นี่แหละ.....หัวใจของคาถาที่แท้จริง

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย พระศุภกิจ ปภัสสโร, 20 มิถุนายน 2011.

  1. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166
    จะคาถาบทใด ๆ ประสงค์ให้เกิดผลด้านใดก็ตามย่อมต้องตั้ง นะโม ฯ 3 จบ ละเลยเสียไม่ได้
    เพราะนะโมฯ นี้เองคือหัวใจของคาถาทั้งมวล

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    การตั้ง นโม 3 จบ เพื่อสำรวมจิตใจให้ตั้งมั่นครบองค์ 3 ให้จิต +ใจ +กายรวมกันเป็นหนึ่งเดียวจะมีพลังสูงสุด
    ก่อนสวดมนต์หรือทำพิธี ท่อง"คาถา อาคม"ต่างๆ
    โบราณท่านว่าเพื่อชะระจิตให้บริสุทธิ์เสียก่อนจะกระทำการ เป็นการตั้งใจของคนเราเอาไว้
    นโม3จบ เพื่อให้ครบ กาย+วาจา+ใจ หากเราทำด้วยกาย วาจาอย่างเดียวหรือสองอย่างยังใช้ไม่ได้ ต้องให้ครบ 3 อย่าง กาย วาจา ใจด้วยจึงจะแน่นอน
    นะโมนี้ โบราณจารย์ทั้งหลายเห็นว่ามิเป็นการเคลือบแคลงสงสัยแก่สัตว์โลกทั้งปวงแล้ว จึงเอามาตั้งไว้ในบุรพบอันปรารถนาจะกระทำซึ่งพุทธกรรมวิธีทั้งหลายเป็นศาสนพิธีแบบพุทธ ดังนี้
    เทพเจ้ากล่าว
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ นี้ในเบื้องแรกนั้น เทพเจ้าเป็นผู้กล่าวนมัสการพระพุทธองค์ก่อนดังพระองค์ตรัสเทศนาไว้ใน พระจตุราคมนิกาย ดังนี้
    ๑. ณ กาลสมัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งเรานี้ เสด็จไปทรมานอารวกะยักษ์ แคว้นอารวีนคร ขณะที่พระองค์เสด็จไปประทับรออารวกะยักษ์อยู่ในวิมานนั้น อารวกะยักษ์ไปประชุม ณ เทวสันนิบาตยังไม่กลับมา สาตาคิรายักษ์กับสหายเหมวะตายักษ์ออกจากวิมานแห่งตนแล้วเหาะไป เพื่อจะนมัสการพระองค์ที่พระเชตวันวิหาร ณ กรุงสาวัตถี เมื่อไม่พบพระพุทธเจ้าจึงเหาะกลับมาทางวิมานของอารวกะยักษ์ ขณะที่เหาะมาข้ามวิมานของอารวกะยักษ์ซึ่งมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ภายในนั้น ด้วยอานุภาพ สาตาคิรายักษ์กับเหมวตายักษ์ก็หมดกำลังฤทธิและตกลง เมื่อยักษ์ทั้ง ๒ เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ในวิมานของอารวกะยักษ์นั้นจึงประคองมือขึ้นนมัสสการกล่าวว่า “นะโม” แปลว่า ข้าพเจ้าของถวายความนอบน้อม เป็นคำรพแรกในสมัยพุทธกาล อันเป็นที่มาของบท นะโม

    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เสด็จประทับอยู่ ณ เวฬุวันวิหาร แขวงกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อสุรินทราหู มหาอุปราชของท้าวเวปจิตติ ในอสูรพิภพ ได้มานมัสการพระพุทธเจ้าและกล่าวว่า “ ตัสสะ” แปลว่า ผู้มีกิเลสอันสิ้นแล้ว ดังนี้
    ๓. เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เสด็จประทับอยู่ ณ ควงไม้ราชายตนะ ในคราวที่พระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ ๆ นั้น ตะปุสสะกับภัลลิกะพานิชชาวเมืองสะเทิมได้น้อมนำข้าวสตุก้อนสตุผงเข้าไปถวายแล้วแสดงตนเป็นอุบาสกถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธและพระธรรม ครั้งนั้นท้าวจาตุมหาราชได้นำบาตรไปถวายพระพุทธองค์เพื่อเป็นภาชนะรับอาหาร แล้วได้กล่าวนมัสการว่า “ภะคะวะโต” แปลว่า พระผู้มีพระภาค

    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เสด็จประทับอยู่ในกุฏี ณ ป่าไม้สน ใกล้นคร สาวัตถี พระองค์ทรงประชวรลงพระโลหิตท้าวสักกะเทวราชได้นำเอาผอบทองมารองรับพระบังคนแล้วยกขึ้นทูลพระเศียรของพระองค์ไปเททิ้งในแม่น้ำ พร้อมด้วยกล่าวนมัสการว่า “อะระหะโต” แปลว่า ผู้เป็นพระอรหันต์

    ในคราวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ทรงเสด็จไปทรมานพกาพรหม ผู้มีทิฏฐิเห็นผิดเป็นชอบโดยเห็นว่าตายแล้วสูญ บาปบุญไม่มี ท้าวมหาพรหมผู้เป็นใหญ่และสร้างโลกเป็นต้น ณ พรหมโลกครั้งนั้น เมื่อพระองค์ทรงทรมานพกาพรหมด้วยวิธีเปลี่ยนกันซ่อนตัวและเที่ยวหา พกาพรหมพ่ายแพ้และยอมฟังพระธรรมเทศนา เมื่อเป็นสัมมาทิฏฐิเห็นชอบแล้วจึงกล่าวนมัสการว่า “สัมมาสัมพุทธัสสะ” แปลว่า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
    บทนมัสการทั้ง ๕ ตอนนี้ แต่ละตอนเทพเจ้านำมากล่าวเริ่มแรกเป็นนมัสการต่างคราวต่างวาระกัน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาไว้ในคัมภีร์จตุราคมนิกาย รวมความเป็น นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” แปลว่า ข้าพเจ้าขอถวายความนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบพระองค์นั้น ดังนี้

    สรุป
    ด้วยเหตุที่ คาถาจะศักดิ์สิทธิ์ต้องมีมูลเหตุมาจากศรัทธาก่อนแม้พระพุทธศาสนาเราก็ เริ่มต้น ที่ศรัทธาและทุกศาสนา ก็เริ่มต้น ที่ศรัทธาเหมือนกัน การจะใช้คาถาให้ขลังดังประสงค์แล้วนั้นจึงต้องตั้ง นะโม อันเป็นหัวใจให้คาถาทั้งมวลให้สัมฤทธิ์ผลดังนี้แล...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2012
  2. circle11

    circle11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +147
    อนุโมทนา สาธุ คะ ในการให้ความกระจ่างด้วยนะคะ แม้จะทราบคำแปล แต่ไม่เคยทราบที่มา และเห็นด้วยคะ ที่การสวด หรือ ทำอะไรก็แล้วแต่หากมีความศรัทธา ความเข้าใจในสิ่งที่ทำก็จะทำให้ตั้งใจและประสบผลได้ดียิ่งๆขึ้นไป สาธุ สาธุ;k04
     

แชร์หน้านี้

Loading...