น้ำทะเลร้อนจัด เทียบเท่าปรมาณู 10 ลูก/วินาที ชี้ก่อพายุหนัก-ทำลายระบบนิเวศ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 24 มกราคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    โลกร้อนหนักสภาพภูมิอากาศเปลี่ยน อุณหภูมิทะเลสูงเป็นประวิติการณ์ ในปี 2020 น้ำทะเลร้อนเทียบเท่าปรมาณู 10 ลูก/วินาที ตัวการพายุรุนแรง-ทำลายระบบนิเวศ

    มหาสมุทรของโลกดูดซึมความร้อนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปี 2020 และมีค่าความร้อนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ผลการศึกษาชี้ว่าสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนนี้ทำให้น้ำทะเลดูดซับความร้อนถึง 20 พันล้านล้านล้านจูล หรือ 20,000,000,000,000,000,000,000 จูล (ศูนย์ 22 ตัว) ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยระเบิดปรมาณูในฮิโรชิมา 10 ลูกในทุก ๆ วินาทีตลอดทั้งปี

    เควิน เทรนเบิร์ต หนึ่งในผู้ศึกษาจากศูนย์การวิจัยบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่ามหาสมุทรดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดอยู่โดยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าร้อยละ 90 “มีพลังงานจำนวนมหาศาลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้จริง ๆ ไม่น่าแปลกใจเลยที่มันจะมีผลตามมา” เขากล่าว

    0b8a5e0b8a3e0b989e0b8ade0b899e0b888e0b8b1e0b894-e0b980e0b897e0b8b5e0b8a2e0b89ae0b980e0b897e0b988.jpg

    “ตั้งแต่ประมาณกลางทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา อุณหภูมิในมหาสมุทรก็ร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนี่คือตัวบ่งชี้เดียวที่ดีที่สุดว่าโลกกำลังร้อนขึ้น” ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันว่าโลกเราในปี 2020 ที่ผ่านมา โลกมีอุณหภูมิที่สูงเท่ากับปี 2016 ซึ่งเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา และออสเตรเลียได้ถูกบันทึกว่าเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์เป็นปีที่สี่

    “มหาสมุทรเป็นตัวควบคุมสำคัญของสภาพอากาศที่เราเห็นในทวีปออสเตรเลีย” เบอร์นาเดตต์ สลอยอัน นักสมุทรศาสตร์ของ CSIRO กล่าว เธอยังกล่าวอีกว่ามหาสมุทรที่อุ่นขึ้นอาจทำให้สภาพอากาศเลวร้ายเพิ่มขึ้น “ความร้อนจะเป็นตัวการหลักที่จะนำมาสู่มรสุมฝนและพายุหมุนเขตร้อนได้” ดร. สลอยอันกล่าว

    และยังกล่าวอีกว่าสภาพอากาศที่รุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพราะมหาสมุทรมีความร้อน และจะค่อย ๆ ปล่อยกลับสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศและก่อให้เกิดภัยพิบัติที่รุนแรงได้ และความร้อนที่เพิ่มขึ้นนั้นยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศ เช่นแนวปะการัง ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดปะการังฟอกขาวเป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน

    8a5e0b8a3e0b989e0b8ade0b899e0b888e0b8b1e0b894-e0b980e0b897e0b8b5e0b8a2e0b89ae0b980e0b897e0b988-1.jpg

    ที่ผ่านมานั้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลียได้ถูกระบุว่าเป็นจุดที่มีความร้อนบริเวณผิวน้ำในมหาสมุทรมากที่สุด ตามที่ เจซิสิกา เบนทูเจน นักสมุทรศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งออสเตรเลียกล่าว “เรามีคลื่นความร้อนทางทะเลจำนวนมากในทะเลแทสมันในช่วง 5 ปีที่ผ่านมารวมถึงในปี 2559 ด้วย” เธอกล่าวว่า “นั่นเป็นคลื่นความร้อนที่ยาวนานและรุนแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และสิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ปลา และส่งผลอันตรายต่อหอยนางรมแปซิฟิกเป็นครั้งแรก”

    อย่างไรก็ตามในรายงานสภาพภูมิอากาศปี 2020 สำนักอุตุนิยมวิทยากล่าวว่าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลโดยเฉลี่ยในภูมิภาคออสเตรเลียอุ่นขึ้นมากกว่า 1 องศาเซลเซียสตั้งแต่ปี 2443 ทำให้ปีนี้เป็นปีที่ 8 จากทั้งหมด 10 ปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่บันทึกมาเลยในปี 2010

    0b8a5e0b8a3e0b989e0b8ade0b899e0b888e0b8b1e0b894-e0b980e0b897e0b8b5e0b8a2e0b89ae0b980e0b897e0b988.png

    ที่มา : abc

    ขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_5805219
     

แชร์หน้านี้

Loading...