหลับตาภาวนา หากแต่หมายรวมไปถึงการกำหนดดู กำหนดรู้ และพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ในความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านชี้ให้เห็นถึงสังขารร่างกายที่มันเกิดมันตายอยู่ตลอดเวลา ท่านว่า เราวันนี้กับเราเมื่อตอนเป็นเด็กมันก็ไม่เหมือนเก่า เราขณะนี้กับเราเมื่อวานก็ไม่เหมือนเก่า จึงว่าเราเมื่อตอนเป็นเด็ก หรือเราเมื่อวานมันได้ตายไปแล้ว เรียกว่า ร่างกายเรามันเกิด – ตาย อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก มันเกิด – ตาย อยู่ทุกขณะจิต ท่านสอนให้บรรดาศิษย์เห็นจริงถึงความสำคัญของความทุกข์ยาก ว่าเป็นสิ่งมีคุณค่าในโลก

    ท่านจึงพูดบ่อยครั้งว่า การที่เราประสบทุกข์ นั่นแสดงว่าเรามาถูกทางแล้ว เพราะอาศัยทุกข์นั่นแหละ จึงทำให้เราเกิดปัญญาขึ้นได้ใช้ชีวิตอย่างผู้รักสันโดษและเรียบง่าย

    หลวงปู่ดู่ ท่านยังเป็นแบบอย่างของผู้มักน้อยสันโดษใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่นิยมความหรูหราฟุ่มเฟือย แม้แต่การสรงน้ำ ท่านก็ยังไม่เคยใช้สบู่เลย แต่ก็น่าอัศจรรย์ เมื่อได้ทราบจากพระอุปัฏฐากว่าไม่พบว่า ท่านมีกลิ่นตัว แม้ในห้องที่ท่านจำวัด

    มีผู้ปวารณาตัวจะถวายเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับท่าน ซึ่งส่วนใหญ่ท่านจะปฏิเสธ คงรับไว้บ้างเท่าที่เห็นว่าไม่เกินเลยอันจะเสียสมณะสารูป และใช้สอยพอให้ผู้ถวายได้เกิดความปลื้มปีติที่ได้ถวายแก่ท่าน ซึ่งในภายหลังท่านก็มักยกให้เป็นของสงฆ์ส่วนรวมเช่นเดียวกับข้าวของต่างๆ ที่มีผู้มาถวายเป็นสังฆทาน โดยผ่านท่าน และเมื่อถึงเวลาเหมาะควรท่านก็จะจัดสรรไปให้วัดต่าง ๆ ที่อยู่ในชนบท และ ยังขาดแคลนอยู่

    สิ่งที่ท่านถือปฏิบัติสม่ำเสมอในเรื่องลาภสักการะ ก็คือการยกให้เป็นของ สงฆ์ส่วนรวม แม้ปัจจัยที่มีผู้ถวายให้กับท่านเป็นส่วนตัวสำหรับค่ารักษาพยาบาลท่านก็สมทบเข้าในกองทุนสำหรับจัดสรรไปในกิจสาธารณประโยชน์ต่างๆ ทั้งโรงเรียน และโรงพยาบาล

    หลวงปู่ดู่ ท่านไม่มีอาการแห่งความเป็นผู้อยากเด่นอยากดังแม้แต่น้อย ดังนั้น แม้ท่านจะเป็นเพียงพระบ้านนอกรูปหนึ่งซึ่งไม่เคยออกจากวัดไปไหน ทั้งไม่มีการศึกษาระดับสูงๆ ใน ทางโลก แต่ในความรู้สึกของลูกศิษย์ทั้งหลาย ท่านเป็นดั่งพระเถระผู้ถึงพร้อมด้วยจริยวัตรอันงดงาม สงบ เรียบง่าย เบิกบาน และถึงพร้อมด้วยธรรมวุฒิที่รู้ถ้วนทั่วในวิชชาอันจะนำพา ให้พ้นเกิดพ้นแก่พ้นเจ็บพ้นตายถึงฝั่งอันเกษม เป็นที่ฝากเป็นฝากตายและฝากหัวใจของลูกศิษย์ทุกคน

    ในเรื่องทรัพย์สมบัติดั้งเดิมของท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นา ซึ่งมีอยู่ ประมาณ ๓๐ ไร่ ท่านก็ได้แบ่งให้กับหลานๆ ของท่าน ซึ่งในจำนวนนี้ นายยวง พึ่งกุศล ผู้เป็นบุตรของนางสุ่ม โยมพี่สาวคนกลางที่เคยเลี้ยงดูท่านมาตลอด ก็ได้รับส่วนแบ่งที่นาจากท่านด้วยจำนวน ๑๘ ไร่เศษ แต่ด้วยความที่นายยวงผู้เป็นหลานของท่านนี้ไม่มีทายาท ได้คิดปรึกษานางถมยา ผู้ภรรยาเห็นควรยกให้เป็น สาธารณประโยชน์จึงยกที่ดินแปลงนี้ให้กับโรงเรียนวัดสะแกซึ่งหลวงปู่ดู่ท่านก็อนุโมทนาในกุศลเจตนาของคนทั้งสอง

    ปัจฉิมวาร

    นับแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมา สุขภาพของหลวงปู่เริ่มแสดงไตรลักษณะ ให้ปรากฏอย่างชัดเจน สังขารร่างกายของหลวงปู่ซึ่งก่อเกิดมาจากธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และมีใจครองเหมือนเราๆ ท่านๆ เมื่อสังขารผ่านมานานวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีการใช้งานมาก และพักผ่อนน้อย ความทรุดโทรมก็ย่อมเกิดเร็วขึ้นกว่าปรกติกล่าวคือ สังขารร่างกายของท่านได้เจ็บป่วยอ่อนเพลียลงไปเป็นลำดับ ในขณะที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาทั้งญาติโยมและบรรพชิตก็หลั่งไหลกันมานมัสการท่านเพิ่มขึ้น ทุกวัน ในท้ายที่สุดแห่งชีวิตของหลวงปู่ดู่ ด้วยปณิธานที่ตั้งไว้ว่า “สู้แค่ตาย” ท่านใช้ ความอดทนอดกลั้นอย่างสูง แม้บางครั้งจะมีโรคมาเบียดเบียนอย่างหนัก ท่านก็อุตส่าห์ออกโปรดญาติโยมเป็นปกติ พระที่อุปัฏฐากท่านได้เล่าให้ฟังว่า บางครั้ง ถึงขนาดที่ท่านต้องพยุงตัวเองขึ้นด้วยอาการสั่นและมีน้ำตาคลอเบ้า ท่านก็ไม่เคยปริปากให้ใคร ต้องเป็นกังวลเลย ในปีท้ายๆ…
     
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “ชาติหน้าเลือกได้ทุกคน จงเลือกให้ดี”

    ” .. “กลัวความเกิดเถิด อย่ากลัวความตายเลย” เพียงหายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ตายได้สบาย ๆ แล้ว “แต่สิ้นลมแล้วไปปรากฏขึ้นที่ไหนในสภาพอย่างไร นั่นสิควรกลัว ควรกลัวที่สุด” เพราะเมื่อถึงเวลานั้น จะแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว

    “ที่ว่าเลือกเกิดไม่ได้ ก็มิใช่หมายความถึง ชาติหน้าเลือกเกิดใหม่ไม่ได้” ที่เกิดแล้ว จริงที่ว่าเลือกเกิดไม่ได้ “ก็เกิดแล้วจะไปเลือกอะไรได้อีก เหมือนกินยาพิษเข้าไปตายแล้ว” จะไปเลือกกินน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร

    “แต่ชาติหน้าเลือกได้ทุกคน” ว่าต้องการรเกิดเป็นอะไร “เกิดที่ไหน สวยงาม มั่งมี สูงส่ง หรือน่าเกลียดน่าชัง ลำบากยากจน ต่ำต้อยด้วยยชาติตระกูล ฯลฯ เหล่านี้เลือกได้สำหรับการเกิดชาติต่อไป จงตั้งใจเลือกให้ดี” ได้เป็นไปดังปรารถนาให้ได้เถิด” .. ”

    “อาสาฬบูชา ๒๕๔๗”
    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙

    -จ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    เรื่อง “จิตก่อนตาย สำคัญมาก”

    (คติธรรม หลวงปู่ดุลย์ อตุโล)

    เรื่องจิตก่อนตายนั้น สำคัญมาก หากเวลาดับจิต หากจิตดีก็ได้ไปที่ดีๆ หากจิตหมองจิตร้ายก็จะไปสู่อบายภพที่ร้อนร้ายในทันใด ซึ่งจิตก่อนตายนี้ เป็นของไม่แน่นอน บังคับไม่ได้ แล้วแต่วาระหรือกรรมจะพาให้เป็นไป ด้วยเหตุนี้บางคน แม้เคยทำบุญมามากต่อมากแต่ตายไปกลับไปตกนรกทั้งนี้เป็นเพราะจิตหมองก่อนตาย บางคนแม้จะทำบาปทำกรรมมามากมาย แต่ตายไป กลับไปอยู่บนสวรรค์ทั้งนี้เพราะเกิดจิตใสตอนดับจิต กรณีทั้งสองแบบ ล้วนมีบันทึกไว้ในพระไตรปิฏกมาแล้วทั้งสิ้นแต่สำหรับคนที่เคยฝึกจิตมาก่อนวินาทีที่รู้ตัวว่า อย่างไรเสียจะต้องตายหรือดับจิตลงไปแน่ๆหาก”ทำเป็น” ก็อาจพลิกจิตยกขึ้นสู่ภูมิสูง ไปสู่”สุคติ”หรือ”อริยะ” ไป “สุคติภพ”หรือ”อริยภูมิ” เลยก็ได้สำหรับวิธีตกกระไดพลอยกระโจน (สู่สุคติภพหรืออริยภูมิ)ของพระราชวุฒาจารย์หลวงปู่ดุลย์ อตุโล วัดบูรพาราม สุรินทร์ ก็คือ

    ปล่อยวางทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน อยู่กับความไม่มีไม่เป็น ว่าง สว่าง บริสุทธิ์ หยุดการปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา หยุดกิริยาจิต ไม่มีอะไรเลย ไม่ยึดถืออะไรสักอย่าง

    พระอริยเจ้ามีจิตไม่ส่งออกนอกจิตไม่หวั่นไหว จิตไม่กระเพื่อมมีสติอย่างสมบูรณ์เป็น วิหารธรรมมีสติอย่างสมบูรณ์ เป็นเครื่องอยู่วิธีทำหยุดคิด อย่าส่งจิตออกนอกมีสติอย่างสมบูรณ์เป็นเครื่องอยู่แต่เรื่องของการ”พลิกจิต” ช่วงสุดท้ายนี้ หลวงปู่ดุลย์ท่านว่าบุคคลนั้นๆต้องเคย”ฝึก”มาก่อน จึงจะทำได้จริง พอดี

    -จิตก่อนตาย-สำคัญ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่างพร้อย”

    ” .. “อันศีลที่บริสุทธิ์นั้นต้อง ไม่เป็นท่อน ไม่เป็นช่อง ไม่ด่าง ไม่พร้อย ศีลที่เป็นท่อนนั้นคือ ศีลขาด” เหมือนอย่างผ้าที่เป็นผืนเดียวแล้วก็ขาดออกจากกันเป็นสองผืน “ดั่งนี้เรียกว่าขาด”

    “ศีลที่ขาดนั้น คือศีลที่ได้ละเมิดออกไปอย่างเต็มที่จนบรรลุถึงที่สุด” ดั่งเช่นข้อ “ปาณาติบาตินั้น ฆ่าสัตว์ตั้งต้นแต่มีอกุศลเจตนาที่จะฆ่า แล้วก็ทำการฆ่า แล้วสัตว์นั้นตายด้วยอกุศลเจตนานั้น” แปลว่าครบองค์

    ยกตัวอย่างเช่นศีลข้อ ๑ นี้ ที่ท่านแสดงไว้มีองค์ ๕ คือ

    ๑. “ปาโณ” สัตว์มีชีวิต
    ๒. “ปาณสญฺญิตา” ตนรู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต
    ๓. “วธกจิตฺตํ” จิตคิดจะฆ่า
    ๔. “ตชฺโชวายาโม” ความเพียรที่เกิดจากเจตนานั้น
    ๕. “เตน มรณํ” สัตว์นั้นตายด้วยความเพียรนั้น
    ครบองค์ ๕ ดั่งนี้ “เรียกว่าศีลขาด”

    ทีนี้ “หากสัตว์นั้นไม่ตายด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งก็ตาม” แต่ว่าได้มีจิตคิดจะฆ่า ได้มีความเพียรที่จะฆ่า น้อยหรือมากก็ตาม “แต่ว่าสัตว์ไม่ตาย ดั่งนี้เรียกว่าศีลเป็นช่อง” คือเหมือนอย่างผ้าที่ขาดเป็นช่องเล็กช่องใหญ่ แต่ว่าไม่ถึงกับขาดเป็น ๒ ท่อน แต่ว่าเป็นช่อง ๆ ทะลุเป็นช่อง ๆ ดั่งนี้ “เรียกว่าศีลเป็นช่อง”

    คราวนี้หากว่า “มีจิตคิดจะฆ่าและไม่ถึงกับได้ประกอบความเพียรออกไป คิดงุ่นง่านอยู่ในใจละเมินอยู่ในใจ” ไม่ถึงกับจะทำออกไป “ดั่งนี้เรียกว่าศีลด่าง ศีลพร้อย” เหมือนอย่างผ้าที่ไม่ขาดเป็นท่อน ไม่ทะลุเป็นช่อง แต่ว่าเปรอะเปื้อนด่างพร้อย ไม่เป็นผ้าที่สะอาด

    ฉะนั้น “แม้มีจิตงุ่นง่านคิดที่จะฆ่าอยู่ดั่งนี้ ก็เรียกว่าศีลด่างศีลพร้อย” คือถ้าคิดว่าจะฆ่าอย่างแรง “ถ้าหากว่าไม่ถึงคิดว่าจะฆ่า แต่จิตเดือดร้อนคิดที่จะทำร้าย ก็แปลว่าไม่ถึงกับด่างทีเดียว แต่ว่าพร้อย” ก็เป็นอันว่าไม่บริสุทธิ์ .. ”

    “ลักษณะพุทธศาสนา” ๑๙ กันยายน ๒๕๒๖
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙

    -ศีลทะลุ-ศีลด่างพ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...