บุญหลวง-แห่ผีตาโขนแปรตามกาลหรือเปลี่ยนตามคน

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 21 มิถุนายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    'บุญหลวง-แห่ผีตาโขน'แปรตามกาลหรือเปลี่ยนตามคน

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>"บุญหลวง-แห่ผีตาโขน" แปรตามกาลหรือ เปลี่ยนตามคน</TD></TR><TR><TD vAlign=top>20 มิถุนายน 2550 17:45 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] ระหว่างวันที่๒๓-๒๕ มิถุนายน นี้อ.ด่านซ้ายจ.เลย จัดงานประเพณี "บุญหลวง-แห่ผีตาโขน" ขึ้นเป็นวันแรกและวันที่สองของงาน บรรดาผีตาโขนเริ่มทยอยออกมาเต้นรำตามจังหวะดนตรี


    โดยมี ปลัดขิกสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และคู่มือล่อมาร เที่ยวเดินหยอกล้อหลอกหลอนผู้คนไปทั่วเมือง หลังจากนั้นมีพิธีอันเชิญพระเวสสันดร และนางมัทรี เข้าเมืองไปที่ วัดโพนชัยวันสุดท้ายของงานตั้งแต่ช่วงเช้ามืดมีการฟังเทศน์มหาชาติ เพื่อกล่อมเกลาจิตใจ และได้อานิสงส์แรงกล้า เป็นอันเสร็จสิ้นงาน
    เมื่อปี๒๕๒๕ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และนิตยสาร อสท.เริ่มเข้ามาไล่จับผีตาโขนไปลงหม้อโปรแกรมท่องเที่ยว ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ทั้งในแง่บวกและลบขึ้น กับการละเล่นอันเก่าแก่ของชาวด่านซ้าย
    อ.อภิชาติคำเกษม อดีตอาจารย์๒ โรงเรียนศรีสองรักษ์วิทยา หนึ่งในนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งศึกษาการเล่นผีตาโขนอย่างจริงจัง มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ ตั้งข้อสังเกตและท้วงติงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า การเปลี่ยนแปลงของการเล่นผีตาโขนทุกวันนี้ ให้ความสำคัญต่อร่างทรงมากกว่าการเป็นพิธีกรรมของพระ โดยเดิมทีนั้น พิธีกรรมทั้งหมดเกิดขึ้นที่วัด และทำกันที่วัด และเป็นเรื่องของพระกับชาวบ้าน เช่น การกำหนดวัน การหาเจ้าภาพของผู้ติดกัณฑ์เทศน์ต่างๆ ทั้ง ๑๓ กัณฑ์
    ปัจจุบันเป็นเรื่องน่าเสียใจเพราะไม่มีใครรับเป็นเจ้าภาพ แต่ไปจับเอาผู้ที่ฟังเทศน์มาเป็นเจ้าภาพ ความสำคัญของพิธีในส่วนนี้เกือบจะไม่หลงเหลือเลย มีอยู่แต่ไม่มีความสำคัญ
    พิธีกรรมนี้หายไปเมื่อประมาณพ.ศ.๒๕๓๐ เนื่องจากการกำหนดการจัดงานขึ้นอยู่กับ เจ้าพ่อกวน(ร่างทรง) เป็นผู้กำหนด ขณะเดียวกัน พิธีกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานบุญหลวงก็ถูกนำเข้ามาผูกและยกระดับความสำคัญมากขึ้น เช่น การสู่ขวัญซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงพ.ศ. ๒๕๒๔ แม้ว่าจะเป็นพิธีกรรมที่เกิดภายหลังแต่กลับถูกยกให้ความสำคัญมากยิ่งกว่าพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ขณะเดียวกัน ก็มีการให้ความสำคัญกับเจ้าพ่อกวน มากกว่าวัด และพระอีกด้วย
    การกำหนดวันจัดงานในอดีตนั้นอ.ด่านซ้าย เป็นสังคมเล็กๆ การจัดงานในปีนั้นๆ ไม่ได้กำหนดข้ามปีอย่างเช่นปัจจุบัน แต่จะเลือกเอาธรรมสวนะ หรือวันพระ ตั้งแต่ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ เป็นต้นไป
    ในการทำบุญหลวงของอ.ด่านซ้าย มีอยู่เพียง ๔ วัด คือ ๑.วัดโพนชัย ต.ด่านซ้าย ๒.วัดบ้านนาเวียง ต.ด่านซ้าย ๓.วัดบ้านหนามแพ่ง ต.ด่านซ้าย และ ๔.วัดบ้านนางหอ ต.นาหอ โดยวัดโพนชัยจะเป็นวัดแรกในการจัดงาน จากนั้นอีก ๓ วัดก็จะจัดตาม
    ปัจจุบันนี้การจัดงาน เจ้าหน้าที่ ททท.เข้าไปขอร้องให้เจ้าพ่อกวนเข้าทรงนั่งทางใน กำหนดวันจัดงานประเพณีบุญหลวงก่อนล่วงหน้า ๑ ปี เพื่อจะเป็นผลดีต่อการประชาสัมพันธ์ ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก ได้รับรู้แต่เนิ่นๆ
    การแสดงออกเหล่านี้เป็นสัญญาณบอกเหตุว่า ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาล กำลังเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ของคนบางกลุ่ม
    สำหรับการเปลี่ยนวันจัดงานจากวันพระเป็นวันหยุดเสาร์อาทิตย์นั้น อ.อภิชาติ บอกว่า การจัดงานในวันพระส่วนใหญ่จะไม่ตรงกับเสาร์อาทิตย์ เด็กหนีเรียนมาเล่นผีตาโขนเป็นจำนวนมาก มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๐ สมัยนั้นศึกษาธิการอำเภอ ขอความร่วมมือไปยังวัดโพนชัย กับชาวบ้าน ให้กำหนดจัดงานวันเสาร์อาทิตย์ เพื่อไม่ให้กระทบกับการเรียน
    ในปัจจุบันนี้วัดไม่ได้เป็นผู้กำหนดวันจัดงาน แต่ร่างทรงจะเป็นผู้กำหนด ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นต้นมา สมัยโบราณ เมื่อมีการกำหนดพิธีกรรมบุญหลวงแล้ว ก็จะมีการบอกผี (พระเสื้อเมือง) แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่า เรื่องของการบอกผี เป็นการกำหนดวันจัดงาน
    ความเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนคือ เดิมทีการเล่นผีตาโขน จะเล่นอยู่ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใหญ่ จะเล่นผีตาโขนใหญ่ในขบวนกัณฑ์เทศน์ ปัจจุบันก็ทำกันอยู่ สำหรับเด็กจะเรียกว่าการเล่นผีตาโขนน้อย ซึ่งจะเล่นเฉพาะเด็กผู้ชายเท่านั้น เพราะเดิมทีนั้นผู้หญิงจะเล่นจะรำอะไรก็ต้องระวังตัว เนื่องจากค่านิยม และวัฒนธรรมเปลี่ยนไป มีการรับแนวคิดทางตะวันตก และวัฒนธรรมเมืองมากขึ้น
    ผู้หญิงที่เคยรักนวลสงวนตัวก็เริ่มที่จะปล่อยตัวเป็นไปตามกระแส ประมาณการว่า น่าจะเกิดหลังปี ๒๕๓๓-๒๕๓๔ เป็นต้นมา เริ่มมีการนำเอานักเรียนหญิงมาร่วมขบวนผีตาโขน ในขณะที่รูปแบบการเล่นผีตาโขนเดิมที่จะมีการร่ายรำตามจังหวะดนตรีพื้นบ้าน
    แต่ปัจจุบันขบวบเต้นแบบสมัยใหม่มากขึ้นดนตรีพื้นบ้านก็เปลี่ยนเป็นดนตรีสากล มีการนำท่าเต้นของแดนเซอร์ และโคโยตี้ เข้าไปประกอบท่าเต้นของผีตาโขน
    อ.อภิชาติยังบอกด้วยว่า ชุดผีตาโขนประกอบด้วยวัสดุไม่ถาวร การเขียนลวดลายผีตามแบบพื้นบ้าน ประหยัด เรียบง่าย ใช้สีจากธรรมชาติ เช่น ปูนขาว ดินหม้อ สีแดงจากต้นสีเสียด ซึ่งเป็นของที่อยู่ได้ไม่คงทน เมื่อเล่นเสร็จจแล้วก็จะทิ้งลงแม่น้ำ เพราะเก็บไว้ไม่ได้
    แต่ปัจจุบันนี้ใช้วัสดุอย่างดี ทั้งสี ทั้งผ้า (ผ้าไหม) มีการตกแต่งลวยลายอย่างวิจิตรงดงาม เมื่อเสร็จงานก็จะเก็บรักษาไว้ บางคนก็เก็บไว้ใช้ในปีต่อๆ ไป ปัจจุบันนี้สามารถจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวได้ ขณะเดียวกันพ่อค้าแม่ค้าในอำเภอ ก็จะกว้านเอาไปจำหน่ายเป็นของที่ระลึก
    "การจัดงานมุ่งเน้นให้เสร็จมากกว่าคุณภาพ มีการใช้สุราเป็นเครื่องมือในการดึงคนให้มาร่วมกลุ่มในการจัดงานมากกว่าเข้ามาทำงานเพื่อให้ได้บุญ คุณค่าของการจัดงานบุญหลวง กลายเป็นคุณค่าเฉพาะการจัดงาน เพื่อการท่องเที่ยว มากกว่าจัดพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อนำเอาหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนามาดำเนินชีวิต" อ.อภิชาติ กล่าวทิ้งท้าย

    เรื่อง ไตรเทพไกรงู
    ภาพ ทวีชัยเจาวัฒนา



    -->[​IMG]
    ระหว่างวันที่๒๓-๒๕ มิถุนายน นี้อ.ด่านซ้ายจ.เลย จัดงานประเพณี "บุญหลวง-แห่ผีตาโขน" ขึ้นเป็นวันแรกและวันที่สองของงาน บรรดาผีตาโขนเริ่มทยอยออกมาเต้นรำตามจังหวะดนตรี

    [​IMG]
    โดยมี ปลัดขิกสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และคู่มือล่อมาร เที่ยวเดินหยอกล้อหลอกหลอนผู้คนไปทั่วเมือง หลังจากนั้นมีพิธีอันเชิญพระเวสสันดร และนางมัทรี เข้าเมืองไปที่ วัดโพนชัยวันสุดท้ายของงานตั้งแต่ช่วงเช้ามืดมีการฟังเทศน์มหาชาติ เพื่อกล่อมเกลาจิตใจ และได้อานิสงส์แรงกล้า เป็นอันเสร็จสิ้นงาน
    เมื่อปี๒๕๒๕ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และนิตยสาร อสท.เริ่มเข้ามาไล่จับผีตาโขนไปลงหม้อโปรแกรมท่องเที่ยว ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ทั้งในแง่บวกและลบขึ้น กับการละเล่นอันเก่าแก่ของชาวด่านซ้าย
    อ.อภิชาติคำเกษม อดีตอาจารย์๒ โรงเรียนศรีสองรักษ์วิทยา หนึ่งในนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งศึกษาการเล่นผีตาโขนอย่างจริงจัง มาตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ ตั้งข้อสังเกตและท้วงติงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า การเปลี่ยนแปลงของการเล่นผีตาโขนทุกวันนี้ ให้ความสำคัญต่อร่างทรงมากกว่าการเป็นพิธีกรรมของพระ โดยเดิมทีนั้น พิธีกรรมทั้งหมดเกิดขึ้นที่วัด และทำกันที่วัด และเป็นเรื่องของพระกับชาวบ้าน เช่น การกำหนดวัน การหาเจ้าภาพของผู้ติดกัณฑ์เทศน์ต่างๆ ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ [​IMG]
    ปัจจุบันเป็นเรื่องน่าเสียใจเพราะไม่มีใครรับเป็นเจ้าภาพ แต่ไปจับเอาผู้ที่ฟังเทศน์มาเป็นเจ้าภาพ ความสำคัญของพิธีในส่วนนี้เกือบจะไม่หลงเหลือเลย มีอยู่แต่ไม่มีความสำคัญ
    พิธีกรรมนี้หายไปเมื่อประมาณพ.ศ.๒๕๓๐ เนื่องจากการกำหนดการจัดงานขึ้นอยู่กับ เจ้าพ่อกวน(ร่างทรง) เป็นผู้กำหนด ขณะเดียวกัน พิธีกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานบุญหลวงก็ถูกนำเข้ามาผูกและยกระดับความสำคัญมากขึ้น เช่น การสู่ขวัญซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงพ.ศ. ๒๕๒๔ แม้ว่าจะเป็นพิธีกรรมที่เกิดภายหลังแต่กลับถูกยกให้ความสำคัญมากยิ่งกว่าพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ขณะเดียวกัน ก็มีการให้ความสำคัญกับเจ้าพ่อกวน มากกว่าวัด และพระอีกด้วย
    การกำหนดวันจัดงานในอดีตนั้นอ.ด่านซ้าย เป็นสังคมเล็กๆ การจัดงานในปีนั้นๆ ไม่ได้กำหนดข้ามปีอย่างเช่นปัจจุบัน แต่จะเลือกเอาธรรมสวนะ หรือวันพระ ตั้งแต่ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ เป็นต้นไป
    ในการทำบุญหลวงของอ.ด่านซ้าย มีอยู่เพียง ๔ วัด คือ ๑.วัดโพนชัย ต.ด่านซ้าย ๒.วัดบ้านนาเวียง ต.ด่านซ้าย ๓.วัดบ้านหนามแพ่ง ต.ด่านซ้าย และ ๔.วัดบ้านนางหอ ต.นาหอ โดยวัดโพนชัยจะเป็นวัดแรกในการจัดงาน จากนั้นอีก ๓ วัดก็จะจัดตาม
    ปัจจุบันนี้การจัดงาน เจ้าหน้าที่ ททท.เข้าไปขอร้องให้เจ้าพ่อกวนเข้าทรงนั่งทางใน กำหนดวันจัดงานประเพณีบุญหลวงก่อนล่วงหน้า ๑ ปี เพื่อจะเป็นผลดีต่อการประชาสัมพันธ์ ให้นักท่องเที่ยวทั่วโลก ได้รับรู้แต่เนิ่นๆ
    การแสดงออกเหล่านี้เป็นสัญญาณบอกเหตุว่า ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาล กำลังเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ของคนบางกลุ่ม
    สำหรับการเปลี่ยนวันจัดงานจากวันพระเป็นวันหยุดเสาร์อาทิตย์นั้น อ.อภิชาติ บอกว่า การจัดงานในวันพระส่วนใหญ่จะไม่ตรงกับเสาร์อาทิตย์ เด็กหนีเรียนมาเล่นผีตาโขนเป็นจำนวนมาก มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๐ สมัยนั้นศึกษาธิการอำเภอ ขอความร่วมมือไปยังวัดโพนชัย กับชาวบ้าน ให้กำหนดจัดงานวันเสาร์อาทิตย์ เพื่อไม่ให้กระทบกับการเรียน
    ในปัจจุบันนี้วัดไม่ได้เป็นผู้กำหนดวันจัดงาน แต่ร่างทรงจะเป็นผู้กำหนด ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นต้นมา สมัยโบราณ เมื่อมีการกำหนดพิธีกรรมบุญหลวงแล้ว ก็จะมีการบอกผี (พระเสื้อเมือง) แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นว่า เรื่องของการบอกผี เป็นการกำหนดวันจัดงาน
    ความเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนคือ เดิมทีการเล่นผีตาโขน จะเล่นอยู่ ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใหญ่ จะเล่นผีตาโขนใหญ่ในขบวนกัณฑ์เทศน์ ปัจจุบันก็ทำกันอยู่ สำหรับเด็กจะเรียกว่าการเล่นผีตาโขนน้อย ซึ่งจะเล่นเฉพาะเด็กผู้ชายเท่านั้น เพราะเดิมทีนั้นผู้หญิงจะเล่นจะรำอะไรก็ต้องระวังตัว เนื่องจากค่านิยม และวัฒนธรรมเปลี่ยนไป มีการรับแนวคิดทางตะวันตก และวัฒนธรรมเมืองมากขึ้น
    ผู้หญิงที่เคยรักนวลสงวนตัวก็เริ่มที่จะปล่อยตัวเป็นไปตามกระแส ประมาณการว่า น่าจะเกิดหลังปี ๒๕๓๓-๒๕๓๔ เป็นต้นมา เริ่มมีการนำเอานักเรียนหญิงมาร่วมขบวนผีตาโขน ในขณะที่รูปแบบการเล่นผีตาโขนเดิมที่จะมีการร่ายรำตามจังหวะดนตรีพื้นบ้าน
    แต่ปัจจุบันขบวบเต้นแบบสมัยใหม่มากขึ้นดนตรีพื้นบ้านก็เปลี่ยนเป็นดนตรีสากล มีการนำท่าเต้นของแดนเซอร์ และโคโยตี้ เข้าไปประกอบท่าเต้นของผีตาโขน
    อ.อภิชาติยังบอกด้วยว่า ชุดผีตาโขนประกอบด้วยวัสดุไม่ถาวร การเขียนลวดลายผีตามแบบพื้นบ้าน ประหยัด เรียบง่าย ใช้สีจากธรรมชาติ เช่น ปูนขาว ดินหม้อ สีแดงจากต้นสีเสียด ซึ่งเป็นของที่อยู่ได้ไม่คงทน เมื่อเล่นเสร็จจแล้วก็จะทิ้งลงแม่น้ำ เพราะเก็บไว้ไม่ได้
    แต่ปัจจุบันนี้ใช้วัสดุอย่างดี ทั้งสี ทั้งผ้า (ผ้าไหม) มีการตกแต่งลวยลายอย่างวิจิตรงดงาม เมื่อเสร็จงานก็จะเก็บรักษาไว้ บางคนก็เก็บไว้ใช้ในปีต่อๆ ไป ปัจจุบันนี้สามารถจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวได้ ขณะเดียวกันพ่อค้าแม่ค้าในอำเภอ ก็จะกว้านเอาไปจำหน่ายเป็นของที่ระลึก
    "การจัดงานมุ่งเน้นให้เสร็จมากกว่าคุณภาพ มีการใช้สุราเป็นเครื่องมือในการดึงคนให้มาร่วมกลุ่มในการจัดงานมากกว่าเข้ามาทำงานเพื่อให้ได้บุญ คุณค่าของการจัดงานบุญหลวง กลายเป็นคุณค่าเฉพาะการจัดงาน เพื่อการท่องเที่ยว มากกว่าจัดพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อนำเอาหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนามาดำเนินชีวิต" อ.อภิชาติ กล่าวทิ้งท้าย


    เรื่อง ไตรเทพไกรงู
    ภาพ ทวีชัยเจาวัฒนา

    ---------------------
    Ref.

    http://www.komchadluek.net/2007/06/21/j001_123648.php?news_id=123648


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     

แชร์หน้านี้

Loading...