นิพพาน แล้วไปไหน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย mackenfy, 14 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. mackenfy

    mackenfy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2011
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +2
    สั้นๆครับกับคำถามนี้ ผมอยากทราบว่านิพพานแล้วไปไหน อยู่ที่ไหน มีตัวตน มีสังขารร่างกายอย่างเช่นมนุษย์มีหรือไม่
     
  2. Phuket

    Phuket เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    499
    ค่าพลัง:
    +877
    นิพพาน คือ ความสิ้นไปของกิเลส ถ้าสิ้นกิเลส หมดเหตุให้ต้องเกิดแล้ว แล้วยังจะไปไหนอีก เมื่อเหตุให้ไฟต้องมีมันหมดไปแล้ว อย่างแก๊สหมดอย่างนี้ เหตุให้ต้องเกิดประกายไฟมันก็หมดไปแล้ว ไฟจะเกิดขึ้นได้หรือ

    เรื่องเหล่านี้ อย่าพยายามค้นหาโดยการวิเคราะห์จากการฟังแล้วมากอดอกคิดโดยการอ้างอิงตํารา มันจะไม่ได้คําตอบที่ชัดแจ้งเอา เราจะรู้ว่าส้มผลนี้หวานหรือไม่โดยการเปิดอ่านตําราที่ว่าด้วยเรื่องของส้มนั้นหรือ

    ขออุปมาอย่างนี้ เหมือนกับเรามีต้นไม้อยู่ต้นหนึ่งน่ะ ต้นไม้ต้นนี้ เรารักมันมาก เราหวงมันมาก เรายึดมั่นในต้นไม้ว่านี่คือต้นไม้ของเรา ยึดเข้าไปจนต้นไม้แทนที่จะเป็นต้นไม้ กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของเรา อันนี้สมมตินะ ลองพิจารณาดู นั้นหมายความว่า เรามีอุปาทาน มีความยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้นกับต้นไม้ อันนี้เข้าใจนะที่สมมติอย่างนี้ สมมติว่าต้นไม้นั้นคือโลกของเธอ เมื่อเธอมีความยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใด เมื่อสิ่งๆ นั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เธอไม่ชอบ เช่น ใบร่วง กิ่งหัก ฯลฯ ซึ่งมันเป็นการแปรเปลี่ยนไปตามเรื่องของมัน แต่เธอไม่รู้เท่าทัน มันก็ทุกข์ใจเข้าสิ ที่ทุกข์ก็เพราะมันยึดไว้ มันมีเหตุให้เกิดกิเลส โลภ โกรธ หลง อยู่พร้อมเต็มที่ เห็นมั้ย แต่เพียงแค่เธอไม่เห็นว่ามันน่าจะทุกข์ตรงไหน ด้วยเหตุนี้ วัฏสงสารจึงยังคงมีนั่นไง

    เอาล่ะ แต่ถ้าวันหนึ่ง เธอเริ่มได้ศึกษา เริ่มได้เรียนรู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว การที่เธอทุกข์กับการที่ใบไม้ต้องร่วงโรย ทุกข์ใจกับการที่กิ่งมันหักเหล่านี้นั้นเป็นเพราะเธอไปมีอุปาทานในมัน เมื่อทุกข์บ่อยๆ เข้าก็เริ่มเบื่อ มันก็อาจจะเกิดปัญญาขึ้นมาถามตัวเองว่า “ทำไมกูต้องกลุ้มใจอยู่เรื่อยนะ” เมื่อนั้นมันก็เริ่มที่จะคิดคลายออก เริ่มศึกษาเพื่อคลายกำหนัด เริ่มศึกษาถึงไตรลักษณ์เพื่อให้เกิดปัญญาถอนความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลายที่เธอนั้นมีกับต้นไม้ต้นนั้น เมื่อเธอถอนจนหมดความยึดมั่นถือมั่น กิเลส โลภ โกรธ หลง ตัณหาที่มีกับต้นไม้นั้นมันก็หมดไปตามลำดับ ขอถามว่า เมื่อนั้น หากกิ่งไม้หัก ใบไม้ร่วงหมดต้น เธอจะยังทุกข์ใจอยู่อีกหรือ? ถ้าต้นเหตุนั้นก็คือความยึดมั่นถือมั่นได้หมดลงไปแล้ว เมื่อต้นเหตุได้ถูกค้นพบและถูกทำลาย มันก็ไม่เกิดผลซึ่งก็คือไฟ ซึ่งก็คือกิเลสทั้งหลายนั่นเอง มันจะยังเกิดมีได้อีกหรือถ้าเหตุที่จะให้มันมีนั้นได้หมดไปแล้ว และเมื่อนั้นความสงบเย็นจึงบังเกิดขึ้น มันไม่มีความยึดมั่นถือมั่นเหนี่ยวรั้งไว้กับต้นไม้อีกต่อไป.... นี้อย่างไร คือ ความสงบเย็นหรือนิพพาน อันนี้เป็นการอุปมาเปรียบเทียบ...


    แต่คนเรานั้น มันมีอุปาทานติดอยู่ในขันธ์ มันมีตั้งห้าขันธ์ มันยึดมั่นถือมั่นอยู่ห้าขันธ์นี้ กิเลสมันจึงเกิด มันก็เป็นธรรมดาที่จะต้องเกิด แต่ถ้าเธอทำลายเหตุที่จะพาให้เกิดกิเลส ทำลายต้นเหตุนั้นด้วยการปฏิบัติภาวนาจนปัญญามันประหารความหลง ประหารกิเลส ประหารความยึดมั่นถือมั่น เมื่อมันหมดความยึดมั่นถือมั่น จากที่มันเคยโลภ มันก็เลิกโลภ จากที่มันเคยโกรธเวลาขันธ์กูเป็นอะไร มันก็เลิกโกรธ ฯลฯ เมื่อนั้น เมื่อเหตุมันหมด ผลมันจะมีหรือ ความสงบเย็นจึงบังเกิดได้ทีละนิดๆ ตามลำดับ จนเมื่อความยึดมั่นถือมั่นมันไม่มีเหลือแล้ว หากแม้ขันธ์กายยังคงอยู่ยังไม่แตกดับ ก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้นต่อไปตามเรื่องตามราว อยู่อย่างไม่ยึดมั่น อยู่ด้วยสติปัญญา ทำงาน กิน ยืน เดิน ปลงผม นอน หัวเราะ ง่วงหาว ฯลฯ นี้อย่างหนึ่ง และหากขันธ์กายต้องแตกดับไป ถ้าต้นเหตุแห่งการเกิดมันหมดไปแล้ว มันจะยังต้องการไปโผล่ที่ไหนเพื่อไปเสพอะไรๆ อยู่อีกหรือ เข้าใจมั้ย? ฉันใดฉันนั้น

    ขอจงสำรวมกาย วาจา ใจเถิด และจงปฏิบัติให้มากๆ เถิด ไม่ว่าจากการฟังก็ดี การอ่านก็ดี ขอจงพิจารณาไตร่ตรองด้วย อย่าเชื่อทันทีแม้กระทั่งผู้พูดเป็นพระ แม้พระพูดมาเทศน์มา ถึงจะเป็นการเทศน์ที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็ตาม ก็จงนําไปไตร่ตรองก่อนให้แจ้งแก่ใจ ให้เห็นจริงก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ แต่สมัยนี้มักจะไม่เป็นอย่างนั้น โดยมากที่มาให้เห็นๆ กันบางคนก็เห็นว่าเป็นครูอาจารย์พูดมา หรือไม่ก็ด๊อกเตอร์พูดมา หรือไม่ก็พระพูดมา ก็จะเชื่อทันที โดยตั้งความหวังไว้ว่ามันจะต้องเป็นไปตามที่คนพูดพูดไว้แน่นอน แต่ไม่ได้ไตร่ตรอง ไม่ได้นําไปปฏิบัติจนเกิดผลแล้วจึงเชื่อ แต่นี่เล่นมั่นใจปักใจเชื่อไปเลย เข้าใจมั้ยที่ว่าอย่างนี้....

    อย่างสมมติว่า พระให้ส้มมา แล้วบอกว่าส้มผมนี้หวานนะ เรารับมา เอาส้มกลับมาบ้าน ใจเราก็เชื่อมั่นอย่างแน่แท้ว่าหวานๆๆๆๆๆ นี่ยังไม่ได้ชิมเลย ก็ยังบอกว่าหวานแล้ว ใครๆ มาถาม นี่ ส้มนี้หวานมั้ย เราก็ตอบไปส่งเดชตามที่เขาว่ามาว่า "มันหวาน" นี่เพราะเชื่ออย่างหลับหูหลับตา ไม่ได้เคยคิดที่จะพิสูจน์อะไรเลย มันไม่บาปหรอกกับการที่เรายังไม่เชื่อ เข้าใจมั้ย บางคนว่าถ้าไม่เชื่อครูอาจารย์ หรือถ้าพระพูดแล้วไม่เชื่อตาม เดี๋ยวจะบาป เอ้า นี่ก็งมดิ่งกันเข้าไปอีก ไม่ได้คิดจะใช้ปัญญากันเลยหรือ เข้าใจมั้ย.... ไม่ใช่ว่าเห็นพระพูด เห็น ดร. พูด เห็นใครๆ ที่เขาว่ากันว่าเก่ง ใครๆ เขาว่ากันว่าใช่พูดมา กูก็เชื่อทันที

    เราต้องพิจารณาให้มากถึงหลักกาลามสูตรทั้งสิบข้อ ในสิบข้อนั้น แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ไม่ประสงค์จะให้เชื่อครูอาจารย์จนกว่าจะได้ชิมรสหวานของส้มผลนั้นเสียก่อน เข้าใจหรือยัง แม้กระทั่งตัวเราเองนี้ ที่กล่าวมาก็จงอย่าเพิ่งเชื่อทันที ไม่ใช่ว่าเห็นเป็นพระก็เกหน้าตักเชื่อทันที ยิ่งใครบอกว่าพระป่าๆ นี่ก็ยิ่งเชื่อเร็วกว่าเดิมโดยไม่ต้องไตร่ตรองอีก เข้าใจมั้ย ขอจงระวัง ระวังให้มากๆ ขอแค่เก็บไปพิจารณาและปฏิบัติให้แจ้งก่อน มันจะได้หมดวิจิกิจฉานั่นอย่างไร เพราะถ้าเธอไม่สร้างนิสัยในการไตร่ตรองเอาไว้ หากเธอได้ฟังพระสิบรูปพูดมาสิบแบบ โดยที่ขัดแย้งกันทั้งสิบแบบ เธอมิต้องหลับหูหลับตาเชื่อทั้งสิบแบบเลยรึ หรือเลือกเฉพาะพระรูปใดรูปหนึ่งก็ชอบที่สุดแล้วเชื่อรูปนั้น อย่างนั้นหรือ??

    ดังนั้น จงอย่าเพิ่งเชื่อ แม้กระทั่งเมื่อเธอได้อ่านหนังสือ แม้กระทั่งได้อ่านธรรมะที่ตรัสโดยพระพุทธเจ้าก็ดี ขอจงอย่าเพิ่งเชื่อ นี้คือหลักกาลามสูตร จงอย่าเชื่อแม้ผู้นั้นเป็นอาจารย์ เข้าใจมั้ย สิ่งนี้จะช่วยสกัดไม่ให้เกิดการไขว้เขวในทันที และให้เกิดนิสัยของการไตร่ตรอง เพราะถ้าไม่สกัดไว้อย่างนี้ เมื่อไหร่จะได้นำไปปฏิบัติ เมื่อไหร่จะได้เริ่มใช้ปัญญากันเล่า การเชื่อทันทีทันใดเลยอย่างนี้ยังถือว่าไม่ถูกต้องนักในการศึกษา จงหยุดและนำไปพิจารณาเสียก่อนและปฏิบัติให้เกิดผลจริงๆ เสียก่อนแล้วจึงเชื่อ

    ขอจงลิ้มรสส้มให้แจ้งแก่ใจเสียก่อนแล้วจึงเชื่อ

    ที่มา : agaaligo: นิพพาน คือ อะไร, นิพพานแล้วไปอยู่ที่ไหน
     
  3. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ...ดูกรวัจฉะ ถ้าใครๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร
    จึงลุกโพลง ท่านถูกถามอย่างนี้แล้วจะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร?
    ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าใครๆ ถามข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไรจึงลุกโพลง ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกโพลงอยู่.
    ดูกรวัจฉะ ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว?
    ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟนั้นดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว.
    ดูกรวัจฉะ ถ้าใครๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ไปยังทิศไหนจากทิศนี้ คือทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศอุดร หรือทิศทักษิณ ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร?
    ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกแต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่าไม่มีเชื้อ ดับไปแล้ว.

    <CENTER>การละขันธ์ ๕
    </CENTER> [๒๕๑] ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะ
    รูปใด รูปนั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่ารูปมีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้. บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะเวทนาใด ... เพราะสัญญาใด ... เพราะสังขารเหล่าใด ... เพราะวิญญาณใด ... วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้ดุจเป็นตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่าวิญญาณ มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้.
    --------------------------------
    จากพระสูตรที่ยกมาผมเข้าใจดังนี้
    นิพพาน ไม่มี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ความจำได้หมายรู้ สิ่งปรุงแต่งทั้งปวง และไม่มีวิญญานที่เป็นธาตุรู้ พวกเราที่ยังติดอยู่ในโลกของรูป รส กลิ่น... จึงไม่อาจบัญญัติได้ว่า นิพพานมีภาวะอย่างนั้นอย่างนี้ได้เลย ใครๆที่รู้จักพระนิพพานคนๆนั้นก็ไม่ใช่ปุถุชนอย่างเราๆแล้วล่ะครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  4. mackenfy

    mackenfy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2011
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +2
    อนุโมทนา สาธุครับ ขอบคุณสำหรับคำตอบให้ผมได้เข้าใจครับ
     
  5. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    ก่อนที่จะคิดว่านิพพานแล้วไปไหนควรเข้าใจก่อนนะครับว่าจริงๆ แล้วตัวเราเป็นอะไรกันแน่
    ต้องเข้าใจเรื่องขันธ์ 5 ก่อน เมื่อมีความเข้าใจเรื่องขันธ์ 5 แล้วก็จะรู้ว่าสิ่งที่มาประกอบกัน
    จนมีความรู้สึกว่าเป็นเรามันคืออะไร และเป็นอย่างไรแล้วค่อยมาคิดว่าเมื่อเราตายแล้วไปไหน
    อย่างที่คุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->Tusinqiqu<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4377981", true); </SCRIPT> ยกตัวอย่าง อย่างการจุดเทียนมีเปลวไฟใช่ไหม เมื่อดับเทียนแล้ว
    เปลวไฟไปไหน คำตอบคือไม่ได้ไปไหนเลย เพราะถ้าเรารู้ว่าจริงๆ แล้วเปลวไฟคืออะไร มันคือ
    โมเลกุลของอากาศที่ได้รับความร้อนแล้วคายพลังงานออกมาเป็นแสงเปลวไฟ เช่นกัน ถ้าอยาก
    รู้ว่าเรานิพพานแล้วไปไหนก็จะต้องรู้ว่าเราจริงๆ แล้วคืออะไรก่อน
     
  6. viphard

    viphard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +1,877
    อนุโมทนา สาธุครับ อยากให้เจ้าของกระทู้ได้ ฝึกมโนมยิทธิ ที่วัดท่าซุงสักครั้งแล้วจะเข้าใจครับ
     
  7. thongchat

    thongchat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    482
    ค่าพลัง:
    +2,195
  8. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    พุทธพจน์เปรียบพระอรหันต์สิ้นชีพเหมือนไฟดับ ดังความตอนหนึ่งในคำสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับวัจฉโคตตปริพาชกต่อไปนี้
    วัจฉโคตต์ > ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแ้ล้วอย่างนี้ จะเกิด ณ ที่ไหน?
    พระพุทธเจ้า > ดูก่อนวัจฉะ คำว่าจะเกิด ก็ใช้ไม่ได้
    วัจฉโคตต์ > ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่เกิด
    พระพุทธเจ้า > คำว่าไม่เกิด ก็ใช้ไม่ได้
    วัจฉโคตต์ > ถ้าอย่างนั้น ก็ทั้งเกิดและไม่เกิด
    พระพุทธเจ้า > คำว่าทั้งเกิดและไม่เกิด ก็ใช้ไม่ได้
    วัจฉโคตต์ > ถ้าอย่างนั้นจะว่าเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่
    พระพุทธเจ้า > คำว่า จะว่าเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ ก็ใช้ไม่ได้
    วัจฉโคตต์ > ท่านพระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าถึงความงุนงงเสียแล้ว ข้าพเจ้าถึงความหลงไปหมดเสียแล้ว,แม้เพียงความเลื่อมใสที่ได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยถ้อยคำสนทนาเบื้องต้นของท่านพระโคดม
    ผู้เจริญนั้นถึงบัดนี้ ก็ได้หายไปหมดแล้ว
    พระพุทธเจ้า > ดูก่อนวัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะงุนงง ควรแล้วที่ท่านจะหลงไป เพราะว่าธรรมนี้ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต หยั่งไม่ได้ด้วยตรรกะ ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ได้,ธรรมนั้นอันท่านผู้มีทิฏฐิอื่น มีแนวความเห็นอื่น มีหลักที่พอใจอย่างอื่น มีความเพียรที่ประกอบแบบอื่น ถืออาจารย์สำนักอื่น ยากจะรู้ได้,ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้,ท่านเห็นควรอย่างไร พึงกล่าวชี้แจงอย่างนั้น,ดูก่อนวัจฉะ ท่านสำคัญอย่างไร ถ้าไฟลุกโพลงอยู่เบื้องหน้าท่าน,ท่านจะรู้ไหมว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่เบื้องหน้าเรา?
    วัจฉโคตต์ > ...ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ ฯลฯ
    พระพุทธเจ้า > ก็ถ้าใคร ๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟลุกโพลงอยู่เบื้องหน้าของท่านนี้ อาศัยอะไรจึงลุกโพลง,ท่านถูกถามอย่างนี้ จะพึงกล่าวชี้แจงอย่างไร?
    วัจฉโคตต์ > ข้าพเจ้าพึงกล่าวชี้แจงว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่เบื้องหน้าข้าพเจ้านี้ อาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้ จึงลุกโพลงได้
    พระพุทธเจ้า > ดูก่อนวัจฉะ ถ้าไฟเบื้องหน้าท่านนั้นดับไป ท่านจะรู้ไหมว่า ไฟเบื้องหน้าเรานี้ดับแล้ว
    วัจฉโคตต์ > ข้าพเจ้าพึงรู้ได้ว่า ไฟเบื้องหน้าข้าพเจ้านี้ดับแล้ว
    พระพุทธเจ้า > ก็ถ้าใคร ๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟเบื้องหน้าท่านนี้ที่ดับแล้วนั้น ไปจากนี่สู่ทิศไหน ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือว่าทิศใต้,ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงกล่าวชี้แจงว่ากระไร?
    วัจฉโคตต์ > (ข้อความถามตอบอย่างนั้น)ใช้ไม่ได้ดอก ท่านพระโคดมผู้เจริญ,เพราะว่าไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้ใดจึงลุกโพลง อยู่ได้,เพราะเชื้อนั้นหมดสิ้นไป
    และเพราะไม่ได้เชื้ออื่นเติม ไฟนั้นก็ถึงความนับว่าหมดเชื้อ ดับไปเท่านั้นเอง
    พระพุทธเจ้า > ฉันนั้นเหมือนกันแล วัจฉะ บุคคลเมื่อจะบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยรูป..เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณใด รูป..เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณนั้น ตถาคตละได้แล้ว ถอนรากเีสียแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา,ตถาคต พ้นจากการนับว่ารูป..พ้นจาการนับว่าเวทนา..พ้นจากการนับว่าสัญญา..พ้นจากการ นับว่าสังขาร..พันจากการนับว่าวิญญาณ
    ลึกซึ้ง ประมาณไม่ได้ หยั่งได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร,คำว่าเกิดก็ใช้ไม่ได้ คำว่าไม่เกิดก็ใช้ไม่ได้ คำว่าทั้งเกิดทั้งไม่เกิด ก็ใช้ไม่ได้ คำว่า จะเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่ ก็ใช้ไม่ได้
    เมื่อจบคำสนทนาตอน นี้ วัจฉะโคตตปริพาชกเกิดความเลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กุมภาพันธ์ 2011
  9. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    ตอบ...นิพพานแล้วไปเป็นอมรเทพ (เทวดาที่ไม่รู้จักตาย) อยู่ในที่ทุกแห่งของภพทั้งสามคือ สวรรค์ มนุษย์ นรก มีตัวตนตรงที่เหลือแต่นามธรรม มีสังขารเป็นรูปทิพย์ดั่งเทวดาแต่รูปละเอียดกว่า ดังพรหมรูปฝัก และมีรูปทิพย์ตามแต่จิตตนจะกำหนดให้เป็น และรูปในความเกิดสมัยยังไม่บรรลุธรรมของตนเองในทุกๆ รูปที่เคยมีอุปทานในสมัยที่เคยเกิดเป็นจ้า....
     
  10. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    แ้ก้ค วามเห็นผิดว่าพระอรหันต์ตายแล้วสูญ ดังมีเรื่องราวว่า ครั้งหนึ่งพระภิกษุชื่อยมก มีความเห็นผิดว่า พระพุทธเจ้าสอนว่า พระอรหันต์ตายแล้วขาดสูญ ภิกษุทั้งหลายพยายามเปลื้องเธอจากความเห็นผิด แต่ไม่สำเร็จ จึงพากันไปขอร้องพระสารีบุตรให้ช่วยแก้ไข พราะสารีบุตรได้ไปหาพระยมก และได้สนทนาดังความต่อไปนี้
    พระสารีบุตร > เป็นความจริงหรือ ท่านยมก ข่าวว่าท่านเกิดความเห็นชั่วร้ายอย่างนี้ว่า "ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ ถัดจากกายแตกทำลายก็จะขาดสูญ หายสิ้น(พินาศ)หลังจากตายจะไม่มีอยู่อีก"
    พระยมก > อย่างนั้นแล ท่านผู้มีอายุ ฯลฯ
    พระสารีบุตร > ท่านยมก ท่านสำัคัญว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    พระยมก > ไม่เที่ยงครับท่าน
    พระสารีบุตร > เวทนา.สัญญา.สังขาร.วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
    พระยมก > ไม่เที่ยงครับท่าน
    พระสารีบุตร > เพราะฉะนั้นแล รูป..เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณอย่างหนึ่งอย่างใด
    ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ทั้งหมด พึงเห็นด้วยสัมมาปัญญาตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า ไม่ใช่ "นั่นของเรา" ไม่ใช่ "เราเป็นนั่น" ไม่ใช่ "นั่นเป็นตัวตนของเรา" เมื่อเห็นอย่างนี้ย่อมหายติด ฯลฯ
    พระสารีบุตร > ท่านสำัคัญอย่างไร ท่านยมก ท่านมองเห็นรูปว่าเป็นตถาคต หรือ?
    พระยมก > มิใช่เช่นนั้น ท่านผู้มีอายุ
    พระสารีบุตร > ท่านมองเห็นเวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ ว่าเป็นตถาคตหรือ?
    พระยมก > มิใช่เช่นนั้น ท่านผู้มีอายุ
    พระสารีบุตร > ท่านสำคัญว่าอย่างไร ท่านยมก ท่านเห็นว่า ตถาคตมีในรูปหรือ?
    พระยมก > มิใช่เช่นนั้น ท่านผู้มีอายุ
    พระสารีบุตร > ท่านมองเห็นว่า ตถาคตมีต่างหากจากรูปหรือ?
    พระยมก > มิใช่เช่นนั้น ท่านผู้มีอายุ
    พระสารีบุตร > ท่านมองเห็นว่า ตถาคตมีในเวทนา..มีต่างหากจากเวทนา..มีในสัญญา..มีต่างหากจากสัญญา..มีใน สังขาร
    มีต่างหากจากสังขาร..มีในวิญญาณ..มีต่างหากจากวิญญาณ หรือ?
    พระยมก > มิใช่เช่นนั้น ท่านผู้มีอายุ
    พระสารีบุตร > ท่านสำคัญอย่างไร ท่านยมก ท่านมองเห็นรูป..เวทนา...สัญญา..สังขาร..วิญญาณ ว่าเป็นตถาคตหรือ?
    พระยมก > มิใช่เช่นนั้น ท่านผู้มีอายุ
    พระสารีบุตร > ท่านสำคัญว่าอย่างไร ท่านยมก ท่านมองเห็นว่า ตถาคตนี้นั้นเป็นสภาวะไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณหรือ?
    พระยมก > มิใช่เช่นนั้น ท่านผู้มีอายุ
    พระสารีบุตร > นี่แน่ะท่านยมก ในปัจจุบันนี้เอง ที่ตรงนี้ ท่านยังหาตถาคตโดยจริงโดยแท้(ให้เห็นจริงมั่นเหมาะลงไป)ไม่ได้,ควรหรือที่ ท่านจะกล่าวแถลงว่า
    ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วว่า ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ ต่อจากกายแตกทำลาย ก็จะขาดสูญ หายสิ้น หลังจากตายจะไม่มีอยู่อีก
    พระยมก > ข้าแต่ท่านสารีบุตร แต่ก่อนเมื่อยังไม่รู้ ผมจึงได้มีความเห็นชั่วร้ายนั้น,แต่เพราะได้สดับธรรมเทศนาของท่านสารีบุตร นี้ ผมจึงละความเห็นชั่วร้ายนั้นได้แล้ว และผมก็ได้บรรลุธรรมแล้ว
    พระสารีบุตร > แน่ะท่านยมก ถ้าชนทั้งหลายพึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมก ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ หลังจากร่างกายแตกทำลายตายไปแล้ว จะเป็นอย่างไร ท่านถูกถามอย่างนี้แล้วจะกล่าวชี้แจงว่าอย่างไร
    พระยมก > ...ผมพึงกล่าวชี้แจงอย่างนี้ว่า รูปแลเป็นสิ่งไม่เที่ยง,สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์,สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับแล้ว สิ่งนั้นความไม่ตั้งอยู่แล้ว;เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยง,สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์,สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับแล้ว สิ่งนั้นถึงความไม่ตั้งอยู่แล้ว;ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้ พึงกล่าวชี้แจงอย่างนี้
    พระสารีบุตร > ดีแล้ว ดีแล้ว ท่านยมก ฯลฯ
     
  11. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    พระอรหันต์สิ้นชีวิตแล้วเป็นอย่างไร
    ปัญหาสำคัญที่มักหนีไม่พ้น เมื่อพูดเรื่องนิพพาน คือพระอรหันต์สิ้นชีพแล้วเป็นอย่างไร หรือว่าผู้บรรลุนิพพานตายแล้วเป็นอย่างไร ยังมีอยู่ต่อไปหรือไม่ ดังนี้เป็นต้น ความจริงปัญหาอย่างนี้ก็วนเวียนอยู่กับเรื่องอัตตานั่นเอง กล่าวคือ ผู้ถามปัญหาอย่างนี้มีความรู้สึกติดอัตตาแฝงลึกอยู่ในใจ เป็นแรงผลักดันและเป็นแกนสำหรับก่อรูปเป็นคำถามขึ้น ความยึดติดในอัตตาหรือเรียกให้เต็มว่า ความถือมั่นวาทะว่า อัตตา(อัตตวาทุปาทาน)นี้ฝังลึกและแน่นแฟ้นในใจของปุถุชน โดยมีภวตัณหาคอยหนุนและอวิชชาเป็นฐานให้ ในทางปฏิบัติ เมื่อยังไม่ดำเนินตามวิธีแก้ไขที่ตัวเหตุ คือทำลายอวิชชา ตัณหา และอุปาทานเสียโดยตรงท่านจะไม่สนับสนุนให้มาถกเถียงเรื่องเช่นนี้ คือต้องการให้รู้ด้วยทำ ไม่ใช่เอามาพูดเดากันไป การถกเถียงเรื่องนี้มีข้อเสียที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะพูดกันอย่างไร ความถือมั่นในอัตตวาทะที่แฝงลึกซึ้งซึ่งยังถอนทิ้งไม่ได้นั้น จะทำให้มองคำตอบหรือคำชี้แจงเอียงไป ณ ที่สุดข้างใดข้างหนึ่งเสมอ คือไม่มองเห็นนิพพานเป็นความเที่ยงแท้ยั่งยืนของอัตตา (สัสสตทิฏฐิ)ก็ต้องมองเป็นความขาดสูญของอัตตา(อุทเฉททิฏฐิ)ซึ่งไม่ถูกต้อง ทั้งสองอย่าง
    พวกที่ถือความเห็นขาดสูญ ก็มองนิพพานเป็นความขาดสูญ เข้ากับความเห็นของพวกตน ซึ่งมองได้ค่อนข้างง่าย เพราะพุทธศาสนาเน้นการแก้ไขด้านที่คนติดพันหลงใหลกันมากคือ ด้านการยึดถือที่จะให้ถาวรมั่นคง ส่วนพวกที่ถือความ เห็นเที่ยงแท้ยั่งยืน เมื่อถูกปฏิเสธเรื่องอัตตา ก็เที่ยวมองหาภาวะอะไรสักอย่างหนึ่งที่จะเข้ามาทดแทนช่วยเติมหรือสนองความ ขาดแคลนอัตตา
    หรือหล่อเลี้ยงอัตตาไว้ให้คืนคง เมื่อได้รับคำสอนให้ถอนความยึดอัตตาไปแล้ว ก็เหมือนสูญเสียอััตตาไป พอพูดถึงนิพพาน ก็จึงได้โอกาสเหนี่ยวเอานิพพานเป็นที่พึ่งที่ฝากอัตตาเอาไว้ บ้างก็ขยายนิพพานเป็นชีวิตนิรันดร ตลอดจนเป็นมหานครเมืองแก้ว ท่านผู้ประเสริฐ มีปัญญาเลิศทั้งหลาย แม้ว่าจะผ่านพ้นความยึดติดถือมั่นอะไร ๆ มามากมายจวนจะหมดอยู่แล้ว ก็มาติดเยื่อใยสุดท้ายกันอยู่ที่นี้ หากพันใยข่ายนี้ไปได้ ก็จะเป็นอิสระได้โดยสมบูรณ์ แต่ทางธรรมก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากเหลือเกิน ท่านจึงเรียกความยึดติดอย่างละเอียดนี้ว่าเป็น "พรหมชาละ" แปลว่า ข่ายดักพรหม หรือที่ติดข้องของบุคคลชั้นเลิศ คือผู้มีคุณธรรมและปัญญายวดยิ่งแล้วยังไม่อาจรอดพ้นไปได้ ด้วยเหตุนี้ เพื่อผ่อนเบาความหมกมุ่นครุ่นคิดในการหาความจริงเกี่ยวกับนิพพาน โดยเชิงเหตุผลและการถกเถียงแบบปรัชญา ท่านจึงมักกล่าวถึงนิพพานแต่ในเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับชีวิตจริงหรือประโยชน์ที่จะได้รับในชีวิตประจำวัน ดังคำสอนเกี่ยวกับนิพพานที่ปรากฏโดยมากในพระไตรปิฎก นอกจากนั้นมีข้อที่ต้องย้ำไว้เสมอเพื่อป้องกันความคิดเลยเถิดไปคือย้ำว่า การปฏิบัติเกี่ยวกับนิพพานก็ดี นิพพาน ไม่ใช่เรื่องของการดับอัตตาหรือทำลายอัตตา เพราะไม่มีอัตตาที่จะต้องไปดับหรือไปทำลาย สิ่งที่จะต้องดับหรือทำลายคือความยึดมั่นในอัตตาหรือภาพอัตตาที่สร้างขึ้นมา ยึดถือไว้ ส่วนที่กล่าวในที่หลายแห่งว่า เสริมขยายอัตตาบ้าง ความมั่นคงของอัตตาบ้าง ว่าอัตตาอย่างนั้นอย่างนี้ต่าง ๆ พึงเข้าใจว่าเป็นสำนวนพูดอย่างรู้กันเพื่อความสะดวก โดยที่ว่าอัตตาหมายถึงภาพอัตตาที่สร้างขึ้นหรือความยึดมั่นในอัตตาที่สร้าง ขึ้นนั่นเอง พูดให้เข้าใจในเชิงวิชาการมากขึ้นว่า ดับความถือมั่นในวาทะว่าเป็นอัตตา หรือดับทิฏฐิว่าเป็นอัตตา ตลอดจนถอนสัญญาว่าเป็นอัตตาเสีย นิพพานดับความยึดมั่นดับ ความเข้าใจผิดนี้ และดับทุกข์ดับปัญหาที่เนื่องมาจากความยึดติดถือมั่นเช่นนี้ ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ตัดความเยื่อใยอยากมีอัตตาทิ้งเสีย ทฤษฎีเกี่ยวกับอัตตาทั้งหลายก็หมดความหมายไปเอง ดับอุปาทาน คือถอนความยึดมั่นในอัตตาเสียเท่านั้น ท่านก็จะเห็นโลกและชีวิตหรือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่มันเป็น ไม่ต้องมาเสียเวลาคิดคาดคะเนสร้างทฤษฎีอัตตใด ๆ ให้วุ่นวาย พอดับความยึดมั่นที่ทำให้เกิดมีอัตตาแล้ว อัตตาก็หายไปเอง นิพพานคือดับทุกข์เท่านั้น ไม่ใช่ดับอัตตา เพราะไม่มีอัตตาที่จะต้องดับ ขอให้นึกถึงพุทธพจน์ว่า "เราสอนแต่ทุกข์และความดับ ทุกข์เท่านั้น"

     
  12. Aek9549

    Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031
    <table id="post1601075" class="tborder" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr valign="top"><td class="alt1" id="td_post_1601075" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);">นิพพานอำนวยผลที่ยิ่งกว่าลำพังความสำเร็จของจิต จะให้ได้
    ่่การบรรลุนิพพาน แม้จะอาศัยความสำเร็จทางจิต (เจโตวิมุตติ) คือ ฌานสมาบัติ เป็นพื้นฐานบ้างไม่มากก็น้อย และผู้บรรลุนิพพานก็มีความเกี่ยวข้องกับความสำเร็จทางจิตนั้นอยู่เรื่อยๆ ในการดำเนินชีวิต แต่นิพพานก็เป็นภาวะต่างหากจากความสำเร็จทางจิตเหล่านั้น เป็นความหลุดพ้นแม้จากความสำเร็จทางจิตเหล่านั้น เป็นสิ่งที่ประจักษ์แจ้งต่อเมื่อสามารถก้าวล่วงความสำเร็จทางจิตไปได้
    มีข้อควรสังเกตเกี่ยวกับผลพิเศษของการบรรลุนิพพานคือ
    1. ทำให้เกิดความหลุดพ้นขั้นสุดท้ายที่เด็ดขาด สิ้นเชิง ชนิดที่เป็นธรรมดาธรรมชาติ ไม่ถอยกลับ เช่น ในทางจริยธรรม มีความไม่เห็นแก่ตัวที่แท้จริง ชนิดที่เป็นผลซึ่งเกิดขึ้นเอง เป็นอาการของการที่ได้ทำลายความยึดมั่นในตัวตนลงได้ ด้วยปัญญาที่มองเห็นสภาวะของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งไม่น่าและไม่อาจจะเข้าไปยึดถือผูกพันเอาไว้กับตัวตนได้ ในเมื่อเป็นอาการที่เป็นไปเองตามธรรมชาติ ความไม่เห็นแก่ตัวนั้นจึงทำได้โดยไม่ต้องฝืน ไม่ต้องอาศัยกำลังจิต ไม่ต้องอาศัยการยึดอันหนึ่งเพื่อปล่อยหรือให้หลุดออกจากอีกอย่างหนึ่ง เช่น ไม่ต้องอาศัยความยึดมั่นในอุดมคติ ความอุทิศตัวให้แก่สิ่งประเสริฐที่ศรัทธาอย่างสุดจิตสุดใจ ความข่มหรือระงับกิเลสด้วยกำลังสมถะหรือวิปัสสนาระหว่างปฏิบัติธรรม และความน้อมดิ่งดื่มด่ำในภาวะแห่งฌานสมาบัิติ เป็นต้น
    2. ในการที่จะประจักษ์แจ้งนิพพานนั้น ไม่ว่าผู้ปฏิบัติจะได้บรรลุความสำเร็จทางจิตไว้แล้วสูงเพียงใดก็ตาม เขาจะต้องหลุดพ้นจากความติดใจพอในในผลสำเร็จทางนั้น มองเห็นสภาวะของผลสำเร็จนั้นตามแนวทางของเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ ก้าวล่วงความผูกพันธ์กับผลสำเร็จเหล่านั้นไปได้ก่อนจึงจะบรรลุนิพพานได้ อย่างไรก็ตาม การข้ามพ้นไปได้นั้นแหละ กลับเป็นส่วนเติมเต็มของความสำเร็จทางจิต หรือเป็นความพ้นไปได้ ชนิดที่ช่วยทำให้สมบูรณ์
    - ผลสำเร็จทางจิตเท่าใดก็ตามที่ตนเคยได้ไว้แล้ว ผู้บรรลุนิพพานสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด เช่น ให้เป็นที่พักผ่อนหาความสุขยามว่างอย่างที่เรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหาร เป็นการนำเอาฌานสมาบัติมารับใช้การดำเนินชีวิตประจำวัน เป็นต้น
    - ทำให้ผลสำเร็จทางจิตที่เคยได้ไว้แล้ว ซึ่งตามปกติยังอาจเสื่อมถอยได้ กลายเป็นภาวะไม่เสื่อมถอย
    - เพิ่ม ความสามารถและขยายวิสัยแห่งการเสวยผลสำเร็จทางจิตให้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่ง ขึ้น
    ถ้าเดิมเคยได้ถึงสมาบัติ 8 เมื่อบรรลุอนาคามิผลหรืออรหัตตผลแล้ว ก็สามารถก้าวต่อไปถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ
    3. ความสำเร็จทางจิตอาจระงับกิเลสและความทุกข์ไว้ได้เป็นเวลายาวนาน แต่ก็ยังไม่เด็ดขาดกิเลสและความทุกข์กลับฟื้นขึ้นได้ นับว่าเป็นของชั่วคราวเพราะเป็นวิธีข่มหรือทับไว้ หรือฝากฝังใจไว้กับสิ่งอื่น แต่การบรรลุนิพพานทำให้กิเลสและความทุกข์นั้นสูญสิ้นไปโดยเด็ดขาด เพราะขุดหรือถอนทิ้งด้วยปัญญา และสิ่งที่ดับไปในการประจักษ์แจ้งนิพพานั้นก็เป็นการดับเฉพาะสิ่งที่ชั่ว ร้าย ได้แก่ตัววุ่นและเหตุให้วุ่นต่างๆ เช่น ดับโลภะ โทสะ โมหะ ดับตัณหา ดับภพ ดับทุกข์ ดับอวิชชา มิได้ดับอะไรที่เป็นสิ่งดีงามเลย และเมื่อดับสิ่งชั่วร้ายแล้ว ก็กลับมีคุณลักษณะที่ดีเด่นขึ้นมาแทน อย่างชนิดเป็นไปเองตามธรรมดา นอกเหนือจากความสุข คือ การดำเนินชีวิตด้วยปัญญาและการบำเพ็ญกิจด้วยกรุณาซึ่งเป็นสิ่งที่ลำพังความ สำเร็จทางจิตไม่อาจทำให้เกิดขึ้นได้ ดังนั้น ผู้ประจักษ์แจ้งนิพพานอย่างเดียว แม้จะไม่ได้ความสำเร็จทางจิตที่สูงส่ง ก็ยังประเสริฐกว่าผู้ที่ได้ฌานสมาบัติอย่างสูง แต่ไม่ประจักษ์นิพพาน
    4. การบรรลุนิพพนานทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในตัวมนุษย์ถึงขั้นพื้นฐาน เปลี่ยนจิตใจ เปลี่ยนลักษณะความคิด เปลี่ยนบุคลิกภาพ มีโลกทัศน์และชีวทัศน์อย่างใหม่ มีระบบพฤติกรรมมั่งคง ทั้งนี้เพราะมีความเปลี่ยนแปลงในทางจิตใจที่สำคัญ 2 ด้าน คือ ความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น และความเชื่อถือ อันเป็นเรื่องทางด้านอวิชชาและปัญญาอย่างหนึ่ง และความรู้สึกเกี่ยวกับคุณค่าหรือการสนองความต้องการ อันเป็นเรื่องทางด้านตัณหาและฉันทะอีกอย่างหนึ่ง ทั้่งสองด้านนี้สัมพันธ์กันแต่อาจแยกพูดได้คนละระดับ

    ที่มา : หนังสือพุทธธรรม ฉบับธรรมทานงานศพ นายต่อง แซ่โง้ว พ.ศ. ๒๕๓๒ (ประยุทธ์ ปยุตโต)<!-- google_ad_section_end -->
    </td> </tr> <tr> <td class="alt2" style="border-width: 0px 1px 1px; border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255);"> [​IMG] [​IMG] <script type="text/javascript"> vbrep_register("1601075")</script> [​IMG] </td> <td class="alt1" style="border-width: 0px 1px 1px 0px; border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color;" align="right"> [​IMG] [​IMG]</td></tr></tbody></table>
     
  13. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    นิพานนังปรมังสุขัง เป็นธงชัยของพุทธศาสนา จำเป็นต้องมาบอกย้ำ เพื่อการสร้างอธิฐาน (ตั้งเป้าหมาย) ทางไป ให้จิตมหาชนจ้า...

    วิสุทธิเทพ แปลว่า เทพผู้มีจิตอันบริสุทธิ์(ไม่มีกิเลส) อมรเทพ แปลว่า เทวดาที่ไม่รู้จักตาย ขยายความว่า ท่านฯ มีทุกอย่างครบสมบูรณ์แบบ แต่สิ่งที่เพิ่มมาคือ ฉลาดแล้ว ขยายความต่อไปว่า ปรับระดับจิตไปตามความปรารถนาได้ ไม่มีอุปทาน ก็สามารถยืมอุปทานผู้อื่นมาใช้ได้ ไม่มีตัวตน ก็สามารถยืมตัวตนผู้อื่นมาใช้ได้ อยู่ได้ทุกมิติของชั้นจิต คือ ทั้งสวรรค์ พรหม มนุษย์ แม้ในนรกก็อยู่ได้ สรุปคือ มีจิตเสรี พ้นจากภัยทั้งปวงของวัฏฏะสงสาร มีทุกอย่างที่ต้องการครบ ขยายความว่า นิพานแล้วไปที่ชอบ ที่ชอบ ประมาณนี้จ้า...

    "ขอตัวไปเล่นที่สวนสนุกที่ญี่ปุ่นก่อนน้า... แบบว่า ขี่คอเด็กๆ ซึมซับ รับทราบรสอารมณ์ สนุกๆ มันๆ จ้า 55555"
     

แชร์หน้านี้

Loading...