+ น้ำมันมะพร้าวประโยชน์มากมี +

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย พนมกุเลน, 1 สิงหาคม 2012.

  1. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    เอามาจากเวปนี้ http://www.hoanngoc-th.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538976634&Ntype=1

    [​IMG]

    เมื่อข้าพเจ้าเป็นเด็ก จะเห็นแม่สาละวนกับการเจียวน้ำมันหมูทุกๆ ๗ วัน เพื่อใช้ผัดกับข้าวให้พวกเรา รับประทาน แต่พอข้าพเจ้าเป็นวัยรุ่น บรรดานักวิชาการสุขภาพ ก็เริ่มประกาศความมีพิษภัยของน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าว


    โดยโฆษณาชุดแรกๆ ก็เน้นที่ความไม่เป็นไข (แข็งตัว) เมื่ออุณหภูมิเย็นตัวลง ของน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี เมื่อเทียบกับน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าว


    โดยโฆษณาเน้นเรื่อง คอเลสเตอรอล ให้คนดูตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพเรื่อง โรคหลอดเลือด และหัวใจ จะด้วยความโง่หรืออ่อนต่อโลกก็มิทราบได้ ทั้งน้ำมันหมูและน้ำมันมะพร้าวมิได้จับตัวเป็นไขในร่างกายคน เพราะอุณหภูมิสูงถึง ๓๗ องศาc (น้ำมันทั้ง ๒ ชนิดจะเป็นไขที่อุณหภูมิต่ำกว่า ๒๕ องศาเซลเซียส)


    แต่ข้าพเจ้าก็เปลี่ยนน้ำมันทั้ง ๒ ชนิดที่เคี่ยวเองได้หันมากินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี (Refined, Bleached, Deodorized) ด้วยความเชื่อนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่ารู้จริง รู้ดี จึงกล้าแนะนำประชาชน

    หลายสิบปีผ่านไป การตรวจเลือดหาปริมาณคอเลสเตอรอล ยังคงได้ตัวเลขสูงกว่าค่าเฉลี่ยมากขึ้นทุกปี ทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าก็ไม่อ้วน หรือน้ำหนักเกินดัชนีมวลกาย และได้เลิกใช้น้ำมันหมูหรือน้ำมันมะพร้าวไปนานแล้ว อีกทั้งร้านอาหารทุกแห่งไม่ว่าริมถนนหรือภัตตาคารก็ไม่มีใครทำน้ำมันใช้เองอีกแล้ว

    แม่ของข้าพเจ้าป่วยตายด้วยโรคมะเร็งเยื่อหุ้มหัวใจเมื่ออายุ ๘๑ ปี แต่ข้าพเจ้ากลับป่วยด้วยอาการ ของโรคไต (nephrosis) และมีอาการคล้ายกับเป็นแผลเบาหวาน

    [​IMG]

    ทั้งๆ ที่ น้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ๘ ชั่วโมงเพียง ๙๐ หน่วย (mg./dl) ดังนั้น แผลที่หายยากนั้นจึงเรียกว่า "โรคเส้นเลือดฝอยอักเสบเรื้อรัง"

    ข้าพเจ้าโชคดีที่พบสาเหตุและยาแก้ แม้ว่าจะเป็นยาสมุนไพรที่กินยาก แต่ข้าพเจ้าก็หายได้เพราะความอดทน เป็นเรื่องแปลกแต่จริง ข้าพเจ้าเลิกกินอาหารที่ทอดด้วยน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี นาน ๑ ปี

    ระดับคอเลสเตอรอล ก็ลดลงต่ำกว่า ๑๕๐ มก./ดล.(ค่าปกติ ๑๕๐-๒๐๐ มก./ดล.) ทั้งๆ ที่ น้ำมันพืชทุกชนิดมักจะอ้างว่าไม่มี คอเลสเตอรอลก็ว่าได้


    ไม่เหมือนอย่างน้ำมันมะพร้าวที่คั้นน้ำกะทิแล้วเคี่ยว จนเป็นน้ำมัน แม้น้ำมันมะพร้าวจะมีสัดส่วนไขมันอิ่มตัวสูง แต่ก็ไม่เปลี่ยนแปลง โครงสร้างทางเคมี เพราะใช้ความร้อนสูง อีกทั้งยังละลายน้ำได้ จึงไม่เป็นคราบฝังแน่นในลำไส้และหน่วยไต


    [​IMG]

    ดร.ณรงค์ โฉมเฉลาได้เขียนบทความ ''น้ำมันมะพร้าวและกะทิเป็นอันตรายหรือประโยชน์ต่อสุขภาพ' ในวารสาร "เกษตรกรรมธรรมชาติ"

    ใจความว่า ประเทศที่บริโภคน้ำมันมะพร้าว มีตัวเลขการตายจากโรคหัวใจและมะเร็ง ต่ำกว่าประเทศที่บริโภคน้ำมันพืชอื่น

    แล้วทำไมจึงมีงานวิจัยในอดีตที่กล่าวหาว่า น้ำมันมะพร้าวเป็นสาเหตุของโรคหัวใจวาย ในอดีต จนทำให้ ใครๆ ต่างหวาดผวาน้ำมันมะพร้าว และเชื่อว่าน้ำมันมะพร้าวมีไขมันอิ่มตัวสูง มีคอเลสเตอรอลสูง

    ดร.ณรงค์กล่าวว่า American Soybean Association ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยแห่งหนึ่งในอเมริกา วิจัยผลเสียของน้ำมันมะพร้าว เพื่อส่งออกถั่วเหลืองในตลาดโลก

    ข้าพเจ้าอยากเตือนคนไทยทั้งหลาย โปรดสำรวจตนเองว่าท่านกินน้ำมันพืชวันละกี่ ซีซี. มันระบายออกมา ได้มากน้อยแค่ไหน

    ถ้าท่านไม่หยุดกิน โรคไต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคภูมิแพ้ โรคความดันเลือดสูง โรคมะเร็ง ฯ จะมาเยือนท่านไม่ช้าก็เร็ว

    นิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๒๙๑ ก.ค.๒๕๔๖ ลงบทความ "น้ำมันพืชใช้อย่างไรให้ถูกต้อง และปลอดภัย" แนะนำว่า การผัดอาหารควรใช้ น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว

    แต่หากจะทอดอาหารแล้วควรใช้ น้ำมันพืช ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เพราะการทอดใช้ความร้อนสูง และจุดเดือดน้ำมันพืชประมาณ ๑๘๐ องศาเซลเซียส จะเกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายหลายชนิด เรียกรวมๆ ว่า โพลาร์คอมเพาวด์ (Polar Compound)

    [​IMG]

    สารเคมีชนิดนี้ ข้าพเจ้าเคยพบด้วยกลิ่นที่ทำให้แสบจมูก มีพ่อค้าทอดขนมกู๋ไช่คนหนึ่ง มีอาการตาพร่ามัว จึงไปพบจักษุแพทย์ และได้รับคำแนะนำให้เลิกอาชีพขาย อาหารทอด อาหารผัดอย่างถาวร มิฉะนั้น จะตาบอดได้

    ทำไมน้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวสูง อย่างน้ำมันหมู และน้ำมันมะพร้าว จึงเหมาะแก่การทอด?

    คำตอบก็คือ น้ำมันทั้งสองชนิดนี้เป็นน้ำมันที่มี กรดไขมันอิ่มตัวสูง (น้ำมันหมู ๔๐% น้ำมันมะพร้าว ๘๘%) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่จับกับธาตุคาร์บอน (C) ในลักษณะแขนเดี่ยว (single bond)

    เมื่อโดนความร้อนสูงก็ทำให้อาหารกรอบ อร่อย ไม่มีสารเคมีเป็นพิษ และน้ำมันที่ใช้ทอดแล้วก็เก็บ ไว้ทอดซ้ำเกิน ๒ ครั้งไม่ได้เพราะจะดำและเหม็นหืน ซึ่งผิดกับน้ำมันพืชอื่นๆ ซึ่งมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง

    ซึ่งมีโครงสร้างเคมีเป็น แขนคู่ (double bond) ในการจับกับธาตุคาร์บอน จึงสามารถจับกับ ธาตุไฮโดรเจนเพิ่มได้อีก ๒ อะตอม จึงเหมาะกับการเติมไฮโดรเจน (Hydrogenation) ซึ่งเรียกว่า Trans Fatty Acid (TFA)

    'Trans' นี้เป็นผลลัพท์ของความพยายามที่จะทำให้น้ำมันพืช มีลักษณะเหมือน น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ที่ทำให้อาหารทอด กรอบอร่อย แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน มะเร็งเต้านม

    เพราะน้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธี เหล่านี้ไม่สามารถขับ ออกจากร่างกาย ได้ง่ายๆ เหมือนน้ำมันมะพร้าวที่ละลายน้ำได้

    บางคนที่เป็นปู่ย่าตายายในขณะนี้ (อายุ ๗๐ ปีขึ้นไป) จะบอกกล่าวว่า พ่อแม่ของท่านใช้น้ำมันหมู และน้ำมัน มะพร้าวทำอาหาร และท่านก็มีอายุถึง ๙๐ ปีกว่า ก่อนเสียชีวิต ไม่ได้กินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีเลย แต่ก็มีอายุยืนยาวได้

    ในทางกลับกัน คนไทยในสมัยนี้กินน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีมานานกว่า ๓๐ ปี กลายเป็น โรคเบาหวานกันทั่วประเทศ ทุกหมู่บ้าน เด็กๆ ก็กลายเป็นโรคอ้วน เบาหวานในเด็ก ก็ลุกลามใหญ่โต

    จนใน ปีนี้องค์การเบาหวานโลก ได้เน้นการรณรงค์เบาหวานในวัยรุ่น ปีหนึ่งๆ จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นในโลก ไม่น้อยกว่า ๕ ล้านคน

    สารเคมีที่กินเข้าไปคือ polar compound ยังไม่มีใครประกาศออกมาเลยว่ามีผลร้ายอย่างไร แต่ที่แน่ๆ คือ มันหนืดเมื่อโดนความร้อนสูง และติดหนึบหนับในลำไส้เล็กของเรา

    จนทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึม สารอาหารที่ละลายน้ำ เช่น กรดอมิโน วิตามินบี ซี เป็นต้นเหตุของการเจ็บป่วยต่างๆ โดยเฉพาะ การเจ็บป่วยแบบสะสม ค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งยากต่อการสังเกตเห็น

    บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมบทความนี้ เชียร์แต่น้ำมันมะพร้าวเคี่ยวเอง น้ำมันปาล์ม ก็มีระดับกรดไขมันอิ่มตัวสูงถึง 48% ไม่เหมาะกับการทอดหรืออย่างไร? จริงๆ แล้วก็เหมาะสม ถ้าผ่านการหีบเย็น

    แต่น้ำมันปาล์มที่ขายอยู่นั้นผ่านกรรมวิธี refined,bleached,deodorized จึงมี polar compound เมื่อทอด

    [​IMG]

    น้ำมันพืชที่ได้จากการสกัดแบบธรรมชาติ คือ สกัดเย็น (Cold press) หรือ การบีบคั้นโดยไม่ใช้ความร้อน ส่วนใหญ่แล้วดี มีคุณค่าทางโภชนาการ แต่เมื่อเอาไปดัดแปลงทางเคมี เติมไฮโดรเจนเข้าไปก็เลยเป็นโทษ

    น้ำมันพืชที่หีบเย็นถ้านำมากินโดยไม่ผ่านการผัด การทอดก็จะได้สารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย สปาหลายแห่งจึงนำไปใช้เสริมสวย บำรุงผิวให้ลูกค้า

    นิตยสาร 'เกษตรกรรมธรรมชาติ' ฉบับ ๒/๒๕๔๘ บทความพิเศษ "น้ำมันมะพร้าวและกะทิเป็นอันตราย หรือเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ"

    โดย ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา กล่าวไว้ว่า "น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันพืชที่ ประเทศต่างๆ ในเอเซียและแปซิฟิคใช้เป็นแหล่งพลังงาน และการหุงหาอาหารมาช้านาน โดยไม่ปรากฎ อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

    จากรายงานขององค์การสหประชาชาติ เมื่อปี 2521 ประเทศ ศรีลังกา เป็นเทศที่ใช้น้ำมันมะพร้าว มากที่สุดประเทศหนึ่ง มีอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ อุดตันเพียง ๑ในแสนคน เปรียบเทียบกับ ๑๘๗ ในแสนคนในประเทศที่ไม่ได้ใช้น้ำมันมะพร้าว"

    [​IMG]

    ดร.ณรงค์ยังกล่าวด้วยว่า "น้ำมันมะพร้าวไม่ได้เปลี่ยนแปลงระดับโคเลสเตอรอลในเลือด เนื้อมะพร้าว กับน้ำมะพร้าวลดระดับโคเลสเตอรอลอย่างมีนัยสำคัญ

    น้ำมันมะพร้าวเพิ่มปริมาณของ High density lipoprotein (HDL) ได้มากกว่าน้ำมันถั่วลิสง น้ำมันมะพร้าวไม่เพิ่มอัตราส่วนของ LDL ต่อ HDL ในขณะที่ไปลดระดับของไตรกลีเซอไรด์"

    ข้าพเจ้าคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องเชื่อมั่นในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย แม้ว่าท่านทั้งหลาย จะไม่ได้บันทึกการทดลองทางเคมี ชีวะ ไว้ให้เราศึกษา

    แต่อย่าลืมว่าท่านได้ใช้ร่างกายของท่าน ทดลองเพื่อพวกเรามานานแสนนานแล้ว ข้าพเจ้าได้คัดลอกความเห็นตอบกระทู้ของ ดร. ณรงค์ โฉมเฉลา มาเพื่อท่านจะได้อ่านสะดวกดังนี้ :

    คนไทยใช้กะทิประกอบอาหารหวานคาวมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยไม่ปรากฎว่ามีใครเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน จนกระทั่งเราเปลี่ยนมาบรโภคนำมันไม่อิ่มตัว กะทิกับน้ำมันมะพร้าว เป็นสารตัวเดียวกัน แต่อยู่ในรูปต่างกัน มีข้อดีคือ

    ๑. มีความอิ่มตัว ทำให้ออกซิเจน และไฮโดรเจนเข้าแทรกไม่ได้ จึงไม่เกิด trans fat และไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งและทำอันตรายต่อเซลในร่างกาย

    ๒. เป็นโมเลกุลขนาดกลาง จึงเคลื่อนย้ายในร่างกายได้รวดเร็ว จากกระเพาะไปลำไส้ และเข้าไปเปลี่ยนเป็นพลังงานในตับ จึงไม่สะสมเป็นไขมัน ดังเช่นน้ำมันไม่อิ่มตัว

    ๓. มีภูมิคุ้มกันเกิดจากกรดลอริก ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกันกับนมแม่ที่ช่วยให้ทารกมีภูมิคุ้มกันโรค อีกทั้งยังทำลายเชื้อโรคแทบทุกชนิดได้

    ๔. มีวิตามินอี ที่มีอานุภาพช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เข้ามาทำลายเซลล์ ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และโรคแห่งความเสื่อมอีกหลายโรค มีประจักษพยานมากมายจากชนชาติ ที่บริโภคกะทิ และน้ำมันมะพร้าวมาเป็นเวลานับพันปี โดยไม่มีผู้ใดเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ฯ

    [​IMG]

    จนกระทั่ง พวกเราหันไปบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัวภูมิปัญญาของคนไทยคือการใช้กะทิในอาหารไทย ช่วยให้ปลอดโรค ร่างกายแข็งแรง และไม่อ้วน เกือบ ๓๐ ปีมาแล้วที่เราถูกเขาหลอกให้บริโภค น้ำมันไม่อิ่มตัว เพราะผลประโยชน์อันมหาศาล

    แต่ได้ทำลายอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าวและกะทิของเรา รวมทั้งรายได้ของชาวสวนมะพร้าว ตลอดจนต้องเสียเงินอีกมาก ในการสั่งซื้อน้ำมันไม่อิ่มตัวเข้ามาบริโภค และในการรักษาโรคที่เกิดจากการบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว

    ถึงเวลาแล้วที่เราจำต้องตอบโต้ กับการปรักปรำกะทิและน้ำมันมะพร้าว และรณรงค์ให้คนไทยหันกลับมาบริโภคกะทิ ดังที่บรรพบุรุษของเราได้ปฏิบัติมาเป็นแล้วช้านาน

    http://www.thaibizcenter.com/KnowledgeCenter.asp?kid=1768

    [​IMG]


    <CENTER></CENTER><CENTER>วิธีทำน้ำมันมะพร้าว </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>บทความน่ารู้ : เรื่องวิธีทำน้ำมันมะพร้าว</CENTER><CENTER>ที่นี่คือศูนย์รวมบทความที่น่าสนใจและให้ความรู้จากทุกมุมโลก เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับคนไทยทุกคน </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER>
    การสกัดน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ด้วยวิธีการหมัก

    กระแสการดูแลรักษาสุขภาพและความงามด้วยวิธีทางธรรมชาติกำลังมาแรง ปัจจุบัน ประชาชนจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจเกี่ยวกับการนำน้ำมันจากพืชมาใช้ดูแลร่างกาย

    และน้ำมันชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมคือน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ เพราะน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์มีคุณสมบัติในการให้ความชุ่มชื้น ช่วยชะลอความเหี่ยวย่นของผิวหนัง

    ดังนั้น จึงมีผู้สนใจนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้เพื่อการนวด หรือเป็นส่วนผสมการผลิตเครื่องสำอางประเภทบำรุงผิวพรรณ



    <DD>สำหรับวิธีการสกัดน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ที่น่าสนใจคือ การหมัก เพราะจากการทดสอบทางวิทยาศาสตร์พบว่า น้ำมันมะพร้าวที่สกัดด้วยวิธีหมักนี้ จะมีคุณภาพสูงมากและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย อีกทั้งไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในด้านการผลิตมากนัก <DD> <DD><DD>

    ขั้นตอนการสกัดน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ด้วยวิธีการหมัก


    • อุปกรณ์

    • - ภาชนะสำหรับหมัก เช่น ไห ขวดโหลแก้ว
    • - ผ้าขาวบาง หรือตะแกรงลวดตาถี่
    • - สายยาง สำหรับดูดน้ำมันออกจากภาชนะหมัก
    • - กะละมัง
    • - เนื้อมะพร้าวสดขูด 2 กิโลกรัม
    • - น้ำอุ่น 2 ลิตร
    <DD>
    • วิธีทำ
    • 1. ขูดมะพร้าวใส่กะละมัง เสร็จแล้วเติมน้ำอุ่นลงไป

    • 2. คั้นน้ำกะทิในกะละมัง ใช้ผ้าขาวบางหรือตะแกรงกรองเอากากมะพร้าวออก
    <DD>

    • 3. นำน้ำกะทิที่คั้นได้ ใส่ภาชนะสำหรับหมัก ปิดฝาทิ้งไว้ 2-3 วัน ถ้าภาชนะที่ใช้เป็นโหล แก้วจะดีมาก เพราะผู้ทำสามารถมองเห็นชั้นหรือระดับของน้ำมันอย่างชัดเจน ซึ่งจะสะดวกเวลาดูดน้ำมันออกจากภาชนะ
    <DD>

    • 4. หลังจากตั้งน้ำกะทิทิ้งไว้ 2-3 วัน น้ำมันมะพร้าวจะลอยตัวอยู่ด้านบนของภาชนะ ให้ใช้สายยางดูดออกมา แล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง เสร็จแล้วจึงบรรจุขวดที่มีฝาปิด เพราะจะทำให้เก็บน้ำมันมะพร้าวได้นาน
    • [​IMG]


    • ข้อควรระวัง ในระหว่างดูดน้ำมันออกจากภาชนะหมัก ผู้ทำควรพยายามอย่าให้น้ำติดมาด้วย
    <DD>
    • มิฉะนั้น อาจต้องนำไปอุ่นอีกครั้งเพื่อไล่น้ำหรือความชื้นออก วิธีการเพียงเท่านี้ก็จะได้น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ที่มีกลิ่นหอม สีใส คุณภาพดี

    การสกัดน้ำมันมะพร้าว สามารถทำได้ง่ายและใช้เงินลงทุนไม่สูง ส่วนช่องทางการจำหน่ายในขั้นต้น ผู้ทำควรนำน้ำมันมะพร้าวบรรจุขวดเพื่อจำหน่ายอย่างเดียวก่อน ถ้าสินค้าได้คุณภาพมาตรฐานตามที่กำหนด ก็สามารถทำส่งออกได้ เพราะต่างประเทศมีความต้องการน้ำมันประเภทนี้มาก

    การสกัดน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ด้วยวิธีการหมัก เป็นการสกัดน้ำมันมะพร้าวด้วยวิธีธรรมชาติอย่างง่าย ไม่สิ้นเปลือง และน้ำมันที่ได้ก็เป็นน้ำมันบริสุทธิ์ คุณภาพดี มีกลิ่นหอมของมะพร้าว เหมาะสำหรับผู้สนใจที่ต้องการหาอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

    <DD>


    <DD>
    วิธีทำน้ำมันมะพร้าวสกัดแบบเย็น มีวิธีการทำดังนี้

    1. คั้นกะทิ แบบไม่ต้องเติมน้ำ
    <DD>

    <DD>

    <DD>
    2. ใส่ถุงพลาสติก นำเข้าตู้เย็น ช่องธรรมดา เป็นเวลา อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
    <DD>

    <DD>

    <DD>3. นำออกมาจากตู้เย็น จะพบว่า กะทิจะแยกชั้น เป็น 2 ชั้น ชั้นบนเป็นครีมกะทิ ส่วนชั้นล่าง เป็นน้ำเปรี้ยว ให้ทำการเจาะถุง เอาน้ำเปรี้ยวออก แล้วมัดรูที่เจาะไว้ ด้วยยางรัดของ จากนั้นนำเข้าตู้เย็นช่องแช่แข็ง แช่ไว้สัก 36 ชม.จนแข็งดี <DD> <DD><DD>
    4.นำออกมาตั้งพักไว้ข้างนอก รอจนกระทั่งกะทิที่แข็งตัวค่อยๆละลายและจะแยกชั้น จนเห็นชัดเจน 3 ชั้น
    <DD>

    <DD>

    <DD>
    - ชั้นบนสุดเป็นครีม

    <DD>

    <DD>
    - ชั้นกลางเป็นน้ำมันมะพร้าว

    <DD>

    <DD>
    - ส่วนชั้นล่างเป็นน้ำเปรี้ยว
    <DD>

    <DD>

    <DD>
    5.ให้ทำการตัก เอาเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำมันมะพร้าว ไปใช้ประโยชน์
    <DD>

    <DD>

    <DD>
    6.ควรเก็บไม่ให้โดนอากาศ และแสง ควรใช้ขวดสีชา เช่นขวดลิโพ ขวดเบียร์
    <DD>

    <DD></SPAN>
    [​IMG]


    ขอบคุณที่มา : kasetporpeang.com และ คมสัน หุตะแพทย์. "การสกัดน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ด้วยวิธีธรรมชาติ". วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ, (เมษายน 2545) :15-17

    [​IMG]

    </DD>
     
  2. khunfongbeer

    khunfongbeer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    578
    ค่าพลัง:
    +668
    มีประโยชน์มากมายจริงๆค่ะ
     
  3. MonkeyAstro

    MonkeyAstro เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +202
    ของใกล้แต่ประโยชน์เยอะมาก
     
  4. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ
    ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว เป็นของดีประโยชน์ของคนไทยเรา
     
  5. upanya

    upanya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2006
    โพสต์:
    904
    ค่าพลัง:
    +1,035
    ข้อมูลดีมากๆครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...