ปฏิบัติให้สุดทางหนึ่งก่อนดีหรือไม่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย noolegza, 4 พฤษภาคม 2008.

  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    จริตคนเราไม่เหมือนกันครับ จขกท ถ้ามีความสามารถ ก็ทำได้ครับ ถ้าไม่มี ก็ควรทีละสาย

    ภาวนาพุทธโธ สายของสมาธิ มโนมยิทธิ เป็นการขออราธนากำลังพระ...ช่วยสงค์เคราะห์ จะใช้กำลังฌานในการออกไปรู้เห็น

    ควรหากรรมฐานที่ตรงสายของตัวเองที่เคยบำเพ็ญมาครับ จะช่วยให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติครับ

    การฝึกเองที่บ้านทำได้ครับ ถ้ารู้หลักในการปฏิบัติ รู้ว่าควรทำอย่างไร ไม่หลงอะไรครับ

    และนำว่าควรซื้อหนังสือที่บ้านสายลมมาอ่านให้รู้อะไรเป็นอะไรให้เข้าใจครับ

    แล้วเวลาปฏิบัติไป ติดขัดอะไร ก็ค่อยไปสอบถามครูบาอาจารย์ ที่รู้จริงครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2018
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    เด่วจะพูดแบบคนโง่ๆทางธรรมให้ฟังนะครับ
    พูดแบบคนที่รู้แค่หยาบๆทางธรรมให้ฟังนะครับ
    พูดแบบคนที่แยกรูปแยกนามได้แบบหยาบๆให้ฟังนะครับ
    ไอ้ประโยคข้างบน ไม่ได้ว่าใคร เป็นการว่าตัวเอง
    เพื่อบอกให้คนอื่นๆฟังนะครับ.....ว่าข้าพเจ้ายังบรมโง่อยู่

    คำว่า อริ แปลว่า ศัตรู
    ยะ แปลว่า ห่างไกล. รวมความคือ เป็นศัตรูและ
    ห่างไกลจากกิเลส

    ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ มันไม่ใช่กิเลส
    แต่มันสิ่งที่มีอยู่แล้วภายนอกเป็นปกติ

    แต่ตัวโทสะ โมหะ โลภะ ในจิตเรา
    ที่มีปกตินั้น (ถ้าไม่มีไม่มีทางเป็นร่างกายเราทุกวันนี้)
    มันได้ส่ง ตัววิญญานการรับรู้
    ผ่านทางช่องทางต่างๆ เรียกหล่อๆว่า อายตนะนั้น
    ออกไปกระทบและดึงสิ่งต่างๆภายนอกเหล่านั้นเข้ามาเก็บไว้
    จนปรุงแต่งเกิดเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมานั่นหละครับ
    ถึงจะเรียกว่า กิเลส.....

    เราเคยได้ยินแต่ว่า จิตเดิมเรามันบริสุทธิ์
    ที่มันมาเกิดเพราะอวิชชาหรือความไม่รู้
    ทางกิริยา สันดานของจิตเลย ตั้งแต่ยังไม่มีร่างกาย

    คือมันชอบ ส่งไอ้ตัววิญญานการรับรู้(คือเส้นๆที่
    ออกมาจากตัวจิต แต่ตาปกติมองไม่เห็น)
    ส่งออกไปกระทบกับภายนอกต่างๆ
    กระทบอะไรก็กระทบไป และพอกระทบแล้ว
    มันไม่รู้อะไร มันก็เอามาเก็บไว้ในตัวจิต
    จนกลายเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า สัญญานั่นหละครับ
    มีทั้งสัญญา ณ ชาติปัจจุบันและอดีตชาติ
    หากเป็นอดีตชาติ บ้างก็เรียกพรสวรรค์ บ้างก็เรียกของเก่า
    หากเป็นสัญญาปัจจุบันก็เรียกคนความจำดี สมองดีก็ว่ากันไป
    พอมันไม่รู้ ด้วยที่มันชอบส่งออก มันก็เลยสร้างช่องทางต่างๆ
    ให้ไอ้ตัววิญญานนี้ มันมีช่องทางในการส่งออกไปกระทบ
    กลายมาเป็น ตาหูจมูก รวมๆจนเป็นร่างกายเรานี้หละครับ
    เพียงแต่มันก็อาศัย แรงหรือกำลังต่างๆประกอบในการ
    รวมเป็นร่างกายนี้ขึ้นมา แรงที่เป็นส่วนประกอบเหล่านี้
    เหล่าเรียกกันง่ายๆว่า กำลังบุญ กำลังบาป บารมี อะไร
    ก็แล้วแต่จะเรียก แต่ประเด็นคือ มันเป็น นามธรรมมาก่อน
    ทั้งนั้น ก่อนที่จะมีร่างกายที่เป็น รูปธรรมขึ้นมา
    ในระดับอะตอม มันก็เป็นอนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของสะสาร
    กับอนุภาคที่เป็นสื่อนำแรง นั่นหละครับ ถ้าเรียกทางวิทยาศาสตร์
    เพียงแต่สื่อนำแรงพวกนี้ ทางพุทธเราจะหมายถึง แรงที่เป็น
    นามธรรมต่างๆ เช่น ธาตุต่างๆ กำลังบุญ บาป อะไรประมาณนี้
    ที่เล่า คือ กิริยา อวิชชา คือความไม่รู้แบบหยาบๆ....


    ดั้งนั้นเรา
    อย่าไปเอาตำรามายึดว่า
    ต้องตัดโน้นนี่นั้น สังโยชน์โน้นนั่นนี่
    ถึงจะต้องเป็นระดับโน้นนี่นั้น...พวกนี้มันเป็นสัญญา
    เป็นพระธรรมซึ่งคือตำรา เขียนเป็นอักษรได้
    สามารถดัดแปลงต่อเติมเสริมแต่งแก้ไข
    ปรับปรุงได้เอาเป็นแนวทางได้

    แต่ว่าไม่ใช่สภาวะซึ่งเป็นธรรมะและเป็นนามธรรม
    ดังนั้น เมื่ออริยะเป็นสภาวะทางนามธรรม...
    อย่าได้เผลอไปสร้างให้มันเกิดขึ้นเป็นตัวตนขึ้นมา
    ด้วยการคิดเอา วิเคราะห์เอา แยกแยะเอา ตีความเอาเอง
    เพราะมันเข้าถึงได้จากการปฏิบัติ ไม่ใช่จากอักษร
    มันเป็นเรื่อง กิริยาทางจิต สภาวะจิต
    หากไม่มีความสามารถเข้าถึงตรงนี้ได้จริง
    อย่าพึ่งได้มั่นใจอะไรทั้งสิ้น.........

    เชื่อว่า แม้แต่คำว่า พุทธภูมิ สาวกภูมิ หรือ อะไรภูมิๆก็ตาม
    ก็มาจาก การได้ยิน
    ได้ฟัง หรือมาจากตำราทั้งนั้น
    คำว่า พระพุทธเจ้า มีกี่พระองค์มาแล้ว มีเป็นพันๆ นับไม่ถ้วน
    ก็มาจากตำรา จริงไหม
    คำว่า โพธิสัตว์ ก็มาจากตำรา ทั้งนั้นจริงไหม........

    ดวงจิตที่เข้าถึง ธรรมะ หรือ สภาวะต่างๆนั้น
    ไม่มีดวงจิตไหน จะมาสนใจกับ สมมุติภาษาเหล่านี้หรอกครับ
    แต่พฤติกรรมแห่งตน และวิถีจิตนั้น มันจะเป็นตัวบอกเอง
    ว่าดวงจิตเหล่านั้น มีเส้นทางเดินอย่างไร.....

    ดังนั้น เราอย่าเผลอ เอาตำรา มาเป็นสัญญา
    มาสร้างปกปิดตัวจิตเราตรงนี้ เพราะมันจะเป็น
    การปิดกั้นตัวเราเอง หรือ ปิดกั้นตัวจิตเราเอง
    ได้อย่างคาดไม่ถึง.....


    ถามว่า สภาวะจิตพวกที่เข้าเขตอริยะในระหว่างวัน
    เป็นอย่างไร ตอบได้ไหม?
    รู้ไหมดูอย่างไร มีความ
    สามารถเข้าไปรู้ตรงนี้ไหม ถ้ารู้อธิบาย
    กิรยาทางนามธรรมให้ฟังหน่อยซิ
    ไม่ใช่ตัดโน้นนั่นนี่ได้กี่ข้อ แล้วถือว่าเป็น
    มันง่ายไปไหม หรืออ่านตำรา เอาตำราโน้นนี่มาให้อ่าน
    แล้วเป็นเลยหรือ มันง่ายไปไหม ?

    และสามารถเอาอะไรมาพอชี้วัดได้ไหม
    ที่ไม่ใช่จากตำรา เช่น ความสามารถทำได้ต่างๆ
    เอามาวัดได้ไหม?
    พวกนี้เป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ.....
    แค่ถามพอให้คิดได้บ้าง
    สมัยพุทธกาล ทำไมบ้างท่าน ที่บรรลุธรรม
    ท่านถึงได้มาพร้อมกับความสามารถพิเศษต่างๆ ?
    ถามว่า ท่านเหล่านั้น บรรลุจากการนั่งสมาธิหรือไม่
    หรือท่านบรรลุธรรมจากการฟัง ?



    ดังนั้น ระหว่างพระธรรม
    ที่เป็นตำรา กับธรรมะที่เป็นสภาวะธรรม ที่ได้มาจากการปฏิบัติ
    ถามว่า พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์นั้น ท่านบรรลุธรรม
    เพราะว่า พระธรรมหรือธรรมะ.
    แค่นี้ ไม่ต้องมีปัญญาอะไรมากมาย ก็น่าจะเข้าใจได้


    แต่ปัญหาใหญ่ในเวบนี้ พยายามจะโยงเรื่องสมถะ
    เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เอามายำใหญ่รวมกันโดยหา
    แนวทางที่ชัดเจนไม่ได้ซักที......

    ชอบเอาคำ เอาวลี ของครูบาร์อาจารย์ ที่เป็นสภาวะธรรม
    ของท่าน เอามาเล่า เอามาแนะนำ เอามาเป็น มาอ้าง
    มาเป็นอุบายแนะนำกัน เปรียบเทียบให้กันฟัง

    เรา ต้องไม่ลืมนะครับว่า ความสามารถอย่างเราๆ มันยังไม่ได้
    แค่เศษเสี้ยวของท่านเหล่านั้นในอดีต
    ดังนั้น อย่าได้เผลอเอาตัวเอง
    ไปเปรียบหรือเอาท่านต่างๆเหล่านั้นมาอ้าง
    เพราะ บารมีที่สร้างสะสมมา ของแต่ละดวงจิต
    มันแตกต่างกันครับ.....

    อย่างท่านองค์คุลีมาล ไม่ต้องเอาท่านมาพูดหรอก
    มันไม่มีอีกแล้ว บนโลกใบนี้ที่จะเป็นอย่างท่าน
    อย่างท่านที่บรรลุเร็ว บนโลกนี้คิดว่า จะมีซักกี่คนครับ
    อย่างท่านที่ฟังธรรมแล้วมาพร้อม วิชชา ๓ ปฏิสัมภิทาญาน ๔
    มีซักกี่ท่านบนโลกนี้ครับ....

    ง่ายๆเพราะเราบารมี ปัญญา การปฏิบัติเรา
    มันไม่ได้เท่ากับท่านเหล่านั้น
    ที่เกิดทันตั้งแต่ยุคพุทธกาล

    ดังนั้นอย่าได้เที่ยวสงสัย ว่าเราได้เกิดในยุคนั้นหรือไม่
    หรือถ้ารู้ว่าได้เกิดทัน ควรจะต้องรู้ว่าเรามันพลาดอะไรไป
    พระพุทธเจ้า ที่เป็นร่างอดีตเจ้าชายนั้น ไม่มีอีกแล้วบนโลก
    ใบนี้ ณ ช่วงเวลานี้ ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงว่า จะมีท่านมาสอน
    มาเทศน์อะไรให้ฟังอีก.....

    ถึงได้เหลือทิ้งไว้ แต่ธรรมะ เพื่อให้เราปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึง
    เหมือนกับท่าน ที่เป็นผู้ค้นพบบุคคลแรกของโลก ณ ยุคนั้น
    และก็ตามมาด้วยเหล่าสาวกต่างๆสืบๆกันมา


    ดังนั้น ถ้ากระทู้พูดเรื่อง ทางสมถะ ทางสมาธิ ทางเทคนิค
    สมาธิก็ควรพูดแต่เรื่อง ที่อยู่ในแนวทางเดียวกัน
    ควรแนะ ควรมีข้อแนะนำ ที่ให้อยู่ในแนวทางเดียวกัน
    ตามแนวของพุทธศาสนา เพราะว่า สมาธิ สมถะต่างๆ
    ยังไม่ใช่เหตุโดยตรง ที่จะทำให้ใครบรรลุธรรมอะไรได้
    นอกจาก กลุ่มที่หลงในนิมิตต่างๆ
    ดังนั้น การที่คิดว่า จะทำสมาธิแล้วบรรลุจึงเป็นเรื่อง
    ของดวงจิตที่ยังโง่เขลาเบาปัญญาอยู่
    แต่ถ้าจะฝึกเพื่อนำไปใช้งานให้เป็นประโยชน์
    หรือความชอบส่วนตัวอะไร ก็ไม่ว่ากัน
    แต่อย่าเอามาปนกันกับเรื่องธรรมะ ที่เป็นสภาวะธรรม

    และถ้ากระทู้พูดถึงเรื่องทางธรรมะ ก็ควรเป็นสภาวะ
    ที่เป็นทางนามธรรม ที่เป็นกิริยาทางด้านนามธรรม

    ไม่ใช่เอาพระธรรมซึ่งเป็นตำรา สามารถเขียนเป็นอักษร
    แล้วไปยึดมั่นถือมัน เอามาฟาดฟันหักล้างกัน
    พยายามสร้างพระธรรมที่เป็นตำรา ให้เป็นรูปธรรม
    เป็นอัตตาตัวตน ห่ำหันกัน มันไม่เรื่อง......


    ดังนั้น ก่อนจะแนะนำก่อนจะบอกใคร
    แยกให้ออกก่อน ระหว่างคำว่า พระธรรม
    กับคำว่า ธรรมะ.....

    ก่อนจะมั่นใจคำว่า อริยะ รู้ก่อนว่ากิริยามันเป็นอย่างไร.....
    ก่อนจะพูดว่า ตัด ประหาร ทำลาย กิเลส
    ควรรู้ก่อนว่า กิเลส มันมีกิริยาอย่างไร...
    ก่อนจะฟาดฟันกัน ด้วยพระธรรม
    ควรรู้ก่อน ว่าพระธรรมสามารถดัดแปลง ต่อเติมได้
    ดังนั้นจึงยึดไม่ได้เลย......


    มันถึงจะพอคุยกันรู้เรื่อง
    ไม่ใช่พูดแต่พระธรรมระดับสูง
    พอถามสภาวะแบบเบสิคกลับตอบไม่ได้
    ตอบไม่ได้ แต่ก็ไม่ยอมรับความจริง เพราะอัตตาเยอะ
    และพอตอบไม่ได้อีก ก็แสดงอัตตาตัวตนออกมา
    กลายเป็น อันตพาล กลายเป็นพวกยึดตำรา....
    แสดงนิสัย กล่าวหา ทำลาย ดิสเครดิส
    ยกตนข่มท่าน...

    หนักเข้าก็โม้ ก็คุยอีก ว่าตนรู้เรื่อง สมถะ เก่งสมาธิ
    ทั้งๆที่มันไม่เกี่ยวอะไร กับตำราและพระธรรม
    และการบรรลุธรรมอะไรเลย
    กลับเข้าใจว่า ตำราที่ตนรู้เป็นธรรมะ......เป็นการบรรลุ
    เป็นสมถะ เป็นสมาธิ พอท้าให้แสดงความสามารถ
    ก็แถ ไปเรื่อย คุยไปเรื่อย เปลี่ยนประเด็นไปเรื่อย

    ทั้งที่ สมถะ วิชาเฉพาะ วิชาพิเศษต่างๆ
    มันไม่ใช่ประเด็นสำคัญในการที่จะทำให้
    ใครบรรลุธรรมอะไรเลย เป็นเพียงตัวหนุนส่งเฉยๆ

    แต่เรากลับไปยึดเอาตรงนี้มาเป็นประเด็นในการบรรลุธรรม
    แล้วไปยึดเอา สัญญาจากตัวอักษรมาปกปิดตนเอง
    เพื่อหลอกจิตตนเอง ว่าเป็นระดับโน้นนี่นั้น


    ดังนั้น อย่ายึดอะไรเลย ไม่ว่า จะพระธรรมหรือธรรมะ
    เอาเป็นแนวทางก็พอ...

    ควรให้ความสนใจว่า ณ เวลาปัจจุบัน
    ในการใช้ชีวิตปกติ จิตเรามันสบายไหม
    มันคลายตัวเองได้ตามธรรมชาติไหม
    มันพร้อมจะทิ้งร่างกายนี้ไหม.....

    เราดูกันตอนใช้ชีวิตปกตินี่หละครับ...
    เพราะเรารู้ได้ยากว่า เราจะตายแบบไหน
    ก่อนจะตาย ร่างกายเรามันจะพร้อมที่เข้าถึง
    สภาวะต่างๆได้ไหม.....ก็เพราะถ้าใช้ชีวิตปกติ
    หรือเกร็งกล้ามเข้าถึงสภาวะยังไม่ได้
    จะไปหวังอะไรว่า ตอนใกล้ตายจะพ้นได้หละครับ


    ส่วนใครที่ ยังต้องเป็นไปตาม จริต อนุสัย วิบาก
    ในการเดินทางอยู่ ก็สุดแล้วแต่....
    ถ้าคุณไม่ทิ้งจริงๆ มันก็จะไปตาม จริต อนุสัย
    วิบากคุณเองนั่นหละ

    ดังนั้นอย่ายึดอะไรเลย ว่าเราจะต้องเป็นโน้นนั่นนี่
    หรือมาทางสายโน้นนี่นั้นอะไร
    ทำๆไป ปฏิบัติๆไป เด่วถึงวาระตัวจิตเราเอง
    มันจะรู้เองนั่นหละ โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้
    ชาวโลกเค้ารู้หรอกครับ......พวกนี้มันเป็นนามธรรม
    จะมามองที่ตัวอักษร รูปร่างหน้าตา พฤติกรรม
    การแสดงออก แล้วไปตัดสินเลย
    มันดูบ๊องตื้น ไร้ปัญญาเกินไปครับ...

    ตัวอย่างจากพระเกจิมีชื่อมีให้เห็นเยอะแยะ
    น่าจะพอแยกแยะและคิดกันได้ครับ......


    แค่เพียงแต่เล่าให้ฟังครับ
    ปล.การสอนธรรมเป็นดวงจิตที่
    สะสมบารมีมาทางด้านปัญญาทางธรรม
    จึงออกมาในรูปผู้โปรด เป็นการสะสมบารมี
    มาแล้วกี่ชาตินับไม่ถ้วน.......

    การสอนธรรมะ ถ้าสอนให้คนยึดแม้แต่นิดเดียว
    มันจะกลายเป็นวิบากติดเราทันที
    มันจะส่งผลต่อการพัฒนา
    ระดับปัญญาทางธรรมเราเองครับ

    และสอนสมาธิ สอนสมถะ ถ้าสอนแล้วทำให้คนยึด
    มันก็เป็นวิบาก ขวางการพัฒนาของเราเองอีก

    ดังนั้น จึงยึดอะไรไม่ได้เลยนั่นหละครับ
    ไม่ว่าคุณจะชอบแนะ ชอบสอนทางด้านไหน
    ไม่ได้ว่าอะไรหรอกถ้าชอบ เหตุและปัจจัยที่ส่งมันต่างกัน

    สำคัญอย่าได้เผลอสร้างให้เป็นอัตตาตัวตน
    จนสร้างตนเองเป็นอาจารย์เป็นปรมาจารย์ขึ้นมา
    ก็แล้วกันครับ เพราะมันจะตรงกันข้าม
    กับพุทธศาสนาทันทีครับ....


     
  3. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    ลองฝึกทุกอย่าง ที่อยากจะทำก่อนครับ
    แล้วดูว่า อันไหนง่ายสุด สำหรับเรา ก็เลือกอันนั้น


    แต่ผมจะแนะนำว่า ให้ฝึกแบบ พุท - โธ ก่อน
    พอคล่องแบบพุทโธแล้ว ค่อยไปต่อด้วย
    มโนมยิทธิ หรือ ฤทธิ์ทางใจ นั่นเอง
    จะง่ายที่สุด สำหรับท่าน แล้วลองไป บ้านสายลม ดู
    อาจจะเจอพระอาจารย์ ที่ดีก็ได้
    แต่ตอนนี้ฝึกจับลมหายใจไปก่อน
    หากท่อง พุทโธ ได้คล่องแคล่ว
    การฝึกมโนมยิทธิ ก็ไม่ใช่ของยากจนเกินไป
    เพราะจะมีพื้นฐานที่ดีนั่นเอง
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    อัปปมาทะ(ความไม่ประมาท)

    คือ ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือ ความเพียรที่มีสติเป็นเครื่องเร่งเร้าและควบคุม ได้แก่ การดำเนินชีวิตโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังตัว ไม่ยอมถลำไปในทางเสื่อม แต่ไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความดีงามและความอันจะต้องรับผิดชอบ ไม่ยอมปล่อยปละละเลย การทำการด้วยความจริงจัง รอบคอบและรุดหน้าเรื่อยไป

    “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้นของ"อารยอัฏฐังคิกมรรค"(มรรคมีองค์ ๘) แก่ภิกษุ ฉันนั้น”
    “ธรรมเอก ที่มีอุปการะมาก เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอารยอัฏฐังคิกมรรคที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญบริบูรณ์ เหมือนอย่างความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทนี้เลย”


    “รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลาย ชนิดใด ๆ ก็ตาม ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด, รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรมทั้งหลายอย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้นฉันนั้น”

    “ผู้มีกัลยาณมิตร พึงเป็นอยู่โดยอาศัยธรรมเอกข้อนี้ คือ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย”

    “ธรรมเอกอันจะทำให้ยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง ๒ อย่าง คือ ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์เฉพาะหน้า หรือประโยชน์สามัญของชีวิต เช่น ทรัพย์ ยศ กามสุข เป็นต้น) และสัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้าหรือประโยชน์ขั้นสูงขึ้นไปทางจิตใจหรือคุณธรรม) ก็คือความไม่ประมาท”

    “สังขาร (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น) ทั้งหลาย มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”

    “ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ

    ที.ม.๑๐/๑๔๓/๑๘๐; สํ.ส.๑๕/๓๗๘-๓๘๔/๑๒๕-๑๒๙; สํ.ม.๑๙/๑๓๕-๒๖๒/๓๗-๖๖; องฺ.เอก.๒๐/๖๐-๑๑๖/๑๓-๒๓; อํ.ฉกฺก.๒๒/๓๒๔/๔๐๗; องฺ.ทสก.๒๔/๑๕/๒๓





    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา

    ความเบื่อหน่ายนั่นแหละ เป็นหนทางที่จะให้ถึงธรรมที่บริสุทธิ์ คือ ความเบื่อหน่ายเป็นหนทางที่จะให้ถึงพระนิพพาน.
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    พุทธพจน์

    “ ภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์บกทั้งหลายชนิดใดๆ ก็ตาม
    ย่อมลงในรอยเท้าช้างได้ทั้งหมด รอยเท้าช้าง เรียกว่าเป็น
    ยอดของรอยเท้าเหล่านั้น โดยความใหญ่ ฉันใด กุศลธรรม
    ทั้งหลาย อย่างใดๆ ก็ตาม ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นมูล
    ประชุมลงในความไม่ประมาทได้ทั้งหมด ความไม่ประมาท
    เรียกได้ว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น ”

    “ เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้นสักอย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรม
    ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือให้อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป
    เหมือนความไม่ประมาทเลย เมื่อไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่
    ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ”

    “ เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้ สักอย่าง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่….
    ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม
    เหมือนความไม่ประมาทเลย ”

    “ โดยกำหนด ว่าเป็นองค์ประกอบภายใน เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบ
    อื่นแม้สักข้อหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ เหมือนความไม่ประมาทเลย ”

    “ สิ่งทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา
    ท่านทั้งหลายจงยังประโยชน์ที่มุ่งหมายให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาท ”

    “ เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อนเป็นบุพนิมิตฉันใด
    ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตแห่งการ
    เกิดขึ้นของอริยอัษฎางคิกมรรคแก่ภิกษุฉันนั้น ก็คือความถึงพร้อมด้วย
    ความไม่ประมาท…. ธรรมเอกที่มีอุปการะมากเพื่อการเกิดขึ้นของอริย
    อัษฎางคิกมรรค ก็คือความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท…..


    “ เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้สักอย่าง
    ที่เป็นเหตุให้ อริยอัษฎางคิกมรรค ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น
    หรืออริยอัษฎางคิกมรรคที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์
    เหมือนอย่างความ ถึงพร้อมด้วย ความไม่ประมาทนี้เลย
    ภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือเธอจักเจริญ จักกระทำให้มาก
    ซึ่งอริยอัษฎางคิกมรรค ”

    ถาม: “ มีบ้างไหม ธรรมข้อเดียวที่จะยึดเอาประโยชน์ไว้ได้ทั้ง 2 อย่าง คือ
    ทั้งทิฏฐธัมมิกัตถะ (ประโยชน์ปัจจุบัน หรือประโยชน์เฉพาะหน้า
    และสัมปรายิกัตถะ (ประโยชน์เบื้องหน้า หรือ ประโยชน์ชั้นสูงขึ้นไป)?”
    ตอบ: “ มี ”
    ถาม: “ ธรรมนั้นคืออะไร? ”
    ตอบ: “ ธรรมนั้นคือ ความไม่ประมาท ”
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973

แชร์หน้านี้

Loading...