เรื่องเด่น น่าคิด! บางคนปฏิบัติธรรม เข้าวัดเป็นประจำ แต่เหตุใดยังชอบเอาเปรียบ-ว่าร้ายคนอื่น?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 18 มีนาคม 2018.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    น่าคิด! บางคนปฏิบัติธรรม เข้าวัดเป็นประจำ แต่เหตุใดยังชอบเอาเปรียบ-ว่าร้ายคนอื่น?


    1111-1.jpg



    Dhamma Daily : ทำไมปฏิบัติธรรม แล้วยังเอารัดเอาเปรียบและพูดจาว่าร้ายคนอื่น
    ถาม : ผู้ปฏิบัติธรรม บางคนชอบเล่าบ่อยครั้งว่าตนนั่งสมาธิ ฟังธรรมเป็นประจำ แต่เพื่อนในกลุ่มรู้สึกตรงกันว่า เขามักเอาเปรียบและพูดจาว่าร้ายผู้อื่นเสมอ ยุยง ส่งเสริมให้เพื่อนในกลุ่มแตกแยกกัน อยากสอบถามว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้นคะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครคือคนที่ปฏิบัติฝักใฝ่ในธรรมโดยแท้จริง

    ตอบ : การปฏิบัติธรรม นั้นเป็นหนทางการขัดเกลาจิตใจให้ลดความเห็นแก่ตัว ถอนความถือตัวและละความอหังการ (ยึดมั่นว่าตัวเรา) นี่คือสาระหลัก

    แต่คนที่อ้างตนว่าเป็นผู้ ปฏิบัติธรรม แต่มีพฤติธรรมตรงกันข้ามนั้น น่าจะยังมิใช่ผู้ปฏิบัติธรรมตามสมอ้าง ดังนั้นนักปฏิบัติธรรมที่แท้จริงต้องเป็นไปเพื่อการชำระความเย่อหยิ่งความถือตัว ความเห็นแก่ตัว อาจเรียกว่าเป็นผู้กำลังหันหลังให้กับอัตตาก็ว่าได้ และต้องปฏิบัติตนเพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่นสม่ำเสมอ

    หลักการของผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาที่แท้จริงควรมีลักษณะที่โดดเด่นและแจ่มชัด กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง หมั่นบำเพ็ญแต่ความดี บริหารจิตของตนให้ผ่องใสเนือง ๆ ไม่กล่าวโทษหรือทำร้ายผู้อื่น มีความสำรวมในข้อปฏิบัติอันชอบด้วยธรรมเสมอ มักจะเป็นผู้รู้จักประมาณในการใช้ชีวิต เลือกเฟ้นสังคมหรือชุมชนที่เหมาะสม และขยันฝึกฝนตนเองอยู่ตลอดเวลา นี่คือหลักการสำคัญของนักปฏิบัติในพระพุทธ-ศาสนา และเป็นหลักสากลที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสั่งสอนไว้ ถ้าถือปฏิบัติผิดแผกแตกต่างไปจากหลักการเช่นนี้ก็แสดงว่า ผู้นั้นยังไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องอย่างแท้จริง

    ฉะนั้น จากคำถามนี้อาจพิจารณาได้ด้วย 2 เหตุผล กล่าวคือ

    1. ผู้นั้นอาจไม่ได้ปฏิบัติธรรมตามกระบวนการโดยแท้จริง เพียงแต่สละตนเข้าปฏิบัติธรรม เพื่อให้ตัวเองได้ถูกเรียกว่าผู้ปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ไม่ได้ตั้งใจปฏิบัติจริงและไม่สามารถเข้าถึงหลักการที่แท้จริงได้ เพราะรับเอาแต่เฉพาะรูปแบบการปฏิบัติตามคนอื่น แต่ตนเองไม่เข้าใจว่าตนได้ปฏิบัติธรรมจริงหรือเปล่า หรือกำลังได้อะไรจากการเข้าปฏิบัติธรรมนั้น นี่เรียกว่าหลอกทั้งตนเองและผู้อื่นด้วยประเภทนี้จะเสียประโยชน์ตนและเสียเวลาเปล่า

    2. ผู้นั้นอาจเป็นผู้สละตนเข้าปฏิบัติธรรมจริง แต่ว่ามีอุปนิสัยดั้งเดิม เช่น ความโลภ แล้งน้ำใจ หรือมีนิสัยปากเปราะชอบว่าร้ายผู้อื่น ยังคงทำหน้าที่อยู่ก็เป็นไปได้เพราะอุปนิสัยนั้น บางทีไม่อาจสลัดออกไปได้โดยสิ้นเชิงทีเดียว เพราะมันเป็นกิเลสที่นอนเนื่อง เป็นสันดานติดตัวมาจากหลายภพชาติที่ผ่านมา เคยสั่งสมพฤติกรรมเก่าในอดีตชาติ ดังนั้น ผู้อ้างตนว่าเป็นนักปฏิบัติธรรมท่านนี้แม้เข้าปฏิบัติธรรมก็จริง แต่ยังไม่สามารถละอุปนิสัยเดิมก็เป็นได้ แต่คำถามที่น่าสนใจคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ใดคือผู้ปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ควรมีหลักการสังเกตไว้ดังนี้

    • จิตใจต้องอ่อนโยน ละเอียด ละเมียดละไม เป็นผู้สงบ ผู้อยู่ใกล้ชิดจะสามารถสัมผัสความเยือกเย็นของเขาได้โดยการแสดงออกผ่านการกระทำ
    • ผู้ปฏิบัติธรรมมักมีจิตเอื้อเฟื้อ เสียสละ เห็นใจคนอื่นง่าย ประกอบกับมีความเมตตาเป็นที่ตั้ง
    • ผู้ปฏิบัติธรรมมักมีปฏิภาณไหวพริบ เฉลียวฉลาดมีความรู้เรื่องศีลธรรม และตระหนักในคุณค่าของความดีเสมอ
    ------------------------
    ขอบคุณที่มา
    สกู๊ปโดย : goodlifeupdate.com
     
  2. zalievan

    zalievan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    3,264
    ค่าพลัง:
    +5,219
    คนเข้าวัดฟังธรรมก็ไม่ใช่ว่าจะได้ธรรมมะกลับมาทุกคนครับ
    บางคนก็เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา
    บางคนก็ไม่เข้าใจธรรมะ
    บางคนก็เข้าใจธรรมมะผิด
    บางคนก็ได้อาจารย์หรือฟังธรรมจากพระที่สอนไม่ถูก หรือ ไม่ได้สอนเรื่องราวในศาสนาเลย

    และนอกจากนี้การเข้าใจธรรมะ มันก็ยังขึ้นอยู่กับอุปนิสัยส่วนตัว ที่ได้สั่งสมมาด้วยว่าต้องกันกับศาสนาหรือเปล่า

    ยกตัวอย่าง
    กรณีผมผมก็เป็นแบบชื่อกระทู้เป๊ะ ๆ เลย
    เข้าวัดฟังธรรม
    ออกมาคุยว่าได้ปฏิบัติธรรม
    แต่ยังทำตัวแย่ ๆ อยู่

    มันมีหลายปัจจัยครับ ที่ทำให้คนคนหนึ่งเป็นอย่างนี้
    ไม่ว่าจะเป็น สติปัญญา ปัญหาชีวิต มุมมองที่มีต่อคนรอบข้าง สภาวะจิตใจ การเรียนรู้ที่ไม่ถูกลำดับ การไม่เข้าใจศาสนาอย่างถูกต้อง เป็นต้น

    เอาเป็นว่า คนเหล่านี้ เขาสร้างปัญหาเพราะเขามีปัญหาน่ะแหละครับ ถ้าเราไม่มีสติปัญญาเท่าเขา ความคิดเท่าเขา และมีชีวิตเหมือนเขาเป๊ะ ๆ แล้วเราคิดแบบเขาเป๊ะ ๆ บางทีเราก็อาจจะไม่เข้าใจเขาหรอก

    มันก็ไม่ต่างอะไรจากผมเท่าไร ซึ่งกว่าผมจะเข้าใจว่าสิ่งที่ตัวเองทำมันไม่ถูกก็ใช้เวลาโขอยู่ และตอนนี้ก็ยังเข้าใจไม่หมด ผมยังสามารถสร้างปัญหาได้อีกเยอะ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยภายในของตัวผมเอง

    ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมอยากจะชวนให้มองกันอีกมุม ว่า
    บางคนที่ดูเหมือนจะสร้างปัญหา เขาอาจจะเป็นคนดีกว่าที่คิดก็ได้ และหลายคนก็ต้องการความช่วยเหลือ แต่ การช่วยเหลือเขาก็ต้องการคนที่มีสติปัญญามากโขอยุ่เหมือนกัน เพราะต้องมีการทำความเข้าใจคนพวกนี้อยู่อีกยาว

    พยายาม มองธรรมดาของสิ่งใด ๆ ให้ออกกันดีกว่า เพื่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้พระธรรม

    ถ้าใจเราน้อมนำไปในทางธรรมแล้ว และเราเห็นธรรมดาของโลก เราจะมีเมตตาครับผมเขื่ออย่างนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...