บทสวดมนต์มงคลเก้า พระอาจารย์จำเนียร สีลเสฏโฐ

ในห้อง 'รวมบทสวดมนต์และคาถา' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 17 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    บทสวดมนต์มงคลเก้า ffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>

    พระอาจารย์จำเนียร สีลเสฏโฐ<O:p></O:p>


    วัดถ้ำเสือ.เมือง.กระบี่<O:p></O:p>

    <O:p></O:p>

    ความเป็นมาและอานิสงส์ ของการสวดมนต์มงคลเก้า<O:p></O:p>

    <O:p> </O:p>
    บทสวดมนต์มงคลเก้า หรือยันต์เก้า ของท่าน พระอาจารย์จำเนียร สีลเสฏโฐ แห่งวัดถ้ำเสือ อ.เมือง จ.กระบี่ เป็นบทสวดซึ่งได้รับตกทอดมาจากบรรพบุรุษ พร้อมทั้งท่วงทำนองการสวดแบบอินเดียโบราณตอนใต้ เป็นการรวบรวมบทสวดที่สำคัญมาไว้เป็นบทเดียวกัน โดยเฉพาะบทนครัฏฐาสูตร ที่ได้กล่าวสรรเสริฐคุณพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอรหันต์เอตทัคคะ ๘๐ องค์ ฯลฯ อานิสงส์ของการสวดมนต์มงคลเก้านี้ เป็นการเสริมบารมี โชคลาภ วาสนา สะเดาะเคราะห์กรรมต่าง ๆ ป้องกันคุณไสยหรือไสยศาสตร์ อีกทั้งยังสามารถทำน้ำมันเพื่อเป็นสิริมงคล แก่ตนเองและผู้อื่น<O:p></O:p>
    วิธีสวด<O:p></O:p>
    ให้เริ่มสวดตั้งแต่บท อาราธนาพระปริตรแล้วตามด้วย นครัฏฐาสูตร, บารมี๓๐, ชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ), ชัยปริตร (มหากาฯ), มงคลจักรวาลใหญ่, ปลุกเสกธาตุ, แผ่เมตตา, แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ และลงท้ายด้วย คำแผ่เมตตาไปตามทิศทั้ง๑๐ทิศ <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>

    อาราธนาพระปริตร<O:p></O:p>

    วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา<O:p></O:p>
    สัพพะ ทุกขะ วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง<O:p></O:p>
    วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา<O:p></O:p>
    สัพพะ ภะยะ วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง<O:p></O:p>
    วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา<O:p></O:p>
    สัพพะ โรคะ วินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง<O:p></O:p>
    ข้าแต่พระคุณท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอสวด พุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ กำจัดทุกข์ กำจัดภัย กำจัดโรคของข้าพเจ้าให้หมดสิ้นไป การกระทำอันใดด้วยอธรรมมนต์ดำทั้งหลาย ฝังรูปก็ดี ฝังรอยก็ดี ฝังทางสามแพร่งก็ดี ฝังใต้บ้านก็ดี ฝังบริเวณบ้านก็ดี ฝังในบ่อก็ดี ฝังในสระก็ดี ฝังในห้วยก็ดี ฝังในหนองก็ดี ฝังในคลองก็ดี ฝังในบึงก็ดี ฝังในบางก็ดี ฝังในทะเลก็ดี<O:p></O:p>
    นะถอน โมถอน พุทถอน ธาถอน ยะถอน<O:p></O:p>
    นะคลอน โมคลอน พุทคลอน ธาคลอน ยะคลอน<O:p></O:p>
    ถอนด้วยนะโมพุทธายะ<O:p></O:p>
    ผูกไว้ก็ดี มัดไว้ก็ดี ตรึงไว้ก็ดี ผูกด้ายสายสิญจน์ก็ดี ผูกด้ายสามสีก็ดี ผูกด้ายผูกมือผีก็ดี ผูกหัวใจก็ดี ผูกลำไส้ก็ดี ผู้มือผูกเท้าก็ดี<O:p></O:p>
    นะโมตัสสะ ตัสสะตัด ใครผูกใครมัด ตัดด้วยนะโมตัสสะ ตัสสะ<O:p></O:p>
    ข้าแต่พระคุณท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอสวด สะเดาะพระเคราห์ ในภายในใจของข้าพเจ้า พระเคราะห์วัน พระเคราะห์เดือน พระเคราะห์ปี พระเคราะห์โยก พระเคราะห์ตัวนอก พระเคราะห์ตัวกลาง พระเคราะห์ตัวใน พระเคราะห์เสวยอายุ พระเคราะห์แทรก เป็นเหตุให้ข้าพเจ้า ปวดท้อง ปวดเอว ปวดหลัง ปวดแขน ปวดต้นคอ ปวดหัวเข่า ปวดแข้ง ปวดขา ปวดหัวมัวตา ขี้ด่าขี้หึง ใจร้อนใจร้าย ความดันสูง ความดันต่ำ โรคหอบ โรคหืด โรคเบาหวาน โรคไซนัส โรคริดสีดวง โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ โรคปอด โรคกระเพาะอาหาร โรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต โรคมะเร็งทั้งหลาย ขอน้อมถวายแต่พระรัตนตรัย<O:p></O:p>
    โชคดีทั้งหลาย เคราะห์ดีทั้งหลาย ฝันดีทั้งหลาย นิมิตดีทั้งหลาย มงคลดีทั้งหลาย จงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้า ทำกิจการอันใด ขอให้สำเร็จตามความปรารถนา ทุกประการ เทอญ.<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    นครัฏฐาสูตร<O:p></O:p>

    ปะณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ ทะสะ ปาระ มิโย ทะสะ อุปะปาระมิโย ทะสะ ปาระมัตถุปาระมิโย ปัญจะ มะหาปาริจจาเค ติสโส จะริยา ปัจฉิมมัพภะเว คัพภาวักกันติง ชาติง อะภินิกขะมะนัง ปะธานะจะริยัง โพธิปัลลังเก มาระ วิชะยัง สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง นะวะ โลกุตตะระธัมเมติ สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิต์วา เวสาลิยาตีสุ ปาการันตะเรสุ ติยามะรัตติง ปะริตตัง กะโรนโต อายัส์มา อานันทัตเถโร วิยะการุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปต์วาฯ<O:p></O:p>
    โกฏิสะตะสะหัสเสสุ จักกะวาเฬสุ เทวะตา ยัสสาฌัม ปะฏิคคัณหันติ ยัญจะเวสาสิยังปุเร โรคามะนุสสะทุพภิกขะ สัมกูตันติวิธัมภะยัง ขิปปะมันตะระธาเปสิ ปะริตตัน ตัมภะณามะ เหฯ<O:p></O:p>
    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา เวสาลิยัง วิหะระติ มะหาวะเน กูฏาคเระ สาลายัง เตนะโขปะนะ สะมะเยนะ ภะคะวา ตัสสายะ รัตติยา ปัจจุสะมะยัง ปัจจุฏฐายะ มะหาการุณา ผะละสะมาปัตติง สะมาปันโน โหติ พะหุชะ นะหิตายะ พะหุชะ นะสุขายะ โลกานุ กัมปายะ อัตถายะ หิตายะ สุขายะ เทวะมะสุสสานัง อะถะโข ถะคะวา อายัสะมันตัง อานันทัง อามันเตสิ ปัสเสยยานันทะ มะนุสสนังอะมะนุสสานัง วิเหฐิยานัง โสตถิยานังฯ<O:p></O:p>
    อุคคัณหาหิ อานันทะ อิมัง นะคะรัฏฐานัง ธาเรหิ อานันทะ อิมัง นะคะรัฏฐานัง วาเจหิ อานันทะ อิมัง นะคะรัฏฐานัง มะนะสิกะโรหิ อานันทะ อิมัง นะคะรัฏฐานัง ปะริยาปุณาหิ อานันทะ อิมัง นะคะรัฏฐานัง นะมะ ภาสิตัง ยะถา จะ ปานาหัง สารัฏฐัง กุมภัณฑานัง นิสสายะ ราชา ภะเยนะ ปะริมุญจิสสามิ โจระภะเยนะ ปะริมุญจิสสามิ อัคคิภะเยนะ ปะริมุญจิสสามิ อุทะกะภะเยนะ ปะริมุญจิสสามิ อาวัต ตะภะเยนะ ปะริมุญจิสสามิ วิวัตตะภะเยนะ ปะริมุญจิสสามิ อาวัตตะวิวัตตะภะเยนะ ปะริมุญจิสสามิ ภูตะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิ ปิสาจะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิ ยักขะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิ กุมภัณฑะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิ นาคะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิ สุปัณณะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิ คันธัพภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิ โตตะภัสสะมาเรนะ ปะริมุญจิสสามิ สัพพะภะเยนะ ปะริมุญจิสสามิฯ<O:p></O:p>
    กาโสสาโส เสนะกัง โตตะกัง วิโตตะกัง รัชชะกัง ปะรัชชะกัง กาละวะกัง สัพพะโตตะ วิโยเคนะ ปะริมุญจิสสามิ อัคคะหา ปะริมุญจิสสามิ ปะริคคะหา ปะริมุญจิสสามิ อัคคะหา ปะริคคะหา ปะริมุญจิสสามิ เอหิ ตะวังอานันทะ จะตูหิ มะหาราเชหิ ทินนัง ปัจจัคคัง เสละมะณีมะยัง ปัตตัง กาละจัมเปยยะทิยา โปกขะระณียา อุทะกัง คะเหตตะวา เวสาลิยัง ปะวิสิตตะวา สัพพะโรคะวินาสะ นัฏฐายะ สัญจามิ อิมัง นะคะรัฏฐานัง พุทธะ คุณะปะริภิปะนัฏฐายะ สิญจามิ อิมัง นะคะรัฏฐานัง สังฆะ คุณะปะริภิปะนัฏฐายะ สัญจามิ อิมัง นะคะรัฏฐานัง อายัสมันโต อะสีติ สาวะกาทะโยติ เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติ เมตตาพะเลนะ จะเตปิมัง อะนุรักขันตุ อะโรคะเยนะ สุเขนะ จะ พุทโธ อะตุลละโย ธัมโม จะ สังโฆ อะตุลละโย จะ มะหานุภาโว เอเต ปะสัง สัตถา อะนุกัม ปะยันตุ สุวัตถิวุฑฒิ มะนะโธ โหตุ นิจจัง เอเต ปะเลตุ ปาณาหิ สุขิโน โหนตุ ปาณิ โนติฯ<O:p></O:p>
    โกณฑัญโญ สาริปุตโต จะ โมคัลลาโน จะ กัสสะโป กุมาโร อุรุเวโล จะ คะยานะที จะ กัสสะโป ปาลัตโถ รัฏฐะปาโล จะ นาโค อังคุลิมาละโก สุภูโต ภารัททะวาโช จะ ปุณโณ วักกะลิ อัสสะชิ ภัททะชิ จะ อุปาลี จะ ฉิมพะลี จะ คะวัมปะติ อุทายี กาฬุทายี จะ โลฬุทายี จะ ภาวะรี สะมิททิปา ภะวังกะโร จาปิ สุภัทโท สุคะโตปิ จะ สาคะโต จะ สุทัตโต จะ โตทัตโต นาคะทัตโต อุคคาเรโว จะ เรโว กังขาเรโว จะ ยัตติโก สุนันโท คิริมานันโท นันทัตเถโร อุปะนันโท อานันโท นันทะกัปโป จะ วะยะกัปโป จะ ภัททะคู มะหานาโม โลหะนาโม สังฆาโม วิชิโตปิ จะ ปุลิโน ธะนิยัตเถโร ทัพโภ จะ อุปะเสนะโก สุปาโกปิ จะ อุตตะโร สุขัตเถโร อะนุรธโธ ภัททะนิยัตเถโร นุโชติโย กิมิโล วิมะโล พาหุ สุภาหุ จูฬะปันถะโก มะหาปันถะโก จะ สุมาโน ปะราธะโก โมฆะราธะโก โสณะกัปโป จะ โสณะโก โสณะกัณโณ จะ โสโณ จะ กัจจายาโน วังคิโสปิ จะ วะกุโล ราหุลัตเถโร จะ อะนาคะโร จะ กัสสะโป วัปปัตเถโร จะ ชาฏิโล อัจเจเตอะสีติ สาวะกาทะโยติ เตสัง สีเลนะ สัจเจนะ ขันติ เมตตาพะเลนะ จะ เตปิมัง อะนุรักขันตุ อะโรคะเยนะ สุเขนะ จะ ชะลันตา อัคคิขันธาวะ ปะรินิพพันติ อะนาสะวาสะทา รักขันตุ มังสัพเพ อัมเห รักขันตุ สัพพะทาฯ<O:p></O:p>
    เมตเตยโย อุตตะโร ราโม ปัสเส.โน โกสะโลภิภู ทีคะชังคี จะ โสโน จะ สุภโต เทยยะพราหมมะโณ นาฬาคิริปาลิเลโย โพธิสัตตา อิเมหิ ทะสะ อิเมหิ สะหะ โพธิสัตตา ทะสุตตะ ระปัญจะสะตา ปูเรนตา พุทธา การะเก ปาปุณิสสันติ อานาคะเต อะนันตัง โพธิสัมภารัง กัตตะวา กัปเปอะนันตะเก สัพพานิ ทะนานิ เทนติ ปุตตะ พาราทิกานิ จะ อานันทะ จักกะวาเลสุ อินทา เทวา จะ พรัหมมุโน มะนุสสะเต รัจฉา นานัง สัพเพ สานัง หิเตสิโน เอเตนะ สัมภาเรนะ ระเตเชนะ สัพเพสัตตา สุขังคะตา อัญญะมัญญัง มะเหเทนตุ อัญญะมัญญัง ปิยังวะธา สะมันตา จักกะวาเลสุ อะนันเต อัปปะมาณะเก สัพเพเทวา สะปุริสา สุขี ภะวัตตุ สัพพะทาฯ<O:p></O:p>
    พุทธะ เสฏฐัง ติกขุนทะริยัง ธัมมัง คัมภีรัง พุทธัสสัง สังฆัญจะ ปุญญักเขตตัญ จะ วันเทหัง สักกัจจัง นิจจัง ปัญญา มะหาธัมมะธะรา มะหาอิทธิ มะหายะสา อะสีติ จะ มะหาเถรา สัตตานัง หิตะการะกา ชะลันตา สีละเตเชนะ วิราวิโร จะเรสิยาติ เอเตหิ จะ อัญเญหิ จะ พุทธิสาวะเกหิ ยาวะเทววะเน มะหาวะเน รักขันตุ สุรักขันตุ ยาวะเทวะฆะเร มะหาฆะเร รักขันตุ สุรักขันตุ ยาวะ เทวะปะเถมะหาปะเถ รักขันตุ สุรักขันตุ ยาวะเทวะนะฆะเร มะหานัคฆะเร รักขันตุ สุรักขันตุ ยาวะ เทวะสะมันตา สัฏฐิโยชะนะ สัตตะ สะหัสสานิ พุทธะชาบะปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ ยาวะ เทวะสะมันตา สัฏฐิโยชะนะ สัตตะสะหัสสานิ ธัมมะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ ยาวะ เทวะสะมันตา สัฏฐิโยชะนะ สัตตะสะหัสสานิ สังฆัสสะชาละปะริกเขตเต รักขันตุ สุรักขันตุ อิทะมะโว จะ ภะคะวา อัตตะมะโน อายัส์มา อานันโท ภะคะวะโต ภาสิตัง อภินันทีติฯ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    บารมี ๓๐<O:p></O:p>

    ปะฐะมัง ทานะปาระมี ทานะอุปะปาระมี ทานะปะระมัตถะปาระมี ฑุติยัง ศีละปาระมี ศีละอุปะปาระมี ศีละปะระมัตถะปาระมี ตะตะยัง เนกขัมมะปาระมี เนกขัมมะอุปะปาระมี เนกขัมมะปะระมัตถะปาระมี<O:p></O:p>
    จะตุถึง ปัญญาปาระมี ปัญญาอุปะปาระมี ปัญญาปะระมัตถะปาระมี ปัญจะมัง วิริยะปาระมี วิริยะอุปะปาระมี วิริยะปะระมัตถะปาระมี ฉัตฐะมัง ขันติปาระมี ขันติอุปะปาระมี ขันติปะระมัตถะปาระมี สัตตะมัง สัจจะปาระมี สัจจะอุปะปาระมี สัจจะปะระมัตถะปาระมี อัฏฐะมัง อะธิษฐานะปาระมี อะธิษฐานะอุปะปาระมี อะธิษฐานะปะระมัตถะปาระมี<O:p></O:p>
    นะวะมัง เมตตาปาระมี เมตตาอุปะปาระมี เมตตาปะระมัตถะปาระมี ทะสะมัง อุเบกขาปาระมี อุเบกขาอุปะปาระมี อุเบกขาปะระมัตถะปาระมี สะมะติง สะปาระมี ไมตรี เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา กุสะละสัมปันโน<O:p></O:p>
    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุระสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ<O:p></O:p>
    สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ<O:p></O:p>
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>

    ชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)<O:p></O:p>

    พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิฯ<O:p></O:p>
    มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิฯ<O:p></O:p>
    นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิฯ<O:p></O:p>
    กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมัง คะลานิฯ<O:p></O:p>
    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิฯ<O:p></O:p>
    นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระ ภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะ วิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยังมัง คะลานิฯ<O:p></O:p>
    ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิ ชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิฯ<O:p></O:p>
    เอตาปิพุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที หิตวานะ เนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ<O:p></O:p>

    <O:p> </O:p>
    ชัยปริตร (มหากาฯ)<O:p></O:p>

    มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะ ปาณินัง ปูเรตวา ปะระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุเต ชะยะมังคะลังฯ<O:p></O:p>
    ชะยันโตโพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ<O:p></O:p>
    สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณีธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณา นิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    มงคลจักรวาลใหญ่<O:p></O:p>

    สิริธิติ มะติเตโช ชะยะสิทธิ มะหิทธิ มะหาคุณา ปะริมิตะปุญญาธิการัสสะ สัพพันตะรายะ นิวาระณะสะมัตถัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ทวัตติง สะมาหาปุริสะ ลักขณานุภาเวนะ อะสีตยานุพยัญชะนา นุภาเวนะ อัฏฐุตตะ ระสะตัะมังคะลานุภาเวนะ ฉัพพัณณะรังสิยานุภาเวนะ เกตุมาลานุภาเวนะ ทะสะปาระมิตานุภาเวนะ ทะสะอุปะปาระมิตานุภาเวนะ ทะสะปะระมัตถะปาระมิตานุภาเวนะ สีละสะมาธิปัญญานุภาเวนะ พุทธานุภาเวนะ ธัมมานุภาเวนะ สังฆานุภาเวนะ เตชานุภาเวนะ อิทธานุภาเวนะ พะลานุภาเวนะ เญยยะธัมมานุภาเวนะ จะตุราสีติสะหัสสะธัมมักขันธานุภาเวนะ นะวะโลกุตตะระธัมมานุภาเวนะ อัฏฐังคิกะมัคคานุ ภาเวนะ อัฏฐะสะมาปัตติยานุภาเวนะ ฉะฬะภิญญานุภาเวนะ จะตุสัจจะญาณานุภาเวนะ ทะสะพะละญาณะนุภาเวนะ สัพพัญญุตะญาณานุภาเวนะ เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขานุภาเวนะ สัพพะปะริตตานุภาเวนะระตะนัตตะยะสะระณานุภาเวนะ ตุยหัง สัพพะโรคะโสกุปัททะวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา วินัสสันตุ สัพพะอันตะรายาปิ วินัสสันติ สัพพะสังกัปปา ตุยหัง สะมิชฌันตุ ทีฆายุตา ตุยหัง โหตุ สะตะวัสสะ ชีเวนะ สะมังคิโก โหตุ สัพพะทาฯ<O:p></O:p>
    อากาสะ ปัพพะตะวะนะ ภูมิคังคามะหาสะมุททา อารักขะกา เทวะตา สะทา ตุมเห อะนุรักขันตุฯ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>

    ปลุกเสกธาตุ<O:p></O:p>

    สิทธี ปะฐะวี พะลา เตชา อิทธา ธาตุดินของข้าพเจ้ามีกำลังมีเดชมีฤทธิ์<O:p></O:p>
    สิทธี อาโป พะลา เตชา อิทธา ธาตุน้ำของข้าพเจ้ามีกำลังมีเดชมีฤทธิ์<O:p></O:p>
    สิทธี เตโช พะลา เตชา อิทธา ธาตุไฟของข้าพเจ้ามีกำลังมีเดชมีฤทธิ์<O:p></O:p>
    สิทธี วาโย พะลา เตชา อิทธา ธาตุลมของข้าพเจ้ามีกำลังมีเดชมีฤทธิ์<O:p></O:p>
    สิทธี อาโก พะลา เตชา อิทธา อากาศธาตุของข้าพเจ้ามีกำลังมีเดชมีฤทธิ์<O:p></O:p>
    สิทธี วิญญาโณ พะลา เตชา อิทธา วิญญาณธาตุของข้าพเจ้ามีกำลังมีเดชมีฤทธิ์<O:p></O:p>
    พุทธังกันตัง ธัมมังกันตัง สังฆังกันตัง<O:p></O:p>
    พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา<O:p></O:p>
    พระพุธธังอุด พระธัมมังอุด พระสังฆังอุด<O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าห้ามอาวุธ อุดอธรรม ด้วยพระพุทธัง<O:p></O:p>
    พระธรรมเจ้าห้ามอาวุธ อุดอธรรม ด้วยพระธรรมมัง<O:p></O:p>
    พระสงฆ์เจ้าห้ามอาวุธ อุดอธรรม ด้วยพระสังฆัง<O:p></O:p>
    พระพุทธังปิด พระธรรมมังปิด พระสังฆังปิด<O:p></O:p>
    พระพุทธเจ้าแผลงฤทธิ์ปิดอธรรมด้วยพระพุทธัง<O:p></O:p>
    พระธรรมเจ้าแผลงฤทธิ์ปิดอธรรมด้วยพระธรรมมัง<O:p></O:p>
    พระสังฆ์เจ้าแผลงฤทธิ์ปิดอธรรมด้วยพระสังฆัง<O:p></O:p>
    สัพเภพุทธา พะละปัตตา ปัจเจจะ นันจะ ยังพลัง อะระหันตา นันตะ เตเชนะ รักขัง วันทามิ สัพภะโส<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p>

    แผ่เมตตา<O:p></O:p>
    (มอบความสุขให้กับตัวเอง)<O:p></O:p>

    อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข<O:p></O:p>

    อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์<O:p></O:p>
    อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร<O:p></O:p>
    อะหัง อัพพะยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความลำบาก<O:p></O:p>
    อะหัง อะนีโฆ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรค<O:p></O:p>
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ รักษาตนของข้าพเจ้าให้มีความสุขเถิด<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>

    แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์<O:p></O:p>

    สัพเพ สัตตา หมู่สัตว์ทั้งปวง<O:p></O:p>
    สัพเพ ปาณา หมู่สัตว์ที่มีลมปราณทั้งปวง<O:p></O:p>
    สัพเพ ภูตา หมู่ภูติทั้งปวง<O:p></O:p>
    สัพเพ ปุคคลา บุคคลทั้งหลายทั้งปวง<O:p></O:p>
    สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา หมู่สัตว์เกี่ยวเนื่องด้วยอัตภาพลมปราณทั้งปวง<O:p></O:p>
    สัพเพ อิตถิโย สตรีทั้งหลายทั้งปวง<O:p></O:p>
    สัพเพ ปุริสา บุรุษทั้งหลายทั้งปวง<O:p></O:p>
    สัพเพ มนุสสา มนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง<O:p></O:p>
    สัพเพ อนะริยะ พระสมมติสงฆ์ ผู้ไม่ใช่พระอริยะทั้งหลายทั้งปวง<O:p></O:p>
    สัพเพ อริยา พระอริยะเจ้าทั้งหลายทั้งปวง<O:p></O:p>
    สัพเพ เทวา เทพเจ้าทั้งหลายทั้งปวง<O:p></O:p>
    สัพเพ วินิปาติกา หมู่สัตว์นรกทั้งหลายทั้งปวง<O:p></O:p>
    อะเวรา โหนตุ ขออย่ามีเวรซึ่งกันและกัน<O:p></O:p>
    อัพพะยาปัชฌา อย่ามีความเบียดเบียนซึ่งกันและกัน<O:p></O:p>
    อะนีฆา อย่ามีอุปสรรคซึ่งกันและกัน<O:p></O:p>
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ รักษาตนของตนให้มีความสุขเถิดฯ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    คำแผ่เมตตาไปตามทิศทั้ง ๑๐ ทิศ<O:p></O:p>

    ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัพเพ สัตตา สุขี โหตุ<O:p></O:p>
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย อยู่ทิศบูรพา จงมีความสุขเถิด<O:p></O:p>
    ปุรัตถิมายะ อนุทิสายะ สัพเพ สัตตา สุขี โหตุ<O:p></O:p>
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย อยู่ทิศอาคเนย์ จงมีความสุขเถิด<O:p></O:p>
    ทักขิณายะ ทิสายะ สัพเพ สัตตา สุขี โหตุ<O:p></O:p>
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย อยู่ทิศทักษิณ จงมีความสุขเถิด<O:p></O:p>
    ทักขิณายะ อนุทิสายะ สัพเพ สัตตา สุขี โหตุ<O:p></O:p>
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย อยู่ทิศหรดี จงมีความสุขเถิด<O:p></O:p>
    ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัพเพ สัตตา สุขี โหตุ<O:p></O:p>
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย อยู่ทิศประจิม จงมีความสุขเถิด<O:p></O:p>
    ปัจฉิมายะ อนุทิสายะ สัพเพ สัตตา สุขี โหตุ<O:p></O:p>
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย อยู่ทิศพายัพ จงมีความสุขเถิด<O:p></O:p>
    อุตรายะ ทิสายะ สัพเพ สัตตา สุขี โหตุ<O:p></O:p>
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย อยู่ทิศอุดร จงมีความสุขเถิด<O:p></O:p>
    อุตรายะ อนุทิสายะ สัพเพ สัตตา สุขี โหตุ<O:p></O:p>
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย อยู่ทิศอีสาน จงมีความสุขเถิด<O:p></O:p>
    เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัพเพ สัตตา สุขี โหตุ<O:p></O:p>
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย อยู่ทิศเบื้องต่ำ จงมีความสุขเถิด<O:p></O:p>
    อุปะริมายะ ทิสายะ สัพเพ สัตตา สุขี โหตุ<O:p></O:p>
    ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย อยู่ทิศเบื้องสูง จงมีความสุขเถิด<O:p></O:p>
    อย่ามีเวรมีภัยซึ่งกันและกันเลย<O:p></O:p>
    กายกรรมสาม วจีกรรมสี่ มโนกรรมสาม ที่ข้าพเจ้า (ทั้งหลาย) ได้สบประมาทพลาดพลั้งล่วงเกิน ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี เจตนาก็ดี ไม่เจตนา ก็ดี รู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี ต่อหน้ากันก็ดี ลับหลังกันก็ดี ต่อพระพุทธก็ดี ต่อพระธรรมก็ดี ต่อพระสงฆ์ก็ดี ขออโหสิกรรม ให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บันนี้เป็นต้น อย่ามีเวรภัย เกิดชาติหนึ่งภพใด ขอให้ได้สร้าง แต่กรรมดี สร้างบารมีของตน ให้พ้นภัยพาลลุล่วงบ่วงมารในอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้นเทอญฯ<O:p></O:p>
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา<O:p></O:p>
    พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ดังเพลิงกิเลศเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระเองเอง<O:p></O:p>
    พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ<O:p></O:p>
    ข้าพเจ้าขออภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)<O:p></O:p>
    สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโม<O:p></O:p>
    พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว<O:p></O:p>
    ธัมมัง นะมัสสามิ<O:p></O:p>
    ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)<O:p></O:p>
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ<O:p></O:p>
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว<O:p></O:p>
    สังฆัง นะมามิ<O:p></O:p>
    ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)<O:p></O:p>
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    บทแปลยันต์เก้า<O:p</O:p

    อาราธนาพระปริตร<O:p</O:p

    ขอพระสงฆ์ทั้งหลาย จงสวดพระปริตร อันเป็นมงคล เพื่อป้องกันความวิบัติ เพื่อความสำเร็จในสมบัติทั้งปวง และเพื่อให้ทุกข์ทั้งปวงพินาศไป เพื่อให้ภัยทั้งปวงพินาศไป เพื่อให้โรคทั้งปวงพินาศไป<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    นครัฏฐาสูตร<O:p></O:p>

    เราทั้งหลายจงตั้งจิตอันประกอบไปด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ดังพระอานันทเถระผู้มีอายุ นึกถึงพระพุทธคุณทั้งหลาย แม้ทั้งปวงของพระตถาคตเจ้า จำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา คือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕ จริยา ๓ เสด็จลงสู่คัพโภทรในภพมีในที่สุด ประสูติเสด็ดออกอภิเนษกรมณ์ บำเพ็ญทุกข์กิริยา ชนะมาร ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์ นวโลกุตรธรรม ๙ ดังนี้แล้ว กระทำปริตร ตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ในภายในกำแพง ๓ ชั้น ในเมืองเวสาลี เทวดาทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล ย่อมรับเอาแม้ซึ่งอาชญาแห่งพระปริตรอันใด อนึ่ง พระปริตรอันใด ยังภัย ๓ ประการ อันเกิดจากโรค อมนุษย์ และข้าวแพงในเมืองเวสาลี ให้อันตรธานไปโดยเร็วพลัน เราทั้งหลายจงสวดปริตรอันนั้น เทอญ<O:p></O:p>
    ในสมัยกาลครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตื่นขึ้นแล้วจากสีหไสยาสน์ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี แล้วพระองค์ก็เข้าซึ่งผละสมาบัติ ไปด้วยพระมหากรุณา เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อจะให้เป็นสุขแก่มหาชน เป็นสุขแก่สัตว์โลก เพื่อให้เจริญและเป็นสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในกาลครั้งนั้น อันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้มีพระพุทธฎีกาตรัสเรียก พระอานนท์ ว่าท่านจงเรียนพระปริตรนี้ ชื่อว่า นะคะรัฏฐานะปริตรนี้ และเหตุพระปริตรนี้ จะให้ตั้งอยู่เป็นสุขแห่งพระนคร ท่าน จงฟังจงทรงไว้ ซึ่งนะคะรัฏฐานะปริตรนั้ ท่านจงทรงไว้ในใจ ซึ่งนะคะรัฏฐานะปริตรนี้ อันพระตถาคตรัสไว้แล้ว เพื่อจะให้บังเกิดซึ่งสิริสวัสดิ์ ความเจริญแก่มนุษย์ทั้งหลาย เพื่อป้องกันและห้ามเสียซึ่งอมนุษย์ทั้งหลายอันปองจักทำร้าย และเบียดเบียน อันว่าสิริสวัสดิ์ความเจริญทั้งหลาย จักบังเกิดมีแก่มนุษย์ทั้งหลาย ด้วยนะคะรัฏฐานะปริตรนี้ พระตถาคตจักปลดเปลื้อง ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อจะให้หายเสียซึ่งความกลัว และสะดุ้งตกใจแก่กุมภัณฑ์ยักษ์ทั้งหลาย พระตถาคตจักปลดเปลื้องเสียซึ่งมนุษย์ทั้งหลาย จากโจรภัย อัคคีภัย จากภัยแห่งเพลิงกลัว จากภัยแห่งน้ำ จากภัยอันเดินมา จากภัยอันเดินไป จากยักษ์ทั้งหลายที่พึงกลัว จากภูตพรายที่พึงกลัว จากปีศาจ จากกุมภัณฑ์ จากนาคร้ายที่พึงกลัว จากครุฑร้าย จากคนธรรม์ร้ายที่พึงกลัว จากไข้ห่า จากภัยทั้งปวง โรคหืด ไข้จุกเสียด เมื่อยขบ ไข้หวัด โรคหอบ ไข้ป่วง ไข้เกลียวดำ ให้พ้นพรากออกไป พระตถาคตเจ้าจะให้มนุษย์พ้นจากสิ่งไม่ดีทั้งปวงด้วยประการนี้ พระอานนท์จงมาตักน้ำในจัมเปยยะนัทที แต่พอด้วยบาตรพระตถาคตเข้าไปในเมืองไพสาลี จะสำแดงเดชให้สว่างด้วยปัญญา ให้ปรากฏแห่งพระพุทธคุณประการเพื่อจะสำแดงให้ปรากฏพระสัทธรรมทั้งปวง ให้ปรากฏคุณแห่งพระสงฆ์ เพื่อให้มนุษย์พันโรคภัยทั้งปวง อันว่า นะคะรัฏฐานะปริตรนี้ คือ การออกนามสาวกทั้งหลาย ๘๐ พระองค์ พระปริตรนี้จักเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งหลายอันเป็นล้านโยชน์<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    บารมี ๓๐<O:p></O:p>

    ปาระมี เป็นการให้ทานภายนอกกาย อุปะปาระมี เป็นการให้ทานโดยเลือดเนื้อ ร่างกาย อวัยวะ ปะระมัตถะปาระมี เป็นการให้ทานชีวิต<O:p></O:p>
    พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา เป็นผู้รู้ชอบเอง เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชาและจรณะเป็นผู้ไปดีแล้ว ทรงรู้โลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม<O:p></O:p>
    พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง เป็นของไม่กาลเวลา เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้ เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ เป็นของวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตัว<O:p></O:p>
    พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว คือ คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔ บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘ นี่พระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเป็นผู้ควรสักการะที่เขานำมาบูชา ท่านเป็นผู้ควรต้อนรับ ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า<O:p></O:p>

    ชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)<O:p></O:p>

    ด้วยเดชานุภาพของพระสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนีได้ทรงชนะพญามาร ซึ่งได้เนรมิตแขนตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างพลายคีรีเมขล์ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องกึกก้อง ด้วยธรรมวิธีมีทานบารมีเป็นต้นนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน<O:p></O:p>
    ด้วยเดชานุภาพของพระสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนีได้ทรงชนะอาฬวกยักษ์ ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความอดทน มีฤทธิ์พิลึกยิ่งกว่าพญามาร เข้ามาต่อสู้ยิ่งนักจนตลอดรุ่ง ด้วยวิธีทรมานเป็นอันดี คือ พระขันตี ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น<O:p></O:p>
    พระจอมมุนี ได้ชนะช้างตัวประเสริฐ ชื่อ นาฬาคีรี เป็นช้างเมายิ่งนัก แสนที่จะทารุณประดุจไฟป่า และจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ พระเมตตา ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น<O:p></O:p>
    พระจอมมุนี มีพระหฤทัยไปในที่จะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ได้ชนะโจรชื่อ องคุลิมาล (ผู้มีพวง คือ นิ้วมือมนุษย์) แสนร้ายกาจมีฝีมือ ถือดาววิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น<O:p></O:p>
    พระจอมมุนี ได้ชนะความกล่าวร้าย ของนาง จิญจมาณวิกา ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพราะทำไม้มีสัณฐานอันกลม ให้เป็นประดุจมีท้อง ด้วยวิธีสมาธิอันงาม คือ ระงับพระหฤทัยในท่ามกลางหมู่ชน ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น<O:p></O:p>
    พระจอมมุนี รุ่งเรืองแล้วด้วยประทีป คือ ปัญญา ได้ชนะสัจจกนิครนถ์ ผู้มีอัชฌาสัยในที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์ มีใจในที่จะยกถ้อยคำของตนให้สูงดุจยกธง เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก ด้วยเทศนาญาณวิธี คือ รู้อัชฌาสัยแล้วตรัสเทศนา ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น<O:p></O:p>
    พระจอมมุนี โปรดให้พระโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส นิรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความรู้ผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีอันให้อุปเท่ห์แห่งฤทธิ์แก่พระเถระ ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น<O:p></O:p>
    พระจอมมุนีได้ชนะพรหม ผู้มีนามว่า ท้าวพกาผู้มีฤทธิ์ มีอันสำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีมืออันท้าวภุชงค์ คือ ทิฏฐิที่ตนถือผิด รัดตรึงไว้แน่นแฟ้นแล้ว ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษ คือ เทศนาญาณ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น<O:p></O:p>
    นรชนใด มีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถา แม้เหล่านี้ทุกวัน นรชนนั้น จะพึงละเสียได้ ซึ่งอุปัทวันตรายทั้งหลาย มีประการต่าง ๆ เป็นเอนก ถึงซึ่งวิโมกขสิวาสัย อันเป็นบรมสุขแล<O:p></O:p>

    ชัยปริตร (มหากาฯ)<O:p></O:p>

    ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ ประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ถึงแล้วซึ่งความตรัสรู้อันอุดม ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน<O:p></O:p>
    ขอท่านจงมีชัยชนะ ในมงคลพิธีเหมือนพระจอมมุนี ทรงชนะมารที่โคนโพธิพฤกษ์ ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก ทรงปราโมทย์อยู่บนอะปะราชิตะบัลลังก์อันสูง เป็นจอมมหาปฐพี ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ ฉะนั้น เวลาที่สัตว์ประพฤติชอบ ชื่อว่าฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี และขณะดี ครู่ดี บูชาดีแล้ว ในพรหมจารี บุคคลทั้งหลาย กายกรรม เป็นประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา วจีกรรม เป็นประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา มโนกรรม เป็นประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา ความปรารถนาของท่าน เป็นประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา สัตว์ทั้งหลาย ทำกรรมอันใด ประทักษิณ ส่วนเบื้องขวาแล้ว ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย อันเป็นประทักษิณ ส่วนเบื้องขวา<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    มงคลจักรวาลใหญ่<O:p></O:p>

    ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อรหันต์ ผู้ตรัสรู้แล้วเองชอบ ผู้มีบุญญาธิการอันกำหนดมิได้ ด้วยพระฤทธิ์อันใหญ่ และพระคุณอันใหญ่ อันสำเร็จด้วยพระสิริ พระปัญญาเครื่องตั้งมั่น พระปัญญาเครื่องรู้ พระเดชและพระชัยผู้สามารถในอันห้ามเสียซึ่งสรรพอันตราย ด้วยอานุภาพแห่งพระอนุพยัญชนะ ๘๐ แห่งมงคล ๑๐๘ ประการ แห่งพระรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ แห่งพระเกตุมาลา แห่งพระบารมี ๑๐ ประการ แห่งพระอุปบารมี ๑๐ ประการ แห่งพระปรมัตถบารมี ๑๐ ประการ แห่งศีล สมาธิ ปัญญา แห่งพระพุทธรัตนะ แห่งพระธรรมรัตนะ แห่งพระสังฆรัตนะ แห่งพระเดช แห่งพระฤทธิ์ แห่งพระกำลัง แห่งพระเญยยธรรม แห่งพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ แห่งโลกุตรธรรม ๙ ประการ แห่งพระอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ แห่งพระสมาบัติ ๘ ประการ แห่งพระอภิญญา ๖ ประการ แห่งพระญาณในสัจจะ ๔ แห่งพระญาณมีกำลัง ๑๐ ประการ แห่งพระสัพพัญญุตญาณ แห่พระเมตตา พระกรุณา พระมุทิตา พระอุเบกขา แห่งพระปริตรทั้งปวง และด้วยอานุภาพ แห่งอันระลึกถึงพระรัตนตรัย เหล่าโรค โสกะ อุปัทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ทั้งปวงของเรา จงสิ้นสูญไป แม้เหล่าอันตรายทั้งปวง จงสิ้นสูญไป สรรพความดำริทั้งหลายของเรา จงสำเร็จด้วยดี ความเป็นผู้มีอายุยืน จงมีแก่เรา จงเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยความเป็นอยู่สิ้น ๑๐๐ ปี ทุกเมื่อ เทพเจ้าทั้งหลาย ผู้คุ้มครองสถิตอยู่ในอากาศ และบรรพตไพรสณฑ์ ภูมิสถาน แม่น้ำคงคา มหาสมุทร จงตามรักษาข้าพเจ้า ทุกเมื่อเทอญ.<O:p></O:p>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948

แชร์หน้านี้

Loading...