เรื่องเด่น น้ำปานะ.......เรื่องที่หลายคนยังเข้าใจผิด

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย อกาลิโก!, 25 เมษายน 2018.

  1. อกาลิโก!

    อกาลิโก! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    609
    กระทู้เรื่องเด่น:
    531
    ค่าพลัง:
    +3,731
    น้ำปานะ.......เรื่องที่หลายคนยังเข้าใจผิด
    image.png

    อ้างอิงจาก :ข้อธรรม คำสอน พระไพศาล วิสาโล

    เป็นที่ข้องอกข้องใจกันอยู่พอสมควรกับเรื่องของน้ำปานะว่าน้ำอะไรที่พระสามารถฉันได้ตลอดคืนเนื่องจากมีการเข้าใจผิดกันอยู่ญาติโยมจึงถวายผิดประเภท Food&Health จึงถือโอกาสดีในวันเข้าพรรษามาแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับน้ำปานะอย่างถูกต้องค่ะ

    น้ำปานะ
    คือ เครื่องดื่มที่คั้นจากลูกไม้ หรือ น้ำคั้นผลไม้ จัดเป็น “ยามกาลิก” คือ ของที่พระภิกษุสงฆ์รับประเคนไว้แล้ว
    ฉันในช่วงหลังเที่ยงไปได้ทั้งวันทั้งคืนก่อนรุ่งเช้า

    ผู้บัญญัติให้เกิดมีการดื่มน้ำปานะขึ้นเป็นท่านแรกคือ
    เกณยชฎิล ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกพระวินัย
    เล่มที่ 5 ข้อที่ 86 ว่า

    พระพุทธเจ้าทรง”อนุญาต”น้ำปานะ
    หรือน้ำดื่ม 8 ชนิดคือ
    1. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลมะม่วง
    2. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลหว้า
    3. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด
    4. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด
    5. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลมะซาง
    6. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลจันทน์ หรือผลองุ่น
    7. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลเหง้าบัว
    8. น้ำปานะ ที่ทำด้วยผลมะปราง หรือผลลิ้นจี่

    – และทรงอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด
    ยกเว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก
    – น้ำใบไม้ทุกชนิด
    เว้นน้ำผักดอง น้ำดอกไม้ทุกชนิด
    เว้นน้ำดอกมะซาง
    – และทรงอนุญาตน้ำอ้อยสด

    สรุปได้ว่า
    ในเวลาวิกาลพระท่านสามารถดื่มน้ำผลไม้ได้ทุกชนิด
    เว้นผลไม้ที่มีผลใหญ่กว่าผลมะตูม หรือผลมะขวิด

    วิธีทำก็ต้องคั้นเอาแต่น้ำ และกรองให้ไม่มีกาก
    จะทำให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ได้
    *.. แต่ห้ามผ่านการสุกด้วยไฟ .. *

    น้ำที่ห้ามพระสงฆ์ดื่มใน….ยามวิกาล
    น้ำจากมหาผล คือ…ผลไม้ใหญ่ “9 ชนิด” คือ
    – ผลตาล
    – ผลมะพร้าว
    – ผลขนุน
    – ผลสาเก
    – น้ำเต้า
    – ฟักเขียว
    – แตงไทย
    – แตงโม
    – ฟักทอง

    น้ำที่ได้จากธัญชาติ 7 ชนิด มี
    – ข้าวสาลี
    – ข้าวเปลือก
    – หน้ากับแก้
    – ข้าวละมาน
    – ลูกเดือย
    – ข้าวแดง
    – ข้าวฟ่าง
    น้ำที่ได้จากพืชจำพวกถั่ว
    – มีถั่วเขียว
    – ถั่วเหลือง เป็นต้น

    */รวมถึงน้ำนมสด ก็ไม่จัดเป็นน้ำปานะ เพราะนมสดถือเป็นโภชนะ (คืออาหาร) อันประณีต
    ไม่ควรดื่มในเวลาวิกาล\*

    ส่วนโภชนะอันประณีตอีก 5 อย่าง คือ
    – เนยใส
    – เนยข้น
    – น้ำมัน
    – น้ำผึ้ง
    – น้ำอ้อย
    แม้จะเป็นอาหาร แต่ก็เป็นเภสัช คือ ยาด้วย พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ฉันได้ทั้งในกาลและวิกาล คือฉันได้ไม่จำกัดเวลา

    อ้างอิงจาก : trueplookpanya

    65d.jpg

    ปุจฉา – ปัจจุบัน ถ้ามีการถวาย น้ำชาเขียว ประเภท ของตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป เช่น โออิชิ อิชิตัน รสต่าง ๆ หรือรวมทั้งน้ำ อัดลม หรือ เฮลบลูบอยล์ ถือว่า เป็นน้ำปานะด้วยไหมคะ

    พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา – ปานะแปลว่าเครื่องดื่ม หรือน้ำสำหรับดี่ม กล่าวอย่างเคร่งครัด หมายถึงน้ำที่คั้นจากลูกไม้(รวมทั้งเหง้าพืชบางชนิด) มีผลไม้บางอย่างที่ห้ามทำน้ำปานะ ได้แก่ เมล็ดข้าว ลูกตาล มะพร้าว ขนุน สาเก ฟักทอง แตงโม ถั่วเขียว เป็นต้น) เมื่อพิจารณาถึงความหมายทั่วไปของน้ำปานะและข้อห้ามแล้ว เครื่องดื่มที่คุณกล่าวถึง น่าจะอนุโลมเป็นน้ำปานะได้ สามารถฉันในเวลาวิกาลเช่นเดียวกับน้ำปานะที่ทำจากผลไม้ แต่ท่านห้ามไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนมาฉัน


    ขอบคุณที่มา
    http://108resources.com/น้ำปานะ-เรื่องที่หลายค/
     
  2. ไห่เฉากุหลาบไฟ

    ไห่เฉากุหลาบไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    897
    ค่าพลัง:
    +2,177
    แล้วคนถือศีล8กับศีลอุโบสถ มีข้อห้ามแบบนี้ไหม??
     

แชร์หน้านี้

Loading...