ธิเบตแดนลี้ลับหลังม่านไม้ไผ่...อ่านแล้วคิดอย่างไรกันบ้างครับ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย เมฆคล้อยอนิจจัง, 9 พฤษภาคม 2005.

  1. เมฆคล้อยอนิจจัง

    เมฆคล้อยอนิจจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +150
    ธิเบต
    ดินแดนแห่งหมอกมนต์หลังม่านไม้ไผ่
    เรียบเรียงโดย นฤมล ธรรมพฤกษา

    ดินแดนลี้ลับบนที่ราบสูงธิเบต ที่หลบซ่อนตัวเองอยู่เป็นเวลานาน ภายใต้ร่มเงาสงบแห่งพุทธศาสนา เพิ่งจะเผยโฉมออกมาในโลกภายนอกได้รู้จัก หลังจากคลื่นอพยพซัดผู้คนชาวธิเบต ที่หลั่งไหลออกมาตั้งถิ่นฐานนอกบ้านเกิดเมืองนอนของตน ทั้งนี้ ก็เนื่องด้วยจากการเข้าเยี่ยมเยือน ด้วยรอยยิ้มอันเย็นชา ของกระบอกปืน พร้อมกับคำกล่าวต้อนรับ การกลับมาสู่มาตุภูมิของประเทศจีน

    ปฏิวัติวัฒนธรรม คือการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของธิเบต จากการที่มีพุทธศาสนา เป็นศูนย์กลางในการดำเนินชีวิต มีองค์ทะไลลามะเป็นประมุขสูงสุด ทั้งทางโลก และทางธรรม ของประเทศ กลับกลายเป็นยาพิษ ที่มอมเมา และบั่นทอน ความเท่าเทียมกัน ในระบบสังคมนิยม จีน ได้นำความเจริญต่างๆ มาสู่ประเทศธิเบต อาทิ ถนน โรงพยาบาล โรงเรียน และอื่นๆอีกมากมายอันรวมไปถึงโรงน้ำชา ดิสโก้เธค บาร์และคุก นักโทษการเมือง นอกจากเป็นประชาชนทั่วไปแล้ว ยังรวมถึงพระและภิกษุณี รวมไปถึงนักโทษ ที่อายุเพียง ๑๐-๑๒ ขวบ แม้เพียงตะโกนว่า "ปลดปล่อยธิเบตให้เป็นอิสระ" "ขอองค์ทะไลลามะทรงพระเจริญ" หรือแม้แต่มีธงชาติ พร้อมรูปทะไลลามะไว้ในครอบครอง

    ในปี ๑๙๔๙ ทหารคอมมูนิสต์ของจีน ได้เข้ายึดพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของธิเบต คือ แคว้นอันโด อันเป็นที่ประสูติขององค์ทะไล ลามะองค์ปัจจุบัน จีนได้กดขี่ประชาชน และทำลายอาคารต่างๆ ทางศาสนาถึง ๖,๐๐๐แห่ง การจับกุมพระและภิกษุณีทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชาชนลุกขึ้นมา ก่อการจลาจลมากจนถึงขีดสุดที่เมืองลาซา ชาวธิเบตจำนวนประมาณ ๘๗,๐๐๐ คน เสียชีวิตในเมืองลาซา จากการตอบโต้ของรัฐบาลจีน๒ องค์ทะไลลามะ ได้ตัดสินใจลี้ภัย ออกนอกประเทศธิเบต เข้าพึ่งพิงรัฐบาลอินเดียในปี ๑๙๕๙ ชาวธิเบตกว่า ๘๕,๐๐๐ คนได้ตัดสินใจละถิ่นกำเนิด หนีตาย ทยอยเข้ามาในประเทศเนปาลและอินเดีย จีนจึงได้ยึดครองประเทศธิเบตได้สำเร็จ ม่านหมอกหนาทึบ ยังคงบดบังประเทศธิเบตอยู่ในปัจจุบัน ใครเล่าจะสามารถมองทะลุเข้าไป จนทราบได้ว่า เกิดอะไรขึ้นภายใต้ปราการม่านไม้ไผ่อันสูงเสียดฟ้า

    เอกสารของ Department of Information and International Relationship (DllR) ได้แจ้งว่ามีการจับกุมของพระและภิกษุณีเป็นจำนวนมากนับจากการเดินขบวน๑๗๘ ครั้งตั้งแต่ตุลาคม ๑๙๘๗ ถึงสิงหาคม ๑๙๙๓ โดยถูกลงโทษให้จำคุกเป็นเวลาถึง ๓๙ ปี รวมไปถึงภิกษุณีอายุ ๑๔-๑๕ ปี ภิกษุณีจะถูกจับเปลื้องผ้า เฆี่ยนตี จนกระบองไม้ไผ่หักคามือเจ้าหน้าที่ และไปผูกไว้ที่ผนังห้องขังกลางดึก เมื่อเวลาเช้าตรู่ ก็จะมองเห็นหมู่ภิกษุ ที่ถูกกระทำเช่นเดียวกัน คือถูกเปลื้องผ้า และมัดไว้ อยู่ที่ผนังฝั่งตรงข้าม นักโทษการเมืองจะถูกช็อตด้วยไฟฟ้า ภิกษุณีบางรูปถูกเอาลูกบอลยาง และกระบองไฟฟ้า สอดเข้าไปช็อต ในช่องคลอด หรือช็อตด้วยลวดไฟฟ้ารอบตัว๓ ทำให้การถูกจี้ด้วยบุหรี่ และการช็อตไฟฟ้า ที่บริเวณลำคอ กลายเป็นเรื่องธรรมดาไป

    ก่อนจีนเข้าครอบครอบในปี ๑๙๔๙ มีสำนักภิกษุณีอยู่ประมาณ ๖๐๐-๘๐๐ แห่งในธิเบต แต่นั่นก็เป็นจำนวนน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนสงฆ์ กระนั้นก็ยังเป็นจำนวนภิกษุณีที่มากที่สุดในโลกคือ ๒๗,๐๐๐ คน และเป็นที่แห่งแรก ที่จีนต้องการจะปลดปล่อย ออกจากพันธนาการแห่งความงมงาย ดังที่เหมาเซตุงได้กล่าวว่า "...ศาสนาคือยาพิษ มันมีพิษร้าย ๒ ประการคือบ่อนทำลายเชื้อชาติ และขัดขวางความเจริญของบ้านเมือง ธิเบตและมองโกเลียต่างก็โดนพิษร้ายของมัน"

    ในบรรดานักโทษการเมืองของธิเบตทั้งหมด ได้รวมเอานักโทษการเมืองที่อายุน้อยที่สุดในโลกอยู่ด้วย คือ เกดุน โชกี นีม่ะ (Gedhun Choekyi Nyima) ปันเชนลามะองค์ที่ ๑๑ ซึ่งมีอายุ ๙ ขวบ ปันเชนลามะ นับเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ อันดับสองรองจากองค์ทะไลลามะ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของปันเชนลามะองค์ที่ ๑๐ ก็ได้มีการประกาศเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๑๙๙๕ โดยองค์ทะไลลามะ ว่าได้มีการค้นพบ ร่างใหม่ ของ ปันเชนลามะ คือเด็กชายนี่ม่ะ อายุ ๖ ขวบซึ่งอยู่ในประเทศธิเบต แต่หลังจากการแต่งตั้งได้ ๓ วัน คือวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๑๙๙๕ ปันเชนลามะองค์ใหม่ ได้หายสาปสูญไปจากบ้านที่พัก พร้อมกับครอบครัว จนกระทั่งหนึ่งปีต่อมาคือวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๑๙๙๖ ทางรัฐบาลจีนได้แถลงว่า ครอบครัวของปันเชนลามะ อยู่ภายใต้ความดูแลของจีน๕ ทางการจีนยังได้ประนามว่า การแต่งตั้งปันเชนลามะองค์ใหม่ขององค์ทะไลลามะนั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมายและได้แต่งตั้ง (เกียลเซน นอรบู) Gyaltsen Norbu เป็นปันเชนลามะอย่างเป็นทางการ ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๑๙๙๕ ด้วยวิธีการจับฉลาก

    จากความทุกข์ยากของประชาชนชาวธิเบต เป็นเวลายาวนานร่วมครึ่งศตวรรษ ได้มีการต่อสู้เรียกร้อง ความเป็นธรรม เพื่อชาวธิเบต ในหลายรูปแบบ เมื่อเร็วๆ นี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๑ เป็นต้นมา ทาง Tibetan Youth Congress ได้จัดให้มีการอดอาหารประท้วงจนกว่าจะตาย ขึ้นที่จันตามันตาร์ ณ กรุงเดลี โดยมีชาวธิเบต ๖ คนคือนายคุนซาง (Kunsang) อายุ ๗๐ ปี นายดาวา กยัลโป (Dawa Gyalpo) อายุ ๕๐ ปี นางพัลซม (Palzom) อายุ ๖๘ ปี นายเซอริง (Tsering) อายุ ๕๓ ปี นายกรมะ สิโช (Karma Sichoe) และนายยังดรุง (Yungdrung Tsering) อายุ ๒๘ ปี ทั้ง ๖ คน นี้ได้เป็นตัวแทนของชาวธิเบต ๖ ล้านคนที่ยังอยู่ใต้การปกครองของจีน เพื่อเรียกร้องให้สหประชาชาติ ให้ความสนใจและอภิปรายต่อปัญหาธิเบต และไต่สวนสถานการณ์เรื่องสิทธิมนุษยชน

    จากนั้นได้มีการเคลี่อนไหวของชาวธิเบตทั่วโลก เพื่อตอบสนองกิจกรรมดังกล่าว อาทิเช่น Tibetan Institute of Perfoming Arts (TIPA) ได้ยกเลิกการแสดงในเทศกาล Shoton ในธรรมศาลา ทั้งที่มีนักแสดง เดินทางไกลมาจากเนปาล รัฐโอริสสาทางตะวันออกของอินเดีย และมัทราสทางตอนใต้ของอินเดีย โดยนักแสดงทั้งหมด ได้เดินทางเข้าวัดนำเกียว ที่องค์ทะไลลามะ ประทับอยู่เพื่อสวดมนต์ สนับสนุน ผู้อดอาหารประท้วง นอกจากนั้นยังมีการเข้าร่วมอดอาหารประท้วง ๒๔ ชั่วโมงทั่วประเทศอินเดีย เช่นที่ภาคเหนือคือธรรมศาลา ภาคใต้ที่ Bylakuppe, Humsur และ Kollegal นอกนั้น ยังมีการรวมตัวของชาวต่างประเทศ ที่เข้ามาเยี่ยมเยือนธรรมศาลา ก็ได้ร่วมใจกันนั่งอดอาหารประท้วงด้วย

    ตามกฏหมายรัฐบาลอินเดียถือว่าการฆ่าตัวตายเป็นการผิดกฏหมาย ตำรวจเมืองเดลีกว่า ๓๐๐ นาย จึงได้เข้าสลายฝูงชน ถึง ๒ ครั้ง และนำตัวผู้อดอาหารประท้วง ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล กลางดึกของคืนวันที่ ๒๗ เมษายนในขณะที่ตำรวจกำลังล้อมพื้นที่นั้นเอง นายทุปเตน นอรดุป (Thupten Nordhup) วัย ๖๐ ปีได้ตัดสินใจท้าทายต่อจิตสำนึกของโลก ด้วยการเผาร่างของตัวเองด้วยน้ำมันเบนซิน ไฟได้ลามเข้าไปในปาก ในขณะที่เขาพยายามตะโกนคำว่า "ปลดปล่อยธิเบต" เนื่องด้วย เขาได้กลืนน้ำมันลงไปด้วย ร่างที่โชนไฟวิ่งไปรอบๆ พร้อมกับยกมือไหว้ท่วมหัว ร่างนั้นได้ล้มตึงลง ท่ามกลางความตกตะลึงของผู้คน เขาได้สิ้นชีวิตเมื่อเวลา เที่ยงคืนสิบห้านาที หลังจากองค์ทะไลลามะ ได้เข้าเยี่ยมเยือน

    ไม่เพียงแต่เท่านั้น นาย Gilles Blanchard ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของพิพิธภัณฑ์ Rodin กรุงปารีสได้เขียนในจดหมายลาว่า "to make a pacifist gesture to help Tibetans win freedom from China's persecution" จดหมายถูกค้นพบในบ้านพักของเขา หลังจากที่เขาได้เผาตัวตาย ในสวนสาธารณะ ในวันที่ ๑๙ มิถุนายน ปีนี้

    การอดอาหารประท้วงครั้งที่สองได้เริ่มขึ้น แต่ไม่นานเท่าไรนัก ก็ต้องหยุดไป เนื่องจาก ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา นายบิล คลินตัน ได้เดินทางไปเยือนจีน และสัญญาว่า จะนำกรณีธิเบตเข้าเป็นประเด็นหนึ่งในการพูดคุยกับผู้นำจีน ในขณะเดียวกันการเคลื่อนไหวเพื่อธิเบต ก็ได้กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก จากชนหลายชาติหลายภาษา การหยอดเมล็ดพันธุ์แห่งความหวัง ได้เริ่มต้นขึ้น สำหรับธิเบตแต่อาจต้องอาศัยเวลาอีกยาวนาน เพื่อรอแสงแดดที่จะส่องผ่าน เข้ามาสลายให้หมอกนั้นจางไป (u)

    บทความจาก http://www.khonnaruk.com/html/means/TB_fog.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...