เรื่องเด่น นักวิทย์เผยสึนามิเคยถล่มจีนเมื่อ 1,000 ปีที่แล้ว เตือนความเสี่ยงยังมีอยู่ อาจถล่มกวางตุ้ง...

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 3 มกราคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8a2e0b98ce0b980e0b89ce0b8a2e0b8aae0b8b6e0b899e0b8b2e0b8a1e0b8b4e0b980e0b884e0b8a2e0b896e0b8a5.jpg
    เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์– กลุ่มนักวิจัยจีนเผยว่า ราวเมื่อ 1,000 ปีที่แล้ว สึนามิเคยอุบัติทำลายล้างอารยธรรมอย่างแทบไม่หลงเหลือซากในบริเวณที่เป็นมณฑลกว่างตงในปัจจุบัน กระทั่งปัจจุบันความเสี่ยงจากภัยพิบัติธรรมชาตินี้ยังมีอยู่ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งของจีน

    สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งจีน (University of Science and Technology of China/USTC) และมหาวิทยาลัยนอร์มัลแห่งจีนตะวันออก (East China Normal University) ได้ทำการวิจัยความเสี่ยงต่อภัยพิบัติธรรมชาติโดยเก็บข้อมูลในภาคสนามและศึกษาเป็นเวลาหลายปี กลุ่มนักวิจัยได้เตือนความเสี่ยงภัยสึนามิในพื้นที่ชายฝั่งจีน และเสนอให้รัฐบาลวางแผนรับมือความเสี่ยงดังกล่าว โดยเฉพาะแผนการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางยุทธศาสตร์ อาทิ โรงงานนิวเคลียร์ และโครงสร้างพื้นฐานภายใต้ความริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative)

    “การศึกษาได้ยืนยันความเสี่ยงภัยสึนามิในทะเลจีนใต้ ดังนั้น ควรวางแผนในอนาคต อาทิ การก่อสร้างโรงงานพลังงานนิวเคลียร์ ท่าเรือ และโครงสร้างพื้นฐานแหล่งสำรองน้ำมันแถบชายฝั่งทะเลจีน” นักวิจัยระบุไว้ในบทความที่เผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์ Chinese Science Bulletin ประจำเดือนม.ค.

    ความริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง เป็นแผนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าที่จะเชื่องโยงภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา ยุโรป ทั้งทางบกและทางทะเล รัฐบาลได้ทุ่มเงินลงทุนก้อนมหึมาในการก่อสร้างท่าเรือ รถไฟ ถนน โรงงานพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆในต่างแดน

    จากข้อมูลที่รวบรวมได้จากภาคสนาม ซุน ลี่กวง และเซี่ย โจวชิง นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งจีน ผู้นำทีมวิจัยฯได้สรุปว่า เคยเกิดสึนามิในทะเลจีนใต้เมื่อปีค.ศ. 1076 และได้ทำลายล้างบริเวณที่เป็นมณฑลว่างตงในปัจจุบัน

    จากแบบจำลองคอมพิวเตอร์ ยังสามารถสรุปได้ถึงความเสี่ยงแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่จะก่อให้เกิดสึนามิตามมาตามแนวร่องทะเลลึกมะนิลา (Manila Trench) และจู่โจมบริเวณมณฑลกว่างตง ไห่หนัน ของจีน รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของไทย

    รายงานผลการวิจัยยังระบุว่าจีนได้เริ่มวางระบบทุ่นตรวจวัดคลื่นสึนามิ ใกล้กับร่องทะเลลึกมะนิลาในทะเลจีนใต้เมื่อต้นปีที่แล้ว

    กลุ่มบริษัทอย่างเช่น บริษัทพลังงานนิวเคลียร์ฝูชิง (Fuqing Nuclear Power Company) ได้ตระหนักถึงภัยคุกคามจากสึนามิ เฉิน กัวไช่ ผู้จัดการทั่วไปของบริษัทพลังงานนิวเคลียร์ฝูชิง ให้สัมภาษณ์กับซีซีทีวี รับรองระบบต้านทานสึนามิของโรงงานฯ ซึ่งติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นที่สามที่ชายฝั่งมณฑลฝูเจี้ยน

    เฉินแจงว่า เตาปฏิกรณ์นิวเคลยร์ หวาหลงที่หนึ่ง (Hualong One) ของโรงงาน ออกแบบอาคารคลุมเตาปฏิกรณ์สองชั้น โดยอาคารครอบชั้นในสามารถรับประกันการรั่วไหลของรังสีในสถานการณ์คล้ายหายนะฟูกุชิมะ ส่วนอาคารชั้นนอกแข็งแรงพอที่จะต้านทานแรงกระทบจากการระเบิดของเครื่องบิน ”

    ทั้งนี้ เมื่อ 8 ปีที่แล้ว แผ่นดินไหวได้กระตุ้นคลื่นสึนามิ สร้างความเสียหายให้กับเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ นับเป็นอุบัติภัยร้ายแรงด้านนิวเคลียร์รั่วไหลครั้งรุนแรงที่สุดนับจากหายนะนิวเคลียร์รั่วไหลเชอร์โนบิลเมื่อปี 1986 ซึ่งทำให้ทั่วโลกต้องชะลอการสร้างงานพลังงานนิวเคลียร์


    ขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/china/detail/9620000000763
     

แชร์หน้านี้

Loading...