นามธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย digimon1234, 31 มีนาคม 2018.

  1. digimon1234

    digimon1234 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +35
    ถ้าเราเข้าใจและรู้ความหมายในนามธรรม จะทำให้เราเข้าใจในโลก สังคม และอนาคตทีกำลังจะเกิดจริงหรือเปล่า
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    ทำให้ช่วยอยู่กับโลกได้อย่างแยบยล...ครับ..
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    นามธรรม ละเอียด กว่า รูปธรรม

    ถ้า ละ นามธรรมได้

    ก้จะไม่เวียน ไปในโลกไหนๆ อีก
     
  4. ชั่งเถอะ

    ชั่งเถอะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2017
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +339
    ต้องเห็นรูปและนามครับ เห็นรูปพร้อมเห็นนาม เข้าใจทั้งรูปและนามจึงละได้ เข้าใจแต่นามอย่างเดียวไม่ได้ เมื่อเห็นจริงๆ มันจะต้องเห็นพร้อมกัน เห็นรูปจริง แต่ตอนต้น ก่อน แต่ก็จะยังละรูป ก่อนไม่ได้อยู่ดี เพราะมันไม่เข้าใจจริงๆ ในรูปว่าเป็นอย่างไร
     
  5. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ถ้าเข้าใจแค่นามรูปมันไม่เพียงพอ
    ต่อการเข้าใจเหตุแห่งทุกข์

    ถ้าเข้าใจการทำงานของจิตจะเข้าใจทุกอย่าง
    เหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิดของหมู่สัตว์
    ก็มาจากจิตที่ยังไม่สิ้นอาสวะ
     
  6. กล่องไม้ขีดไฟ

    กล่องไม้ขีดไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,859
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,815
    ในปฏิจจมุปบาท
    อธิบายไว้ชัดอะไรเป็นเหตุเกิดนามรูป
     
  7. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    คำถามยาก ตอบไม่ได้ เป็นคำถามของปลายทางเลย
    ลองมองดูต้นทางก่อนดีกว่า ลองทำความเข้าใจว่าทำไมจึงมีความต้องการต่างๆ
    เริ่มจากตัวเราก่อน ความต้องการไหนที่ต้องมี ความต้องการไหนที่ไม่มีก็อยู่ได้
     
  8. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    แน่นอนว่าท่ารู้ว่านามธรรมเกิดขึ้นเช่นไร มีอาการเช่นไร เพราะเหตุปัจจัยใดย่อมรู้ทางดับทุขและไม่ยึดติดอยู่ไม่จมแช่อยู่ในอาการของนามธรรมเหล่านั้น

    รูปธรรม และนามธรรม ย่อมเกิดขึ้นด้วย ธาตุและวิญญานประชุมรวมกัน
    เพราะเหตุอวิชาเป็นปัจจัยการเข้ายึดตัวตนก้เกิดขึ้น
    โลกธาตุนี้มีการประชุมรวมกันทั้งรูปและนาม(จิต)ที่เกิดขึ้นตั้งขึ้นและดับไป
    ก้ด้วยมีตันหาฯลฯ เป็นเครื่องผูกใจให้เกิดขึ้น ท่าสิ้นตันหาและอวิชา
    ภพก้ดับลงไม่มีเครื่องร้อยรัดไม่มีเครื่องผูกไม่มีผู้สร้างเรือนขึ้น
    การรู้รูปและนามธรรมทั้งหลายควรรู้ว่าไม่ใช่ตัวตนเที่ยงแท้แต่ประชุมรวมกันขึ้น เกิดขึ้น
    บังคับบันชาไม่ได้ มีอาการอย่างนั้นเอง ตั้งอยู่และดับไป ตามธาตุธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
    เกิดสุขเกิดทุข เกิด โทรมนัส โสมนัส เกิดกาม เกิดพยาบาท ก้ล้วนเกิดด้วยธรรมธาตุทั้งหลานที่แสดงอาการของมันเองอย่างนั้น
    เมื่อรู้แจ้ง นิพพานธาตุก้จะเกิดขึ้นแก่จิต
    สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ



    นวสูตร
    พ. ดูกรอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง วิญญาณประดิษฐานแล้วเพราะธาตุอย่างประณีต ของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูกรอานนท์ ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล ฯ

    พหุธาตุกสูตร
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์
    เพราะภิกษุเป็นผู้ฉลาดในธาตุ
    ฉลาดในอายตนะ
    ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท
    และฉลาดในฐานะและอฐานะ

    ดูกรอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นบัณฑิต มีปัญญาพิจารณา ฯ

    [๒๓๗] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดใน
    ธาตุ ด้วยเหตุเท่าไร ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ ธาตุนี้มี ๑๘ อย่างแล ได้แก่
    ธาตุคือจักษุ
    ธาตุคือรูป
    ธาตุคือจักษุวิญญาณ
    ธาตุคือโสต
    ธาตุคือเสียง
    ธาตุคือโสตวิญญาณ
    ธาตุคือฆานะ
    ธาตุคือกลิ่น
    ธาตุคือฆานวิญญาณ
    ธาตุคือชิวหา
    ธาตุคือรส
    ธาตุคือชิวหาวิญญาณ
    ธาตุคือกาย
    ธาตุคือโผฏฐัพพะ
    ธาตุคือกายวิญญาณ
    ธาตุคือมโน
    ธาตุคือธรรมารมณ์
    ธาตุคือมโนวิญญาณ

    ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๑๘ อย่าง ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ

    [๒๓๘] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีไหม ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่
    ธาตุคือดิน
    ธาตุคือน้ำ
    ธาตุคือไฟ
    ธาตุคือลม
    ธาตุคืออากาศ
    ธาตุคือวิญญาณ

    ดูกรอานนท์ เหล่านี้แลธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ

    [๒๓๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีอีกไหม ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่
    ธาตุคือสุข
    ธาตุคือทุกข์
    ธาตุคือโสมนัส
    ธาตุคือโทมนัส
    ธาตุคืออุเบกขา
    ธาตุคืออวิชชา

    ดูกรอานนท์เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ

    [๒๔๐] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า
    ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีอีกไหม ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๖ อย่าง ได้แก่
    ธาตุคือกาม
    ธาตุคือเนกขัมมะ
    ธาตุคือพยาบาท
    ธาตุคือความไม่พยาบาท
    ธาตุคือความเบียดเบียน
    ธาตุคือความไม่เบียดเบียน

    ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๖ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ

    [๒๔๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่า
    ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีอีกไหม ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๓ อย่าง ได้แก่
    ธาตุคือกาม
    ธาตุคือรูป
    ธาตุคืออรูป

    ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๓ อย่าง แม้ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ

    [๒๔๒] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่น ที่ควรเรียกว่าภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ จะพึงมีอีกไหม ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ มี ธาตุนี้มี ๒ อย่าง คือ
    สังขตธาตุ
    อสังขตธาตุ

    ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล ธาตุ ๒ อย่าง แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ ฯ

    [๒๔๓] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็จะควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ ด้วยเหตุเท่าไร ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ อายตนะทั้งภายในและภายนอกนี้ มีอย่างละ ๖ แลคือ
    จักษุและรูป
    โสตและเสียง
    ฆานะและกลิ่น
    ชิวหาและรส
    กายและโผฏฐัพพะ
    มโนและธรรมารมณ์

    ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล อายตนะทั้งภายในและภายนอกอย่างละ ๖ แม้ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอายตนะ ฯ

    ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ
    สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียวดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบเวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมี
    ตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2018

แชร์หน้านี้

Loading...