ธาตุ กับ อายตนะ ต่างกันไหม?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 17 มีนาคม 2013.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จักขุธาตุ โสตธาตุ เป็นต้น ต่างกันกับ
    จักขายตนะ โสตายตนะ เป็นต้น อย่างไรครับ
    ช่วยหาความเหมือนความต่างให้ด้วยครับ ท่าน
     
  2. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,946
    วิปัสสะนาภูมิปาฐะ อยู่ในมนต์พิธี สำหรับ พระภิกษุสามเณร และ พุทธศาสนิกชนทั้วไป หน้าที่ 127

    ปัญจักขันธา ฯ รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ
    สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ ฯ

    ทวาทะสายะตะนานิ ฯ จักขวายะตะนัง รูปายะตะนัง โสตา-
    ยะตะนัง สัททายะตะนัง ฆานายะตะนัง ชิวหายะตะนัง
    ระสายะตะนัง กายายะตะนัง โผฏฐัพพายะตะนัง มะนายะตะนัง
    ธัมมายะตะนัง ฯ

    อัฏฐาระสะ ธาตุโย ฯ จักขุธาตุ รูปะธาตุ จักขุวิญญาณะธาตุ
    โสตะธาตุ สัททะธาตุ โสตะวิญญาณะธาตุ ฆานะธาตุ คันธะธาตุ ฆานะ-
    วิญญาณะธาตุ ชิวหาธาตุ ระสะธาตุ ชิวหาวิญญาณะธาตุ กายะธาตุ
    โผฏฐัพพะธาตุ กายะวิญญาณะธาตุ มะโนธาตุ ธัมมะธาตุ มะโน-
    วิญญาณะธาตุ ฯ

    พาวีสะตินทริยานิ ฯ จักขุนทริยัง โสตินทริยัง ฆานินทริยัง
    ชิวหินทริยัง กายินทริยัง มะนินทริยัง อิตถินทริยัง ปุริสินทริยัง
    ชีวิตินทริยัง สุขินทริยัง ทุกขินทริยัง โสมะนัสสินทริยัง โทมะนัส-
    สินทริยัง อุเปกขินทริยัง สัทธินทริยัง วิริยินทริยัง สะตินทริยัง
    สะมาธินทริยัง ปัญญินทริยัง อะนัญญะตัญญัสสามีตินทริยัง อัญญินท-
    ริยัง อัญญาตาวินทริยัง ฯ

    จัตตาริ อะริยะสัจจานิ ฯ ทุกขัง อะริยะสัจจัง ทุกขะสะมุทะโย
    อะริยะสัจจัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ทุกขะนิโรธะคามินี
    ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ฯ

    ขันธ์ ๕ คือรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ อายตนะ ๑๒ คือ อายตนะ คือ ตา รูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้นกับรส กายสิ่งที่ถูกต้องได้ ใจกับอารมณ์ของใจ

    ธาตุ ๑๘ คือ ธาตุคือ ตา รูป วิญณาณทางตา หู เสียง วิณณาณทางหู จมูก กลิ่น วิญญาทางจมูก สิ้น รส วิณณาณทางสิ้น กาย สิ่งที่ถูกต้องได้ วิณณาณทางกาย ใจ อารมณ์ของใจ วิณณาณทางใจ

    อินทรีย์ ๒๒ คือ อินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความเป็นหญิง ความเป็นชาย ชีวิต สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อินทรีย์คืออัศยาศัยที่มุ่งบรรลุมรรคผล อินทรีย์ คือการตรัสรู้ สัจจธรรมด้วยมรรค อินทรีย์ของพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้สัจจธรรมแล้ว

    อริยสัจ์ ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามีนีปฏิปทา

    สาธุครับ
     
  3. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +4,062
    ธาตุ ก็คือธาตุ ตามสมมุติที่ตั้งชื่อเอาไว้จดจำตามสัญญา..เอาไว้จำ
    จักขุ..คือตัวรู้คือวิญญาณธาตุ6 อายตน12 หรือธาตุรู้..ผมเข้าใจง่ายๆแบบนี้ถูกรึไม่ครับ ผมไม่รู้ปริยัติ อนุโมทนาครับ:'(
     
  4. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ก็ไม่ต่างอะไร
    เเต่จะต่างตรงที่
    ความต่างของธาตุ ก็ทำให้เกิดความต่างของ ธาตุสัมผัส ความต่างของธาตุสัมผัส ก็ทำให้เกิดความต่างของเวทนา ที่เกิดจาก ธาตุสัมผัสสะ

    ฉนั้น ความต่างของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.
    ก็ทำให้เกิดความต่างของเวทนา คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตตสัมผัสสชาเวทนา ฯ


    เเค่นี้เเละไม่ต้องไปรู้มาก ศึกษาโพธิปักขิยธรรม หรือ ข้อวัตร จะดีกว่า ยิ่งพวกนับจิตเป็นตัวเลขเเล้วละก้อ ยิ่งไม่ต้องไปสนใจอะไรกับเขา
     
  5. chuchart_11

    chuchart_11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +2,932
    ขออนุโมทนาสาธุ ธรรมใดที่ท่านสำเร็จแล้ว ขอข้าพเจ้าสำเร็จด้วยเทอญ สาธุๆๆ
     
  6. LiSaBDoDaYup

    LiSaBDoDaYup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,251
    ค่าพลัง:
    +657
    ก็จะให้เทียบง่ายๆ ก็เอาจาก กายหยาบ

    กายหยาบ จักขุธาตุ ก็จะเรียกว่า "Eye Spot" ในเชิง ชีวะวิทยา
    สัตว์ที่ eyespot เราก็จะถือว่า สัตว์นั้น มีลูกกะตา กลมๆ

    จักขุธาตุ จึงหมาย องค์ประกอบที่สร้างขึ้นมาเป็น ลูกกตากลมๆ

    จักขายตนะ ก็จะเป็น อินทรีย์วัตถุที่ทำงานเป็นฟังก์ชั่นย่อยในการรับภาพ
    มีเรนตินา มีจอประสาท เป็นตัวกระทบแสง และ แล้วแปลงเป็นสัญญาเคมี
    บางอย่างก่อน หลังจากนั้นพวกแอกซซอน กับเดรนไดรท์ ก็จะเริ่มอ่านค่า
    แล้วแประป็นสัญญาส่งไปยังก้านสมองใต้กะโหลกแข็ง ถ้าเพ่งพิจารณา
    อยู่ตรงนี้ก็จะรู้สึก ยุบยับซับซ้อนเหมือนกายจะแตกโลกจะสลาย ข้าม
    ขันธ์มาร มัจจุมาร กับไม่ค่อยจะได้

    ช่วงที่แปลงเป็นสัญญาผ่านไปแอกซอน และเดรนไดรท์ ตรงนี้หากนัก
    ภาวนามีกำลังสมาธิ และ เพียรเพ่งอยู่ ก็จะเห็นเป็น แสงวาบ ยับยุม( การ
    ปักลงสู่ครรภ หรือ โยนี หรือ คัภภ ) ซึ่งก็จะหยุดยั้งอะไรไม่ได้แล้ว ยัง
    ไงภาพนั้นก็ต้องส่งไปยังสมอง เรียกว่า เพียงแค่นี้ ก็สามารถระบุ การ
    เกิด การไป การมา การเคลื่อน ได้ เรียกให้สวยๆได้อีกว่า จักขุวิญญาณ
    ภาวนาผ่านตรงนี้ไปได้ ก็จะไปต่อกันที มโนอินทรีย์ ซึ่งถือว่า คือ รู้เหี้ย
    ในทางธรรม ภาวนายังไม่ถึง รู้เหี้ย อย่าพึงสำคัญว่า จับฮาอะไรได้

    อันนี้ ก็กล่าวไปตาม กายหยาบ แต่ในเชิง ศาสนัง สุขุมรูป มีอยู่ เพียง
    แค่จิตเกิด ก็สามารถบอกกล่าวได้ทันทีว่า มีอยาตนะ6เกิด ขันธ์5เกิด

    ธรรมชาติที่พ้นธาตุ4ประชุมอยู่ พ้นการเป็นอยาตนะ6 พ้นขันธ์ มีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี

    ธรรมชาตินั้น ไม่สามารถเขาถึงได้แค่ การยอมรับตัวหนังสือ เพราะ
    การยอมรับตัวหนังสือ เป็นเพียงการ หลงไปตามตา หลงไปตามหู
    หลงไปตามจิตใจที่ปักลงสู่ครรภ โยนี ไหลลงต่ำเป็นธรรมดา อยู่นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มีนาคม 2013
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอบคุณทุกคำตอบครับ
    สงสัยตรงนี้ครับช่วยอธิบายต่อด้วยครับ ว่าทำไมอย่าไปสนใจเขา แล้วถ้าหากเราสนใจมันจะเกิดอะไรขึ้น มันจะเป็นบาปหรือจะเสียหายอะไรครับ
     
  8. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ๑. ธาตุสูตร
    [๓๓๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความต่างแห่งธาตุแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง
    จงกระทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว ณบัดนี้
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น
    พระเจ้าข้า ฯ

    [๓๓๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน

    จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ
    โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ
    ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ
    ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ
    กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ
    มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ


    นี้เราเรียกว่าความต่างแห่งธาตุ ฯ
    จบสูตรที่ ๑
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
     
  9. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,751
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ที่มา E-Tipitaka | Compare
    กดถอยหลัง อันด้านซ้ายไป 2 หน้าถ้าจะอ่านแต่แรก
     
  10. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,751
    ค่าพลัง:
    +1,919
    แต่ถ้า ตอบตามความเข้าใจส่วนตัว (ถ้าผิดพลาดขออภัย)

    อายตนะ ก็จะมี ภายใน ภายนอก
    ภายใน(สฬายตนะ) ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

    เช่น ตา และ รูป กระทบกัน จักษุวิญญาณ(การเห็นการรับรู้ผ่านทางตา)ก็เกิดขึ้น

    ถ้าจะให้เข้าใจก็คือ มี 3 อย่าง คือ ตา รูป เห็น , หู เสียง ได้ยิน,จมูก กลิ่น ดม

    พอเกิดผัสสะขึ้นก็ยัง เชื่อมไปต่อเกิดเป็น เวทนา ตัณหา อุปทาน ต่ออีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2013
  11. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,648
    ค่าพลัง:
    +20,320
    =======

    เขียนต่างกัน แต่หมายถึงสิ่งเดียวกัน
    ธาตุในจักรวาลนี้มีมากมาย เราขอแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
    1 วัตถุธาตุ
    2 นามธาตุ

    ทีนี้มาดู อายะตะนะ
    ภายนอก ส่วนหนึ่งเป็นวัตถุธาตุ ส่วนหนึ่งเป็น นามธาตุก็มี
    อายะตนะภายใน ก็เช่นกัน

    จะกล่าวได้ว่า วัตถุธาตุ ส่วนหนึ่ง ก่อให้เกิด นามธาตุ ต่อเนื่องตามมา คือมีความเกี่ยวเนื่องกันสืบเนื่องกัน

    ทีนี้ขอให้เราอย่าไปกังวลตรงนี้ แต่ให้เราเข้าใจว่ามันคืออะไร แล้วมันมีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างไร มันเกิดจากอะไรมันทำหน้าที่อย่างไร มันมีส่วนไปเกี่ยวข้องกับ ตัณหาอุปาทานอย่างไรมันไปยินดีเพลินเพลินกำหนัดอย่างไร มันทำให้จิตเราเมื่อผัสสะด้วยกันแล้วเป็นอย่างไร แล้วทุกข์ที่เกิดเป็นอย่างไร แล้วเราจะไปดับทุกข์ที่เกิดได้อย่างไร สุดท้ายเรารู้ทันมันแล้วอย่างนี้ทุกข์ดับลงอย่างไร ปัญญาเราเจริญแล้วอย่างไรครับ สาธุ
     
  12. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ท่านเพี้ยนหรือไม่
    ธาตุมีสี่
    อายาตนะมีหก
    บัญญัติใหม่ๆ
    ท่านไปลำไหนมา
    ลำเอียง
    หรือลำโขง
    อย่าบอกว่าโขงแล้วเบ้งอีกต่างหากนะขอรับ
    กระป๋มกัว
     
  13. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    อย่าบอว่าลำปางล่ะ
    หนาว

    ขำกระรุ่งกระลิ่งอีกต่างหาก
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อายตนะกับธาตุมีความแตกต่างกันคือ
    อายตนะนั้นเป็นเหตุให้วิถีจิตเกิดขึ้น เพื่อรับรู้สิ่งภายนอก รับรู้เรื่องราวต่างๆ
    หรือเป็นที่รวมของ จิต+เจตสิก+อารมณ์+วัตถุ ทางทวารต่างๆ

    ส่วนคำว่าธาตุนั้นเป็นการแสดงสภาพของตนๆ
    ให้ปรากฎอยู่เสมอ คือ จักขุปสาทก็แสดงสภาพความใสของตน
    ให้ปรากฎอยู่สำหรับรูปารมณ์มาปรากฎได้

    ส่วนโสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท
    ก็แสดงความใสของตนให้ปรากฎอยู่ สำหรับให้ เสียง กลิ่น รส สัมผัส มาปรากฎได้
    ตามสภาพของตนๆ ส่วนจักขุวิญญาณก็แสดงสภาพของตนคือการเห็นให้ปรากฎ
    ขึ้นว่านี่เป็นสภาพของจักขุวิญญาณนอกจากจักขุวิญญาณแล้วจะไม่มีผู้ใดจะทำการเห็นแทนได้
    ไม่ใช่ให้หูมาทำแทน ให้จมูกมาทำแทนการเห็นเป็นต้น

    ฉะนั้นการเห็นจึงเป็นหน้าที่ของจักขุวิญญาณโดยเฉพาะเท่านั้นที่ทำหน้าที่ของตนๆ
     
  15. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ทำอย่างไรให้ลูกหลานเป็นกระเบื้องที่ใสแล้วเอามาต่อกันให้กลม
    แล้วเฟื่องฟูลอยขอรับลุงหมาน

    เขาขุ่นมัว
    มักๆๆๆๆๆๆมาก.....................
    จึงจม
    เป็นห่วงสุขภาพตัวเองบ้างขอรับ
    หากท่านติดห่วงนี้ไม่รอด

    ราเกิดที่หู

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ

    ต้มมะแขว้งมะเขือ
    เขาต้องเอาไม้ไปสอยกิน
    เพราะสิ้นปัญญา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...