บุหรี่มือ2..พิษภัยที่ใกล้ตัว

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย guawn, 29 พฤศจิกายน 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    บุหรี่มือ2..พิษภัยที่ใกล้ตัว

    คอลัมน์ เสริมสุขกับส.ส.ส.

    โดย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่



    [​IMG]ควันสีขาวที่พวยพุ่งจากมวนบุหรี่ หากแต่ควันเหล่านี้ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด หลายร้อยชนิดมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย และสารกว่า 60 ชนิด เป็นสารก่อมะเร็ง

    บุหรี่แต่ละมวนที่บรรดาสิงห์พ่นควัน จุดสูบกันทุกวันนั้น มากไปด้วยนิโคตินที่เป็นสารทำให้เกิดการเสพติด และเกิดโรคหัวใจ รวมทั้งไนโตรเจนไดออกไซด์ ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ไซยาไนด์ สารพิษที่ปกติแล้วใช้เป็นยาเบื่อหนู แม้กระทั่งสารที่ใช้ในการดองศพอย่างฟอร์มัลดีไฮด์ ก็ประกอบอยู่ในควันเหล่านั้นด้วย

    ยังมีสารพิษอีกมากมายที่เราคาดไม่ถึงว่า บุหรี่ที่มีความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตรจะประกอบด้วยสารพิษมากขนาดนี้ หากสูดดมเข้าไปในร่างกายแล้วเท่ากับการดมพิษเข้าร่างกายดีๆ นี่เอง

    รายงานการเสียชีวิต สถิติล่าสุดพบว่า คนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ชั่วโมงละ 6 คน หรือวันละ 142 คน คิดเป็นปีละ 52,000 คน องค์การอนามัยโลกคำนวณไว้ว่า ในอีกประมาณ 25 ปีข้างหน้าทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคที่มีสาเหตุจากบุหรี่สูงขึ้นเป็นปีละ 10 ล้านคน หรือวันละ 27,000 คน หรือคิดเป็นนาทีละ 20 คน

    ทั้งยังพบว่า 1 ใน 4 ของผู้สูบบุหรี่จะเสียชีวิตในวัยกลางคน นับว่าเป็นการตายก่อนวัยอันควร ขณะที่คนรอบข้างที่สูดดมควันบุหรี่เข้าไปมีอัตราการเสียชีวิต 1 คนต่อผู้สูบบุหรี่ 8 คน

    ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จากการสูดดม ในอากาศ หากจะเรียกว่าคือผู้สูบบุหรี่มือสองนั้น มีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการเป็นโรคต่างๆ มากกว่าคนปกติที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ เนื่องจากควันบุหรี่ที่เกิดจากการเผาไม้ของบุหรี่อยู่ในอากาศสูงถึงร้อยละ 85 มากกว่าควันบุหรี่ที่ผู้สูบพ่นออกมาภายหลังจากการดูดเข้าปอด

    สิ่งที่น่าตกใจกว่านั้นพบว่า แหล่งที่มีบุหรี่มือสองมากที่สุดคือที่ บ้าน และผู้ที่มีความเสี่ยงคือ เด็กๆ ภายในครอบครัว คู่สมรส

    จากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้เป็นพ่อที่มีลูกระดับ ป.2-ป.4 จำนวน 1,000 คนพบว่าร้อยละ 47 สูบบุหรี่ในบ้าน ร้อยละ 37 สูบในรถขณะที่ลูกอยู่ด้วย และร้อยละ 25 สูบขณะดูทีวีกับลูก

    สถิติดังกล่าวเป็นผลให้เด็กมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 นอกจากนี้ภัยที่น่ากลัวอีกอย่างคือ ความเสี่ยงจากการที่ทารกตายกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือโรคไหลตายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 55

    อัตราดังกล่าวยังไม่รวมถึงพิษภัยที่ผู้เป็นภรรยาที่มีสามีสูบบุหรี่จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น มะเร็งปอด ที่พบว่าสตรีที่ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดแต่มีสามีสูบบุหรี่เป็น 3 เท่าของกลุ่มสตรีที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคนี้ อีกทั้งผู้หญิงที่สามีสูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงมีอาการหัวใจขาดเลือดสูงกว่าหญิงที่สามีไม่สูบบุหรี่ 3.4 เท่า และจะเสียชีวิตเร็วกว่าหญิงที่สามีไม่สูบบุหรี่ 4 ปี

    ปัจจุบันนี้มีผู้ได้รับอันตรายจากควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบเป็นอย่างมาก แม้จะมีกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ แต่จากการสำรวจพบว่ายังมีผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในสถานที่ที่ห้ามสูบในสัดส่วนที่สูงอยู่ตลอด

    ดังนั้น จึงควรช่วยกันรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงอันตรายของการได้รับควันบุหรี่มือสอง ปฏิบัติตามกฎหมายการจัดเขตปลอดบุหรี่ รวมถึงกระตุ้นให้ประชาชนรักษาสิทธิของตนเองจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง



    ref.http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03hea03291149&day=2006/11/29
     

แชร์หน้านี้

Loading...