เรื่องเด่น นาซ่าส่งยานสำรวจมุ่งศึกษาแผ่นดินไหวบนดาวอังคาร

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 5 พฤษภาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b887e0b8a2e0b8b2e0b899-e0b8ade0b8b4e0b899e0b984e0b88be0b895e0b98c-e0b980e0b888e0b8b2e0b8b0-jpg.jpg


    1024_igh9i9ab95g7fkhha87cj.jpg

    นาซ่าส่งยานสำรวจมุ่งศึกษาแผ่นดินไหวบนดาวอังคาร
    องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือ (นาซา) ส่งยานอินไซท์ (InSight) ไปลงจอดบนดาวอังคารแล้ว ด้วยยานอินไซท์ ทะยานไปพร้อมกับจรวดแอตลาส 5 จากฐานทัพอากาศแวนเดนเบิร์ก รัฐแคลิฟอร์เนียเวลา 04.05 น.วันนี้ตามเวลาแปซิฟิก

    ยานอินไซท์ ทะยานไปพร้อมกับจรวดแอตลาส 5 จากฐานทัพอากาศแวนเดนเบิร์ก รัฐแคลิฟอร์เนียเวลา 04.05 น.วันนี้ตามเวลาแปซิฟิก ตรงกับเวลา 18.05 น.ตามเวลาในไทย นับเป็นครั้งแรกที่นาซาส่งยานสำรวจอวกาศจากฐานส่งชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐ


    ตามกำหนดที่วางไว้ ยานอินไซท์จะเดินทาง 485 ก.ม. และลงจอดบนดาวแดงในวันที่ 26 พฤศจิกายน

    โครงการมูลค่า 993 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 31,776 ล้านบาท) มุ่งเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับสภาพชั้นในของดาวอังคาร เพื่อเตรียมส่งนักสำรวจไปที่นั่นภายในคริสต์ทศวรรษที่ 2030 หรือหลังปี 2573 และเพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าดาวเคราะห์หินรวมทั้งโลก ก่อกำเนิดเมื่อหลายพันล้านปีก่อนได้อย่างไร

    1024_775bgcdb8icbafih8586c.jpg

    จิม กรีน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของนาซา กล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญทราบว่าดาวอังคารมีแผ่นดินไหว หิมะถล่มและอุกกาบาตพุ่งชน แต่นาซาต้องการรู้ความถี่และแนวโน้มการเกิดแผ่นดินไหว เพราะเป็นข้อมูลจำเป็นต่อการส่งคนไปสำรวจ

    อุปกรณ์สำคัญในภารกิจนี้คือ เครื่องตรวจวัดความไหวสะเทือน ผลิตโดยสำนักงานอวกาศฝรั่งเศส โดยหลังจากลงจอดแล้ว ยานจะยื่นแขนกลติดตั้งเครื่องวัดนี้บนพื้นผิวดาวอังคารโดยตรง

    นักวิทยาศาสตร์นาซา ระบุว่าภารกิจนี้สำคัญยิ่งยวด เนื่องจากเรากำลังจะได้ยินเสียงหัวใจของดาวอังคารเต้นด้วยเจ้าเครื่องนี้

    อีกอุปกรณ์สำคัญคือ เครื่องวัดความร้อนใต้พื้นผิว ที่สำนักงานอวกาศเยอรมนีร่วมกับสำนักงานอวกาศโปแลนด์ผลิตขึ้น โดยยานจะเจาะลงไปใต้พื้นผิวดาวอังคารประมาณ 3-5 เมตร ลึกกว่ายานสำรวจดาวอังคารลำอื่น 15 เท่า

    1024_egg7abgbhk9699bbkhk7c.jpg

    อุณหภูมิ ณ จุดลงจอดของยานอินไซท์ คาดว่าอยู่ระหว่าง ลบ 100 ถึง ลบ 20 องศาเซลเซียส

    ส่วนอุณหภูมิใกล้เส้นศูนย์สูตรดาวอังคารในฤดูร้อนตอนกลางวัน อาจแตะ 20 องศาเซลเซียส แต่ตอนกลางคืน จะติดลบ 100 องศาเซลเซียส

    การศึกษาทำความเข้าใจอุณหภูมิบนดาวอังคารจึงมีความสำคัญมาก สำหรับการส่งนักสำรวจไปดาวอังคารภายในคริสต์ทศวรรษที่ 2030 หรือ 2573 เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานและอยู่รอดได้

    ระบบพลังงานของยาน ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์และแบตเตอรีที่ออกแบบใช้งานนาน 26 เดือนตามเวลาบนโลก หรือ 1 ปีบนดาวอังคาร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คาดว่าจะตรวจวัดแผ่นดินไหวได้ราว 100 ครั้ง


    ขอบคุณที่มา
    http://www.nationtv.tv/main/content/378623247/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 พฤษภาคม 2018
  2. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    b988e0b887e0b8a2e0b8b2e0b899-e0b8ade0b8b4e0b899e0b984e0b88be0b895e0b98c-e0b980e0b888e0b8b2e0b8b0.jpg


    นาซายิงจรวดส่งยานสำรวจไปดาวอังคาร เพื่อฝังอุปกรณ์ตรวจสอบแผ่นดินไหวบนดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ ซึ่งอาจไขปริศนาชั้นหิน รวมทั้งการกำเนิดของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะได้…

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา ของสหรัฐฯ ยิงจรวดแอตลัสจากฐานทัพอากาศ วานเดนเบิร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย นำยานสำรวจ ‘อินไซต์’ (InSight) ไปยังดาวอังคารแล้วเมื่อเวลาประมาณ 4:05น. วันเสาร์ที่ 5 พ.ค. เพื่อปฏิบัติภารกิจสำรวจชั้นหินภายในดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้

    ยานสำรวจลำนี้จะเดินทางถึงดาวอังคารในวันที่ 26 พ.ย.ปีนี้ โดยยานจะฝังเครื่องตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว หรือ ไซส์โมมิเตอร์ (seismometer) ลงบนพื้นผิวดาวอังคารเพื่อรับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว ซึ่งแรงสั่นสะเทือนเหล่านี้อาจทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าชั้นหินในดาวอังคารเป็นอย่างไร และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับชั้นหินบนโลก ก็อาจเผยความลับการกำเนิดของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลเมื่อราว 4,600 ล้านปีก่อนได้

    ด้านดร. บรูซ แบเนิร์ดต์ ผู้อำนวยการสืบสวนของภารกิจอินไซต์ระบุว่า หลังจากพวกเขารวบรวมข้อมูลแผ่นดินไหวบนดาวอังคารจากหลากหลายทิศทางได้มากพอแล้ว พวกเขาก็จะสามารถนักข้อมูลทั้งหมดมาประกอบเป็นแผนที่สภาพภายในดาวอังคารในรูปแบบ 3มิติ

    ทั้งนี้ นาซาเคยพยายามส่งไซส์โมมิเตอร์ไปยังดาวอังคารมาแล้วหลายครั้งในช่วงปี 1970 แต่ภารกิจทั้งหมดไม่สามารถตรวจจับแรงสั่นสะเทือนได้ เพราะเครื่องมือติดตั้งอยู่บนยาน ไม่ได้ฝังไว้บนผิวดาว


    ขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/content/1274052
     

แชร์หน้านี้

Loading...