ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น เรียบเรียงโดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 มิถุนายน 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านเล่าว่า พอท่านเทศน์ให้เราแบบพายุบุแคมอยู่พักใหญ่แล้วก็หนีไป เราเองรู้สึกตัวจะลอยเพราะความปีติยินดี และตื้นตันในโอวาทที่ฉลาดแหลมคม และออกมาจากความเมตตาท่านล้วน ๆ ไม่มีอะไรจะมีคุณค่าเสมอเหมือนได้ในเวลานั้น พอท่านไปแล้วเท่านั้น เราเองก็น้อมอุบายที่ท่านเมตตาสั่งสอนเข้าพิจารณาแก้ทุกขเวทนาที่กำลังแสดงตัวอยู่เต็มความสามารถ โดยไม่มีความย่อท้ออ่อนแอแต่อย่างใดเลย ขณะพิจารณาทุกขเวทนาหลังจากท่านไปแล้ว ราวกับท่านนั่งคอยดูและคอยให้อุบายช่วยเราอยู่ตลอดเวลา ยิ่งทำให้มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับทุกข์มากขึ้น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขณะพิจารณานั้น ได้พยายามแยกทุกข์ออกเป็นขันธ์ ๆ คือแยกกายและอาการต่าง ๆ ของกายออกเป็นขันธ์หนึ่ง แยกสัญญา ที่คอยมั่นหมายหลอกลวงเราออกเป็นขันธ์หนึ่ง แยกสังขารคือความคิดปรุงต่าง ๆ ออกเป็นขันธ์หนึ่ง และแยกจิตออกเป็นพิเศษส่วนหนึ่ง แล้วพิจารณาเทียบเคียงหาเหตุผลต้นปลายของตัวทุกข์ ที่กำลังแสดงอยู่ในกายอย่างชุลมุนวุ่นวาย โดยมิได้มีกำหนดว่าทุกข์จะดับเราจะหายหรือทุกข์จะกำเริบเราจะตาย แต่สิ่งที่หมายมั่นปั้นมือจะให้รู้ตามความมุ่งหมายเวลานั้น คือ ความจริงของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น
    <o:p></o:p>
    เฉพาะที่อยากรู้มากในเวลานั้นคือทุกขสัจว่าเป็นอะไรกันแน่ ทำไมจึงมีอำนาจมาก สามารถทำจิตใจของสัตว์โลกให้สะเทือนหวั่นไหวได้ทุกตัวสัตว์ ไม่ยกเว้นว่าเป็นใครเอาเลย ทั้งเวลาทุกข์แสดงขึ้นธรรมดาเพราะความกระทบกระเทือนจากเหตุต่าง ๆ ทั้งแสดงขึ้นในวาระสุดท้ายตอนจะโยกย้ายภพภูมิไปสู่โลกใหม่ภูมิใหม่ สัตว์ทุกถ้วนหน้ารู้สึกหวั่นเกรงกันนักหนาไม่มีรายใดหาญสู้หน้ากล้าเผชิญ นอกจากทนอยู่ด้วยความหมดหนทางเท่านั้น ถ้าสามารถหลบหลีกได้ก็น่าจะหลบไปอยู่คนละมุมโลก เพราะความกลัวทุกข์ตัวเดียวนี้เท่านั้น เราเองก็นับเข้าในจำนวนสัตว์โลกผู้ขี้ขลาดหวาดกลัวทุกข์ จะปฏิบัติตัวอย่างไรกับทุกข์ที่กำลังแสดงอยู่นี้ จึงจะเป็นผู้องอาจกล้าหาญด้วยความจริงเป็นพยาน เอาละ เราต้องสู้กับทุกข์ด้วยสติปัญญาตามทางศาสดาและครูอาจารย์สั่งสอนไว้
    <o:p></o:p>
    เมื่อสักครู่นี้ท่านอาจารย์มั่น ท่านก็ได้เมตตาสั่งสอนอย่างถึงใจไม่มีทางสงสัย ท่านสอนว่าให้สู้ด้วยสติปัญญา โดยแยกแยะขันธ์นั้น ๆ ออกดูอย่างชัดเจน ก็เวลานี้ทุกขเวทนาเป็นขันธ์อะไร เป็นรูป เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณและเป็นจิตได้ไหม ? ถ้าเป็นไม่ได้ ทำไมเราจึงเหมาเอาทุกขเวทนาว่าเป็นเรา เป็นเราทุกข์ เราจริง ๆ คือทุกขเวทนานี้ละหรือ หรืออะไรกันแน่ ต้องให้ทราบความจริงกันในวันนี้ ถ้าเวทนาไม่ดับ และเราไม่รู้แจ้งทุกขเวทนาด้วยสติปัญญาอย่างจริงใจ แม้จะตายไปกับที่นั่งภาวนานี้เราก็ยอม แต่จะไม่ยอมลุกจากที่ให้ทุกขเวทนาหัวเราะเย้ยหยันเป็นอันขาด<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นับแต่ขณะนั้น สติปัญญาทำการแยกแยะห้ำหั่นกันอย่างเอาเป็นเอาตายเข้าว่า ระหว่างสงครามของจิตกับทุกขเวทนาต่อสู้กันอยู่เวลานั้นกินเวลาห้าชั่วโมง จึงได้รู้ความจริงจากขันธ์แต่ละขันธ์ได้ เฉพาะอย่างยิ่งรู้เวทนาขันธ์อย่างชัดเจนด้วยปัญญา ทุกขเวทนาดับลงในทันทีที่พิจารณารอบตัวเต็มที่ ท่านว่าท่านได้เริ่มเชื่อสัจธรรมมีทุกขสัจ เป็นต้น ว่าเป็นของจริงแต่บัดนั้นมาอย่างไม่หวั่นไหว แต่นั้นมาเวลาเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยต่าง ๆ ขึ้นมา ใจมีทางต่อสู้กันเพื่อชนะทางสติปัญญา ไม่อ่อนแอปวกเปียก ใจมักได้กำลังในเวลาเจ็บป่วยเพราะเป็นเวลาเอาจริงเอาจังเอาเป็นเอาตายกันจริง ๆ ธรรมที่เคยถือเป็นของเล่นโดยไม่รู้สึกตัวมาประจำนิสัยปุถุชนในเวลาธรรมดาไม่จนตรอก ก็แสดงความจริงให้เห็นชัดในเวลานั้น ขณะพิจารณาทุกขเวทนารอบแล้วทุกข์ดับไป ใจก็รวมลงถึงฐานของสมาธิ หมดปัญหาต่าง ๆ ทางกายทางใจไปพักหนึ่ง จนกว่าจิตถอนขึ้นมา ซึ่งกินเวลาหลายชั่วโมง มีอะไรค่อยพิจารณากันต่อไปอีกด้วยความอาจหาญต่อความจริงที่เคยเห็นมาแล้ว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านว่าเมื่อจิตรวมลงถึงฐานสมาธิเพราะอำนาจการพิจารณาแล้ว ไข้ได้หายไปแต่บัดนั้นไม่กลับมาเป็นอีกเลย จึงเป็นที่น่าประหลาดใจว่าเป็นไปได้อย่างไร ข้อนี้สำหรับผู้เขียนเชื่อทั้งร้อยไม่คัดค้าน เพราะเคยพิจารณาแบบเดียวกันนี้มาบ้างแล้ว ผลก็เป็นแบบเดียวกับที่ท่านพูดให้ฟังไม่มีผิดกันเลย จึงทำให้สนิทใจตลอดมาว่าธรรมโอสถสามารถรักษาโรคได้อย่างลึกลับ และประจักษ์กับท่านผู้ปฏิบัติที่มีนิสัยในทางนี้ โดยมากพระธุดงคกรรมฐานท่านชอบพิจารณาเยียวยาธาตุขันธ์ของท่าน เวลาเกิดโรคเกิดภัยไข้เจ็บอย่างเงียบ ๆ โดยลำพัง ไม่ค่อยระบายให้ใครฟังง่าย ๆ นอกจากวงปฏิบัติด้วยกันและมีนิสัยคล้ายคลึงกัน ท่านจึงสนทนากันอย่างสนิทใจ
    <o:p></o:p>
    ที่ว่าท่านบำบัดโรคด้วยวิธีภาวนานั้นมิได้หมายความว่าบำบัดได้ทุกชนิดไป แม้ท่านเองก็ไม่แน่ใจว่าโรคชนิดใดบำบัดได้และโรคชนิดใดบำบัดไม่ได้ แต่ท่านไม่ประมาทในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวท่าน ถึงร่างกายจะตายไปเพราะโรคในกาย แต่โรคในจิตคือกิเลสอาสวะต่าง ๆ ก็ต้องให้ตายไปด้วยอำนาจธรรมโอสถท่านบ้างเหมือนกัน ฉะนั้น การพิจารณาโรคต่าง ๆ ทั้งโรคในกายและโรคในใจ ท่านจึงมิได้ลดละทั้งสองทาง โดยถือว่าเป็นกิจจำเป็นระหว่างขันธ์กับจิต จำต้องพิจารณาและรับผิดชอบกันจนวาระสุดท้าย
    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์องค์นี้ ท่านชอบรักษาไข้ด้วยธรรมโอสถตลอดมา ครั้งหนึ่งท่านพักอยู่ภูเขาแถบจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นที่ชุมชุมด้วยไข้มาลาเรีย หลังจากฉันเสร็จวันนั้นก็เริ่มไข้จับสั่นขึ้นในทันทีทันใด ผ้าห่มกี่ผืนก็มีแต่หนักตัวเปล่า ๆ หาความอุ่นไม่มีเลยท่านจึงสั่งให้งดการบำบัดหนาวทางภายนอก จะบำบัดทางภายในด้วยธรรมดังที่เคยได้ผลมาแล้ว และสั่งให้พระหลีกจากท่านไปให้หมด และให้รอจนกว่ามองเห็นบานประตูกระต๊อบกุฎีเล็ก ๆ เปิดเมื่อไรค่อยมาหาท่าน เมื่อพระไปกันหมดแล้ว ท่านก็เริ่มภาวนาพิจารณาทุกขเวทนาดังที่เคยพิจารณามา ทราบว่าเริ่มแต่เก้านาฬิกาคือสามโมงเช้าจนถึงบ่ายสามโมงจึงลงกันได้ ไข้ก็สร่างและหายไปแต่บัดนั้น จิตก็รวมลงถึงฐานและพักอยู่ราวสองชั่วโมงเศษ จนร่วมหกโมงเย็นจึงออกจากที่สมาธิภาวนาด้วยความเบากายเบาใจไม่มีอะไรมารบกวนอีกเลย ไข้ก็หายขาด จิตก็ปราดเปรื่องลือเลื่องในองค์ท่านและอยู่ด้วยวิหารธรรมเรื่อยมาจนปัจจุบัน<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านเป็นพระที่อาจหาญเฉียบขาดทางความเพียรมาก ยากจะหาผู้เสมอได้องค์หนึ่ง แม้อายุจะก้าวเข้าวัยชราภาพแล้ว แต่การทำความเพียรยังเก่งกล้าสามารถเสมอมามิได้ลดละ เดินจงกรมแต่ละครั้งตั้งห้าหกชั่วโมงจึงหยุดพัก แม้แต่พระหนุ่ม ๆ ยังสู้ท่านไม่ได้ นี่แลความเพียรของปราชญ์ท่านต่างกับพวกเราอยู่มาก ซึ่งคอยแต่จะคว้าหาหมอนเอาท่าเดียว ประหนึ่งหมอนเป็นสิ่งประเสริฐเลิศกว่ามรรคผลนิพพานเป็นไหน ๆ คิดดูแล้วน่าอับอายตัวเองที่เก่งในทางไม่เป็นสาระ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ที่แปลกอยู่อย่างหนึ่ง คือเวลาท่านนึกถึงอะไร สิ่งนั้นมักจะมาตามความรำพึงนึกคิดท่านเสมอ เช่นนึกถึงช้างว่าหายหน้าไปไหนเป็นปี ๆ แล้วไม่เห็นผ่านมาทางนี้บ้างเลย หรือถูกนายพรานยิงตายเสียแล้ว พอตกกลางคืนดึก ๆ ช้างตัวนั้นก็มาหาจริง ๆ และเดินตรงเข้ามายังกุฏิที่ท่านพักอยู่ มายืนลูบคลำสิ่งต่าง ๆ ในบริเวณกุฏิท่านพ่อให้ทราบว่าเขามาหา แล้วก็กลับเข้าป่าเข้าเขาและหายเงียบไปเลย ไม่กลับมาอีก เวลารำพึงนึกถึงเสือก็เหมือนกัน ว่าเสือที่เคยเดินผ่านมาที่นี่บ่อย ๆ บัดนี้หายหน้าไปไหนนานแล้ว ไม่เห็นมาอีก หรือถูกเขาฆ่าตายกันหมดแล้ว เพียงนึกถึงเสือตอนกลางวัน แต่พอตกตอนกลางคืนเสือก็มาเที่ยวเพ่นพ่านภายในวัด และบริเวณที่ท่านพักอยู่จริง ๆ พอเป็นนิมิตให้ท่านทราบว่าเขายังอยู่ยังไม่ตายดังที่วิตกถึง แล้วก็หนีไปไม่มาซ้ำ ๆ ซาก ๆ อีกเลย
    <o:p></o:p>
    ท่านเล่าว่าตอนนึกถึงสัตว์ต่าง ๆ รู้สึกแปลกอยู่มากผิดธรรมดา พอนึกถึงทีไร ถึงสัตว์ชนิดไร สัตว์ชนิดนั้นมักจะมาหาท่านแทบทุกครั้งที่นึกถึงเขา คล้ายกับมีอะไรไปบอกข่าวให้สัตว์นั้น ๆ ทราบและให้มาหาท่าน พระวิเศษทางภายในอย่างท่านคงมีเทพาอารักษ์คอยให้อารักขา และคอยอำนวยความสะดวกตามความคิดเห็นต่าง ๆ อยู่เสมอ พอคิดอะไรขึ้นมาจึงมักมีเครื่องสนองตอบทางความคิดเสมอมา ถ้าไม่มีทำไมจะมีอะไรมาหาท่านตรงตามความคิดเสียทุกครั้งเช่นนั้น อย่างเรา ๆ ท่าน ๆ คิดคนละกี่พันเรื่อง และกี่ร้อยกี่พันหน ก็ไม่เห็นมีอะไรมาตอบสนองความนึกคิดความต้องการบ้างเลย พอให้ทราบว่าเราก็มีอะไรดี ๆ พอตัวผู้หนึ่งที่ควรได้รับความเทิดทูนอย่างท่าน นอกจากคิดลม ๆ แล้ง ๆ ไปพอให้กวนใจได้รับความลำบากทรมานเปล่า ๆ เท่านั้น ไม่เห็นมีอะไรพอเป็นชิ้นดีแฝงมาบ้างเลย จึงน่าอับอายความคิดของตัวที่ขนแต่กองทุกข์มาให้วันละกี่ร้อยกี่พันเรื่อง จนสมองทื่อหมดกำลังที่จะทำงานต่อไป
    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์องค์นี้ท่านมีลูกศิษย์มากมาย ทั้งพระเณรและฆราวาสจากภาคต่าง ๆ ของเมืองไทย มาศึกษาอบรมศีลธรรมกับท่านเสมอมิได้ขาด แต่ทุกวันนี้ท่านพยายามรักษาความสงบเฉพาะองค์ท่านมากกว่าปกติที่เคยเป็นมา เพื่อวิบากขันธ์จะได้สืบต่อกันไปเท่าที่ควร และเพื่อทำประโยชน์แก่โลกที่ควรได้รับซึ่งมีอยู่มากมาย ปกติหลังจากฉันเสร็จแล้ว ท่านเริ่มเข้าทางจงกรมทำความเพียรราวหนึ่งถึงสองชั่วโมง แล้วออกจากทางจงกรมเข้าห้องพักและทำภาวนาต่อไปจนถึงบ่ายสองโมง ถ้าไม่มีธุระอื่น ๆ ก็เข้าทางจงกรม ทำความเพียรต่อไปจนถึงเวลาปัดกวาดลานวัด ท่านถึงจะออกมาจากที่ทำความเพียร<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลังจากสรงน้ำเสร็จก็เข้าทางจงกรมและเดินจงกรมทำความเพียรต่อไปถึงสี่หรือห้าทุ่มจึงหยุด แล้วเข้าที่สวดมนต์ภาวนาต่อไป จนถึงเวลาจำวัดแล้วพักผ่อนร่างกายราวสามนาฬิกา คือ เก้าทุ่มเป็นเวลาตื่นจากจำวัด และทำความเพียรต่อไปจนถึงเวลาโคจรบิณฑบาต จึงออกบิณฑบาตมาฉันเพื่อบำบัดกายตามวิบากที่ยังครองอยู่ นี่เป็นกิจวัตรประจำวันที่ท่านจำต้องทำมิให้ขาดได้ นอกจากมีธุระจำเป็นอย่างอื่น เช่นถูกนิมนต์ไปในที่ต่าง ๆ ก็มีขาดไปบ้าง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านผู้มีคุณธรรมสูงขนาดนี้แล้ว ท่านไม่หวังความสุขรื่นเริงจากอะไรยิ่งกว่าความสุขรื่นเริงในธรรมภายในใจโดยเฉพาะ ท่านมีความเป็นอยู่อันสมบูรณ์ด้วยธรรมภายใน อยู่ในท่าอิริยาบถใดใจก็มีความสุขเสมอตัว ไม่เจริญขึ้นและเสื่อมลง อันเป็นลักษณะของโลกที่มีความเจริญกับความเสื่อมเป็นของคู่กัน ทั้งนี้เพราะท่านมีใจดวงเดียวที่บริสุทธิ์สุดส่วน มีธรรมแท่งเดียวเป็นเอกีภาพ ไม่มีสองกับอะไรพอจะเป็นคู่แข่งดีแข่งเด่น จึงเป็นความสงบสุขที่หาอะไรเปรียบมิได้ จิตที่มีความบริสุทธิ์เต็มภูมิ เป็นจิตที่มีความสงบสุขอย่างพอตัว ไม่ต้องการอะไรมาเพิ่มเติมส่งเสริมให้เป็นความกระเพื่อมกังวลเปล่า ๆ ไม่เกิดประโยชน์แก่จิตดวงนั้นเลยแม้แต่น้อย
    <o:p></o:p>
    ท่านที่ครองจิตดวงนี้จึงชอบอยู่คนเดียว ไม่ชอบความเกลื่อนกล่นวุ่นวาย เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องรบกวนความสงบสุขในหลักธรรมชาติที่เป็นอยู่อย่างพอตัว ให้กระเพื่อมรับทราบทางทวารต่างๆ ท่านจึงชอบหลีกเร้นอยู่ตามอัธยาศัยซึ่งเป็นการเหมาะกับจริตนิสัยที่สุด แต่ผู้ไม่เข้าใจตามความจริงของท่าน ก็มักคิดไปต่างๆ ว่าท่านไม่ต้อนรับแขกบ้าง ท่านรังเกียจผู้คนบ้าง ท่านหลบหลีกเอาตัวรอดแต่ผู้เดียวไม่สนใจอบรมสั่งสอนประชาชนบ้าง ความจริงก็เป็นดังที่เรียนมานั่นเอง การอบรมสั่งสอนคนจะหาใครที่อบรมด้วยความบริสุทธิ์ใจและเต็มไปด้วยความเมตตา ไม่สนใจกับอามิสหรือสิ่งตอบแทนใด ๆ เหมือนท่าน รู้สึกจะหายากมาก
    <o:p></o:p>
    เพราะการอบรมสั่งสอนคนทุกชั้นทุกเพศทุกวัย ท่านสอนด้วยความรู้จริงเห็นจริงจริง ๆ และมุ่งประโยชน์แก่ผู้รับด้วยความเมตตาหาที่ตำหนิมิได้ นอกจากที่ไปรบกวนท่านแบบนอกลู่นอกทางดังที่เขียนผ่านมาแล้วเท่านั้น จึงไม่อาจต้อนรับและสั่งสอนได้ทุกรายไป เพราะสุดวิสัยของพระจะทำไปนอกลู่นอกทางตามคำขอร้องเสียทุกอย่างของผู้ไม่มีขอบเขตความพอดี ท่านเองก็พลอยได้รับความลำบากและเสียหายไปด้วยที่น่าสงสาร<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การจำพรรษา บางปีท่านจำที่ภูเขาองค์เดียว โดยอาศัยชาวไร่เพียงสองสามครอบครัวเป็นที่โคจรบิณฑบาต ท่านว่าเป็นความผาสุกเย็นใจอย่างยิ่งในชีวิตของนักบวชเพื่อปฏิบัติธรรม วันคืนหนึ่งๆ เต็มไปด้วยความเพียร ไม่มีภารกิจการใดๆ เป็นเครื่องกังวล เวลาเป็นของตัว ความเพียรเป็นของตัวทุก ๆ อิริยาบถ จิตใจกับธรรมเป็นของตัวในอิริยาบถทั้งปวง ไม่มีอะไรมาแบ่งสันปันส่วนพอให้เบาบางลงไปจากปกติเดิม วัน คืน เดือน ปีของนักบวชผู้มีราตรีเดียวไม่ยุ่งเกี่ยวกับอะไรนี้ เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากจนหาอะไรเทียบมิได้ ท่านว่าตอนท่านจำพรรษาองค์เดียวที่ภูเขาแห่งหนึ่งเขตจังหวัดสกลนครกับกาฬสินธุ์ต่อกัน ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านราวสามสี่ร้อยเส้น ที่นั่นมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก เช่น เสือ ช้าง กระทิง วัวแดง อีเก้ง หมู กวางต่าง ๆ เวลากลางคืนจะได้ยินเสียงสัตว์เหล่านี้ร้องกังวานป่า และเที่ยวหากินมาใกล้ ๆ บริเวณที่ท่านพักอยู่แทบทุกคืน บางครั้งแทบมองเห็นตัวมัน เพราะมาใกล้ ๆ ที่อยู่ท่านมาก ท่านเองรู้สึกเพลิดเพลินไปกับสัตว์เหล่านี้ด้วยความเมตตาสงสารเขา
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ปีท่านเข้าไปจำพรรษาอยู่องค์เดียวในภูเขาลูกนี้ แต่จำไม่แน่ว่าเป็น พ.ศ. เท่าไร จำได้แต่เพียงว่า ท่านจำพรรษาที่นั่นหลังจากท่านอาจารย์มั่นมรณภาพแล้วไม่นานนัก ท่านว่าในพรรษานั้น เวลาทำสมาธิภาวนา ปรากฏว่าท่านอาจารย์มั่นมาเยี่ยมและแสดงสัมโมทนียธรรมให้ฟังเสมอตลอดพรรษา การทำข้อวัตรในบริเวณถ้ำที่พักจำพรรษา ตลอดการจัดบริขารต่าง ๆ ไม่ถูกต้องประการใด ท่านได้ตักเตือนอยู่เสมอ พรรษานั้นจึงเป็นเหมือนอยู่กับองค์ท่านอาจารย์มั่นตลอดเวลา
    <o:p></o:p>
    ท่านมาแสดงประเพณีของพระธุดงค์ผู้มุ่งต่อความหลุดพ้นให้ฟังว่า ธุดงควัตรต่างๆ ควรรักษาให้ถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ประทานไว้ อย่าให้เคลื่อนคลาด และยกธุดงควัตรสมัยที่ท่านพาหมู่คณะปฏิบัติเวลามีชีวิตอยู่ขึ้นแสดงซ้ำอีก เพื่อความแน่ใจว่าที่ผมพาหมู่คณะดำเนินตลอดวันสิ้นอายุของผม ก็เป็นธุดงควัตรที่แน่ใจอยู่แล้วไม่มีสงสัย จึงควรเป็นที่ลงใจและปฏิบัติตามด้วยความเอาใจใส่ และอย่าพึงเข้าใจว่าศาสนาเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้าและเป็นสมบัติของพระสาวกองค์หนึ่งองค์ใด แต่เป็นสมบัติของผู้รักใคร่สนใจปฏิบัติทุก ๆ คนที่มุ่งประโยชน์จากศาสนา พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายท่านไม่ทรงมีส่วนอะไรกับศาสนาที่ประทานไว้สำหรับโลกเลย อย่าไปเข้าใจว่าพระองค์และสาวกทั้งหลายจะพลอยมีส่วนดีและมัวหมองไปด้วย จะปฏิบัติผิดหรือถูกประการใดก็เป็นเรื่องของเราเป็นราย ๆ ไป มิได้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลาย
    <o:p></o:p>
    ท่านมาปฏิบัติอยู่ที่นี่ก็เป็นความมุ่งหมายของท่านโดยเฉพาะ การปฏิบัติผิดหรือถูกจึงเป็นเรื่องของท่านเองโดยเฉพาะเช่นกัน ฉะนั้นจงทำความระมัดระวังการปฏิบัติเพื่อความอยู่สบายในทิฏฐธรรม ท่านเองก็กำลังจะเป็นอาจารย์ของคนจำนวนมาก จึงควรทำกรุยหมายที่ถูกต้องดีงามไว้ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่กุลบุตรสุดท้ายภายหลัง ผู้ดำเนินตามจะไม่ผิดหวัง ความเป็นอาจารย์คนนั้นสำคัญมาก จึงควรพิจารณาด้วยดี อาจารย์ผิดเพียงคนเดียวอาจพาให้คนอื่น ๆ ผิดไปด้วยเป็นจำนวนมากมาย อาจารย์ทำถูกเพียงคนเดียว ก็สามารถนำผู้อื่นให้ถูกด้วยไม่มีประมาณเช่นเดียวกัน ท่านควรพิจารณาเกี่ยวกับความเป็นอาจารย์หมู่มากให้รอบคอบ เพื่อคนอื่นจะมีทางเดินโดยสะดวกราบรื่นไม่ผิดพลาด เพราะความยึดเราเป็นอาจารย์สั่งสอน<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คำว่า “ อาจารย์ ” ก็คือผู้ฝึกสอนหรืออบรมกิริยาความเคลื่อนไหวที่แสดงออกแต่ละอาการ ควรให้ผู้อาศัยยึดเป็นหลักดำเนินได้ ไม่เป็นกิริยาที่แสดงออกจากความผิดพลาด เพราะขาดการพิจารณาไตร่ตรองก่อนแสดงออกมา พระพุทธเจ้าที่ว่าทรงเป็นศาสดาสอนโลกนั้น มิได้เป็นศาสดาเพียงเวลาแสดงธรรมให้พุทธบริษัทฟังเท่านั้น แต่ทรงเป็นศาสดาอยู่ทุกอิริยาบถ ทรงสีหไสยาสน์คือนอนตะแคงข้างขวาก็ดี ประทับนั่งก็ดี ประทับยืนก็ดี เสด็จไปในที่ต่าง ๆ แม้ที่สุดเสด็จภายในวัดก็ดี ล้วนเป็นศาสดาประจำพระอาการทุกอยู่ทุก ๆ อิริยาบถ พระองค์ไม่ทรงทำให้ผิดพลาดจากความเป็นศาสดาเลย ผู้มีสติปัญญาชอบวินิจฉัยไตร่ตรองอยู่แล้ว ย่อมยึดเป็นคติตัวอย่างเครื่องพร่ำสอนตนได้ทุก ๆ พระอาการที่ทรงเคลื่อนไหว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อย่าเข้าใจว่า พระองค์จะทรงปล่อยปละมรรยาทเหมือนโลกทั้งหลายที่ชอบทำกิริยาต่าง ๆ จากคน ๆ เดียวในสถานที่ต่าง ๆ อยู่ที่หนึ่งประพฤติตัวอย่างหนึ่ง ไปอยู่ที่หนึ่งประพฤติตัวอีกอย่างหนึ่ง ไปอยู่ในที่อีกแห่งหนึ่งแสดงกิริยาอาการอย่างหนึ่ง เป็นลักษณะเปรตผีทั้งเป็นคนดีทั้งเป็นคนชั่วทั่วทุกทิศ ไม่มีประมาณให้พอยึดเป็นหลักได้ทั้งตัวเองและผู้อื่น ส่วนพระพุทธเจ้ามิได้เป็นอย่างโลกดังกล่าวมา แต่ทรงเป็นศาสดาอยู่ทุกพระอิริยาบถตลอดวันนิพพาน แต่ละพระอาการที่แสดงออก ทรงมีศาสดาประจำมิได้บกพร่องเลย ใครจะยึดเป็นสรณะคือหลักพึ่งพิงเพื่อดำเนินตามเมื่อไรก็ได้เมื่อนั้น โดยไม่เลือกว่าเป็นพระอิริยาบถหรือพระอาการใด จึงสมพระนามว่าเป็นศาสดาของโลกทั้งสาม
    <o:p></o:p>
    แม้ขณะจะเสด็จนิพพานก็ทรงสีหไสยาสน์นิพพาน มิได้นอนทิ้งเนื้อทิ้งตัวกลัวความตายร่ายมนต์บ่นเพ้อไปต่างๆ ดังที่โลกเป็นกันมาประจำแผ่นดิน แต่ทรงสีหไสยาสน์นิพพาน ส่วนพระทัยก็ทรงทำหน้าที่นิพพานอย่างองอาจกล้าหาญ ราวกับจะทรงพระชนม์อยู่กับโลกตั้งกัปตั้งกัลป์ ความจริงคือทรงประกาศความเป็นศาสดาในวาระสุดท้าย ด้วยการเข้าฌานและนิโรธสมาบัติ ทรงถอยเข้าถอยออกจนควรแก่กาลแล้ว จึงเสด็จปรินิพพานไปแบบศาสดาโดยสมบูรณ์ ไม่ทรงเยื่อใยกับสิ่งใด ๆ ในสามภพ นั่นแลศาสดาของโลกทั้งสาม ท่านทรงทำตัวอย่างเป็นแบบฉบับของโลกตลอดมาแต่ขณะตรัสรู้จนวันเสด็จปรินิพพาน ไม่ทรงลดละพระอาการใด ๆ จากความเป็นศาสดาให้เป็นกิริยาอย่างคนสามัญธรรมดาทำกัน ทรงปฏิบัติหน้าที่โดยสมบูรณ์จนวาระสุดท้าย จึงควรน้อมนำตัวอย่างของศาสดามาปฏิบัติดำเนิน แม้ไม่สมบูรณ์ตามแบบศาสดาทุก ๆ กระเบียด แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ของลูกศิษย์ที่มีครูสั่งสอนบ้าง ไม่เคว้งคว้างเหมือนเรือที่ลอยลำอยู่กลางทะเลซึ่งมีพายุจัดไม่ได้ทอดสมอ
    <o:p></o:p>
    การปฏิบัติของนักบวชที่ไม่มีหลักยึดอย่างถูกต้องตายตัวนั้น ย่อมไม่มีจุดหมายว่าจะถึงฝั่งแห่งความปลอดภัย หรือจะเป็นอันตรายด้วยภัยต่างๆ ไม่มีอะไรเป็นเครื่องตัดสินได้ เช่นเดียวกับเรือไม่มีหางเสือบังคับ ย่อมไม่สามารถแล่นไปถึงที่หมายได้ และยังอาจลอยไปตามกระแสน้ำและเป็นอันตรายได้อย่างง่ายดาย ฉะนั้นหลักธรรมวินัยมีธุดงควัตรเป็นต้น คือหางเสือของการปฏิบัติเพื่อให้ถึงที่ปลอดภัย จงยึดให้มั่นคงอย่าโยกคลอนหวั่นไหว ผู้คอยดำเนินตามซึ่งมีจำนวนมากที่ยึดเราเป็นเยี่ยงอย่างจะเหลวไหลไปตาม
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธุดงควัตรคือปฏิปทาอันตรงแน่วไปสู่จุดหมาย โดยไม่มีปฏิปทาใดเสมอเหมือน ขอแต่ผู้ปฏิบัติจงใช้สติปัญญาศรัทธาความเพียรพยายามดำเนินตามเถิด ธรรมที่มุ่งหวังย่อมอยู่ในวิสัยของธุดงค์ที่ประทานไว้จะพาให้เข้าถึง อย่างไม่มีปัญหาแลอุปสรรคใดๆ กีดขวางได้ เพราะธุดงควัตรเป็นทางเดียวที่พาให้พ้นทุกข์ไม่เป็นอย่างอื่น จึงไม่ควรทำความเคลือบแคลงสงสัย และธรรมนี้เป็นที่รวมปฏิปทาเครื่องดำเนินเข้าสู่ความดับทุกข์ทั้งหลายด้วย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พระที่มีความรักชอบในธุดงควัตร คือผู้มีความรักชอบและจงรักภักดีต่อพระศาสดาผู้เป็นบรมครู พระผู้มีธุดงควัตรเป็นเครื่องดำเนินคือผู้มีฝั่งมีฝา มีศาสดาเป็นสรณะในอิริยาบถทั้งปวง อยู่ที่ใดไปที่ใดมีธรรมคอยคุ้มครองรักษาแทนศาสดา ไม่ว้าเหว่เร่ร่อนคลอนแคลน มีหลักใจเป็นหลักธรรม มีหลักธรรมเป็นดวงใจ หายใจเข้าหายใจออกเป็นธรรมและกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับใจ ผู้นี้คือผู้มีราตรีอยู่กับธรรมไม่หวั่นไหวเอนเอียง สำหรับท่านเองไม่มีอะไรวิตกก็จริง แต่ผู้เกี่ยวเนื่องกับท่านมีมากมาย จึงควรเป็นห่วงหมู่คณะและประชาชนที่คอยเดินตามหลังบ้าง เขาจะได้มีความอบอุ่นในปฏิปทาที่ยึดจากท่านไปเป็นเครื่องดำเนิน ว่าเป็นความถูกต้องแม่นยำไม่มีผิดพลาดดังนี้ ท่านสอนผม
    <o:p></o:p>
    ท่านเล่าว่า เพียงนอนตื่นผิดเวลาบ้างเล็กน้อย ท่านยังมาเตือนว่า อย่าเชื่อตัวเองยิ่งกว่าธรรม ตัวเองคือวัฏฏะ ธาตุขันธ์เป็นผลของวัฏฏะมาดั้งเดิม ควรอนุโลมให้เขาเท่าที่อนุโลมได้ อย่าปล่อยตามขันธ์จนเกินไป ผิดวิสัยของพระที่เป็นเพศไม่นิ่งนอนใจ การหลับนอนของนักปราชญ์ท่านเพียงเพื่อบรรเทาธาตุขันธ์ไปชั่วระยะเท่านั้น ไม่ได้หวังความสุขความสำราญอะไรจากการระงับความอ่อนเพลียทางธาตุขันธ์นั้นเลย พระนอนตามแบบพระจริง ๆ ต้องระวังตัวเพื่อจะตื่น เหมือนแม่เนื้อนอน ซึ่งมีสติระวังตัวดีกว่าปกติเวลาเที่ยวหากิน คำว่า จำวัด ก็คือความระวังตั้งสติหมายใจจะลุกตามเวลาที่กำหนดไว้ตอนก่อนนอน มิได้นอนแบบขายทอดตลาดดังสินค้าที่หมดราคาแล้ว ตามแต่ลูกค้าจะให้ในราคาเท่าไรตามความชอบใจของตน พระที่นอนปล่อยตัวตามใจชอบมิใช่พระศากยบุตรพุทธบริษัท ผู้รักษาศาสนาให้เจริญในตนและผู้อื่น แต่เป็นพระประเภทขายทอดตลาดตามยถากรรมจะตีราคาเอาเอง
    <o:p></o:p>
    การจำวัดของพระที่มีศีลวัตร ธรรมวัตร ต้องมีกำหนดกฎเกณฑ์บังคับตัวในเวลาก่อนหลับ และระวังตัวอยู่ตามวิสัยของพระผู้กำลังจำวัดคือหลับนอน พอรู้สึกตัวต้องรีบลุกขึ้นทันทีไม่ซ้ำซาก อันเป็นลักษณะคนขี้เกียจนอนตื่นสาย และตายจมอยู่ในความประมาทไม่มีวันรู้สึกตัว การนอนแบบนี้เป็นลัทธิของสัตว์ตัวไม่มีความหมายในชีวิตของตัว และเป็นนิสัยของคนเกียจคร้านผลาญสมบัติไม่มีงอกเงยขึ้นมาได้ ไม่ใช่ทางของศาสนา จึงไม่ควรส่งเสริม จะกลายเป็นกาฝากขึ้นมาในวงศาสนาและพระธุดงค์ทั้งหลายซึ่งเป็นเรื่องทำลายตัวเอง ดังกาฝากทำลายต้นไม้ที่มันอาศัยนั่นแล ท่านควรขบคิดคำว่า จำวัด กับคำว่า นอน ซึ่งเป็นคำทั่ว ๆ ไป เทียบกันดูจะเห็นว่าผิดกัน และมีความหมายต่างกันอยู่มากระหว่างคำว่า จำวัด ของพระศากยบุตร กับคำว่า นอน ของคนและสัตว์ทั่วไป<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ดังนั้นความรู้สึกของพระศากยบุตรที่จะปลงใจจำวัดแต่ละครั้ง จึงควรมีความสำคัญติดตัวในขณะนั้นและเวลาอื่น ๆ จะสมชื่อว่าผู้ประคองสติ ผู้มีปัญญาคิดอ่านไตร่ตรองในทุกกรณี ไม่สักว่าคิด สักว่าพูด สักว่าทำ สักว่านอน สักว่าตื่น สักว่าฉัน สักว่าอิ่ม สักว่ายืน สักว่าเดิน สักว่านั่ง ซึ่งเป็นอาการปล่อยตัวเกินเพศเกินภูมิของพระศากยบุตรที่ไม่สมควรอย่างยิ่งในวงปฏิบัติ โดยมากมักเข้าใจกันว่า พระพุทธเจ้าและสาวกอรหันต์ทั้งหลายนิพพานไปแล้ว สาบสูญไปแล้ว ไม่มีความหมายอะไรเกี่ยวกับท่านและตนเองเสียแล้ว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ก็พระธรรมอันเป็นฝ่ายเหตุที่สอนกันให้ปฏิบัติอยู่เวลานี้ เป็นธรรมของท่านผู้ใดขุดค้นขึ้นมาให้โลกได้เห็นและได้ปฏิบัติตามเล่า? และพระธรรมตั้งตัวอยู่ได้อย่างไร ทำไมจึงไม่สาบสูญไปด้วยเล่า? ความจริงพุทธะกับสังฆะก็คือใจดวงบริสุทธิ์ที่พ้นวิสัยแห่งความตายและความสาบสูญอยู่แล้วโดยธรรมชาติ จะให้ตายให้สาบสูญให้หมดความหมายไปได้อย่างไร เมื่อธรรมชาตินั้นมิได้เป็นไปกับสมมุติ มิได้อยู่ใต้อำนาจแห่งความตาย มิได้อยู่ใต้อำนาจแห่งความสาบสูญ มิได้อยู่ใต้อำนาจแห่งการหมดความหมายใด ๆ พุทธะจึงคือพุทธะอยู่โดยดี ธรรมะจึงคือธรรมะอยู่โดยดี และสังฆะจึงคือสังฆะอยู่โดยดี มิได้สั่นสะเทือนไปกับความสำคัญใด ๆ แห่งสมมุติที่เสกสรรทำลายให้เป็นไปตามอำนาจของตน ฉะนั้นการปฏิบัติด้วยธรรมานุธรรมะจึงเป็นเหมือนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์อยู่ตลอดเวลาที่มีธรรมานุธรรมะภายในใจ เพราะการรู้พุทธะ ธรรมะ สังฆะ โดยหลักธรรมชาติจำต้องรู้ขึ้นที่ใจ ซึ่งเป็นที่สถิตแห่งธรรมอย่างเหมาะสมสุดส่วน ไม่มีภาชนะใดยิ่งไปกว่า ดังนี้
    <o:p></o:p>
    นี้เป็นโอวาทที่ท่านอาจารย์มั่นมาเตือนท่านในสมาธิภาวนา ในเวลาท่านเห็นว่าท่านอาจารย์องค์นี้อาจทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง เช่น การปฏิบัติธุดงควัตรไม่ถูกเป็นบางข้อหรือบางประการ และการจำวัดตื่นผิดเวลา ความจริงท่านว่าท่านอาจารย์มั่นมิได้เตือนด้วยความมั่นใจว่าท่านทำผิดโดยถ่ายเดียว แต่ท่านเตือนโดยเห็นว่าท่านอาจารย์องค์นี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับหมู่คณะ ทั้งพระเณรและประชาชนจำนวนมากในวาระต่อไป ท่านจึงเตือนไว้เพื่อท่านอาจารย์องค์นี้จะได้ตระหนักในข้อวัตรต่างๆ ต่อไปด้วยความเข้มแข็ง เพื่อถ่ายทอดแก่บรรดาประชาชนพระเณรที่มาอาศัยพึ่งร่มเงา จะได้ของดีไปประดับตัว ดังองค์ท่านอาจารย์มั่นเคยพาหมู่คณะดำเนินมาแล้ว
    <o:p></o:p>
    ท่านว่าการวางบริขาร เช่น บาตร กาน้ำ สบง จีวร หรือบริขารอื่น ๆ ที่ใช้ในสำนัก ต้องวางหรือเก็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ผ้าเช็ดเท้า เป็นต้น ถ้าเห็นไม่สะอาดควรแก่การใช้สอย ต้องเก็บไปซักฟอกให้สะอาดจึงนำมาใช้อีก หลังจากใช้แล้วต้องพับเก็บไว้เป็นที่เป็นฐาน ไม่ทิ้งระเกะระกะ ถ้าวันใดเกิดเผลอขึ้นมาเพราะธุระอย่างอื่นมาแทรก พอตกกลางคืนเวลาทำสมาธิภาวนา จะปรากฏเห็นท่านอาจารย์มั่นมาเตือนและแสดงธรรมให้ฟังจนได้ ท่านพักอยู่ถ้ำดังกล่าวในพรรษานั้นเพียงองค์เดียว กลางคืนจะปรากฏท่านอาจารย์มั่นมาเยี่ยมเสมอโดยทางนิมิตภาวนา แม้กลางวันเงียบ ๆ เวลานั่งภาวนาในบางวัน ยังเห็นท่านมาเยี่ยมเช่นเดียวกับกลางคืน ท่านว่าท่านสนุกเรียนถามปัญหาต่าง ๆ กับท่านจนเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง เพราะท่านอธิบายแก้ปัญหาได้คล่องแคล่วว่องไวมาก และได้ความชัดเจนหายสงสัยทุก ๆ ข้อไป<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปัญหาบางอย่างเพียงแต่รำพึงสงสัยตามลำพังโดยมิได้นึกถึงท่านเลย พอตกกลางคืนเข้าที่ภาวนา ท่านก็มาอธิบายให้ฟังเสียแล้ว โดยยกข้อที่เราสงสัยขึ้นอธิบายให้เราฟังราวกับได้เรียนท่านไว้แล้ว ท่านว่าแปลกและอัศจรรย์มาก แต่พูดให้ใครฟังไม่ได้ เดี๋ยวเขาหาว่าเป็นกรรมฐานบ้า แต่ธรรมเครื่องแก้กิเลสชนิดต่างๆ โดยมากย่อมเกิดจากทางสมาธิภาวนาโดยลำพัง และเกิดจากทางนิมิตมีท่านอาจารย์มั่นเป็นต้น มาเตือนให้อุบายและแสดงธรรมสั่งสอนโดยสม่ำเสมอ อันเป็นการส่งเสริมสติปัญญาให้คิดอ่านไตร่ตรองมิให้ประมาท
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านว่าพรรษาที่จำอยู่ในถ้ำแห่งดงหนาป่าเปลี่ยวนี้ ทำให้เกิดอุบายต่าง ๆ ที่แสดงขึ้นทั้งภายในภายนอกมากมายตลอดเวลาทั้งกลางวันกลางคืน ผิดที่ทั้งหลายอยู่มาก เป็นผู้มีราตรีเดียวด้วยความรื่นเริงอยู่กับธรรมในอิริยาบถต่าง ๆ ยืน เดิน นั่ง นอน เต็มไปด้วยธรรมปีติ ระหว่างสันติธรรมที่มีเป็นฐานเดิมประจำความบริสุทธิ์ และธรรมประเภทต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาสัมผัสกับใจ แล้วแสดงความหมายไปในแง่ต่าง ๆ กัน ทำให้กายและจิตชุ่มชื่นรื่นเริง เหมือนต้นไม้ที่ได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยปุ๋ยและน้ำมีอากาศเป็นที่เหมาะสม คอยชโลมให้ลำต้นกิ่งก้านสาขาดอกใบของมันสดชื่นอยู่ตลอดเวลาฉะนั้น
    <o:p></o:p>
    ท่านว่าคนเราเมื่อจิตมีราตรีเดียวกับธรรมความสงบร่มเย็น ไม่ว้าวุ่นขุ่นมัวมั่วสุมกับสิ่งใดแล้ว ก็มีความสุขอยู่ในโลกแห่งขันธ์เรานี่เอง ไม่จำต้องดิ้นรนหาความสุขในที่อื่นภพอื่น ซึ่งเป็นการวาดภาพหลอกตัวเองให้เกิดความทะเยอทะยาน เสริมตัณหาสมุทัยอันเป็นเชื้อแห่งทุกข์เข้ามาเผาลนตัวเอง ให้เกิดความทุกข์ลำบากไปเปล่า ๆ เพราะความสุขที่รู้อยู่เห็นอยู่เป็นอยู่กับใจนั้น เป็นความสุขที่พอกับตัวแล้ว โลกนี้ทั้งโลกและโลกอื่น ๆ ไม่มีประมาณในสงสารราวกับไม่มีอยู่ สิ่งที่มีและเด่นชัดประจักษ์ก็คือใจกับธรรมที่ปรากฏครอบโลกธาตุ ไม่มีขอบเขตเหตุผลพอจะนำมาเทียบมาวัดได้ เพราะจิตกับอัจฉริยธรรมที่ครอบกันอยู่มิใช่สมมุติ จึงไม่เป็นฐานะจะนำมาเทียบกัน
    <o:p></o:p>
    พอออกพรรษาแล้ว คณะศรัทธาญาติโยมที่เคยอุปัฏฐากรักษาท่านก็พากันไปอาราธนานิมนต์ท่านลงมา และอาราธนาท่านให้โปรดเมตตาสั่งสอนตามหมู่บ้านแถบอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ท่านจำต้องลงมาทั้งที่อาลัยเสียดายสถานที่แห่งนั้น ไม่คิดจะจากไปไหนง่าย ๆ เมื่อลงมาอบรมสั่งสอนชาวบ้านพอสมควรแล้วได้โอกาสท่านก็ออกเที่ยวธุดงคกรรมฐานไปตามอัธยาศัย โดยข้ามไปทางฝั่งแม่น้ำโขงของประเทศลาวบ้าง ข้ามมาฝั่งไทยเราบ้าง แล้วเที่ยวบำเพ็ญอยู่แถบอำเภอบึงกาฬ อำเภอโพนพิสัย ซึ่งมีป่ามีเขามาก ที่นั้นเรียกว่าดงหม้อทอง และมีทำเลดีเหมาะกับการบำเพ็ญอยู่หลายแห่ง มีหมู่บ้านที่ไปตั้งใหม่อยู่ไม่กี่หลังคาเรือน เขาอาราธนาท่านให้อยู่จำพรรษาเพื่อโปรดเขา ซึ่งเป็นสถานที่สบกับอัธยาศัย ท่านจึงตกลงจำพรรษาที่นั่น<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนท่านพักบำเพ็ญธรรมอยู่ในภูเขาเขตอำเภอโพนพิสัยนั้น ท่านว่าท่านเพลิดเพลินรื่นเริงไปกับสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ด้วยความเมตตาเขามาก มีไก่ป่า ไก่ฟ้า นกนานาชนิด มีนกเงือก นกยูง เป็นต้น และเม่น อีเห็น อีเก้ง หมู กวาง ลิง ค่าง บ่าง ชะนี หมาป่า เสือโคร่ง เสือดาว ช้าง กระทิง วัวแดง ซึ่งแต่ละชนิดมีมากมายผิดกับที่ทั้งหลาย เที่ยวมาเป็นฝูง ๆ โขลง ๆ ทั้งกลางวันกลางคืนจะได้ยินเสียงสัตว์เหล่านั้นส่งเสียงร้องลั่นสนั่นป่าตามวาระของเขาอยู่เสมอ บางวันเวลาออกไปบิณฑบาตก็ยังพบเสือโคร่งใหญ่เดินฉากหน้าท่านไปอย่างสวยงามน่าดูโดยไม่ห่างไกลท่านเลย ด้วยความองอาจและสง่าผ่าเผยตามนิสัยของมัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านว่าขณะที่มันเดินฉากหน้าท่านไปซึ่งเป็นที่โล่งพอสมควร ดูการก้าวเดินของมันรู้สึกสวยงามมาก ขณะที่พบกันทีแรกมันชำเลืองดูท่านนิดเดียวก็เดินต่อไปโดยไม่มองกลับมาดูท่านอีกเลย ดูลักษณะท่าทางมันก็ไม่กลัวท่านนัก แต่อาจระวังตัวอยู่ภายในตามนิสัยของสัตว์ที่มีสติดีและมีความระวังตัว ไม่ค่อยพลั้งเผลอให้กับอะไรง่ายๆ เฉพาะท่านเองก็ไม่นึกกลัวมัน เพราะเคยได้เห็นมันมาบ้างและเคยได้ยินเสียงมันอยู่เสมอจนชินชาไปเสียแล้วเวลาพักอยู่ในที่ต่าง ๆ เรื่อยมา ซึ่งโดยมากมักมีสัตว์พรรค์นี้ประจำอยู่เสมอในที่บำเพ็ญนั้น ๆ จึงไม่นึกกลัว
    <o:p></o:p>
    คืนวันหนึ่ง ท่านกำลังนั่งอบรมกรรมฐานแก่พระที่จำพรรษาด้วยกันราวสามสี่องค์ ท่านว่าได้ยินเสียงนักเลงโตสามตัวลายพาดกลอนดังกระหึ่ม ๆ ขึ้นข้าง ๆ บริเวณที่พักแห่งละตัว จากนั้นก็ได้ยินเสียงคำรามขู่เข็ญกันบ้าง เสียงกัดกันบ้าง แล้วก็เงียบหายไป เดี๋ยวก็ได้ยินเสียงขู่เข็ญและกัดกันขึ้นอีกข้าง ๆ ที่พักนั่นแล ทีแรกได้ยินเสียงมันเล่นและกัดกันอยู่ข้างนอกบริเวณที่พัก นึกว่าจะพากันหนีไปที่อื่นหายเงียบไปแล้ว เพราะเสียงสงบเงียบไปพักหนึ่ง แต่ที่ไหนได้จากการหายเงียบไปได้พักหนึ่งเท่านั้น ประมาณสามทุ่มก็ชักชวนกันเข้ามาอยู่ใต้ถุนบรรณศาลาเล็ก ๆ ที่พระกำลังนั่งสมาธิฟังการอบรมธรรมอยู่ ซึ่งสูงประมาณเมตรกว่านิดหน่อยเท่านั้น และส่งเสียงกระหึ่มคำราม และกัดกันอยู่ใต้ถุนศาลาเล็ก ๆ นั้น จนท่านต้องตะโกนบอกว่า เฮ้ย สามสหาย อย่าพากันส่งเสียงอื้ออึงนักซิ พระท่านกำลังเทศน์และฟังธรรมกัน เดี๋ยวเป็นบาปตกนรกหลุมฉิบหายกันหมดนะจะว่าไม่บอก เพราะที่นี่ไม่ใช่ที่เอ็ดตะโรโฮเฮกันนี่นา จงพากันไปเที่ยวร้องครางที่อื่น ที่นี่เป็นวัดของพระที่ท่านชอบความสงบ ไม่เหมือนพวกแก ไปเสีย พากันไปร้องที่อื่นตามสบาย ไม่มีใครไปยุ่งกับพวกแกหรอก ที่นี่เป็นที่พระท่านอยู่บำเพ็ญธรรม ท่านจึงห้ามไม่ให้พวกแกส่งเสียงอื้ออึงนัก
    <o:p></o:p>
    พอได้ยินเสียงพระท่านร้องบอกก็พากันสงบอารมณ์ไปพักหนึ่ง แต่ยังพอได้ยินเสียงเกี้ยวพาราสีกันซุบซิบอู๋อี๋เบา ๆ อยู่ใต้ถุนศาลา อันเป็นลักษณะบอกกันว่าพวกเราอย่าส่งเสียงดังกันนักซิ พระท่านรำคาญและร้องบอกมานั่นไงล่ะ ทำเสียงเบา ๆ หน่อยเถอะเพื่อนเดี๋ยวเป็นบาปขี้กลากขึ้นหัว เบาไปพักหนึ่ง ต่อไปก็มีเสียงครวญครางขู่เข็ญและกัดกันขึ้นอีก ไม่ยอมหนีไปที่อื่นตามคำท่านบอก และพากันเหมาใต้ถุนบรรณศาลาเป็นที่เล่นสนุกกัน ตั้งแต่หัวค่ำจนสองยามคือหกทุ่มจึงพากันหนีไป พระนั่งทำสมาธิภาวนากันบนศาลาหลังจากฟังการอบรมธรรมแล้ว เสือโคร่งใหญ่สามตัวก็ส่งเสียงขู่เข็ญคำรามและกัดกันอยู่ใต้ถุนศาลาจนถึงหกทุ่มจึงเลิกจากกันไป พระก็ลงไปที่พักของตน เสือก็เข้าป่าไป<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คืนนั้นเป็นความประหลาดเป็นพิเศษ นับแต่เที่ยวธุดงคกรรมฐานมาหลายปีและเคยเที่ยวไปสถานที่ต่างๆ หลายแห่งหนตำบลหมู่บ้านและป่าเขาต่าง ๆ แต่ไม่เคยมีสัตว์เสือมาตีสนิทมิตรรักกับพระ ราวกับเคยเป็นเพื่อนสนิทมิตรสหายผู้ฝากเป็นฝากตายกันมานานเพิ่งมาพบในคืนวันนั้นเอง ตามปกติเสือเป็นสัตว์กลัวคนตามสัญชาตญาณ แม้จะเป็นสัตว์ที่มีอำนาจทำให้คนขยาดครั่นคร้ามอยู่บ้างกว่าสัตว์อื่นๆ แต่เสือย่อมกลัวและหลบซ่อนคนมากกว่าคนจะกลัวเสือและหาที่หลบซ่อน แต่เสือสามตัวนี้นอกจากไม่กลัวคนแล้ว ยังพากันมาแอบยึดเอาใต้ถุนศาลาหลังเล็กที่พระยังชุมนุมกันอยู่ข้างบนเป็นที่เล่นสนุก โดยไม่คิดกลัวพระซึ่งเป็นคนเหมือนมนุษย์ทั้งหลายเลย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    จึงเป็นเรื่องอัศจรรย์ที่สัตว์ไม่เคยรู้เรื่องกับศีลธรรมเหมือนมนุษย์ทั้งหลาย แต่กิริยาที่เขามาตีสนิทสนมกับพระนั้น ราวกับเขาก็เป็นผู้หนึ่งที่ทราบศีลธรรมดี และปฏิบัติศีลธรรมเช่นเดียวกับมนุษย์ทั้งหลายด้วย จึงไม่แสดงท่าทางให้พระท่านกลัว นอกจากเขาแสดงต่อพวกเขาเอง ซึ่งก็ทราบกิริยาท่าทางของกันและกันอยู่แล้ว ท่านว่า ฟังท่านเล่าแล้วขนลุกกลัวบ้าอยู่คนเดียวทั้งที่เรื่องก็ผ่านไปนานแล้ว เรื่องของคนไม่เป็นท่าก็เป็นอย่างนี้เอง แม้ท่านแสดงเรื่องต่าง ๆ อันเป็นคติธรรมให้ฟังก็ตาม แต่คนไม่เป็นท่าย่อมไม่ยอมฟังเพื่อยึดเป็นคติได้เลย แต่จะดันไปเฉพาะเส้นทางสายไม่เป็นท่าของตนนั่นแล ดังผู้เขียนแสดงความกลัวที่น่าอับอายต่อหน้าท่านในเวลาฟังคำบอกเล่านั่นแล นอกจากนั้นยังมาประกาศขายความขี้ขลาดของตัวในหนังสือให้ท่านผู้อ่านหัวเราะเข้าอีก ซึ่งนับว่าเลวพอใช้ อ่านแล้วกรุณาระวังอย่าให้เรื่องทำนองนี้แทรกสิงเข้าไปสู่จิตใจได้ จะกลายเป็นคนขี้ขลาดไม่เป็นท่าไปอีกหลายคน

    ท่านเล่าว่า คืนวันนั้นพระที่นั่งฟังการอบรมและทำสมาธิภาวนาต่อไป หลังจากการอบรมแล้ว ต่างมีความตื่นเต้นตกใจและตาตั้งหูกางไปตาม ๆ กันที่ได้ยินอาจารย์ใหญ่ทั้งสามตัวมาให้การอบรมช่วยท่านอาจารย์อยู่ที่ใต้ถุน ในลักษณะแผลงฤทธิ์เจือกับความสนุกของเขา ทำเอาพระนั่งภาวนากลัวตัวแข็งไปตาม ๆ กัน จิตไม่อาจส่งไปนอกลู่นอกทางได้ เพราะกลัวอาจารย์ใหญ่ทั้งสามจะพากันโดดขึ้นมาให้โอวาทบนศาลาเล็กด้วยท่าทางต่าง ๆ แต่ก็ดีและน่าชมสัตว์สามตัวที่ไม่แสดงโลดโผนเกินกว่าเหตุ อุตริโดดขึ้นบนศาลาในเวลานั้น ยังรู้จักฐานะของตัวของท่านบ้าง ไม่ก้าวก่ายหน้าที่อันควรแก่ภาวะของตน แสดงเพียงเบาะ ๆ พอหอมปากหอมคอแล้วก็เลิกรากันไป
    <o:p></o:p>
    นับแต่วันนั้นผ่านไปแล้วก็ไม่เห็นเขากลับมาอีกเลย ส่วนสถานที่และบริเวณที่พระอาศัยอยู่นั้น ก็คือทำเลเที่ยวของสัตว์จำพวกนี้และสัตว์อื่น ๆ เราดี ๆ นี่เอง ไม่เว้นแต่ละคืนต้องมีจำพวกใดจำพวกหนึ่งเข้ามาจนได้ เพราะที่นั้นเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าทุกจำพวก เนื่องจากป่าและเขาแถบนั้นกว้างขวางมาก คนเดินผ่านเป็นวัน ๆ ก็ไม่พ้นสัตว์ชนิดต่าง ๆ ดังที่เขียนผ่านมาจึงมีมาก พวกช้างเป็นโขลง ๆ หมูป่าเป็นฝูง ๆ ซึ่งแต่ละโขลงละฝูงมีจำนวนมากมายและไม่สู้จะกลัวผู้คนมากนัก<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปีท่านจำพรรษาที่นั่น อุบายต่าง ๆ เกิดขึ้นโดยสม่ำเสมอ และต้องคอยเตือนพระเสมอไม่ให้ประมาทในการรักษาธุดงควัตร เพราะอยู่ในท่ามกลางสิ่งที่ควรระวังหลายอย่างต่าง ๆ กัน โดยอาศัยธุดงควัตรเป็นเส้นชีวิตจิตใจ มีธรรมวินัยเป็นที่ฝากเป็นฝากตาย ใจจึงอยู่เป็นสุขไม่หวาดเสียวสะดุ้งกลัวต่าง ๆ การขบฉันก็น้อย เพียงเยียวยาธาตุขันธ์ไปวัน ๆ เท่านั้น เพราะศรัทธาญาติโยมมีน้อยและเป็นบ้านเพิ่งตั้งใหม่มีไม่กี่หลังคาเรือน ยังไม่เป็นหลักฐานมั่นคง และเป็นความมุ่งหมายของท่านผู้หนักแน่นในธรรม จะพึงฝึกฝนอดทนเพื่อธรรมความอยู่สบายทางภายใน จึงไม่กังวลกับที่อยู่อาศัย อาหารบิณฑบาตให้มากไป อันจะเป็นอุปสรรคต่อความเพียร
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ยาแก้ไข้ก็ถือความอดทนต่อสู้ด้วยความเพียรทางสมาธิภาวนา โดยถือเอาสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ เป็นเพื่อนและสักขีพยานว่า เขาก็มิได้เกิดมากับหยูกยาชนิดต่าง ๆ และคลอดที่โรงพยาบาล มีหมอและนางพยาบาลคอยรักษาผดุงครรภ์ แต่เขายังเป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ สืบต่อกันมาได้เต็มป่าเต็มเขา โดยไม่แสดงความโศกเศร้าเสียใจว่าตนขาดการบำรุงรักษาด้วยหมอด้วยยาและนางพยาบาล ตลอดเครื่องบำรุงต่างๆ ส่วนพระเป็นมนุษยชาติและเป็นศากยบุตรพุทธชาติ ศาสดาองค์ลือพระนามสะเทือนทั่วไตรภพว่า เป็นผู้ทรงเรียนจบคัมภีร์ไตรภูมิด้วยพระขันติ วิริยะ พระปัญญาปรีชาสามารถในทุกทาง ไม่มีคำว่าจนตรอกอ่อนแอท้อถอย แต่พระเราจะมาถอยหลังหลั่งน้ำตาเพราะความทุกข์ลำบากเพียงการเจ็บไข้ได้ป่วยอันเป็นของธรรมดาแห่งขันธ์เท่านี้ ก็ต้องเป็นผู้ขาดทุนล่มจม จะนำตนและศาสนาไปไม่ตลอด นอกจากต้องเป็นผู้อาจหาญอดทนต่อสภาพความมีความเป็นความสัมผัสทั้งหลาย ด้วยสติปัญญาหยั่งทราบไปตามเหตุการณ์ที่มาเกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่มีทางเพื่อเอาตัวรอดหวังจอดในที่ปลอดภัยได้
    <o:p></o:p>
    จิตเมื่อได้รับการอบรมในทางที่ถูก ย่อมมีความรื่นเริงในธรรม พอใจประคองตนไปตามวิถีแห่งมรรคและผลไม่มีการปลีกแวะ ไม่สร้างความอับจนไว้ทับถมตัวเอง ปฏิปทาก็สม่ำเสมอไม่ท้อถอยน้อยใจว่าตนขาดที่พึ่งทั้งภายนอกภายใน มีใจกับธรรมเป็นเครื่องชโลมหล่อเลี้ยงให้เกิดความอบอุ่นเย็นใจ อยู่ที่ใดไปที่ใดก็เป็น สุคโต แบบลูกศิษย์ตถาคต ไม่แสดงความอดอยากขาดแคลนในทางใจ พระธุดงคกรรมฐานที่มุ่งต่อธรรมท่านไปและอยู่โดยอาการอย่างนี้ ท่านจึงอยู่ได้ไปได้ ยอมอดยอมทนความลำบากหิวโหยได้อย่างสบายหายห่วงกับสิ่งทั้งปวง มีธรรมเป็นอารมณ์ของใจ<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เรื่องสัตว์ต่างๆ ที่ชอบมาอาศัยพระ ท่านผู้อ่านกรุณาคิดว่าจะเป็นความจริงได้เพียงไรบ้าง แต่ก่อนคิดเรื่องสัตว์ป่า กรุณาคิดเรื่องสัตว์บ้านก่อน ที่ชอบเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านของท่านผู้มีเมตตาจิต และเข้าไปอาศัยวัดพออยู่รอดปลอดภัยไปในวันหนึ่ง ๆ สุนัขและนก เป็นต้น ที่ชอบเข้าไปอาศัยวัดบางวัดจนแทบไม่มีที่และต้นไม้ให้สัตว์เหล่านี้อาศัยเพราะมีมามากด้วยกัน อันดับต่อไปค่อยคิดไปถึงสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ที่มักเข้าไปเที่ยวป้วนเปี้ยนและอาศัยอยู่ตามสถานที่ และวัดที่พระธุดงค์ท่านพักอยู่ดังที่เขียนผ่านมามากพอดู ทั้งประวัติท่านอาจารย์มั่นและปฏิปทาพระธุดงค์สายของท่านอาจารย์มั่น ซึ่งมีเรื่องสัตว์มาอาศัยพระลงแฝงมาเสมอ ๆ ตามประสบการณ์ที่ได้รับทราบมาเป็นความจริง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    จึงเป็นเรื่องน่าคิดในแง่ธรรมอันเป็นหลักธรรมชาติให้ความร่มเย็น และเป็นธรรมแก่สัตว์โลกทุกชาติทุกภาษา โดยที่สัตว์ทุก ๆ จำพวกไม่จำเป็นต้องทราบว่าธรรมคืออะไรก็ตาม แต่สิ่งที่แสดงออกให้สัตว์ยินดีรับกันทั่วโลกไม่มีใครรังเกียจนั้น คือธรรมโดยธรรมชาติ ธรรมนั้นแสดงอาการความสงบสุข ความร่มเย็น ความไว้วางใจ ความมีแก่ใจ ความเมตตา ความเอ็นดูสงสาร ความมาเถิดอยู่เถิดไม่เป็นภัยแน่นอน เป็นต้น การแสดงออกแห่งกระแสธรรมเพียงเท่านี้ สัตว์ทุกจำพวกชอบและยอมรับกันทันที โดยไม่ต้องมีโรงเรียนไว้สอนเขาเลย เพราะจิตใจกับกระแสธรรมเป็นของคู่ควรกันยิ่งกว่าอำนาจราชศักดิ์ใด ๆ ซึ่งเป็นสิ่งปรุงแต่งและเสริมกันขึ้น ย่อมสลายไปตามเหตุการณ์ไม่แน่นอน
    <o:p></o:p>
    ดังนั้นสัตว์แม้จะไม่เคยทราบว่าธรรมคืออะไรก็ตาม แต่สิ่งที่ชอบและยอมรับโดยธรรมชาติ สัตว์ย่อมแสวงหาเอง ดังสุนัขเข้าไปอาศัยวัด สัตว์ป่าเข้าไปอาศัยพระธุดงค์ เพราะธรรมคือความเย็นความไว้วางใจ เป็นต้น ที่สัตว์เข้าใจว่ามีอยู่ในที่นั้น จึงเสาะแสวงหาไปตามประสา แม้แต่ผู้ไม่เคยสนใจกับธรรมเลย ยังรู้จักสถานที่ที่ไม่มีภัยและชอบไปเที่ยวสนุกเฮฮาในที่เช่นนั้นแต่โบราณกาลมาถึงปัจจุบัน เพราะไปทำที่อื่นไม่ปลอดภัยเหมือนที่เช่นนั้น
    <o:p></o:p>
    เพียงเท่านี้ก็พอทราบได้ว่าธรรมและสถานที่ผู้บำเพ็ญธรรม เป็นที่ไว้ใจแก่สัตว์และมนุษย์ทั่วไป จึงไม่ค่อยระแวงระวังกัน และบางรายบางพวกไม่ระวังเสียจนปล่อยตัวเลยเถิด โดยไม่คิดถึงหัวใจมนุษย์ด้วยกันและพระศาสนาซึ่งเป็นสมบัติของประเทศบ้างเลย แม้ผู้ปฏิบัติธรรมเหล่านั้นก็ย่อมทราบความดีความชั่ว คนดีคนชั่ว สัตว์ดีสัตว์ชั่วได้เช่นมนุษย์ทั่วไป จึงควรคิดและเห็นใจผู้อื่นที่รักสงวนสมบัติของตนบ้าง ไม่ปล่อยร้อยเปอร์เซ็นต์ไปเสียทีเดียวในที่ทุกสถาน ยังจะพอมีเขตแดนแห่งมนุษย์และสัตว์เป็นที่อยู่อาศัยคนละวรรคละตอนบ้าง ไม่คละเคล้ากันไปเสีย
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านอาจารย์องค์นี้ชอบเที่ยวหาที่วิเวกและเปลี่ยนที่ทำความเพียรอยู่เสมอ ปกติก็ชอบเที่ยวธุดงค์ไปตามป่าตามเขาอยู่แล้ว แล้วยังชอบเที่ยวเปลี่ยนที่ทำความเพียรอยู่เรื่อยๆ เช่นไปพักอยู่ที่นั่นเป็นปกติแล้ว แต่เวลาเช้าไปทำความเพียรอยู่ที่หนึ่ง ตอนบ่าย ๆ หรือเย็นก็เปลี่ยนไปทำอีกแห่งหนึ่ง กลางคืนก็เที่ยวไปทำความเพียรอยู่อีกแห่งหนึ่งในแถบที่ท่านพักอยู่นั่นแล เปลี่ยนทิศทางบ้าง ไปใกล้บ้าง ไกลบ้าง ไปอยู่ในถ้ำอื่นจากถ้ำเดิมบ้าง ขึ้นไปอยู่บนหลังเขาบ้าง ตามหินดานบ้าง ดึก ๆ จึงกลับที่พัก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านให้เหตุผลสำหรับนิสัยท่านว่า เวลากำลังชุลมุนวุ่นวายกับการแก้กิเลส การเปลี่ยนอุบายต่าง ๆ เช่นนั้น ปัญญามักเกิดขึ้นเสมอ กิเลสตั้งตัวไม่ติดเพราะถูกอุบายของสติปัญญาตีต้อนในท่าต่างๆ ให้หลุดลอยไปเป็นพักๆ ถ้าอยู่ในที่แห่งเดียวทำให้ชินต่อสถานที่ แต่กิเลสมิได้ชินกับเรา มันสั่งสมตัวขึ้นเสมอไม่ว่าเราจะชินกับอะไรหรือไม่ก็ตาม เราจำต้องพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงอุบายและสถานที่อยู่เสมอ เพื่อทันกับกลมารยาของกิเลสที่ปักหลักสั่งสมตัวเอง และต่อสู้กับเราไม่มีเวลาพักผ่อนตัวตลอดเวลา ถ้าเว้นบ้างก็เพียงเวลาหลับสนิทเท่านั้น นอกนั้นเป็นเวลาทำงานของมันเสียสิ้น ดังนั้น การทำความเพียรจะลดหย่อนอ่อนข้อและผัดเพี้ยนเลื่อนเวลาอยู่ จึงทำให้กิเลสตัวขยันหัวเราะเอา การเปลี่ยนสถานที่และอุบายอยู่เสมอ จึงพอมองเห็นความแพ้ความชนะกับกิเลสบ้าง ไม่ปล่อยให้มันรับเหมาเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว ดังนี้
    <o:p></o:p>
    เหตุผลของท่านก็น่าฟังและเป็นคติได้ดี สำหรับผู้ไม่นอนใจให้กิเลสขึ้นเหยียบย่ำทำลายเอาทุก ๆ กรณีที่จิตไหวตัว ท่านชอบเที่ยวไปทางภูสิงห์ ภูวัว ภูลังกา และดงหม้อทอง เขตอำเภอเซกา อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม แถบนั้นมีเขามาก เช่น ภูสิงห์ ภูวัว และภูลังกา ซึ่งล้วนเป็นทำเลดี ๆ เหมาะแก่การบำเพ็ญธรรมอย่างยิ่ง แต่ห่างไกลหมู่บ้านมาก บิณฑบาตไม่ถึง ต้องมีคนผลัดเปลี่ยนกันขึ้นส่งอาหาร
    <o:p></o:p>
    ที่ดังกล่าวเหล่านี้เป็นที่ชุมนุมของสัตว์ป่านานาชนิด มีเสือ ช้าง กระทิง วัวแดง เป็นต้น พอตกบ่าย ๆ และเย็นจะได้ยินเสียงสัตว์เหล่านี้ร้องสนั่นหวั่นไหวไปทั่วทั้งป่า ผู้ไม่สละตายจริง ๆ ยากจะอยู่ได้ เพราะเสือชุมมากเป็นพิเศษและไม่ค่อยกลัวคนด้วย บางคืนพระท่านเดินจงกรมทำความเพียรไปมาอยู่ มันยังแอบมาหมอบดูท่านได้โดยไม่กลัวท่านเลย แต่ไม่ทำอะไร มันอาจสงสัยแล้วแอบด้อมเข้ามาดูก็ได้ พอท่านได้ยินเสียงผิดสังเกตนึกประหลาดใจ ส่องไฟฉายไปดู ยังเห็นเสือโคร่งใหญ่โดดออกไปต่อหน้าต่อตาก็ยังมี แม้เช่นนั้นท่านก็ยังเดินจงกรมทำความเพียรต่อไปได้ ไม่คิดกลัวว่าเสือจะโดดมาคาบเอาไปกินเลย ทั้งนี้เพราะความเชื่อธรรมมากกว่าความกลัวเสือ จึงพออดทนทำความเพียรต่อไปได้<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บางวันพอตกเย็น พระท่านก็ขึ้นบนไหล่เขา แล้วมองลงไปดูโขลงช้างใหญ่ซึ่งกำลังพากันออกเที่ยวตามหินดานอันกว้างยาวเป็นกิโล ๆ สามารถมองเห็นช้างทั้งโขลงได้อย่างชัดเจน ทั้งตัวเล็ก ๆ และตัวใหญ่ ซึ่งกำลังเริ่มจะพากันออกเที่ยวหากิน ท่านว่าเวลาดูช้างทั้งโขลงใหญ่ ๆ ที่กำลังหยอกเล่นกันอย่างเพลิดเพลินเช่นนั้น ทำให้เพลินดูมันจนค่ำไม่รู้ตัวก็มี เพราะสัตว์พรรค์นี้ชอบหยอกเล่นกันเหมือนมนุษย์เรานี่เอง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านอาจารย์องค์นี้มีความเด็ดเดี่ยวมากดังที่เขียนผ่านมาแล้ว การนั่งภาวนาตลอดสว่างท่านทำได้อย่างสบายไม่มีอะไรเป็นอุปสรรค ก็การนั่งภาวนาแต่หัวค่ำยันสว่างนั้นมิใช่เป็นงานเล็กน้อย ถ้าไม่เป็นผู้มีใจกล้าหาญกัดเหล็กกัดเพชรจริง ๆ จะทำไม่ได้ จึงขอชมเชยอนุโมทนาท่านอย่างถึงใจ ดังนั้นท่านจึงสามารถเป็นอาจารย์สั่งสอนคณะสานุศิษย์ให้ได้รับความร่มเย็นเรื่อยมาจนปัจจุบันนี้ ท่านเป็นที่แน่ใจในองค์ท่านเองร้อยเปอร์เซ็นต์ ว่าเป็นผู้สิ้นภพสิ้นชาติอย่างประจักษ์ใจทั้งที่ยังครองขันธ์อยู่ ปล่อยขันธ์เมื่อไรก็เป็น ปรมํ สุขํ ล้วน ๆ เมื่อนั้น หมดความรับผิดชอบกังวลโดยสิ้นเชิง
    <o:p></o:p>
    การเขียนประวัติย่อของท่านอาจารย์องค์สำคัญองค์หนึ่ง ในบรรดาลูกศิษย์ของท่านอาจารย์มั่นก็ขอยุติลง กรุณาสังเกตตามที่เขียนมานี้ว่า คือองค์ใดแน่ ปัจจุบันท่านยังมีชีวิตอยู่และเป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชาชนพระเณรจำนวนมาก แต่ผู้เขียนไม่อาจระบุนามท่าน เกรงจะเป็นการกระทบกระเทือนในองค์ท่าน เพราะท่านพ้นจากโลกามิสใด ๆ ทั้งสิ้นแล้ว ครองแต่ธรรมที่บริสุทธิ์กับขันธ์ห้าเครื่องก่อกวนวุ่นวายอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น ไม่มีทางสงสัยท่านว่าจะเป็นอื่น ขอความสวัสดีมงคลจงเกิดมีแด่ท่านผู้อ่านประวัติของท่านผู้อัศจรรย์โดยทั่วกัน ถ้าไม่ลดละความเพียรพยายามในการบำเพ็ญตน วันหนึ่งเราท่านต้องได้ชมธรรมสมบัติบริสุทธิ์ที่พึงใจอย่างท่านแน่นอนภายในใจท่านเอง สมกับธรรมเป็นสมบัติของทุกคนผู้ปฏิบัติเป็นสามีจิกรรม
    <o:p></o:p>
    ท่านอาจารย์มั่นผู้รู้เห็นธรรมประจักษ์ใจด้วยปฏิปทาอันราบรื่นดีงาม ที่ควรเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทาได้อย่างเต็มปากเต็มใจองค์หนึ่งในสมัยปัจจุบัน แต่มิได้เขียนวิธีเดินจงกรมที่ท่านเคยดำเนินมาลงในประวัติท่านว่าท่านทำอย่างไร กำหนดทิศทางอย่างไรบ้างหรือไม่ ทางจงกรมสำหรับเดินทำความเพียรในท่าเดินสั้นและยาวเพียงไร ก่อนจะเริ่มทำความเพียรในท่าเดินท่านทำอย่างไร ผู้เขียนลืมลงไว้ขณะที่เขียนประวัติท่าน จึงขอนำมาเขียนลงในปฏิปทาสายของท่าน เพื่อท่านผู้สนใจจะได้ยึดเป็นหลักฐานต่อไป ความจริงพระธรรมวินัยเป็นแบบฉบับของมัชฌิมาปฏิปทา สำหรับท่านผู้สนใจดำเนินตามอย่างถูกต้องตายตัวก็มีอยู่แล้ว ดังนั้นท่านอาจารย์มั่นจึงยกแบบฉบับนั้นเป็นเครื่องดำเนินอย่างหาที่ต้องติมิได้ ทั้งอิริยาบถธรรมดาและอิริยาบถแห่งความเพียรในท่าต่าง ๆ แต่จะอธิบายวิธีเดินจงกรมก่อนวิธีอื่น<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทิศทางและความสั้นยาวของทางสำหรับเดินจงกรมมีดังนี้ ทางเดินจงกรมตามที่ท่านกำหนดรู้ไว้และปฏิบัติตามเรื่อยมานั้นมีสามทิศด้วยกัน คือ ตรงไปตามแนวตะวันออก-ตะวันตก หนึ่ง ไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ หนึ่ง และไปตามแนวตะวันออกเฉียงเหนือ หนึ่ง การเดินจงกรมก็เดินไปตามแนวทั้งสามที่กำหนดไว้ในแนวใดแนวหนึ่ง ความสั้นยาวของทางจงกรมแต่ละสายนั้น ท่านว่าตามแต่ควรสำหรับรายนั้น ๆ ไม่ตายตัว กำหนดเอาเองได้ตามสมควร แต่อย่างสั้นท่านว่าไม่ควรให้สั้นกว่าสิบก้าวสำหรับเวลาอยู่ในที่จำเป็นหาทางเดินมิได้ ทางจงกรมขนาดธรรมดายาวราวยี่สิบก้าว ขนาดยาวราวยี่สิบห้าถึงสามสิบก้าวเป็นความเหมาะสมทั่ว ๆ ไป
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เฉพาะทิศทางท่านถือเป็นแบบฉบับและปฏิบัติตามนั้นจริง ๆ ไม่ให้เคลื่อนคลาดในเมื่อไม่จำเป็นจริง ๆ และสั่งสอนพระเณรให้ปฏิบัติตามนั้นด้วย บางครั้งท่านเห็นพระเดินจงกรมผิดทิศทาง ท่านยังเรียกมาดุด่าสั่งสอนเอาบ้างว่า ที่สั่งสอนหมู่คณะจะเป็นทางธรรมก็ดี ทางวินัยก็ดี ได้สอนตามแบบฉบับเรื่อยมาไม่เคลื่อนคลาด แม้การเดินจงกรมซึ่งเป็นทางธรรมก็มีแบบฉบับไปตามธรรมเช่นกัน การเดินจงกรมในครั้งพุทธกาลท่านมีกำหนดทิศทางกันอย่างไรบ้างหรือไม่ ได้ทราบว่ามีทิศทางอยู่สาม ดังที่เคยอธิบายให้ฟังเสมอมา หมู่คณะจึงไม่ควรถือว่าเป็นเรื่องไม่สำคัญแล้วไม่สนใจปฏิบัติตาม ก็แสดงว่าไม่ได้ตั้งใจมาศึกษาด้วยความสนใจ แม้สิ่งอื่น ๆ ก็จะเห็นว่าเป็นของไม่สำคัญดังที่เป็นมาแล้วและผ่านไป ๆ โดยไม่เห็นอะไรสำคัญ ความเป็นทั้งนี้จึงส่อให้เห็นความไม่สำคัญของผู้มาอบรมศึกษาอย่างเต็มตาเต็มใจ เวลาออกจากที่นี่ไปก็จะต้องนำลัทธินิสัยความไม่มีอะไรสำคัญนี้ไปใช้ กลายเป็นเรื่องไม่สำคัญในตัวของผู้ปฏิบัติไปเสียสิ้น
    <o:p></o:p>
    การมาอยู่กับครูอาจารย์ที่เราเคารพนับถือ ยังไม่เห็นความสำคัญในคำตักเตือนสั่งสอนอยู่แล้ว ก็เท่ากับจะเริ่มสร้างสิ่งทำลายตนขึ้นในเวลาเดียวกัน นี่แลเป็นสิ่งที่ไม่ทำให้สนิทตายใจกับหมู่คณะที่มาอาศัย ว่าจะได้สิ่งที่เป็นสาระอะไรบ้างไปเป็นหลักข้อปฏิบัติในกาลต่อไป เห็นมีแต่ความไม่สำคัญไปเสีย ความจริงธรรมที่นำมาสั่งสอนหมู่คณะทุก ๆ แขนงได้พิจารณากลั่นกรองแล้วกลั่นกรองเล่าจนเป็นที่แน่ใจ มิได้สอนด้วยความพรวดพราด หลุดปากก็พูดออกมาทำนองนั้น แต่สอนด้วยความพิจารณาแล้วทั้งสิ้น ทั้งส่วนหยาบ ส่วนละเอียด การกำหนดทิศทางเดินจงกรมเคยได้อธิบายให้หมู่คณะฟังมาหลายครั้งแล้ว จนน่ารำคาญทั้งผู้สอนผู้ฟัง แทนที่จะพากันพิจารณาตามบ้างพอเป็นพยานแห่งการมาศึกษา แต่ทำไมความฝ่าฝืนจึงโผล่ขึ้นมาอย่างไม่อายครูอาจารย์และใคร ๆ ที่อยู่ด้วยกันบ้าง

    <o:p>การพิจารณาทิศทางของความเพียรท่าต่าง ๆ นี้ ผมเคยพิจารณามานานและทราบมานานแล้ว จึงกล้านำมาสั่งสอนหมู่คณะด้วยความแน่ใจ เมื่อเห็นความฝ่าฝืนจึงทำให้อดสลดสังเวชใจไม่ได้ว่า ต่อไปจะเห็นแต่ของปลอมเต็มวัดเต็มวาเต็มศาสนาและเต็มพระเณรเถรชีพุทธบริษัท เพราะความชอบใจความสะดวกใจพาให้เป็นไป มิใช่ความไตร่ตรองดูเหตุดูผลด้วยดีพาให้เป็นไป ศาสนานั้นจริงไม่มีที่ต้องติ แต่ศาสนาจะถูกต้องติเพราะผู้ปฏิบัติดึงศาสนามาเป็นเครื่องมือของกิเลสที่มีเต็มหัวใจ ผมน่ะกลัวตรงนี้เอง เพราะเห็นอยู่กับตาดังที่ว่าอยู่ขณะนี้แล ดังนี้ ซึ่งผู้เขียนได้เห็นท่านเรียกพระมาดุด่าสั่งสอนอย่างเข้มข้นด้วยตาตัวเองจึงจำไม่ลืมตลอดมา เมื่อมีโอกาสจึงได้นำมาลงไว้บ้าง ฉะนั้นทางเดินจงกรมเฉพาะท่านอาจารย์มั่น ท่านมีแบบฉบับจริงๆ ดังกล่าวมา<o:p></o:p>
    </o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านอาจารย์มั่นกำหนดรู้ทิศทางของทางเดินจงกรม

    การกำหนดรู้ทิศทางของสายทางเดินจงกรม ท่านอาจารย์มั่นกำหนดดูตามอริยประเพณีในครั้งพุทธกาล ท่านทราบว่ามีกำหนดกฎเกณฑ์มาแต่ดั้งเดิม ท่านเองจึงได้ปฏิบัติตามแบบนั้นเรื่อยมา การเดินจงกรมจะครองผ้าก็ได้ ไม่ครองก็ได้ ตามแต่สถานที่ควรปฏิบัติอย่างไรเหมาะ ทั้งทิศทางของสายทางสำหรับเดินจงกรม ทั้งวิธีเดินจงกรม ทั้งการครองผ้าหรือไม่ครองในเวลาเดินจงกรม ทั้งขณะยืนรำพึงที่หัวจงกรม เวลาจะทำความเพียรในท่าเดินจงกรม ท่านอาจารย์มั่นกำหนดดูตามอริยประเพณีทราบโดยละเอียดและได้ปฏิบัติตามที่กำหนดทราบแล้วเรื่อยมา คือการเดินจงกรมท่านสอนให้เดินไปตามตะวันหรือเยื้องตะวันไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ ท่านว่าการเดินตามตะวันเป็นที่หนึ่ง เยื้องตะวันทั้งสองสายเป็นอันดับรองลงมา ส่วนการเดินตัดตะวันหรือไปตามทิศเหนือทิศใต้ไม่เห็นท่านเดินเลย นอกจากไม่เห็นท่านเคยเดินแล้ว ยังได้ยินท่านว่าไม่ควรเดินด้วย แต่จะเพราะเหตุไรนั้น ลืมคำอธิบายท่านเสียสิ้น
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิธีเดินจงกรมภาวนา

    การเดินจงกรมกลับไปกลับมาไม่ช้านักไม่เร็วนัก พองามตางามมรรยาท ตามเยี่ยงอย่างประเพณีของพระผู้ทำความเพียรท่าเดินในครั้งพุทธกาล เรียกว่าเดินจงกรมภาวนา เปลี่ยนจากวิธีนั่งสมาธิภาวนามาเป็นเดินจงกรมภาวนา เปลี่ยนจากเดินมายืน เรียกว่ายืนภาวนา เปลี่ยนจากยืนมาเป็นท่านอน เรียกว่าท่าสีหไสยาสน์ภาวนา เพราะฝังใจว่าจะภาวนาด้วยอิริยาบถนอนหรือสีหไสยาสน์ การทำความเพียรในท่าใดก็ตาม แต่ความหมายมั่นปั้นมือก็เพื่อชำระกิเลสตัวเดียวกันด้วยเครื่องมือชนิดเดียวกัน มิได้เปลี่ยนเครื่องมือคือธรรมที่เคยใช้ประจำหน้าที่และนิสัยเดิม ก่อนเดินจงกรมพึงกำหนดหนทางที่ตนจะพึงเดินสั้นหรือยาวเพียงไรก่อน ว่าเราจะเดินจากที่นี่ไปถึงที่นั้นหรือถึงที่โน้น หรือตกแต่งทางจงกรมไว้ก่อนเดินอย่างเรียบร้อย สั้นหรือยาวตามต้องการ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    วิธีเดินจงกรม ผู้จะเดินกรุณาไปยืนที่ต้นทางจงกรมที่ตนกำหนดหรือตกแต่งไว้แล้วนั้น พึงยกมือทั้งสองขึ้นประนมไว้เหนือระหว่างคิ้ว ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ที่ตนถือเป็นสรณะคือที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวของใจ และระลึกถึงคุณของบิดามารดาอุปัชฌาย์อาจารย์ ตลอดท่านผู้เคยมีพระคุณแก่ตน จบลงแล้วรำพึงถึงความมุ่งหมายแห่งความเพียรที่กำลังจะทำด้วยความตั้งใจเพื่อผลนั้น ๆ เสร็จแล้วปล่อยมือลง เอามือขวาทับมือซ้ายทาบกันไว้ใต้สะดือตามแบบพุทธรำพึง เจริญพรหมวิหาร ๔ จบแล้ว ทอดตาลงเบื้องต่ำ ท่าสำรวม ตั้งสติกำหนดจิตและธรรมที่เคยนำมาบริกรรมกำกับใจหรือพิจารณาธรรมทั้งหลาย ตามแบบที่เคยภาวนามาในท่าอื่น ๆ เสร็จแล้วออกเดินจงกรมจากต้นทางถึงปลายทางจงกรมที่กำหนดไว้ เดินกลับไปกลับมาในท่าสำรวม มีสติอยู่กับบทธรรมหรือสิ่งที่พิจารณาโดยสม่ำเสมอ ไม่ส่งจิตไปอื่นจากงานที่กำลังทำอยู่ในเวลานั้น
    <o:p></o:p>
    การเดินไม่พึงเดินไกวแขน ไม่พึงเดินเอามือขัดหลัง ไม่พึงเดินเอามือกอดอก ไม่พึงเดินมองโน้นมองนี่อันเป็นท่าไม่สำรวม การยืนกำหนดรำพึงหรือพิจารณาธรรมนั้น ยืนได้โดยไม่กำหนดว่าเป็นหัวทางจงกรมหรือย่านกลางทางจงกรม ยืนนานหรือไม่ ตามแต่กรณีที่ควรหยุดอยู่หรือก้าวต่อไป เพราะการรำพึงธรรมนั้นมีความลึกตื้นหยาบละเอียดต่างกันที่ควรอนุโลมตามความจำเป็น จนกว่าจะเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วก้าวเดินต่อไป บางครั้งต้องยืนพิจารณาร่วมชั่วโมงก็มีถึงจะเข้าใจแจ่มแจ้งแล้วก้าวเดินต่อไป การเดินกำหนดคำบริกรรมหรือพิจารณาธรรมไม่นับก้าวเดิน นอกจากจะถือเอาก้าวเดินนั้นเป็นอารมณ์แห่งความเพียรก็นับก้าวได้ การทำความเพียรในท่าใด สติเป็นสิ่งสำคัญประจำความเพียรท่านั้น ๆ การขาดสติไปจากงานที่ทำเรียกว่าขาดความเพียรในระยะนั้น ๆ ผู้บำเพ็ญพึงสนใจสติให้มากเท่ากับสนใจต่อธรรมที่นำมาบริกรรม การขาดสติ แม้คำบริกรรมภาวนาจะยังติดต่อกันไปเพราะความเคยชินของใจก็ตาม แต่ผลคือความสงบของจิตจะไม่ปรากฏตามความมุ่งหมาย
    <o:p></o:p>
    การเดินจงกรมจะเดินเป็นเวลานานหรือไม่เพียงไร ตามแต่จะกำหนดเอง การทำความเพียรในท่าเดินก็ดี ท่ายืนก็ดี ท่านอนก็ดี ท่านั่งก็ดี อาจเหมาะกับนิสัยในบางท่านที่ต่างกัน การทำความเพียรในท่าต่าง ๆ นั้นเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถไปในตัวด้วย ไม่เพียงมุ่งกำจัดกิเลสโดยถ่ายเดียว เพราะธาตุขันธ์เป็นเครื่องมือทำประโยชน์จำต้องมีการรักษา เช่น การเปลี่ยนอิริยาบถท่าต่าง ๆ เป็นความเหมาะสมสำหรับธาตุขันธ์ที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ ถ้าไม่มีการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ธาตุขันธ์ต้องกลับมาเป็นข้าศึกแก่เจ้าของจนได้ คือต้องพิกลพิการไปต่าง ๆ สุดท้ายก็ทำงานไม่ถึงจุดที่มุ่งหมาย<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระธุดงค์ท่านถือการเดินจงกรมเป็นงานประจำชีวิตจิตใจจริง ๆ โดยมากท่านเดินครั้งละหนึ่งชั่วโมงขึ้นไป ตอนเช้าหลังจังหันแล้วท่านเริ่มเข้าทางจงกรม กว่าจะออกมาก็ ๑๑ นาฬิกา หรือเที่ยง แล้วพักเล็กน้อย บ่ายหนึ่งโมงหรือสองโมงก็เข้าทางและเดินจงกรมต่อไปอีกจนถึงเวลาปัดกวาดที่พัก อาบน้ำ เสร็จแล้วเข้าเดินจงกรมอีกจนถึงหนึ่งถึงสองทุ่ม ถ้าไม่ใช่หน้าหนาวก็เดินต่อไปจนถึงสี่ถึงห้าทุ่ม ถึงจะเข้าที่พักทำสมาธิภาวนาต่อไป อย่างไรก็ตามการเดินจงกรมกับนั่งสมาธิ ท่านต้องเดินนานนั่งนานเสมอเป็นประจำไม่ว่าจะพักอยู่ในที่เช่นไรและฤดูใด ความเพียรท่านเสมอตัวไม่ยอมลดหย่อนผ่อนตัวให้กิเลสเพ่นพ่านก่อกวนทำความรำคาญแก่ใจท่านนัก ท่านพยายามห้ำหั่นอยู่ทุกอิริยาบถ จึงพอเห็นผลจากความเพียรบ้าง ต่อไปก็เห็นผลไปโดยลำดับ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขั้นเริ่มแรกที่ฤทธิ์กิเลสกำลังแข็งแรงนี้ลำบากอยู่บ้าง ดีไม่ดีถูกมันจับมุดลงหมอนสลบครอกไปไม่รู้สึก กว่าจะรู้สึกตัวขึ้นมามันเอาเครื่องในไปกินจนอิ่มและหนีไปเที่ยวรอบโลกได้หลายทวีปแล้ว จึงจะงัวเงียตื่นขึ้นมาและบ่นให้ตัวเองว่า เผลอตัวหลับไปงีบหนึ่ง วันหลังจะเร่งความเพียรให้เต็มที่ วันนี้ความโงกง่วงทำพิษจึงทำให้เสีย ความจริงคือกิเลสทำพิษนั่นเอง วันหลังยังไม่มองเห็นหน้ามันเลย ถูกมันจับมัดเข้าอีกแต่ไม่เข็ด เจ็บก็เจ็บแต่ไม่เข็ด คือกิเลสเฆี่ยนคนนี่แล นักภาวนาเคยถูกมันดัดมาพอแล้ว บ่นกันยุ่งว่าลวดลายไม่ทันมัน สมกับมันเคยเป็นอาจารย์ของคนและสัตว์ทั้งโลกมาเป็นเวลานาน
    <o:p></o:p>
    ตอนเริ่มฝึกหัดความเพียรทีแรกนี่แลตอนกิเลสโมโห พยายามบีบบังคับหลายด้านหลายทาง พยายามทำให้ขี้เกียจบ้าง ทำให้เจ็บที่นั่นปวดที่นี่บ้าง ทำให้ง่วงเหงาหาวนอนบ้าง ทำหาเรื่องว่ายุ่งไม่มีเวลาภาวนาบ้าง จิตกระวนกระวายนั่งภาวนาไม่ได้บ้าง บุญน้อยวาสนาน้อยทำไม่ได้มากนั่งไม่ได้นานบ้าง ทำให้คิดว่ามัวแต่นั่งหลับตาภาวนาจะไม่แย่ไปละหรือ อะไร ๆ ไม่ทันเขา รายได้จะไม่พอกับรายจ่ายบ้าง ราวกับว่าก่อนแต่ยังไม่ได้ฝึกหัดภาวนาเคยมีเงินเป็นล้าน ๆ พอจะเริ่มภาวนาเข้าบ้าง ตัว “เริ่มจะ” เอาไปกินเสียหมด ยิ่งถ้าได้ภาวนาเข้าจริง ๆ ตัวกิเลสจะไม่ท้องใหญ่ปากกว้างยิ่งกว่ายักษ์ใหญ่เอาไปกินหมดละหรือ พอถูกกิเลสเท่านี้เข้าเกิดคันคายเจ็บปวดระบมไปทั้งตัว สุดท้ายยอมให้มันพาเถลไถลไปทางที่เข้าใจว่าไม่มียักษ์มีมาร แต่เวลากลับกระเป๋ามีเท่าไรเรียบวุธ ไม่ทราบอะไรมาเอาไป
    <o:p></o:p>
    คราวนี้ไม่บ่นเพราะไม่รู้จักตัวผู้มาขโมย ไม่ทราบว่าเป็นใคร เพราะกระเป๋าก็ติดอยู่กับตัวไม่เผลอไผลวางทิ้งไว้ที่ไหนพอขโมยจะมาลักไปได้ เป็นอันว่าเรียบตามเคยโดยไม่รู้จักต้นสายปลายเหตุ วันหลังไปใหม่ก็เรียบกลับมาอีก แต่จับตัวขโมยไม่ได้ นี่แลทางเดินของกิเลสมันชอบเดินแต้มสูง ๆ อย่างนี้แล จึงไม่มีใครจับตัวมันได้ง่ายๆ แม้พระธุดงค์ไม่มีสมบัติอะไรก็ยังถูกมันขโมยได้ คือขโมยสมาธิจิตจนไม่มีสมาธิวิปัสสนาติดตัวนั่นแล ท่านเคยถูกมาแล้ว จึงได้รีบเตือนพี่น้องชาวพุทธทั้งหลายโปรดพากันระวังตัวเวลาเริ่มเข้าวัดเข้าวาหาศีลหาธรรมหาสมาธิภาวนา กลัวว่ามันจะมาขโมยหรือแย่งเอาตัวไปต่อหน้าต่อตาแล้วจับตัวไม่ได้ไล่ไม่มีวันจน ดังพระท่านถูกมาแล้ว ถ้าทราบไว้ก่อนบ้างจะพอมีทางระวังตัว ไม่สิ้นเนื้อประดาตัวไปเปล่าแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยขับกล่อมให้อาณัติสัญญาณว่า กิเลสมากอบโกยเอาของดีไปใช้ไปทานเสียจนหมดตัว<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านที่เริ่มฝึกหัดใหม่ กรุณากำหนดเวลาในการเดินจงกรมเอาเอง แต่กรุณากำหนดเผื่อไว้บ้าง เวลากิเลสตัวร้อยเล่ห์พันลวงมาแอบขโมยเอาสิ่งของ จะได้เหลือคำภาวนาติดตัวไว้บ้าง ขณะเดินจงกรมพึงกำหนดสติกับคำบริกรรมให้กลมกลืนเป็นอันเดียวกัน ประคองความเพียรด้วยสติสัมปชัญญะ มีใจแน่วแน่ต่อธรรมที่บริกรรม เช่น กำหนดพุทโธให้จิตรู้อยู่กับพุทโธทุกระยะที่ก้าวเดินไปและถอยกลับมา ชื่อว่าผู้มีความเพียรในท่านั้น ๆ ไม่ขาดวรรคขาดตอนไปในระหว่างตามที่ตนเข้าใจว่าบำเพ็ญเพียร ผลคือความสงบเย็น ถ้าจิตไม่เผลอตัวไปสู่อารมณ์อื่นในระหว่างเสียก่อน ผู้ภาวนาต้องหวังได้ครองความสุขใจในขณะนั้นหรือขณะใดขณะหนึ่งแน่นอน ข้อนี้กรุณเชื่อไว้ก่อนก็ได้ว่า พระพุทธเจ้าและครูอาจารย์ที่ท่านสอนจริง ๆ ด้วยความเมตตาอนุเคราะห์ ท่านไม่โกหกให้เสียเวลาและเปล่าประโยชน์แน่นอน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ก่อนท่านจะได้ธรรมมาสั่งสอนประชาชน ท่านก็คือผู้ล้มลุกคลุกคลานมาด้วยความลำบากทรมานผู้หนึ่งก่อนเราผู้กำลังฝึกหัด จึงไม่ควรสงสัยท่านว่าเป็นผู้ล้างมือคอยเปิบมาก่อนท่าเดียวโดยไม่ลงทุนลงรอนมาก่อน ทุนของพระพุทธเจ้าก็คือความสลบไสลไปสามหน ทุนของพระสาวกบางองค์ก็คือฝ่าเท้าแตกและเสียจักษุไปก็มีต่างๆ กัน แต่ได้ผลที่พึงทั้งเลิศทั้งประเสริฐทั้งอัศจรรย์เหนือโลก เป็นเครื่องสนองตอบแทนสิ่งที่เสียไปเพราะความเพียรอันแรงกล้านั้น ๆ ท่านข้ามโลกไปได้โดยตลอดปลอดภัยไร้ทุกข์ทั้งมวล ทั้งนี้เพราะการยอมเสียสละสิ่งที่โลกรักสงวนกัน ถ้าท่านยังมัวหึงหวงห่วงความทุกข์ความลำบากอยู่ ก็คงต้องงมทุกข์บุกโคลนโดนวัฏฏะอยู่เช่นเราทั้งหลายนี้แล จะไม่มีใครแปลกต่างกันในโลกมนุษย์
    <o:p></o:p>
    เราจะเอาแบบไหนดิ้นวิธีใดบ้าง จึงจะหลุดพ้นจากสิ่งไม่พึงปรารถนาทั้งหลายที่มีเกลื่อนอยู่ในท่านในเราเวลานี้ ควรฝึกหัดคิดอ่านตัวบ้างในขณะที่พอคิดได้อ่านได้ เมื่อเข้าสู่ที่คับขันและสุดความสามารถจะดิ้นรนได้แล้ว ไม่มีใครสามารถเข้าไปนั่งทำบุญให้ทานรักษาศีลทำสมาธิภาวนาอยู่ในกองฟืนกองฟอนในเตาแห่งเมรุได้ เห็นมีแต่ไฟทำงานแต่ผู้เดียว จนร่างกายเป็นเถ้าเป็นถ่านไปถ่ายเดียวเท่านั้น เราเคยเห็นอยู่ต่อหน้าต่อตาด้วยกัน ซึ่งควรสลดสังเวชและน่าฝังใจไปนาน
    <o:p></o:p>
    การเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนาคือการกลั่นกรองหาสิ่งที่เป็นสารคุณในตัวเรา ซึ่งเป็นงานสำคัญและมีผลเกินคาดยิ่งกว่างานอื่นใด จึงไม่ควรยอมให้กิเลสตัณหาอวิชชามาหลอกเล่นให้เห็นเป็นงานล่อลวงล่มจมป่นปี้ไม่มีชิ้นดี ความจริงก็คือตัวกิเลสเสียเองนั่นแลเป็นผู้ทำคนและสัตว์ให้ฉิบหายป่นปี้เรื่อยมา ถ้าหลงกลอุบายมันจนไม่สำนึกตัวบ้าง การกลั่นกรองจิตด้วยสมาธิภาวนาก็คือการกลั่นกรองตัวเราออกเป็นสัดเป็นส่วน เพื่อทราบว่าอันไหนจริงอันไหนปลอม อันไหนจะพาให้เกิดทุกข์ อันไหนจะพาให้เกิดสุข อันไหนจะพาไปนรก อันไหนจะพาไปสวรรค์ และอันไหนจะพาไปนิพพานสิ้นทุกข์ทั้งมวลนั่นเอง<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...