ธัมมุทเทส 4 ธรรมะที่ทำให้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 1 พฤศจิกายน 2019.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,280
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,018
    25.jpg
    ธัมมุทเทส 4 ธรรมะที่ทำให้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท
    พระเจ้าโกรัพยะสนทนาธรรมกับท่านรัฐปาลเถระเรื่องเหตุที่ท่านรัฐปาลเถระออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
    เห็นธรรมะอะไรจนทำให้ผู้ที่เพียบพร้อมในทางวัตถุกามสามารถละและออกบวชได้ เป็นคำถามที่พระเจ้าโกรัพยะถามท่านรัฐปาละ คำถามเดียวกันย้อนมาที่ปัจจุบันว่า ธรรมะอะไรที่ทำให้คนที่ยังสบายดี ไม่มีความเสื่อมของญาติหรือโภคทรัพย์ หันมาปฏิบัติธรรมฟังธรรม

    ธัมมุทเทส 4 คือ ธรรมะที่เมื่อมีแล้วใคร่ครวญแล้วจะทำให้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท สามารถเดินตามมรรค 8 จนกระทั่งทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ธัมมุทเทส 4 คือคำตอบของท่านรัฐปาละ

    …โลกอันชรานำไป ไม่ยั่งยืน (ภัยแห่งความแก่)

    โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน (ความเป็นอนัตตา)

    โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป (เป็นเพียงสิ่งที่เขาให้ยืมมา)

    โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา (ตัณหาเป็นเครือข่ายครอบคลุมโลก)…

    https://omny.fm/shows/donhaisok/2m0745-2-190514#sharing

    Time Index

    [0.25] เริ่มปฏิบัติให้ธรรมะเข้าสู่ใจ อุดรูรั่วของจิตคือนิวรณ์ด้วยการตั้งสติ

    [6.12] อะไรเป็นเหตุให้มาปฏิบัติธรรม ต้องโดนปฏักระดับไหนจึงจะมาเป็นม้าอาชาไนย ไล่ตั้งแต่ตัวเรา คนที่รัก หรือความเสื่อมของโภคสมบัติ

    [12.41] ความไม่ประมาททำให้มีสติขึ้นได้ มีระดับของการปฏิบัติเป็นขั้นๆ ไป ไล่มาตั้งแต่ศีล ฟังธรรม ศีลที่ละเอียดขึ้นจนกระทั่งบวช

    [14.26] ในคนที่สบายดีเพียบพร้อมทางโลกทุกอย่าง อะไรทำให้หันมาฟังธรรมมาปฏิบัติธรรม

    [16.53] ตรงนี้ล่ะเป็นคำถามเดียวกันที่พระเจ้าโกรัพยะถามท่านรัฐปาละผู้เพียบพร้อมว่าเห็นอะไรจึงออกบวช

    [19.31] ท่านรัฐปาละกล่าวถึง “ธัมมุทเทส 4” ธรรมที่พอเรารู้ในข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อนี้ เราจะตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท

    [20.00] ธัมมุทเทส 4 …โลกอันชรานำไป ไม่ยั่งยืน โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา

    [20.57] คนที่จะมาปฏิบัติธรรมได้ จะต้องเห็น 4 ข้อนี้ไม่มากก็น้อย เป็นหนึ่งในเส้นทางที่ถ้าเราใคร่ครวญแต่ละข้อให้รอบคอบ ยิ่งจะทำให้การปฏิบัติมีความก้าวหน้าขึ้นไปได้

    [23.17] โลกอันชรานำไป ไม่ยั่งยืน คือ เห็นภัยแห่งความแก่ ความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุ

    [28.04] โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน คือ ความเป็นอนัตตา

    [34.28] กายดูเหมือนเราสั่งได้ เพราะมันไปตามเหตุตามปัจจัย แต่ถ้าเมื่อไหร่นอกเหตุนอกปัจจัยคุณจะสั่งไม่ได้ คือมันเป็นอนัตตา จะมาทำสิ่งที่เป็นอนัตตาให้เป็นตามที่เราหวังโดยความเป็นอัตตามันไม่ได้

    [36.37] ที่ว่าโลกนี้ไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน คำว่า เฉพาะตน คือเป็นอัตตาตัวตนเฉพาะเรา เราจะมาเป็นใหญ่เหนืออนัตตามันไม่ได้

    [36.48] คนที่ฉลาดจะเห็นได้และตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท

    [38.18] โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป คือเกิดมาก็ไม่ได้เอาอะไรมา ตอนไปจะเอาอะไรไปได้? เป็นของที่เขาให้ยืม แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ต้องละศีลสมาธิปัญญาไว้ มีแต่กายที่แตกดับ การใคร่ครวญธรรมตรงนี้เป็น ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นธัมมวิจยะ เป็นธัมมานุสติ ที่เราตั้งไว้ ใคร่ครวญให้ดี

    [45.14] นี้เป็นนาฬิกาปลุกชั้นเลิศ สำหรับคนที่ยังไม่แก่ยังไม่ป่วยยังไม่เสื่อมญาติหรือโภคทรัพย์

    [45.37] โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา คือ ถ้าเราทำตามอำนาจของตัณหา ไม่มีทางเต็มไม่มีทางพอ ยกตัวอย่างความต้องการดินแดนใหม่ของพระเจ้าโกรัพยะ ทำให้นอนไม่หลับแม้บนที่นอนอันเลิศ เพราะอำนาจของราคะมันเสียดแทง ทำให้ไม่รู้จักอิ่ม ยังพร่องอยู่ในใจ ตัณหาทำให้ใจโบ๋วลงไป กลวงลงไป เติมไม่เต็ม

    [50.05] แม้ในคนที่ว่าพอ ก็ยังมีอุปาทานความยึดถืออยู่ เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทาน ตัณหาแทรกซึมในทุกสิ่งแม้แต่ในความคิดและอุดมการณ์

    [51.01] แล้วเราทำเพื่ออะไร ทำเพื่อตัณหา ตัณหามีอวิชชาเป็นราก ทำให้มันหมุนวนไป ที่เหลือเป็นการสมมุติทั้งหมด หมุนไปตามวัฏฏะ มีตัณหาเป็นเครื่องยึดโยง มีอวิชชาเป็นเครื่องมุงบัง ทำให้โลกนี้ไม่อิ่มไม่พอ หมุนวนไป พร่องอยู่เป็นนิตย์

    [53.31] ทางออกอยู่ที่ไหน ที่มรรค 8 ใคร่ครวญเรื่องนี้ให้เป็นธัมมานุสติ เป็นธัมมวิจยะ เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใคร่ครวญแล้วเห็นแล้วแม้ในขณะที่เรายังเพียบพร้อม เราก็จะมาเดินตามทางมรรค 8 ได้ ไล่ไปตามลำดับจนออกบวชได้ ทำนิพพานให้แจ้งได้

    [54.32] เหล่านี้คือธัมมุทเทส 4 ข้อ ที่เมื่อเราพิจารณาใคร่ครวญอยู่อย่างเต็มที่ดีแล้ว เราจะเห็นว่า ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์


    ธัมมุทเทส 4 ประการที่ท่านรัฐปาละได้บอกต่อพระเจ้าโกรัพยะ ซึ่งเมื่อเรามาใคร่ครวญพิจารณาแล้ว จะทำให้สติของเราตั้งอยู่ได้ เราจะเห็นว่าการฟังธรรมปฏิบัติธรรมดีกว่ามีค่ามากกว่าการไปฟังเพลง ปัญญานั้นมีค่ามาก เราใคร่ครวญฟังธรรมปฏิบัติธรรม เราจะทำให้เกิดความรู้นี้ขึ้นได้
    :- https://puredhamma.com/1901a0514tu/

     

แชร์หน้านี้

Loading...