ธุดงค์ไม่ได้แปลว่าเดิน! – ธุดงค์คืออะไร?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย อธิมุตโต, 29 มกราคม 2012.

  1. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ธุดงค์ไม่ได้แปลว่าเดิน! – ธุดงค์คืออะไร?

    คำว่าู “ธุดงค์” เป็นหนึ่งในคำที่คนไทยเข้าใจผิดครับ โดยพวกเรามักจะเข้าใจว่า ธุดงค์คือการเดิน ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ครับ

    ธุดงค์ นั้นเต็มๆเราจะเรียกกันว่า ธุดงค์วัตร แปลว่า องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส หรือ แปลว่า หลักปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความสันโดษ มักน้อย นั่นเอง ธุดงค์นี้ไม่ได้เป็นข้อบังคับ พระสามารถเลือกปฏิบัติได้ในข้อที่ตนเองสนใจครับ

    พระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องเรื่องการถือธุดงค์คือ พระมหากัสสปะครับ … ท่านเป็นเลิศด้านการถือธุดงค์ครับ โดยท่านถือธุดงควัตรทั้ง ๑๓ ข้อ ตลอดชีวิตของท่าน

    *****************************************************

    ธุดงควัตรมี ๑๓ ประการครับ แบ่งออกได้เป็น ๔ หมวดดังนี้

    หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต - เกี่ยวกับจีวร มี
    ๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล
    ๒. เตจีวริกังคะ ใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน

    หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต - เกี่ยวกับบิณฑบาต มี
    ๓. ปิณฑปาติกังคะ เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ
    ๔. สปทานจาริกังคะ บิณฑบาตตามลำดับบ้าน
    ๕. เอกาสนิกังคะ ฉันมื้อเดียว
    ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันเฉพาะในบาตร
    ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม

    หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต - เกี่ยวกับเสนาสนะมี
    ๘. อารัญญิกังคะ อยู่ป่า
    ๙. รุกขมูลิกังคะ อยู่โคนไม้
    ๑๐. อัพโภกาสิกังคะ อยู่กลางแจ้ง
    ๑๑. โสสานิกังคะ อยู่ป่าช้า
    ๑๒. ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่แล้วแต่เขาจัดให้

    หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต - เกี่ยวกับความเพียร มี
    ๑๓. เนสัชชิกังคะ ถืออิริยาบท นั่ง ยืน เดิน อย่างเดียวไม่มีอิริยาบท นอน

    *****************************************************

    ส่วนที่คนไทยเราเข้าใจผิดว่า ธุดงค์แปลว่าเดินนั้น เข้าใจว่า มาจากการที่เราเห็น เวลาพระท่านปฏิบัติธุดงค์ท่านถือกลดออกเดินไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจริงๆแล้ว ท่านกำลังออกเดินทางไปอาศัยอยู่ในป่า เป็นต้น

    เพียงแต่เราไม่เห็นว่าท่านใช้ชีวิตอย่างไร เห็นแต่ท่านเดินจากไป เลยคิดว่า ธุดงค์คือการเดิน ซึ่งจริงๆแล้ว การเดินนั้น ไม่ใช่ธุดงค์ แต่เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติธุดงควัตรให้ลุล่วงไปได้

    นั่นคือ ถ้าเราเห็นพระท่านอยู่แต่ในวัด จริงๆแล้ว ท่านก็อาจจะถือธุดงค์บางข้ออยู่ก็เป็นได้ ในทางกลับกัน ถ้าเราเห็นพระท่านแบกกลดเดินไปมา ท่านจริงๆแล้วอาจจะไม่ได้ถือธุดงค์ซักข้อเลยก็ได้เหมือนกัน

    ซึ่งอันนี้ก็ไม่ได้เรื่องผิดครับ เพราะหลักธุดงควัตรนี้ ไม่ใช่ข้อบังคับของพระพุทธเจ้า

    หวังว่าจากนี้ไป คงไม่เข้าใจผิดแล้วนะครับ ว่าธุดงค์คือการเดิน ^ ^”

    *****************************************************

    อ้างอิงครับ

    ความหมายของธุดงค์ จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ โดยท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

     
  2. ศักยิ์กมล

    ศักยิ์กมล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    826
    ค่าพลัง:
    +1,316
    หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต - เกี่ยวกับความเพียร มี
    ๑๓. เนสัชชิกังคะ ถืออิริยาบท นั่ง ยืน เดิน อย่างเดียวไม่มีอิริยาบท นอน

    ขอกราบนมัสการพระอาจารย์ครับ
    หมวดที่ ๔ ข้อ 13 นี้หมายถึง พระสงฆ์ที่ถือธุดงค์นั้น ใน 3 เดือนไม่นอนเลยหรือครับ (ไม่พักผ่อนโดยการนอนหลับ)
     
  3. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ใช่ครับ หลังไม่นอนราบกับพื้น

    ในสมัยพุทธกาล ก็มีพระจักขุปาละ เป็นรูปหนึ่งซึ่งถือธุดงค์ข้อเนสัชชิกังคัง ครับ
     
  4. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    สมัยปัจจุบัน หลวงปู่เกษม เขมโก ที่สุสานไตรลักษณ์ ท่านก็ถือ ธุดงค์ข้อ 13 นี้เหมือนกันครับ (ขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่)
     

แชร์หน้านี้

Loading...