นาซ่าเนรมิตดาวอังคารให้เหมือนโลก

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 23 พฤศจิกายน 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    นักวิจัยนาซาคิดวิธีเนรมิตดาวอังคารให้เป็นโลกอันอบอุ่นน่าอยู่ โดยปล่อยบอลลูนกระจกให้โคจรรอบดาวอังคาร สะท้อนแสงแดดอันอบอุ่นลงมา ให้มีสภาพแวดล้อมเหมือนผิวโลก เพื่อให้นักบินอวกาศลงไปสำรวจโดยไม่ต้องสวมชุดเทอะทะ

    [​IMG] [COLOR=#00000] ทั้งนักวิทยาศาสตร์และนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ต่างฝันกันมานานแล้วว่าจะทำให้ดาวอังคาร ซึ่งเป็นดาวเคราะห์อันดับสี่ของระบบสุริยะและมีอากาศหนาวเย็น ให้กลายเป็นโลกที่มนุษย์สามารถไปดำรงชีวิตอยู่ได้ วิธีที่คิดกันก็มีอย่างเช่น เทคนิคทำให้ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารหนาแน่นขึ้น และทำให้อุ่นขึ้น แต่การเปลี่ยนให้ดาวอังคารทั้งดวงมีสภาพเหมือนโลกคงใช้เวลาเป็นศตวรรษ และอาจต้องใช้ทรัพยากรมหาศาล
    ไรเจลวอยดา นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยอริโซนา สหรัฐ ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ ให้กับบางพื้นที่บนดาวอังคาร โดยใช้แผนกระจกที่โคจรอยู่รอบดาวอังคารสะท้อนแสงอาทิตย์ลงมาให้ความอบอุ่น
    ไอเดียของเขาก็คือใช้บอลลูนสะท้อนแสงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 150 เมตร 300 ลูกเรียงต่อกันให้มีความยาว 1.5 ตารางกิโลเมตรลอยอยู่เหนือดาวอังคาร กระจกจะทำหน้าที่สะท้อนแสงอาทิตย์ลงบนพื้นดาวแห่งนักรบดวงนี้
    กระจกจะสะท้อนแสงลงมาครอบคลุมพื้นที่ยาว1 กิโลเมตร ทำให้อุณหภูมิที่แสนหนาวเหน็บของดาวอังคารอบอุ่นสบายที่ประมาณ 20 องศาเซลเซียส จากเดิมที่เย็นสุดขั้วตั้งแต่ ลบ 140 องศาถึงลบ 60 องศาเซลเซียส
    อากาศที่อบอุ่นขึ้นเท่ากับว่านักบินอวกาศไม่ต้องสวมชุดที่บุฉนวนหนาและหนัก ช่วยให้การปฏิบัติภารกิจจึงสะดวกขึ้น นอกจากนี้แสงอาทิตย์ที่สะท้อนลงมาจากบอลลูนกระจก ยังใช้ผลิตไฟฟ้าให้กับแผงโซล่าร์เซลล์ได้ด้วย อุณหภูมิที่อบอุ่นขึ้นยังทำให้น้ำแข็งละลาย และใช้เป็นแหล่งน้ำบริโภคสำหรับนักบินอวกาศ หรืออาจนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับทำเชื้อเพลิงเพื่อใช้เดินทางกลับโลกได้
    อยางไรก็ดีมาร์การิต้า มาริโนวา จากสถาบันเทคโนโลยีคาลเท็กซ์ในสหรัฐ ไม่แน่ใจว่าการปล่อยบอลลูนในอวกาศจะเป็นได้จริงแค่ไหน โดยอ้างถึงการทดลองที่ล้มเหลวเมื่อปี 2539 หลังจากกระสวยอวกาศพยายามกางแผงโซล่าร์เซลล์ในอวกาศ แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะโซ่ขาดเสียก่อน ดังนั้น การส่งบอลลูนกระจกให้ลอยโคจรรอบดาวอังคารจึงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ
    นอกจากนี้ถ้าออกแบบไม่รัดกุมพอ แทนที่กระจกจะส่องแสงสว่างที่พอเหมาะ อาจสะท้อนรังสีคลื่นความถี่สูงอย่างเช่น รังสีแกมมาลงบนผิวดาวอังคารได้ ชั้นบรรยากาศของดางอังคารเองก็บางเบาจึงไม่สามารถกรองรังสีได้เหมือนบรรยากาศโลก ดังนั้น ตัวบอลลูนกระจกจึงต้องเคลือบด้วยสารที่สะท้อนเฉพาะคลื่นรังสีที่มองเห็นได้ และรังสีอินฟราเรดเท่านั้น
    <TABLE><TBODY></TBODY></TABLE>[/COLOR]
     

แชร์หน้านี้

Loading...