เรื่องเด่น นักวิจัยกำลังไขปริศนา โครงกระดูกจิ๋วลึกลับ ลักษณะคล้ายกระดูกมนุษย์แต่มีซี่โครงเพียง 10 คู่

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 24 มีนาคม 2018.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    tnews_img_1521800164_2889.jpg

    นักวิจัยกำลังไขปริศนา โครงกระดูกจิ๋วลึกลับ ลักษณะคล้ายกระดูกมนุษย์แต่มีซี่โครงเพียง 10 คู่ และมีศีรษะที่ใหญ่กว่ามนุษย์ปกติ!



    เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2561 สำนักข่าวซินหัวของประเทศจีนได้รายงานว่า

    โครงกระดูกจิ๋วสูงราว 6 นิ้ว คล้ายกระดูกมนุษย์แต่มีซี่โครงเพียง 10 คู่และมีศีรษะใหญ่กว่ามนุษย์ปกติที่ถูกพบในทะเลทรายอาตากามาของประเทศชิลี เมื่อปี 2003 ทำให้หลายคนรู้สึกทึ่งและสงสัยว่านี่คือร่างของมนุษย์ในยุคใดและเป็นสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้หรือไม่?

    เมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่นักวิจัยได้รวบรวมข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ ที่ได้จากการวิเคราะห์พันธุกรรม ปริศนาโครงกระดูกจิ๋วที่ถูกตั้งชื่อให้ว่า “อาตา” (Ata) นี้ก็ถูกไขเป็นที่เรียบร้อย

    จากการศึกษาจีโนมของโครงกระดูกอาตาพบว่าเป็นของทารกแรกเกิดที่เพศหญิง ที่มีการกลายพันธุ์ของยีนที่หาได้ยาก ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับภาวะแคระแกร็น ความผิดรูปของอวัยวะ และภาวะชราก่อนกำหนด



    ก่อนหน้านี้ มีการคาดกันว่าอาตามีอายุราว 6-8 ปี แต่การสึกหรอบนกระดูกนั้น จริงๆ แล้วเป็นผลมาจากความพิการของทารก ซึ่งไม่ใช่ตัวชี้วัดอายุที่แท้จริงของเธอ ผลการศึกษาชี้ว่าเธออาจจะมีชีวิตอยู่บนโลกได้ไม่นานหรืออาจเกิดก่อนกำหนด

    นอกจากนี้ทารกหญิงคนนี้ก็ยังไม่ใช่มนุษย์สมัยโบราณดังที่เคยมีคนตั้งสมมติฐานไว้ นักวิจัยกล่าวว่าโครงกระดูกนี้น่าจะมีอายุไม่เกิน 40 ปี และจากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอที่ได้จากไขกระดูกของอาตา ทำให้นักวิจัยสามารถระบุได้ว่าเธอเป็นชาวอเมริกาใต้ภูมิภาคแอนเดียน

    ส่วนประเด็นที่อาตามีจำนวนซี่โครง 10 คู่ ซึ่งไม่เคยพบมาก่อน เพราะมนุษย์ทั่วไปแล้วจะมีกระดูกซี่โครง 12 คู่ แกรี โนแลน (Garry Nolan) ศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยาจากคณะแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดกล่าวว่า "เป็นหนึ่งในลักษณะการกลายพันธุ์ในยีนที่เรารู้จักกันว่าเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของกระดูก" ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับภาวะแคระแกร็น โรคกระดูกสันหลังคด รวมถึงความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก

    สิ่งที่ยังคงเป็นปริศนาในตอนนี้คือ เหตุใดเด็กทารกจึงมีข้อบกพร่องทางพันธุกรรมเหล่านี้?



    อย่างไรก็ดี นักวิจัยคาดว่าการปนเปื้อนจากเหมืองในบริเวณใกล้เคียง อาจเป็นที่มาของอาการผิดปกติดังกล่าว เพราะในทะเลทรายที่พบเด็กนั้นมีเมืองเหมืองร้างที่มีแร่ไนเตรทหลายแห่ง ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อดีเอ็นเอได้

    29510844_2060327904183221_4103193926606975493_n.jpg

    29512866_2060327910849887_2068660027537127960_n.jpg

    29513166_2060327900849888_7337078468190650451_n.png

    29542741_2060327944183217_7030337989223768989_n.jpg

    29572953_2060327960849882_5780538298875969458_n.jpg



    ภาพและข้อมูลจากเฟซบุ๊ก China Xinhua News


    เรียบเรียงโดย

    อุทัย เลิกสันเทียะ

    -----------------
    http://www.tnews.co.th/contents/432278
     

แชร์หน้านี้

Loading...