เรื่องเด่น นักวิจัยเตือน “ญี่ปุ่น” อาจเกิดเเผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เเรงถึง 9 เเมกนิจูด !

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 20 ธันวาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    [​IMG]

    0b8b4e0b888e0b8b1e0b8a2e0b980e0b895e0b8b7e0b8ade0b899-e0b88de0b8b5e0b988e0b89be0b8b8e0b988e0b899.jpg
    เเฟ้มภาพ AFP Photo/Kazuhiro Nogi

    คณะวิจัยญี่ปุ่น เเจ้งเตือนถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในญี่ปุ่น โดยอาจมีความรุนแรงถึงระดับ 9 เเมกนิจูด นอกชายฝั่งตะวันออกของเกาะฮอกไกโด

    สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า คณะวิจัยแผ่นดินไหวของญี่ปุ่น เปิดเผยว่าในอนาคตอันใกล้นี้ มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9 แมกนิจูดในมหาสมุทรแปซิฟิก นอกชายฝั่งตะวันออกของเกาะฮอกไกโด ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ทางเหนือสุดของประเทศ โดยจะส่งผลทำให้เกิดสึนามิขนาดใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นเเล้วเมื่อราว 400 ปีก่อน เเละบริเวณนอกชายฝั่งตะวันออกของเกาะฮอกไกโดจะเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงในวงรอบ ทุก 340 – 380 ปี

    นายนาโอชิ ฮิราตะ อาจารย์มหาวิทยาลัยโตเกียว หัวหน้าของคณะวิจัยชุดนี้ ระบุว่า มีความเป็นไปได้อยู่ระหว่าง 7- 40 % ที่จะเกิดเเผ่นดินไหวขนาด 9.0 เเมกนิจูดในช่วง 30 ปีข้างหน้า เเละแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อจังหวัดอาโอโมริ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

    ขณะที่นายโยชิมะซะ ฮายาชิ รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น หวังว่าการคาดการณ์ของการวิจัยนี้ จะช่วยให้ท้องถิ่นได้เตรียมความพร้อมและแจ้งเตือนประชาชนให้ตระหนักถึงความเสี่ยงของภัยธรรมชาติ





    ขอบคุณที่มา
    https://www.prachachat.net/world-news/news-90382
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ธันวาคม 2017
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวจะมีหน่วยเป็น “มาตราริคเตอร์” และ “มาตราเมอร์แคลลี่”’

    ความรุนแรงของแผ่นดินไหวสามารถวัดได้ทั้งขณะเกิดและหลังเกิด คนอาจจะรู้สึกได้ถึงการเกิดแผ่นดินไหว มีอาคารเสียหายหรือมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยขนาดและความสัมพันธ์โดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้จุดศูนย์กลางตามมาตราริคเตอร์ แบ่งได้เป็น 5 ช่วง คือ
    ความรุนแรง 1.0-2.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงอาการสั่นไหว บางครั้งรู้สึกเวียนศีรษะ
    ความรุนแรง 3.0-3.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
    ความรุนแรง 4.0-4.9 เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคารและนอกอาคาร รู้สึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุที่ห้อยแขวนมีการแกว่งไปมา
    ความรุนแรง 5.0-5.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
    ความรุนแรง 6.0-6.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
    ความรุนแรง 7.0 ขึ้นไป เกิดการสั่นไหวอย่างร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างได้รับความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินเกิดการแยกตัว วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

    ส่วนลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบตามมาตราแคลลี่อันดับที่ แบ่งเป็น 12 ระดับ ดังนี้
    ความรุนแรงระดับ 1 เป็นอันดับอ่อนมาก ความสั่นสะเทือนสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือ
    ความรุนแรงระดับ 2 คนที่อยู่ในอาคารสูงและอยู่นิ่ง ๆ สามารถรู้สึกได้
    ความรุนแรงระดับ 3 คนที่อยู่ในบ้านสามารถรู้สึกได้
    ความรุนแรงระดับ 4 ผู้ที่อยู่ในบ้านรู้สึกว่าบ้านสั่นไหว
    ความรุนแรงระดับ 5 รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว
    ความรุนแรงระดับ 6 ทุกคนรู้สึกถึงการสั่นไหว ของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว
    ความรุนแรงระดับ 7 ผู้คนตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฏความเสียหาย
    ความรุนแรงระดับ 8 อาคารธรรมดาได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก
    ความรุนแรงระดับ 9 สิ่งก่อสร้างที่ได้รับการออกแบบไว้เป็นอย่างดีได้รับความเสียหายมาก
    ความรุนแรงระดับ 10 อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ
    ความรุนแรงระดับ 11 อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบนพื้นดินอ่อน

    มีเหตุแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และมีคำข้อสงสัยหนึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมกัน ว่าทำไมต่างประเทศถึงไม่ใช้ริกเตอร์ แต่กลับใช้แมกนิจูดแทน แล้วทำไมถึงไม่ให้ใช้ริกเตอร์ เพราะอะไร

    จากการสอบถามผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนี้ ดร.สมบุญ โฆษิตานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า ริกเตอร์ หรือมาตราท้องถิ่น (Local Magnitude/ML) คือมาตราวัดขนาด ของแผ่นดินไหวที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งนิยมและแพร่หลายกันในประเทศไทย มีข้อดี คือคำนวนได้เร็วรวดเร็วกว่ามาตราอื่น แต่มีข้อจำกัดคือใช้ได้กับความไกลจากจุดที่เกิดแผ่นดินไหวไม่เกิน 600 กิโลเมตร และมากที่สุดไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร มากกว่านั้นค่าจะเริ่มเพี้ยน ซึ่งมีขนาดคลื่นแผ่นดินไหวอยู่ที่ 0.0-4.3ไม่เกิน7.0 เหมาะกับประเทศเล็กๆ เช่น ไทย เป็นต้น เพราะเหตุนี้ กรมอุตุของประเทศไทยจึงวัดได้แค่มาตราริกเตอร์เท่านั้น

    ส่วนมาตราที่ดีที่สุดที่ต่างประเทศนิยมใช้กัน คือ มาตราโมเมนต์ (Moment Magnitude/Mw) ใช้กับคลื่นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ไม่จำกัดพื้นที่และแม่นยำไม่ผิดเพี้ยน ซึ่งมีขนาดคลื่นแผ่นดินไหว 5.0-ไม่จำกัด แต่มีข้อเสียคือ “คำนวนได้ช้าสุด” เพราะต้องคิด “งานเชิงกล(mechanical work)” นั่นคือที่มาของตัวย่อ w (คำว่าโมเมนต์ ตอนนี้มีนักวิชาการด้านอื่นใช้สับสนกับคำว่าแมกนิจูดไปแล้ว น่าจะเป็นเพราะสับสน ตัว M)

    สรุปได้ว่า "แมกนิจูด" ที่เราเริ่มเห็นกันบ่อยขึ้น หมายถึง ขนาด ซึ่งชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ เป็นคนแรกที่นำมาใช้กับแผ่นดินไหวส่วน "มาตราริกเตอร์" เป็นมาตราวัดคลื่นแผ่นดินไหวที่แพร่หลายในไทย เหมาะกับประเทศขนาดเล็กๆ ส่วนในประเทศใหญ่ๆ จะใช้ "มาตราโมเม้น" เพราะแม่นยำกว่า

    "ถ้าเปรียบเรื่องนี้เหมือนคณิตศาสตร์ มาตราริกเตอร์ก็คือสับเซตหนึ่งของ เซตแมกนิจูด นั่นเอง " ดร.สมบุญ กล่าว...

    ต่างประเทศเวลาเขียนข่าวว่า 7.8-Magnitude Quake ซึ่งแปลว่า แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ไม่จำเป็นต้องมีหน่วยต่อท้าย แต่คนไทยนำมาแปลเป็นริกเตอร์ ถือว่าผิด หากไม่แน่ใจว่าใช้มาตราไหน ก็ไม่ต้องใส่มาตรา เพียงบอกว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดเท่าไร หรือ แมกนิจูดเท่าไร ก็ถือว่าถูกต้องเหมือนกัน เพราะค่านี้อาจวัดด้วยมาตราอื่น

    ตัวอย่างการใช้ที่ถูกต้อง
    แผ่นดินไหว 2.4 ที่เชียงใหม่
    แผ่นดินไหวขนาด 2.4 ที่เชียงใหม่
    แผ่นดินไหวแมกนิจูด 2.4 ที่เชียงใหม่
    แผ่นดินไหว 2.4 แมกนิจูดที่เชียงใหม่
    แผ่นดินไหว 2.4 ตามมาตราริกเตอร์ที่เชียงใหม่ (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
    แผ่นดินไหวขนาด 2.4 ตามมาตราริกเตอร์ที่เชียงใหม่ (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
    แผ่นดินไหวแมกนิจูด 2.4 ตามมาตราริกเตอร์ที่เชียงใหม่ (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
    แผ่นดินไหว 7.8 ที่เนปาล
    แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ที่เนปาล
    แผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.8 ที่เนปาล
    แผ่นดินไหว 7.8 แมกนิจูดที่เนปาล
    แผ่นดินไหว 7.8 ตามมาตราโมเมนต์ ที่เนปาล (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
    แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ตามมาตราโมเมนต์ ที่เนปาล (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
    แผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.8 ตามมาตราโมเมนต์ ที่เนปาล (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...