นั่งสมาธิ เกิดปีติ ตัวใหญ่ บ่อยๆ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย KissMarker, 14 กันยายน 2014.

  1. KissMarker

    KissMarker สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +19
    ตามหัวข้อเลยครับ นั่งสมาธิไปสักพัก(ใช้วิธีรู้ลมหายใจ ไม่บริกรรม)ถ้าแบบไม่มีอะไรเกิดขึ้น ก็มักจะมาเกิดปีติ รู้สึกตัวใหญ่ คับแน่น อึดอัด ลมหายแผ่วลงมาก แล้วก็รู้สึกเหมือนลมหายใจออกมาเป็นก้อนๆเลย พยายามตั้งสติประคองไว้เผื่อว่าลมจะดับ ก็ไม่เห็นดับสักที(สงสัยเป็นเพราะเหมือนลมหายใจแผ่วๆเลยพยายามหายใจ) เป็นอยู่พักนึงแล้วก็ถอนจากอาการปีติ

    ถือว่าทำถูกทางยังครับ แล้วจะไปต่อยังไง เผื่อมีผู้รู้และผู้มีประสบการณ์แบบเดียวกันช่วยแก้ไขให้ ขอบคุณครับ
     
  2. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    โดยรวมแล้วไม่เป็นไรครับ จะตามรู้ลมอย่างเดียว โดยไม่ต้องมีคำบริกรรมก็ได้ครับ

    แต่ในการตามรู้ลมหายใจ ต้องไม่ทำการบังคับลมนะครับ ขอให้ปล่อยไปตามธรรมชาติของตัวเรา จะหายใจสั้น หายใจยาว หายใจลึก หายใจตื้น ก็ปล่อยให้เป็นไปตามนั้น แค่เอาสติไปตามรู้ว่า เมื่อหายใจเข้า รู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออก รู้อยู่ว่าหายใจออก แค่นี้ก็พอแล้ว

    เรื่องอาการอึดอัดที่เกิดขึ้น ลองดูอีกทีว่า เป็นเพราะไปบังคับลมหายใจหรือเปล่า? ถ้าเกิดจากการไปบังคับลมหายใจ ขอให้ทำการปรับเรื่องการหายใจใหม่นะครับ ในทางปฏิบัติ ควรจะใช้อารมณ์ที่มีความสบายเป็นสำคัญ ขอให้ตั้งใจเอาไว้นะครับว่า เราจะประคองลมหายใจของเราให้มีความราบรื่น ไหลลื่น เบาสบาย ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และพักผ่อนจิตใจจากความคิดที่สอดส่ายไปตามอารมณ์ใจทั้งหลายที่เกิดมีขึ้น ให้อยู่กับความนิ่งและความสบายของลมหายใจที่ผ่อนคลายนั้นเป็นสำคัญ

    เมื่อตั้งหลักได้อย่างนี้ ก็ให้อยู่กับความสงบและความสบายนั้นไปเรื่อยๆ ซึ่งก็เท่ากับว่าเรากำลังทรงอยู่ในกรรมฐานที่เรากำลังปฏิบัติอยู่ คือมีสติระลึกถึงลมหายใจ ได้ตลอดช่วงเวลาที่ทำการปฏิบัติกรรมฐานแล้วนะครับ

    ถ้าจะถามว่าแล้วควรจะไปยังไงต่อ ก็ต้องกล่าวว่า ในระหว่างช่วงเวลาที่กำลังปฏิบัติกรรมฐานนั้น เรามีหน้าที่อย่างไรอยู่ ให้พุ่งความสนใจไปที่หน้าที่นั้นอย่างเดียว ซึ่งในที่นี้ เรามีหน้าที่ตามรู้ลมหายใจเข้าออก ใจก็ต้องอยู่กับลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ดังนั้นอาการอย่างอื่นๆใดๆ ที่อาจเกิดมีขึ้น เช่น ตัวใหญ่ ตัวพอง ก็ขอให้ปล่อยวางไปเสีย อย่าได้ไปสนใจกับอาการที่เกิดขึ้น ให้ตามรู้ลมหายใจเข้าออกลูกเดียวนะครับ

    อีกอย่าง ไม่จำเป็นต้องไปรอว่าลมหายใจจะดับนะครับ แต่ให้พยายามประคองสติตามลมหายใจเข้าออกไปเรื่อยๆ อย่างเดียวก็พอ อย่างอื่นไม่จำเป็นต้องสนใจ ถึงลมหายใจจะออกอาการแผ่วๆ ถ้าไม่ลำบากมากนัก ก็ขอให้ปล่อยไปตามสภาพ ทำการตามลมหายใจไปเรื่อยๆ อย่างนี้ จนกว่าใจจะสงบให้ได้มากที่สุด (ยกเว้นว่าอาการลมหายใจแผ่วๆ ที่ว่านี้จะทำให้เกิดอาการอึดอัด หายใจไม่ออก รู้สึกทรมานอย่างมาก ก็อย่าไปทน เดี๋ยวจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ให้ออกจากการปฏิบัติก่อน แล้วทำการจัดระเบียบท่าทางใหม่ ให้ลมหายใจมีความสบายราบรื่นก่อน แล้วค่อยทำการปฏิบัติใหม่อีกที)

    เอากันเท่านี้ก่อนก็พอครับ
     
  3. teww

    teww เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    604
    ค่าพลัง:
    +1,534
    ยังค่ะ เพราะยังติดปิติอยู่ คือ นั่งสมาธิแล้วพยายามให้เกิดตัวพองๆใหญ่ๆ อยู่บ่อยๆ

    ก็ต้องไม่สนใจมัน วางใจให้เป็นกลาง จะตัวพองหรือตัวไม่พอง ไม่ต้องไปสนใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กันยายน 2014
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    หัวข้อกระทู้นั้น เป็นอาการ ปิติ ครับ ไม่ต้องไปแปลกใจอะไร

    ให้รับรู้แล้ว ปล่อยวาง อยู่กับคำภาวนาต่อไปครับ

    ถ้าไปติด มัวแต่ไปสนใจตามดู อาการปิติพวกนี้ ก็จะติดอยู่แค่นี้ละ มันจะไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าเราจะเลิกนั่ง แล้วก็ออกมาสงสัย ติดในกรรมฐานอีก ว่าอาการเหล่านั้นคือ อะไร ทำให้ขวางผลการปฏิบัติครับ

    จะตัวใหญ่ ก็ปล่อยให้มันใหญ่ไป มันจะใหญ่ ๆ กว่าโลก ทะลุออกไปอวกาศ ก็ไม่ต้องไปสนใจ ครับ มันเป็นแค่อาการทางใจ เฉยๆ

    ให้รับรู้ แล้วปล่อยวาง ไม่ต้องไปสนใจอาการ ปิติ เหล่านี้ครับ

    ส่วนเรื่อง ลมหายใจนั้น เราไม่ต้องไปตั้งใจ หรือ บังคับ อะไร มันจะเป็นอย่างไร ก็เป็นไปตาม องค์ในสมาธิในกรรมฐาน ที่ปฏิบัติเองครับ ให้ละอาการที่ต้องการไว้

    แล้วให้มีสติ จดจ่ออยู่กับ คำภาวนา ครับ

    เวลาปฏิบัติกรรมฐาน ต้องรักษา อารมณ์หนึ่ง ไม่มีสอง มีสติ จดจ่ออยู่กับกรรมฐานที่ปฏิบัติ อย่าให้ฟุ้งซ่าน หลุดออกจากคำภาวนา ไปจับอารมณ์อื่น ก็จะกลายเป็น สอง สาม สี่ ทำให้ จิตไม่นิ่ง เพราะส่งออกไปจับอารมณ์อื่นแทน มันก็เลยฟุ้งซ่าน

    ถ้าไปจับอารมณ์ เสวยอารมณ์อื่นๆ ฟุ้งซ่าน ปิติ อารมณ์อยากหยุดหายใจ บลาๆๆ มัน ก็ คลาดจากกรรมฐาน เพราะเราไปจับอาการอื่นที่ไม่ใช่กรรมฐานที่เราปฏิบัติ มันก็เลย คลาดจาก อารมณ์หนึ่ง ไม่สามารถรักษาอารมณ์หนึ่ง ได้นั้นเองครับ

    ถ้ารู้ตัวว่าหลุดจากคำภาวนาก็กลับมาที่คำภาวนา ครับ รักษาอารมณ์หนึ่ง จิตสงบ สงบลงไปเรื่อยๆ จากนิวรณ์5 จนจิตเป็นสมาธิ ครับ

    ตอนปฏิบัติ อย่าให้เกิดความอยาก อยากในอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้นครับ

    ให้มีสติ อยู่กับคำภาวนาในกรรมฐานที่ปฏิบัติ ครับ
    .
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    ก็ธรรมดาแห่งธรรมชาติ คือ ทั้งเนื้อทั้งตัว ทั้งจิตใจ ทั้งลมหายใจ ... มันเป็นยังงั้น มันก็เป็นยังงั้นตามธรรมดาของมัน หน้าที่ของผู้ปฏิบัติ คือ กำหนดตามที่มันเป็น เป็นยังไงก็รู้ยังงั้น
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ลมหายใจไม่มี

    ขณะทำสมาธิ จะเกิดอะไรขึ้นก็ช่างมัน ให้สนใจลมหายใจอย่างเดียว

    ถาม : เวลาเราทำสมาธิ เกิดนิมิตอะไรขึ้น เราจะทราบได้อย่างไรว่า..?

    ตอบ : จะเกิดอะไรขึ้นก็ช่างมัน ให้สนใจลมหายใจของเราอย่างเดียวก็พอ ถ้าลมหายใจไม่มีให้รู้ว่าไม่มี คำ ภาวนาไม่มีให้รู้ว่าไม่มี นิมิตต่าง ๆ ให้ถือว่าเป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แต่เรายิ่งไม่สนใจภาพก็จะยิ่งชัด จะกวนให้เราสนใจให้ได้

    ถาม : แล้วเราจะวางกำลังใจอย่างไรคะ ?

    ตอบ : รับรู้ไว้ด้วยความเคารพ แล้วก็กองไว้ตรงนั้นแหละ ยกเว้นว่า เป็นนิมิตที่ตรงกับกองกรรมฐาน เช่น เราใช้พุทธานุสติอยู่ จับภาพพระพุทธรูปเป็นนิมิต เมื่อภาพพระปรากฏก็จับภาพต่อไปเลย ถ้าไม่ตรงกับกองกรรมฐานก็ไม่ต้องไปสนใจ



    สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
    ณ บ้านวิริยบารมี เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕


    ที่มา : เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ - หน้า 3 - กระดานสนทนาวัดท่าขนุน


    อาการตกใจเมื่อทำสมาธิ <hr style="color:#998049; background-color:#998049" size="1"> ถาม : เวลาจิตจะสงบต้องสะดุ้ง..?
    ตอบ : จริง ๆ แล้วเขาไม่ให้สนใจข้างนอก ให้ใจเราอยู่กับลมหายใจเข้าออกเท่านั้น

    อาการ สะดุ้ง อาการตกใจ ก็คือการที่เราส่งจิตออกไปที่อื่น พอเกิดอะไรกระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย จิตจะรีบวิ่งกลับมาเพื่อที่จะรับรู้อาการนั้น อาการที่จิตวิ่งกลับมาเร็วเกินไป เป็นอาการที่เราเรียกว่า "ตกใจ"

    เพราะฉะนั้น ถ้าใจจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้า-ออกไม่ไปไหน ต่อให้ฟ้าผ่าข้างหูก็ไม่ตกใจหรอก แสดงว่าเราส่งใจออกไปโดยไม่รู้ตัว

    ส่วนอีกอย่างหนึ่งจะมีอาการหวิวเหมือนกับตกจากที่สูง อาการนั้นจิตเราเริ่มจะเป็นฌานอย่างหยาบแล้ว แต่เกาะไม่ติดพลัดหล่นลงมา เป็นอาการที่เรียกว่า "พลัดจากฌาน" จะวูบเหมือนตกจากที่สูง อันนั้นใกล้จะได้ดีแล้วตั้งหน้าทำใหม่อีกสักพักก็จะเป็นฌานไปเลย


    ถาม : ...
    ตอบ :ให้เรารับรู้อาการนั้นไว้เฉย ๆ ไม่ต้องไปสนใจว่าเป็นอะไร รู้ว่าเป็นอย่างนั้นก็พอ

    ถ้ายังมีลมหายใจเข้า-ออก ให้จับลมหายใจเข้าออก ถ้ายังมีคำภาวนาให้จดจ่ออยู่กับคำภาวนา ถ้าไม่มีลมหายใจ ไม่มีคำภาวนาก็ให้รับรู้ไว้เฉย ๆ ว่าตอนนี้อาการเป็นอย่างนั้น

    ถ้า เราไปสนใจมาก ๆ ก็จะไม่ก้าวหน้า แต่ถ้าเรารับรู้ไว้เฉย ๆ แค่รู้ว่าเป็นอะไรก็รับรู้ไว้เท่านั้น ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นและไม่อยากให้หายจากอาการอย่างนั้น เดี๋ยวก็จะก้าวหน้าไปเอง

    สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕
     
  7. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ก็ทำแบบๆนี้ให้ได้ทุกวันครับ อาการที่จิตสบายแล้วเกิดปิติ เปนอาการขั้นแรกก่อนที่จิตจะเริ่มเข้าสู่สมาธิ แต่ถ้าไม่เกิดปิติ ก้ไม่เปนไรนะ เพราะจริงๆ ที่หลักๆก้คือตามรู้ลมหายใจของเราเพียงอย่างเดียว ทำได้เท่านี้ ถือว่าถุกทางแล้ว
    คือให้ตัวเองรู้ว่ามีลมอยู่ กับ ให้รู้ว่าลมนั้นขาดหายไปแล้ว เพียงแต่ว่า ลมจะหายไปตอนไหน เปนสิ่งที่บังคับไม่ได้ครับ เปน "อนิจจัง"

    ลมจะขาดหรือไม่ขาด ก้คงเปนเรื่องของมัน มันเปนของไม่แน่ นั่งเรื่อยๆ ลมเบาๆละเอียดมากๆ ก้เหมือนลมขาด แต่พอดูมันว่ามันลมจะหายไปไหน ลมกัยังมีอยู่มีอย่ เหมือนกับไม่ดับไม่ขาดไป
     
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ถามจริง ๆ ว่า ในขณะที่รู้สึกว่า ตัวใหญ่ นั้้น มันเป็นอาการ "คับแน่น อึดอัด" จริงหรือเปล่า (เป็นทุกข์) หรือเป็นอาการ "หนักแน่น มั่นคง" กันแน่

    +++ หากคุณใช้ภาษาได้ถูกต้อง "ตรงตามอาการ" คือ "คับแน่น อึดอัด" ก็แสดงว่า "การฝึกของคุณ ทำให้คุณตกลงสู่ อบายภูมิ" ก็ควร "เลิกฝึกได้แล้ว" เพราะฝึกแล้ว "เข้าสู่ทุกข์" ไม่ใช่ทาง "พ้นทุกข์ได้เลย"

    +++ ขอถามย้ำอีกสักครั้งว่า "คุณใช้ภาษา ที่ถูกต้อง ตรงตามอาการแน่แล้วหรือ" หากคำตอบของคุณคือ "คุณใช้ภาษาได้ถูกต้องแล้ว" ผมก็แนะนำให้ "เลิกฝึกเสีย จะปลอดภัยกว่า"

    +++ อาการจริง ๆ ที่เกิดขึ้นกับคุณนั้น น่าจะเป็น "หนักแน่น มั่นคง" มากกว่าที่จะเป็น "คับแน่น อึดอัด" ซึ่งผลลัพธ์มัน "ชี้กันไปคนละทาง"

    +++ อาการเดียวกัน แต่ "ใช้คำพูดที่เบี่ยงเบน ไปคนละทาง" จะให้ผลลัพธ์ดังนี้

    +++ อาการ "คับแน่น อึดอัด" นั้น ระบุชี้ชัดตายตัวลงไปว่า "อบาย" ไม่ใช่ "สบาย หรือ สุขายะ" นั่นชี้ไปที่ "อบายภูมิ"

    +++ หากเป็นอาการ "หนักแน่น มั่นคง" แล้ว อาการที่เกิด จะตรงกับคำพูดที่ว่า "หนักแน่นประดุจ แผ่นดิน แผ่นผา" อันเป็นสมาธิที่ "ทรงพลัง" อย่างยิ่ง

    +++ คำพูดที่ "ไม่ชี้ ตรงตามอาการที่ถูกต้อง นั้น จัดเป็น วิบากกรรมประการหนึ่ง" ที่สามารถเข้ามา "ตัดรอน" สภาวะธรรมอันควรจะได้ ก็จะทำให้เกิดอาการ "เบี่ยงเบน" แล้วผลคือ "ไม่ได้รับ ธรรมที่สมควรรับ"

    +++ ดังนั้น "วาจากรรม ที่ถูกต้องตรงกับอาการ" ก็จะได้รับคำตอบ "ที่ถูกต้อง ตรงตามความต้องการ"

    +++ ดังนั้นเรื่อง คำถาม-ตอบ ในทางธรรมนั้น หากใช้คำพูดผิดไปเพียงนิดเดียว อาจ "ร่วงจากฟ้า ลงไปยัง หลุมดำอันลึกล้ำได้" (สัมมาวาจา = พูดถูกต้องตรงทาง)(มิจฉาวาจา = พูดไม่ถูกต้องผิดทาง) ลอง "ขัดเกลาคำถามเสียใหม่ อีกสักที" ว่า มันเป็น "คับแน่น อึดอัด" หรือ "หนักแน่น มั่นคง" กันแน่ นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...