นิพพานเป็นอย่างไร มีแต่ไม่ทุกข์ หรือ ไม่มีจึงไม่ทุกข์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย TKKH, 19 เมษายน 2009.

  1. TKKH

    TKKH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +554
    จุดมุ่งหมายสูงสุดของพุทธศาสนาคือ
    " นิพพาน"
    สำหรับนิยามของคำว่า นิพพาน ของข้าพเจ้านั้น คือ​

    "ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ นิพพาน คือความดับสนิทแห่งเหตุปัจจัยนั้น"

    ดังนั้น นิพพาน ของข้าพเจ้าจึงได้ชื่อว่า
    เป็นความดับแห่ง อวิชชา
    เป็นความดับแห่งสังขาร
    เป็นความดับแห่ง วิญญาณ
    เป็นความดับแห่งนามรูป
    เป็นความดับแห่งสฬายตนะ
    เป็นความดับแห่งผัสสะ
    เป็นความดับแห่งเวทนา
    เป็นความดับแห่งตัณหา
    เป็นความดับแห่งอุปาทาน
    เป็นความดับแห่งภพ
    เป็นความดับแห่งชาติ
    เป็นความดับแห่งชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส
    หรือชื่ออื่นๆโดยนัยนี้(ไวพจน์)

    นิพพานมี ๒ อย่างคือ​

    ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ยังมี อุปทิเหลือ คือ ยังมีเบญจขันธ์ที่วิบากกรรมยังสามารถถือครองหรือให้ผลได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ เหตุปัจจัยที่จะนำให้เกิดมีเกิดเป็นในชาติใหม่ดับแล้ว หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว แต่ชีวิตหรือเบญจขันธ์ในชาตินี้ยังไม่ดับ เป็นนิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ คือ
    - อวิชชา คือ ความไม่รู้ดับไปยังมีแต่วิชชาคือความรู้แจ้ง
    - สังขาร คือ อปุญญาภิสังขาร(ความปรุงแต่งฝ่ายชั่ว)ดับไป ยังมีแต่ปุญญาภิ สังขาร(ความปรุงแต่งฝ่ายดี) และอาเนญชาภิสังขาร(ความปรุงแต่งอันไม่ดีไม่ชั่ว)
    - วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ ยังมีอยู่
    - เวทนา คือ โทมนัส(ความทุกข์ทางใจ)ดับไป ยังมี โสมนัส(ความสุขทางใจ) มี สุข(ความสุขทางกาย) มี ทุกข์(ความทุกข์ทางกาย) และมี อุเบกขา(ความไม่สุขไม่ทุกทางกายและใจ) แต่ไม่มีความยึดติดกับเวทนานั้นๆ
    - ตัณหา อุปาทาน ดับไปเพราะมีวิชชา หรือเพราะอวิชชาดับไป
    - ภพ คือ ภพอันเป็นแดนเกิดในภายหน้าดับไป ยังมีแต่ปัจจุบันภพ(สภาวะปัจจุบัน)ยังไม่ดับ
    - ชาติ คือ ความเกิดต่อไปในภพหน้าดับไป
    - ชรา มรณะ ยังมีอยู่ โสกะ คือ ความเศร้าโศก ดับไป ปริเทวะ คือ ความคร่ำครวญรำพัน ดับไป ทุกขะ คือ ความทุกข์ทางกายยังมีอยู่ โทมนัส คือ ความทุกข์ทางใจดับไป อุปายาส คือ ความคับแค้นใจ ดับไป
    นี่คือนิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ พระพุทธองค์ท่านอุปมาเหมือน กับผู้ทีถูกยิงด้วยลูกศรดอกหนึ่ง พึงได้รับทุกข์อันเกิดจากลูกศรดอกนั้น แต่ลูกศรอีกดอกหนึ่งพลาดไป คือ พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น เพราะขันธ์ ๕ ยังมีอยู่ ย่อมถูก ผัสสะ ซึ่งมีทั้งที่พึงปรารถนา และไม่พึงปรารถนา ทางหู ตา จมูก ลิ้น และทางกายกระทบเอา ย่อมถูก อิฎฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่พึงพอใจ และอนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่พึงพอใจ กระทบใจอยู่ เมื่อมี ผัสสะ ก็ย่อมมีเวทนา แต่เวทนา คือ ความทุกข์ทางใจ ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ และความคับแค้นใจนั้นไม่มี และแม้ว่าจะได้ประสบกับความสุขทางกายหรือความสุขทางใจก็ไม่ยึดติดกับสุขนั้นๆ เพราะมีวิชชาคือความรู้เท่าทันอยู่ มีอาสวักขยญาณ คือ ความสิ้นไปแห่งอาสวะดำรงอยู่ มีอุเบกขามั่นคงอยู่ เป็นลักษณะที่เรียกว่า“มีแต่ไม่ทุกข์”

    ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานที่ไม่มีอุปธิเหลือ คือ ไม่มีเบญจขันธ์ที่วิบากกรรมยังสามารถถือครองหรือให้ผลได้แล้ว หรืออีกนัยหนึ่งคือ เหตุปัจจัยที่จะนำให้เกิดมีเกิดเป็นในชาติใหม่ดับแล้ว หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว และชีวิตหรือเบญจขันธ์ในชาตินี้ดับแล้ว เป็นนิพพานของพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้ว(เสียชีวิตแล้ว) คือ ความดับสนิทโดยรอบของ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณโสกปริเทวทุกขมอุปายาส ไม่เกิดมี เกิดเป็นในสภาวะใดๆ หรือในแดนเกิดใดๆอีก นี่คือ นิพพานของพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้ว เป็นลักษณะที่เรียกว่า “ไม่มีจึงไม่ทุกข์”
    อุปมาเหมือนกับมนุษย์โดยธรรมชาติแล้วไม่มีหาง เมื่อไม่มีหางมนุษย์จึงไม่รู้สึกเจ็บหาง ไม่รู้สึกเย็นหาง ไม่รู้สึกร้อนหาง หรือถูกผัสสะ ซึ่งมีทั้งที่พึงปรารถนา และไม่พึงปรารถนา กระทบหาง ย่อมไม่ถูก อิฎฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่พึงพอใจ และอนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่พึงพอใจ ในหางมากระทบใจ เมื่อไม่มี ผัสสะ ก็ย่อมไม่มีเวทนา เมื่อไม่มีเวทนา ความทุกข์ทางใจ ความเศร้าโศก ความคร่ำครวญ และความคับแค้นใจ อันเนื่องมาจากหางย่อมไม่มี

    ความเห็นของข้าพเจ้านั้นถูกผิดประการใด ขอผู้รู้ท่านกรุณาให้คำชี้แนะหน่อยครับ​

    เชิญพบกับเว็บไซต์ที่รวบรวมเรื่องราวกรณีศึกษาผู้ที่จำอดีตชาติได้ไว้เป็นจำนวนมากได้ที่

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2009
  2. TKKH

    TKKH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +554
    แล้วนิพพานในความหมายที่คุณเข้าใจคืออะไร
     
  3. ..กลับตัวกลับใจ..

    ..กลับตัวกลับใจ.. Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +96
    ....ไม่รู้..ไม่เข้าใจ..

    ....เพราะยังไปไม่ถึง..

    ....กำลังเดินทาง..

    ....แค่เรามีแผนที่..ที่เชื่อว่าสามารถพาเราไปได้..

    ....จุดหมายเป็นอย่างไร..

    ....ต้องได้รู้เอง..เห็นเอง..

    ....ไม่ปักใจกับคำกล่าวของผู้ใด..

    ....:z8
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    :z8

    "เหมือนไปหงาย ของที่คว่ำเอาไว้เอง"
     
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    มนุษย์มีชาติ เป็นทุกข์
    สัตว์เหล่าอื่น มีชาติทุกข์บ้าง มีชาติสุขบ้าง บ้างก็เสวยทุกข์ บ้างก็เสวยสุข ตามวิบากกรรม
     
  7. ป๋าปี๋ปู้

    ป๋าปี๋ปู้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +270
    ^^.........

    มีแต่ไม่ทุกข์ หรือ ไม่มีจึงไม่ทุกข์

    มันต่างกันยังไงหราคะ

    แล้วทำไมต้องสงสัยล่ะ

    .....
     
  8. Lazaza

    Lazaza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +5,549
    มีเหมือนเดิม แต่ไม่ทุกข์เหมือนเดิม
    ยังไม่ถึงก็จริง แต่ก็สัมผัสได้ เป็นบางเวลา
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    [​IMG][​IMG] [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     
  10. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,828
    ค่าพลัง:
    +5,414
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
    พระอริยเจ้าเมื่อเข้าถึงนิพพานแล้ว เปล่งอุทานว่า สุขจริงหนอ

    นิพพานเป็บบรมสุข แต่ไม่ใช่สุขแบบโลกๆอย่างเราคุ้นเคย เป็นความสงบ ละเอียด ปราณีต ยากที่ผู้ที่เข้าไม่ถึงกระแสนิพพานจะเข้าใจได้ แต่ก็พอเทียบเคียงได้ เช่นสุขที่ปลอดจากกาม ละสุขจากกามคุณอันเป็นของโลกได้ก็จะพบสุขจากความสงบที่ปราศจากกาม ซึ่งละเอียด ปราณีตกว่าความสุขจากกามหลายเท่า ซึ่งหลายท่านก็ได้พบเจอแล้วในระหว่างทาง ซึ่งนิพพานนั้นเลิศไปอีกมากมายนัก เพราะปลอดจากกิเลศ เครื่องเศร้าหมองทุกอย่าง ที่เป็นตัวบั่นทอนความสุขที่แท้จริง กิเลสหลอกให้เราเข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นความสุข แต่จริงแล้วกลับเป็นสุขที่จอมปลอมเพราะปรุงแต่งโดยเหตุปัจจัย ทำให้ไม่พบสุขที่แท้จริง แต่สุขในนิพพานนั้นเป็นสุขที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นสุขด้วยตัวเอง สงบ สมบูรณ์ ไม่ต้องดิ้นรนใดๆอีก
     
  11. kwamawauyo

    kwamawauyo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    499
    ค่าพลัง:
    +64
    อ่านแล้วมึน สงสัยบารมีไม่ถึง
     
  12. วังชะโอน2551

    วังชะโอน2551 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +322
    พระนิพพานไม่ใชภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาเขียน แต่เป็นภาษาปฏิบัติ
     
  13. ดับ

    ดับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2009
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +533
    นิพพานะ ปัจจะโย ปัจจุปันนัง กาเล โหตุ
     
  14. Likely

    Likely เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    4,151
    ค่าพลัง:
    +3,821
    เจอแล้ว....55555555555555 ไปหลบอยู่ตั้งนาน^-^
     
  15. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,828
    ค่าพลัง:
    +5,414
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER>
    </PRE>

    <CENTER>๓. ยมกสูตร</CENTER>
    </PRE>

    <CENTER>ว่าด้วยพระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่</CENTER>
    </PRE>

    [๑๙๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่าเราย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก. ภิกษุหลายรูป ได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเป็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
    ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงพากันเข้าไปหาท่านยมกภิกษุถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกภิกษุ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยชวนให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว จึงถามท่านยมกภิกษุว่าดูกรท่านยมกะ ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิอันชั่วช้า เห็นปานนี้ว่า เรารู้ว่าทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีกจริงหรือ?
    ท่านยมกะกล่าวว่า อย่างนั้น อาวุโส. ภิ.
    ดูกรอาวุโสยมกะ ท่านอย่าได้พูดอย่างนั้น อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
    ท่านยมกะ เมื่อถูกภิกษุเหล่านั้นกล่าวแม้อย่างนี้ ยังขืนกล่าวถือทิฏฐิอันชั่วช้านั้น อย่างหนักแน่นอย่างนั้นว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
    ภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่อาจเพื่อจะยังท่านยมกะ ให้ถอนทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้ จึงลุกจากอาสนะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จึงกล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านสารีบุตร ยมกภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ขอโอกาสนิมนต์ท่านพระสารีบุตรไปหายมกภิกษุถึงที่อยู่ เพื่ออนุเคราะห์เถิด. ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ.
    [๑๙๙] ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้วเข้าไปหาท่านยมกะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านยมกะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านยมกะว่า ดูกรอาวุโสยมกะ ทราบว่า ท่านเกิดทิฏฐิอันชั่วช้าเห็นปานนี้ว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ดังนี้ จริงหรือ?
    ท่านยมกะตอบว่าอย่างนั้นแล ท่านสารีบุตร.
    สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ สา. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง? ย. ไม่เที่ยง ท่าน ฯลฯ
    สา. เพราะเหตุนี้นั้นแล ยมกะ พระอริยสาวกผู้ใดสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯรู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก.
    [๒๐๐] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูปว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นเวทนาว่าสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นสัญญาว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นสังขารว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นวิญญาณว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    [๒๐๑] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในรูปหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากรูปหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในเวทนาหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากเวทนาหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสัญญาหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในสังขารหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากสังขารหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีในวิญญาณหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลอื่นจากวิญญาณหรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    [๒๐๒] สา. ดูกรยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นรูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ? ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    [๒๐๓] สา. ดูกรท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นว่า สัตว์บุคคลนี้นั้นไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ หรือ?
    ย. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่าน.
    สา. ดูกรท่านยมกะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ ท่านจะค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรแลหรือที่ท่านจะยืนยันว่า เรารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก.
    ย. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร เมื่อก่อนผมไม่รู้อย่างนี้ จึงได้เกิดทิฏฐิอันชั่วช้าอย่างนั้น แต่เดี๋ยวนี้ ผมละทิฏฐิอันชั่วช้านั้นได้แล้ว และผมก็ได้บรรลุธรรมแล้วเพราะฟังธรรมเทศนานี้ ของท่านพระสารีบุตร.
    [๒๐๔] สา. ดูกรท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลาย พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมกะ ภิกษุผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนั้น จะพึงกล่าวแก้ว่าอย่างไร?
    ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่ารูปแลไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้ ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้.
    [๒๐๕] สา. ดีละๆ ยมกะ ถ้าอย่างนั้น เราจักอุปมาให้ท่านฟัง เพื่อหยั่งรู้ความข้อนั้นให้ยิ่งๆ ขึ้น. ดูกรท่านยมกะ เปรียบเหมือนคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเขารักษาตัวกวดขัน เกิดมีบุรุษคนหนึ่งประสงค์ความพินาศ ประสงค์ความไม่เป็นประโยชน์ ประสงค์ความไม่ปลอดภัย อยากจะปลงชีวิตเขาเสีย เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่าคฤหบดีและบุตรคฤหบดีนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเขามีการรักษาอย่างกวดขัน การที่จะอุกอาจปลงชีวิตนี้ ไม่ใช่เป็นการทำได้ง่ายเลย อย่ากระนั้นเลย เราพึงใช้อุบายปลงชีวิต. บุรุษนั้น พึงเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอเป็นคนรับใช้ท่าน. คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น พึงรับบุรุษนั้นไว้ใช้ เขาพึงรับใช้เรียบร้อยดีทุกประการคือ มีปรกติตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รักใคร่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น เชื่อเขาโดยความเป็นมิตร โดยความเป็นสหาย และถึงความไว้วางใจในเขา. เมื่อใด บุรุษนั้นพึงคิดว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีไว้ใจเราดีแล้ว เมื่อนั้น บุรุษนั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีอยู่ในที่ลับ พึงปลงชีวิตเสียด้วยศาตราอันคม. ท่านยมกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในกาลใด บุรุษนั้นเข้าไปหาคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีโน้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ผมขอรับใช้ท่านแม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่าว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่. ในกาลใด บุรุษนั้นตื่นก่อน นอนภายหลังคอยฟังคำสั่ง ประพฤติให้เป็นที่พอใจ กล่าวแต่วาจาเป็นที่รักใคร่ แม้ในกาลนั้น เขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่าอยู่แล้ว ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษผู้ฆ่านั้นว่า เป็นผู้ฆ่าเราไม่. และในกาลใด บุรุษนั้นรู้ว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นอยู่ในที่ลับ จึงปลงชีวิตเสียด้วยศาตราอันคมแม้ในกาลนั้น เขาเป็นผู้ฆ่านั่นเอง ก็แต่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น หารู้จักบุรุษนั้นว่าเป็นผู้ฆ่าเราไม่.
    ย. อย่างนั้น ท่าน.
    [๒๐๖] สา. ดูกรท่านยมกะ ข้ออุปมานี้ฉันใด ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในอริยธรรม ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในสัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีรูป ย่อมเห็นรูปในตน หรือย่อมเห็นตนในรูป ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสังขาร โดยความเป็นตนฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ย่อมเห็นวิญญาณในตน หรือย่อมเห็นตนในวิญญาณ. เขาย่อมไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันไม่เที่ยงว่า ไม่เที่ยง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันเป็นทุกข์ว่า เป็นทุกข์ ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันเป็นอนัตตาว่า เป็นอนัตตา ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่งว่า อันปัจจัยแต่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ อันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า. เขาย่อมเข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา. อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันปุถุชนนั้นเข้าไปถือมั่น ยึดมั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
    [๒๐๗] ดูกรท่านยมกะ ส่วนพระอริยสาวกผู้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในอริยธรรม ได้รับแนะนำในอริยธรรมดีแล้ว ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ฉลาดในสัปปุริสธรรมได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรมดีแล้ว ย่อมไม่เห็นรูป โดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ย่อมไม่เห็นรูปในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในรูป ย่อมไม่เห็นเวทนา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่เห็นสัญญา โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีวิญญาณ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ. เขาย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตาว่า เป็นอนัตตา. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ว่าปัจจัยปรุงแต่ง. ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันเป็นผู้ฆ่า ว่าเป็นผู้ฆ่า. เขาย่อมไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา. อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันอริยสาวกนั้น ไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน.
    ย. ข้าแต่ท่านสารีบุตร ข้อที่เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ของท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้เช่นนั้น เป็นผู้อนุเคราะห์ ใคร่ประโยชน์ เป็นผู้ว่ากล่าวพร่ำสอน ย่อมเป็นอย่างนั้นแท้ ก็แลจิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่น เพราะได้ฟังธรรมเทศนานี้ของท่านสารีบุตร.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...