///วัตถุมงคล/เครื่องราง...เริ่มหน้า 72..//

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Pitiphat, 20 มกราคม 2018.

  1. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่859.1 พระผงพิมพ์หลวงพ่อวัดไร่ขิง พระอารามหลวง ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม รุ่นบูรณะฐานชุกชี ปี 2554 ฝังโค๊ดทองเหลือง ขนาด 2.8*4.3 ซม.
    พระผงพิมพ์หลวงพ่อวัดไร่ขิง รุ่นบูรณะฐานชุกชี ด้านหน้าฝังเม็ดโค๊ดทองเหลือง มวลสารที่จัดสร้างมีส่วนผสมของซีเมนต์ฐานชุกชีขององค์หลวงพ่อในพระอุโบสถ วัดไร่ขิงผสมอยู่ด้วย บ่งบอกถึงความเข้มขลัง พระดี พิธีมหาพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ ในพระอุโบสถวัดไร่ขิง

    พระคาถาหลวงพ่อวัดไร่ขิง

    กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา มะเหสักขายะ เทวะตายะ อะภิปาลิตัง อิทธิปาฏิหาริกัง มังคะละจินตารามะ พุทธะปะฏิมากะรัง ปูชามิหัง ยาวะชีวัญจะ สุกัมมิโก สุขะปัตติตถายะ

    คุณกันทิมา@บุญ ปิดครับ
    IMG_20181112_220244.jpg IMG_20181112_220233.jpg IMG_20181112_220537.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2018
  2. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่860 พระสมเด็จห้าเสาร์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ. ๙) วัดสระเกศ อธิษฐานจิตปรกปลุกเสกเดี่ยว ปี2553
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เรียนพระกรรมฐาน ในเบื้องต้น จากหลวงพ่อพริ้ง ซึ่งเป็นพระวิปัสสนาจารย์องค์สำคัญของเกาะสมุย โดยหลวงพ่อพริ้งได้นำเจริญพระกรรมฐานบนหลุมฝังศพขณะมีอายุ ๑๒ ปี เท่านั้น ต่อมา ได้เรียนพระกรรมฐานจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) ซึ่งเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า พระองค์ท่านมีความชำนาญด้านกสิณ และเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังได้ให้ความสนใจวิธีการเจริญพระกรรมฐานตามแนวต่างๆ จนมีความชำนาญสามารถสวดพระปาฏิโมกข์ได้ในพรรษาแรกแห่งการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และยังสามารถเรียนสำเร็จเปรียญธรรม ๙ ประโยค อันเป็นการศึกษาพระปริยัติธรรมชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ สำนึกที่มีต่อความรับผิดชอบพระพุทธศาสนาเช่นนี้ ก่อตัวขึ้นท่ามกลางการฝึกฝนอย่างหนักของเจ้าพระสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) ผู้เป็นพระอาจารย์ ผู้ได้เล็งเห็นอุปนิสัยแล้วว่า ศิษย์ผู้นี้ คือ ผู้ที่จะนำพาพระพุทธศาสนาผ่านห้วงแห่งความยากลำบากในอนาคต
    จากวันที่สำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๙ ประโยค เพราะความรักที่มีต่อพระพุทธศาสนาอย่างเปี่ยมล้น เมื่อก้าวขึ้นสู่การบริหารคณะสงฆ์ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะผู้ปกครอง แม้พระเถระผู้ใหญ่ในสมัยนั้น ต้องการให้เป็นเจ้าคณะผู้ปกครองในภาคกลาง แต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ กลับเลือกที่จะไปเป็นผู้ปกครองทางภาคที่กันดารและเดินทางไปยากที่สุด คือ ภาคอีสาน เนื่องจากเจ้าประคุณสมเด็จฯได้เล็งเห็นว่า หากจะพัฒนาประเทศชาติและพระศาสนา จะต้องพัฒนาจากภาคที่มีประชากรมากที่สุดก่อน โดยเน้นที่การให้การศึกษา

    ปิดครับ
    IMG_20181112_220200.jpg IMG_20181112_220150.jpg IMG_20181112_220528.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2020
  3. กันทิมา@บุญ

    กันทิมา@บุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2018
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +401
    จองค่ะ
     
  4. กันทิมา@บุญ

    กันทิมา@บุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2018
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +401
    จองค่ะ
     
  5. กันทิมา@บุญ

    กันทิมา@บุญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2018
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +401
    จองค่ะ
     
  6. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการจอง 857, 858, 859 ครับ
     
  7. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่861 เทพเจ้าไท้ส่วยเอี้ย วัดมังกรฯ (เล่ง เน่ย ยี่) รุ่น คุ้มครองปีชง แก้เคราะห์ร้าย เสริมโชคลาภ บารมี ดวงชะตาให้เจริญรุ่งเรือง เนื้อผง
    เทพเจ้าไท้ส่วยเอี้ย หรือ เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา ชาวจีนให้ความสำคัญมาก ดังจะเห็นได้จากโหราศาสตร์หรือดวงจีนที่ผูกพันกับเรื่องนักษัตรปีเกิด หรือดวงชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ไม่ว่าชะตาชีวิตจะดีหรือไม่ดี ชาวจีนจะต้องไหว้ เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา (ไท้ส่วยเอี้ย) เพื่อให้คุ้มครอง หากดวงชะตาชีวิตดีอยู่แล้ว ก็จะช่วยส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าชะตาชีวิตไม่ดีก็จะช่วยให้หนักเป็นเบา คุ้มครองป้องกันจากอุปสรรคทั้งปวงให้ผ่านพ้นไปด้วยดี จนผ่านปีนักษัตรนั้นไปได้ด้วยความราบรื่น
    ทำไมถึงต้องไหว้เจ้า

    "การไหว้เจ้า" เป็นประเพณีที่ชาวจีนประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมากว่า 3,000 ปี (สมัยราชวงศ์โจว) เพื่อให้เกิดความสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุขความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเองและครอบครัว ทั้งกิจการงานธุรกิจที่ประกอบอยู่ ชาวจีนจึงมีความเชื่อสืบต่อๆ กันมาว่า ในปีหนึ่งๆ มักจะมีสิ่งเลวร้าย เรื่องไม่ดีงาม เรื่องอัปมงคลมากระทบกระทั่ง หรือรบกวนการดำเนินชีวิตของคนเราจนทำให้เกิดอุปสรรคต่างๆ เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย การงานติดขัดไม่ราบรื่น เงินทองไม่คล่อง ทำอะไรก็พบแต่ความยุ่งยาก ค้าขายลำบากมีแต่อุปสรรค บุตรบริวารก่อเรื่องวุ่นวาย นำความยุ่งยากลำบากใจมาให้ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผิดปกติ ทำให้รู้ได้ว่า "ดวงชะตาชีวิต" ไม่ดีนัก จึงจะต้องมีการขวนขวายหาที่พึ่ง จึงทำให้ก่อกำเนิดประเพณี การไหว้เจ้า ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ ไหว้บรรพบุรุษ ขึ้น

    "การไหว้เจ้า" นอกจากจะเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นการวิงวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยดลบันดาลให้พบแต่ความสุขความเจริญทำมาค้าขึ้น ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง มีสุขภาพแข็งแรง ครอบครัวลูกหลานเป็นคนดีงาม

    ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท และเสริมสร้างความมั่นใจ ที่จะช่วยให้ผ่านพ้นอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในแต่ละปี นอกจากการแก้ไขด้วยสติปัญญาและความสามารถแล้ว โบราณาจารย์ยังได้แนะนำให้ "ไหว้เจ้า" เพื่อเสริมสิริมงคลและพลังแห่งชีวิตพิชิตอุปสรรคให้เกิดกำลังใจ โดยเทพเจ้าองค์สำคัญของชาวจีนที่จะต้องไหว้ช่วงปีใหม่หรือเทศกาลตรุษจีนก็คือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ความมั่งคั่ง และ การค้าขาย หรือเทพเจ้าไฉ่เซ่งเอี้ย เพื่อขอพรให้คุ้มครองดวงชะตาชีวิต คุ้มครองปีเกิด ทุกนักษัตรซึ่งชะตาชีวิตของคนเราย่อมมีขึ้นมีลง มีดีมีร้าย หมุนเวียนเปลี่ยนกันไป

    ฉะนั้น การไหว้เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา จึงเป็นเรื่องสำคัญ ชาวจีนจะให้ความสำคัญกับ "เทพเจ้าไท้ส่วยเอี้ย" อย่างมาก ดังจะเห็นได้จากโหราศาสตร์หรือดวงจีนที่ผูกพันกับเรื่องนักษัตรปีเกิด หรือดวงชะตาชีวิตของมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม

    ความสำคัญของเทพเจ้าไท้ส่วยเอี้ย

    ตามหลัก โป๊ยยี่สี่เถี่ยว หรือ โหราศาสตร์จีน ในแต่ละปี ดวงชะตาชีวิตของแต่ละคนก็จะเปลี่ยนแปลงไป ดวงชะตาของคนเกิดปีนักษัตรต่างๆ ทั้ง 12 นักษัตร จะมีความสัมพันธ์กับนักษัตรในปีนั้นๆ มีทั้ง "ดี" คือส่งเสริม คนจีนเรียก "ฮะ" และ "ไม่ดี" คือ "ชง"

    ถ้าปีใดส่งเสริมกัน ก็จะทำให้เจ้าชะตาชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง ทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จ แต่ถ้าปีใดเป็นปีปฏิปักษ์ต่อกัน หรือ"ชง" ก็จะทำให้เจ้าชะตาชีวิตมีแต่อุปสรรค ติดขัด การดำเนินชีวิตไม่ราบรื่น

    ไม่ว่าชะตาชีวิตจะดีหรือไม่ดี อย่างไรก็ตาม ชาวจีนจะต้องไหว้ "เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา" (ไท้ส่วยเอี้ย) เพื่อให้คุ้มครอง หากดวงชะตาชีวิตดีอยู่แล้ว ก็จะช่วยส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าชะตาชีวิตไม่ดีก็จะช่วยให้หนักเป็นเบา คุ้มครองป้องกันจากอุปสรรคทั้งปวงให้ผ่านพ้นไปดี จนผ่านปีนักษัตรนั้นไปได้ด้วยความราบรื่น

    การไหว้ "เทพเจ้าไท้ส่วยเอี้ย" เป็นความเชื่อ และประเพณีปฏิบัติของชาวจีนทั่วโลก โดยเฉพาะคนที่มีดวงชะตาตกต่ำ หรือ "ชงปี"

    วิธีแก้ไขดวงชะตา จะมีการทำพิธี นำซึ้งปักเต๋าเก็ง หรือ พิธีสวดมนต์เสริมดวงชะตา แต่ผู้ไม่ "ชงปี" ก็สามารถทำได้ เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข หนุนส่งดวงชะตาให้ดียิ่งๆขึ้น

    หลักวิธีดูปีที่ "ชง"หรือ"ฮะ"

    ปีที่ "ชง" (ไม่ถูกโฉลกกัน)
    ปีชวด ไม่ถูกโฉลก กับปีมะเมีย
    ปีฉลู ไม่ถูกโฉลก กับปีมะแม
    ปีขาล ไม่ถูกโฉลก กับปีวอก
    ปีเถาะ ไม่ถูกโฉลก กับปีระกา
    ปีมะโรง ไม่ถูกโฉลก กับปีจอ
    ปีมะเส็ง ไม่ถูกโฉลก กับปีกุน

    ปีที่ส่งเสริมกัน (ถูกโฉลก)

    ปีชวด ถูกโฉลกกับ ปีฉลู
    ปีขาล ถูกโฉลกกับ ปีกุน
    ปีเถาะ ถูกโฉลกกับ ปีจอ
    ปีมะโรง ถูกโฉลกกับ ปีระกา
    ปีมะเส็ง ถูกโฉลกกับ ปีวอก
    ปีมะเมีย ถูกโฉลกกับ มะแม

    วิธีไหว้เจ้าเสริมดวงชะตา สะเดาะเคราะห์
    1. เขียนชื่อ-สกุล วัน เดือน ปีเกิด ของตนเอง หรือเขียนแทนให้คนอื่นก็ได้
    2. นำไปไหว้เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา (ไท้ส่วยเอี้ย)
    3. จุดธูป 3 ดอก อธิษฐานให้ท่านช่วยคุ้มครองดวงชะตาชีวิต
    4. ถ้าเป็นของตัวเองให้ปัดลงมาตั้งแต่ศีรษะลงมาสุดแขน 12 ครั้ง

    ปิดครับ
    IMG_20181113_215324.jpg IMG_20181113_215313.jpg IMG_20181113_215415.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2020
  8. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่862 พระผงหลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ระยอง รุ่นสร้างศาลาการเปรียญ ปี37 ฝังตะกรุด
    ***หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า เทพเจ้าแห่งผ้ายันต์พัดโบก มีใช้บูชากันทั้งประเทศ หลวงปู่เมตตาปลุกเสกพระรุ่นนี้เพื่อหาทุนทรัพย์ในการสร้างศาลาการเปรียญ พิธีปลุกเสกเดียวกันกับผ้ายันต์ผัดโบกอันโด่งดัง

    ท่านพ่อคร่ำ" ตามทีชาวบ้านย่านชายฝั่งทะเลตะวันออก เรียกขานกันนั้นท่านเป็นพระคณาจารย์ที่ได้รับความเคารพศรัทธาอย่างสูงจากสาธุชนทั่วๆ ไปมานานเต็มทีแล้ว และยังเป็นท่านพ่อของบรรดาชาวเรือตังเกในย่านนี้ด้วยบางท่านที่เข้าถึงกระแสแห่งรสพระธรรม เชื่อกันว่าหลวงปู่เป็นผู้ที่ล่วงพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง

    หลวงปู่คร่ำ หรือ พระครูสุตพลวิจิตร มีนามว่า คร่ำ อรัญวงศ์ เกิดที่บ้านตำบลวังหว้า อ.แกลง เมื่อวันพุธ แรม 10 ค่ำเดือน 11 ปีระกา ตรงกับวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2440 โยมบิดา ชื่อครวญ โยมมารดาชื่อ ต้อย ท่านเป็นบุตรคนโตในจำนวน พี่น้องทั้งหมด 4 คน หลวงปู่เป็นชาวเมืองแกลงโดยกำเนิด ซึ่งบรรพบุรุษได้ตั้งรกรากอยู่ที่บ้านวังหว้ามานานหลายชั่วอายุคน ครอบครัวของท่านประกอบอาชีพในทางกสิกรรมเฉกเช่นเดียวกับประชากรส่วนใหญ่ในชนบทที่ไม่ทำสวนก็ทำนาเป็นหลักคือ การทำสวนพริกไทย อันเป็นอาชีพหนึ่งที่ทำกันแพร่หลายไม่แพ้ในเขตจังหวัดจันทบุรี เมื่อวัยเจริญขึ้นควรที่จะได้รับการศึกษา โยมบิดามารดา ได้พาไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือ กับท่านเจ้าอาวาสวัดวังหว้า ซึ่งเวลานั้นหลวงปู่มีอายุราว 11-12 ปี เล่าเรียนและปรนนิบัติรับใช้อาจารย์อยู่ประมาณปีเศษจึงย้ายมาเรียนหนังสือที่วัดพลงช้างเผือกและพำนักอยู่ที่นั่น จนอายุได้ราว 15 ปีก็กลับมาบ้าน เพื่อช่วยเหลือเป็นกำลังของครอบครัวในการทำสวนพริกไทย แต่แล้วในปีนั้นเองได้เกิดอาเพทขึ้นบรรดาสวนพริกไทยในละแวกนั้น เกิดเหี่ยวเฉาตายเรียบทุกสวนสร้างความเดือดร้อนกันทั่วทุกครัวเรือนจนทำให้ทางบ้านของท่านเลิกการทำสวนพริกไทยหันไปประกอบอาชีพอื่นตั้งแต่นั้นกระทั่งหลวงปู่อายุครบ 20 ปี จึงคิดที่จะบวชเพื่อทดแทนพระคุณ อันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านานของชายไทยทั่วๆ ไปที่นับถือพระพุทธศาสนา คนที่ยังไม่เคยบวชเรียน สังคม ชาวบ้านถือกันว่าเป็นคนดิบ ชนบทบางพื้นที่มีคำเรียกอันเป็นการแยกสถานภาพ ระหว่างผู้ที่ผ่านการบวชเรียนแล้ว กับผู้ที่ยังไม่ใด้บวช เช่นคำว่า ทิด ซึ่งมาจากคำว่า บัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา หรือนักปราชญ์ คำเรียกดังกล่าวนี้แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทางภาคเหนือและอีสานก็มีเช่นกัน

    พอถึงวันจันทร์แรม 14 ค่ำเดือน 7 ปีมะเส็ง จ.ศ. 1279 ตรงกับวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2460 จึงได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูสังฆการบูรพาทิพย์ (ปั้น) วัดทะเลน้อย เป็นพระอุปัชฌาย์พระอาจารย์เผือกวัดวังหว้า เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้นามฉายาว่า ยโสธโร หลวงปู่ได้ปฏิบัติเหมือนกับพระนวกะทั่วๆ ไป และตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยจนสอบได้ประโยคนักธรรมโท กับค้นคว้าตำรับตำราวิชาการต่างๆ จากนั้นจึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเล่าเรียนพระกรรมฐานและวิทยาคุณจากหลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง หรือวัดเขาชากโดนซึ่งเชี่ยวชาญในด้านสมถะและวิปัสสนากรรมญานเป็นพระอาจารย์
    บอกกรรมฐาน มีจิตตานุภาพและวิทยาคมขลัง เป็นที่เลื่องลือมากในสมัยนั้น หลังจากได้ฝากตนเป็นศิษย์แล้วก็ตั้งหน้าศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง จนบังเกิดความเชื่อมั่นในตนเองกับวิชาที่เรียนและเป็นที่พอใจของผู้เป็นอาจารย์

    ท่านจึงกราบลาพระอาจารย์ ออกจาริกธุดงค์เพื่อเป็นการทดสอบกำลังใจและฝึกฝนจิตให้เกิดสมาธิเข้าสู่วิปัสสนาญาณต่อไปได้เดินธุดงค์เพียรปฏิบัติอยู่เป็นเวลาพอสมควรจึงกลับสู่วัดวังหว้า นับตั้งแต่หลวงปู่คร่ำอุปสมบท ในเพศบรรพชิตสืบทอดหลักพระธรรมคำสอนขององค์พระบรมศาสดาถึงขณะนี้ได้ 76 ปี แล้ว ได้ใช้พระธรรมคำสอนอบรมบรรดาลัทธิหาริกและสาธุชนผู้มีใจฝักใฝ่ในธรรมให้ยึดมั่นถือมั่นในหลักคุณธรรมแห่งความดี ตลอดระยะเวลาที่หลวงปู่ ได้ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ก็ปฏิบัติตนเป็นผู้สำรวมในศีลอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่เหล่าบรรดาศิษย์ จะได้จดจำและปฏิบัติตนตามเยี่ยงของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นครูบาจารย์ในส่วนที่ดี ด้านลูกศิษย์ของท่านมีมากมายหลายอาชีพ ตั้งแต่ข้าราชการระดับบริหารเศรษฐีตลอดจน กระทั่งผู้ใช้แรงงาน แต่ท่านก็ให้ความเมตตาโดยเสมอภาคกัน มิได้มีการแยกหรือแบ่งชั้นวรรณะซึ่งก็ได้สร้างปิติและศรัทธาต่อบรรดาสาธุชนเหล่านั้น ที่มีอยู่ทุกภาคของประเทศ

    เมื่อราวปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเมื่อมีกระทรวงใหม่เกิดก็ย่อมจะต้องมีเจ้ากระทรวงหรือรัฐมนตรีว่าการ บรรดา ส.ส.ผู้ทรงเกียรติต่างก็หมายมั่นปั้นมือเพื่อจะได้เป็นเสนาบดีกันสักครั้งหนึ่ง และก่อนหน้าที่จะมีการประกาศรายชื่อผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานไม่กี่วัน นายเสริมศักดิ์ การุณ ส.ส.ระยอง กับ นายไพฑูรย์ แก้วทอง ส.ส.พิจิตร ได้พากันไปกราบหลวงปู่คร่ำให้หลวงปู่เจิมหน้าผาก รดน้ำมนต์ เป่ากระหม่อมให้หลังจากนั้นไม่กี่วัน หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ ไทยรัฐ พาดหัวข่าวหน้าหนึ่งเลยว่า "มนต์ หลวงปู่เฮี้ยน..." ปรากฏว่าท่าน ส.ส. ทั้งคู่ได้เป็นรัฐมนตรีเรียบร้อย

    จนกระทั่งมาอีกครั้งหนึ่งก็การแต่งตั้งอธิบดีตำรวจที่ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ กระเด้งกระดอนออกมาจากมติ กตร. 2 ระรอกแล้ว ครั้งสุดท้ายก่อนที่จะมีการลงมติกันอีกครั้งวัดวังหว้าก็ปรากฏกายของท่าน พล.ต.อ. ประทินว่าที่อธิบดีตำรวจ เพื่อขอให้หลวงปู่คร่ำรอดน้ำมนต์ และเป่ากระหม่อมให้ เมื่อผลการแต่งตั้งออกมา ชื่อของ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพคือนัมเบอร์วันของกรมตำรวจจริงๆ ชื่อของลป.คร่ำ ก็ยิ่งตอกย้ำถึงบุญบารมี เพราะความศักดิ์สิทธิ์อย่างเหลือเชื่อ

    ลป.คร่ำท่านเป็นพระที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตาอย่างไร้ขอบเขตจริงๆ ใครไปกราบไหว้ท่าน ท่านก็เมตตาเป่าหัวให้ ทำให้สารพัดผู้ที่ไปกราบท่านมีแต่ความปลื้มปิติซาบซึ้งในความเมตตาของหลวงปู่เป็นทวีคูณ ปัจจุบันนี้ด้วยวัยกว่า 97 ปีของหลวงปู่ จึงทำให้การต้อนรับหรือการเข้าไปพบท่าน ค่อนข้างจะต่างจากในอดีตเพราะสังขารท่านนั้นย่อมต้องการพักผ่อนก่อน แม้ว่าคนรอบข้างบอกว่าเดี๋ยว หลวงปู่เหนื่อยๆ แต่หลวงปู่ก็ยังเสมอภาคกับทุกคน

    ในด้านวัตถุมงคลของลป.คร่ำนั้นก็มีสร้างกันมาร่วม 30 ปีแล้ว สุดท้ายนี้ ขอเชิญชวนทุกท่านได้ไปกราบไหว้ลป.คร่ำ วัดวังหว้า สุดยอดมหาเมตตาบารมีแห่งยุค เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ท่านและครอบครัว เทพเจ้าของชาวระยอง

    หลวงปู่คร่ำ ท่านมีอายุ ๑๐๐ ปีบริบูรณ์เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๐ พรรษา ๘๐ นับเป็นพระเถระที่มีพรรษาสูงสุดของเมืองไทย

    ต่อมาเนื่องจากหลวงปู่อายุมาก แต่หลวงปู่ยังปฏิบัติกิจนิมนต์ต่างๆตลอดมา ต้อนรับสาธุชนจากสารทิศทุกวัน แม้บางวันจะเหน็ดเหนื่อยจนลุกแทบไม่ได้ แต่เมื่อมีผู้คนมาคอยพบมากมายหลวงปู่จะพยายามลุกขึ้นลำให้ศิษย์ประคองออกมาประพรมน้ำมนต์แก่ผู้มากราบไหว้บูชาจนร่างกายเสื่อมโทรมแพทย์ประจำตัวต้องคอยปรนนิบัติอย่างใกล้ชิด ในที่สุดกรรมการวัดและศิษย์ผู้ใกล้ชิด มีความเห็นร่วมกันว่าควรให้พักผ่อนให้มาก จึงได้นำไปบำบัดโรคพยาธิในโรงพยาบาล เพื่อพักฟื้นหลายครั้งแต่หลวงปู่จะพักในโรงพยาบาลไม่นาน รบเร้าต่อแพทย์และผู้ใกล้ชิดให้ส่งกลับวัดตลอดเวลา จึงไปๆมาๆระหว่างวัดและโรงพยาบาลโดยตลอด ในที่สุดแพทย์จากดโรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา ตรวจพบว่าหลวงปู่มีเนื้อร้ายที่ลำคอจึงได้นิมนต์ให้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา โดยไม่คิดค่ารักษาแต่ประการใด ตลอดระยะเวลาหลายเดือน

    มรณภาพในที่สุดแห่งชีวิตที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ หลวงปู่ได้ละสังขารถึงแก่มรณภาพ ในวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ เวลาประมาณ ๑๔ นาฬิกา ด้วยอาการสงบ ณ. โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา ท่ามกลางความเศร้าโศกอาลัยของสานุศิษย์และสาธุชนทั่วประเทศนับล้านคนที่ได้ทราบข่าวต่างหลั่งไหลมากราบไหว้ เคารพศพที่วัดวังหว้าตลอดเวลา ๑๕ วัน ที่บำเพ็ญกุศลนับเป็นบุญญาบารมีของหลวงปู่โดยแท้

    คุณสักการะ ปิดครับ
    IMG_20181113_215346.jpg IMG_20181113_215335.jpg IMG_20181113_215434.jpg pic_014.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2019
  9. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่863 พระผงกัมมัฏฐานรูปเหมือนหลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี
    “พระวิสุทธิญาณเถร” หรือ “หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย” พระเถระสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน อดีตประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี ทายาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต บูรพาจารย์สายพระป่า

    มีนามเดิมว่า สมชาย มติยาภักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 7 เม.ย.2468 ที่หมู่บ้านเหล่างิ้ว ต.จังหาร อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด

    อายุ 19 ปี บรรพชาที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

    ช่วงปลายปี พ.ศ.2487 ได้ยินกิตติศัพท์หลวงปู่มั่นจึงไปฝากตัวเป็นศิษย์ที่วัดป่าบ้านหนองผือ จ.สกลนคร

    ในระหว่างที่พำนักอาศัย ศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น ใช้ความเพียรต่อการปฏิบัติสมาธิอย่างยิ่งยวด ตลอดจนอุปัฏฐากครูบาอาจารย์โดยไม่บกพร่อง

    อายุครบ 21 ปี เข้าอุปสมบทที่วัดศรีโพน อ.เมือง จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2489 มีพระธรรม เจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เป็น พระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายา ฐิตวิริโย มีความหมายว่า ผู้ตั้งมั่นในความเพียร

    หลวงปู่สมชาย ถือเป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิด หลวงปู่มั่น ครั้งหนึ่งเคยทำการบีบนวดถวายหลวงปู่มั่นเป็นเวลานาน เกิดความคิดว่า “เราไม่ได้นอนมา 2 วัน 2 คืนแล้ว พรุ่งนี้ต้องเดินทางไกลไปหนองคาย” ในขณะกำลังคิดอยู่นั้น หลวงปู่มั่นพูดสวดขึ้นมาว่า “จะไปพักก็ไปได้นะ สังขารร่างกายอย่าหักโหม พรุ่งนี้ต้องเดินทางไกล” หลวงปู่สมชาย แปลกใจว่าคำพูดของท่านตรงกับความคิดพอดี

    ทำให้มั่นใจว่าหลวงปู่มั่นทราบวาระจิตด้วยสมาธิญาณ เกิดความปีติอิ่มเอิบ หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง ตั้งหน้าตั้งตาบีบนวดหลวงปู่มั่น พลางคิดว่าเราจะต้องศึกษาวิชาแบบท่านให้ได้ พอท่านคิดจบ หลวงปู่มั่นพูดสวน ความคิดขึ้นมาทันทีว่า “ตั้งใจเอาแน่หรือ” เมื่อได้ยิน คำพูดหลวงปู่มั่นดังนี้แล้ว ทำให้เชื่อแน่ว่าอภิญญาสมาบัติมีจริง

    วันรุ่งขึ้นได้กราบลาหลวงปู่มั่น ออกไปแสวงหาที่บำเพ็ญตามป่าเขาสถานที่ทุรกันดาร เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด ด้วยความวิริยะและอดทนเป็นเลิศ


    ครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ.2501 หลวงปู่สมชายได้อยู่จำพรรษาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาสายัณห์ โดยท่านไม่ได้ฉันภัตตาหาร 15 วันติดต่อกัน และถือเนสัชชิกังคะ คือ ไม่เอนกายลงนอนทั้งคืน บางครั้งเป็นเดือน

    ช่วงกลางวัน หลวงปู่สมชายยังสามารถช่วยงานทางวัดได้ สามารถแบกปูนครั้งละ 2 ลูก ขึ้นไปบนเขาเพื่อสร้างโบสถ์วิหาร จนกลายเป็นเรื่องน่าประหลาดว่าหลวงปู่ เอาเรี่ยวแรงมาจากไหน ถ้ามิใช่ผลแห่งสมาธิจิต

    นอกจากจะเป็นศิษย์รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่มั่นแล้ว ท่านยังฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่จิริปุญฺโญ, หลวงปู่สีลา อิสฺสโร และพระวิปัสสนาจารย์ชื่อดังอีกหลายรูป ด้วยความเป็นพระสงฆ์นักปฏิบัติ ออกธุดงควัตรตามป่าเขาลำเนาไพรไปทั่วทุกหนแห่ง

    สำหรับวัดเขาสุกิม หลวงปู่สมชาย บุกเบิกพัฒนา สร้างสรรค์วัดเขาสุกิม ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ บนเนื้อที่กว่า 3,280 ไร่ ให้เป็นศาสนสถานอันร่มรื่น สวยงาม เป็นศรีแก่จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่พ.ศ.2507

    แต่เดิมพื้นที่แห่งนี้ เคยเป็นป่ารกทึบ เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและไข้ป่า ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวได้แปรสภาพถูกจัดระเบียบกลายเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งภาคตะวันออก จนกลายเป็นที่กล่าวขวัญว่าใครไปเยือนเมืองจันทบุรี ถ้าไม่ได้ไปนมัสการวัดเขาสุกิมถือว่ายังไปไม่ถึงเมืองจันทบุรี

    อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ.2542 เริ่มมีอาการอาพาธด้วยโรคหัวใจ และต้องเข้ารับรักษาอาการที่ร.พ.ศิริราช โดยคณะแพทย์ตรวจพบว่าหลวงปู่มีอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ

    ต่อมาสุขภาพของหลวงปู่ทรุดหนักลงเป็นระยะต้องเข้าร.พ.วิชัยยุทธเป็นประจำ ในปี พ.ศ.2545 มีอาการอาพาธหนักจนคณะแพทย์ต้องผ่าตัดบายพาสหัวใจ และล้างไตมาตลอด

    กระทั่งปลายปี พ.ศ.2547 อาการอาพาธด้วยโรคหัวใจมีอาการทรุดหนักลง เหนื่อยหอบ และต้องล้างไตถี่ขึ้น

    ท้ายที่สุด เวลา 10.40 น. วันที่ 18 มิ.ย.2548 จึงมรณภาพอย่างสงบ ด้วยวัย 80 ปี พรรษา 60 ที่ห้องไอซียู ชั้น 7 ร.พ.วิชัยยุทธ


    ปิดครับ
    IMG_20181113_215529.jpg IMG_20181113_215516.jpg 1-498-696x383.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2020
  10. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    ////สวัสดีครับ ขอแจ้งการบูชาครบ 1600 บาท/////
    แถม... พระพิมพ์ขุนแผนทรงพลใหญ่"พ่อท่านฉิ้น วัดเมืองยะลา" (พระเนื้อผง-เนื้อว่าน)...1 องค์ครับ*** ปิดครับ
    เนื้อว่านเก่าวัดเมืองยะลา,ดินกากยายักษ์,ผงแร่เหล็กน้ำพี้,ฝังตะกรุดเงิน 2 ดอก กล่องเดิม รุ่นฉลอง 45 ปี วัดเมืองยะลา สร้างปี 2547 ตอกโค๊ดชัดเจน พ่อท่านฉิ้นเป็นศิษย์ทายาทธรรมหลวงปู่ทวด องค์สุดท้ายเป็นองค์ที่ 4 องค์ที่1 หลวงปู่ทิม วัดช้างให้,องค์ที่2 พระโสภณธรรมคุณ วัดนาประดู่, องค์ที่ 3 อาจารย์นอง วัดทรายขาว, องค์ที่ 4 พ่อท่านฉิ้น วัดเมืองยะลา
    IMG_20181002_211015.jpg IMG_20181002_210959.jpg IMG_20181002_210623.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มกราคม 2019
  11. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่864 พระผงคาถาพัน (พระผงดอกพะยอม) พิมพ์นั่งเมืองหลังรูปเหมือนหลวงปู่ทองสุข วัดโพธิิ์ชัยนิมิตร มหาสารคาม
    ***พระผงคาถาพันพิมพ์นั่งเมืองหลวงปู่ทองสุข เกื้อหนุนเสริมชะตา เมตตา มหาลาภ แคล้วคลาด คงกระพัน จัดสร้างตามตำราโบราณ

    ****หากจะเอ่ยถึงพระผงที่สร้างมาจากดอกพะยอมหรือดอกพยอมแล้วเชื่อว่าหลายท่านคงทราบกันดีว่าพระประเภทนี้มักจะเกิดขึ้นในแถบภาคอีสานและพระดอกพยอมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอดีตก็คือพระสมเด็จดอกพะยอมที่สร้างโดยหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง ซึ่งปรากฎประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์มากมายและหายากมากในปัจจุบันด้วยเพราะว่าการสร้างพระจากดอกพะยอมตามตำราโบราณนั้นมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน จึงหาคนสร้างได้ยากยิ่งนัก

    *****สำหรับพระผงคาถาพันหรือพระผงดอกพะยอมหลวงพ่อทองสุข วัดโพธิ์ชัยนิมิตร จังหวัดมหาสารคามรุ่นที่นำมาลงนี้จัดสร้างขึ้นตามแบบตำราการสร้างพระดอกพะยอมทุกประการโดยสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2554 โดยด้านหน้าจำลองแบบมาจากพระกรุนาดูรพิมพ์ปฐมเมศนา (นั่งเมือง) โบราณอายุกว่าพันปี ด้านหลังเป็นรูปเหมือนหลวงพ่ทองสุข นั่งเต็มองค์โดยพระผงรุ่นนี้มีส่วนผสมของตำราการสร้างพระดอกพะยอมโบราณอันได้แก่ ดอกพะยอมอธิษฐานจิต,พระผงนาดูรแตกหักเป็นจำนวนมาก, ผงวิเศษที่หลวงปู่ทองสุขท่านเก็บสะสมรวบรวมไว้กว่า 40 ปี อีกทั้งยังได้นำเข้าในพิธีเทศน์คาถาพันหรือเทศน์มาหาชาติครบถ้วน 1,000 พระคาถาในวันเดียวเฉกเช่นโบราณดังนั้นจึงเป็นพระผงดอกพะยอมรุ่นใหม่ที่สามารถใช้แทนรุ่นเก่าๆ ที่หาทำยายากได้เลยครับ ส่วนพุทธคุณนั้นเชื่อว่าดีทุกด้านโดยเฉพาะค้ำคูณ เสริมชะตาเป็นเลิศครับ
    ปิดครับ
    IMG_20181115_210434.jpg IMG_20181115_210424.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2019
  12. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่865 ตะกรุด 2 นิ้ว หลวงพ่อเงิน วัดโพรงงู จ.พัทลุง
    ***หลวงพ่อเงิน ถือกำเนิดที่เขาย่า ม.4 ต.เขาย่า อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง ในครอบครัวที่มีฐานะความเป็นอยู่ยาก จนอาชีพชาวไร่ชาวสวนตามท้องถิ่นเดิม ได้รับการศึกษาชั้นป.4 ที่อยู่ห่างไกลความเจริญจากชุมชนเมือง มีบิดาชื่อ นายทอง ชูพราหมณ์ มารดาชือ นางพูล ชูพราหมณ์ เกิดเมื่อวันอังคาร ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีขาล เป็นบุตรชายคนหัวปี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๒ คน คือ
    ๑ หลวงพ่อเงิน จิรธมฺโม
    ๒ นาย จันทร์ ชูพราหมณ์

    ***หลวงพ่อเงิน นับว่าท่านสนใจในวิชาเวทศาสตร์และไสยศาสตร์มาตั้งแต่เยาว์วัย เมี่อสมัยตอนยังเป็น ฆราวาสอยู่อายุย่างเข้าวัยฉกรรจ์ท่านเป็นชายหนุ่มที่ชอบเลื่อมใสศึกษาค้นคว้าในวิชาไสยศาสตร์อาคมลี้ลับ เป็นอย่างมาก และได้แสวงหาความรู้สุดยอดวิชาจากผู้รู้ในแขนงวิชาต่างๆรวมถึงวิชาสำนักเขาอ้อจนสำเร็จ รู้ซึ่งเป็นอย่างดี และปัจจุบันนี้หลวงพ่อเงินได้เด่นดังทางด้านโภคทรัพย์และเมตตามหานิยม เป็นที่ประจักษ์

    ต่อชาวบ้านรู้จักนับถือกันทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ช่วงสมัยจตุคามรามเทพเฟื่องฟู่หลวงพ่อได้เข้าร่วมพิธีกรรมนั่งปลุกเสกอธิฐานจิตไม่ขาดสาย มีกิจนิมนต์เป็นประจำจนถึงปัจจุบันนี้ หลวงพ่อก็ยัง
    ได้รับนิมนต์เชิญเข้าร่วมพิธีปลุกเสกเหรียญคณาจารย์ของหลวงพ่อต่างๆมากมาย
    หลวงพ่อเงินในขณะช่วงเวลาที่เป็นฆราวาสอยู่นั้น ท่านได้ใช้เวลาอยู่กับการคร่ำเคร่งวิชาเพื่อหาความรู้ใน ศาสตร์ต่างๆเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาที่ไหนดีที่ไหนเด่นก็ไปร่ำเรียนศึกษาอยู่หลายๆปีจนท่านสำเร็จได้แก่วิชา
    เลื่อน ดำหนูอินทร์ วิชาทำตระกรุจากหมอวรรณ เพ็งแก้ว และวิชาราหูค้นทรัพย์หรือ
    วิชากะลาหมุนจากหมอขำ ดำลม วิชาต่างๆเหล่านี้จึงทำให้ท่านได้รับคำกล่าวขานจากชาวบ้านกลายเป็น “หมอเงิน”ซึ่งท่านเป็นที่พึ่งของชาวบ้านที่ยากจนในพื้นที่ในละแวกนั้น ต่อมาด้วยท่านอยากจะแตกฉานในวิชาต่างๆของเวทศาตร์ทางธรรมะด้านบรรพชิตจึงได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อจุล วัดลานแซะ จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านเมตตามหานิยม ในความเก่งกาจของ “หลวงพ่อจุล’’ โดยเฉพาะเรื่องยันต์ ถ้าบ้านไหนร้านค้าใดติดผ้ายันต์หลวงพ่อจุล เป็นต้องค้าขายดีมีกำไรทุกราย เคล็ดลับสุดยอดวิชาเสกผ้ายันต์มหาเสน่ห์ เมตตามหานิยม ค้าขายดี ได้ถูกถ่ายทอดมาสู่ศิษย์รักที่ชื่อหลวงพ่อเงินจนหมดสิ้น และได้รับความนิยมนับถือจากชาวบ้านมาตลอดจนได้รับ
    ฉายาของหลวงพ่อเงินว่า “เทพเจ้ากะลาหมุน” จนได้มีชื่อเสียงโด่งดังในพิธีกรรมของท่าน ขยายวงกว้างออกไปต่างพื้นที่และออกนอกไปไกลถึงต่างแดนโดยเฉพาะชาวมาเลเชียเชื้อสายจีนที่มาทำบุญที่วัดอย่างไม่ขาดสายเป็นอยู่ประจำ โดยเลื่อมใสในพิธีกรรมมีความเชื่อในด้านโชคลาภ เรียกทรัพย์ โภคทรัพย์ เมตตามหานิยมเป็นต้น

    คุณduke2513 ปิดครับ
    IMG_20181115_210240.jpg IMG_20181115_210253.jpg IMG_20181115_210229.jpg 052600_hZLUx.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2019
  13. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่866 เหรียญพัดยศหลวงปู่รุ่ง วัดท่ากระบือ เนื้อทองแดงรมดำ กล่องเดิม
    ปิดครับ
    IMG_20181115_204331.jpg IMG_20181115_204320.jpg IMG_20181115_204306.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2019
  14. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่867 พระผงรุ่นปลอดโรค(หมอชีวกโกมารภัจจ์.) ลป.ธรรมรังษี วัดพระพุทธบาทเขาพนมดิน จ.สุรินทร์ พ.ศ.๒๕๔๒ ขนาดพิมพ์ใหญ่(สูงประมาณ ๓.๔ ซม.)
    ***บรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ (อ่านว่า ชี-วะ-กะ-โก-มา-ระ-พัด) หรือที่มักคุ้นกันในนาม พ่อปู่ชีวกโกมารภัจจ์ บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ (แพทย์แผนไทย) ที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วหล้า โดยเฉพาะผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ด้วยเชื่อว่าบารมีของท่านจะช่วยให้หายเจ็บไข้ได้ตามแรงอธิษฐาน จึงมักนิยมจัดสร้างเป็นวัตถุมงคล ทั้งขนาดบูชา พระเครื่อง และเหรียญ เพื่อไว้สักการะขอพรให้หายจากโรคาพยาธิทั้งโรคกายและโรคกรรม

    ***หลวงปู่ธรรมรังษี " ท่านเจ้าคุณสองแผ่นดิน "
    หลวงปู่ธรรมรังษี “ พระมงคงรังษี ” มีนามเดิมว่า นายสุวัฒน์ เซ็ง เกิดเมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๔๖๒ ณ ตำบลเกีย อำเภอโมงฤษี (อำเภอโมงรือแซ็ย ในปัจจุบัน) จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา เมื่อปฐมวัยได้ศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ (เทียบเท่าชั้น ป.๔ ของไทย) เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ๑ พรรษา แล้วลาสิกขาออกมาช่วยบิดา-มารดา ทำงานจนอายุครบ ๒o ปี บริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๘๑ ณ วัดเวฬุวนาราม ตำบลเกีย อำเภอโมงรือแซ็ย จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดยมีพระสุวัณณเถระเป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุวัณณปัญโญเป็นพระกัมวาจาจารย์ พระจันทัตตเถระเป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาธรรมว่า “ ธรรมรังษี ” หลวง ปู่ธรรมรังษีเป็นพระที่มีใจใฝ่ปฏิบัติสมาธิภาวนา และกรรมฐาน ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กับการศึกษาพระเวทวิทยาคมจากพระเกจิอาจารย์ หลายรูปในประเทศกัมพูชาตลอด ๓๕ พรรษา จนมีวิชาแก่กล้าแตกฉานและเชี่ยวชาญหลายแขนงเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน และจังหวัดใกล้เคียงในประเทศกัมพูชาในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ในขณะนั้นหลวงปู่ได้รับสมณศักดิ์ เป็น “ พระครูธรรมรังษี “ เป็นเจ้าคณะอำเภอโมงรือแซ็ย

    ***บรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและมีชื่อเสียงมากในครั้งพุทธกาล เรื่องราวขีวิตของท่านมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา ตลอดชีวิตของท่านบำเพ็ญแต่คุณงามความดี ช่วยเหลือผู้เจ็บไข้โดยไม่เลือกฐานะ จนได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า ‘เป็นเอตทัคคะ’ ผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งปวงในทางเป็นที่รักของปวงชน
    บรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ ถือกำเนิดที่เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เป็นบุตรของนางคณิกา (หญิงงามเมือง) ชื่อว่า ‘สาลวดี’ แต่ไม่รู้จักมารดาบิดาของตน เพราะเมื่อนางสาลวดีมีครรภ์ เกรงค่าตัวจะตกจึงเก็บตัวอยู่ ครั้นคลอดแล้วก็ให้คนรับใช้เอาทาร ไปทิ้งที่กองขยะ แต่พอดีเมื่อถึงเวลาเช้าตรู่’ เจ้าชายอภัย’ โอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสาร จะไปเข้าเฝ้าฯ เสด็จผ่านไปเห็นการุมล้อมทารกอยู่ เมื่อทรงทราบว่าเป็นทารกและยังมีชีวิต อยู่ จึงได้โปรดให้นำไปให้นางนมเลี้ยงไว้ในวัง ประทานนามว่า “ชีวก” แปลว่า ยังเป็นอยู่หรือยังมีชีวิตอยู่ และมีสร้อยนามว่า “โกมารภัจจ์” อันหมายถึง ผู้อันพระราชกุมารเลี้ยง
    ครั้นเจริญวัยขึ้น พอจะทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้า ก็คิดแสวงหาศิลปวิทยาไว้เลี้ยงตัว จึงได้เดินทางไป ศึกษาวิชาแพทย์กับอาจารย์แพทย์ทิศาปาโมกข์ ที่เมืองตักสิลา ศึกษาอยู่ 7 ปี อยากทราบว่าเมื่อใดจะเรียนจบ อาจารย์ให ถือเสียมไปตรวจดูทั่วบริเวณ 1 โยชน์รอบเมืองตักสิลา เพื่อหาสิ่งที่ไม่ใช่ตัวยา ชีวกหาไม่พบ กลับมาบอกอาจารย์ ๆ ว่า สำเร็จการศึกษามีวิชาพอเลี้ยงชีพแล้ว และมอบเสบียงเดินทางให้เล็กน้อย ชีวกเดินทางกลับยังพระนครราชคฤห์เมื่อ เสบียงหมดในระหว่างทาง ได้แวะหาเสบียงที่เมือง สาเกต โดยไปอาสารักษาภรรยาเศรษฐีเมืองนั้นซึ่งเป็นโรคปวดศีรษะมา 7 ปี ไม่มีใครรักษาหาย ภรรยาเศรษฐีหายโรคแล้ว ให้รางวัลมากมาย หมอชีวกได้เงินมา 16,000 กษาปณ์ พร้อมด้วยทาสทาสีและรถม้าเดินทางกลับถึงพระนครราชคฤห์ นำเงินและของรางวัลทั้งหมดไปถวายเจ้าชายอภัยเป็น ค่าปฏิการะคุณที่ได้ทรงเลี้ยงตนมา เจ้าชายอภัยโปรดให้หมอชีวกเก็บรางวัลนั้นไว้เป็นของตนเอง ไม่ทรงรับเอา และ โปรดให้หมอชีวกสร้างบ้านอยู่ในวังของพระองค์ ต่อมาไม่นานเจ้าชายอภัยนำหมอชีวกไปรักษาโรคริดสีดวงงอกแด่ พระเจ้าพิมพิสาร จอมชนแห่งมคธทรงหายประชวรแล้ว จะพระราชทานเครื่องประดับของสตรีชาววัง 500 นางให้ เป็นรางวัล หมอชีวกไม่รับ ขอให้ทรงถือว่าเป็นหน้าที่ของตนเท่านั้น พระเจ้าพิมพิสารจึงโปรดให้หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำพระองค์ ประจำฝ่ายในทั้งหมด และประจำพระภิกษุสงฆ์อันมี ‘พระพุทธเจ้า’ เป็นประมุข
    หมอชีวกได้รักษาโรคร้ายสำคัญหลายครั้ง เช่น ผ่าตัดรักษาโรคในสมองของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ ผ่าตัดเนื้องอกในลำไส้ของบุตรเศรษฐี เมืองพาราณสี รักษาโรคผอมเหลืองแด่พระเจ้าจัณฑปัชโชตแห่งกรุงอุชเชนี และถวายการรักษาแด่พระพุทธเจ้าใน คราวที่พระบาทห้อพระโลหิต เนื่องจากเศษหินจากก้อนศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาจากภูเขา เพื่อหมายปลงพระชนม์ชีพ หมอชีวกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้าปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ 2-3 ครั้ง เห็นว่าพระเวฬุวันไกลเกินไปจึงสร้างวัดถวายใน ‘อัมพวัน’ คือสวนมะม่วงของตน เรียกกันว่า “ชีวกัมพวัน” (อัมพวัน ของหมอชีวก) เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเริ่มน้อมพระทัยมาทางศาสนา หมอชีวกก็เป็นผู้แนะนำให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
    ด้วยเหตุที่ หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำคณะสงฆ์ และเป็นผู้มีศรัทธาเอาใจใส่เกื้อกูลพระสงฆ์มาก จึงเป็นเหตุให้ มีคนมาบวชเพื่ออาศัยวัดเป็นที่รักษาตัวจำนวนมาก จนหมอชีวกต้องทูลเสนอพระพุทธเจ้าให้ทรงบัญญัติข้อ ห้ามมิให้รับบวชคนเจ็บป่วยด้วยโรคบางชนิด นอกจากนั้นหมอชีวกได้กราบทูลเสนอให้ทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ เพื่อเป็นที่บริหารกายช่วยรักษาสุขภาพของภิกษุทั้งหลาย หมอชีวกได้รับพระดำรัสยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาอุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล

    พระคาถาบูชา บรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสะฯ (3 จบ)
    “โอม นะโม ชีวะโก สิระสา อะหัง กะรุณิโก สัพพะสัตตานัง
    โอสะถะ ทิพพะมันตัง ปะภาโส สุริยาจันทัง โกมาระภัจโจ
    ปะกาเสสิ วันทามิ ปัณฑิโต สุเมธะโส อะโรคา สุมะนา โหมิ”

    ข้าพเจ้า ขอกราบไหว้นมัสการบูชาต่อองค์บรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ หมอหลวงประจำองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล ข้าพเจ้า (ชื่อ – นามสกุล) ขอตั้งจิตอธิษฐานกราบไหว้บูชาด้วย ความเคารพ โดยน้อมระลึกถึงองค์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เป็นที่ตั้ง ดุจดั่งที่บรมครูหมอ มีศรัทธาเป็นมั่นคงต่อองค์พระสัมมาในสมัยพุทธกาล ขอบารมีของบรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ ให้บรรดา โรคร้ายภัยเวรที่เกิดขึ้นในร่างกาย บรรดาโรคร้ายภัยเวรที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ ที่ทำให้เป็นทุกข์ และโรคร้าย ภัยเวรอันเกิดจากโรคเวรโรคกรรมทั้งหมดทั้งมวลนั้น ทำให้เกิดความทุกข์กายทุกข์ใจแก่ข้าพเจ้า บิดามารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้มีพระคุณ ญาติสนิท มิตรสหายของข้าพเจ้า จงมลายหายสิ้นไปด้วยบารมีของ บรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ บารมีของบรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ จงคุ้มครองพิทักษ์รักษาข้าพเจ้า (ชื่อ – นามสกุล) ไปตลอดปี ตลอดไป
    ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอให้ประสบความสุขความเจริญ สุขภาพแข็งแรง สุขภาพกาย สุขภาพใจ มีความสมบูรณ์เป็นสุข ดุจดั่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “อะโรคะยา ปะระมาลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอัน ประเสริฐ ขอให้ความมีลาภอันประเสริฐ จงบังเกิดขึ้นตามคำอธิษฐานของข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ
    สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิลาโภ ชะโยนิจจัง ภะวะตุสัพพะทา

    ปิดครับ
    IMG_20181115_210336.jpg IMG_20181115_210323.jpg 1691-1c62.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2019
  15. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่868 หัวใจนกสาริกาคู่ หลังยันต์นะอกแตก หลวงปู่ข้าวแห้ง วัดตาปันศรัทธาธรรม สุรินทร์ ปี2555 เนื้อผงเหล็กไหล ว่านไพลดำ ขนาด 2.5 ซม. มีเกสา (ศิษย์หลวงปู่สรวง)
    ***ปลุกเสกรวมเกจิอาจารย์เมืองสุรินทร์, ศรีสะเกษ
    ***เสริมดวงมหาเสน่ห์ เมตตามหานิยม ความรัก หรือพ่อค้า แม่ค้าที่ต้องการเพิ่มยอดขาย โชคลาภเงินทอง
    ปิดครับ
    IMG_20181116_214151.jpg IMG_20181116_214137.jpg IMG_20181116_214125.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2019
  16. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่869 ชานหมากหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ
    หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี หรือสุสานทุ่งมน จังหวัดสุรินทร์ ถือว่าเป็นพระเกจิอาจารย์แห่งแดนอีสานใต้ที่ผู้คนให้ความเคารพนับถืออย่างมากเนื่องจากท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูงทั้งต่อมนุษย์และสรรพสัตว์ ชอบช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติโยมและสัตว์ทั้งหลาย จึงเชื่อกันว่า ท่านคือพระโพธิสัตว์ แม้ปัจจุบันท่านจะละสังขารไปแล้วก็ตามแต่สาธุชนยังให้ความเคารพศรัทธาอย่างไม่เสื่อมคลาย

    วัตถุมงคลของท่านหลากหลายรุ่นได้สร้างประสบการณ์ให้เกิดแก่ผู้บูชา และหนึ่งในนั้น คือ ชานหมาก หลวงปู่หงษ์ ที่นับได้ว่าเป็นของหายากในปัจจุบัน มีอานุภาพหลากหลายประการ โดยเฉพาะด้านเมตตามหานิยมที่โดดเด่นอย่างมาก เสริมมงคลในทุกๆด้าน ทำให้หลายคนนิยมสะสมบูชาไว้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

    สำหรับ“ชานหมาก” นั้น แท้จริงแล้วเป็นเปลือกของหมากที่ติดอยู่กับตัวเนื้อหมาก พระเกจิอาจารย์ท่านจะฉันกับใบพลูและปูนแดง โดยมีการบริกรรมเสกเป่าหมากพลูเสียก่อน เพื่อให้การฉันหมากเป็นยา หากแต่ในพระเกจิอาจารย์บางท่านก็จะทำการบริกรรมปลุกเสกร่ายอาคมต่างๆกำกับเข้าไปด้วย เพื่อให้ชานหมากมีอานุภาพตามที่ต้องการ ว่ากันว่าโดยทั่วไปแล้ว ชานหมากมักจะมีอานุภาพด้านเมตตามหานิยมที่โดดเด่น และยังมีอานุภาพด้านแคล้วคลาด ป้องกันเขี้ยวงา ศาตราวุธทั้งหลายอีกด้วย ในบางครั้งที่สานุศิษย์ไปกราบพระเกจิอาจารย์ ท่านก็จะเมตตาเคี้ยวหมากพร้อมบริกรรมปลุกเสกให้อีกด้วย
    ปิดครับ
    IMG_20181116_214401.jpg IMG_20181116_214351.jpg IMG_20181116_214338.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2020
  17. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่870 พระปิดตา รุ่นเมตตา หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์ ปี2533 (รุ่นสุดท้ายก่อนหลวงปู่ละสังขาร)
    “หลวงปู่สาม อกิญฺจโน” อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าไตรวิเวก ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระป่าปฏิบัติศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่ดูลย์ อตุโล และหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม หลวงปู่สาม มีนามเดิมว่า สาม เกษแก้วสี เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ตรงกับเดือนกันยายน พ.ศ. 2443 ณ บ้านนาสาม ต.นาบัว อ.เมือง จ.สุรินทร์ โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายปวม และนางถึง เกษแก้วสี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 11 คน ท่านเป็นบุตรคนโต (หัวปี)

    ชีวิตในวัยเด็กนั้นสุดแสนยากลำบาก เพราะท่านต้องทำงานทุกอย่าง ลักษณะคล้ายผู้หญิงด้วยว่า น้องๆ ของท่านเป็นผู้ชายเสียหมด ไม่มีผู้หญิงเลย เมื่ออายุ 19 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร สายมหานิกาย ณ วัดบ้านนาสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านเกิดของท่าน จนกระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูวิมลศีลพรต เป็นพระอุปัชฌาย์

    ภายหลังอุปสมบท ท่านได้มุ่งมั่นศึกษาพระธรรมวินัย ต่อมาใน พ.ศ. 2467 เมื่อทราบข่าวและกิตติศัพท์ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่าได้กลับจากธุดงค์และจำพรรษาที่วัดป่าหนองเสม็ด ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์ จึงได้ไปกราบขอฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน หลวงปู่ดูลย์ เห็นถึงความตั้งใจและความพากเพียรที่จะเอาดีทางด้านประพฤติปฏิบัติของศิษย์ จึงแนะนำให้ไปศึกษาธรรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่จังหวัดสกลนคร

    ท่านจึงกราบลาออกเดินธุดงค์รอนแรมไปท่ามกลางป่าเขาเป็นเวลาหลายเดือน กว่าจะได้เข้านมัสการหลวงปู่มั่น แล้วท่านก็ได้พักปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่น 3 เดือน ภายหลังจากสามเดือนผ่านไป หลวงปู่มั่นได้แนะนำให้หลวงปู่สาม ไปพบกับหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม เพื่อเป็นพระผู้ฝึกฝนอบรมสั่งสอนต่อไป

    ในปีที่มาอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่สิงห์นั้น ท่านได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจอยู่กับการปฏิบัติจนต้องล้มป่วยอย่างหนักเกือบเสีย ชีวิต แต่ด้วยจิตใจเข้มแข็งแรงกล้าในธรรมะของพระศาสดา พร้อมกับได้เห็นความจริงที่เกิดขึ้นภายในใจ ท่านไม่ยอมละลดต่อสู้กับโรคภัยนั้น ชนิดผอมหนังหุ้มกระดูก ต้องอาศัยกำลังใจ และไม้เท้ายันตัวเดิน ท่านเคยเล่าไว้ตอนหนึ่งว่า “เรานักต่อสู้ลูกพระพุทธเจ้า ถ้ามันยังไม่ตายยังหายใจอยู่ แม้ขาเดินไม่ได้เอาไม้เท่าเดินก็ต้องยอมตายกับความดีงามนะพวกเธอ” ครั้นได้พบหลวงปู่มั่นและหลวงปู่สิงห์ และหลวงปู่ทั้งสองได้รับตัวท่านไว้เป็นศิษย์ ให้การอบรมสั่งสอนแล้ว ท่านจึงกราบลาไปจำพรรษาที่จังหวัดสุรินทร์

    หลวงปู่สาม เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านไม่ค่อยยอมอยู่กับที่ จะอยู่ก็เพียงเข้าพรรษา หรือขออุบายธรรมจากครูบาอาจารย์ชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น ท่านก็จะเดินธุดงค์ต่อไปตั้งแต่เหนือจดใต้จากภาคกลางจดภาคตะวันออก ภาคอีสานทั้งหมด ท่านเป็นพระนักธุดงค์กรรมฐานที่มีความมานะอดทนเป็นพิเศษ

    ท่านถือคติที่ว่า “ท่านเป็นศิษย์ของพระตถาคต แม้ยังมีลมหายใจอยู่ ก็ต้องสู้กันให้ถึงที่สุด” หลวงปู่สิงห์ได้ชี้แนะให้ท่านไปธุดงค์ฝึกจิตกัมมัฏฐาน เทศนาสั่งสอนญาติโยม ร่วมกับพระอาจารย์ลี ธัมมธโร ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อถึงช่วงออกพรรษา หลวงปู่สาม จะเสาะหาสถานที่วิเวกตามป่าเขา เพื่อประกอบความเพียร เมื่อเดินทางกลับทุกครั้ง หลวงปู่สามจะไปพบหลวงปู่ดูลย์ ที่วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ เพื่อช่วยบูรณะสร้างอุโบสถ และได้ไปธุดงค์ในภาคตะวันออก เช่น จันทบุรี ระยอง เป็นต้น ตั้งแต่สมัยเป็นพระภิกษุหนุ่มจนเข้าสู่วัยชรา ท่านได้ต่อสู้ชีวิตทุ่มเทกับการปฏิบัติมาอย่างโชกโชน ท่านเพ่งเพียรภาวนาอยู่เป็นนิจ ครั้นมาปรารภกับตนเองว่า “บัดนี้กำลังกายของเราก็อ่อนแอลงไปมากแล้ว น่าจะกลับมาอยู่ถิ่นเดิม คือในจังหวัดสุรินทร์ นอกจากนี้แล้วก็ยังจะได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ คือหลวงปู่ดูลย์ อีกทั้งมารดาของท่านก็ได้ชราภาพมากแล้ว เป็นโอกาสอันดีที่จะได้นำธรรมะที่ท่านได้รับมาทั้งหมดเผยแผ่แก่บรรดาสาธุชน ต่อไปอีกด้วย” หลวงปู่สาม จึงได้เดินทางกลับจังหวัดสุรินทร์ตั้งแต่บัดนั้น

    ท่านเคยเล่าเหตุการณ์ของพระธุดงค์สมัยก่อนนั้นว่า “สมัยโน้นพระธุดงค์ก็ลำบาก ชาวบ้านก็ลำบาก เพราะไม่เจริญอย่างปัจจุบันนี้นะ แต่มีความเพียรแรงกล้า มุ่งอรรถมุ่งธรรมกันจริงๆ มาสมัยนี้หละหลวมไม่เอาดีเลย สอนแล้วก็ลืม…ลืมปฏิบัติกัน !” ต่อมา พระอาจารย์ลี ธัมมธโร แจ้งให้ทราบว่า หลวงปู่มั่นจำพรรษาที่จังหวัดสกลนคร จึงพากันเดินทางไปขอคำปรึกษาข้อปฏิบัติธรรมที่ติดขัด หลวงปู่มั่นแนะให้ไปฝึกกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่วัดหินหมากเป้ง ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย เมื่อทราบว่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้ถึงแก่มรณภาพลงที่จังหวัดสกลนคร หลวงปู่เทสก์, หลวงปู่ดูลย์, หลวงปู่แหวน, หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่สาม, พระอาจารย์ลี, พระอาจารย์อ่อน, พระอาจารย์วัน และพระอาจารย์จวน ไปร่วมจัดงานบุญให้หลวงปู่มั่น

    หลวงปู่สาม อกิญฺจโน ท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย บ่อยครั้งเกิดอาการอาพาธ ต้องเข้า-ออกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จนกระทั่งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หลวงปู่สามได้มรณภาพลงอย่างสงบ สิริอายุรวม 91 พรรษา 71 ท่ามกลางความเศร้าสลดของคณะศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก

    ปิดครับ
    IMG_20181118_203157.jpg IMG_20181118_203147.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2019
  18. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่871 พระกริ่งมหามงคล รุ่น ๑ วัดทุ่งครุ ก.ท.ม ปี2550
    ***“พระกริ่ง” บูชาเพื่อให้เกิดคุณด้านความเจริญรุ่งเรือง เกิดผลในทางคุ้มครองรักษา และมีประวัติว่าได้เคยมีการอาราธนาคุณพระกริ่งทำน้ำมนต์ เพื่อปัดเป่าทุกข์โศกโรคภัยร้ายแรง

    ***“พระกริ่ง” คือ พระไภษัชยคุรุพระพุทธเจ้า พระองค์เป็นที่นับถือของปวงพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน มีพระประวัติในพระสูตรสันสกฤตสูตรหนึ่ง คือ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา ราชามูลประณิธานสูตร และ มหาปณิธาน 12 ประการ อันเป็นคุณอันวิเศษที่ผู้ใดก็ตาม ได้ครอบครองหรือบูชา “พระกริ่ง” ด้วยความเลื่อมใส หรือเอ่ยพระนาม รำลึกถึงพระองค์ จะได้รับอานิสงส์แห่งการบูชามีดังต่อไปนี้

    1.ขอให้สรรพสัตว์จงมีวรกายดุจเดียวกับพระองค์
    2.ขอให้วรกายของพระองค์มีสีสันดุจไพฑูรย์ มีรัศมีรุ่งโรจน์โชตนาการยิ่งกว่าแสงอาทิตย์และแสงจันทร์ เพื่อส่องทางให้สัตว์ที่หลงในอบายคติพ้นไปสู่คติที่ชอบ
    3.ขอให้สรรพสัตว์ได้รับโภคสมบัตินานาประการ อย่าได้มีความยากจนใดๆ
    4.หากสรรพสัตว์ใดมีมิจฉาทิฐิ ขอให้พระองค์ทำให้เขาตั้งมั่นในสัมมาทิฐิในโพธิมรรค
    5.หากสรรพสัตว์ใดประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยแห่งพระองค์ขอให้อย่าได้มีศีลวิบัติ หากมีศีลวิบัติ เมื่อได้สดับพระนามแห่งพระองค์จงบริสุทธิ์บริบูรณ์
    6.หากสรรพสัตว์ใดมีรูปกายไม่งาม ผิวไม่ผ่องใส โง่เขลาเบาปัญญา ตาบอด หูหนวก เป็นใบ้ หลังค่อม สารพัดพยาธิทุกข์ต่างๆ เมื่อได้สดับพระนามแห่งพระองค์ขอให้หายและหลุดพ้นจากปวงทุกข์เหล่านั้น มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ผิวกายผ่องใส
    7.ขอให้สรรพความเจ็บป่วยทั้งหลายจงหมดไป และขอให้สรรพสัตว์เป็นผู้มีกายใจอันผาสุก มีบ้านเรือนอาศัย พรั่งพร้อมด้วยธนสารสมบัติ จนที่สุดสำเร็จแก่พระโพธิญาณ
    8.หากอิสตรีใดเบื่อหน่ายในเพศแห่งตน เมื่อสดับพระนามแห่งพระองค์ จักสามารถเปลี่ยนเพศจากหญิงเป็นชาย จนที่สุดสำเร็จแก่พระโพธิญาณ
    9.ขอให้สัตว์ทั้งหลายหลุดพ้นจากข่ายแห่งมาร และตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิได้
    10. หากสรรพสัตว์ใดต้องพระราชอาญา ต้องคุมขัง หรือต้องอาญาถึงประหารชีวิต ตลอดจนได้รับการดูหมิ่นดูแคลน หากเอ่ยพระนามแห่งพระองค์และอาศัยบารมีและคุณาภินิหาริย์ของพระองค์ ขอสัตว์เหล่านั้นจงหลุดพ้นจากปวงทุกข์
    11. ขอให้สัตว์ทั้งหลายบริบูรณ์ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค มีความอิ่มหนำสำราญ
    12. ขอให้สัตว์ทั้งหลายบริบูรณ์ด้วยสรรพอาภรณ์ เครื่องประดับ ธนสารสมบัติและเครื่องบำรุงความสุขต่างๆ

    ด้วยมหาปณิธานทั้ง 12 ประการนี้ เพียงเอ่ยหรือได้ยินพระนาม “พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต” หรือ “พระกริ่ง” ยิ่งได้ศรัทธา เลื่อมใส มีไว้ครอบครองบูชา จะยิ่งทำให้มีความสุข ความเจริญ รุ่งเรือง นับเป็นคุณอันวิเศษยิ่งนัก เหล่านี้คือ “บารมีแห่งพระกริ่ง”

    ปิดครับ
    IMG_20181118_203135.jpg IMG_20181118_203126.jpg IMG_20181118_203117.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2020
  19. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่872 พระผงหลวงปู่สรวงวัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ รุ่นแซยิด77ปี ตอกโค๊ดด้านหลัง
    พระครูสุทธิวราภรณ์ (หลวงปู่สรวง วรสุทโธ) เจ้าอาวาสวัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี หรือ หลวงปู่สรวง วรสุทฺโธ นามเดิม สรวง นามสกุล พรหมสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2476 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา ณ บ้านเลขที่ 1 หมู่ 10 บ้านน้อยนาเวิน ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญ)

    ตัดสินใจอุปสมบทตามเพื่อนครั้งที่ 1 ณวัดศรีบุรีรัตนาราม ตำบลปากเพียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี เมื่อ พ.ศ. 2496 อายุ 20 ปีบริบูรณ์ เพื่อถวายเป็นพระราชชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสเสด็จนิวัติกลับประเทศไทยหลังจากเรียนจบจากประเทศอังกฤษ แล้วได้แยกกันไปจำพรรษา ณ วัดบ้านพึ่ง อำเภอ เดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี มีโอกาสได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงปู่แขม หลวงปู่แขมได้สอนวิชาอาคมต่างๆ อยุ่จวบจนตลอดพรรษา พ.ศ.2497 ปลายปีออกพรรษาเสร็จก็ได้ลาสิกขาและได้ไปทำงานต่อที่กรุงเทพฯ

    หลังจากลาสิกขาแล้วก็ไดไปทำงานต่อที่กรุงเทพฯ ใช้ชีวิตในวัยหนุ่มอย่างสนุกสนานไม่ได้สนใจอะไรเที่ยวเล่นไปวันๆ ด้วยความที่เคยบวช และมีอุปนิสัยในการบวช อยู่มาวันหนึ่งก็เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส เบื่อหน่ายในหน้าที่การงาน ชีวิตเรานอกจากจะกินเที่ยวแล้วก็หาสาระแก่นสาระอะไรไม่ได้เลย ไม่มีคุณค่าและความหมายสมกับได้เกิดมา มีแต่ชักนำไปในทางที่ผิดมีแต่คิดไปในสิ่งที่ตกต่ำ ต่อไปนี้สิ่งใด ที่มันอยากทำเราก็จะไม่ทำ สิ่งไหนที่มันต้องการมากๆ เราก็จะไม่หามาให้มันลองดูสิทำไม่มันหลงมัวเมาอยู่อย่างนี้พอหนักๆ เข้ามันหลายปีก็มาหวนคิดอยากบวชให้โยมพ่อโยมแม่

    พ.ศ. 2500 ได้เข้าพิธีอุปสมบทโดยมีเจ้าอธิการคำ อิณณมุตโต วัดบางชะแงะ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนเข้าพรรษาได้ลาญาติโยมไปจำพรรษากับหลวงปู่แขม ที่วัดสำเภาร่ม อำเภอเดิมบางยางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะยังมีความสนใจในสรรพเวทย์วิทยาคมต่างๆ ตามประสาความนิบมของคนในสมัยนั้น ได้จำพรรษากับหลวงปู่แขม 2 พรรษาแล้วได้ตัดสินใจกราบลาหลวงปู่แขมเพออกเดินธุดงคืไปหาพระอาจารย์ฝ่าย กรรมฐาน และตั้งใจจะไปหาพระเอาจารย์จวนซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น และหลวงปู่คำบุ ธมมธโร ซึ่งท่านเป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์จวนซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ซึ่งท่านมึความชำนาญในเรื่องการฝึกกรรมฐาน และจาริกธุดงค์ หลวงปู่สรวงท่าน ได้มาพักปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่คำบุอยู่ป่าช้าใกล้บ้านเหล่าขวาวเป็นป่าดง ใหญ่ซึ่งอยู่ติดกับเขตบ้านโคกเลาะและบ้านเหล่าขวาว ก่อนเข้าพรรษาในปีนั้นได้อำลาญาติโยมออกธุดงค์ไปพร้อมกับพระอาจารย์คำบุ เพื่อไปหาพระอาจารย์จวน ณ ถ้ำจันทร์ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย

    พ.ศ.2502 อายุ 24 ปี พรรษา 1 ได้ญัตติใหม่เป็นธรรมยุค ณ วัดประชานิยม ตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างดินแดน จังหวัดสกลนครเพื่อศึกษาในด้านกรรมฐานแล้วได้ออกธุดงค์ไปหาหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกองเพล

    พ.ศ.2503-พ.ศ.2507 อายุ 27-31 ปี พรรษ 2-6 จำพรรษาที่วัดโพนเมืองน้อยและวัดป่าบ้านเหล่าขวาว ตำบลโพนเมืองน้อย จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญ) กลับมาจำพรรษาอยู่ที่บ้านเพื่ออยู่อุปการะโยมแม่ซึ่งแก่ชรา แล้วนำญาติโยมชาวบ้านก่อสร้างศาลาการเปรียญ และเสนาสนะต่างๆ อีกเป็นจำนวนมากเช่น ศาลาบ้านโพนเมืองน้อย ศาลาบ้านเหล่าขวาว และศาลาบ้านโคกเลาะ เป็นต้น ในระหว่างออกพรรษาของแต่ละปีหลวงปู่จะออกธุดงค์ไปหาครูบาอาจารย์และได้ร่วม เดินไปด้วยกัน 4 องค์คือ พระอาจารย์จวน พระอาจารย์วัน พระอาจารย์คำบุ พระอาจารย์สิงห์ทอง และบางครั้งก็เดินธุดงค์ไปพร้อมกับ พระอาจารย์วัน อุตตโม เพียงสององค์

    จนถึงปัจจุบันหลวงปู่สรวง วรสุทฺโธ ได้นำญาติโยมซึ่งเป็นชาวบ้านและคณะญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาจากจังหวัดต่างๆ และกรุงมหานครฯ ส้รางอุโบสภและศาลาการเปรียญ วัดโคกเลาะ โดยมีพระครูปิยวรธรรม เจ้าอาวาสสัดโคกเลาะ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ยุคแรกๆ ของหลวงปู่สรวง นำญาติโยมสร้างอุโบสถและศาลาการเปรียญวัดเหล้าขวาว โดยมีพระครูคุณวิริยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเหล่าขวาว และนำญาติโยมบูรณะอุโบสถและปิดทองพระประธานในอุโบสถวัดอำนาจ โดยมีพระครูสิริสีลวัตร เจ้าอาวาสวัดอำนาจ ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านโคกเลาะ จึงความใกล้ชิดเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า บ้านโพนเมืองน้อย บ้านโคกเลาะ และบ้านเหล่าขวาว ซึ่งมีความผูกพันทางสายเลือดดังจะเห็นได้จากการจัดงานในแต่ละครั้ง ณ วัดถ้ำพรมสวัสดิ์ ได้มีคณะสงฆ์และชาวบ้านจากจังหวัดอำนาจเจริญในการร่วมงานทุกครั้งจากอดีตจน ถึงปัจจุบันและหลวงปู่ก็ได้เมตตาอนุเคราะห์คณะลูกศิษย์ในการนำคณะญาติโบ มสร้างเนาสนะต่างๆ อย่างมากมายแค่วัดต่างๆ ในจังหวัดอำนาจเจริญ

    ปิดครับ
    IMG_20181120_223226.jpg IMG_20181120_223214.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2019
  20. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่873 พระผงหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม หลังยันต์ ขนาด 2.5*4 ซม.
    ***พุทธคุณครบเครื่องเรื่อง แคล้วคลาด คงกระพัน เมตตามหานิยม โชคลาภ
    ***ในหนังสือ “ประวัติหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ปี พ.ศ. 2490” ได้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อโต ของพระอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) ไว้ว่า
    “ถึงปีชวด พ.ศ. 2467 พระครูอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูสังฆรักษ์ ย้ายมาจากวัดปรินายกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ได้จัดการสร้างพระโตต่อมา โดยเป็นประธานบอกบุญเรี่ยไรจากประชาชนทั่วไป ผู้ช่วยเหลือที่เป็นกำลังสำคัญของท่านพระครูอินทรสมาจารที่ควรกล่าวให้ปรากฏ คือ เจ้าคุณและคุณหญิงปริมาณสินสมรรถ พระประสานอักษรกิจ สิบเอกอินทร์ พันธุเสนา และนางพลัด พันธุเสนา พระครูอินทรสมาจารทำการก่อสร้างอยู่ 4 ปี จึงสำเร็จสมบูรณ์ (สิ้นเงินประมาณ 10,000 บาท)”


    ***ตามประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) เป็นผู้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แต่ยังสร้างไม่เสร็จ คงสร้างค้างไว้เพียงถึงพระนาภี สูงประมาณ 9 วาเศษ พระครูจรรยานุกูล (หลวงปู่ภู) เจ้าอาวาสวัดอินทร์จึงดำเนินการสร้างต่อแต่ก็ยังไม่เสร็จ พระครูสังฆบริบาล (แดง) ได้สร้างเพิ่มเติมได้สร้างต่อจบเกือบเสร็จ ขาดเพียงยอดพระเมาลี ได้องค์พระสูงประมาณ 16 วา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) เจ้าอาวาสได้ดำเนินการสร้างต่อมา ใช้เวลา 4 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อย และได้จัดให้มีงานสมโภช เมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ทางวัดได้จัดให้มีงานนมัสการและปิดทองพระโต ในเดือนมีนาคม และกำหนดเป็นเทศกาลประจำปีสืบมา
    ปิดครับ
    IMG_20181120_223204.jpg IMG_20181120_223154.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...