บอกเคล็ดลับในการสร้างพระแก้วด้วยเตาอบเพียงใบเดียว

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 21 ตุลาคม 2019.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    บางท่านอาจคิดว่า ซื้อเตาผิดขนาดไม่เห็นเป็นอะไร เพราะพอผลงานออกมาแล้ว ราคาในตลาดสูงขนาดแค่องค์แรกองค์เดียวก็สามารถซื้อเตาที่ 2 หรืออาจจะแถมเตาที่ 3 ได้เลยนั้น เป็นความคิดที่ผิดครับ เพราะอะไรหรือครับ ทั้งๆที่ผมเคยบอกแล้วว่า ชิ้นงานแก้วแค่หน้าตัก 4 นิ้วบางชิ้นงานราคาก็เกิน 4 แสนบาทไปแล้วก็มี นั่นเพราะยี่ห้อของเขาเป็นแบรนด์เนมระดับต้นๆของโลก และเพราะเหตุผลที่แบรนด์เนมระดับต้นๆของโลกหลายโรงงานมีประวัติย้อนหลังนับร้อยๆปี หรือถ้าจะสืบค้นลงไป อาจมากถึงหลายร้อยปี แต่ก็ไม่ใช่แค่เรื่องของเวลาเท่านั้น ยังมีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการสร้างพระพุทธรูปแก้วของเขาอีก ผมยกตัวอย่าง " ลาลีค " ปารีส ฝรั่งเศส เขาเป็นบริษัทชั้นนำของโลกอันดับต้นๆ หรือถ้าจะพูดว่า อันดับต้นของโลก หาคู่แข่งไม่ได้ เขามีความพยายามขนาดไหนกว่าจะสร้างพระพุทธรูปแก้วสักรุ่นหนึ่ง ลองมาฟังกันครับ

    1 เขาจะฝึกทักษะฝีมือของช่างแก้วที่เป็นช่างแก้วระดับโลกอยู่แล้ว ให้สามารถปั้นก้อนแก้วในการเข้าแม่พิมพ์เหล็กชนิดกดปั๊มไดคาสติ้งด้วยแรงดัน การฝึกทักษะฝีมือนี้ ลาลีคเคยบอกไว้ในหนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งว่า ใช้เวลาฝึกนานเกือบ 7 ปีเต็ม และเป็นการฝึกทั้งทีม

    2 การหลอมน้ำแก้ว ลาลีคยังคงใช้สูตรการหลอมแก้วเดิมที่ 1,480C แต่แทนที่จะหลอมนานแค่ 12 ชั่วโมง เขาเลือกหลอมนานกว่า 48 ชั่วโมงก่อนการนำน้ำแก้วมาขึ้นรูปพระพุทธรูปแก้วขนาดหน้าตัก 8 นิ้วของเขา ชื่อว่า Lalique Grand Buddha

    3 เมื่อกดปั๊มด้วยแรงดันหรือที่เรียกว่า ไดคาสติ้ง แล้ว ในที่นี้หมายถึงไดคาสติ้งแก้วนะครับ ไม่ใช่ไดคาสติ้งในงานโลหะซึ่งอาจจะต่างกันมาก เมื่อนำชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์เหล็ก เขามีการลบตะเข็บแม่พิมพ์ด้วยปืนไฟที่ต้องช่างที่เก่งมากๆ ซึ่งการลบของเขาทำให้ไม่เห็นตะเข็บแม่พิมพ์เลย ซึ่งผมได้ไปเห็นชิ้นงานมาแล้ว โดยเฉพาะองค์หน้าตัก 8 นิ้ว ถือว่าสุดยอดที่สุดของโลก

    4 การเจียรนัยผิวงานในขั้นตอนชิ้นงานเย็น ในขั้นตอนนี้ผมในฐานะที่ผ่านงานนี้มานาน และเห็นชิ้นงานมาเยอะ บอกได้เลยว่า ถ้าเราเลือกไม่เจียรนัย จะได้ผิวไฟ ซึ่งดูขลังกว่าผิวเจียรนัยลื่นเสียอีก ( แต่นี่คือรสนิยมส่วนบุคคลนะครับ การนิยมผิวไฟกับผิวลื่นมันคนละรสนิยมกัน )

    5 การตัดฐาน ถ้าท่านนิยมการตัดฐาน ท่านมี 2 ทางเลือกคือ 1 เช่าเครื่องตัดตามขนาดซึ่งหาเช่าได้ยากในไทย ( ยกเว้นแต่เมื่อใดงานเหล่านี้มีมากๆเข้า ย่อมต้องมีคนทำเป็นงานอดิเรก และมีเครื่องมือตัดฐาน และมีน้ำใจให้หยิบยืมหรือพร้อมที่จะเปิดประตูบ้านให้เข้ามาใช้งานฉันเพื่อน ) หรือ 2 ซื้อเครื่องตัดฐานใบเพชร แต่ยังมีอีกวิธีในการไม่ตัดฐาน นั่นคือการหล่อน้ำแก้วพอดีฐาน ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

    6 ขั้นตอนสุดท้าย คือการกัดกรด ซึ่งขั้นตอนนี้มีความจำเป็นเฉพาะต้องการองค์พระสีใส transparent ถ้าท่านเลือกผิวไฟแล้ว ก็ลืมขั้นตอนนี้ไปได้เลย ผิวไฟคือผิวเดิมตอนที่แกะปูนปลาสเตอร์ทนไฟออก ผิวจะเป็นสีฝ้าโดยไม่ต้องทำอะไรเลย
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ข้อที่ 5 การตัดฐาน ผมจะขออธิบายดังนี้ครับ ถ้าหากท่านมีเงินมากจริงๆ ต้องการซื้อเครื่องตัดฐานขนาดใดก็ได้ เท่าไรก็ได้ ไม่ใช่ปัญหา ท่านซื้อได้เลยครับ เพราะว่าการมีเครื่องมือที่ดีมากๆไว้ก่อน น่าจะดีกว่าการมีเครื่องมือน้อย แต่ผมขอเตือนว่า เครื่องตัดฐานนั้นมีหลายขนาดนะครับ มีตั้งแต่ใบตัดเส้นผ่าศูนย์กลางแค่ไม่กี่นิ้วไปถึงเป็นฟุต หรือเป็นเมตร ซึ่งขึ้นอยู่กับชิ้นงานเป็นเกณฑ์ครับ ถ้าท่านตัดด้วยใบตัดแค่ไม่กี่นิ้ว ค่าเครื่องอาจแค่หลักหมื่นกลางๆหรือปลายๆแล้วแต่ใบตัดเพชร ว่าจะใช้ใบตัดยี่ห้ออะไร แต่ถ้าใบตัดเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นฟุตหรือหลายฟุตนั้น เครื่องละเป็นแสนหรือมากกว่านั้น ( ที่โรงงานแก้วของคุณพ่อผมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 cm. ซึ่งถือว่าใหญ่มากในสมัยปี พ.ศ. 2516 ใช้ใบตัดเพชรอย่างดีเนื้อละเอียดจะได้งานที่ดี )

    แต่ในกระทู้นี้ผมจะขอแนะนำวิธี บอกเคล็ดลับในการไม่ต้องใช้เครื่องตัดฐานไว้เลยครับ เพราะผมต้องคิดให้ท่านใช้งานเตาอบเพียงใบเดียว ไม่ต้องใช้เครื่องตัดฐาน
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    0092.jpg
    พระแก้วที่ผมสร้าง ผมเลือกใช้วิธีที่ต้องใช้ฐานแยกจากองค์พระ ในภาพนี้จะเห็นว่า พระแก้วประทับนั่งบนก้อนศิลา ซึ่งความจริงไม่ใช่การนั่งด้วยผิวเรียบๆ หากแต่มีเดือยลงไปในก้อนศิลาด้วย ในภาษาของช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เขาเรียกวิธีนี้ว่า ทำทับเสร็จ หรือ " ทับเสร็จ " ลักษณะจะเป็นลิ่มเดือยยื่นลงไปในหลุม น้ำหนักองค์พระจริงๆอยู่ที่ขอบปากหลุมซึ่งจะมีขอบของแก้วกับขอบของปากหลุมเป็นตัวรับน้ำหนัก
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    0001.jpg
    ภาพนี้ผมตั้งใจแสดงให้เห็นว่าองค์พระแก้วที่ผมให้โรงงานแก้วเจษฏาสร้างนั้นเป็นการเป่าแก้วด้วยปอด ทำให้แก้วกลวง แต่ผมขอยืมภาพนี้มาอธิบายฐานแบบทับเสร็จ คือการทำฐานเดือยยื่นลงไปในหลุมของฐาน ภาพนี้จะเห็นเดือยที่ติดกับองค์พระ ยื่นลงไปด้านล่างได้ชัดเจนครับ
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    0005.jpg
    ภาพนี้คือพระแก้วที่ผมสร้างหน้าตัก 9 นิ้ว ผมใช้เดือยแก้วหย่อนลงหรือยื่นลงไปในฐานไม้ที่ขุดเป็นหลุมลึกมาก ภายในผมมีหลอดสปอตไล้ท์ฮาโลเย่นที่ร้อนมาก หลอดไฟนั้นผลิตความร้อน >200C ดังนั้นหากมีเรื่องเกี่ยวกับความร้อน อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง ควรทำหลุมให้ใหญ่กว่าเดือยเล็กน้อย อย่างน้อย 1 - 2 มิลลิเมตรรอบเดือยทับเสร็จนะครับ เพราะอุณหภูมิ 2 - 300 เซลเซียสนั้น หากเปิดไฟนานหลายๆชั่วโมง เราต้องเผื่อว่า มีการขยายตัวบ้าง ถึงแม้ในความจริงอาจแทบจะไม่ขยายตัวเลยก็ตามครับ

    ในเชิงช่าง เราควรต้องเผื่อทุกอย่างครับ
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เคล็ดลับอยู่ที่ 4.2
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    อะไรคือ 4.2 ตัวเลขนี้คืออะไร ? มาจากไหน ?
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ตัวเลข 4.2 คือ 4.2 เท่าของน้ำหนักขี้ผึ้งที่เราใช้ความร้อนเอาขี้ผึ้งออกจากแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ทนไฟ เมื่อเรานำเอาขี้ผึ้งออกมาได้น้ำหนักเท่าใดก็ตาม ให้คูณด้วย 4.2 ก็จะได้น้ำหนักของแก้วที่จะนำมาวางไว้ในกระถางดินเผานั่นเอง กระถางดินเผาซึ่งวางไว้เหนือหรือบนแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ทนไฟ

    เคล็ดลับ 4.2 นี้อาจเปลี่ยนแปลงได้นะครับ หากมวลของก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ควรถามโรงงานผู้ผลิตก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อว่า ของเขาต้องคูณด้วย 4.2 หรือต้องคูณด้วยเท่าไร ?
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    gaffer004-jpg.jpg
    เห็นการที่ช่างแก้วเขาทำให้ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยไหมครับ ? นี่คือการที่จะต้องได้น้ำหนักของก้อนแก้วเพื่อไปวางในกระถางดินครับ
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    carving-technique-yosegizukuri-TN-2.jpg
    หรือหากท่านต้องการหล่อพระแก้วเนื้อกลวงก็ทำได้นะครับ ก็ด้วยการเตรียมแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ทนไฟให้เป็นงานสำหรับชิ้นงานกลวงครับ สามารถประหยัดได้ทั้งต้นทุน เพราะหากซื้อก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อจากอเมริกา จะมีราคากิโลกรัมละหลายร้อยบาท แล้วแต่สี แล้วแต่บริษัท แล้วแต่คุณภาพ ราคาเริ่มต้นอาจอยู่ที่กิโลกรัมละ 2 - 300 บาท กลางๆอาจอยู่ที่กิโลกรัมละ 4 - 500 บาท และดีมากก็อยู่ที่กิโลกรัมละ 5 - 700 บาท ซึ่งผมว่าดีกว่าของจีนตรงที่ทางอเมริกาเขาเปิดเผยข้อมูลทุกอย่างที่เราอยากรู้ เขาทำให้เป็นมืออาชีพไปเลย แต่ว่า เราแทบไม่ต้องเป็นอะไรเลย นี่คือเสน่ห์อย่างหนึ่งของอเมริกาครับ
     
  13. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    การทำหุ่นขี้ผึ้งเพื่อสร้างชิ้นงานกลวงนี้คนไทยเก่งมาก โดยเฉพาะช่างหล่อทองเหลือง การสร้างชิ้นงานแก้วกลวงก็เหมือนกัน สามารถสอบถามนายช่างปั้นหุ่นและพิมพ์ดินขี้วัวของไทยได้เลย เก่งที่สุดเห็นจะเป็นคนไทยนี่แหละครับ
     
  14. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ไหนๆก็พูดมาถึงตรงนี้แล้วก็บอกเคล็ดลับไปด้วยเลยว่า หากปั้นหุ่นพระแก้วกลวง หากเราสามารถกำหนดความหนาของเนื้อแก้วได้ เช่นความหนาเสมอกันหมดทั้งองค์พระ ไม่ให้เกินเท่าไรๆ เช่น ต้องการหนาแค่ ครึ่ง นิ้ว หรือ 1 นิ้ว เราสามารถสร้างพระแก้วองค์ใหญ่มากๆได้ เช่น หน้าตัก 59 นิ้ว 69 นิ้ว ได้ด้วยการใช้เตาอบแก้วแบบธรรมดาๆ เพราะความหนานี้จะเป็นตัวบังคับช่วงเวลาและอุณหภูมิของการอบครับ ถ้าช่วงหนาไม่หนามาก เราคนไทยทำได้ง่ายๆ อบไม่กี่ชั่วโมงก็เสร็จครับ

    อาจสร้างได้ใหญ่ถึงหน้าตักเป็นวาก็ได้
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    annealing-chart.jpg
    ดูจากตารางการอบลดอุณหภูมิของแก้ว ในเนื้อแก้วคริสตัลสูตรหนึ่ง เขาให้ตารางการอบลดอุณหภูมิหรือ Annealing มาให้ ถ้าเราสร้างพระแก้วองค์ใหญ่แค่ไหนก็ตาม ต่อให้หน้าตักเป็นวาหรือหลายวาก็ตาม ถ้าเนื้อแก้วหนาเท่ากันหมด ความหนาสมมุติว่า 1 นิ้ว ใช้เวลาการอบลดอุณหภูมิแค่ 16 ชั่วโมง ถ้าหนา 2 นิ้วก็แค่ 56 ชั่วโมง

    ในทางกลับกัน ต่อให้องค์พระแก้วมีขนาดหน้าตักเพียงแค่ไม่กี่นิ้วก็ตาม ถ้าเป็นเนื้อตันๆ และมีความหนา 8 นิ้ว ท่านต้องใช้เวลาการอบลดอุณหภูมิที่ 916 ชั่วโมง อย่างนี้เป็นต้นครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2019
  16. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ดังนั้น ความหนาของเนื้อแก้วเป็นตัวกำหนดระยะเวลาการอบลดอุณหภูมิที่ถูกต้อง ท่านสามารถเลือกได้เองว่า ต้องการความหนาเท่าใด องค์พระแก้วจะใหญ่กี่เมตรหรือกี่วานั้นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นอยู่ที่ความหนาของเนื้อแก้วต่างหาก

    ต่างจากงานทองเหลืองนะครับ เนื้อทองเหลืองในองค์พระทองเหลือง เขาเททองเหลืองเสร็จก็ปล่อยให้เย็นลงเอง ทิ้งไว้ให้เย็นตัวลงเองตามธรรมชาติ ไม่ต้องมีเตาอบมาควบคุมอุณหภูมิอะไรกัน

    แต่งานแก้วไม่ใช่ การควบคุมอุณหภูมิขณะ Annealing นี้สำคัญที่สุด และเป็นการควบคุมที่ต้องแม่นยำมาก

    งานองค์ใหญ่ๆแต่ไม่ใหญ่ คือการกำหนดความหนาได้มาตราฐานทั้งองค์นั่นเองครับ
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ผมขอนำกลับมายังเรื่องการตัดฐานเพื่อให้กลับเข้ามาสู่กระทู้นี้นะครับ การตัดฐานนั้นยังอาจจะจำเป็นอยู่ หากท่านสร้างชิ้นงานที่มีโจทย์บังคับครับ ดังนั้น ผมจึงชอบเป็นคนออกโจทย์ ไม่ยอมให้โจทย์มาบังคับผมครับ
     
  18. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    20180328_071207.jpg
    งานที่โจทย์มาบังคับไม่ให้ทำทับเสร็จ เช่น งานอย่างพระบูชาหลวงปู่ทิมที่มาพร้อมฐานแบบนี้ครับ ครั้งที่ปีเตอร์หล่อหลวงปู่ทิมหน้าตัก 5 นิ้วจำนวน 10 องค์ แตก 2 สำเร็จ 8 องค์ตามคำบอกเล่าของปีเตอร์
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    ความจริงงานพระบูชาหลวงปู่ทิมนี้ หากใช้ 4.2 ก็จะได้องค์พระบูชาที่น้ำแก้วเต็มฐานพอดี ไม่ต้องมีส่วนที่ยื่นออกมามากกว่านั้น คือมากกว่าฐาน แล้วต้องนำไปตัดฐานอีกที

    อย่างไรก็ดี การหล่อฐานติดองค์พระนี้ ถ้าหล่อตามสูตรจุดหลอมเหลวที่ทางผู้ผลิตก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อบอกมา ยังไงก็อาจจะต้องได้ตัดฐานอยู่ดี เนื่องจากน้ำแก้วที่เสมอฐานนั้น อาจไม่เรียบ ซึ่งมาจากสาเหตุหลายประการ ซึ่งผมยังจะไม่สอนไปถึงตรงนั้น เนื่องจากถ้าผมสอนไปถึงตรงนั้น จะเข้าเขตมือโปร ที่ต้องยอมรับความเสี่ยงกันให้ได้ก่อน เพราะก่อนจะถึงความเป็นมือโปรต้องผ่านขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตัวเองที่ต้องยอมแบกรับความเสี่ยงหลายๆอย่าง

    ตอนนี้สอนแค่ตามตำราไปก่อนนะครับ
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,133
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    1520915206919.jpg
    องค์ซ้ายมือของท่านเป็นผิวไฟ คือผิวเดิม เมื่อแกะปูนปลาสเตอร์ทนไฟซึ่งเป็นแม่พิมพ์ออก ก็จะได้ผิวนี้ครับ สีฝ้า

    องค์ขวามือคือองค์ที่ผ่านการกัดกรดกัดแก้วแล้วในระดับหนึ่ง สีผิวจะใสขึ้น และถ้าหากกัดได้พอดีพอเหมาะและถึงขั้น สีผิวจะใสปิ๊งครับ เพียงแต่จะหาใครให้ยืมโรงงานกรดกัดแก้ว อาจหาได้ยาก และเขาอาจไม่ยอมให้เราเข้าไปทำ นอกจากเขาจะทำให้เสียเอง ซึ่งนั่นจะทำให้เราไม่ได้รับความรู้อย่างมือโปร แต่ได้ชิ้นงานที่เรายังไม่รู้อะไรอีกเหมือนเดิมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...