ธรรมะ จากเพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย สายหลวงปู่มั่น, 4 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ผู้ที่รู้ธรรมของพระพุทธเจ้า
    ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้า
    ต้องมีเมตตา ต้องมีจิตใจกว้างขวาง
    ต้องมีความเสียสละ ต้องเห็นใจกัน ต้องให้อภัยกัน
    เรื่องธรรมเป็นอย่างนั้น แล้วอยู่ด้วยกันได้ผาสุก

    หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  2. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…จงปฏิบัติอย่างคนโง่ อย่าปฏิบัติอย่างคนรู้มาก เพราะเป้าหมายของการปฏิบัติคือ เพื่อความว่างจากกิเลส ว่างจากความยึดมั่นหมายมั่นต่าง ๆ เพื่อความเย็นสบาย ความปลอดโปร่ง และไม่ต้องแบกแม้กระทั่งความดี…”

    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้จัดทำภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -อย.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  3. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…ประวัติพระพนรัตน มหาเถรคันฉ่อง…”

    พระมหาเถรคันฉ่อง เกิดที่ประเทศพม่า สมัยพระเจ้าสิริชัยสุระ(พระเจ้าเมงจีโย) ท่านมีเชื้อมอญ ลูกครึ่งจีน พูดได้ ๔ ภาษา คือ มอญ พม่า ไทย จีน ท่านมีนามเดิมว่า เกี้ยะจ้อง เมื่อเจริญวัยบิดา-มารดาพาไปขึ้นพระกัมมัฏฐานกับพระมหาเถรชาวมอญ เรียนพระกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ท่านจบสมถะ และวิปัสสนา ตั้งแต่เป็นฆราวาส และเรียนวิชาพิชัยสงครามด้วย เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทๆแล้วได้แปดเดือน ถึงสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ๆท่านได้ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารชายหนุ่ม ชาวพม่า ชาวมอญต้องไปออกรบ ท่านได้เป็นนักรบในครั้งนั้นด้วย เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ๆสวรรคตแล้ว พระเจ้าบุเรงนองปราบดาภิเษกตั้งราชวงศ์แล้ว ต่อมาท่าน เกี้ยะจ้อง ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ประมาณ พ.ศ.๒๐๙๓ ปลายรัชสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ท่านเกี้ยะจ้องได้บำเพ็ญพระกัมมัฏฐานทุกวัน ถือวัตรปฏิบัติตามแบบพระอาจารย์ อยู่ป่าเป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แล้วต่อมาท่านระลึกถึงทหารที่ได้รับบาดเจ็บในการสู้รบ ท่านก็ปรารถนาอยากจะช่วยเหลือ ช่วยหาทางรักษา จึงตั้งจิตอธิษฐานอยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ คืนวันหนึ่งท่านนั่งสมาธิ เห็นภิกษุชราโบราณ มาบอกให้ไปนำบาตรดิน และไม้เท้าเบิกไพร ที่ถ้ำแห่งหนึ่ง ในเขตเมืองมอญ ต่อมา ท่านได้ออกเที่ยวธุดงค์ ไปในป่าลึกในเขตเมืองมอญ ไปที่ถ้ำแห่งนั้น มีเทวดาที่เฝ้าอยู่หน้าถ้ำ นำพาท่านไปในถ้ำนั้น ท่านจึงได้นำเอาบาตรดินโบราณ และไม้เท้าเบิกไพรออกมา แล้วท่านเรียนวิชาเรียกธาตุทั้ง ๔ เพื่อมาปรุงยา โดยมีพระอาจารย์ในสมาธิเป็นผู้สอน ต่อมาท่านได้จาริกธุดงค์ มาอยู่ป่าใกล้ๆพระธาตุมุเตา ชาวบ้านทราบเรื่องก็มากราบสักการะท่าน ๆพูดได้ทั้งภาษามอญ ภาษาพม่า การต่อมาพระนเรศทราบเรื่องราวว่ามีภิกษุเก่งกล้าวิชาอาคม มาอยู่ที่ป่ามุเตานั้น พระนเรศจึงขออนุญาต พระเจ้าบุเรงนอง เพื่อมาศึกษาพระธรรมกับ ที่อยู่ในป่านั้น ต่อมาพระเจ้าบุเรงนอง ได้อนุญาติและส่งพระนเรศมาเรียนพระธรรมกัมมัฏฐานมัชฌิมาและคาถา อาคม กับพระเกี้ยจ้องๆ ท่านรู้อนาคตว่า พระนเรศจะได้เป็นใหญ่ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา จึงคิดทำน้ำมันว่านยา เมื่อปรุงยาเสร็จก็ให้พระนเรศอาบน้ำว่าน เพื่อไว้ป้องกันพระองค์ เมื่อสิ้นพระเจ้าบุเรงนองแล้ว พระเกี้ยะจ้อง ย้ายมาอยู่เมืองแครง กาลต่อมาย้ายเข้ามาอยู่กรุงศรีอยุธยา แล้วท่านก็ได้ศึกษาวิชาพิเศษต่างๆในคัมภีร์สติปัฏฐาน วิธีทำสันโดด ในทางสมาธิ กับพระพนรัต (รอด หรือหลวงปู่เฒ่า)จนสำเร็จ และได้ศึกษาเพิ่มเติมวิชาต่างจากปู่เฒ่าด้วย-ต่อมาพระเกี้ยะจ้อง ได้เปลี่ยนนามใหม่ว่า คันฉ่อง เป็นภาษาไทย หมายความว่าผู้มีแสงสว่างเหมือนคันฉ่อง(กระจก) เพราะรัศมีกายท่านสว่างไสว อีกตำนานกล่าวเรียกท่านอีกนามหนึ่งว่า พระมหาโอสถะวิชา เพราะท่านเป็นผู้รอบรู้ในสมถะ-วิปัสสนากัมมัฏฐาน-รู้สารพัดว่านยา รู้การปรุงว่านยาสูตรต่างๆ หรือแม้กระทั่งว่านยาที่ฆ่าพิษปรอท ว่านยาอันชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ น้ำมันว่านยาคงกระพันชาตรี ปราศจากโรคาพยาธิทั้งหลาย ต่อมาพระมหาเถรคันฉ่อง-ได้รับสถาปนา จากสมเด็จพระนเรศมหาราช ให้ดำรงตำแหน่งพระสังฆราชฝ่ายซ้าย เจ้าคณะอรัญวาสี ที่พระพนรัตน สถิตวัดแก้วฟ้า-ป่าแก้ว คลองตะเคียน อยู่หลังวัดพุทไธศวรรค์ ท่านถือข้อวัตร ๓ อย่าง ๑.อยู่ป่าเป็นวัตร ๒.บิณฑบาตเป็นวัตร ๓.นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ตามแบบอย่างพระมหากัสสปเถรเจ้า และแบบคณะป่าแก้ว พระพนรัตนมหาเถรคันฉ่องพระองค์ท่านสิ้นพระชนม์ในต้นรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวเอกาทศรส
    ถึงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงเปลี่ยนนาม พระพนรัตน เจ้าคณะอรัญวาสีฝ่ายซ้าย เป็น พระวันรัต เจ้าคณะคามวาสี ฝ่ายขวา วัดป่าแก้ว จึงมาอยู่ในเมือง แล้วตั้งให้พระอริยะโคดม ไปครองวัดแก้วฟ้า–ป่าแก้วๆ เหลือเพียงชื่อว่า วัดแก้วฟ้า อย่างเดียว แล้วตั้งให้ พระพุทธาจารย์ วัดโบสถ์ราชเดชะ เป็นเจ้าคณะอรัญวาสีฝ่ายซ้าย

    กราบสักการะ รูปเหมือนพระมหาเถร คันฉ่อง ได้ที่ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม บางกอกใหญ่ กทม. และวัดสมเด็จนางพญา อ.เมือง จ.พิษณุโลก

    ข้อมูลโดยหลวงพ่อวีระ วัดราชสิทธาราม กทม.

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -มหาเถ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  4. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
  5. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…สมาธินิมิต…”

    ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อท่านเจริญกัมมัฏฐานภาวนาอยู่วัดเลียบ เมืองอุบลนั้น ในชั้นแรกยังบริกรรมภาวนาว่า พุทโธๆ อยู่

    วาระแรก มีอุคคหนิมิต คือเมื่อจิตรวมลง ได้ปรากฏรูปอสุภะภายนอกก่อน คือเห็นคนตายอยู่ข้างหน้า ห่างจากที่นั้นประมาณ ๑ วา ผินหน้ามาทางท่าน มีสุนัขตัวหนึ่งมาดึงเอาไส้ออกไปกินอยู่ เมื่อเห็นดังนั้น ท่านก็มิได้ท้อถอย คงกำหนดนิมิตนั้นให้มาก ออกจากที่นั่งแล้ว จะนอนก็ดี จงกรมก็ดี เดินไปมาอยู่ก็ดี ก็ให้ปรากฏนิมิตอยู่อย่างนั้น ครั้นนานวันก็ขยายให้ใหญ่ ขยายให้เน่าเปื่อยผุพัง เป็นจุณวิจุณไป กำหนดให้มาก ให้มีทั้งตายเก่าและตายใหม่ จนกระทั่งเต็มหมดทั้งวัด มีแร้งกาหมายื้อแย่งกันกินอยู่ ท่านก็ทำอยู่อย่างนั้น จนอสุภะนั้นได้กลับกลายเป็นวงแก้ว
    ก็เพ่งพินิจพิจารณาอยู่ในวงนั้นเรื่อยไป

    วาระที่ ๓ เมื่อกำหนดพิจารณาต่อไป จึงแลไปเห็นอะไรบางอย่างคล้ายภูเขา อยู่ข้างหน้า จึงนึกขึ้นในขณะนั้นว่าอยากไปดู บางทีจะเป็นหนทางข้อปฏิบัติกระมัง? จึงได้เดินไปปรากฏว่าภูเขานั้นเป็นพักอยู่ ๕ พัก จึงก้าวขึ้นไปถึงพักที่ ๕ แล้วหยุด แล้วกลับคืน ขณะที่เดินไปนั้น ปรากฏว่าตัวท่านสะพายดาบอันคมกล้าเล่มหนึ่ง และที่เท้ามีรองเท้าสวมอยู่ ในคืนต่อมาเป็นไปอย่างนั้นอีก และปรากฏนิมิตคืบหน้าต่อไปเป็นกำแพงขวางหน้าอยู่ ที่กำแพงมีประตู จึงอยากเข้าไปดูว่าข้างในมีอะไรอีก จึงเอามือผลักประตูเข้าไป ปรากฏว่ามีทางสายหนึ่งตรงไป ท่านจึงเดินตามทางนั้นไป ข้างทางขวามือเห็นมีที่นั่งอยู่ของพระภิกษุ ๒-๓ รูปกำลังนั่งสมาธิอยู่ ที่อยู่ของพระภิกษุนั้นคล้ายประทุนเกวียน ท่านมิได้เอาใจใส่ คงเดินต่อไป ข้างทางทั้งสองข้างมีถ้ำมีเงื้อมผาอยู่มาก ได้เห็นดาบสตนหนึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ท่านก็มิได้เอาใจใส่อีก ครั้นเดินต่อไปถึงหน้าผาสูงมาก จะไปอีกก็ไปไม่ได้ จึงหยุดเพียงเท่านั้น แล้วกลับออกมาทางเก่า

    คืนต่อมาก็ไปอีกอย่างเก่า ครั้นไปถึงหน้าผาแห่งนั้น จึงปรากฏยนตร์คล้ายอู่ มีสายหย่อนลงมาแต่หน้าผา ท่านจึงขึ้นสู่อู่ พอนั่งเรียบร้อย อู่ก็ชักขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น ครั้นขึ้นไปแล้วจึงเห็นสำเภาใหญ่ลำหนึ่งอยู่บนภูเขาลูกนั้น ขึ้นไปดูในสำเภาเห็นโต๊ะสี่เหลี่ยม บนโต๊ะมีผ้าปู เป็นผ้าสีเขียวเนื้อละเอียดมาก มองดูทั้ง ๔ ทิศ มีดวงประทีปติดสว่างรุ่งโรจน์อยู่ ประทีปนั้นคล้ายติดด้วยน้ำมัน ปรากฏว่าตัวท่านขึ้นนั่งบนโต๊ะนั้น และปรากฏว่าได้ฉันจังหันที่นั้นด้วย เครื่องจังหันมีแตงกับอะไรอีกหลายอย่าง ครั้นฉันจึงหันเสร็จแล้ว มองไปข้างหน้าปรากฏเห็นเป็นฝั่งโน้นไกลมาก จะไปก็ไปไม่ได้เพราะมีเหวลึก ไม่มีสะพานข้ามไป จึงกลับคืนมาเหมือนอย่างเก่า

    วาระที่ ๔ ก็เพ่งไปน้อมจิตไปอย่างเก่านั้นแล ครั้นไปถึงสำเภาแห่งนั้น จึงปรากฏเห็นมีสะพานน้อยๆ ข้ามไปยังฝั่งโน้นจึงเดินไป พอไปถึงฝั่งโน้นแล้วก็ปรากฏเห็นกำแพงใหญ่มาก สูงมาก ประกอบด้วยค่ายประตูและหอรบอันมั่นคง ที่หน้ากำแพงมีถนนใหญ่ไปทางทิศใต้ และทิศเหนือ นึกอยากเข้าไปมาก จึงเดินไปผลักประตู ประตูไม่เปิดจึงกลับคืนมา

    วาระที่ ๕ ทำอย่างเก่าอีก ปรากฏไปอย่างเก่า สะพานจากสำเภาใหญ่ไปยังฝั่งโน้นปรากฏว่าใหญ่กว่าเก่ามาก ครั้นเดินตามสะพานนั้นไปได้ครึ่งสะพาน ปรากฏเห็นท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ (สิริจนฺทเถร จันทร์) เดินสวนมา และกล่าวว่า “อฎจงฺคิโก มคฺโค” แล้วต่างก็เดินต่อไป พอไปถึงประตูก็แลเห็นประตูเล็กประตูหนึ่ง จึงเดินไปผลึกประตูเล็กนั้นออกได้ แล้วไปเปิดประตูใหญ่ได้ เข้าไปข้างในกำแพงปรากฏมีเสาธงทองตั้งอยู่ท่ามกลางเวียงนั้นสูงตระหง่าน ต่อไปข้างหน้าปรากฏมีถนน เป็นถนนดี สะอาด เตียนราบ มีเครื่องมุง มีประทีปโคมไฟติดเป็นดวงไปตามเพดานหลังคาถนน ที่สุดทางจงกรมทั้งสองข้างมีดวงประทีปตามสว่างรุ่งโรจน์ นึกอยากเดินจงกรม จึงได้เดินจงกรมไปๆ มาๆ อยู่ และต่อมาปรากฏมีธรรมาสน์อันหนึ่งวิจิตรด้วยเงิน จึงขึ้นไปนั่งบนธรรมาสน์นั้น บนธรรมาสน์มีบาตรลูกหนึ่ง เปิดดูในบาตรมีมีดโกนเล่มหนึ่ง พอมาถึงตรงนี้ก็อยู่ ไม่ปรากฏอะไรต่อไปอีก วันต่อมาก็เข้าไปถึงตรงนี้อีกทุกๆ วัน ทุกครั้งที่เข้าไปก็ปรากฏว่าในตัวท่านมีดาบสะพายอยู่เล่มหนึ่ง กับมีรองเท้าสวมอยู่ด้วย ปรากฏเป็นของอย่างนี้อยู่ ๓ เดือน

    ครั้นต่อมาเมื่อออกจากที่แล้ว (คือจิตถอนออกจากสมาธิ) เห็นอารมณ์ภายนอกก็ยังกระทบกระทั่งอยู่ร่ำไป สวยก็เกิดรัก ไม่ดีก็ชัง เป็นอยู่อย่างนี้ ท่านจึงพิจารณาว่า การที่เราพิจารณาอย่างนี้ มันยังเป็นนอกอยู่ ไม่หยุดอยู่กับที่ และครั้นกระทบอารมณ์ก็ยังหวั่นไหวอยู่ นี้เห็นจะไม่ใช่ทางเสียแล้วกระมัง? เมื่อพิจารณาได้ความอย่างนี้ จึงเริ่มแก้ด้วยอุบายวิธีใหม่ จึงต้น พิจารณากายนี้ทวนขึ้นและตามลงไป อุทฺธํ อโธ ติริยญฺจาปิ มชฺเฌ เบื้องบนแต่ปลายเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป และด้วยขวางสถานกลางโดยรอบ ด้วยการจงกรม เวลาจะนอนก็นอนเสีย ไม่นั่งให้มันรวมเหมือนอย่างเก่า ใช้อุบายนี้ทำประโยคพยายามพากเพียร อยู่โดยมิท้อถอย ตลอด ๓ วันล่วงแล้วจึงนั่งพิจารณาอีก ทีนี้จิตจึงรวมลง และปรากฏว่ากายนี้ได้แตกออกเป็นสองภาค พร้อมกับรู้ขึ้นในขณะนั้นว่า “เออ ทีนี้ถูกแล้วละ เพราะจิตไม่น้อมไปและมีสติรู้อยู่กับที่” นี้เป็นอุบายอันถูกต้องครั้งแรก ตั้งแต่นั้นมาก็คิดพิจารณาอยู่อย่างนั้น

    ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่มาจากหนังสือบูรพาจารย์

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้จัดทำภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  6. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…นั่งมันสงบก็ดูความสงบไป
    ที่มันไม่สงบก็ดูความไม่สงบไป
    ที่มันสงบนั้น มันก็เป็นเรื่องของจิต มันเป็นอย่างนั้น
    ที่มันไม่สงบ มันก็เป็นเรื่องของมันอย่างนั้น
    ไม่ได้เป็นอย่างอื่น
    มันสงบแล้วมันก็สงบไป ถ้าไม่สงบก็ไม่สงบไป
    เราจะไปทุกข์เพราะมันไม่สงบไม่ได้
    เราจะไปดีใจเพราะจิตสงบมันก็ไม่ถูก
    เราจะไปเสียใจเพราะจิตมันไม่สงบก็ไม่ถูกเหมือนกัน
    เราจะไปทุกข์กับต้นไม้ได้หรือ
    ไปทุกข์กับแดดได้หรือ
    ไปทุกข์กับฝนได้หรือ
    ไปทุกข์กับอย่างอื่นได้หรือ
    มันเป็นเรื่องของมันอยู่อย่างนั้น…”

    หลวงปู่ชา สุภทฺโท ที่มาจากหนังสือ กุญแจภาวนา

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้จัดทำภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  7. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    การที่ได้มาพบกันมันมีมูลเหตุไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เรารู้ ้อนไปในอดีตกรรม เราเลือกที่จะไม่พูด เพราะถ้าเราพูดออกไปแล้ว ไม่มีเครื่องรับรอง มันจะมีผลร้ายมากกว่าผลดี

    และการที่เป็นผู้หญิงที่แสนมีวินัยนี่เอง
    เป็นกงจักร ธรรมจักรขับเคลื่อนทำนุบำรุงซึ่งพระพุทธศาสนา

    แต่ในความมีวินัยในอุบาสิกา บางคนมากไป ไม่สม่ำเสมอ พอดูแลพระเถระ และอ้างตนสนิทกับพระเถระ แสดงความเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ แทนที่จะเป็นกุศล แต่กลับเป็นบาปหนาในจิต เป็นบาปไม่รู้ตัว

    เราไม่อยากให้ความสำคัญใครมากกว่าใคร เราอยากให้ทุกคนปฏิบัติกับเราสม่ำเสมอ เราและท่านรับรู้ได้ด้วยจิต ของแต่ละผู้นั้นเอง

    การออกหน้าออกตาแทนครูบาอาจารย์มากไป แสดงการเป็นเจ้าเข้าเจ้าของของอุบาสิกาที่มากเกินไป จะนำภัยมาสู่ครูบาอาจารย์โดยไม่รู้ตัว ั่นทอนศรัทธาจากพุทธศาสนิกชน สร้างผลเสียต่อวัดนั้นๆ และต่อพระพุทธศาสนา นั่นเอง

    เมตตาธรรม โดย
    หลวงปู่สามดง จันทโชโต
    30 ตุลาคม 2560
    ณ ตึกพระเถระ วัดใหม่เสนา

    Cr. หนึ่ง (สรวุฒิ) / บันทึกธรรม

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  8. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ได้ฟังธรรมทุกเมื่อ
    .
    ผู้ปฏิบัติพึงใช้อุบายปัญญาฟังธรรมเทศนาทุกเมื่อ
    ถึงจะอยู่คนเดียวก็ตาม คืออาศัยการสำเหนียก
    กำหนดพิจารณาธรรมอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นรูปธรรมที่มีอยู่ปรากฏอยู่
    รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็มีอยู่ปรากฏอยู่
    ได้เห็นอยู่ ได้ยินอยู่ ได้สูด ดม ลิ้ม เลีย และสัมผัสอยู่
    จิตใจเล่า? ก็มีอยู่ ความคิดนึกรู้สึกในอารมณ์ต่างๆ
    ทั้งดีและร้ายก็มีอยู่ ความเสื่อม ความเจริญ
    ทั้งภายนอกภายใน ก็มีอยู่ ธรรมชาติอันมีอยู่โดยธรรมดา
    เขาแสดงความจริงคือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    ให้ปรากฏอยู่ ทุกเมื่อ เช่นใบไม้มันเหลืองหล่นร่วงลงจากต้น
    ก็แสดงความไม่เที่ยงให้เห็น ดังนี้เป็นต้น
    เมื่อผู้ปฏิบัติมาพินิจพิจารณาด้วยสติปัญญาโดยอุบายนี้อยู่เสมอแล้ว
    ชื่อว่าได้ฟังธรรมอยู่ทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืนแล ฯ
    .
    โอวาทธรรม:หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    1518533230_29_ได้ฟังธรรมทุกเมื่อ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  9. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    โอวาทธรรมหลวงปู่บุญ ขันธฺโชติ

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ขัน.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  10. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ้าอยากรู้ว่าบุญบารมีเรามีแค่ไหน?
    ให้ดูเมื่อเวลาตนเองตกอยู่ในภาวะคับขัน
    เมื่อนั้นจะเห็นปาฏิหารย์แสดงออกมา
    ุญบันดาลคุ้มภัย
    (คติธรรม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม)

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  11. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…ความรักอิหยังในโลกนี้สิประเสริฐเท่า ความรักของพ่อของแม่เนาะ ความรักของพ่อของแม่นี่เพิ้นเปรียบเทียบคือพระอรหัต์ของลูก เพราะท่านเหล่านั้นล้วนถือพรหมวิหาร ๔ ที่มีความเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ต่อลูกทุกคนๆ มีความสำคัญรองลงมาจากพระรัตนตรัย จำไว้เด้อลูกเด้อไผเฮ็ดดีทำดีคิดดีเว้าดีกับพ่อกับแม่ ผู้นั่นมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองงอกงาม ตกน้ำกะบ่ไหลตกไฟกะบ่ไหม้ มีแต่แนวดีๆเนาะ…”

    หลวงปู่จื่อ พนฺธมุตฺโต

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายๅภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  12. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “….เอ้า ผู้ข้าฯ จะขอถามสูเจ้า ทั้งหลายว่า… ตายแล้ว… ลุกจากนี้ไป สูเจ้า… มีที่อยู่ มีที่ไปแล้วหรือยัง รู้ตนได้ หรือยัง หรือว่ายังมืด ยังเมา อย่าเอาแต่หลง เน้อ…จะละเล่นอะไรนักหนา…กับโลกอันนี้ คิดนึกให้ดีเน้อ….”

    มหาปุญโญวาท หลวงปู่จาม มหาปุญโญ

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายๅภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ผู้ข้าฯ-จะขอถามสู.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  13. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…การศึกษาที่สูงที่สุด คือ การศึกษาตัวเอง…”

    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายๅภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -ค.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  14. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -จ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  15. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…รักแท้และคู่บารมีของพระพุทธเจ้า ความรักของพระพุทธเจ้า”
    หวังว่าจะนำมาเป็นตัวอย่างให้ทุกๆคนได้ว่า ความรักคือการให้ และเสียสละ อย่างไร

    คนที่รู้จักรักเป็นคนที่เข้มแข็งมาก และหากสองคนเข้าใจกัน มีเป้าหมายอย่างเดียวกันคือ เพื่อร่วมเดินทางเพื่อความพ้นทุกข์ ก็จะได้ชื่อว่าไม่อยู่กันอย่างเสียเวลาเปล่า

    ท้าวสักกเทวราชจำแลงกายเป็นพราหมณ์ไปขอพระนางมัทรีจากพระเวสสันดร หลังจากที่พระองค์ได้ทรงทำมหาทานด้วยการพระราชทานพระโอรสและพระธิดาให้แก่ชูชก

    พระเวสสันดรไม่ทรงหวั่นไหวในการให้ทาน ทรงจับพระกรพระนางมัทรีมาหาพราหมณ์ และนำน้ำมาหลั่งในมือพราหมณ์ และพระราชทานพระนางมัทรีให้ ทรงตรัสว่า

    “เราให้พระเทวีเป็นทานเพราะเธอเป็นที่เกลียดชังของเราก็หาไม่ เธอนั้นเป็นที่รักยิ่งของเรา แต่พระโพธิญาณนั้นเป็นที่รักของเรายิ่งกว่า และเป็นประโยชน์แก่มหาชน เราจึงให้เทวีที่รักของเราเป็นทาน”

    ลำดับนั้น มหาปฐพีก็สั่นไหวไปถึงพรหมโลก ในกาลนั้น พระนางมัทรีผู้มีพระทัยอันประเสริฐ มิได้ทรงทำพระพักตร์กริ้วพระภัสดา ไม่ทรงกันแสง ทรงทอดพระเนตรดูพระสวามี ทรงเข้าใจพระสวามีว่าพระองค์นั้นทรงกระทำสิ่งประเสริฐ

    พระนางทูลว่า

    “หม่อมฉันเป็นเทวีของพระองค์ พระองค์ทรงเป็นใหญ่ในหม่อมฉัน พระองค์ปรารถนาจะพระราชทานแก่ผู้ใดก็พึงพระราชทานแก่ผู้นั้น หรือเมื่อต้องการทรัพย์ก็พึงขายหม่อมฉัน หรือเมื่อต้องการเนื้อก็พึงฆ่าหม่อมฉัน พระองค์จงกระทำสิ่งที่ทรงชอบพระทัยเถิด หม่อมฉันไม่โกรธพระองค์เลย”

    ท้าวสักกเทวราชทรงทราบอัธยาศัยอันประณีตของกษัตริย์ทั้งสอง จึงทรงอนุโมทนาและชมเชยสองกษัตริย์ว่า ได้ทำสิ่งที่ยากยิ่งอันนรชนไม่อาจทำได้

    “ข้าพระองค์ขอถวายพระนางมัทรีคืนแด่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระองค์ทรงมีพระฉันทะอัธยาศัยบริสุทธิ์เสมอกันโดยแท้ ขอพระองค์ทรงบำเพ็ญทานต่อไปตามสมควรเถิด หม่อมฉันคือท้าวสักกะจอมเทพมาสู่สำนักพระองค์…”

    จากหนังสือ ความรักของพระพุทธเจ้า

    บทที่ ๑๐ ความรักคือการให้ จึงร่วมบำเพ็ญทานบารมี

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ภาพวาดสีน้ำมันนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg
    1518591792_397_รักแท้และคู่บารมีของพ.jpg
    1518591792_725_รักแท้และคู่บารมีของพ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  16. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…ต้นหาย กำไรสูญ…”

    ต้นหาย กำไรสูญ เปรียบเสมือนคนเราบางคนที่ตั้งอกตั้งใจทำการทำงานจะประกอบการค้าขาย หรือทำกิจการงานอะไรก็ดี
    ตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งเป็นหนุ่มเป็นสาว และแก่เฒ่าแก่ชราในที่สุด และถึงพร้อมด้วยความร่ำรวยสมบูรณ์พูนสุข สร้างบ้านสร้างเรือน สร้างหลักฐานได้อย่างมั่นคง ตลอดจนสร้างเกียรติยศ สร้างชื่อเสียง จนได้ลาภได้ยศ ได้สรรเสริญ ประสบความสำเร็จในชีวิตทางโลก ทุกสิ่งทุกอย่าง

    แต่คนบางคนที่กล่าวถึงเหล่านี้ เมื่อถึงกาลเวลาอันสมควร
    ซึ่งที่จริงก็เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับทรัพย์สมบัติในทางโลก
    ที่ได้สร้างสมมามากแล้ว ก็ควรจะหยุด เพื่อรีบสร้างสมสิ่งที่เป็น “อริยทรัพย์” ในบั้นปลายของชีวิต ให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้บ้าง

    แต่เขาเหล่านั้นก็หาได้มีความหยุด ความยั้ง ความละ ความปล่อย ความวาง ในทรัพย์สมบัติที่หามาได้เหล่านั้นไม่
    มุ่งหน้าที่จะคิดอ่านประกอบกิจการงาน ให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยไม่คำนึงถึงว่า สักวันหนึ่ง ไม่ช้าก็เร็ว ความตายก็จะต้องมาถึงเข้าอย่างแน่นอน ในที่สุดร่างกายของเขาก็ถึงซึ่งความแตกดับจริงๆ และย่อยยับสูญหายไป
    ละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนหามาได้ไว้ในโลกนี้ให้กับคนอื่นทั้งหมด ไม่สามารถที่จะนำเอาทรัพย์สมบัติเหล่านั้นติดตามตนไปได้แม้แต่นิดเดียว

    โดยที่ตนเองมิได้ประกอบคุณงามความดี ในทางสร้างสมในสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์ให้มากเท่าที่ควรเลย ซึ่งตนเองก็มีโอกาสและโชคดีอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ก็มิได้กระทำลงไป จึงเป็นสิ่งที่น่าเสียดายที่สุดในชีวิตของเขา เปรียบเสมือน “ต้นหาย กำไรสูญ”

    “ต้น” ก็คือร่างกายและทรัพย์สมบัติที่หามาได้ทั้งหมด
    “กำไร” ก็คือบุญกุศลหรือสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์

    แทนที่จะได้ก็ไม่ได้ และถ้าใช้ทรัพย์สมบัติเหล่านั้นไปในทางที่ไม่ดี ผิดศีลผิดธรรมอีกด้วยแล้ว หรือยึดในทรัพย์สมบัติที่หามาได้นั้นมากเกินไป ก็ยิ่งจะขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ต้นก็หาย กำไรก็สูญ ชีวิตนี้ก็ขาดทุน

    ภูริทตฺตธมฺโมวาท หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากหนังสือภูริทตฺตมหาเถรานุสรณ์

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    -กำไรสูญ.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  17. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…การตำหนิติเตียนผู้อื่น ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง
    เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์
    จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง…”

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  18. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…วิธีปฏิบัติของผู้เล่าเรียนมาก…”

    ผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์วินัยมาก มีอุบายมากเป็นปริยายกว้างขวาง ครั้นมาปฏิบัติทางจิต จิตไม่ค่อยจะรวมง่าย

    ฉะนั้น ต้องให้เข้าใจว่า ความรู้ที่ได้ศึกษามาแล้ว
    ต้องเก็บใส่ตู้ ใส่หีบไว้เสียก่อน ต้องมาหัดผู้รู้คือจิตนี้
    หัดสติให้เป็นมหาสติ หัดปัญญาให้เป็นมหาปัญญา
    กำหนดรู้เท่ามหาสมบัติมหานิยม
    อันเอาออกไปตั้งไว้ว่าอันนั้นเป็นอันนั้น
    เป็นวันคืนเดือนปี เป็นดินฟ้าอากาศกลางหาว
    ดาวนักขัตฤกษ์ สารพัดสิ่งทั้งปวง
    อันเจ้าสังขารคืออาการจิต
    หากออกไปตั้งไว้ บัญญัติไว้ว่า เขาเป็นนั้นเป็นนี้
    จนรู้เท่าแล้วเรียกว่า กำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย
    เมื่อทำให้มาก เจริญให้มาก รู้เท่าเอาทันแล้ว
    จิตก็จะรวมลงได้ เมื่อกำหนดอยู่ก็ชื่อว่าเจริญมรรค
    หากมรรคพอแล้ว นิโรธก็ไม่ต้องกล่าวถึง
    หากจะปรากฏชัดแก่ผู้ปฏิบัติเอง

    เพราะศีลก็มีอยู่ สมาธิก็มีอยู่ ปัญญาก็มีอยู่
    ในกาย วาจา จิตนี้ ที่เรียกว่า อกาลิโก ของมีอยู่ทุกเมื่อ โอปนยิโก เมื่อผู้ปฏิบัติมาพิจารณาของที่มีอยู่ ปจฺจตฺตํ จึงจะรู้เฉพาะตัว
    คือมาพิจารณากายอันนี้ให้เป็นของอสุภะ เปื่อยเน่า แตกพังลงไปตามสภาพความเจริญของภูตธาตุ ปุพฺเพสุ ภูเตสุ ธมฺเมสุ
    ในธรรมอันมีมาแต่เก่าก่อน สว่างโร่อยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน
    ผู้มาปฏิบัติพิจารณาพึงรู้อุปมารูปเปรียบดังนี้

    อันบุคคลผู้ทำนาก็ต้องทำลงไปในแผ่นดิน ลุยตมลุยโคลนตากแดดกรำฝนจึงจะเห็นข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวสุกมาได้ และได้บริโภคอิ่มสบาย ก็ล้วนทำมาจากของมีอยู่ทั้งสิ้นฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ฉันนั้น เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ก็มีอยู่ในกาย วาจา จิต ของทุกคน

    ภูริทตฺตธมฺโมวาท หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากหนังสือภูริทตฺตมหาเถรานุสรณ์

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  19. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    “…แด่สตรีทุกคนที่มีกำลังใจเสมอพระโพธิสัตว์และปรารถนาเป็นคู่บารมีเพื่อช่วยพระโพธิสัตว์สร้างสมพุทธการกธรรม เพื่อความบรรลุพระโพธิญาน ได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์ข้ามทะเลทุกข์
    ในอนาคตกาล…”

    “…พระโพธิสัตว์ มี ๓ ประเภทคือ ปัญญาธิกะ สัทธาธิกะ วิริยะธิกะ นางแก้วจำเป็นจะต้องมี ๓ ประเภทเช่นเดียวกันหรือไม
    จำเป็น ต้องเนื่องด้วยโพธิสัตว์คู่บารมีของตน…”

    ในบรรดาผู้อธิษฐานสร้างบารมีติดตามพระโพธิสัตว์มานั้น มีบุคคลสำคัญยิ่งคนหนึ่ง ที่ติดตามร่วมสร้างบารมีมาด้วยกันอย่างนานแสนนาน นานยิ่งกว่าพระสาวกองค์ใด ๆ

    ปัญญาธิกะโพธิสัตว์และนางแก้วคู่บารมี ร่วมบำเพ็ญเคียงคู่ยาวนาน ๔ อสงไขยแสนมหากัป

    ศรัทราธิกะโพธิสัตว์นางแก้วคู่บารมี ร่วมบำเพ็ญเคียงคู่ยาวนาน ๘ อสงไขยแสนมหากัป

    วิริยะธิกะโพธิสัตว์และนางแก้วคู่บารมี ร่วมบำเพ็ญเคียงคู่ยาวนาน ๑๖ อสงไขยแสนมหากัป

    นางแก้วคู่บารมีโพธิสัตว์เป็นหญิงผู้มีจิตเมตตา มีความเสียสละ ไม่แพ้พระโพธิสัตว์ เป็นคู่ครอง และเป็นคู่บุญบารมีร่วมกันข้ามภพข้ามชาติโดยไม่มีจิตคิดทอดทิ้งกัน ในหลายพันโกฏิกัปที่พระโพธิสัตว์เกิดมาเป็นคนยากจน คู่บารมีของพระองค์ก็จะเกิดมาเป็นหญิงยากจน มีศีล มีจาคะ และมีปัญญาเสมอกัน เป็นคู่ครองที่มีความรักและความเข้าใจกันเป็นอย่างดี และในหลายร้อยชาติ ที่พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดเป็นพระเจ้าบรมจักรพรรดิ มีเดชาฤทธิ์ปกแผ่ครอบคลุมมหาทวีปทั้ง ๔ มีรัตนะ ๗ ประการ คู่บารมีบรมโพธิสมภาร เมื่อนั้นคู่บารมีของพระองค์ก็จะบังเกิดเป็นอัครมเหสี เป็นอิตถีรัตนะ เป็นนางแก้วคู่บารมีแห่งพระองค์

    ความปรารถนาในอดีตกาลอันแสนไกล และความปรารถนาที่ได้ตั้งไว้นั้น ก็ได้ร้อยรัดให้นางแก้วและพระโพธิสัตว์ได้เกิดมาสร้างสมบุญบารมีร่วมกัน ได้เกิดมาพบกัน เป็นคู่ครองกันในเกือบทุกชาติที่ได้เกิดมา จนมาถึงชาติอันเป็นที่สุด

    “นางแก้ว” ผู้มีจิตเสมอกัน มีกุศลกรรมเสมอกัน มีความมั่นคงไม่หวั่นไหว เป็นที่รักของบุญกรรม เป็นคู่บุญบารมีของพระโพธิสัตว์
    ดังนั้นการที่หญิงใดจะอธิษฐานเป็นนางแก้วคู่บุญพระโพธิสัตว์ด้วยนั้น สตรีนางนั้นจะต้องวางกำลังใจให้หนักแน่นและเข้มแข็งไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระโพธิสัตว์เองเลย เพราะตราบใดที่คู่ของตนเองยังไม่ตรัสรู้ธรรม ต่อให้พบพระพุทธเจ้ามากมายแค่ไหนก็ตาม หญิงท่านนั้นก็ไม่สามารถที่จะบรรลุธรรมถึงพร้อมนิพานได้ นอกจากนั้นยังต้องประสบกับความทุกข์ยากนานัปการที่หนักหนาสาหัสกว่าหญิงอื่นใด

    ทั้งหลาย… ต้องอย่าลืมว่าในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์แต่ละพระองค์นั้น ต้องใช้ระยะเวลานานมาก เกิดมานับชาติไม่ถ้วน อีกทั้งต้องโปรดสาวกมากมาย ดังนั้นถึงแม้พระโพธิสัตว์แต่ละพระองค์จะมีนางแก้วหลักคู่บารมีแล้วก็ยังต้องมีนางแก้วรอง ๆ เพื่อติดตามลงไปนับพันนับหมื่นนาง

    นอกจากนั้นยังต้องพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักนับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นสามี หรือบุตร-ธิดาอันเป็นที่รักยิ่งกว่าแก้วตาดวงใจ เพราะ…ในการสร้างบารมีนั้นพระโพธิสัตว์ต้องกระทำมหาทานอันยิ่งใหญ่ ซึ่ง…การบริจาคลูก-เมียเป็นทาน ก็อยู่ในการสร้างบารมีข้อนั้นด้วย…

    ดังนั้นผู้ที่จะเป็นนางแก้วหลักที่จะตามพระโพธิสัตว์คู่ของตนไปจนกว่าจะจบกิจได้นั้น ต้องมีความเข้มแข็ง อดทน มีเมตตา มีบารมีสูงมาก…หรือจะพูดง่าย ๆ ก็คือ จะต้องวางกำลังใจเฉกเช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งทีเดียว

    การเป็นนางแก้วคู่บารมีของพระโพธิสัตว์… ถ้ากำลังใจไม่เข้มแข็ง ไม่มุ่งมั่นจริง ๆ ถ้าในดวงจิตไม่ฉ่ำเย็นไปด้วยความรัก ความเมตตา ความปรารถนาดีต่อผู้อื่นอย่างท่วมท้นจริง ๆ…ถ้าขาดเสียซึ่งขันติ ความอดทนอย่างยิ่งยวด…ขาดเสียซึ่งปัญญา ที่จะนำพาให้ทุกชีวิตมีแต่สันติสุข…ขาดเสียซึ่งบารมีทั้ง ๓๐ ทัศแล้ว… ต้องบอกว่า…ไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นกันได้ง่าย ๆ เลย…”

    กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ภาพวาดสีน้ำมันนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg
    1518606426_323_แด่สตรีทุกคนที่มีกำลั.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  20. สายหลวงปู่มั่น

    สายหลวงปู่มั่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2017
    โพสต์:
    20,938
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +542
    ”…ไม่มีอะไรจะยากเท่ากับการฝึกหัดจิต รักษาจิตเพราะว่าเป็นธรรมดาว่าจิตของปุถุชนย่อมยากต่อธรรม แต่ ”ยาก” ในที่นี้ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ จะฝึกหัดไม่ได้
    ตา ดิ้นรนหารูปอันสวยงามก็ ระวังไว้เสีย
    หู ดิ้นรนหาเสียงอันชอบ ก็ระวังไว้
    จมูก ดิ้นรนหากลิ่นหอม ก็ระวังไว้
    ปากลิ้น ดิ้นรนหารสอันอร่อย ก็ระวังไว้
    กาย ถูกต้องสัมผัสใดๆ ก็ระวังไว้
    ผู้มีความเพียรกล้า ทำจิตของตนให้ควรแก่การงานได้…”

    หลวงปู่จาม มหาปุญโญ จากหนังสือ รสละมุน อุ่นละไม ๒๓๓๓

    กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

    .jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...