บทเรียนจากตลาดพระเครื่อง: ราคะ ราคา ความฝัน และความจริงในตลาดพระเครื่อง

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย ธีระนะโม, 16 พฤษภาคม 2014.

  1. ธีระนะโม

    ธีระนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,694
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +6,225
    นำบทความเก่าที่เขียนมาแล้ว 4 ปี โดย ดร.แสวง ......เป็นเรื่องที่ยังน่าติดตามกับปัจจุบันซึ่งวัตถุมงคลออกมาเยอะแยะมากมาย.....เลยนำมาลงให้อ่านพิจารณากันได้เลยครับ...
    การสร้างระดับราคา ตามระดับราคะ หรือความอยากได้ของนักสะสม ที่ปั่นกลับไปกลับมา จนเป็นหลักแสนหลักล้านอยู่ในปัจจุบันในรอบปีกว่าๆที่ผ่านมา ผมได้เข้ามาศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการทางสังคม ความเชื่อ ศิลปะ และเทคโนโลยี ผ่านการรับเข้ามาพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ จากการเก็บข้อมูลด้านพระกรุ และโบราณสถานต่างๆของประเทศไทย
    ในขณะเดียวกันผมก็จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับระบบตลาดพระเครื่องแบบหลีกเลี่ยงได้ยากจึงทำให้ต้องทำความเข้าใจระบบตลาดบ้าง เพื่อจะได้สามารถจัดระบบความรู้ได้สะดวก ชัดเจน และใกล้เคียงความจริงมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบที่มี พระโรงงานเข้ามาปะปนอย่างมากมาย จนอาจบดบังความจริงของ ความแท้และศิลปะ พระกรุที่อาจทำให้กระบวนการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ สังคม และศาสนา ที่ผมกำลังดำเนินการอยู่ หลงทางหรือผิดพลาดได้เพราะ พระโรงงานมีระดับฝีมือที่สูงส่ง เหมือนกับของแท้ในระดับ เชือดคอ”<O:p</O:p
    ที่ทำได้ทุกอย่างที่รู้ ดังที่ผมเคยกล่าวไว้แล้วว่า ทำตำหนิทุกอย่างจนครบตามตำราหมดแล้วที่ยังไม่ได้ทำก็คือส่วนที่ไม่รู้และไม่มีในตำราดังนั้น เซียนพระส่วนใหญ่จะมีความรู้ของตำหนิ จุดตายหรือ จุดจ่ายเงินเป็นของตนเอง ไม่บอกใคร ถ้าไม่คุ้นเคย ไว้ใจได้ หรือรักกันจริงและเซียนเหล่านี้จะสามารถแยกแยะพระเครื่องว่าแท้ไม่แท้ได้จากการมองในระยะไม่เกิน ๑ เมตรได้เลย หรือถ้าจำเป็นก็จับดูถ้าจะต้องส่องดูก็เพียงเป็นการแยกระดับความงามและความสมบูรณ์ของเนื้อหาในองค์พระเท่านั้น...จากความหลากหลายของระดับ ความสวยของทั้งพระกรุ และพระโรงงาน จากระดับฝีมือ ความสมบูรณ์และความงามขององค์พระ ตามเกณฑ์ที่ตกลงกันในวงการพระเครื่อง ทำให้มีระดับราคา ที่แตกต่างกันมาก ไล่ตั้งแต่หลักสิบบาท ไปจนถึงหลักล้านบาท<O:p</O:p
    ที่พัฒนามาเป็นความฝันของ นักเลงพระหรือ ผู้ค้าพระเครื่องที่หวังว่าจะมี พระหลงในตลาดล่าง เพื่อนำไปทำราคาในตลาดบนในขณะเดียวกัน ก็เป็นความหวังของ นักสะสมพระเครื่องที่ต้องการลงทุนต่ำโดยการเข้ามาหา เก็บพระหลงดังกล่าว<O:p</O:p
    โดยหวังว่าจะมี<O:pพระที่เพิ่งพบใหม่
    พระที่เก็บอยู่กับชาวบ้านที่ไม่รู้จักพระ และไม่รู้มูลค่าของพระ ที่นำมา ปล่อยในราคาที่ แผงพระกำหนดขึ้น...<O:p</O:pพระที่เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษ ที่ลูกหลาน(ไม่ได้ศึกษาเรื่องพระ)นำมาปล่อย<O:p</O:p
    พระที่มีคนเก็บได้ ขุดได้ หรือ ขโมยมาจากบ้าน จากวัด ที่ไม่มีต้นทุนเป็นตัวเงิน ปล่อยเท่าไหร่ก็ได้เท่านั้น<O:p</O:pที่กลายเป็น ภาพฝันของทั้ง นักสะสมที่ต้องการลงทุนต่ำ ผู้ค้าหรือแผงพระ และนักเลงพระเครื่อง โดยทั่วไปกระแสความคิดและความรู้แบบนี้เองที่ทำให้ระบบตลาดพระเครื่องมีชีวิตชีวา<O:p</O:p
     
  2. ธีระนะโม

    ธีระนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,694
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +6,225
    มีนักสะสมเข้ามาสานฝันของตนเอง โดยการพัฒนาความรู้ และ ฝึกสายตา เพื่อหา “พระหลง” หรือ เพื่อหลีกเลี่ยง “พระโรงงาน” มากที่สุด เท่าที่ปัญญาจะพอมี มีนักเดินสายแลกพระเครื่องตามบ้าน เพื่อหา “พระหลง” มาป้อนระบบตลาดตามระดับความรู้และความสามารถของตนเอง
    มีนักเลงพระที่คอย “เก็บ” พระหลง ไปป้อนให้กับตลาดบนที่ทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ
    มีช่างฝีมือผลิตพระ "โรงงาน" ฝีมือสูง เทคโนโลยีสูง (พร้อมใบรับประกันพระที่ทำขึ้นเอง) เพื่อส่งเข้าทั้งตลาดใหญ่ "ท่าพระจันทร์" และตลาดย่อยระดับพื้นที่ ตามกระแสความนิยมของตลาด
    มีแผงพระที่รับเช่า และให้เช่าทั้งพระโรงงานและพระหลง ตามระดับ “ความงาม” ของพระแต่ละองค์
    มีสมาคมและคณะกรรมการตัดสินพระเพื่อรับรองความแท้ของพระ ที่ส่วนใหญ่ก็เป็นพระที่ตนให้เช่าไป หรือพระที่ตนจะเช่าได้แบบมี “ใบรับประกัน”
    มีร้านค้าระดับกลางและระดับบนที่รับเช่าพระในราคากลางๆ เพื่อนำไป “ปล่อย” ให้ผู้มีเงิน แต่ไม่มีเวลา หรือ ไม่มีความรู้ (โดยมีใบรับประกัน)ในราคาสูง เป็นหลักแสน หรือหลักล้าน ที่กลายมาเป็นราคาคุยของพระเครื่องรุ่นนั้น พิมพ์นั้นๆ ในตลาดทั่วไป ที่ทำให้ตลาดพระ มีชีวิตชีวามากขึ้น
    มีการโฆษณาทั้งเป็นหนังสือ วารสาร อินเตอร์เน็ต เพื่อชักจูงให้คนสนใจพระเครื่อง รับรู้ ทั้ง ราคะ และ ราคา ที่ปลุกกระแส และกำหนดขึ้น และชักจูงให้นักสะสมทั่วไปมาเป็นลูกค้าของตนเอง
    มีการเปิดตลาดพระเครื่อง ทั้งแบบถาวร ตลาดนัด ตลาดจร และเดินสาย ทั้งในระดับท้องถิ่น จังหวัด ประเทศ หรือแม้กระทั่งเชื่อมโยงถึงต่างประเทศ จึงทำให้มีการสร้างระดับราคา ตามระดับราคะ หรือความอยากได้ของนักสะสม ที่ปั่นกลับไปกลับมา จากไม่มีราคา จนเป็นหลักร้อย หลักพัน หลักหมื่น หลักแสน หรือหลักล้านอยู่ในปัจจุบัน
    ที่นับได้ว่าเป็นระบบความเชื่อ ความฝัน ที่ทำให้เกิดความอยากได้ (ราคะ) และ ราคา กันโดยทั่วไป
    ดังนั้นถ้าจะศึกษาเพื่อการเรียนรู้ ก็อาจจำเป็นต้องรู้ระบบที่มา การผลิต การจัดการ ระบบตลาด จึงจะสามารถหลบเลี่ยง ไม่ไปติดกับอยู่กับมายาของระบบตลาดพระเครื่องแต่มาเน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และความเข้าใจของตนเองเพื่อการพัฒนาการจัดการความรู้ที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคมต่อไปนี่เป็นอีกข้อสรุป และผมได้รับจากการเรียนรู้ในตลาดพระเครื่องในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...