นิ้วล็อก..อ่านตรงนี้?

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย แสงอมตะ, 18 เมษายน 2013.

  1. แสงอมตะ

    แสงอมตะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    126
    ค่าพลัง:
    +486
    นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
    นิ้วล็อก

    นิ้วล็อก หมายถึง อาการที่งอข้อนิ้วมือ แล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้เหมือนถูกล็อก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทั่วไปที่ต้องใช้มือจับสิ่งของ หรืออุปกรณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่องบ่อยๆ โรคนี้ไม่มีอันตรายใดๆ เพียงแต่ให้ความรู้สึกเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด เป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้

    ชื่อภาษาไทย นิ้วล็อก, ปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมืออักเสบ
    ชื่อภาษาอังกฤษ Trigger finger, Digital flexer tenosynvitis, Stenosing tenosynvits

    สาเหตุ
    เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการงอข้อนิ้วมือ ซึ่งอยู่ตรงบริเวณโคนนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้น และติดขัดในการเคลื่อนไหวขณะเหยียดนิ้วมือ เมื่ออักเสบรุนแรงมากขึ้นจะเกิดปุ่มตรงเส้นเอ็น เวลางอนิ้วมือปุ่มจะอยู่นอกปลอกหุ้ม แต่ไม่สามารถเคลื่อนเข้าปลอกหุ้ม เวลาเหยียดนิ้วมือกลับไป ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกอยู่ในท่างอ ต้องออกแรงช่วยใน การเหยียด จึงจะสามารถฝืนให้ปุ่มเคลื่อนที่ผ่านปลอกหุ้มเข้าไปได้

    การอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมือมักเกิดจากแรงกดหรือเสียดสีของเส้นเอ็นซ้ำซาก หรือใช้งานฝ่ามือมากเกินไป เช่น การใช้มือหยิบจับอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน ทำสวน ขุดดิน เล่นกีฬา เล่นดนตรี เป็นต้น โรคนี้จึงพบบ่อยในกลุ่มแม่บ้าน เลขานุการที่พิมพ์ดีดบ่อยๆ ผู้ที่ชอบเล่นกีฬา (เช่น กอล์ฟ เทนนิส) หรือเล่นดนตรี (เช่น ไวโอลิน) นอกจากนี้ยังพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อรูมาตอยด์ เบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์

    อาการ
    ระยะแรกมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ กำมือไม่ถนัดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังตื่นนอน พอใช้มือไปสักพักหนึ่งก็จะกำมือได้ดีขึ้น บางคนจะสังเกตว่าเวลางอแล้วเหยียดนิ้วมือจะได้ยินเสียงดังกิ๊ก ต่อมาจะมีอาการนิ้วล็อกคือ เวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้ มักเกิดกับมือข้างถนัดที่ใช้งาน นิ้วที่เป็นบ่อยได้แก่ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วกลาง และนิ้วนาง อาจเป็นเพียงนิ้วเดียว หรือเป็นพร้อมกันหลายนิ้วก็ได้ และอาจเป็นที่มือข้างเดียวหรือทั้ง ๒ ข้างก็ได้ อาการมักจะเป็นมากตอนเช้า

    การแยกโรค
    อาการนิ้วงอ เหยียดขึ้นไม่ได้ อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น เส้นเอ็นนิ้วมือฉีกขาดจากการบาดเจ็บ (ซึ่งมักเกิดขึ้นฉับพลันหลังได้รับบาดเจ็บ) การดึงรั้งของพังผืด (เช่น ผู้ที่มีบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่นิ้วมือ) ความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ (เช่น Dupuytren's contracture) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไข

    การวินิจฉัย
    แพทย์มักจะวินิจฉัยจากอาการแสดงเป็นหลัก และการตรวจร่างกายอาจตรวจพบว่าเมื่อใช้มือกดตรงโคนนิ้วมือ ตรงปุ่มกระดูกจะรู้สึกเจ็บ และบางคนอาจคลำได้ปุ่มเส้นเอ็นที่อักเสบ

    การดูแลตนเอง
    หากมีอาการเจ็บตรงโคนนิ้วมือ เวลางอนิ้วมือแล้ว เหยียดนิ้วมีเสียงดังกิ๊ก หรือเวลางอนิ้วมือแล้วเหยียดขึ้น เองไม่ได้ ควรจะไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด เมื่อพบว่าเป็นโรคนิ้วล็อก ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจัง และควรปฏิบัติดังนี้

    ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่เป็นนิ้วล็อกเล่น อาจทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากขึ้นได้

    ถ้ามีอาการข้อฝืด กำไม่ถนัดตอนเช้า ควรแช่น้ำอุ่นจัดๆ และบริหารโดยการขยับมือกำแบเบาๆ ในน้ำ จะทำให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น

    เมื่อต้องกำหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น ไม้กอล์ฟ ตะหลิวผัดกับข้าว ควรใช้ผ้าหรือฟองน้ำพันรอบๆ หรือใช้ถุงมือจับจะช่วยลดแรงกดหรือเสียดสีลง


    การรักษา
    แพทย์จะให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค ในระยะแรก อาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ เพื่อบรรเทาปวดและลดการอักเสบ การทำกายภาพ- บำบัด หรือฉีดยาสตีรอยด์เข้าไปที่เส้นเอ็นที่อักเสบ ซึ่งจะได้ผลดีเมื่อให้การรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการใหม่ๆ ถ้าไม่ได้ผล อาจต้องรักษาด้วยการใช้เครื่องมือสะกิดส่วนของพังผืดที่หนาตัวออกไป (โดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ไม่ต้องเข้าห้องผ่าตัด จะมีแผลเป็นรูเล็กๆ ตรงตำแหน่งที่เจาะ) ถ้ายังไม่ได้ผลอาจต้องทำการผ่าตัดแก้ไข

    ภาวะแทรกซ้อน
    ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด นอกจากทำให้มีอาการเจ็บปวด และใช้มือได้ไม่ถนัด

    การดำเนินโรค
    ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะเป็นเรื้อรัง และข้อฝืดมากขึ้น
    ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็มักจะหายได้

    การป้องกัน
    หลีกเลี่ยงการใช้มือทำงานที่มีลักษณะทำให้เกิดแรงกดหรือเสียดสีกับเส้นเอ็นแบบซ้ำซาก

    การหิ้วของหนักๆ เช่น ถุงหนักๆ ถังแก๊ส ถังน้ำ กระเป๋า (ควรใช้รถเข็นลาก หรือใส่ถุงมือ)

    การซักผ้า บิดผ้า (ควรใช้เครื่องซักผ้าแทน)

    เวลากำหรือจับอุปกรณ์ต่างๆ ควรใส่ถุงมือลดแรงกดหรือเสียดสี เช่น ใส่ถุงมือเวลาจับไม้ตีกอล์ฟ กรรไกรตัดกิ่งไม้ มีดตัดต้นไม่หรือดายหญ้า


    ความชุก
    โรคนี้พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่ทำงานที่ต้องหยิบจับสิ่งของหรืออุปกรณ์อย่างต่อเนื่องนานๆ หรือใช้มือหิ้วของหนักๆ

    Copyright 2011 All rights reserved :www healthupdatetoday .com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. ล้อเล่น

    ล้อเล่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    4,924
    ค่าพลัง:
    +18,649
    คุณแม่เคยเป็น รักษาด้วยการนวดแต่ใช้เวรานานมาก และไม่ให้หิ้วของหนักอีกเลยค่ะ
     
  3. Mabuchaa

    Mabuchaa Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +57
    แม่ผมท่านก็เคยเป็นแต่รักษาโดยการผ่าตัดแล้ว ตอนเป็นท่านปวดนิ้วมากๆ
    ขอบคุณมากครับที่นำสาระข้อมูลดีดีมาให้ทราบกัน
     
  4. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,275
    ค่าพลัง:
    +82,733
    พี่ชายเป็นค่ะ
    พี่ชอบเอามาให้ดู อยากให้น้องๆขำ ดูพี่ไม่ทุกข์ร้อนเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...