น่าเป็นห่วง หลักสูตรพุทธศาสนา จากบางอาจารย์ สอนตายแล้วสูญ ( หลักสูตร ม.1- ม.6)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 24 มกราคม 2006.

?
  1. ไม่เห็นด้วย (คิดว่าสอนผิด)

    0 vote(s)
    0.0%
  2. เห็นด้วย (คิดว่าสอนถูก)

    0 vote(s)
    0.0%
  1. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    คำอ้างอันนี้ท่านรู้จริง หรือเชื่อตามตำรา กันล่ะ
    -------------------
    ก็สอนอยู่ว่าอย่าเชื่อจากตำรา พุทธกับพราหมณ์สอนต่างกัน พราหมณ์สอนว่ามีอัตตา พุทธสอนว่าไม่
    มีอัตตา เรื่องนี้ใช้เหตุผลมาพิจารณาได้ และดูจากสิ่งที่มีอยู่จริงพิสูจน์ก็ได้อีก

    ************************
    เรื่องที่อ่านจากตำราแต่เรายังพิสูจน์ความจริงไม่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ได้แปลว่า
    ตำรานั้นไม่จริง ....
    หลักกาลาสูตร ไม่ได้สอนให้เชื่อ หรือไม่เชื่อ แต่ทุกสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา
    ก็ถือเป็นสมมุติฐาน ที่รอการพิสูจน์ อันไหนยังพิสูจน์ไม่ได้ ก็วางไว้ก่อน
    ไม่ใช่ให้ปฏิเสธ วันนี้อาจพิสูจน์ไม่ได้เพราะเครื่องมือของเรายังไม่พร้อม
    ไม่ถึงขั้น เทคโนโลยี่ยังต่ำต้อย ก็อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจ ต้องใช้ปัญญา
    พิจารณาโดยแยบคาย ดูปัญญาผู้รู้ของคนอื่นประกอบด้วย แล้วก็พิสูจน์
    ความจริงต่อไปจนกว่าจะสำเร็จ หรือถ้าเลิกลาไปก่อนก็เพิ่งด่วนติตำรานั้น
    ว่าเป็นเรื่องไม่จริง เพราะการจะบอกว่าเรื่องไหนไม่จริงก็ต้องหาหลักฐาน
    มาพิสูจน์ด้วยว่ามันไม่จริงตรงไหนอย่างไร ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิต

    --------------------------------
    การจะมองสิ่งใด เราต้องมองให้รอบด้าน ไม่ใช่มองเพียงแง่มุมใดแง่มุมหนึ่งเท่านั้น

    จริงอยู่ที่ "เรื่องที่อ่านจากตำราแต่เรายังพิสูจน์ความจริงไม่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ได้แปลว่าตำรานั้นไม่จริง "

    แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง ถ้าบังเอิญตำรานั้นได้ถูกบิดเบือนหรือเปลี่ยนแปลงให้ผิดเพี้ยนมาก่อนที่จะถึงเรา

    (ซึ่งอาจจะจากคนโง่ที่ศรัทธาหรือจากคนที่ไม่หวังดี) ก็แสดงว่าตำรานั้น "ไม่เป็นจริง" หรือ "ผิดเพี้ยน"

    แล้วถ้าเราเชื่อตำรานั้น เราก็จะมิถูกหลอกให้โง่งมงายไปจนตายหรือ? คือถูกเขาหลอกให้ปฏิบัติไปจนตายโดยไม่บังเกิดผลใดๆเลย

    พอเราปฏิบัติไม่ได้ผล เขาก็ยังหลอกอีกว่าบารมีไม่พอ ต้องปฏิบัติอีกหลายชาติ ฯ อย่างนี้เราก็เท่ากับ

    ถูกหลอกไปจนตายโดยไม่รู้ตัว ถ้าเป็นอย่างนี้ก็น่าสงสารอย่างที่สุด ซึ่งก็กำลังเป็นกันอยู่อย่างนี้ทั่วบ้านทั่วเมืองในปัจจุบัน

    ******************************
    แล้วพระคุณเจ้า ล่ะ รู้แจ้งอริยสัจจ์4 หรือยัง

    -----------------------
    คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นจะต้อง "ปฏิบัติถูกต้องเมื่อไร ก็ต้องได้ผลเมื่อนั้น โดยไม่ต้องรอเวลา"

    อย่างนี้จึงจะเป็นคำสอนที่มีประโยชน์ต่อทุกชีวิตในปัจจุบันอย่างแท้จริง ไม่ใช่สอนให้มีแต่ความหวัง

    ลมๆแล้งๆโดยไม่ได้อะไรไปจนตาย อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

    ลองอ่านจากบทความนี้ดู www.whatami.ob.tc/lum/lum86.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2010
  2. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ผิดแล้ว
    ท่านไม่เชื่อโลกหน้า และสอนคนไม่ให้เชื่อโลกหน้า ถูกหรือไม่
    พูดอย่างนี้ เหมือนไม่เคยตาย

    -----------------------
    นี่แสดงว่าไม่ยอมรับกฎที่ว่า "ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องมาจากเหตุและปัจจัยสร้างขึ้นมา"

    คำที่ว่า "ไม่เคยตาย" นี้หมายความว่าอย่างไร?

    ***************

    คงไม่ขอกล่าวอะไรมากไปกว่านี้แล้ว เพราะไม่พ้นเรื่องเดิมๆ

    ของที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าพิสูจน์ไม่ได้

    ----------------------
    ของที่ "ไม่มีอยู่จริง" ถึงจะพิสูจน์อย่างไรก็ "พิสูจน์ไม่ได้" เหมือนกัน

    แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่า ของที่ "พิสูจน์ไม่ได้นั้น" เป็นของที่ "มีอยู่จริง" หรือ "ไม่มีอยู่จริง"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กรกฎาคม 2010
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    งั้นมาพิสูจน์กัน

    ท่านว่า "ไม่มีกายย่อมไม่มีจิต" ถูกไหม

    แขนขาใช่ของท่านไหม

    หากตัดแขนขาไป ตัวท่านยังมีอยู่ไหม

    หูตาใช่ของท่านไหม

    หากทำลายแก้วหู ควักตาเสีย ตัวท่านยังมีอยู่ไหม

    ทั้งหมดเป็นเพียงอยาตนะ ช่องทางในการรับรู้ ไม่เว้นแม้แต่สมอง

    ทั้งหมดมันแค่อวัยวะ เมื่อสูญเสียอวัยวะ ช่องทางรับรู้ย่อมถูกปิดไป

    คนปฎิบัติธรรม สติปัฏฐานสี่ ข้อนี้ย่อมทราบกันทุกคน

    กายย่อมไม่ใช่ของเรา

    ทีนี้ เสียงที่ก้องในหัว ภาพที่คิดคำนึง หรืออารมณ์ที่ปรุงแต่ง

    เรียกรวมๆ ล้วนเกิดจาก จิต

    ด้วยกฎ สิ่งหนึ่งสู่สิ่งหนึ่ง

    อารมณ์หนึ่งนำไปสู่อารมณ์หนึ่ง

    ความคิดหนึ่งนำสู่ความคิดหนึ่ง

    ในแต่ละวันเรามีอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกกระแทกเข้ามาเท่าไหร่

    ทั้งหมดนี่ พูดถึงปัจจุบันนะ ไม่มีอดีต หรืออนาคตมาคาดเดาเลย

    จิตสืบเชื้อ เกิดแลัวดับ แล้วเกิด แล้วดับ เ้ป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

    เพราะการสืบเชื้อ สืบสันดาน โดยมีกิเลสหล่อเลี้ยง ให้เกิดภพชาติ อะไรก็แล้วแต่

    หากดูรวมๆ เป็นกระบวนการสร้างอัตตา ไม่จบสิ้น

    ทีนี้ จิตไม่หยุดทำงานแม้ขณะ ลมหายใจสุดท้าย ทางโลกว่าการตาย ซึ่งตายไม่จริง

    เหตุของการตาย ด้วยสังขารเสื่อม

    ตรงนี้ที่ท่านเตชปญ ภิขุว่า ร่างกายตาย สมองตาย จิตย่อมตายตาม ถูกไหม

    ที่จริงเรารู้แล้วว่ากายเป็นเพียงอยาตนะ เมื่อหมดเหตุ จิตยังคงสืบเชื้อสายอยู่

    ตรงนี้อธิบายกระบวนการทำงานจิต หรือยังมีอีกวิธี คือไปลองตายดู หุหุ


    ต่อมา กลับมาเรื่องนรกสวรรค์

    จิตเมื่อละสังขาร ย่อมเหวี่ยงสืบไปตามกรรม

    เคยมีคนบอกไว้ จิตขณะตาย มักคิดเรื่องที่เคยทำซ้ำๆในอดีต เช่นเคยฆ่าหมู เคยสร้างวัดทำบุญ

    จิตขณะนั้นเขานับกันที่ จิตเป็นกุศล หรืออกุศล

    แปลไทยเป็น จิตขณะนั้นเสพอารมณ์ดี หรือชั่ว

    ตรงนั้นแหละ คือจิตเหวี่ยง ให้เป็นปฏิสนธิ

    อาจจะขึ้นสวรรค์ นรก ซึ่งเรียกรวมๆแดนกามจร

    สวรรค์ที่เขาว่ามีวิมารมีทิพย์ มีนางฟ้า มีความสุขนั้น

    ที่จริงแล้ว สวรรค์แต่ละคนไม่เหมือนกัน มันเป็นเรื่องของจิตที่สั่งสมเอาไว้

    จิตขณะเป็นมนุษย์ หรือจิตที่อาศัยอายตนะเป็นแดนนั้น

    การสืบทอดจิตเป็นกุศลหรืออกุศล

    หรือทำชั่ว กับทำดี อย่างไหนมากกว่ากัน ก็เอากันคร่าวๆนะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กรกฎาคม 2010
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    พูดเรื่องจิตสืบเชื้อสายแล้วนะ

    เวลาท่านทำอะำรเพื่อส่วนรวมซักอย่างหนึ่ง ที่ไปในทางกุศลจิต

    เจตนาดี พูดดี ทำดี จิตขณะนั้นย่อมอิ่มเอิบ เป็นบุญ

    หรือ แปลธรรมให้พระฟังได้อีกว่า อารมณ์ขณะนั้นเป็นสุข มีความสุขใจ แม้แค่ช่วงเวลาหนึ่ง

    ซึ่งการสร้างเหตุแห่งสุขนั้น

    ทางโลกว่า ให้รู้จักการให้ ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ

    มุ่งดีให้ผู้รับมีความสุข ใจเราก็พลอยสุขไปด้วย

    พุทธองค์จึงทรง ตรัสเหตุ กุศลกรรมบถ10 ในเรื่องทาน

    ทีนี้เรารู้จักสร้างบุญสร้างกุศล ความหมายคือการชำระร้างกิเลส

    แต่เราๆท่านๆ มันยังอดทำบุญหวังผลไม่ได้ นี่ก็เป็นเหตุของ อัตตา

    ไม่ว่ากระบวนการสร้างทานจะอยางไรไม่กล่าวเพิ่ม

    แต่เราจะพูดกันที่ผล ขณะให้ทาน จิตเป็นกุศล

    เมื่อทำบ่อยๆ ทำมากๆ ทำเป็นนิสัย ทำเป็นสันดาน จิตมันก็สืบภพไปทางที่ดี

    เอามันปัจจุบันเลย นิสัยแต่ละคนทำไมถึงต่างกัน

    บางคนจิตใจดี มันก้แสดงออกแต่ดีๆ ทำเรื่องดีๆ พูดเรื่องๆดี จนเป็นสันดานที่ดี

    ที่เราๆรู้สึกและเรียกว่า ไอ้นี่มันคนดีนั่นแหละ

    โลกของเขาก็เป็นในแง่ดี มีความสุขกับการใช้ชีวิต ซึ่งเป็นมายา

    และมายานั่นแหละ คือสิ่งที่เขาอยากเห็นและสร้าง แล้วเสพ ในภพสวรรค์

    ที่คนเขาว่า สวรรค์มีแต่สุข ส่วนนรก การอธิบายคล้ายกันกับสวรรค์ แต่ให้ผลตรงข้าม

    ดังนั้น จิตจึงเป็นใหญ่ จิตเร็วกว่าแสง จิตมีกำลัง จิตมีความอยาก

    และ ความอยากสร้างอัตตาได้
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    กลับมาที่พุทธวจนะ โอวาทสาม

    ละชั่วทั้งปวง

    ยังกุศลให้ถึงพร้อม

    ทำจิตให้ผ่องแผ้ว

    ความหมายมันครอบที่เราอธิบายทั้งหมด ว่าทำไม!

    ทีนี้ การเจริญศีล ภาวนา เพื่อเป็นปัญญาเข้าไปรู้ความจริง

    ความจริงเกี่ยวกับ พวกเปลืองข้าวสุก พวกหลงอารมณ์ หลงโลก พวกมิจฉาทิฏฐิ เชื่อตายแล้วสูญ

    ทีนี้เมื่อเจริญสติ ภาวนา จนมีปัญญาเห็นธรรม เห็นความจริงในธรรมชาติเราๆ

    มันก็ร้องอ๋อ โง่ตั้งนาน

    เมื่อกระบวนการรับรู้ จนพัฒนาเป็นปัญญาไถ่ถอน ไม่หลงตนอีกต่อไป

    เมื่อนั้น กิเลสซึ่งเป็นความอยาก ไม่อยาก จะค่อยๆหมดไป

    อาหารที่หล่อเลี้ยงจิตจะค่อยๆหมดไป

    กระบวนการสืบเชื้อจิตก็จะเริ่มเข้าสู่อารมณ์ว่าง จนไม่มีเชื้อ

    แปลเป็นบาลี คือกระบวนการปฏิจสมุปบาท
     
  6. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจโดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    งั้นมาพิสูจน์กัน
    ท่านว่า "ไม่มีกายย่อมไม่มีจิต" ถูกไหม
    แขนขาใช่ของท่านไหม
    หากตัดแขนขาไป ตัวท่านยังมีอยู่ไหม

    --------------------------------------

    นี่เป็นการพิสูจน์อะไร????? หรือเป็นการเปรียบเทียบ กรุณาบอกให้ชัดเจน และเปรียบเทียบให้ตรงประเด็น

    ถ้าเอาจากความจริงที่เราทุกคนสามารถพบเห็นได้ ขอถามทุกคนว่า "คุณเคยมีจิตโดยไม่ต้องมีร่างกายมาแล้วหรือ?"

    เอาซิถ้าใคร "เคยมีจิตโดยไม่ต้องมีร่างกาย" ก็เชื่อได้เลยว่า ตายแล้วจิตสามารถออกจากร่างกายได้

    แต่ถ้าใคร "ไม่เคยมีจิตโดยไม่ต้องมีร่างกาย" ก็อย่าเชื่อ เพราะยังพิสูจน์ไม่ได้

    ********************************************

    ตรงนี้ที่ท่านเตชปญ ภิขุว่า ร่างกายตาย สมองตาย จิตย่อมตายตาม ถูกไหม
    ที่จริงเรารู้แล้วว่ากายเป็นเพียงอยาตนะ เมื่อหมดเหตุ จิตยังคงสืบเชื้อสายอยู่
    ตรงนี้อธิบายกระบวนการทำงานจิต หรือยังมีอีกวิธี คือไปลองตายดู หุหุ

    ---------------------

    คนที่เชื่อตายแล้วยังมีจิตไปเกิดใหม่ได้ควรเป็นผู้ที่ทดลองตายดูเพื่อพิสูจน์
    ไม่ใช่ให้คนที่ไม่เชื่อไปพิสูจน์ (ตายแล้วก็มาบอกด้วยละกัน จะได่เชื่อ)

    ********************************

    กลับมาที่พุทธวจนะ โอวาทสาม
    ละชั่วทั้งปวง
    ยังกุศลให้ถึงพร้อม
    ทำจิตให้ผ่องแผ้ว
    ความหมายมันครอบที่เราอธิบายทั้งหมด ว่าทำไม!......

    --------------------------

    ก็ไม่เห็นจะอธิบายอะไรให้มีหลักและชัดเจนเลย เอาให้แน่ๆว่า เมื่อยอมรับว่าทุกสิ่งทีเกิดขึ้นต้องมาจากเหตุปัจจัย ก็แล้วทำไมไม่ยอมรับว่าจิตก็ต้องอาศัยร่างกายเพื่อเกิดขึ้นมา

    จะไปเอาตำรามาอ้าง หรือเอาคนอื่นมาอ้าง เพื่อลบล้างความจริงนี้ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นการศึกษาจามความเชื่อ ไม่ได้ศึกษาตามความจริงที่เราทุกคนสามารถพิสูจน์ได้

    ถ้าศึกษาจากของจริงที่เราทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ มันก็หมดปัญหาและไม่ต้องมาถกเถียงกัน

    แต่ถ้าศึกษาตามตำราหรือตามคนอื่น มันก็เถียงกันไปได้เรื่อยไม่รู้จักจบสิ้น เพราะมันเป็นการจินตนาการ(คิดเพ้อใฝัน)เอา

    คุณจะศึกษาจากของจริง หรือศึกษาตามที่คนอื่นเขาสอนไว้? ถ้ายอมรับหลักกาลามสูตรก็คงไม่เกิดปัญหานี้
     
  7. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ฟังจากการตอบของ เตชญโญ ออกอาการลิ้นจุกปาก

    ตอบอะไรมั่วไปหมด เหมือนปัดให้พ้นตัว

    ที่เราชี้แนะ ไม่มีในตำราหรอก มันต้องพิสูจน์ด้วยตัวเอง

    คำอธิบายมันก็ไม่ใช่วิชาการอะไร ทำไมเข้าใจยากนัก

    มีอีกข้อพิสูจน์นึง เป็นงานค้นคว้าของ

    พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)


    ความสำคัญของนรก-สวรรค์ในแง่พระพุทธศาสนา

    ทีนี้หันไปพูดเรื่องนรก-สวรรค์ในแง่พระพุทธศาสนา นรก-สวรรค์มีความสำคัญแค่ไหน ศาสนาทุกศาสนามีเรื่องนรก-สวรรค์ เป็นเรื่องที่คนถามกันมาตลอดว่ามีจริงไหมเป็นอย่างไร ในประเพณีของเราก็มีการพูดเรื่องราวเกี่ยวกับนรก-สวรรค์ ในทางวรรณคดีก็ตาม ศิลปกรรมก็ตาม ก็จะมีเรื่องนรก-สวรรค์ไปเกี่ยวข้องด้วย เช่น ภาพฝาผนังตามปูชนียสถานต่าง ๆ ก็มีเรื่องเหล่านี้มากมาย แต่ว่าเราควรมาดูในแง่หลักการก่อนว่า เรื่อง นรก-สวรรค์กับพระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กันแค่ไหนเพียงใด
    อาตมาได้บอกแล้วว่า นรก-สวรรค์เป็นเรื่องสำคัญเป็นเรื่องใหญ่ ทีนี้มาดูในแง่พระพุทธศาสนา ความสำคัญของนรก-สวรรค์ถ้าเทียบกับศาสนาทั่ว ๆ ไป มันลดลงไปหน่อย
    ทำไมจึงว่าอย่างนั้น คือในศาสนาเป็นอันมาก นรก-สวรรค์เป็นจุดสุดท้ายแห่งการเดินทางชีวิตของมนุษย์ บางศาสนาบอกว่ามี นรกนิรันดร สวรรค์นิรันดร เช่นว่าเราอยู่ในโลกมีชีวิตครั้งนี้ทำความดีความชั่ว เมื่อตายไปวิญญาณจะไปรอจนถึงวันสิ้นโลก แล้วก็มีการตัดสิน ผู้ที่ควรได้รับรางวัลก็จะได้ไปอยู่สวรรค์นิรันดรตลอดไป หรือผู้ที่ควรได้รับโทษก็จะถูกตัดสินให้ตกนรกนิรันดร ในแง่นี้ นรก-สวรรค์เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นจุดสุดท้าย เป็นจุดหมาย
    ทีนี้มามองดูในพระพุทธศาสนา เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ความสำคัญของนรกสวรรค์มันจะด้อยลงไป เอาสวรรค์ก็แล้วกัน เพราะเป็นสิ่งที่เราต้องการสวรรค์ไม่ใช่จุดหมายของพระพุทธศาสนา จุดหมายของพระพุทธศาสนาบอกว่า มีสิ่งที่สูงกว่านั้น สิ่งที่สำคัญกว่าสวรรค์คือนิพพาน สวรรค์นี้เมื่อไม่ใช่จุดหมาย ความสำคัญของมันก็ด้อยลงไป
    เราจะปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ถ้าจะปฏิบัติให้แท้จริงให้ตรงตามหลักการ เราก็บอกว่าไม่ใช่เพื่อจะไปสวรรค์ แต่เพื่อจะนิพพาน สวรรค์กลายเป็นเรื่องขั้นตอนที่อยู่ในระหว่าง ความสำคัญของสิ่งที่อยู่ในระหว่างย่อมจะลดน้อยลงไป น้อยกว่าสิ่งที่เป็นจุดหมายสุดท้าย นี้เป็นเรื่องธรรมดา
    ทีนี้ประการต่อไป นรก-สวรรค์ตามที่รู้กันหรือพูดถึงกันอยู่ เป็นเรื่องที่ได้รับ หรือไปประสบหลังจากตายแล้ว ศาสนาอื่น ๆ ก็ว่าอย่างนี้ เมื่อตายไปแล้วจะไปนรกหรือสวรรค์ เป็นเรื่องชีวิตหน้า ทีนี้จุดหมายในพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่บรรลุได้ในชาตินี้ นิพพานสามารถบรรลุได้ในชาตินี้ตั้งแต่ยังเป็น ๆ อยู่ นี่เป็นแง่ที่สองที่ทำให้ความสำคัญของสวรรค์-นรก น้อยลงไป เราอาจบรรลุจุดหมายสูงสุดได้ในชาตินี้แล้ว เราก็ไม่ต้องพูดเรื่องหลังจากตายแล้ว เรื่องนรก-สวรรค์ไม่ต้องมาเกี่ยวข้อง
    ต่อไปในข้อที่สาม นรก-สวรรค์ในพระพุทธศาสนาเป็นเพียงส่วนหนึ่งในสังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิด สังสารวัฏมีการเปลี่ยนแปลงได้ ชีวิตของเราเดินทางไปในสังสารวัฏ มีหมุนขึ้น หมุนลง ตกนรกแล้วต่อไป ถ้าเรามีกรรมดีก็กลับไปขึ้นสวรรค์ มาเกิดเป็นมนุษย์คนที่เกิดเป็นพระพรหมด้วยกรรมดีบำเพ็ญญาณสมาบัติ ต่อไปเมื่อสิ้นบุญแล้วกลับไปตกนรกเพราะมีกรรมชั่วในหนหลังก็ได้ มันก็หมุนเวียนไปมา
    ฉะนั้น นรก-สวรรค์นี้ก็เป็นเพียงส่วนที่หมุนเวียนอยู่ในระหว่าง แล้วก็เป็นของชั่วคราวเพราะฉะนั้นความสำคัญก็ลดลง เพราะเรามีโอกาสที่จะแก้ตัวได้มาก นี้เป็นเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจในเบื้องต้น เพื่อจะได้เห็นฐานะของนรก-สวรรค์ในพระพุทธศาสนา ในแง่นี้ ถ้าเราไปเปรียบเทียบกับศาสนาที่ถือเรื่องนรก-สวรรค์เป็นนิรันดร เป็นสิ่งสุดท้ายที่มนุษย์จะประสบ มันก็จะมีความแตกต่างกันได้มาก เมื่อทำความเข้าใจเบื้องต้นอย่างนี้แล้ว ก็พูดถึงเนื้อหาเรื่องตัวนรก-สวรรค์โดยตรง
    ข้อพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องนรก-สวรรค์
    เอาละทีนี้มาพูดถึงเรื่องนรก-สวรรค์ เข้าสู่เนื้อหา เรื่องนรก-สวรรค์มีแง่ที่ต้องแยกอีก ๒ อย่าง
    แง่ที่หนึ่งคือ ความมีอยู่จริงหรือไม่ นรก-สวรรค์มีจริงไหม แง่ที่สองคือท่าทีของชาวพุทธ หรือท่าทีของพุทธศาสนาต่อเรื่องนรก-สวรรค์
    นี่ต้องพูดทั้งสองแง่ จะพูดแง่เดียวไม่พอ เพราะมันสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สำหรับพุทธศาสนานี้อาตมาขอพูดไว้ก่อนว่า เรื่องท่าทีต่อนรก-สวรรค์ เป็นสิ่งสำคัญมาก เราจะต้องวางท่าทีให้ถูกต้อง พูดเกริ่นไว้หน่อยว่า เรื่องนรก-สวรรค์จัดอยู่ในประเภทสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้สำหรับคนสามัญ ที่ว่าพิสูจน์ไม่ได้นี้หมายถึงทั้งในแง่ลบแง่บวก คือจะพิสูจน์ว่ามีก็ยังเอามาแสดงให้เห็นไม่ได้ จะพิสูจน์ว่าไม่มีก็ยังไม่สามารถแสดงให้เห็นว่ามันไม่มีให้มันเด็ดขาด พูดไม่ได้ทั้งสองอย่างแต่บางคนอาจบอกว่าเมื่อพิสูจน์ไม่ได้ว่ามี มันก็ไม่มี ไม่ถูก การพิสูจน์ต้องพิสูจน์ด้วยอายตนะ สิ่งที่เห็นได้ สิ่งที่จะรู้ด้วยการเห็น ก็ต้องเอามาให้ดูด้วยตา
    สิ่งที่จะรู้ได้ด้วยการได้ยิน ก็ต้องพิสูจน์ด้วย ก็ต้องพิสูจน์ด้วยการเอามาทำให้ได้ยินเสียง เป็นอันว่าต้องพิสูจน์ให้ตรงตามอายตนะจะพิสูจน์ว่าเสียงมีไม่มี จะพิสูจน์ด้วยตาได้ไหม ไม่ได้ พิสูจน์ว่ารสมีไหม พิสูจน์ด้วยหูก็ไม่ได้ ไม่ได้เรื่อง มันต้องตรงตามอายตนะกันทีนี้นรก-สวรรค์พิสูจน์ด้วยอะไร พิสูจน์ด้วยตา ด้วยหู ด้วยจมูก ลิ้น กายไม่ได้ มันต้องพิสูจน์ด้วยชีวิต ที่ใจนั้นเอง
    เราดูหลักง่าย ๆ ไม่ต้องพูดลึกซึ้ง เราถือว่าจิตเป็นแกนของชีวิต เป็นตัวทำหน้าที่เกิดจะพิสูจน์เรื่องนรก-สวรรค์ว่าตายแล้วไปเกิดหรือไม่ ก็ต้องพิสูจน์ด้วยจิต คือลองตายดู
    ทีนี้พอบอกว่าจะพิสูจน์ด้วยตาย ก็ไม่มีใครยอม เพราะต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง จะให้คนอื่นพิสูจน์ไม่ได้
    เราบอกว่า คนหนึ่งตายแล้ว เขาไปเกิดที่ไหน เราไม่รู้ ตัวเขาเป็นผู้พิสูจน์ เราเป็นแต่ผู้ไปดูเหมือนเขาลิ้มรสแล้วเราดูเขาลิ้มรส เราจะไปรู้ได้อย่างไรว่าเขารู้รสจริงหรือเปล่า มันไม่ได้ลิ้มรส เป็นแต่ดูเท่านั้นเองและในเรื่องของชีวิตนี้ก็จะต้องพิสูจน์ด้วยตัวจิต เมื่อจะพิสูจน์ด้วยการที่ต้องตาย เราก็ทำไม่ได้ ไม่มีใครกล้าทำ
    เกิดเป็นปัญหาที่ติดอยู่ตรงนี้พิสูจน์ไม่ได้ นี่เป็นเรื่องเกร็ดแทรกเข้ามา เราจะต้องพูดกันต่อไปอีก เป็นอันว่าในตอนนี้พูดว่า เรื่องนรก-สวรรค์เป็นเรื่องพิสูจน์ไม่ได้ ทั้งในแง่บวกแง่ลบว่ามีหรือไม่มี สำหรับสิ่งที่พิสูจน์ออกมาให้เห็นชัดไม่ได้อย่างนี้ ทางพุทธศาสนามีหลักให้ปฏิบัติคือการวางท่าทีเป็นสำคัญ เรื่องบางเรื่องถ้ารอให้พิสูจน์เสร็จ มนุษย์เลยไม่ต้องทำอะไร
    รอแบบพวกนักปรัชญา พวกนักปรัชญานี้จะเอาให้รู้ความจริงเสียก่อน เช่น รู้ความจริงเกี่ยวกับโลกว่าโลกนี้เป็นอย่างไรแน่ มันเกิดเมื่อไร มันจะไปอย่างไรพวกนักปรัชญาจะเถียงกัน ใช้สมองใช้สติปัญญาในการโต้เถียง เมื่อแกยังตอบเรื่องโลกและชีวิตไม่ได้ เช่นด้วยวิธีอภิปรัชญา แกก็ต้องเถียงกันต่อไป
    นี่แกก็เถียงกันมาห้าพันปีแล้วโดยประมาณ ทีนี้ถ้าแกจะต้องเถียงกันจนกว่าจะรู้คำตอบ แล้วแกจึงจะปฏิบัติได้เพราะแกบอกว่าเรายังไม่รู้ความจริงว่ามันเป็นอย่างไร เราจะไปปฏิบัติกับมันอย่างไร แกจะต้องรอให้รู้ความจริงอันนั้นแล้วจึงจะวางหลักปฏิบัติแกตายไปแล้วกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง จนกระทั่งลูกหลานเหลนแกเองก็ตายไป โดยยังไม่ได้ทำอะไร
    พระพุทธศาสนาบอกว่าสำหรับเรื่องอย่างนี้ สำหรับเรื่องที่ยังพิสูจน์ไม่ได้มันสำคัญที่ปฏิบัติ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของการปฏิบัติเรามีวิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ ให้ถือการปฏิบัติอย่างที่บอกเมื่อสักครู่ว่า การวางท่าทีเป็นการสำคัญนรก-สวรรค์ก็อยู่ในประเภทนี้ การวางท่าทีหรือการที่จะปฏิบัติต่อมันอย่างไรเป็นเรื่องสำคัญกว่า จะเอาอย่างไรกับชีวิตนี้ เอาละเป็นอันว่ามีเรื่องที่ต้องพูดสองแง่ คือแง่ว่ามันมีจริงไหม กับจะวางท่าทีต่อมันอย่างไร และเน้นแง่การวางท่าทีหรือการปฏิบัติ
    ทีนี้มาพูดถึงหัวข้อสองอย่างนั้น เอาแง่ที่หนึ่งก่อน
    นรก-สวรรค์ มีจริงหรือไม่
    แง่ที่หนึ่ง คือว่ามีจริงไหมในแง่ของพระพุทธศาสนา และก็จะพูดจำกัดตามที่อาจารย์ได้กำหนดไว้ว่าเฉพาะในพระไตรปิฎก ขอแบ่งว่าพระพุทธศาสนาพูดเรื่องนี้ไว้เป็น ๓ ระดับ
    ๑. นรก-สวรรค์ ภายหลังการตาย
    ระดับที่หนึ่ง คือเรื่องนรก-สวรรค์ที่เราพูดกันทั่ว ๆ ไปว่าหลังจากชาตินี้ ตายไปแล้วไปรับโทษหรือรับผลกรรมในทางที่ดีและไม่ดี ถ้ารับผลกรรมดีก็ถือว่าไปสวรรค์ ถ้ารับผลกรรมชั่วก็ไปเกิดในนรก เรื่องนรก-สวรรค์แบบนี้เรียกว่าระดับที่หนึ่ง ในพระพุทธศาสนาว่าอย่างไร
    สำหรับระดับนี้ตามพระไตรปิฎก ถ้าเราถือตามอักษร พระไตรปิฎกกล่าวไว้มากมาย เมื่อตีความตามตัวอักษรแล้วก็ต้องบอกว่า มี
    มีอย่างไร
    นรก-สวรรค์หลังจากตายนี้มักจะมีในรูปเอ่ยถึง เอ่ยถึงแล้วไม่ค่อยมีคำบรรยาย ในพระไตรปิฎกเรื่องนี้หาได้ทั่วไป
    เดี๋ยวสรุปท้ายในแง่สวรรค์บอกว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก หมายความว่า เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ล่วงลับดับชีพไปแล้ว ก็จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี่ฝ่ายดี
    แล้วก็ฝ่ายนรกกล่าวว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ก็จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก สำนวนในบาลีมีอย่างนี้มากมายเหลือเกิน
    สำนวนอย่างนี้ไม่ได้บรรยายว่าสวรรค์นั้นเป็นอย่างไร นรกเป็นอย่างไร ได้แต่สรุปและโดยมากมาห้อยท้ายกับคำแสดงผลของกรรมดี กรรมชั่วซึ่งจะเริ่มต้นด้วยผลที่จะได้รับในชาตินี้ก่อนว่า ผู้มีศีล ประพฤติดีแล้วจะได้ผลอย่างนั้น ๆ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า สุดท้ายหลังจากแตกกายทำลายขันธ์แล้วจะไปสุคติ เช่นว่าเจริญเมตตามีอานิสงส์อย่างนี้ คือ หลับเป็นสุข ฝันดีอะไรต่ออะไร เป็นต้นบอกผลดีในปัจจุบันแล้วจึงจะไปห้อยท้ายลงว่าตายแล้ว ไปสวรรค์ ไปพรหมโลก เป็นเพียงการเอ่ยถึง-ถึงผลของการทำดี ทำชั่ว
    นอกจากนั้น เราต้องสังเกตด้วยว่า พระพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องนรก-สวรรค์นั้น ท่านตรัสในข้อความแวดล้อมอย่างไร มีเรื่องราวเป็นมาอย่างไร จะสังเกตได้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสถึงผลในปัจจุบันเสียมากมายก่อน แล้วอันนี้ไปห้อยท้ายไว้ เราจะได้จัดฐานะของนรก-สวรรค์ได้ถูกต้อง นี้บอกไว้เป็นข้อสังเกต
    เป็นอันว่าเราจะพบคำบาลีที่พระพุทธเจ้าตรัสอยู่บ่อย ๆ เมื่อตายแล้วจะไปนรกหรือสวรรค์ หลังจากได้รับผลกรรมดี กรรมชั่วในปัจจุบันนี้แล้ว มีอยู่บ่อย ๆ โดยไม่มีคำบรรยายส่วนที่มีคำบรรยายว่า นรก-สวรรค์เป็นอย่างไร มีน้อยแห่งเหลือเกิน แห่งที่นับว่ามากหน่อยกล่าวถึงการลงโทษในนรกเริ่มจากว่าตายไปแล้วเจอยมบาล พระยายมราชถามว่า ตอนมีชีวิตอยู่เคยเห็นเทวทูตไหม เทวทูตที่หนึ่งเป็นอย่างไร เขาตอบไม่ได้
    ยมบาลต้องชี้แจงว่า เทวทูตที่หนึ่งคือเด็กเกิดใหม่ อันที่สองคือคนแก่ ที่สามคือคนเจ็บ ที่สี่คือคนถูกลงโทษทัณฑ์ ลงอาญา ที่ห้าคือคนตาย
    ยมบาลต้องอธิบายว่า ท่านเคยเห็นไหม เคยเห็นแล้วท่านเคยคิดบ้างไหม เคยได้ความคิดไหม มีความสลดใจบ้างไหม ในการที่จะต้องเร่งทำความดีท่านเคยรู้สึกบ้างไหม ไม่เคยเลย ถ้าอย่างนั้น ก็เป็นเรื่องของตัวเองทำ กรรมตนทำเอง ก็ต้องได้รับโทษมีการลงอาญา เขาเรียกว่า กรรมกรณ์เป็นวิธีการลงโทษในนรกด้วย ประการต่าง ๆ อันนี้มีมาใน พาลบัณฑิตสูตร และเทวทูตสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ ถ้าต้องการค้นก็บอกข้อ บอกหน้าไปด้วยบอกว่าเล่ม ๑๔ ข้อ ๔๖๗ หน้า ๓๑๑ และเล่ม ๑๔ ข้อ ๕๐๕ หน้า ๓๓๔
    สำหรับพระไตรปิฎกแปลภาษาไทย โดยมากพูดถึงนรก ไม่พูดถึงสวรรค์นอกจากนี้ก็ยังมีบางแห่งพูดถึงอายุเทวดาในชั้นต่าง ๆ เช่นชั้นจาตุมหาราช หรือชั้นโลกบาล ๔, ชั้นดาวดึงส์, ชั้นยามา ชั้นดุสิต, ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัตดี แต่ละชั้นมีอายุเท่าไรอยู่นานเท่าไร่ อย่างนี้ก็มีในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ ข้อ ๕๑๐ หน้า ๒๗๓ และไปมีซ้ำในเล่ม ๒๓ ข้อ ๑๓๑-๑๓๕ หน้า ๒๕๓-๒๖๙
    ยังมีอายุมนุษย์ถึงรูปพรหม แสดงไว้ในฝ่ายอภิธรรม เล่ม ๓๕ ข้อ ๑๑๐๖-๑๑๐๗ หน้า ๕๖๘-๕๗๒ บางแห่งถึงกับบอกว่าในวัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ คือวันพระ ท้าวมหาราช ๔ คือ ท้าวโลกบาล ๔ จะส่งอำมาตย์เที่ยวดูในหมู่มนุษย์ ว่ามนุษย์ประพฤติดีปฏิบัติชอบหรือเปล่า แล้วจะไปแจ้งข่าวต่อที่ประชุมเทวดาชั้นดาวดึงส์ ซึ่งมีพระอินทร์เป็นประธาน ว่าเดี๋ยวนี้มนุษย์โดยมากประพฤติดีหรือประพฤติชั่ว ถ้ามนุษย์ประพฤติดี เทวดาก็ดีใจ ว่าต่อไปสวรรค์จะมีคนมาเกิดเยอะถ้าหากมนุษย์ประพฤติชั่วมากเทวดาก็จะเสียใจ ว่าต่อไปฝ่ายเทวโลกจะมีแต่เสื่อมลง อะไรทำนองนี้อย่างนี้ก็มีในเล่ม ๒๐ เหมือนกัน ข้อ ๔๗๖ หน้า ๑๐๘ อย่างนี้เป็นต้น เป็นการแทรกอยู่บางแห่ง มีไม่สู้มานัก
    นอกจากนี้มีกระเส็นกระสาย เล็ก ๆ น้อย ๆ ชื่อนรก ๑๐ ขุมก็มีในพระไตรปิฎกด้วย ในเล่ม ๒๔ อังคุตตรนิกายทสกนิบาตข้อ ๘๙ หน้า ๑๘๕ และนรก ๘ มีในคาถาชาดกเล่ม ๒๘ ข้อ ๙๒ หน้า ๓๙
    นี่แหละก็เป็นเชื้อให้อรรถกถาได้นำมาชี้แจงอธิบายเรื่องนรกต่าง ๆ สาธยายให้เราเห็นเรื่องราวพิสดารยิ่งขึ้น
    แต่ในที่นี้เราจะไม่พูดเรื่องนี้ แม้ในพระไตรปิฎก จะได้พูดเรื่องนรก-สวรรค์แบบนี้ เราก็อย่าเอาไปวุ่นกับการเขียนภาพและวรรณคดีให้มากนัก เพราะวรรณคดีบวกจินตนาการเข้าไป ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของวรรณคดี แม้จะบรรยายอารมณ์ มนุษย์ก็ต้องบรรยายให้เป็นภาพ
    ทีนี้จะบรรยายนรก-สวรรค์ก็จะพูดให้เห็นจริงเห็นจัง หรือจะมาเขียนเป็นภาพประกอบ จะให้คนธรรมดาเกิดความสนใจ ก็ต้องนำเข้ามาสู่สิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจง่าย เพราะฉะนั้นเราจะเอาวรรณคดีรุ่นหลัง ๆ หรือภาพตามฝาผนังไปเป็นมาตรฐานไม่ได้ เพราะนี่เป็นรูปของการทำให้ง่ายแล้ว เราจะว่าตามนั้นทีเดียวไม่ได้
    ก็เป็นอันว่าในแง่ที่หนึ่ง นรก-สวรรค์ หลังจากตายในพระไตรปิฎกมีไหม ถ้าถือตามตัวอักษรก็เป็นอันว่ามี ดังที่กล่าวมาแล้ว
    ทีนี้อาจมีบางท่านว่าเรื่องนี้สัมพันธ์กับความเชื่อที่มีดั้งเดิม เช่นว่าพระพุทธเจ้าอาจจะตรัสไปตามที่คนเชื่อกันอยู่นั่นก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไปนอกจากนี้ใครจะตีความอย่างไรต่อไป อาตมาไม่เกี่ยว

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กรกฎาคม 2010
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ๒. นรก-สวรรค์ ที่อยู่ในใจ
    ต่อไป ระดับที่สองเลยเพื่อย่นเวลา นรกสวรรค์ในอันดับที่สองก็คือที่เราพูดกันว่า "สวรรค์ในอก นรกในใจ"
    เป็นเรื่องที่มีในชาตินี้ นรก-สวรรค์ แม้ในชาติหน้ามันก็สืบไปจากที่มีในชาตินี้ เพราะอะไร เพราะมันอยู่ในสภาพจิต ภูมิของจิต ชั้นของจิต ระดับของจิตใจ
    จิตของเราไปอยู่ในระดับไหน ถึงเวลาตาย ถ้าระดับจิตเป็นนรกก็ไปนรก ถ้าระดับจิตเป็นสวรรค์ก็ไปสวรรค์ นี่เกี่ยวกับสภาพจิตที่เป็นอยู่ตลอดเวลา
    คือว่าโดยหลักทั่วไปแล้วในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานหลาย ๆ ปี ระดับจิตของเราอยู่แค่ไหน เวลาตายโดยทั่วไปถ้าไม่ใช่กรณียกเว้น มันก็อยู่ในระดับนั้นแหละ
    ส่วนในกรณียกเว้น ถ้าเวลาตายนึกถึงอารมณ์ที่ดี เช่นทำกรรมชั่วมาก แต่เวลาตายนึกถึงสิ่งที่ดี ก็ไปเกิดดีได้
    ถ้าหากเวลาอยู่ทำกรรมดีแต่เวลาตายเกิดจิตเศร้าหมอง ระดับจิตตกลงไป ก็ไปเกิดในที่ต่ำ เมื่อการไปเกิดขึ้นอยู่กับระดับจิตอย่างนี้แล้ว ก็หมายความว่า เราพร้อมจะไปนรก-สวรรค์ได้ตั้งแต่ปัจจุบัน
    หรือพูดอีกอย่างก็คือ คนที่จะไปนรกคือคนที่อยู่ในระดับนรกอยู่แล้วในชาตินี้ หรือคนที่จะไปสวรรค์เขาก็มีจิตใจระดับสวรรค์อยู่แล้ว
    ตกลงก็ว่าเรื่อง นรก-สวรรค์มันมีตั้งแต่เดี๋ยวนี้อยู่แล้ว ปัจจุบันนี่เองมันส่อข้างหน้า เพราะฉะนั้นถ้าจะคาดการณ์เรื่องข้างหน้า เราไม่จำเป็นต้องไปพูดถึงสวรรค์ที่ไกลด้วยซ้ำ เอาปัจจุบันนี่เป็นเกณฑ์
    เพราะคนเราสร้างสมกรรมด้วยชีวิตที่เป็นอยู่ สร้างระดับจิตของตนไว้ สั่งสมระดับจิตให้พร้อมอยู่เสมอ เพราะฉะนั้น เรื่องสวรรค์ในอก นรกในใจก็ย่อมมีได้ เพราะถือตามหลักนี้
    ระดับจิตของเรานั่นเอง ที่มันอยู่ในนรกหรือสวรรค์ ถ้าระดับจิตของเราอยู่ในนรกก็เป็นนรก ถ้าระดับจิตของเราอยู่ในสวรรค์ก็เป็นสวรรค์
    เอาละ ทีนี้เราทำกรรมดีกรรมชั่วไว้ เรารู้ เรามีความรู้สึกเป็นประสบการณ์เฉพาะตัวเกี่ยวกับกรรมดีกรรมชั่วที่ทำไว้ ทางพระท่านใช้คำว่า "วิปฏิสาร"
    ถ้าทำกรรมชั่วไว้ เรารู้สึกเดือดร้อนใจความวิปฏิสารนี่แหละ เป็นสภาพจิตที่เป็นทุกข์ นับเป็นนรก หรืออีกอย่างหนึ่ง ในนิวรณ์ ๕ ต้องมีข้อหนึ่งว่า "กุกกุจจะ"
    กุกกุจจะ ก็คือความไม่สบายใจ กังวลใจ รำคาญใจ ไม่สบาย เดือดร้อนว่าสิ่งที่ดีเรายังไม่ได้กระทำ ได้แต่ทำสิ่งที่ชั่วที่ไม่ดี
    ทีนี้ในทางตรงข้ามถ้าทำกรรมดีก็เกิดความปราโมทย์ มีปีติ มีความอบอุ่นใจ มีความเปรมใจ มีความสุข จิตใจอยู่ในระดับสวรรค์ เป็นเรื่องสวรรค์ในอก นรกในใจ
    ถ้าพูดถึงเรื่องวิปฏิสาร เรื่องปีติปราโมทย์ในการทำชั่ว ทำดีอย่างนี้ มันก็มีในพระไตรปิฎกมากมายเช่นเดียวกัน ไม่จำเป็นจะต้องอ้างขึ้นมาเลย
    เป็นอันว่านรก-สวรรค์ในแง่นี้เป็นเรื่องระดับจิต ซึ่งมีอยู่แล้วตั้งแต่ปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กรกฎาคม 2010
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ๓. นรก-สวรรค์ แต่ละขณะจิต
    ทีนี้ไปสู่ระดับที่สาม จะพูดในแง่หลักวิชาการก่อน เรื่องวิจารณ์ไว้ทีหลัง คือการที่เราปรุงแต่งสร้างนรก-สวรรค์ของเราเองตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน
    ท่านบอกว่าคนที่ยังไม่รู้อริยสัจ ๔ ยังไม่แทงตลอดสัจจธรรม ไม่เข้าใจในหลักการเรื่องสัจจะของอริยชน ก็ยังปรุงแต่งสร้างสวรรค์-นรกกันอยู่ตลอดเวลา ด้วยอายตนะของเรานั่นแหละ คือ ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กายของเรา ข้อนี้ก็คล้าย ๆ กับข้อที่ ๒ แต่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนขึ้นไปเท่านั้นเองคือเป็นเรื่องสัมพันธ์กับระดับจิตใจ เมื่อเรายังเป็นปุถุชนเราก็ยังปรุงแต่งอยู่เสมอ คือปรุงแต่งด้วยกิเลส มีความดี-ความชั่ว มีกุศล-อกุศลในจิตของเราเอง
    เมื่อยังมีความรู้สึกด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย เราก็ยังปรุงแต่งอยู่เรื่อยไป แต่การปรุงแต่งแบบนี้ เป็นเรื่องปฏิกิริยาต่อสิ่งที่รับเข้ามาเช่นเมื่อเราได้เห็นสิ่งที่สวยงามชอบใจ เราก็มีความสุข ไดเห็นสิ่งที่เราไม่ชอบ เราก็ขัดใจเกิดความทุกข์หรือว่าได้รับประทานอาหาร ได้รับประทานขนม ลิ้นได้รับรสที่อร่อย เราก็มีความสุข ถ้าหากว่าเราได้รับรสที่ขมไม่อร่อย เราก็มีความทุกข์ อันนี้เป็นเรื่องธรรมดา
    ทีนี้บางทีเราปรุงแต่งกลับ ไม่ใช่สิ่งภายนอกฝ่ายเดียวที่ปรุงแต่ง เราปรุงแต่งเหมือนกัน ใจคอเราไม่ดี เราเกิดความโมโห เกิดอารมณ์ค้างเห็นอะไรขัดใจไปหมดทั้งที่ของนั้นไม่ได้ทำอะไรเรา ไม่ได้มาเบียดเบียนไม่ได้มากระทบกระทั่งเรา คนโน้นเดินมาดี ๆ ไม่ได้ทำกิริยากระทบกระทั่งเราเรามองเห็นเป็นว่าเขาล้อเรา หรือเขามีใจคิดไม่ดีต่อเราต่าง ๆ นานา เพราะใจของเราเองปรุงแต่ง อาศัยพื้นจิตของเราไม่ดีอยู่แล้ว มีอกุศลขึ้นมาในใจใจเราไม่ดี มองอะไรขัดใจไปหมด มีทุกข์เรื่อย ๆ ตลอดวัน แต่ถ้าเราใจดี บางทีไปประสบอะไรที่ดีใจขึ้นมา วันนั้นก็ยิ้มได้ทั้งวัน เห็นอะไรดีไปหมด
    อย่างนี้เรียกว่าการปรุงแต่งสวรรค์-นรกของเรา เพราะว่านรก-สวรรค์ อย่างนี้เป็นเรื่องทันตาทันใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ต้องรอชาติหน้า อยู่ที่การสร้างจิตใจของเรา ถ้าหากว่าจิตใจของเรามีภูมิธรรมดี สร้างกุศลไว้มาก ทำจิตใจให้อิ่มเอิบเป็นสุข พยายามมองในแง่ดี ก็รับอารมณ์ที่เป็นสุขไว้ได้มาก
    หากว่าเราสร้างพื้นภูมิจิตไว้สะสมไว้ในทางที่ทำให้จิตมีกิเลสมาก มีกิเลสต่าง ๆ ที่ทำให้จิตเศร้าหมองบ่อย ๆ ต่อไปเราก็จะสร้างนรกของเราเรื่อยไปเห็นอะไรก็ไม่ดี ไปไหนใจมันก็ไม่สบาย มีแต่ความทุกข์มากมาย ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วเรายังไม่ต้องคิดเลยไปถึงนรก-สวรรค์ชาติหน้า เพราะปัจจุบันที่เป็นอยู่กลายเป็นเรื่องที่เราควรจะเอาใจใส่มากกว่า เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเราได้รับผลอยู่ตลอดเวลา
    นรก-สวรรค์ข้างหน้ายังไกล แต่ในปัจจุบันใจเรามีแต่ความทุกข์อยู่เสมอน่ากลัวว่าเราจะไปไม่ดี
    ฉะนั้นท่านจึงให้เอาใจใส่นรก-สวรรค์ที่มีอยู่ตลอดเวลาที่เราปรุงแต่งอยู่เรื่อย ๆ สอนให้เรายกระดับจิตขึ้นไป คือขั้นต้น ถ้าเราสร้างสมพื้นจิตใจไว้ในทางไม่ดี มีกิเลส โลภะ โทสะ โมหะมาก มันก็ทำให้รับอารมณ์โดยปรุงแต่งสร้างนรกขึ้นมามาก
    ถ้าเราสร้างสมพื้นจิตใจไว้ในทางที่ดี มีเมตตา ความเสียสละ สร้างปัญญาไว้มาก ใจเราดีมีความสบาย เราก็สร้างสวรรค์ได้เสมอมีสวรรค์ได้ แม้ว่าสภาพแวดล้อมอาจไม่ดีเท่าที่ควร แต่เราทำจิตของเราได้ ใจเราสบายมันก็สามารถทำสภาพที่จะนำไปนรก ให้กลายเป็นสวรรค์ไปได้หรือในชั้นสูงขึ้นไปอีกคือ มีปัญญาที่รู้เท่าทันสิ่งต่าง ๆ การมีปัญญารู้เท่าทันทำให้เราเข้าใจโลกและชีวิตดี ทำให้วางท่าทีต่อสิ่งทั้งหลายถูกต้อง
    ในกรณีอย่างนี้ ท่านว่ามันพ้นเลยจากเรื่องนรก-สวรรค์ไปแล้ว คือมีจิตใจปลอดโปร่ง แจ่มใจอยู่ตลอดเวลา มีความสบายทันตาในปัจจุบัน ไม่ต้องพูดถึงข้างหน้า ซึ่งเนื่องไปจากปัจจุบันนี้ ก็จะต้องไปดีด้วย ปัจจุบันนี้เองเป็นสิ่งที่แน่นอน มันรับผลอยู่ในขณะนี้แล้ว และเป็นเครื่องส่อส่องถึงข้างหน้าต่อไปด้วย
    เพราะฉะนั้นในทางพุทธศาสนา จึงถือเรื่องปัจจุบันนี้เป็นสำคัญเพราะ
    . เราได้รับผลทันที เราต้องรับผลเห็นอยู่ชัด ๆ แน่นอน
    . ข้างหน้าก็เป็นผลสืบไปจากปัจจุบันนี้เอง เอาปัจจุบันนี้ไปทำนายข้างหน้าได้ เพราะฉะนั้นปัจจุบันจึงสำคัญกว่าในสองประการนี้เอง ถึงมองข้างหน้าก็ต้องมองที่ปัจจุบันเป็นสำคัญ
    เรื่องนรก-สวรรค์ในแง่ของการปรุงแต่งในชีวิตประจำวันและตลอดเวลา หรือนรก-สวรรค์ที่เราปรุงแต่งขึ้นมาเรื่อย ๆ นี้ก็มีมาในพระไตรปิฎกเหมือนกัน คือนรกที่เกิดพร้อมกับการได้เห็น ได้ยิน ได้รับรู้ทางอายตนะต่าง ๆ กล่าวคือการที่อินทรีย์ หรือ อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้รับรู้แต่สิ่งที่ไม่ดีไม่น่าพอใจอย่างนี้ท่านเรียกว่า "ฉผัสสายสนิกนรก" หรือ "ฉผัสสายตนิกสวรรค์" แล้วแต่ว่าเป็นฝ่ายนรกหรือสวรรค์ อันนี้มาในพระไตรปิฎกเล่ม ๑๘ ข้อ ๒๑๔ หน้า ๑๕๘
    แล้วอีกแห่งคล้าย ๆ กันเป็นเรื่องนรก คือ "มหาปริฬาหนรก" มาในเล่ม ๑๙ ข้อ ๑๗๓๑ หน้า ๕๖๒ ท่านบอกว่านรก-สวรรค์ ที่ว่านั้นไม่สำคัญเท่านรก-สวรรค์ที่เราได้รับอยู่ในปัจจุบัน ที่เราปรุงแต่งด้วยอายตนะทั้ง ๖ โดยพื้นจิตของเราสร้างขึ้นมา
    นี่ก็เป็นนรก-สวรรค์แบบระดับที่ ๓ ซึ่งพุทธศาสนาเน้นมาก คำว่า "ฉผัสสายตนะ" แปลว่าอายตนะที่รับรู้ทั้ง ๖ ก็หมายความว่า นรกที่เกิดที่อายตนะรับรู้ทั้ง ๖ หรือสวรรค์ที่เกิดที่อายตนะรับรู้ทั้ง ๖ นั่นเอง
    สาระของเรื่องนรก-สวรรค์ คืออะไร มันก็เป็นเรื่องของการรับอารมณ์ที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนาเท่านั้นเอง เราไปสวรรค์ ว่าตามที่พูดกันไว้ในทางวรรณคดี ก็ได้สิ่งที่รับรู้คือ อารมณ์ของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจได้เห็นสิ่งที่สวยงาม ได้ยินเสียงดนตรีทิพย์ ไพเราะเสนาะ ทางจมูกได้กลิ่นหอมหวนและลิ้นได้รับรสที่ดีอร่อย กายสัมผัสสิ่งนุ่มนวล ก็เป็นเรื่องของอายตนะทั้งนั้นหรือไปนรกก็ได้รับความทรมาน ได้เห็น ได้ยิน แต่สิ่งที่ไม่ดีจนกระทั่งร่างกายถูกบีบคั้นต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องของอายตนะทั้งนั้น

    ฉะนั้น ปัจจุบันเราได้รับรู้ทางอายตนะเหล่านี้อยู่แล้ว ไม่ว่านรก-สวรรค์ข้างหน้า หรือนรก-สวรรค์เวลานี้ มันก็อยู่ที่อายตนะรับรู้นี่เอง ถ้าเอาสาระแล้วมันไม่ได้ไปไหนเลย อยู่แค่นี้เอง ตกลงว่าตามหลักการนี้ เราจะต้องรู้จักนรก-สวรรค์ทั้ง ๓ ระดับ และแก่นที่แท้ของนรก-สวรรค์มันอยู่ที่ระดับที่สาม ที่ว่านี้
    นรกระดับที่หนึ่ง หลังจากตาย ไกลตัวยังไม่ได้รับ ปัจจุบันเรายังไม่รู้สึก แล้วมันยังเนื่องไปจากปัจจุบันด้วย ต้องสร้างในปัจจุบัน
    ต่อมาใน ระดับที่สอง สวรรค์ในอก นรกในใจ มันก็อยู่ที่ชีวิตที่สร้างภูมิระดับจิตในปัจจุบัน แต่ว่ายังเป็นเรื่องที่ยังเป็นครั้งคราว เอาเฉพาะที่เป็นเรื่องใหญ่
    พอมา ระดับที่สาม ก็ละเอียดลออ เป็นไปอยู่ประจำตลอดทุกเวลาที่รับอารมณ์ขณะนี้ ถ้าเราสร้างความรู้สึกที่ดีก็ทำให้เกิดสวรรค์ได้เดี๋ยวนี้
    สมมติว่าใจไม่สบาย เอ ฟังเรื่องนี้ชักไม่น่าสนใจ ชักรำคาญ เห็นอะไรไม่ดีไปหมด ชักกลุ้ม ถ้าทำให้ดีขึ้นมาว่า เอ เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ยากหน่อยพยายามเอาใจใส่ให้ดี สร้างอารมณ์ให้สบายขึ้นมา ทีนี้มองอะไร ชักดีขึ้นไปหมด สวรรค์ชักมาแล้ว สวรรค์ที่มีในปัจจุบันนี้ แม้จะละเอียดอ่อน เราอาจจะนึกว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่อย่าลืมว่า การสร้างนรก-สวรรค์ใหญ่ ๆ มันก็มาจากสร้างเล็ก ๆ น้อย ๆ นี้เอง คือ จากอารมณ์ที่ละเมียดละไมตลอดเวลาที่ละเอียดอ่อน
    คนเราสร้างบุคลิกลักษณะสร้างสมนิสัยใจคอจากอะไร ก็จากความคิด และพฤติกรรมทุกขณะจิต จากการดำรงชีวิตประจำวันทีละเล็กละน้อยถ้าพยายามสร้างจิตใจของเราให้ดี ทำอารมณ์ให้ดี ค่อยเป็นค่อยไป ทำใจต่อสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้อง บุคลิกก็ดีขึ้น จิตใจก็สบายขึ้นอะไร ๆ ก็ดีขึ้น นี่เป็นการสร้างสมระยะยาว เก็บเล็กผสมน้อย มันก็เหมือนวัตถุ ต้องรู้จักเก็บออม ในจิตใจก็ต้องมีการสะสมนิสัย
    นี้ก็เป็นเรื่องที่ท่านให้มามองในระดับที่สาม ซึ่งมันจะไปเป็นเหตุของสวรรค์-นรกอันใหญ่ต่อไปข้างหน้า และเป็นเรื่องที่เราต้องประสบตลอดเวลา ควรให้ความสำคัญกับมัน อย่าไปคิดว่าเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย ถ้าเราทำได้ เราก็ได้รับผลในปัจจุบันนี้เลย เราจะไม่ต้องทรมานเพราะนรกเราจะมีจิตใจที่สบายและพบสวรรค์อยู่เรื่อย ๆ มีจิตใจบริสุทธิ์สะอาดผ่องใส เอาละนี้เป็นเรื่องของนรก-สวรรค์ในแง่ของความมีอยู่ ซึ่งว่าเป็น ๓ ระดับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กรกฎาคม 2010
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เตชปโญ ขอคำอธิบายแบบเนื้อหน่อย

    ไม่เอา กาลามสูตรแล้วนะ เจอมันทุกโพส มันน่าบื่อ

    แล้วประเภทตอบสองบรรทัด สมองตาย ร่างกายตาย จิตตายอะไรแบบนี้ ขอทีเถอะ

    เหมือนวังวล ท่าทางเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ เหมือนเทปที่เล่นซ้ำๆ

    มันไม่เป็นปัญญา ไม่สมชื่อเตชญโญ
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left colSpan=2>ท่านพุทธทาสสอนเรื่องตายแล้วสูญจริงหรือ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    พอดีมีเมล์ของผู้อ่านท่านหนึ่งแจ้งให้ทราบว่า ตอนนี้มีปัญหาเรื่องคนนำคำสอนของท่านพุทธทาสมาตีความว่า “ตายแล้วสูญ” นี่เป็นเรื่องใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างชีวิต หากตีความผิด ก็จะหลงทางอย่างสุดกู่ ต้องระวังมาก

    ตอนนี้ ดิฉันพยายามมองย้อนอดีตเพื่อทำความเข้าใจว่าทำไมท่านอาจารย์พุทธทาสจึงสอนเน้นให้คนสนใจเรื่องการดับทุกข์ในปัจจุบันมากกว่าสอนเรื่องตายแล้วไปไหน
    ท่านคงต้องเห็นปัญหาของการสอนตามประเพณีเหมือนที่ดิฉันเห็น ก่อนยุคของท่านอาจารย์นั้น การสอนธรรมะล้วนเป็นเรื่องการสอนตามประเพณีทั้งสิ้น คนมีบารมีมากจริง ๆ จึงสามารถเข้าใจคำสอนของหลวงปู่มั่น และครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอริยเจ้าทั้งหลายของทางสายอีสาน ปัญญาชนในยุคที่ท่านอาจารย์ยังเป็นพระหนุ่มนั้น มักจะบ่นว่าไม่มีหนังสือธรรมะอ่าน (หมายถึงหนังสือธรรมะที่อ่านเข้าใจได้) ครั้งที่ท่านมากรุงเทพเป็นครั้งแรก ท่านอาจารย์ได้เห็นการประพฤติของพระสงฆ์ที่ไม่ได้เป็นพระสุปฏิปัณโณอย่างแท้จริง นี่คงจะเป็นเหตุผลใหญ่ที่ทำให้ท่านอาจารย์คิดทำอะไรอย่างท้าทาย ให้แตกต่างออกไปจากผู้อื่น โดยการเขียนหนังสือธรรมะที่ไม่ได้อยู่ในร่องของการสอนตามประเพณี สร้างโฉมหน้าใหม่ให้กับวงการการสอนพระธรรม สร้างศัพท์ใหม่ เพื่อให้คนกลุ่มปัญญาชนบ่นไม่ได้ว่าไม่มีหนังสือธรรมะอ่าน

    ต้องอย่าลืมว่า สวนโมกข์ (พูมเรียง) ก่อตั้งขึ้นหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงปีเดียวคือ ๒๔๗๖ ซึ่งเมืองไทยคงเต็มไปด้วยบรรยากาศของการเปลี่ยนแปลง ที่คนพร้อมจะรับความคิดใหม่ ๆ กลิ่นอายใหม่ ๆ ทางการเมืองเช่นนี้จึงมีผลกระทบโดยตรงต่อพระเงื่อม อินทปัญโญ อย่างแน่นอน และเพราะการเมืองไทยก็ดำเนินไปอย่างกระท่อนกระแท่นมาโดยตลอดจนถึงยุค ๑๔ ตุลา ๑๖ ซึ่งเป็นอีกหัวเลี้ยวหัวต่อหนึ่งที่คนไทยตื่นตัวทางการเมืองมาก ท่านอาจารย์จึงพยายามที่จะให้คำสอนของพระพุทธเจ้าเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองในแง่ของการให้คนไม่ติดยึดในวัตถุ และให้เห็นแก่ส่วนรวม คำสอนของท่านพุทธทาสจึงมีคำศัพท์ของการเมืองเข้ามาด้วยเสมอ เช่น ธรรมิกสังคมนิยม เป็นต้น

    สาเหตุ ๒ ข้อเบื้องต้นนั้น มาบวกกับสาเหตุสำคัญที่ทำให้ท่านอาจารย์พุทธทาสไม่ต้องการเน้นเรื่อง ตายแล้วไปไหน หรือ พูดเรื่องนรกสวรรค์แบบข้ามภพข้ามชาติ เพราะ สังคมไทยในยุคนั้นเต็มไปด้วยพระที่ปักหลักขายใบบุญถ่ายบาปกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ใครอยากไปสวรรค์ต้องทำบุญสร้างวัด สร้างพระพุทธรูป สร้างโบสถ์ เจดีย์ ซึ่งยังไม่พ้นเรื่องการติดวัตถุโดยเอาศาสนามาบังหน้า รวมทั้งฉ้อฉลต่อจิตใจของคนไทยที่รักการทำบุญให้ทานอันเป็นวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณที่ย่าทวดไทยได้สร้างไว้ให้ลูกหลานไทย ความรู้เรื่องนิพพานจึงแทบจะไม่มีใครพูดถึงเพราะมัวแต่เน้นการสร้างวัตถุสถาน ท่านอาจารย์คงต้องทราบดีว่า นี่เป็นปัญหาใหญ่ที่จะทำลายพระพุทธศาสนาอย่างป่นปี้

    หากท่านอาจารย์พุทธทาสไม่ได้มาพบพระพุทธเจ้าเสียก่อน ท่านก็คงเป็นนักปฏิวัติทางการเมือง เป็นนักสังคมนิยมเราดี ๆ นี่เอง ท่านไม่กลัวใคร กล้าพูด กล้าทำ ตรงนี้แหละ ท่านจึงตีความคำสอนของพระพุทธเจ้าใหม่ตามที่ท่านเข้าใจและใช้ภาษาใหม่ ๆ ร่วมสมัยที่คนเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่นเรื่องจิตว่าง บอกให้คนรู้ว่า แม้ยุคนี้ก็ยังมีพระอรหันต์อยู่ ท่านอาจารย์พยายามให้คนหันมาสนใจเรื่องของปัจจุบันโดยพูดว่านิพพานไม่ได้อยู่ไกล แต่หมายถึงความเย็นสงบของจิตใจที่ไม่ทุกข์ร้อน จึงเน้นเรื่อง “สวรรค์ในอก นรกในใจ” เพื่อให้คนขายใบบุญถ่ายบาปหมดหนทางทำมาหารับประทาน จะได้หยุดการฉ้อฉลจิตใจที่ดีงามของคนไทย คำสอนใหม่ ๆ ของท่านพุทธทาสนี้เป็นสิ่งที่คนไทยไม่ได้ยินมาก่อนในยุคนั้น ครั้งแรกที่ดิฉันอ่านพบเรื่องเหล่านี้ ก็ยังรู้สึกตื่นตาตื่นใจ เพราะไม่เคยคิดว่า พระอรหันต์จะมีอยู่จริงในโลกปัจจุบัน และไม่รู้ว่าทุกคนยังมีสิทธิ์ไปนิพพานได้ นอกจากนั้น ท่านยังนำเอาคำสอนของลัทธิมหายานเข้ามา เช่นเรื่องของท่านเว่ยหล่าง ท่านฮวงโป และนิทานเซ็นใหม่ ๆ ที่คนไทยเราไม่เคยได้ยินมาก่อนเช่นกัน ซึ่งแปลกใหม่จากการ สอนตามประเพณีที่เน้นแต่นิทานชาดกอย่างสิ้นเชิง

    สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องใหม่มากที่ไม่มีใครในวงการสงฆ์ของเมืองไทยกล้าทำมาก่อน และเป็นเรื่องที่ปัญญาชนเริ่มฟังรู้เรื่อง จึงทำให้เกิดการตื่นตัวในหมู่ปัญญาชนที่มีทั้งนักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ นักกฏหมาย เช่น ท่านนายกปรีดี พนมยงค์ นายกุหลาบ สาประดิษฐ์ (นักน.ส.พ.) นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นต้น ปัญญาชนเหล่านี้จึงได้ช่วยทำให้คำสอนของท่านอาจารย์ขยายตัวออกไปมาก และทำให้ชื่อเสียงของท่านดังมาอย่างต่อเนื่อง

    แม้ท่านมรณภาพไปแล้ว ยูเนสโกก็ยังได้จัดให้ท่านอยู่ในกลุ่มบุคคลผู้ได้สร้างผลงานดีเด่นระดับโลกและควรได้รับการระลึกถึง ถึงแม้จะมีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับคำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาสก็ตาม คุณต้องเห็นเป็นเรื่องธรรมดามาก ดิฉันไม่คิดว่าจะมีครูบาอาจารย์ท่านใดที่จะสามารถสอนคนให้เข้าใจและเห็นด้วยกับตนเองได้เท่าเทียมกันหมด แม้พระพุทธเจ้าเอง ก็ยังถูกพราหมณ์วิจารณ์จนท่านต้องต่อกรกับเจ้าลัทธิอื่นอยู่เสมอ และแม้ทุกวันนี้ ก็ยังมีคนที่ไม่เห็นด้วยกับคำสอนของพระพุทธศาสนา คนที่ไม่เห็นด้วยกับคำสอนของฝ่ายสวนโมกข์จึงต้องมองให้ออกว่าเป็นเรื่องธรรมดาของโลกแห่งความคิด

    เรื่องอาจารย์กับลูกศิษย์ นอกจากเป็นเรื่องของบุญบารมีที่สร้างร่วมกันมาแล้ว ยังต้องถูกจริตซึ่งกันและกัน เหมือนเกลียว ๒ อันที่ต้องเข้ากันได้พอดี หากหลวมไปหรือคับไป ก็จะเกาไม่ถูกที่คัน ฉะนั้น การที่ท่านอาจารย์พุทธทาสถูกคนวิจารณ์ในทางลบนั้น ดิฉันเห็นเป็นเรื่องธรรมดามาก จุดสำคัญอยู่ตรงนี้ คือ ท่านสมควรที่จะได้รับเกียรติที่ทางยูเนสโกให้ท่าน เพราะการที่พระสงฆ์รูปหนึ่งสามารถใช้ชีวิตอย่างเสียสละ ปวรนาตนที่จะเป็นทาสรับใช้ให้พระพุทธเจ้า คิดถึงแต่ผู้อื่นและทำงานเพื่อประโยชน์ของคนหมู่มากจนสร้างผลงานทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ โดยไม่มีเรื่องอื้อฉาวในเรื่องลาภสักการระหรือเรื่องสตรีเพศนั้น บุคคลนั้นสมควรได้รับการเคารพยกย่องบูชาแล้ว เพราะพระที่มีชื่อเสียงจะรอดพ้นบ่วงมารในเรื่องลาภสักการระโดยไม่มีคำครหานินทานั้น มิใช่เป็นเรื่องง่าย เป็นเรื่องยากมาก หากท่านไม่ได้ปฏิบัติอย่างจริงจังและมีสภาวธรรมที่ปลอดภัยรองรับอยู่แล้วละก็ ไปไม่รอดแน่นอน พระส่วนมาก หากไม่โดนเบ็ดของลาภสักการระ ก็เบ็ดเรื่องสตรีเพศ หรือไม่ก็ทั้งหมด ฉะนั้น ครูบาอาจารย์ท่านใดที่สิ้นชีวิตแล้ว และไม่มีเรื่องด่างพร้อยเหล่านี้ให้คนครหานินทา มีแต่ผลงานที่แม้คนรุ่นหลังก็ยังได้รับประโยชน์อยู่ละก็ บุคคลนั้นสมควรได้รับการกราบไหว้ เคารพบูชาแล้ว ซึ่งสวนโมกข์ก็ยังเป็นแหล่งรู้ให้กับคนมากมายในยุคนี้

    เมื่อมีปัญหาของคนในยุคหลังจากที่ท่านพุทธทาสสิ้นแล้วมานั่งถกเถียงเรื่อง ตายแล้วสูญ โดยอ้างว่าเป็นคำสอนของท่านนั้น ก่อนอื่น ดิฉันซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ต้องยอมรับแทนอาจารย์ตนเองว่า ท่านได้เปิดช่องโหว่ที่กว้างพอสมควรไว้ให้คนตีความกันอย่างผิด ๆ ซึ่งดิฉันก็เคยเป็นคนหนึ่งที่ตีความผิดตามที่ได้เขียนไว้ในเรื่องกฏแห่งกรรมแล้ว ตรงนี้ดิฉันอาจจะถูกเพื่อน ๆ ชาวสวนโมกข์ด้วยกันเองโจมตีก็ได้ แต่ดิฉันเห็น ความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องช่วยอาจารย์ของตนเองอุดช่องโหว่ในเรื่องนี้ มิเช่นนั้น อาจจะมีผลเสียมากกว่านี้

    ดิฉันอยากคิดง่าย ๆ ตามหลักเหตุผลว่า ท่านอาจารย์เหมือนได้ตีกรอบการสอนของท่านไว้ตั้งแต่ยุคแรก ๆ โดยเน้นเรื่องจิตว่าง สวรรค์ในอก นรกในใจ นิพพานคือความสงบเย็นของจิตใจ ซึ่งมีคนฟังแล้วเข้าใจ ยอมรับ และสามารถทำตามคำสอนของท่านจนความทุกข์น้อยลงได้จริง ซึ่งดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่ทำตามคำสอนของท่านแล้วทุกข์น้อยลงจริง จึงเหมือนกับท่านพุทธทาสได้สร้างทางให้น้ำไหล จากลำธารเล็ก ๆ ไปสู่แม่น้ำแห่งความคิดสายใหญ่จนเป็นลักษณะเด่นของท่านแล้ว และจู่ ๆ จะให้มาเปลี่ยนกรอบความคิดหลัก ๆ ที่ได้สร้างไว้แต่ต้นนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีคนทำกัน เหมือนแม่น้ำสายใหญ่ ๆ มันจะไม่เปลี่ยนทางเดินเองง่าย ๆ นอกจากเกิดแผ่นดินไหวเท่านั้น
    แต่เมื่อเรื่อง สวรรค์ในอก นรกในใจ ได้กลายมาเป็นชนวนของการตีความผิด ๆ ทำให้คนเชื่อว่า ตายแล้วสูญ เราจะแก้ปัญหาอย่างไร หากจะถามว่า ท่านอาจารย์พุทธทาสสอนเรื่องตายแล้วสูญจริงหรือไม่ ดิฉันต้องว่าไม่จริง ท่านไม่เคยพูดเช่นนั้น เพียงแต่บอกว่า ปัญหาเรื่องตายแล้วไปไหนมีประโยชน์น้อยกว่าการเน้นเรื่องทำให้หมดทุกข์ในปัจจุบัน เหมือนคนกำลังถูกลูกธนูเสียบอกอยู่ ไม่ควรเซ้าซี้ถามว่าใครทำธนู ใครยิงธนู...รีบเอาธนูออกก่อน จะเป็นเรื่องมีประโยชน์มากกว่า ฉะนั้น ท่านจึงเน้นเรื่องปัจจุบันที่ให้คนเห็นทุกข์ และดับทุกข์ในใจก่อน

    จุดสำคัญคือ ตอนนี้ท่านอาจารย์มรณภาพไปแล้ว ท่านไม่สามารถที่จะมาพูดแก้ปมปัญหาได้ว่า คนตีความคำสอนของอาตมาผิดนะ อย่าตู่นะ อาตมาไม่ได้พูดอย่างนี้นะ คุณว่าของคุณเอาเองนะ ดิฉันจึงเห็นเป็นหน้าที่ของลูกศิษย์ที่จะต้องพูดแทนครูบาอาจารย์ของตนเอง ซึ่งลูกศิษย์ท่านอื่น ๆ อาจจะไม่เห็นด้วยก็ได้ แต่ขอให้ฟังก่อน เพราะดิฉันทำด้วยความเจตนาดี ไม่มีเงื่อนงำอะไรทั้งสิ้น
    แม้ท่านอาจารย์ได้ตีความเรื่องปฏิจสมุปบาทโดยไม่ได้อธิบายแบบข้ามภพข้ามชาติก็ตาม แต่ดิฉันยังอยากเชื่อว่า ในส่วนลึกแล้วท่านต้องทราบว่า นรก สวรรค์ตามความเข้าใจดั้งเดิมตามประเพณี อันเป็นที่อยู่ของเทวดา นางฟ้า และสัตว์นรก ต้องมีอยู่จริง เพราะท่านรู้ว่ามันต้องมีจริง ท่านจึงเน้นให้คนปฏิบัติเพื่อมุ่งพระนิพพาน แม้จะเป็นการตีความว่านิพพานคือความเย็นของจิตใจก็ตาม มันก็ยังถูกต้องอยู่ในแง่มุมหนึ่ง การสอนของสวนโมกข์ที่เน้นให้คนปฏิบัติเพื่อนิพพานก็ยังคงเป็นอยู่ในทุกวันนี้

    นอกจากนั้น การสร้างสระน้ำนาฬิเกร์ ที่พูดถึงต้นมะพร้าวนาฬิเกร์อยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง หรือ พระนิพพานที่อยู่ในท่ามกลางสังสารวัฏนั้น นี่ต้องเป็นความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เชื่อว่า สังสารวัฏอันมีภพภูมินรกสวรรค์ เมืองพรมต้องมีอยู่จริง ไม่มีใครที่จะคิดเรื่องสังสารวัฏให้ลงตัวได้โดยไม่เชื่อว่า นรกสวรรค์ไม่มีจริง

    ท่านอาจารย์พุทธทาสเป็นท่านแรกที่แปลบทสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นที่เป็นภาษาบาลีออกมาเป็นภาษาไทยที่คนทั่วไปเข้าใจได้ ซึ่งก่อนจะมีบทสวดมนต์แปลนี้ ชาวพุทธไทย (นอกจากพระและฆราวาสที่เรียนบาลีเท่านั้น) ต้องเรียกว่าเกือบหมดก็ว่าได้ ไม่รู้เลยว่าคำสวดมนต์เหล่านั้นมีความหมายว่าอย่างไร เห็นเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ที่มีความขลังมากกว่าเป็นคำสรรเสริญพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และในบทสวดมนต์นี้ ท่านอาจารย์ก็ได้เขียนแปลไว้อย่างชัดเจนว่ามีเทวดา มาร พรหม เปรต อสุรกาย ซึ่งหากท่านไม่เชื่อว่ามีอยู่จริงแล้วละก็ ท่านจะละเว้นคำเหล่านี้ไปเลยก็คงได้อยู่
    ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ดิฉันจึงอยากเชื่อว่าท่านอาจารย์พุทธทาสไม่ได้คิดว่า “ตายแล้วสูญ” อย่างแน่นอน ซึ่งเรื่องนี้เราไปถามท่านไม่ได้อีกแล้ว เพราะท่านได้มรณภาพไปแล้ว ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ท่านอาจารย์พุทธทาสแล้ว แต่ตกมาอยู่ที่ดิฉันที่กำลังพูดแทนท่านมากกว่า ฉะนั้น ใครจะเอาเรื่อง อยากวิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิติเตียน ก็ต้องมาเอาเรื่องกับดิฉันแทนท่านพุทธทาส และควรยุติการวิพากษ์วิจารณ์ท่านอาจารย์พุทธทาสอย่างเสีย ๆ หาย ๆ ได้แล้ว เรื่องความคิดเห็นต่างกัน เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องเปิดใจกว้างและยอมรับความต่างของความคิด การพูดร้ายถึงพระสงฆ์รูปหนึ่งที่ได้พิสูจน์ตนเองแล้วว่าไม่มีความด่างพร้อยในเรื่องศีล ไม่ติดในวัตถุ เกียรติยศชื่อเสียง และยังมีผลงานทางธรรมที่ได้ช่วยให้คนทุกข์น้อยลงเช่นนี้ จะเป็นบาปแก่ผู้พูดเอง ต้องระวัง

    ในส่วนตัวของดิฉันแล้ว เห็นว่า การคิดว่า “ตายแล้วสูญ” เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างรุนแรง เป็นความคิดที่ไม่ลงตัว ถ้าตายแล้วสูญจริง ก็ไม่จำเป็นต้องแสวงทางดับทุกข์เพื่อไปนิพพาน จะทำให้ทั้งคนดี คนชั่ว ดีมากชั่วน้อย ดีน้อยชั่วมาก มีความเท่าเทียมกันหมด ทำให้ทั้งฮิตเลอร์ ท่านดาไลลามะ ท่านติช นัทฮัน เจ้าหญิงไดอาน่า พร้อมทั้งพระมหากษัตริย์ของไทยเรา และเรา ๆ ท่าน ๆ มีความเท่าเทียมกันหมด คือ ตายแล้วก็สูญว่างเปล่าไปหมด ซึ่งฟังแล้ว ไม่มีเหตุผลที่หนักแน่นแต่อย่างใด เท่ากับสบประมาทความรู้ของพระพุทธเจ้าที่สอนเรื่อง กฎแห่งกรรม

    การสอนให้คนเชื่อว่า ตายแล้วสูญ นั้น จะเป็นต้นเหตุให้ศีลธรรมซึ่งมีน้อยมากอยู่แล้วในสังคมปัจจุบันน้อยลงไปอีกจนไม่มีอะไรเหลือ ถ้าเอาคำสอนเช่นนี้เข้าหลักสูตรการศึกษา สอนเด็กให้คิดเช่นนี้แล้วละก็ เท่ากับเร่งให้สังคมไทยตลอดจนสังคมโลกเข้าสู่ยุคมิคสัญญีได้เร็วมากขึ้น ขนาดไม่สอนเรื่องตายแล้วสูญอย่างจริงจังเช่นนี้ ศีลธรรมก็แทบไม่เหลือให้เห็นแล้ว ถ้าไปสอนเด็ก จะยิ่งยุ่งมากขึ้น กิเลสมารจะได้ช่อง ทำให้คนหมู่มากไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง และทำตามใจกิเลสอย่างเดียว ซึ่งอันตรายมาก

    เรื่องนรกสวรรค์นี้ต้องย้อนกลับไปดูคำสอนของพระพุทธเจ้าอีก ดิฉันไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องตีความเรื่องภพภูมิ หรือ นรกสวรรค์ จากเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทแต่อย่างใด นอกจากเป็นหัวข้อที่ลึกซึ้งมากและก่อให้เกิดความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันเช่นนี้แล้ว ดิฉันเห็นทางออกที่ง่ายกว่านั้นชนิดไม่ต้องตีความกันเลย นั่นคือ ใครที่สงสัยเรื่องนรก สวรรค์มีจริงหรือไม่ ก็ขอให้ไปพลิกพระไตรปิฏกแบบไม่ต้องอ่านจริงจังก็ได้ แค่ไปนับคำว่า เทวดา มาร พรหม เปรต อสุรกาย สัตว์นรก (นิรยะ) ในพระไตรปิฎกว่าพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสซ้ำซากกี่หน จะใช้พระไตรปิฎกฉบับย่อของอาจารย์สุชีพ ปุณญานุภาพ ซึ่งเป็นฉบับที่ดิฉันใช้อยู่ก็ได้ ขอให้ไปนับเล่น ๆ เท่านั้น คำเหล่านี้ หากไม่มีอยู่จริง พระพุทธเจ้าท่านจะพูดซ้ำพูดซากหรือ ท่านพูดไปตามข้อเท็จจริงที่มีอยู่ เป็นอยู่ โดยไม่จำเป็นต้องตีความแต่อย่างใดเลย เพราะภพภูมิเหล่านี้มีอยู่จริงนั่นเอง

    แม้สภาวะสัจธรรมหรือนิพพานจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยก็ตาม แต่ในส่วนคำสอนนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนบ้างเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย หรือ อย่างน้อย ต้องพูดให้คนเข้าใจได้ เพื่อแต่ละคนจะได้ทำหน้าที่ในการเดินทางให้ถึงพระนิพพานด้วยตนเอง คำสอนของท่านอาจารย์พุทธทาสอาจจะได้ผลมากในยุคของท่าน แต่ดิฉันเห็นว่า สังคมโลกได้เดินมาถึงอีกจุดหนึ่งแล้ว เป็นรุ่งอรุณของยุคมิคสัญญี เป็นสังคมที่มีคนเห็นแก่ตัวมากขึ้น มืดสนิท กู่แทบไม่กลับ ฉะนั้น การเน้นให้คนสนใจเรื่องปัจจุบันว่าสวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจไม่เพียงพอเสียแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าดิฉันจะเอานรกมาขู่ให้คนกลัว และเอาสวรรค์มาล่อเพื่อขายใบบุญถ่ายบาป สิ่งเหล่านี้ ดิฉันเห็นว่าหมดยุคสมัยของมันแล้วเช่นกัน

    ดิฉันต้องการให้คนหมู่มากเห็นว่า สังสารวัฏอันเป็นที่ตั้งของภพภูมิต่าง ๆ อันมีทั้ง พรหมโลก สวรรค์ นรก โลกมนุษย์ โลกเดรัจฉาน เหล่านี้ ไม่ต่างอะไรจากคุกชีวิตที่เราทุกคนล้วนเป็นนักโทษที่ถูกกักขังอยู่ทั้งสิ้น เพราะความเป็นนักโทษของคุกชีวิตนี่แหละ จึงเป็นสาเหตุของความทุกข์ทั้งหลาย ฉะนั้น หากใครอยากจะออกจากคุกชีวิตนี้ละก็ มีทางเลือกเพียงทางเดียวเท่านั้น คือ ต้องแหกคุกสังสารวัฏเพื่อไปให้ถึงนิพพานจงได้ ช้าเร็วไม่เป็นไร ขอให้เร่งรีบออกเดินทางเท่านั้น ก็จะต้องถึงเป้าหมายปลายทางแน่นอน คุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ก็เป็นเรื่องของคุณโดยตรง เพราะทั้งผลได้ ผลเสียตกอยู่กับคุณเท่านั้น

    เรื่องตายแล้วสูญจริงหรือไม่ นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ หากใครอยากท้าให้พิสูจน์เรื่องนี้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์จริง ๆ ละก็ มีทางเดียวเท่านั้น คือ ผู้ท้าทายนั่นเองต้องไปลองตายดู เพื่อจะได้เห็นดำเห็นแดงด้วยตนเอง ไม่ต้องไปท้าคนอื่นให้พิสูจน์หรอก เพราะจะไม่เป็นวิทยาศาสตร์จริง แต่ถ้าใครยังไม่พร้อมจะตายเพื่อพิสูจน์เรื่องนี้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์แล้วละก็ คุณก็มีทางเลือกเดียวเท่านั้น คือ คุณต้องเชื่อพระพุทธเจ้า หรือ ครูบาอาจารย์ที่คุณยอมก้มหัวให้ เพราะเรื่องนรกสวรรค์ไม่มีทางที่จะให้ใครมานั่งพิสูจน์กันอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ได้เด็ดขาด เป็นเรื่องของความเชื่อถ่ายเดียวเท่านั้น ความเป็นวิทยาศาสตร์ของพระพุทธศาสนาไม่ได้อยู่ที่เรื่องพิสูจน์นรกสวรรค์ว่ามีจริงหรือไม่ แต่อยู่ที่เรื่องวิปัสสนาต่างหาก เรื่องการสามารถใช้ตาใจหรืออายตนะที่ ๖ ดูความคิด ความรู้สึก ของตนเอง

    ถ้าคุณไม่เชื่อว่านรกสวรรค์มีจริง ก็เป็นเรื่องส่วนตัวของคุณ ไม่เชื่อแล้วทำดี ก็ยังไม่เสี่ยงมากเท่ากับคนที่ไม่เชื่อแล้วไปทำชั่ว ทำตามกิเลสอย่างสุดเหวี่ยง เห็นว่าต้องใช้ชีวิตให้คุ้มค่าโดยการเสพกาม เสพวัตถุให้มากที่สุด คุณเท่านั้นแหละที่จะรู้ว่าผลจากการทำชั่วของคุณจะเป็นอย่างไรหลังจากที่คุณตายไปแล้ว ถึงตอนนั้น อย่าบ่นว่า “เอ้า...แล้วทำไมไม่เตือนกันก่อนล่ะ” ก็พระพุทธเจ้าได้เตือนคนมากว่าสองพันห้าร้อยปีแล้ว และขณะนี้คุณคิดว่าดิฉันกำลังทำอะไร หากนี่ไม่ใช่เป็นการเตือนอย่างแรง ๆ

    ความสงสัยเรื่องตายแล้วไปไหน นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่นั้น เป็นคำถามที่อยู่เคียงคู่มนุษย์ในทุกยุคทุกสมัย เป็นคำถามที่ไม่สามารถกำจัดออกจากหัวมนุษย์ได้อย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นคำถามที่จำเป็นต้องมีคำตอบ มิเช่นนั้น ผู้สงสัยจะเกิดความสับสนวุ่นวาย คำถามนี้จึงเป็นต้นตอของศาสนาทุกศาสนา ไม่ว่าคุณจะเชื่อว่า ตายแล้วสูญ หรือ ไม่สูญ ล้วนแต่เป็นความเชื่อทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเชื่อวิทยาศาสตร์หรือศาสนา ก็ยังเป็นความเชื่ออยู่วันยังค่ำ ฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะเลือกเชื่ออะไรก็ตาม ความเชื่อของคุณต้องมีความหนักแน่น ไม่โลเลซัดส่ายเมื่อมีคนมาพูดท้าทายเพื่อทำลายความเชื่อของคุณ คนมีปัญญาย่อมเลือกเชื่อในสิ่งที่ฟังแล้วมีเหตุผลมากที่สุด เมื่อมีค้นมาท้าทาย จะได้ไม่ล้มครึนง่าย ๆ

    หากคุณสนใจที่จะเลือกฟังเหตุผลของดิฉันในเรื่องตายแล้วสูญหรือไม่ซึ่งเป็นความรู้ของพระพุทธเจ้าแล้ว ขอแนะนำให้อ่านหนังสือของดิฉันเรื่องคู่มือชีวิตภาคกฎแห่งกรรม เรื่องใครกลัวตาย....ฟังทางนี้ และ หากใครอ่านภาษาอังกฤษได้ ดิฉันแนะนำให้อ่านเรื่อง The User Guide to Life…The Law of Karma ซึ่งดิฉันเพิ่งเขียนเสร็จและอาจจะมีสิ่งแตกต่าง เพิ่มเติมจากเล่มภาษาไทย เพราะไม่สามารถเขียนหนังสือสองเล่มให้เหมือนกันได้หมดทุกตัว หนังสือที่ดิฉันเขียนล่าสุดมักมีข้อมูลเพิ่มเติมใหม่ ๆ

    หากมีสิ่งใดที่ดิฉันอาจจะเข้าใจผิดและได้พูดล่วงเกินท่านอาจารย์พุทธทาสแล้วไซร้ ดิฉันขอกราบอโหสิกรรมต่อท่านอาจารย์พุทธทาสและลูกศิษย์ของท่านมา ณ ที่นี้
    ศุภวรรณ พิพัฒพรรณวงศ์ กรีน
    ๗ มิถุนายน ๒๒๕๐


    ปล.ไม่ได้เอามาให้เชื่อ แต่ให้พิจารณาในมุมมองของคนอื่น พิจารณาดูสติปัญญาของผู้อื่นบ้าง
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ในโอกาสวันล้ออายุปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ท่านอาจารย์พุทธทาสได้แสดงธรรมในช่วงบ่ายของวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๔ เป็นส่วนหนึ่งในหัวข้อธรรมบรรยายที่ท่านตอบผู้ข้องใจ หรือ ตอบผู้โจษจ้วงท้วงกล่าวหาท่านที่มีมาในสังคมไทย.

    ๖. การเวียนว่ายตายเกิด
    ปรัศนี: เขากล่าวหาท่านอาจารย์ว่า อาจารย์ยกเลิก "ชาติ" สำหรับการเวียนว่ายตายเกิด เข้าโลงแล้ว เข้าโลงอีก แล้วมากล่าวว่า "ชาติ" แห่งจิตปัจจุบันในกระแสปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเกิดขึ้นได้มากมายในแต่ละวันๆ นี้ว่า เป็นการนำเอามิจฉาทิฎฐิมาสอนเป็นโมฆธรรม หาสาระมิได้ นี้ท่านอาจารย์ยกเลิกจริงหรือครับ? ทำไมอธิบายอย่างนี้ครับ?
    พุทธทาส: นี่ก็คล้ายกับข้อที่แล้วมา ไม่ได้ยกเลิก “ชาติ” ก็จะไปเลิกได้อย่างไร “ชาติ” เกิดจากท้องแม่มันก็เป็นชาติตามธรรมชาติ จะไปยกเลิกได้อย่างไร ให้รู้จักแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ว่า ชาติทางร่างกายทางวัตถุเกิดจากท้องแม่ ที่นี้ ชาติทางจิตทางวิญญาณ คือ ความรู้สึกว่าตัวกูของกู ที่เกิดมาจากตัณหาอุปาทาน เกิดอยู่ในใจ นี่ชาติฝ่ายวิญญาณ ก็เป็นชาติชาติหนึ่ง เกิดทุกครั้งที่เกิดตัณหาอุปาทาน วันหนึ่ง เราเกิดตัณหาอุปาทานกี่ครั้ง อ้ายชาติชนิดนั้นจะเกิดเท่านั้นครั้ง
    แล้วชาติอย่างหนึ่งมันเกิดจากท้องแม่ทีเดียวก็เลิกจนกว่าจะเข้าโลง เลิกไม่มีปัญหา ไม่ทรมานใครด้วย เพราะมันเสร็จไปแล้ว แต่ชาติที่เกิดจากตัณหาอุปาทาน ที่ปรุงแต่ง เมื่อจิตได้รับอารมณ์นี้ ดูเอาเองเถอะ เกิดทุกทีเป็นทุกข์ทุกที เกิดเวทนาชนิดไหนก็ต้องเป็นทุกข์เพราะเวทนาชนิดนั้น แม้แต่สุขเวทนา มันก็ทรมาน, อยู่ในทุกขเวทนาก็ยิ่งทรมาน ที่ว่า "เกิดทุกข์ เป็นทุกข์ทุกที" นี้หมายถึงเกิดในทางจิตใจในภายใน ด้วยอำนาจของอุปาทาน ทำให้เกิดความยึดมั่นว่า ตัวเราของเราตัวกูของกู ที่เรียกว่า "อหังการะ มะมังการะ มานานุสัย" ทุกคนมีอหังการะ มะมังการะ มานานุสัย คือความเคยชินที่เกิดความยึดถือขึ้นมาว่า กู หรือของกู ทุกคนมี มันก็เกิดเป็นตัวกูของกู ได้ง่าย ได้เร็ว ได้ทุกหนทุกแห่ง และเป็นทุกข์ทุกที นี่เรียกว่า "ชาติ" ในภาษาธรรมเป็นเรื่องทางจิตทางวิญญาณ นี่เป็นปัญหาเป็นตัวปัญหาที่มันขบกัดเอาเจ็บปวดตลอดวัน ตลอดคืน ส่วนชาติเกิดจากท้องแม่นะมันเสร็จไปแล้ว หมดเรื่องไปแล้ว ไม่ทำพิษทำอันตรายอะไร ฉะนั้นพระพุทธเจ้า ท่านมุ่งหมายชาติ ชนิดที่ทำให้เกิดทุกข์อยู่เรื่อยไป แต่ไปดูเอาเอง ถ้ามันมีเวทนาก็จะเกิดตัณหา เมื่อมีตัณหาก็เกิดอุปาทาน เมื่อมีอุปาทาน ก็มีภพชาติ ติดต่อกันไป ไม่ต้องรอ
    ที่อธิบายไปไว้ชาติอื่น ภพอื่นเป็นหลายชาตินั้น เป็นคำอธิบายชั้นหลัง คำอธิบายผิดๆ ไม่ตรงตามพระพุทธประสงค์ ไปดูตัวหนังสือในพระไตรปิฎกเอง หลายร้อยหรือหลายพันแห่ง ที่มีตัวสูตร ปฏิจจสมุปบาท จะเป็นอย่างนี้ พอเกิดเวทนาที่ยึดถือ ก็จะต้องมีตัณหา มีอุปาทาน มีภพ มีชาติทันที ติดต่อกันไป อย่างสายฟ้าแลบ นี้เป็นทุกข์ นี่คือชาติที่เป็นปัญหา เราควรจะสนใจเพื่อจะควบคุมไว้ให้ได้ อย่ามีอวิชชามากระทบอารมณ์ เวทนาก็ไม่ถูกยึดถือ เพราะไม่มีตัวกูไม่มีความรู้สึกนึกคิดยึดถือเป็นตัวกู มันก็ไม่เป็นทุกข์ ฉะนั้น จึงบอกให้รู้ว่า มีอยู่ ๒ ชาติหรือชาติมีอยู่ ๒ ชนิด ชนิดหนึ่ง หมดปัญหาแล้ว ชนิดหนึ่งกำลังขบกัดเราอยู่ทั้งวันทั้งคืน ทีนี้ชาติที่เข้าโลง เกิดจากท้องแม่แล้วเข้าโลงมันชาติเดียว ครั้งเดียว คราวเดียว ไม่มีปัญหาอะไร
    มันเป็นไปตามธรรมชาติ สัตว์เดรัจฉานมันก็เป็นไปได้ ไม่มีปัญหาอะไร แต่มีมนุษย์มันเก่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน คือมันคิดลึกซึ้ง เกิดตัณหา อุปาทาน แล้วเผาผลาญจิตใจตัวเอง ชาตินี้ต้องระวัง แต่ว่าไม่ได้ยกเลิก ชาติ ชนิดที่เกิดจากท้องแม่แล้วเข้าโลง ก็ปล่อยไว้ตามธรรมชาติ แต่ขอร้องให้มาสนใจ ชาติที่กำลังขบกัด เคี้ยวกินเราอยู่ทั้งวันทั้งคืนนี่ ควบคุมมันเสียให้ได้ อย่าให้เกิดชาติชนิดที่เป็นทุกข์ เอ้ามีปัญหาอะไร.
    ปุจฉา-วิสัชนา6
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ในโอกาสวันล้ออายุปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ท่านอาจารย์พุทธทาสได้แสดงธรรมในช่วงบ่ายของวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๔ เป็นส่วนหนึ่งในหัวข้อธรรมบรรยายที่ท่านตอบผู้ข้องใจ หรือ ตอบผู้โจษจ้วงท้วงกล่าวหาท่านที่มีมาในสังคมไทย.

    ๑๔. ไม่มีนรก-สวรรค์
    ปรัศนี: เขากล่าวหาท่านอาจารย์ว่า สอนว่า ไม่มีนรกไม่มีสวรรค์ หรือแม้หลังจากตายแล้ว และนิพพานอยู่ที่ เมื่อจิตว่าง ดังนี้เป็นการกล่าวตรงตามที่ท่านอาจารย์กล่าวหรือเปล่าครับ?
    พุทธทาส: เราไม่ได้พูดว่า ไม่มีนรก ไม่มีสวรรค์ หรือแม้แต่หลังจากตายแล้ว เราว่ามีทั้งสองอย่าง นรกสวรรค์ต่อตายแล้ว ก็ว่าไปตามเดิม ไม่ไปแตะต้องเขา นรกสวรรค์ที่นี่และเดี๋ยวนี้ นี่ยืนยันมากให้ตรงตามพุทธประสงค์ นรกสวรรค์อยู่ที่อายตนะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอันว่ามันมีนรกชนิดนี้ก็มี นรกสวรรค์ต่อตายแล้วไม่ได้ไปแตะต้องเขา ไม่ได้ไปวิพากษ์วิจารณ์เขา ขอให้เก็บไว้ แต่ควบคุมได้ โดยที่จัดนรกสวรรค์เดี๋ยวนี้ให้ถูกต้อง มันควบคุมถึงไปได้ถึงสวรรค์ต่อตายแล้ว เป็นอันว่ามีนรกสวรรค์ทั้งสองชนิด ทั้งสองประเภท ไม่ได้ยกเลิกชนิดไหนเลย
    ข้อที่พูดว่า นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ เป็นสำนวนพูดให้เกิดความสนใจ นิพพานมีเมื่อจิตว่างจากกิเลส นี่มีหลักมีเกณฑ์ คือเป็นนิพพานตัวอย่าง คำว่า "นิพพาน" ที่เกี่ยวกันอยู่กับจิตนั้นก็คือ จิตนั้นมันว่างจากกิเลส นี้พูดและยืนยันว่า พูด และจะพูดต่อไปว่า นิพพานตัวอย่างมีเมื่อจิตว่างจากกิเลส เป็นความดับแห่งกิเลส นี่เป็นนิพพานถ้าดับชั่วคราวก็เป็นนิพพานชั่วคราว เรียกว่า ตทังคนิพพาน หรือสมยวิมุตติ นิพพานที่นี่และเดี๋ยวนี้ ขอให้คอยสังเกต เมื่อจิตว่างจากกิเลสโดยเหตุใดๆ ก็ตาม แต่มันยังไม่ใช่นิพพานสมบูรณ์ หรือตลอดกาลหรือนิรันดร นิพพานชั่วขณะ เรียกว่า ตัวอย่างก็ได้ เมื่อใดจิตว่างจากกิเลสน่ะ รีบรู้จักเสียเร็วๆ คอยเฝ้าดูจิตเมื่อไม่ปรุงเป็นกิเลส เป็นจิตเยือกเย็น เป็นนิพพานเพื่อจะได้เป็นตัวอย่าง แล้วจะได้ชอบใจ แล้วจะได้เป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานอันสูงสุด คือ นิพพานเต็มรูปแบบ.
    เราสนใจนิพพาน ตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันนี้ เพื่อทำให้คนไม่ต้องปวดหัว ไม่ต้องเป็นโรคประสาท ไว้เรื่อยๆ จะเป็นปัจจัยแก่พระนิพพานอันแท้จริงหรือสูงสุด ที่ว่าอยู่ที่นี่ เดี๋ยวนี้ นิพพานตัวอย่างนั้นพูดจริง แล้วก็พูดต่อไปอีกด้วย พระนิพพานนี้แปลว่า เย็น เมื่อใดเป็นจิตเย็น เย็นอกเย็นใจละก็เมื่อนั้น เป็นนิพพาน แต่คำวา เย็น คำนี้ ก็พิเศษอีกแหละ กลัวว่า ผู้ถามคนนี้คงฟังไม่ถูก ผู้ถามรู้จักแต่เย็นที่คู่กับร้อน ถ้าร้อนก็ต้องเปิดพัดลม ถ้าเย็นถ้าหนาวก็ต้องห่มผ้า แต่มีความเย็น อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเมื่อไม่เย็นไม่ร้อน เมื่อไม่เย็นไม่ร้อนชนิดนี้จะเกิดความเย็นชนิดหนึ่งซึ่งเป็นนิพพาน เมื่อไม่รบกวนด้วยความเย็นหรือความร้อนในโลกนี้ มันก็มีความเย็นอย่างโลกุตตระ เป็นนิพพาน ที่ใช้สอนกันในเบื้องต้นว่า เย็นคู่กับร้อน สุขคู่กับทุกข์ สุขที่คู่กับทุกข์ก็ยังเป็นทุกข์เย็นทั้งที่คู่กับร้อนมันก็ยังเป็นทุกข์ ต้องปัดทิ้งไปให้หมดทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งอะไรทุกๆ คู่ จึงจะเป็นนิพพาน, กล่าวว่า จิตเย็นเป็นนิพพาน คือเย็นต่อเมื่อไม่มีทั้งร้อนและทั้งเย็นในความหมายของโลกๆ เอ้า มีอะไรอีก.
    ปุจฉา-วิสัชนา14
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ในโอกาสวันล้ออายุปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ท่านอาจารย์พุทธทาสได้แสดงธรรมในช่วงบ่ายของวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๔ เป็นส่วนหนึ่งในหัวข้อธรรมบรรยายที่ท่านตอบผู้ข้องใจ หรือ ตอบผู้โจษจ้วงท้วงกล่าวหาท่านที่มีมาในสังคมไทย.

    ๒๑. ความเร้นลับของโอปปาติกะกำเนิด
    ปรัศนี: โอปปาติกสัตว์ นี้เป็นอย่างไรครับ? เห็นได้ที่ไหนครับ? รูปร่างเป็นอย่างไรครับ?
    พุทธทาส: นี้เป็นเรื่องเข้าใจผิดกันอยู่เวลานี้ พวกหนึ่งเข้าใจว่า โอปปาติกะนั้น เป็นชื่อของสัตว์ชนิดหนึ่ง นี้เราไม่เห็นด้วย ที่แท้- โอปปาติกะ เป็นชื่อของกิริยาอาการที่เกิด ไม่ได้เป็นชื่อของสัตว์ชนิดหนึ่งที่เป็นรูปร่างอะไรของตนโดยเฉพาะ
    "โอปปาติกะ" หมายถึง การเกิดในลักษณะที่ว่า ผลุงขึ้นมาโตเต็มที่ ไม่ต้องเกิดเป็นเด็ก ไม่ต้องมีบิดามารดา มันเกิดผลุงขึ้นมาโดยไม่ต้องมีบิดามารดา โดยไม่ต้องเป็นเด็กก่อน เป็นหญิง เป็นชาย ไม่ต้องมีเพศ กิริยาเกิดผลุงอย่างนี้เรียกว่า โอปาติกะ อย่าเติมคำว่า สัตว์ เข้าไป มันเป็นกริยาอาการที่เกิด เป็นชื่อของกิริยาอาการ ทีนี้เมื่อเกิดแล้วจะไม่เรียกสัตว์นั้นว่า "โอปปาติกะ" ไม่ใช่ชื่อของสัตว์เป็นชื่อของกิริยาอาการที่เกิดได้ที่ไหน? เมื่อมีสติปัญญาเข้าใจความหมายของคำๆ นี้ ก็จะเห็นได้ว่าเป็นกิริยาอาการเกิดมีรูปร่างอย่างไร? ไม่แน่ ไม่มีในตำราถ้าวาการเกิดอย่างนี้เกิดเป็นพรหม มันก็มีรูปร่างอย่างพรหม เกิดเป็นเทวดา ไม่ผิดแผกแตกต่างกันไปนี่ ผมจึงอธิบายว่า เมื่อจิตคิดอย่างเทวดา ก็เป็นเทวดา ผลุงขึ้นมาในจิตนี้ไม่ต้องมีพ่อมีแม่ ไม่ต้องเป็นเด็กก่อน มีความรู้สึกเป็นอย่างพรหม จิตก็อยู่ในสภาพพรหม ก็เกิดเป็นพรหมขึ้นมาในจิตใจนี้ การเกิดที่ไม่ต้องเป็นเด็กก่อนไม่ต้องมีบิดามารดา ไม่ต้องเข้าไปในครรภ์ไม่มีเพศอย่างนี้ การเกิดอย่างนี้ว่า "โอปปาติกะ" เป็นชื่อของการกำเนิดอย่างหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่ชื่อของสัตว์เลย. เอาต่อไป...
    ปุจฉา-วิสัชนา21 และ 22
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ในโอกาสวันล้ออายุปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ท่านอาจารย์พุทธทาสได้แสดงธรรมในช่วงบ่ายของวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๔ เป็นส่วนหนึ่งในหัวข้อธรรมบรรยายที่ท่านตอบผู้ข้องใจ หรือ ตอบผู้โจษจ้วงท้วงกล่าวหาท่านที่มีมาในสังคมไทย.

    ๑๘. เทวดา-พรหม-เปรต-สัตว์นรก
    ปรัศนี: บางคนมีความจงรักภักดีต่อศาสนา แต่เป็นคนโง่ไร้สติปัญญา เป็นมิจฉาทิฎฐิ แล้วอธิบายคำว่า "เทวดา" ว่าแก่ กษัตริย์และเศรษฐี คำว่า "พรหม" ได้แก่นักบวชนั่งสมาธิอยู่ในฌานสมาบัติ คำว่า "เปรต" ได้แก่ คนขอทาน และคนรับทุกข์ทรมาน คำว่า "สัตว์นรก" ได้แก่คนที่มีความสุข และคำว่า นรกได้แก่คนมีความทุกข์ไปเสียอย่างนี้ ซึ่งเขาจัดท่านอาจารย์ไว้ในหมู่ผู้มีคำอธิบายอย่างนี้ด้วยคนหนึ่ง นี่ท่านอาจารย์จะว่าอย่างไรครับ?
    พุทธทาส: คนถามเขาฟังไม่ได้ศัพท์ จับมากระเดียด คนที่อธิบายนี้ เขาอธิบายความหมาย คือถ้าไม่มีความสามารถจะเห็น นรก สวรรค์ ต่อตายแล้วได้จริงละก็ ขอให้คำนวณโดยคุณค่า เช่น เทวดานี้ คือคนมีความสุข คนเล่นหัวสนุกสนาน ถ้าจะเรียกว่า เทวดา ก็เทวดาสมมตุ เช่น คนร่ำรวยหรือราชามหากษัตริย์อย่างนี้ ก็เรียกว่า เทวดาสมมติ ให้ดูความหมายของ "เทวดา" ได้จาก สภาวะจิตใจของคนชนิดนี้ คำว่า "พรหม" ในพรหมโลกเขาก็ไม่ได้ปฏิเสธ แต่เขาอยากให้ดูว่า เมื่อคนอยู่ในญาณสมาบัติ ภาวะจิตใจเหมือนกับผู้อยู่ในพรหมโลก เขาไม่ได้พูดชัดว่า ได้แก่เหมือนคนโง่ๆ คนนี้นะคนที่ถามนี่เป็นคนโง่นะ ฟังผิดๆ ฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับไปกระเดียด ใช้คำว่าได้แก่นะ จึงว่า เทวดาได้แก่กษัตริย์ พรหมได้แก่คนที่เจริญสมาบัติ เปรตได้แก่คนขอทาน ฯลฯ ใช้คำผิดเสีย แล้วใช้คำว่า ได้แก่ ที่จริงผู้พูดผู้อธิบายเรื่องนี้ในเมืองไทยนี้ เขาอธิบายกันมาหลายสิบปีแล้วเหมือนกัน เขาใช้คำว่ามีความหมาย เช่นหรือว่ามีการเป็นอยู่ จะเปรียบกันได้ เช่น "เทวดา" มีความเป็นอยู่ของราชามหากษัตริย์ เปรตมีความเป็นอยู่ของขอทาน ไม่ใช้คำว่า "ได้แก่" อ้ายคนนี้มันโง่เองใช้คำพูดไว้ดีแล้ว กลายเป็นคนพูดผิด นี่คนโง่จะทำลายคนอื่นโดยไม่รู้ตัว และก็ไม่มีประโยชน์อะไร ที่เขาจะจัดผมไว้เป็นคนหนึ่งในหมู่พวกนี้ ก็ตามใจเขาซิ เราจะบังคับเขาได้รึ แต่เราไม่มีคำพูดอย่างนี้ว่า "ได้แก่-ได้แก่" เราก็จะพูดว่า "มันมีความหมายแห่ง" เช่น นรก มีความหมายแห่งความร้อนใจ ความร้อนใจคือคนตกนรก เป็นตัวอย่าง.
    เทวดา คือคนที่ไม่รู้จักเหงื่อ กล่าวมาตามบาลีเลย พอเทวดาเหงื่อออกเมื่อไร จุติจากเทวดาเมื่อนั้น เทวดาเป็นคนที่ไม่เคยพบเหงื่อ ไม่รู้จักเหงื่อ เพราะว่าเขาไม่มีปัญหาเรื่องเรี่ยวแรงที่ความหมายของมัน ไม่ใช่ "ได้แก่" ขอให้ระวังคำพูดให้ดีๆ มีความหมายเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ใช่ "ได้แก่" ผมก็ได้พูดเพื่อยกตัวอย่างในความหมายเพื่อเป็นสันทิฎฐิกสักนิดหนึ่ง ก็ขอให้ไปเพ่งเล็งจิตในช่วงเวลาที่มีความทุกข์ มีแต่สนุกสนานอย่างเปรตนี้ ถ้ามันหิวๆ อย่างโง่เขลา ซื้อล็อตเตอรี่มาให้หิว ไปดูเวลาหิวนี้มันคือเปรต ความหมายของเปรต จิตไม่สงบเลยไม่ถูกละที่ว่า ผมเป็นคนพวกหนึ่งในพวกนั้น เพราะผมไม่ได้ใช้คำว่า "ได้แก่" ไม่ได้ใช้คำว่า "อยู่นี่" แต่ต้องการให้เปรียบเทียบโดยความหมาย ก็หยั่งทราบด้วยจิตนี้เป็นสันทิฎฐิโก ว่านรกเป็นอย่างไร สวรรค์เป็นอย่างไร เทวดาเป็นอย่างไร พรหมเป็นอย่างไร เอ้า ต่อไป...
    ปุจฉา-วิสัชนา18
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ในโอกาสวันล้ออายุปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ท่านอาจารย์พุทธทาสได้แสดงธรรมในช่วงบ่ายของวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๒๔ เป็นส่วนหนึ่งในหัวข้อธรรมบรรยายที่ท่านตอบผู้ข้องใจ หรือ ตอบผู้โจษจ้วงท้วงกล่าวหาท่านที่มีมาในสังคมไทย.


    ๑๒. เรื่องกลับชาติของพระพุทธเจ้า
    ปรัศนี: ชาวพุทธจะอธิบายเรื่องกลับชาติของพระพุทธเจ้าในเรื่องชาดกต่างๆ อย่างไร จึงจะไม่เป็นสัสสตทิฎฐิ และเป็นที่ยอมรับได้ หรือมีประโยชน์แก่มนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นยุควิทยาศาสตร์ครับ?
    พุทธทาส: นี่เกิดชอบวิทยาศาสตร์ขึ้นมาแล้ว ผู้ถามคนเดียวกันหรือเปล่า? เกี่ยวกับเรื่องนี้ มันเป็นปัญหาซับซ้อน ที่มีข้อความเรื่องชาดก แล้วกลับชาติชาดกเกิดมาชาตินั้นเป็นคนนั้น เป็นคนนี้ เช่นว่า "พระเวสสันดร" มาเกิด เป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้ มันก็เป็นเรื่องชาดก เขาไม่ได้มุ่งหมายจะให้เป็นหลักวิชาความจริงปรมัตถ์อะไรนักหรอก เขามุ่งหมายจะสอนศีลธรรม
    ชาดกทั้งชุดอยู่ในหมวดขุททกนิกาย มุ่งจะสอนศีลธรรมให้เข้ากันกับความเชื่ออย่างนั้นอยู่แล้วก่อนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องชาดก ท่านก็ไม่ได้ตรัสเรื่องกลับชาตินะ ไปดูให้ดีเถอะ อ้ายเรื่องกลับชาติ ต่อท้ายชาดกนั้นเป็นเรื่องทีหลัง เป็นของทีหลัง คำอธิบายข้อนี้อย่างละเอียดที่สุดก็คือ พระราชวิจารณ์ในหลวงรัชกาลที่๕ ขอร้องว่า ถ้าใครสามารถหาได้เอามาดูก็ขอให้เอามาศึกษาเถอะ
    พระราชวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องชาดกในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไรของรัชกาลที่ ๕ ไปหาซื้อหนังสือชุดชาดก และเล่มแรกน่ะถ้าเขายังพิมพ์อยู่ตามเดิมโน้น จะมีพระราชวิจารณ์นี้อยู่และละเอียดเป็นที่พอใจ อาตมาเห็นด้วยทุกอย่างทุกประการว่า เขามุ่งหมายสอนศีลธรรมเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมาแต่กาลก่อนทั้งในอินเดีย ทั้งนอกอินเดีย
    ส่วนข้อความตอนกลับชาติเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ใช่ของเดิมเป็นของใหม่ที่ผู้มีเจตนาดี จะทำให้สมบูรณ์แล้วก็ทำ ฉะนั้น อย่าเอามาอ้างเป็นเรื่องสัสสตทิฎฐิหรืออะไรทำนองนี้ มุ่งหมายจะสอนศีลธรรมจะยกฐานะของพลเมืองให้มีศีลธรรมดีขึ้นโดยเร็ว คือ กลัวบาปเกี่ยวกับเรื่องเวียนว่ายตายเกิด ฉะนั้น คำถามในปัญหานี้ไม่ต้องตอบ เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะสอนสัสสตทิฎฐิ อุจเฉกทิฎฐิอะไร เป็นเรื่องศีลธรรม ยกย่องศีลธรรมขึ้นมาโดยเร็วและไม่ใช่สอนวิทยาศาสตร์
    คำสอนเรื่องกลับชาติมาเกิดของชาดกไม่กล่าวได้ว่า เป็นพุทธดำรัส เป็นของเติมทีหลัง เมื่อพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ คำสอนตอนนี้ไม่เป็นวิทยาศาสตร์แล้วก็ไม่ต้องพูด เพราะมุ่งหมายจะสอนศีลธรรมในยุคที่เขาต้องการจะยกย่องทางศีลธรรมโดยพระอาจารย์ในยุคต่อๆ มาทำไปด้วยเจตนาที่หวังดี เรื่องเวียนว่ายตายเกิด เรื่องกลับชาตินี้ เขาเชื่อกันอยู่แล้วก่อนพระพุทธเจ้า ก่อนพุทธกาล เรื่องอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงแตะต้อง ท่านจะไม่แตะต้องความเชื่อของคนที่เขาเชื่อกันอยู่แล้วก่อนพุทธกาล แต่ท่านจะหาช่องหาโอกาสพูดผสมโรงเข้าไปอย่างไรให้ได้ประโยชน์ที่สุด นี้เป็นปฏิปทาของพระพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีเจตนาจะลบล้างใคร จะทำลายใคร ท่านไม่ได้เกิดมาเพื่อลบล้างใครแต่ท่านเกิดมาเพื่อผสมโรงให้เรื่องนั้นมันสำเร็จบริบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นไป พระเยซูก็ยังตรัสอย่างนี้. อย่าว่าแต่พระพุทธเจ้าเลย ว่าท่านไม่ได้เกิดมาเพื่อลบล้างบรรดาคำสอนศาสนาที่มีอยู่ก่อน แต่จะมาช่วยส่งเสริมให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมายนั้นยิ่งๆ ขึ้นไป นี้ก็ได้แก่เรื่องบางชนิด เช่น เรื่องตอนท้ายของอรรถกถาของชาดก เกี่ยวกับเรื่องกลับชาติมา เป็นต้น มีอะไรต่อไป...
    ปุจฉา-วิสัชนา12
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    [​IMG]
    11 มิถุนายน 2506 วันที่โลกตะลึง พระภิกษุ ทิจ กวาง ดึ๊ก วัยุ 73 ปี จากวัดเทียนมู่
    ประกาศอุทิศชีวิตเพื่อปกป้องพระพุทธศาสนา ด้วยการเผาตนเอง
    แม้ไฟลุกท่วมร่าง ท่านไม่ไหวติงแม้แต่น้อย

    [​IMG]

    ปล.หลักฐานแสดงการปฏิบัติมีผล ความเพียรมีผล การข้ามเวทนามีผล สมาธิ ฌาณสมาบัติ มีผล
     
  18. Cleansing Light

    Cleansing Light สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +20
    เอ! ไม่กี่วันที่แล้วเราถือกระถางธูปไปเดินลุยไฟที่โรงเจ กับ แป๊ะกง มา รู้สึกว่าอุ่นๆ แล้วก็เย็นๆนิดหน่อย และเมื่อไม่กี่เดือนเพื่อนบ้านผมมันโดนของ อาเจียนเป็นสายสิญจน์ปนกระดูกขาวๆ ทั้งบ้านเลยหมอผีมันส่งผีมาทำร้ายทั้งบ้าน ผมเองก้เป็นคนเอา จตุคามนครสีมาต้านกับผี ปากดว่าระเบิดเป็นจุนเลย สงสัยว่าเราคงจะอุปทานไปเองหล่ะมั้ง? เพราะท่าน เตชปัญโญ สอนเราไว้ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีไม่มีจริง ไม่มีจริง 5555555555555555555555555555555555555555+

    ตัวท่านนั่นแหละใช้วิธีพิสูจน์ที่เกิดจาก อวิชชา! แน่นอน

    วิธีพิสูจน์ของท่านน่ะมันตื้นเกินไป ตีความไปเอง แบบจืดๆ เอ้อท่าจะบ้า
     
  19. ccdd

    ccdd Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +26
    ท่านที่ไม่เห็นด้วยกับท่านเตชปญโญภิกขุนั้น หากท่านพยายามทำใจให้เป็นกลางและพิจารณาเหตุผลในประเด็นต่างๆที่ท่านเตชปญโญภิกขุได้นำขึ้นมาชี้แจง ท่านจะเห็นได้ว่าทุกประเด็นเป็นความจริงที่มนุษย์ทุกคนสามารถเข้าไจได้ อย่างเช่นคำกล่าวที่นำมาอ้างข้างต้น ถ้าไม่มีร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ จิตหรือวิญญาณจะเกิดได้อย่างไร (วิญญาณตามคำจำกัดความของศาสนาพุทธ ที่หมายถึงความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสด้วยอายตนะต่างๆ เช่นจักขุวิญญาณ ภาพมากระทบตา ทำให้เกิดจักขุวิญญาณ ฯลน) ขอให้ช่วยตอบด้วยเหตุผลที่คนเราทั่วไปสามารถเข้าใจได้ อย่ายกคำสอน ความคิด ความเชื่อ เรื่องราวประสบการณ์ต่างๆ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้เลย มาอ้าง เพราะเหตผลที่ว่าเมื่อไม่มีร่างกายที่มีชีวิตอยู่แล้ว จิตหรือวิญญาณจะมีขึ้นมาได้อย่างไรนั้นเห็นได้ชัดเจนโต้แย้งไม่ได้เลยในโลกแห่งความเป็นจริงที่ทุกๆคนประสบอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ถ้าท่านเห็นว่าโต้แย้งได้ ก็บอกเหตุผลที่พิสูจน์ได้ชัดเจนในทำนองเดียวกันมาโต้แย้ง จึงจะเป็นการโต้แย้งที่สร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วมในเชิงปัญญาต่อไป

    ในส่วนตัวผมนั้น พูดตรงๆผมอยากให้อาตมันมีจริง ปรมาตมันมีจริง ผมไม่อยากให้ทุกสิ่งล้วนว่างเปล่า ไม่อยากตายแล้วสูญ ผมยังอยากให้มีตัวตนของผมเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพข้ามชาติได้ ผมจึงอยากให้ ดวงวิญญาณ ตามความหมายของศาสนา พราหมณ์/ฮินดู มีจริง อยากให้การเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพข้ามชาติมีจริง ผมไม่อยากตายแล้วสูญ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ข้อพิสูจน์ว่าไม่มีนั้นชัดเจนกว่า ข้อพิสูจน์ว่า มี อย่างเทียบกันไม่ได้ ตามเหตุผลในประเด็นต่างๆที่ท่านเตชปญโญได้ชี้แจงมาแล้ว

    ซึ่งถ้าหากทุกสิ่ง ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกสิ่งล้วนว่างเปล่าจากความมีตัวตนที่จะยึดเอาว่าเป็น ตัวเรา ของเรา ได้จริงๆแล้ว ไม่ว่าเราจะคิดอย่างไร ทำอะไร อย่างไร ในที่สุดเมื่อตายแล้ว ก็คงต้องเหมือนกันกับทุกคน และทุกสรรพสิ่ง คือ ว่างเปล่า ไม่มีอาตมัน ไม่มีดวงวิญญาณ ที่ล่องลอยไปเกิดเป็นชีวิตในรูปใหม่ ข้ามภพ ข้ามชาติ ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่มีอะไรทั้งสิ้นอยู่ดี
     
  20. เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปญฺโญ ภิกขุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +117
    ตอบข้อข้องใจโดย เตชปญฺโญ ภิกขุ

    เตชปโญ ขอคำอธิบายแบบเนื้อหน่อย
    ไม่เอา กาลามสูตรแล้วนะ เจอมันทุกโพส มันน่าบื่อ

    -------------------------

    ถ้าทิ้งหลักกาลามสูตรก็เท่ากับนักรบทิ้งอาวุธและชุดเกาะเข้าสนามรบ แล้วอะไรจะเกิดขึ้น?

    นี่แสดงว่าคุณไม่ยอมรับหลักกาลามสูตร ใช่หรือไม่?

    **********************************

    แล้วประเภทตอบสองบรรทัด สมองตาย ร่างกายตาย จิตตายอะไรแบบนี้ ขอทีเถอะ

    ---------------------------

    นี่ก็แสดงว่าไม่ยอมรับว่า "ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องมากจากเหตุ" ใช่หรือไม่?

    *********************

    เหมือนวังวล ท่าทางเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ เหมือนเทปที่เล่นซ้ำๆ
    มันไม่เป็นปัญญา ไม่สมชื่อเตชญโญ

    -------------------

    ก็ต้องสอบผ่านระดับมัธยมนี้ให้ได้ก่อน แล้วจึงค่อยเลื่อนไปศึกษาระดับอุดมศึกษา

    ก็ไม่เห็นผ่านระดับนี้ไปสักที ก็จึงจำเป็นต้องกลับมาสอบเรื่องเก่าๆอยู่อย่างนี้เรื่อยไป

    ถ้ายังสอบไม่ผ่าน แล้วจะไปเรียนระดับที่สูงกว่านี้ได้อย่างไร?


    อีกอย่าง การเอาบทความหรือข้อเขียนของคนอื่นมาโพสเสียมากมายนั้น อ่านไม่ไหวหรอก(ปวดหัว)

    ขอให้สรุปและถามปัญหามาเลยจะดีกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...