นิวรณ์ ๕

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนกรรม, 16 มิถุนายน 2013.

  1. ผ่อนกรรม

    ผ่อนกรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +400
    นิวรณ์ ๕

    ๑. กามฉันทะ คือความพอใจในกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง
    กลิ่น รส สัมผัส ทำให้เกิดโลภะ จิตส่ายเซออกไปรับอารมณ์ภายนอก
    นั่งสมาธิได้สักครู่ จิตมันฟุ้งซ่าน คิดถึงเรื่องราวต่าง ๆ หาสาระแก่นสาร
    อะไรไม่ได้เลย มันผุดขึ้นมาเป็นระยะ ๆ

    ๒. พยาบาท คือความขัดเคืองคับแค้นใจ ความคิดปองร้าย
    ปรุงแต่งในเรื่องที่ผ่านมาตามสัญญาเก่า ความจำได้หมายรู้ เมื่อเกิด
    ขึ้นแล้ว มันทำให้จิตไม่สงบ

    ๓. ถีนะมิทธะ
    “ถีนะ” คือความหดหู่ ห่อเหี่ยว และท้อแท้
    “มิทธะ คือความง่วงซึม หงอยเหงาและหาวนอน พอลงมือ
    ทำภาวนาไปสักครู่ ก็อ้าปากหาวนอนทันที ใจมันจะถอยท่าเดียว ฝืนนั่ง
    ภาวนาไปประเดี๋ยวก็หลับ

    ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านเร้ารนใจ กระวนกระวายใจ
    เปรียบเสมือนน้ำที่ใส ไหวกระเพื่อมเป็นระลอกคลื่น ทำให้ไม่สามารถ
    มองเห็นสิ่งใต้น้ำได้

    ๕. วิจิกิจฉา คือเกิดความลังเลสงสัย คลางแคลงใจ
    ในกุศลธรรมทั้งหลายของพระศาสนาว่าเป็นจริงหรือไม่ นี่เพราะก่อน
    การเข้ามาปฏิบัติธรรม ศรัทธาและความมั่นคงในคุณพระรัตนตรัย
    ยังไม่เต็ม ทำให้การภาวนาไม่ก้าวหน้า วิจิกิจฉา จึงเปรียบเสมือน
    น้ำใสอยู่ในที่มืด ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในน้ำได้
    อุปมานิวรณ์ ๕ เหมือนคนไข้อาการหนัก กลับมีกำลัง เขาคิดว่า
    “เมื่อก่อนเราป่วยอาการหนักบริโภคอาหารไม่ได้ ไม่มีกำลัง
    เวลานี้เราหายป่วย บริโภคอาหารได้ มีกำลังเป็นปกติ เพราะการหาย
    จากโรคเป็นเหตุ เขาจึงได้รับความเบิกบานใจ และความสุข”
    พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า เมื่อพระภิกษุนั้นได้พิจารณาเห็น
    นิวรณ์ ๕ ที่ตนละได้แล้วย่อมเกิดความ เบิกบานใจ เมื่อเบิกบานใจ
    ก็ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับ
    ความสุข เมื่อมีความสุข จิตย่อมตั้งมั่น

    การพ้นจากนิวรณ์ ๕ เปรียบเหมือนเราพ้นภาระต่างๆ ดังนี้
    ๑. หมดหนี้ (กามฉันทะ)
    ๒. หายจากโรค (พยาบาท)
    ๓. ออกจากเรือนจำ (ถีนะมิทธะ)
    ๔. พ้นจากการเป็นทาส (อุทธัจจะ)
    ๕. พ้นจากการเดินทางไกลและกันดาร (วิจิกิจฉา)

    การเจริญสมาธิเพื่อทำจิตให้สงบ ความสงบดังกล่าวนี้มีอยู่ ๒ ประการ คือ

    ๑. ความสงบอย่างหยาบ คือเมื่อจิตสงบแล้วก็มีความสุขแล้วยึดความสงบเป็นความสุข
    ๒. ความสงบอย่างละเอียด คือความสงบที่เกิดจากปัญญา
    มิได้ถือเอาความสุขเป็นความสงบ แต่เอาจิตที่พิจารณาว่า สุข ทุกข์
    มาเป็นความสงบ เพราะความสุข ความทุกข์ที่เกิดขึ้นนี้ มันเป็น
    “อุปาทาน” ทำให้เกิดภพ ชาติ ต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่พ้นจาก
    สังสารวัฏเพราะยังติดสุขติดทุกข์ ความสุขจึงไม่ใช่ความสงบ
    ความสงบจึงไม่ใช่ความสุข ความสุขที่เกิดจากปัญญานี้ จึงไม่ใช่
    ความสุข แต่ “เป็นความรู้ตามความเป็นจริงในสุขในทุกข์” แต่ปัญญา
    ทำให้จิตอยู่เหนืออารมณ์ ต้องเหนือสุขเหนือทุกข์ นี่คือ การดับกิเลส
    ตัณหา อุปาทานได้โดยเด็ดขาด เป็นการหยุดการเวียนว่ายตายเกิด
    อย่างแท้จริง ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปว่าด้วยเรื่องปัญญา

    “จำไว้เลยว่า...
    เราจะต้องฝึกจิตให้หายพยศ ลดมานะ ละความชั่วให้ได้”



    คัดจากหนังสือ ทางพ้นทุกข์
     

แชร์หน้านี้

Loading...