ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย JitJailove, 10 กรกฎาคม 2012.

  1. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์
    วรรณนาอภิธรรมภาชนีย์


    พระศาสดาผู้มีพระญาณอันไม่มีอะไ<wbr>รขัดขวางในธรรมทั้งปวง ครั้น
    ทรงแสดงปัจจยาการอันปราศจากขอดป
    <wbr>ม และไม่ยุ่งยากในสุตตันตภาชนีย์ ด้วย
    อำนาจจิตต่าง ๆ ปานดังทรงคลี่ผืนมหาปฐพี และปานดังทรงขยายนภากาศ
    ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพราะปัจจยาการนี้จะมีในจิตต่าง
    <wbr> ๆ กัน อย่างเดียว
    เท่านั้นก็หาไม่ ย่อมมีแม้ในจิตดวงเดียวทีเดียว ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงปัจจยา-
    การซึ่งเกิดในขณะจิตดวงเดียวกัน
    <wbr> โดยประการต่าง ๆ ด้วยอำนาจอภิธรรม-
    ภาชนีย์จึงทรงตั้งมาติกาไว้ก่อน
    <wbr>โดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สํขาโร
    (สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจ
    <wbr>ัย) ดังนี้. ก็มาติกาที่ทรงตั้งไว้ อย่างนี้ว่า
    อวิชฺชาทีหิ มูเลหิ นว มูลปทา นว
    นยา ตตฺถ จตุกฺกานิ วารเภทญฺจ ทีปเย
    บัณฑิตพึงแสดงหมวด ๔ (แห่ง
    ปัจจัย) และประเภทแห่งวาระในนัยทั้ง ๙
    ซึ่งมีบทแห่งมูล ๙ ด้วยมูลทั้งหลายมีอวิชชา
    เป็นต้น.

    อธิบายนัยแห่งมาติกามีอวิชชาเป็
    <wbr>นมูล
    ในคาถานี้ มีการอธิบาย ดังต่อไปนี้:-
    จริงอยู่ ในปฏิจจสมุปบาทนี้มี ๙ นัย มีบทที่เป็นมูล ๙ บท เหล่านี้
    คือ มีอวิชชาเป็นต้น ๑ มีสังขารเป็นต้น ๑ มีวิญญาณเป็นต้น ๑ มีนาม



    เป็นต้น ๑ มีอายตนะที่ ๖ เป็นต้น ๑ มีผัสสะเป็นต้น ๑ มีเวทนาเป็นต้น ๑

    มีตัณหาเป็นต้น ๑ มีอุปาทานเป็นต้น ๑ ด้วยบทที่เป็นมูล ๙ บท มีอวิชชา
    เป็นต้น คือ โดยประเภทแห่งอวิชชา สังขาร วิญญาณ นาม อายตนะที่ ๖
    ผัสสะ เวทนา ตัณหา และอุปาทาน.
    บรรดานัยทั้ง ๙ เหล่านั้น นัยนี้ใดมีอวิชชาเป็นต้นก่อน ในนัยที่มี
    อวิชชาเป็นต้นนั้นมีจตุกะ ๔ คือ
    ปัจจยจตุกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยปัจจัยธรรม
    เหตุจตุกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยเหตุธรรม
    สัมปยุตตจตุกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยสัมปยุตธรรม
    อัญญมัญญจตุกะ หมวด ๔ กำหนดด้วยอัญญมัญญธรรม.
    แม้นัยที่เหลือก็เหมือนในนัยมีอ
    <wbr>วิชชานี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ในแต่ละนัย
    จึงรวมเป็น ๓๖ จตุกะ ด้วยอำนาจแห่งจตุกะ ๔. บรรดาจตุกะเหล่านั้น เพราะ
    รวมวาระอย่างละ ๔ ด้วยจตุกะแต่ละจตุกะ จึงเป็นวาระละ ๑๖ ในแต่ละนัย
    ด้วยอำนาจแห่งจตุกะทั้ง ๔ ดังนั้น พึงทราบว่าเป็น ๑๔๔ วาระแล.

    ว่าด้วยปัจจยจตุกะ

    บรรดาจตุกะทั้ง ๔ นั้น ปัจจยจตุกะในนัยมีอวิชชาเป็นมูล
    <wbr>ก่อนกว่านัย
    ทั้งหมดนี้ใด ในปัจจยจตุกะนั้น วาระที่หนึ่ง (บาลีข้อ ๒๗๔) ชื่อว่า ทวาท-
    สังคิกวาร (วาระประกอบด้วยองค์ ๑๒) ประกอบด้วยองค์สองไม่บริบูรณ์
    เพราะตรัสนามไว้ในที่แห่งนามรูป
    <wbr> และตรัสอายตนะที่ ๖ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะ.
    วาระที่ ๒ (บาลีข้อ ๒๗๕) ชื่อว่า เอกาทสังคิกวาร (วาระประกอบด้วย

    ๕๙๐ ๗๗.พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ ๗๗.พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ ๕๙๑


    องค์ ๑ ) ซึ่งประกอบด้วยองค์หนึ่งไม่บริบ
    <wbr>ูรณ์ เพราะตรัสนามอย่างเดียวในที่
    แห่งนามรูป และไม่ตรัสองค์อะไร ๆ ในที่แห่งสฬายตนะ. วาระที่ ๓ (บาลี
    ข้อ ๒๗๖) ชื่อว่า ทวาทสังคิกวาร (วาระประกอบด้วยองค์ ๑๒) ประกอบ
    ด้วยองค์หนึ่งบริบูรณ์ เพราะตรัสอายตนะที่ ๖ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะ แต่วาระ
    ที่ มีองค์ ๒ บริบูรณ์แล้วโดยแท้.
    ในข้อนั้น หากมีข้อสงสัยว่า แม้วาระที่ ๓ นี้ก็ประกอบด้วยองค์ที่ไม่
    บริบูรณ์เหมือนกัน เพราะตรัสว่า ฉฏฺายตนปจฺจยา ผสฺโส (ผัสสะเกิด
    เพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย) ดังนี้. ข้อนั้นขอเฉลยว่า มิใช่เป็นดังนั้น
    เพราะอายตนะที่ ๖ นั้นมิใช่เป็นองค์ ความจริง ผัสสะอย่างเดียวเป็นองค์ในวาระ
    ที่ ๓ นี้ มิใช่อายตนะที่ ๖ เป็นองค์ เพราะฉะนั้น วาระที่ ๓ นี้ มิใช่ประกอบ
    ด้วยองค์หนึ่งไม่บริบูรณ์ เพราะอายตนะที่ ๖ นั้น มิใช่เป็นองค์ฉะนี้แล. อนึ่ง
    ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า วาระที่หนึ่ง พระองค์ทรงถือเอา ด้วยอรรถว่าทรง
    รวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด วาระที่ ๒ ทรงถือเอาด้วยอรรถว่าเป็นความต่
    <wbr>างกัน
    แห่งปัจจัย วาระที่ ๓ ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้
    <wbr>เกิดในครรภ์ วาระที่ ๔
    ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้
    <wbr>เป็นโอปปาติกะ อนึ่ง วาระที่หนึ่งทรงถือเอาด้วย
    อรรถว่าการรวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด
    <wbr> วาระที่ ๒ ทรงถือเอาด้วยอรรถว่าความ
    ต่างกันแห่งปัจจัย วาระที่ ๓ ทรงถือเอาด้วยสามารถแห่งสัตว์มี
    <wbr>อายตนะไม่
    บริบูรณ์ วาระที่ ๔ ทรงถือเอาด้วยอำนาจแห่งสัตว์มีอ
    <wbr>ายตนะบริบูรณ์. อนึ่ง
    วาระที่หนึ่งทรงถือเอาด้วยอรรถว
    <wbr>่ารวบรวมองค์ทั้งหมดนั่นแหละ วาระที่ ๒
    ทรงถือเอาด้วยอำนาจมหานิทานสูตร
    <wbr> วาระที่ ๓ ทรงถือเอาด้วยอำนาจรูปภพ
    วาระที่ ๔ ทรงถือเอาด้วยอำนาจกามภพ.



    บรรดาวาระทั้ง เหล่านั้น วาระที่หนึ่ง ตรัสว่า สัพพสังคาหิกะ

    (รวบรวมองค์ไว้ทั้งหมด) เพราะในวาระทั้ง ๓ มีวาระที่ ๒ เป็นต้นเหล่านั้น
    จะไม่รวมเข้าไปในที่ไหน ๆ มิได้มี ความต่างกันแห่งวาระที่เหลือจัก
    <wbr>แจ่มแจ้ง
    ข้างหน้า. เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งวาระที่หน
    <wbr>ึ่งนั้น พึงทราบว่า
    องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ในวาระใดที่
    ตรัสโดยประการอื่นและแม้องค์ปฏิ
    <wbr>จจสมุป-
    บาทใด ที่ไม่ตรัสไว้ในวาระใด องค์ปฏิจจ-
    สมุปบาทใด เป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจสมุป-
    บาทใด โดยประการใด พึงเข้าไปกำหนด
    องค์ทั้งหมดนั้นแล.
    ในคาถานั้นมีนัย ดังต่อไปนี้:-
    ว่าโดยความไม่ต่างกันก่อน ถามว่า บรรดาวาระทั้ง ๔ เหล่านี้ พระ-
    ผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่า สํขารา (สังขารทั้งหลาย) ดังนี้ เหมือนในสุตตัน-
    ตภาชนีย์ แต่ตรัสว่า สํขาโร (สังขาร) ดังนี้นั้น เพราะเหตุไร ?
    ตอบว่า เพราะสังขารประกอบด้วยขณะแห่งจิ
    <wbr>ตดวงเดียว จริงอยู่ใน
    สุตตันตภาชนีย์นั้น ทรงจำแนกปัจจยาการอันเป็นไปในขณ
    <wbr>ะแห่งจิตต่าง ๆ กัน
    ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ ทรงปรารภปัจจยาการที่เป็นไปในขณ
    <wbr>ะเดียวกัน ก็ในขณะ
    แห่งจิตดวงเดียวกัน ย่อมไม่มีเจตนา (คือสังขาร) มาก จึงไม่ตรัสว่า สํขารา
    (สังขารทั้งหลาย) แต่ตรัสว่า สํขาโร (สังขาร คือ เจตนา) ดังนี้.
    อนึ่ง บรรดาวาระเหล่านี้ ในวาระที่หนึ่งทรงทิ้งรูปเสีย ตรัสว่า
    วิญฺาณปจฺจยา นามํ (นามเท่านั้นมีวิญญาณเป็นปัจจัย
    <wbr>) ดังนี้ เพราะทรง

    ๕๙๒ ๗๗.พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ ๗๗.พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ ๕๙๓


    รวบรวมธรรมที่นับเนื่องในขณะแห่
    <wbr>งจิตดวงเดียว และเพราะเป็นธรรมสาธา-
    รณะไปในที่ทุกสถาน จริงอยู่ นามธรรมนั้นนับเนื่องในขณะจิตดว
    <wbr>งเดียวกัน
    และเป็นธรรมสาธารณะไปในที่ทั้งห
    <wbr>มด ย่อมไม่เป็นไปในฐานะแห่งความเป็<wbr>นไป
    ของวิญญาณ ในที่ไหน ๆ หามิได้ ก็เพราะวาระที่หนึ่งนี้ ผัสสะก็มีหนึ่งเท่านั้น
    นับเนื่องเข้าในขณะแห่งจิตดวงเด
    <wbr>ียวกัน ฉะนั้น เมื่อทรงถือเอาอายตนะที่เป็น
    ปัจจัยอันสมควรแก้ผัสสะนั้น จึงตรัส มนายตนะดวงเดียวเท่านั้น ว่า นามปจฺ-
    จยา ฉฏฺายตนํ (อายตนะที่ ๖ เกิดเพราะนามเป็นปัจจัย) ดังนี้ไว้ในฐานะ.
    แห่งสฬายตนะ เพราะว่ามนายตนะนั้น เป็นปัจจัยอันสมควรแก่ผัสสะที่เ
    <wbr>ป็น
    อกุศลดวงหนึ่ง และมนายตนะนี้ ก็ตรัสไว้แม้ในข้อนี้ว่า สงฺขารปจฺจยา
    วิญฺาณํ (วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจ
    <wbr>ัย) ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
    เพื่อทรงแสดงความต่างกันแห่งเหต
    <wbr>ุและผล และเพื่อครบองค์ จึงทรงถือเอาใน
    ที่นี้อีก เพราะในสุตตันตภาชนีย์นั้น สังขารเป็นเหตุต่างกันแก่มนายตน
    <wbr>ะนี้
    นามเป็นผลโดยไม่ต่างกัน แต่ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ นามเป็นเหตุโดยไม่ต่าง
    กันแก่มนายตนะนี้ ผัสสะเป็นผลโดยต่างกันฉะนี้แล.
    ส่วนธรรมทั้งหมดมี โสกะ เป็นต้น เพราะไม่เกิดในขณะแห่งจิต
    ดวงเดียวกัน ไม่เป็นไปในฐานะ.แห่งจิตและในจิ
    <wbr>ตทั้งหมด ฉะนั้นจึงไม่ทรง
    ถือเอา แต่ชาติ ชรามรณะ แม้มีประมาณขณะแห่งจิตไม่ได้ ก็ทรงถือเอาเพื่อ
    ครบองค์ (แห่งปัจจยาการ) เพราะผนวกเข้าภายในขณะจิต ในวาระที่หนึ่ง
    องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ตรัสเคยประการอื่น และองค์ปฏิจจสมุปบาทใด ไม่
    ตรัสไว้ พึงทราบองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น ด้วยประการฉะนี้ก่อน.
    อนึ่ง ในวาระเหล่านี้ องค์ปฏิจจสมุปบาทใดที่ตรัสในวาร
    <wbr>ะอื่นจากวาระ
    ที่หนึ่งนี้ พึงทราบอรรถแห่งองค์ปฏิจจสมุปบา
    <wbr>ทนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแหละ



    แต่ความต่างกันใด ๆ มาแล้วในวาระใด ๆ ข้าพเจ้าจักประกาศอรรถอันต่างกั
    <wbr>
    นั้น ๆ ในวาระนั้น ๆ ทีเดียว.
    ส่วนในข้อว่า องค์ปฏิจจสมุปบาทใดเป็นปัจจัยแก
    <wbr>่องค์ปฏิจจ-
    สมุปบาทใด โดยประการใด นี้ มีอธิบายว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร
    ๗ อย่าง คือ โดยปัจจัย ๖ ปัจจัย มีสหชาตะ อัญญมัญญะ นิสสยะ สัมปยุตตะ
    อัตถิ และอวิคตปัจจัย อันทั่วไปแก่สัมปยุตตธรรม และด้วยเหตุปัจจัย.
    บรรดาปัจจัยเหล่านั้นเพราะจตุกะ
    <wbr> ๓ มีเหตุจตุกะเป็นต้นข้างหน้า ตรัสไว้ด้วย
    อำนาจอวิคตะ สัมปยุตตะ และอัญญมัญญปัจจัย ฉะนั้น ในปัจจยจตุกะนี้พึงนำ
    ปัจจัยทั้ง ๓ เหล่านั้น ออกแล้ว พึงทราบว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร ๔
    ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ.
    สังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ ๘ อย่าง คือ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ
    ๖ ปัจจัย และด้วยกัมมปัจจัย ๑ อาหารปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำ
    ๓ ปัจจัยเหล่านั้นแหละออก ก็พึงได้ปัจจัย ๕ อย่าง.
    วิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม ๙ อย่าง คือ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ
    ปัจจัย ๖ อย่าง และด้วยอินทริยปัจจัย ๑ อาหารปัจจัย ๑ และอธิปติปัจจัย ๑
    แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำ ๓ ปัจจัยเหล่านั้นแหละออก คงได้ปัจจัย ๖ อย่าง
    นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ โดยปัจจัยที่เป็นสาธารณะ ๖ อย่าง
    ข้อว่า นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ นี้ นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอธิปต
    <wbr>ิ-
    ปัจจัย นามบางอย่างเป็นปัจจัยด้วยอาหาร
    <wbr>ปัจจัย เพราะฉะนั้น นามจึงเป็น
    ปัจจัยได้หลายอย่าง แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำเอา ๓ ปัจจัยเหล่านั้นแหละ
    ออกแล้วคงได้ปัจจัย ๓ อย่างบ้าง ๔ อย่างบ้าง ๕ อย่างบ้าง.

    ๕๙๔ ๗๗.พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ ๗๗.พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ ๕๙๕


    อายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัยแก่ผัสสะ เหมือนวิญญาณเป็นปัจจัยแก่นาม.

    ผัสสะเป็นปัจจัยแก่เวทนา ๗ อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย ๖ อย่าง และ
    อาหารปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำปัจจัย ๓ เหล่านั้นแหละออก
    คงได้ปัจจัย ๔ อย่าง.
    เวทนาเป็นปัจจัยแกตัณหา ๘ อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย ๖ อย่าง
    ด้วยฌานปัจจัย ๑ และอินทริยปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกะนี้พึงนำออก ๓ ปัจจัย
    เหล่านั้นแหละ คงได้ปัจจัย ๕ อย่าง.
    ตัณหาเป็นปัจจัยแก่อุปาทาน เหมือนอวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขา
    <wbr>
    อุปาทานเป็นปัจจัยแก่ภพ ๗ อย่าง คือ โดยสาธารณปัจจัย ๖ อย่าง และด้วย
    มรรคปัจจัย ๑ แต่ในปัจจยจตุกะนี้ พึงนำปัจจัย ๓ อย่างเหล่านั้นแหละออก
    ก็ได้ปัจจัย อย่าง.
    ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติด้วยอุปนิสส
    <wbr>ยปัจจัยเท่านั้นโดยปริยาย (อ้อม)
    เพราะในคำว่า ชาติ นี้ ประสงค์เอาสังขตลักษณะ ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ
    ด้วยอุปนิสสยปัจจัยอย่างเดียวเห
    <wbr>มือนกัน.
    ส่วนอาจารย์เหล่าใด กล่าวอย่างนี้ว่า " ในจตุกะนี้ อวิชชาเป็นต้น
    เป็นปัจจัยแก่สังขารเป็นต้นแม้ท
    <wbr>ั้งหมด ด้วยสหชาตปัจจัย เพราะวาระที่หนึ่ง
    ทรงเริ่มด้วยอำนาจสหชาตปัจจัยเท
    <wbr>่านั้น" อาจารย์เหล่านั้น อันใคร ๆ พึงแสดง
    ความไม่มีแห่งภพเป็นต้นเหมือนอย
    <wbr>่างนั้น และแสดงความเกิดขึ้นแห่งปัจจัย
    ที่เหลือแล้วพึงปฏิเสธ เพราะภพมิได้เป็นสหชาตปัจจัยแก่
    <wbr>ชาติ ชาติก็ไม่เป็น
    สหชาตปัจจัยแก่ชรามรณะ ฝ่ายปัจจัยที่เหลือเหล่าใดตรัสไ
    <wbr>ว้แก่สังขารเป็นต้น
    เหล่านั้น ปัจจัยแม้เหล่านั้นมีอยู่โดยแท้
    <wbr> เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจทิ้งเสีย.



    องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ในวาระใด

    ที่ตรัสไว้ โดยประการอื่น และแม่องค์
    ปฏิจจสมุปบาทใด ที่ไม่ตรัสไว้ในวาระใด
    องค์ปฏิจจสมุปบาทใด เป็นปัจจัยแก่องค์
    ปฏิจจสมุปบาทใด โดยประการใด พึงทราบ
    ว่าองค์ปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นปัจจัยแก่องค์
    ปฏิจจสมุปบาทนั้น โดยประการนั้น ดังนี้
    ในวาระที่หนึ่งอย่างนี้ก่อน.
    แม้ในวาระที่ ๒ เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

    ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ ๒ (บาลีข้อ ๒๗๔)

    ส่วนความต่างกัน พึงทราบดังนี้
    ถามว่า ในวาระที่ ๒ ตรัสว่า นามปุจฺจยา ผสฺโส (ผัสสะเกิด
    เพราะนามเป็นปัจจัย) มิได้ตรัสคำอะไร ๆ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะนั้น เพื่อ
    อะไร ?
    ตอบว่า เพื่อแสดงความต่างกันแห่งปัจจัย
    <wbr> และเพื่อสงเคราะห์เข้าด้วย
    เทศนาในมหานิทานสูตร.
    จริงอยู่ ผัสสะหามีสฬายตนะเป็นปัจจัยอย่า
    <wbr>งเดียวเท่านั้นก็หาไม่ ที่แท้
    มีแม้ขันธ์ ๓ มีเวทนาขันธ์เป็นต้นเป็นปัจจัยด
    <wbr>้วยทีเดียว ก็ในมหานิทานสูตร
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปฏิจจสมุ
    <wbr>ปบาทมีองก์ ๑๑ ทรงทิ้งสฬายตนะเสีย อย่างนี้ว่า

    ๕๙๖ ๗๗.พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ ๗๗.พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ ๕๙๗


    ดูก่อนอานนท์ เมื่อเธอถูกถามว่า ผัสสะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยหรือ เธอพึง

    ตอบว่า มี ถ้าถามว่า ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย เธอพึงตอบว่า
    มีนามรูปเป็นปัจจัย ดังนี้* เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดงความต่างกันแห่ง
    ปัจจัยนี้ และเพื่อทรงกำหนดเทศนาในมหานิทา
    <wbr>นสูตรนี้ จึงตรัสว่า นามปจฺจยา
    ผสฺโส ไว้ในวาระที่ ๒ มิได้ตรัสคำอะไร ๆ ไว้ในที่แห่งสฬายตนะ. นี้เป็น
    ความต่างกันในทุติยวาระก่อน.

    ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ ๓ (บาลีข้อ ๒๗๖)

    ส่วนในวาระที่ ๓ ตรัสองค์ที่ ๙ อันมาในสุตตันตภาชนีย์ว่า วิญฺาณ-
    ปจฺจยา นามรูปํ (นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจ
    <wbr>ัย) ดังนี้. หากมีผู้
    ถามว่า องค์ที่ ๔ นั้น ไม่ควรในปัจจยจตุกะนี้ เพราะความที่ปัจจยาการเป็นไป
    ในขณะจิตเดียว. พึงตอบว่า องค์ที่ ๔ (นามรูป) นั้น ไม่ควรหามิได้ เพราะ
    เหตุไร เพราะความเป็นปัจจัยในลักษณะของ
    <wbr>ตน จริงอยู่ แม้ถ้าว่า ใน
    นามรูปนั้น รูปจะตั้งอยู่เกินกว่าของจิต ถึงอย่างนั้น วิญญาณนั้นก็เป็น
    ปัจจัยแก่รูปนั้นในลักษณะของตน ข้อนี้เป็นอย่างไร ? คือ เบื้องต้นวิญญาณ
    เป็นปัจจัย โดยเป็นปัจจัยแก่รูปอันมีจิตเป็
    <wbr>นสมุฏฐานซึ่งเกิดก่อนบ้าง แก่รูปที่
    เกิดภายหลังบ้าง ข้อนี้ สมกับพระดำรัสที่ตรัสว่า ปจฺฉาชาตา จิตฺตเจตสิกา
    ธมฺมา ปุเรชาตสฺส อิมสฺส กายสฺส ปจฺฉาชาตปจฺจเยน ปจฺจโย
    (ธรรมคือจิตและเจตสิกที่เกิดภาย
    <wbr>หลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน<wbr> ด้วย
    ปัจฉาชาตปัจจัย) ดังนี้. อนึ่ง วิญญาณยังเป็นปัจจัยแก่รูปที่เก
    <wbr>ิดพร้อมกันซึ่ง
    มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยนิสสยปัจจัย เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ธรรมทั้งหลาย
    * ที. มหาวคฺค เล่ม ๑๐ ๕๗/๖๖



    คือจิตและเจตสิก เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่มีจ
    <wbr>ิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยนิสสย-
    ปัจจัย.
    ถามว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ในวาระแรก จึงไม่ตรัส
    อย่างนี้เล่า
    ตอบว่า เพราะทรงแสดงหมายถึงถิ่นที่รูปเ
    <wbr>ป็นไป
    จริงอยู่ ปัจจยาการนี้ พระองค์ทรงแสดงในกามภพอันเป็นถิ
    <wbr>่นที่รูป
    เป็นไปด้วยอำนาจแห่งสัตว์ผู้เกิ
    <wbr>ดในครรภ์ แห่งโอปปาติกะผู้มีอายตนะไม่บริ<wbr>บูรณ์
    และแห่งเทพในรูปาวจร ด้วยเหตุนั้นแหละ ในวาระที่ ๓ นี้ จึงไม่ตรัสว่า
    นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ (สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจ
    <wbr>จัย) แต่
    ตรัสว่า ฉฏฺยตนํ (อายตนะที่ ๖) ดังนี้ ในนามรูปนั้น นาม มีนัยตาม
    ที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ ส่วนรูปพึงทราบว่า หทยรูป หทยรูปนั้น เป็น
    ปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ นี้ ๒ อย่าง คือ ด้วยนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย
    แล.นี้เป็นวาระที่ต่างกันในวาระ
    <wbr>ที่ ๓.

    ว่าด้วยความต่างกันในวาระที่ ๔

    ก็วาระที่ ๔ ตรัสไว้ด้วยอำนาจพวกสัตว์ที่เป็
    <wbr>นสังเสทชะและโอปปาติกะ
    ด้วยอำนาจกำเนิด พวกสัตว์ผู้มีอายตนะบริบูรณ์ด้ว
    <wbr>ยอำนาจอายตนะ พวกสัตว์ใน
    กามาพจรด้วยสามารณแห่งภพ ด้วยเหตุนั้นแหละ ในวาระที่ ๔ นี้ จึงตรัสว่า
    นามรูปปจิจยา สฬายตนํ (สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจ
    <wbr>จัย) ดังนี้ ใน
    นามรูปนั้น นามเป็นปัจจัยแก่อายตนะที่ ๖ ด้วยสหชาตปัจจัยเป็นต้น เป็นปัจจัย
    แก่อายตนะมีจักขุป็นต้น ด้วยปัจฉาชาตปัจจัย บรรดารูป หทยรูปเป็นปัจจัยแก่

    ๕๙๘ ๗๗.พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ ๗๗.พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ ๕๙๙


    อายตนะที่ ๖ ด้วยนิสสยปัจจัย และปุเรชาตปัจจัย. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัย

    แก่จักขวายตนะเป็นต้น ด้วยสหชาตะ นิสสยะ อัตถิ และอวิคตปัจจัย ก็เพราะ
    ปัจจยาการนี้เป็นไปในขณะจิตเดีย
    <wbr>ว ฉะนั้น จึงไม่ตรัสในวาระที่ ๔ นี้ว่า
    สฬายตนปจฺจยา (เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย) ตรัสว่า ฉฏฺายตนปจฺจยา
    ผสฺโส (ผัสสะเกิดเพราะอายตนะที่ ๖ เป็นปัจจัย). นี้เป็นความต่างกันในวาระ
    ที่ ๔ ด้วยประการฉะนี้.
    บัณฑิตครั้นทราบเหตุต่างกันแห่ง
    <wbr>วาระทั้ง ๔ เหล่านั้น อย่างนี้แล้ว
    พึงทราบอีกว่า ในวาระทั้ง ๔ เหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว วาระ ๒ ข้อข้างต้น
    ตรัสเพื่อแสดงปัจจยาการในอรูปภพ
    <wbr> เพราะองค์ปฏิจจสมุปบาทที่ไม่ระค<wbr>นด้วยรูป
    ย่อมเป็นไปในอรูปภพ. วาระที่ ๓ ตรัสไว้เพื่อทรงแสดงปัจจยาการใน
    <wbr>รูปภพ
    เพราะว่าเนื้อความระคนด้วยรูปยั
    <wbr>งมีอยู่. สฬายตนะก็ย่อมไม่เป็นไปในรูปภพ.
    วาระที่ ๘ ตรัสเพื่อทรงแสดงปัจจยาการในกาม
    <wbr>ภพ เพราะว่า สฬายตนะทั้งสิ้น
    ย่อมเป็นไปในกามภพ. อีกอย่างหนึ่ง วาระที่ ๓ ตรัสหมายเอาขณะอกุศลเป็นไป
    แก่พวกสัตว์ที่มีอายตนะบกพร่องใ
    <wbr>นรูปภพ และในกามภพ วาระที่ ๔ ตรัส
    หมายสัตว์ผู้มีอายตนะครบในกามภพ
    <wbr>.
    อีกนัยหนึ่ง วาระที่ ๑ ตรัสหมายเอาจิตที่เป็นไปในที่ทั
    <wbr>้งหมด เพราะ
    ว่า วาระที่ ๑ นั้น จะไม่เป็นไปในถิ่นที่จิตเป็นไปท
    <wbr>ี่ไหน ๆ หามิได้. วาระที่ ๒
    ตรัสหมายเอาความต่างกันแห่งปัจจ
    <wbr>ัย เพราะว่า ความที่วาระมีองค์ ๑๑ และ
    ความที่ผัสสะมีนามเป็นปัจจัย เป็นความต่างแห่งปัจจัย ในวาระที่ ๒ นี้.
    วาระที่ ๓ ตรัสหมายเอากำเนิด ๒ ข้างต้น เพราะว่า วาระที่ ๓ นั้นย่อมมีใน
    กำเนิด ๒ ข้างต้น เพราะความที่สฬายตนะไม่เกิดทุกเ
    <wbr>มื่อในกำเนิด ๒ ข้างต้นนั้น



    วาระที่ ๔ ตรัสหมายเอากำเนิด ๒ หลัง เพราะว่า วาระที่ ๔ นั้นยังไม่มีในกำเนิด

    ๒ หลัง เพราะความที่สฬายตนะเกดขึ้นทุกเ
    <wbr>มื่อในกำเนิด ๒ หลังนั้นแล.
    ก็โดยลำดับแห่งคำเพียงเท่านี้ องค์ใดที่กล่าวในวาระทั้ง ๔ ว่า
    องค์ปฏิจจสมุปบาทใด ในวาระใด
    ที่ตรัสไว้โดยประการอื่น และแม้องค์ปฏิจจ-
    สมุปบาทใด ที่ไม่ตรัสไว้ในวาระใด องค์-
    ปฏิจจสมุปบาทใด เป็นปัจจัยแก่องค์ปฏิจจ-
    สมุปบาทใด โดยประการใด พึงเข้าไป
    กำหนดองค์ทั้งหมดนั้น ดังนี้.
    การแสดงความแห่งคาถา ย่อมเป็นอันข้าพเจ้ากระทำแล้ว ด้วย
    ประการฉะนี้ .
    ต่อจากจตุกะนี้ไป บัณฑิตพึงทราบ
    นัยทั้งหมดนี้ และควานต่างกัน แม้ในจตุกะ
    อื่น โดยทำนองนี้นั่นแหละ.

    ว่าด้วยเหตุจตุกะ (บาลีข้อ ๒๗๘)

    บรรดาจตุกะเหล่านั้น นัยที่ตรัสไว้ในปัจจยจตุกะก่อนน
    <wbr>ั้น ปรากฏ
    ชัดแล้วในจตุกะทั้งหมดทีเดียว ส่วนความต่างกันในเหตุจตุกะเป็น
    <wbr>ต้นพึงทราบ
    อย่างนี้ ในเหตุจตุกะก่อน.
    อวิชฺชา เหตุ อสฺสาติ อวิชฺชาเหตุโก อวิชชาเป็นเหตุแห่ง
    สังขารนี้ เพราะเหตุนั้น สังขารนี้ จึงชื่อว่า อวิชฺชาเหตุโก (มีอวิชชาเป็น

    ๖๐๐ ๗๗.พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑


    เหตุ มีอธิบายว่า สังขารนี้มีอวิชชาเป็นไป คือ ไปจนถึงขณะดับ เพราะ

    เป็นไป (เกิด) พร้อมกัน.
    อนึ่ง พระองค์ครั้นทรงแสดงว่า อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร
    โดยสาธารณปัจจัยด้วยอำนาจแห่งปั
    <wbr>จจัยมีสหชาตะเป็นต้น โดยพระดำรัสเพียง
    เท่านี้ว่า อวิชชาปจฺจยา (เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย) แล้ว จึงทรงแสดง
    ความที่อวิชชาเป็นอวิคตปัจจัย โดยพิเศษ ด้วยพระดำรัสว่า อวิชฺชาเหตุโก
    (มีอวิชชาเป็นเหตุ) อีก. แม้ในคำมีอาทิว่า สํขารปจฺจยา วิญฺาณํ สํขาร-
    เหตุกํ (วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ เกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย) ดังนี้ ก็นัยนี้
    เหมือนกัน.
    ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในองค์มีภพเป็นต้น
    <wbr> จึงไม่ทรงทำศัพท์ว่า
    เทตุกะ ไว้
    ตอบว่า เพราะองค์มีภพเป็นต้นนั้นไม่มีค
    <wbr>วามกำหนดด้วยอวิคตปัจจัย
    และเพราะไม่มีอวิคตปัจจัย เพราะคำว่า ภพ ในเหตุจตุกะนี้เป็นชื่อของขันธ์
    <wbr>
    ที่มีอุปาทานเป็นปัจจัย โดยพระบาลีว่า ตตฺถ กตฺโม อุปาทานปจฺจยา
    ภโว ฯเปฯ อยํ วุจฺจติ อุปาทานปจฺจยา ภโว ในพระบาลีนั้น ภพ
    เกิดเพราะอุปาทานเป็นไฉน ? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
    วิญญาณขันธ์ เว้นอุปาทาน นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ดังนี้.
    อนึ่ง ชาติ ชรามรณะก็ผนวกเข้าในสังขารขันธ์
    <wbr> โดยพระบาลีมีอาทิว่า ชาติ
    ทฺวีหิ ขนฺเธหิ สงฺคหิตา (ชาติสงเคราะห์เข้าด้วยขันธ์ ๒) ดังนี้.
    ในพระบาลีนั้น อุปาทาน ย่อมไม่เป็นอวิคตปัจจัยแก่ภพโดย
    <wbr>แน่นอน
    เพราะความไม่ได้ชาติ ชรามรณะตลอดเวลาที่มีอุปาทาน ความเป็นอวิคตปัจจัย




    พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 588
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ยาวจัง.... แล้วใครจะอ่าน เพราะเขาเชื่อว่าพระอภิธรรมไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า
    แล้วเป็นการกล่าวนัย ปฏิจจสมุปบาทด้วยยิ่งยากขึ้นไปอีก เฮ้อ ! สงสาร พระอภิธรรม จังถูกพวกมิจฉาทิฏฐิเหยียบย่ำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 กรกฎาคม 2012
  3. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    อ้าวลุง...

    เค้าอ่านพระสูตรกันคล่อง
    ก็ยกมาให้อ่านบ้างเป็นไรไป

    ใครว่าผิด เดี๋ยวเค้าก็มาอธิบายที่ถูกให้อ่านเองแหล่ะ
    อ่านยากจะตายไป รอคนเก่งๆ มาโพสท์ค่ะลุง
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    การจะศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นยากแท้ เพราะเป็นการศึกธรรมที่ทวนกระแส
    ถ้าธรรมที่ศึกษาง่ายๆก็ไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้าเพราะเป็นธรรมที่ตามกระแสของกิเลส ย่อมพ้นไปจากวัฏฏะไม่ได้
    เราลองตรองตามดูได้ ปฏิบัติตามได้ และเห็นผลได้จริง ดังมีตัวอย่างให้เห็นคือสาวกของพระองค์ในอดีตที่ผ่านมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กรกฎาคม 2012
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    ถามสมาชิกในนี้ดีกว่า ว่ามีใครอ่านกระทู้นี้รู้เรื่องบ้าง
     
  6. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    5555 ลุงขัน คนอ่านรู้เรื่องก็มีนะ
    ระดับครูอาจารย์นั่นแหล่ะ นำมาสอนเพื่อเป็นการให้เข้าใจ
    แค่เข้าใจเท่านั้น เรื่องปฏิบัติตามได้นั้นคงไม่ใช่ หวังไม่ได้เลย
    ได้อ่านได้เข้าใจได้บ้างนั้น เป็นบุญกุศลสูงที่ได้เข้าใจได้บ้าง
    ท่านอธิบายไว้ 7 หน้า อ่านคำอธิบายก็ยากนะ
    ต้องมีพื้นฐานเรียนพระอภิธรรม

    ที่นำมาแสดงในกระทู้นี้เป็นเรื่องสภาวะล้วนๆ ของพระอริยะ

    เป็นปฏิจสมุปบาทที่เกิดในจิตขณะเดียว ด้วยการวิปัสสนา
    คนธรรมดาทำได้ที่ไหน แต่เข้าใจได้ด้วยปริยัติ
    แต่ถ้าใครจะหาอ่านด้วยแนวพระสูตร ก็มี
    เป็นชื่อ นานักจิตตักขณิกปฏิจสมุปบาท เป็นปัญญาขั้นกัมมัสสกตาญาณ
    แล้วท่านก็ไปวิปัสสนา


    ถ้าใครชอบพระสูตรก็ไปหาพระสูตรอ่านก็ได้
    ก็เป็นการแสดงปฏิจจสมุปบาทธรรมของพระพุทธเจ้า มีอยู่ 2 นัย
    นัยพระสูตรที่ว่าด้วยสัตว์บุคคล
    กับ นัยพระอภิธรรมที่ว่าเป็นสภาวะล้วน

    ใครชอบพระสูตรก็ไปอ่านพระสูตรเน้อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2012
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    แสดงว่าโง่ชัดๆ อ่านแล้วก็บอกไม่รู้เรื่อง ก็บอกแล้ว่าไปเรียนซะมั่ง มัวนั่งงมโข่งอยู่ได้ แล้วก็มานั่งเถียง
     
  8. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เรียนถามครับ 1.การพิจรณาปฏิจจสมุปปบาทกำหนดลงที่ตรงไหน? (ผมท่องได้แต่ติดขัดที่ไม่รู้ว่ากำหนดจิตหรือสติปัญญาอย่างไร...
    2.การพิจรณาปัจจยาการหมายความว่าอย่างไร ทำอย่างไร ธรรมนี้ใหม่สำหรับผม(เคยได้ยินแต่ยังไม่เคยพิจรณาปัจจยาการ)...ช่วยชี้แนะด้วยครับ..........
     
  9. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ที่ผมเข้าใจจากการอ่านเมื่อสักครู่ ปฏิจจสมุปปบาทเกิดด้วยเหตุหรือปัจจัย แยกได้เป็นหลายนัย ไม่เกี่ยงภพชาติแต่เป็นในขณะจิตนั้นๆใช่หรือไม่ครับ และถ้าจะดับสายปฏิจจสมุปปบาท ก็ต้องดับโดยใช้มรรค 8 ใช่หรือไม่ครับ และสติปัญญาก็ต้องเป็นปัจจุบันธรรมในขณะนั้นๆใช่หรือไม่ครับ?
     
  10. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ที่ว่าสภาวะล้วนๆ เป็นอย่างไรครับ?
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ถ้าต้องการ อ่านบทนี้ให้ลำพังเข้าใจ จนกระทั่ง ที่เห็นว่า ลึกซึ้งเข้าใจยาก
    ผลิกกลับกลายเป็น ของตื้นเข้าใจได้ไม่ยาก ก็ต้อง เอาบท มหานิทานสูตร
    มาอ่าน แล้วจะเห็นว่า บทบรรยายข้างบนี้ ก็แค่ ถอดไวยากรณ์ เรียบเรียง
    เป็นลักษณะ ประโยคย่อย แล้ว ร้อยเข้าเป็นประโยคใหญ่ อย่างไร

    ซึ่ง คนที่อ่าน ก็เพียงแต่ ต้องตั้งจิตให้ดีๆว่า อภิธรรม เป็นบทว่าด้วย ไวยากรณ์
    คือ การเรียบเรียงสัทถุศาสตร์ ถ้าจะเอาความหมาย ก็เพียงแต่หาพระสูตรที่เป็นต้น
    เรื่องก่อนสังเคราะห์มาอ่าน ก็จะทราบเนื้อความ

    แต่ในอรรถกถาที่ยกมา มีกล่าวเรื่องการเว้น การกล่าว "โสกา" ก็เป็นเพราะ
    สภาวะทุกข์ หรือ สภาพธรรมนี้ ไม่ได้เกิดเสมอร่ำไป สัตว์บางจำพวกอาจจะ
    ไม่เจอโสกาเลย( เทวดาเป็นต้น ) เมื่อไม่มีประโยชน์ ก็ไม่กล่าวให้เยิ่นเย้อเสียเวลา

    สรุป ใครอ่านบทนี้เข้าใจ ก็จะทราบ วิธีการร้อยเรียงสัทถุศาสตร์ การกล่าวคำสอน
    ซึ่งมีประโยชน์ต่อ ผู้ที่ไม่มีกำลังสมาธิในจิต แต่อยากเผยแผ่ธรรม จะเรียบเรียงคำสอน
    อย่างไรจึงไม่ผิดลำดับ ไม่ขัดกันเอง

    ส่วน ใครอ่านบทนี้ไม่เข้าใจ ก็แปลว่า ไม่ได้สะสมความใส่ใจ การสำเนียกในการเรียน
    การเขียน การอ่าน ซึ่งก็ควร สังวรณ์สำรวมความด้อยถอยปัญญาของตน

    ไม่ใช่มา เกรงว่า ครูตนที่เคยสอนสั้นๆ จะถูกการเรียบเรียงสัตถุศาสตร์ที่ถูกต้องเข่นฆ่า
    ให้อาศัลสิ้นความเป็นอรหันต์ จนกระทั่ง ปริวิตก เกิดเวทนา เกิดตัณหา เกิดความตะหนี่
    ที่สุด แสดงอาการด้วยถ้อยคำ ขากถุย แก่งแย่ง

    รักษาได้แต่ อาการขากถุย เพียงเพราะความปักใจ รักในครอบครับกรรมฐานงุดโง
     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    สมาชิกท่านใด อ่านข้อความของนายนิวรณ์ แล้วรู้เรื่องบ้าง
    วกไปวนมา จับต้นชนปลายไม่ถูก วอแววอแว... งุดโง่
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ผมว่านะ คุณต้องไปกินดีหมีมาแน่เลย ถึงได้ เผยในสิ่งที่ไม่ได้เผยออกมาได้

    สามารถเล็งเห็นได้ว่าเป็น มรรค8 ทั้งๆที่ ไม่มีการกล่าวให้เห็น

    เชื่อไหม คนทั่วไปเวลาอ่าน ปฏิจสมุปบาม จะเอา สมาธิอึ๊กๆ จับเอาตรงเงา
    สัญญา ดับ ดับ ดับ แล้วก็เฝ้นด้วยหาด้วยความหยาบคายออกมาเป็น ดับ
    เวทนาบ้าง ดับอวิชชาบ้าง ดับผัสสะบ้าง ดับนามรูปบ้าง ทั้งๆที่ บทบรรยาย
    เนี่ยะ ท่านบรรยาเพียงให้พอทราบเท่านั้น ( เพราะของจริงนั้นลึกซึ้ง )

    แต่โดยมากเนี่ยะ จะมุ่งไป ดับเวทนา กับดับวิญญาณ กัน

    พระพุทธองค์จึงตรัสส่วนต่อ ปฏิจสมปุบาทใน มหานิทานสูตร ถึงพวกเดียรถีย์
    ที่จะแล่นไปยึดดับเวทนา ดับวิญญาณ ด้วยเพราะสำคัญผิดในอะไร
    อย่างไร ให้พอเข้าใจ คลายความเห็นผิดว่าเป็นเรื่องดับเวทนา ดับวิญญาณ
    แล้ว ก็ขึ้นต่อด้วย วิญญาณฐีติ7 แล้วจบด้วยที่สุดของกรรมฐานการพิจารณา
    ว่าจะเป็นพวก อุภโตภาควิมุตติ

    พูดง่ายๆ พวกที่สามารถวิจัย ปฏิจสมุปบาทได้จะต้องเป็นอุภโตภาควิมุตติเป็นอย่างต่ำ

    พวกไม่ทำสมาธิเลยเนี่ยะ จะมาอ้างรู้ปฏิจสมุปบาท ก็เพียงได้แต่อาศัย สัญญาใส่ใจเท่านั้น
    ไม่ถือว่า รู้ออกมาจากปัจจัตตัง ฐีติวิญญาณตามความเป็นจริง
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    นี่อาศัยว่า คุณมีความทุกข์ อ่านภาษาไทยไม่ออกนะครับ ผมจึงกล่าวสั้นๆว่า

    ก็คุณนั้นเอาแต่ปักใจรัก วิถีครอบครัวกรรมฐานของตน อีกทั้ง ไม่ได้มี
    จริตนิสัยชอบเรียนเขียนอ่านหนังสือ อาศัยความไม่ชอบใจในการเรียนเขียน
    อ่านหนังสือ ปรากฏเป็นความต่างของธาตุ และอาศัยความรักวิถีตนจนโง
    หัวไม่ขึ้น ก็เลยแสดงอาการ ธรรมขากถุย กับคนอื่นอยู่นี่

    เจียมกะลาหัวไปสิครับว่า หัวมันไสไม่ไป ไสไปทางนี้ไม่ไป ก็เท่านั้นเอง
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    เขียนวกไปวนมา พูดจาเลอะๆเลือนๆ ยังจะไปว่าคนอื่นอ่านภาษาไทยไม่ออก
    การอ้างเรื่องความต่างของธาตุ มันเป็นเรื่องของพวกกิเลสหนา ไม่พิจารณาธรรม
    ถ้าเป็นธรรมแล้วลงกันได้หมด
    ทิฎฐิลงตัวเมื่อไร ค่อยมาวิจารณ์ธรรมนะ เอกวีร์
     
  16. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    เอาว่าตอบตามที่พอจะได้นะคะ
    ถือว่าเราคุยกันฉันเพื่อนร่วมเดินทาง

    แต่บอกก่อนนะคะ ว่าเราเองไม่ได้เก่ง
    ที่ทำกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่อให้คนได้เข้ามาอ่านสภาวะที่ควรทราบ
    อ่านได้แค่กันก็แค่นั้น เพราะเป็นสภาวะของพระอริยะ
    ได้อ่านก็เป็นบุญท่วมหัวแล้ว รู้กันได้บ้างนิดๆ หน่อย
    ส่วนคนที่เข้าใจได้เยอะสุด ก็เป็นระดับอาจารย์สอน
    ส่วนเราเองก็แกะคำอธิบายของอาจารย์มา 3 วันแล้ว

    เราก็ดีใจนะ ที่ได้อ่านสภาวะของพระอริยะ
    ก็อยากให้คนอื่น ได้อ่านบ้าง
    ยากแสนยาก แต่อ่านไปเถอะด้วยความศรัทธา
    พระสวดเป็นบาลี เรายังศรัทธาฟัง
    นี่ก็อ่านภาษาไทย ก็อย่างน้อยก็มีคำที่เข้าใจได้บ้างนะคะ


    สภาวะล้วนๆ ก็มีแต่ปรมัตถ์ค่ะ
     
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ไปแจ้งธรรม ให้มันชัด ให้มันจริง สักอีกนิดก่อน ดีไหม

    ค่อยมากล่าวว่า ตัวเองรู้ธรรมะ

    ปัดโถ่

    การเล่าเรียนเขียนอ่านหนังสือ เนี่ยะ มันเป็นเครื่องหมายของ
    คนดี หรือ คนชั่ว คร้าบท่าน

    หาก การเล่าเรียนเขียนอ่านหนังสือ มันเป็นเครื่องหมายของ คนดี

    แค่นี้ก็จัดว่า เป็น มรรค แล้ว ไม่ใช่เหรอ

    นี่ถ้าไม่แจ้งธรรมนะ ก็อาจจะกล่าวว่า การเรียนหนังสือเรียนไวยากรณ์
    มันก็แค่มีส่วนช่วยกึ่งหนึ่งเท่านั้น ถ้ากล่าวแบบนี้ เดี๋ยวก็เข้าทำนองพระอานนท์
    โดนเอ็ดเอานะ เพราะไปกล่าวว่า การคบคนดี มีมิตรดี มีส่วนช่วยแค่กึ่งหนึ่ง

    พระพุทธองค์เอ็ดเอาทันทีเลยว่า ไม่ใช่ การคบดนดี มีมิตรดี มีส่วนเป็น
    มรรค100%

    ดังนั้น งุดโง ไปเถอะคร้าบ เรื่องแบบนี้ งุดโง เข้าใจไม่ได้หรอก

    คุณคิดจะแก้ปัญหาของคนมีธาตุอย่างพระอานนท์ พระสารีบุตร มันแก้ได้ไหม

    มีแต่ฉุดให้เขาโง่

    คนที่เขาเรียนเป็น เรียนภาษาคล่อง ไวยกรณ์คล่อง อุปมา เหมือนส่งเด็ก
    ไปเรียยภาษาจีนอาทิตย์เดียวก็พูดได้ เนี่ยะ เขาไม่ได้มีกิเลสนะคร้าบ ที่เขา
    เป็นได้ และตรงกันข้าม คนมีกิเลสน้อยเบาบางต่างหากหละ เขาถึงร่ำเรียน
    เขียนอ่านได้ไม่ยากเย็น และ เห็นคุณค่า มีวิสัยทัศน์ และ เล็งการไกล

    เอาเนาะ

    บรรยายสรรพคุณ มรรคอันเกิดจากความดีชนิดนี้ กล่าวไปจนตายคุณ
    ก็ไม่เข้าใจหรอก คงต้องปล่อยให้เห่าขัดชาวบ้านไปจนตายนั่นแหละ
     
  18. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    มรรค 8 ใช่ค่ะ อริยสัจจ์4 ก็สงเคราะห์ลงได้ในปฏิจฯ
    ต้องเข้าใจคัมภีร์ปัฏฐานด้วยค่ะ อย่างสังขารในปฏิจฯ
    ก็มีสหชาตฯ กับ นานักฯ ถ้ามีโอกาสเรียนพระอภิธรรม
    ก็ไปเรียนนะคะ เพราะว่าอาศัยพื้นฐานที่เค้าว่าท่องเป็นนกแก้ว
    นกขุนทองเนี่ยแหล่ะค่ะ ท่องจำได้แล้ว ก็เอามาเรียนได้
    เข้าใจ ฟังแล้วจะเข้าใจ มีพระสูตรนำมาอธิบายเทียบเคียงด้วย

    ลองหาอ่านเกี่ยวกับกุญแจการใช้งานของปฏิจฯ ดูนะคะ
    เผื่อจะเข้าใจได้กระจ่างขึ้น

    นี่สงเคราะห์ลงในอริยสัจจ์4 ค่ะ

    วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา คือ ทุกข์
    (วิญญาณ คือ จิต , สฬายตนะ คือ อายตนะภายใน)
    (วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา เป็น วิบาก)

    ตัณหา อุปาทาน กัมมภว เป็น เหตุในปัจจุบัน
    (ตัณหา อุปาทาน คือ กิเลส )

    ชาติ ชรา มรณะ คือ อุปปัตติภว

    ปฏิจสมุปบาท แสดงอยู่ในโลกียะ
    สงเคราะห์ลงในอริยสัจจ์4 มี ทุกข์ กับสมุทัยคือเหตุ
    มรรค 8 พระพุทธองค์ทรงดับตัณหาได้ เข้าถึงพระนิพพาน

    ทุกข์เกิด ก็ไม่หนีทุกข์ แต่กำหนดรู้ ถ้าหนีทุกข์ หรือไปละ
    โทสะก็ยังเกิดมาใหม่ได้อีก
    มีสติระลึุกรู้ จะไม่มีการปรุงแต่งและเข้าสู่ สติปัฏฐาน
    และทำกุศลอื่นประกอบด้วย เช่น
    แผ่เมตตา เพื่อลดโทสะ
    ทำทาน เพื่อลด ความยึค ความตะหนี่
    เป็นต้น

    โยนิโส เมื่อเวทนาเกิด ตัดตัณหาให้ได้ ไม่สร้างกรรมใหม่

    (ไม่ได้คิดได้เองค่ะ แต่เรียนมาเพื่อปฏิบัติ จากอาจารย์สอนพระอภิธรรม)
     
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    สัญญาวิปลาส รู้ผิด จำผิด หมายผิด มันก็เข้าใจได้เท่านั้นแหละ
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    เอาแต่ สัญญางุดโง มันก็ได้แค่นั้นแหละ ขากถุยไปเรื่อยๆเป็นธรรม

    อะไรดี อะไรชั่ว แยกไม่ออก

    พอแยกไม่ออก ก็ไม่ฉลาดในมรรค ได้แต่มานั่ง เชาว์ในงุดโงใช้ได้

    เชาว์แค่การงุดโงพอแล้ว มีแต่เชาว์รู้ตามได้แต่งุดโง ส่วนอะไรที่
    เป็นความดี ความงามอื่น มองไม่ออกว่าจะทำอย่างไรให้เห็นว่าเป็น
    ปฏิกูล ได้แต่ เห่า ไปวันๆ เห้ย ปฏิกูล ปฏิกูล

    ทำได้แค่นั้น มากกว่านั้น ไม่เข้าใจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...