น้ำปานะแบบไหนที่พระฉันได้ทั้งคืน และห้ามในยามวิกาล

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย 2499, 7 พฤศจิกายน 2013.

  1. 2499

    2499 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2005
    โพสต์:
    450
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +6,033
    [​IMG]


    น้ำปานะแบบไหนที่พระฉันได้ทั้งคืน

    เป็นที่ข้องอกข้องใจกันอยู่พอสมควรกับเรื่องของน้ำปานะ ว่าน้ำอะไรที่พระสามารถฉันได้ตลอดคืน เนื่องจากมีการเข้าใจผิดกันอยู่ ญาติโยมจึงถวายผิดประเภท Food&Health จึงถือโอกาสดีในวันเข้าพรรษามาแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับน้ำปานะอย่างถูกต้องค่ะ

    น้ำปานะ คือ เครื่องดื่มที่คั้นจากลูกไม้ หรือ น้ำคั้นผลไม้ จัดเป็น "ยามกาลิก" คือ ของที่พระภิกษุสงฆ์รับประเคนไว้แล้วฉันในช่วงหลังเที่ยงไปได้ทั้งวันทั้งคืนก่อนรุ่งเช้า

    น้ำปานะแบบไหนที่พระฉันได้ทั้งคืน

    ผู้บัญญัติให้เกิดมีการดื่มน้ำปานะขึ้นเป็นท่านแรกคือ เกณยชฎิล ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกพระวินัย เล่มที่ 5 ข้อที่ 86 ว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตน้ำปานะ หรือน้ำดื่ม 8 ชนิดคือ

    1. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลมะม่วง
    2. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลหว้า
    3. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด
    4. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด
    5. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลมะซาง
    6. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลจันทน์ หรือผลองุ่น
    7. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลเหง้าบัว
    8. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลมะปราง หรือผลลิ้นจี่


    และทรงอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด ยกเว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก น้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง น้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะซาง และทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด

    สรุปได้ว่า ในเวลาวิกาลพระท่านสามารถดื่มน้ำผลไม้ได้ทุกชนิด เว้นผลไม้ที่มีผลใหญ่กว่าผลมะตูม หรือผลมะขวิด วิธีทำก็ต้องคั้นเอาแต่น้ำ และกรองให้ไม่มีกาก จะทำให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ได้ แต่ห้ามผ่านการสุกด้วยไฟ


    น้ำที่ห้ามพระสงฆ์ดื่มในยามวิกาล


    น้ำจากมหาผล คือผลไม้ใหญ่ 9 ชนิด
    คือผลตาล ผลมะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไทย แตงโม และฟักทอง

    น้ำที่ได้จากธัญชาติ 7 ชนิด
    มีข้าวสาลี ข้าวเปลือก หน้ากับแก้ ข้าวละมาน ลูกเดือย ข้าวแดง ข้าวฟ่าง

    น้ำที่ได้จากพืชจำพวกถั่ว
    มีถั่วเขียว ถั่วเหลือง เป็นต้น


    น้ำปานะแบบไหนที่พระฉันได้ทั้งคืน


    รวมถึงน้ำนมสด ก็ไม่จัดเป็นน้ำปานะ เพราะนมสดถือเป็นโภชนะ (คืออาหาร) อันประณีต ไม่ควรดื่มในเวลาวิกาล


    ส่วนโภชนะอันประณีตอีก 5 อย่าง คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย แม้จะเป็นอาหาร แต่ก็เป็นเภสัช คือยาด้วยพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ฉันได้ทั้งในกาลและวิกาล คือฉันได้ไม่จำกัดเวลา

    มาถึงตรงนี้แล้ว ก็เป็นอันเข้าใจได้เลยว่า ทั้งนม, น้ำเต้าหู้, นมถั่วเหลือง, โอวัลติน กาแฟ ไม่จัดว่าเป็นน้ำปานะ ฉะนั้นจะจัดน้ำปานะถวายพระก็ต้องระวังกันด้วยนะคะ


    เรื่องโดย : อุมัย

    ที่มา น้ำปานะแบบไหนที่พระฉันได้ทั้งคืน
     
  2. Tom & Jerry

    Tom & Jerry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +536
    ผลมะม่วงน่าจะใหญ่กว่าผลมะตูมนะ แต่ทำไมฉันได้ล่ะ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    แต่ละที่มีแบบฉบับที่ต่างกันนะครับในเรื่องของน้ำปานะนี่ โดย เฉพาะน้ำเต้าหู้ น้ำข้าวโพด น้ำฟักทอง น้ำมัน(มันแกว มันเทศ) บางที่นมก็ว่าได้ บางนี้นมก็ไม่ได้ ....ที่ใหนกินเขาก็ว่าไม่ผิด ที่ไม่กินเขาก็ว่าผิด....

    เอาเป็นว่ามีอีกฉบับหนึ่งให้พิจารณาเดี๋ยวผมนำมาต่อโพสนี้....
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    เรื่องของน้ำปานะ

    [​IMG]




    เรื่องของน้ำปานะ



    น้ำปานะ คือ เครื่องดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ หรือ น้ำคั้นผลไม้ ท่านจัดเป็น "ยามกาลิก" คือ ของที่ร้บประเคนไว้แล้ว ฉันได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ถือเอาใจความง่าย ๆ ก็คือ ของที่ฉันได้หลังเที่ยงไปแล้วนั่นเอง หรือ ฉันได้ทั้งวันทั้งคืนก่อนรุ่งอรุณ



    ในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องน้ำปานะ ก่อความกังวลใจให้แก่ชาวพุทธพอสมควร เพราะมีเครื่องดื่มเกิดขึ้นมากมายล้วนแต่ไม่มีในสมัยพุทธกาล แต่เราก็อาศัยเปรียบเทียบเอาจากมหาปเทศฝ่ายพระวินัยได้
    แต่ถึงอย่างนั้น ในวงพระเองก็ยังมีการตีความไม่ตรงกัน เช่น นมสด พระฝ่ายมหานิกายก็ว่าฉันได้ แต่พระฝ่ายธรรมยุตว่าฉันไม่ได้ แต่ก็ฉันเนยแข็งที่ทำจากนมสดได้มันก็ชอบกลอยู่


    ผู้ที่เป็นต้นบัญญัติ ให้เกิดมีการดื่มน้ำปานะขึ้นเป็นท่านแรก ก็คือ เกณยชฎิล ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก พระวินัย เล่มที่ 5 ข้อที่ 86 ในที่นั้นพระพุทธองค์ทรงแสดงน้ำปานะ หรือน้ำอัฏฐบานไว้ 8 อย่าง ดังนั้น



    <TABLE style="MARGIN: auto auto auto 19.5pt; WIDTH: 51.64%; BACKGROUND: white; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous" border=0 cellPadding=0 width="51%"><TBODY><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">1. น้ำมะม่วง


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">2. น้ำลูกหว้า</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">3. น้ำกล้วยมีเมล็ด</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">4. น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">5. น้ำมะทราง</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">6. น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 44.76%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="44%">7. น้ำเง่าบัว</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 53.14%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="53%">8. น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่</B>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </B>


    ถ้านับเรียงชนิดก็เป็น 10 ชนิด แต่จริง ๆ แล้วมีมากกว่านี้แยะ เพราะทรงอนุญาตเพิ่มเติมไว้อีก ดังนี้
    ทรงอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก
    ทรงอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง
    ทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด


    ถ้าจะพิจารณากันตามพระพุธานุญาตในตอนท้ายนี้แล้ว ก็น่าจะตีความได้กว้างขวางมาก กล่าวคือ ถ้าเว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือกและน้ำดอกมะทรางแล้ว อย่างอื่น ๆ ก็น่าจะฉันได้หมด


    ที่มีปัญหามากก็เรื่องนมสดและน้ำเต้าหู้ ที่ทำจากเมล็ดถั่วเหลือง น้ำถั่วเหลืองนี้ แม้ในฝ่ายพระมหานิกายบางพวกก็ไม่ฉัน และผู้ที่ตีความค่อนข้างเคร่งก็เป็นพระฝ่ายปฏิบัติ หรือพระกรรมฐาน ส่วนพระตามวัดทั่วไป ท่านก็ฉันได้ทุกอย่าง ขอให้โยมเอามาประเคนเถอะ แม้แต่นมข้น (มีแป้งผสมอยู่ด้วย) ชงโอวัลตินหรือไมโล ท่านก็ไม่รังเกียจ


    ก่อนที่จะคุยกันเกี่ยวกับน้ำปานะต่อไป ควรจะมาดูหลักฐานกันก่อน ว่าเรื่องน้ำปานะนี้ มีหลักฐานในที่ใดบ้าง ? ที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นพระพุทธบัญญัติจากพระวินัย แต่ยังมีหลักฐานในพระสูตรอีกแห่งหนึ่ง คือเล่มที่ 29 ข้อ 7 ดังนี้



    <TABLE style="MARGIN: auto auto auto 19.5pt; WIDTH: 64.02%; BACKGROUND: white; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous" border=0 cellPadding=0 width="64%"><TBODY><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">1. น้ำผลสะคร้อ


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">2. น้ำผลเล็บเหยี่ยว</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">3. น้ำผลพุทรา</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">4. น้ำมัน (งา)</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">5. น้ำเปรียง</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">6. น้ำข้าวยาคู (รสเปรี้ยว)</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">7. น้ำนม</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">8. น้ำปานะที่ทำด้วยรส (ผักหรือผักดอง)</B>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </B>



    จากมังคลัตถทีปนี (แปล) เล่ม 3 ข้อ 8 ดังนี้



    <TABLE style="MARGIN: auto auto auto 19.5pt; WIDTH: 64.02%; BACKGROUND: white; -moz-background-clip: border; -moz-background-origin: padding; -moz-background-inline-policy: continuous" border=0 cellPadding=0 width="64%"><TBODY><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">1. น้ำผลเล็บเหยี่ยว


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">2. น้ำผลพุทราเล็ก</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">3. น้ำผลพุทราใหญ่</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">4. น้ำเปรียง</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">5. น้ำมัน</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">6. น้ำนม</B>


    </TD></TR><TR style="HEIGHT: 18.05pt"><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 36.1%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="36%">7. น้ำยาคู</B>


    </TD><TD style="BORDER-BOTTOM-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-BOTTOM: 0cm; BACKGROUND-COLOR: transparent; BORDER-TOP-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-LEFT: 0cm; WIDTH: 62.22%; PADDING-RIGHT: 0cm; HEIGHT: 18.05pt; BORDER-RIGHT-COLOR: rgb(236,233,216); BORDER-LEFT-COLOR: rgb(236,233,216); PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width="62%">8. น้ำรส </B>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </B>

    ข้อที่ควรคิด ก็คือ คำว่า น้ำนม หรือ นมสด จะเป็นนมสดจากเต้า หรือจากกล่องก็ตาม พระเณรหรือผู้ถืออุโบสถ ฉันหรือดื่มหลังเที่ยงได้หรือไม่ ?


    ผู้เขียนเคยถามอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก และอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ท่านว่าฉันได้ ถ้าใครว่าฉันไม่ได้ ให้ลองถามท่านผู้รู้ดูทีหรือว่า คำว่า ปโยปานัง แปลว่าอะไร ?
    ศัพท์ที่ว่า ปย หรือ ปโยปานํ ท่านแปลว่า น้ำนม ถ้าไม่ใช่นมสดแล้วจะเป็นนมอะไร ? ที่ควรพิจารณาก็คือมีหลักฐานในที่ 2 แห่ง คือ ทั้งในพระไตรปิฎก และในมงคลทีปนี ดังที่บอกไว้แล้ว


    เดิมที่ผู้เขียนก็ไม่ฉันนมสด เพราะเหตุว่าไม่พบหลักฐาน แต่เมื่อเห็นว่ามีหลักฐานบ่งไว้ชัด ๆ ก็เลยฉันมาตลอด แต่ ที่น่ารังเกียจก็คือ นมข้นหรือหางน้ำนม ซึ่งมีแป้งผสมอยู่ด้วย และไมโลหรือโอวัลติน ซึ่งมีไข่ผสมอยู่ด้วยกับน้ำเต้าหู้ ซึ่งบางท่านว่าฉันไม่ได้


    ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องดื่มออกมาใหม่ ๆ แปลก ๆ แยะ ถ้าเราไม่รู้จริงในส่วนผสม หรือในพระวินัย ก็ไม่ควรจะดื่ม ถ้าเกิดมีการหิวกระหาย ก็ยังมีทางบรรเทาได้ เช่น น้ำตาล เป็นต้น แก้หิวได้ดีนัก การอ้างเพียงแต่ว่า องค์โน้นท่านยังฉันได้ สำนักนี้ก็ฉันได้ ไม่ควรนำมาใช้ เพราะจะเกิดค่านิยมทำตาม ๆ กันไป แล้วแก้ภายหลังยาก เพราะความเคยชิน ควรจะคำนึงถึงพุทธบัญญัติเป็นหลัก


    พระพุทธองค์ทรงทราบดี ว่าการทรมานร่างกายเกินไปหรือการบำรุงจนเกินไป จะเป็นผลเสียทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การเดินสายกลาง คือไม่ตึงนักและไม่หย่อนนักย่อมจะสำเร็จประโยชน์ได้เร็วกว่า
    ถ้าเกิดว่า มีความสงสัยในข้อใดหรืออะไร ? เราควรจะศึกษา หรือสอบถามท่านผู้รู้ก่อน ยึดหลักฐานจากพระไตรปิฎกไว้ก่อนเป็นดีที่สุด จะได้ไม่ก่อปัญหา หรือความขัดแย้งตามมาในภายหลัง


    ข้อน่าสังเกต ก่อนจบบทความนี้ ผู้เขียนใคร่ขอฝากความเห็นเกี่ยวกับพระวินัย และการตีความไว้สักเล็กน้อยว่า เป้าหมายหลักในการบัญญัติพระวินัยของพระพุทธองค์นั้น ผู้เขียนจับพระพุทธประสงค์ได้ว่า ทรงมุ่งเป้าไว้ 3 จุดใหญ่ คือ


    1. เพื่อมิให้ชาวบ้านรังเกียจ หรือติเตียนพระเป็นใหญ่
    2. เพื่อให้พระเป็นที่เลื่อมใสของชาวบ้าน
    3. เพื่อมิให้เกิดการขัดแย้งกันเองภายในหมู่สงฆ์



    ในข้อหนึ่ง เราจะเห็นตัวอย่างในสมัยพุทธกาลมากมาย ที่พระทำอะไรแล้วชาวบ้านไม่รังเกียจ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงบัญญัติเป็นข้อห้าม แต่ถ้าสิ่งใดชาวบ้านตำหนิแล้วก็จะทรงบัญญัติห้ามในทันที


    ในข้อสอง พระต้องพึ่งชาวบ้าน ต้องฝากปากท้องเขาอยู่ ถ้าเขาไม่เลื่อมใสในสิ่งใด ? พระไปทำเข้าก็เกิดปัญหา เขาไม่ศรัทธา พระก็อดตายแน่


    ในข้อสาม ความสามัคคีในหมู่สงฆ์ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงปรารถนายิ่งนัก เพราะถ้าภายในสงฆ์แตกกันเสียแล้ว ศาสนาก็อยู่ไม่ได้


    ในอดีตที่ผ่านมา ความแตกสามัคคีในหมู่สงฆ์ ส่วนมากจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แล้วกลายมาเป็นการแยกพวกแยกหมู่กัน เป็นเรื่องที่ไม่ควรให้เป็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก ทางที่ดีและถูกต้องนั้น ถ้าเรายังไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เราทำแล้วหรือยังไม่ทำก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจ่ว่าจะถูก ก็ควรค้นดูหลักฐานพระพุทธบัญญัติก่อน ถ้าหาไม่พบหรือไม่แน่ใจ ก็ควรที่จะสอบถามท่านผู้รู้


    การที่เราไม่รู้ และขืนทำไปก่อนนั้น ย่อมจะเกิดผลเสียอย่างน้อย 2 ประการ คือ


    1. ทำให้ท่านผู้รู้รังเกียจ และดูหมิ่นเอาได้ ว่าเราไม่มีความรู้ เมื่อไม่รู้แล้ว ก็ไม่ยอมศึกษาหรือสอบถามอีกด้วย เป็นเหตุให้บัณฑิตไม่อยากคบหาเรา


    2. มักจะเกิดการเคยตัว และเคยชินจนติดเป็นนิสัย แม้จะรู้ว่าผิดในภายหลังก็แก้ยาก เพราะการตามใจกิเลสตัณหานั้น มีแต่จะพอกพูนยิ่งขึ้น ได้ที่จะเบาบาง หรือหมดไปนั้น อย่าคิดเลย


    ดังนั้น ทางที่ดีและถูกต้องในการบวช ควรจะตั้งเป้าไว้ที่การศึกษาก่อนอื่นใด คือก่อนที่จะลงมือปฏิบัติทางจิต เพราะถ้าบวชแล้วไปปฏิบัติในทันที มันจะเบื่อการเรียนหรือบางทีก็นึกรังเกียจพวกที่เรียนปริยัติ หาว่าเป็นพวกในลานเปล่า



    แน่นอน, ถ้าเรียนรู้แล้วไม่ปฏิบัติ มันก็เป็นพวกใบลานเปล่าแน่ และในทำนองเดียวกัน การปฏิบัติโดยไม่เรียน มันก็มีผลเสียอย่างน้อย 2 อย่าง คือ อาจทำให้หลงผิด หรือปฏิบัติผิด เมื่อปฏิบัติผิดมรรคผลก็ไม่เกิด และอาจทำให้ล่าช้า หรือติดอาจารย์ได้ง่าย คือติดในทางผิดๆ แต่ถ้าเรายึดพระพุทธพจน์ พระไตรปิฎกไว้ก่อน โอกาสที่จะเสี่ยงหรือผิด ก็เป็นไปได้ยาก หรือไม่มีเลย เพราะพระไตรปิฎกผ่านการกลั่นกรองมามาก และเป็นที่รับรองกันทั่วโลก.



    ข้อมูล: หนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับเก็บตก" จัดทำโดย ธรรมรักษา


    http://www.watpaknam.org/donation10-...%E0%B8%B0.html

     

แชร์หน้านี้

Loading...