ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น เรียบเรียงโดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 มิถุนายน 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความจำเป็นที่เราทุกคนจะต้องเผชิญนี้มิใช่งานของพระพุทธเจ้า มิใช่งานของพระสาวกองค์ใด และมิใช่งานของศาสนาจะพึงโฆษณาให้คนเชื่อและนับถือเพื่อหวังผลจากการนั้น ธรรมประเสริฐสามดวงที่กล่าวถึงนั้นเป็นความสมบูรณ์ตลอดกาลอยู่แล้ว ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียจากใครและอะไรแม้แต่น้อย งานนั้นจึงตกเป็นงานของเราของท่านผู้ต้องเผชิญกับความจำเป็นอยู่เฉพาะหน้า จะพึงแสวงหาทางหลบหลีกปลีกตัวเต็มสติกำลังความสามารถของแต่ละราย เพื่อแคล้วคลาดไปได้เป็นพัก ๆ มิใช่จะนั่งนอนคอยสิ่งน่ากลัวทั้งหลายอยู่โดยไม่คิดอ่านอะไรบ้างเลย ราวกับหมูคอยขึ้นเขียงด้วยความเพลิดเพลินในแกลบรำเพราะเห็นแก่ปากแก่ท้องเพียงเท่านั้น เพราะชาติมนุษย์กับชาติสัตว์ตัวไม่รู้จักคิดอ่านไตร่ตรองอะไรเลยนั้น ผิดกันลิบลับราวกับฟ้ากับดิน ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะปล่อยให้ร่างกายจิตใจ ไปทำหน้าที่ระคนคละเคล้ากันกับสัตว์ที่ไม่มีความหมายในสารคุณอะไร นอกจากกระเทียมและหัวหอมที่เป็นของคู่ควรกันกับสัตว์เหล่านั้นเท่านั้น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การกล่าวทั้งนี้มิได้มุ่งติเตียนทำลายท่านสุภาพชนทั้งหลาย ด้วยอรรถธรรมที่กล่าวมา แต่กล่าวมาเพื่อช่วยพยุงส่งเสริมจิตใจกายวาจาที่กำลังถูกสิ่งลามกตกโคลนมาทำหน้าที่เป็นนายเขียงสับยำเป็นอาหารอันอร่อยของมันต่างหาก เพื่อสติปัญญาจะได้สะดุดตัวทราบว่าเวลานี้เราตกอยู่ในสภาพเช่นไร จึงพยายามด้วยอุบายที่เห็นว่าจะพอเป็นเครื่องช่วยให้พ้นภัยจากมันบ้างสมเป็นพุทธศาสนิกชน ทางที่พอจะทราบได้ก็คือการหัดอ่านตัวเองด้วยสมาธิภาวนา ซึ่งเป็นอุบายที่ควรทราบได้ง่ายกว่าวิธีอื่น เพราะกิจนี้อยู่กับตัวทำหน้าที่อยู่ในตัว และคิดอ่านเรื่องของสัตว์โลกไปในตัวโดยตรง ผิดกับถูก ดีกับชั่ว สุขกับทุกข์ก็มีอยู่กับตัว เมื่ออ่านบ่อย ๆ ก็ค่อยทราบไปเอง เมื่อทราบตัวเองก็ต้องทราบเรื่องทุกข์ที่เกิดกับตัว จิตใจก็นับวันจะเด่นดวงและมีคุณค่าขึ้นราวกับสินค้าขึ้นราคานั่นแล
    <o:p></o:p>
    ใครหัดคิดหัดอ่านตัวเองมาก ๆ ผู้นั้นจะทราบหนทางหลบหลีกปลีกทุกข์ไม่เหมากันไปตลอดกาลดังที่เคยเป็นมา ความเห็นภัยในทุกข์ที่มีอยู่กับตัวก็นับวันจะเห็นไปโดยสม่ำเสมอ มีหนทางหลบหลีกภัยไปเรื่อย ๆ พ้นไปได้โดยลำดับ การเห็นทุกข์ก็เห็นอยู่กับตัวไปทุกระยะที่ทุกข์เกิดขึ้น แม้การพ้นทุกข์ก็ทราบว่าพ้นอยู่กับตัวด้วยกำลังสมาธิสติปัญญา พูดถึงความทุกข์ ความเป็นความตาย และภพชาติที่จะเผชิญกันมากน้อยเพียงไรก็ไม่วิตกกังวล เพราะได้ประมวลมารู้เห็นในขันธ์เฉพาะหน้าที่รวมรับรู้อยู่กับดวงใจเดียวที่กำลังฝึกซ้อมตัวอยู่ขณะนี้แล้ว ยังเป็นอยู่ก็เย็นใจเพราะคุณธรรมอยู่กับตัว แม้ตายไปก็มีสุคโตเป็นที่อยู่เสวย นี่คือผลของการทำสมาธิเดินจงกรมภาวนา สามารถยังผู้บำเพ็ญให้เกิดความรื่นเริงอาจหาญได้ผิดคาดผิดหมาย จึงเป็นกิจที่ควรทำเพื่อตัวเราเองไม่ควรประมาท ซึ่งอาจเป็นภัยอย่างคาดไม่ถึง
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การกำหนดจิตตั้งสติในเวลาเดินจงกรมกรุณาทำเป็นล่ำเป็นสัน สมที่เจตนามุ่งหน้าหาของดี การเดินจงกรมภาวนาเป็นการแสวงหาของดีที่ถูกทางไม่มีข้อควรตำหนิ นักปราชญ์ชมเชยกันทั่วโลก ควรพยายามทำจิตใจให้สงบในเวลานั้นจนได้ อย่าสักแต่ว่าทำ จะเห็นความประเสริฐอัศจรรย์ของตัวเอง คือจิตที่ถูกห่อหุ้มด้วยของเศษเดนทั้งหลาย จนขาดความสนใจว่าสิ่งที่ถูกหุ้มห่อนั้นไม่สำคัญ ยิ่งกว่าสิ่งเศษเดนที่หุ้มห่อ จึงมักพากันหลงไปกับสิ่งนั้นจนลืมสำนึกตัว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ความจริง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่กระเดื่องเลื่องลือในไตรภพตลอดมานั้น ก็ออกจากใจที่เป็นทั้งเหตุและผลอัศจรรย์ดังกล่าวมา คือใจดวงหลุดลอยจากของเศษเดนทั้งหลายออกมาแล้วนั่นแลที่มีพระนามว่าพระพุทธบ้าง พระสงฆ์บ้าง ตามอาการของผู้ทรง เมื่อปราศจากผู้ทรงแล้วก็เป็นธรรมล้วนๆ ไม่มีคำว่าจิตว่าพระพุทธเจ้าอันเป็นสมมุติขั้นสูงสุดอยู่ในนั้นอีกเลย เหลือแต่คำว่า “ธรรม” พระนามนี้ก็เป็นสมมุติขั้นสูงสุดอีกพระนามหนึ่ง แต่จำต้องทรงพระนามนี้ไว้เป็นหลักใหญ่ของโลกผู้หวังพึ่งธรรม จนกว่าได้บรรลุถึงความไม่หวังพึ่งสิ่งใดแล้ว คำว่าธรรมกับผู้นั้นก็ทราบกันเองไม่มีทางสงสัยแม้ไม่เคยทราบมาก่อน
    <o:p></o:p>
    ดังนั้นคำว่า “จิต” ทั้งจิตท่านจิตเราย่อมเป็นเช่นเดียวกันทั้งโลก แต่สิ่งที่ทำให้จิตผิดกันไปต่าง ๆ จนคาดไม่ออกบอกไม่ถูก มองไม่เห็น พิสูจน์ไม่ได้ในสังคมสามัญของคนมีกิเลสนั้น เพราะสิ่งแวดล้อมทั้งหลายซึ่งมีมากและต่าง ๆ กันจนพรรณนาไม่จบเข้าเกี่ยวข้องพัวพัน จิตที่ถูกสิ่งเหล่านั้นปกคลุมคละเคล้าจนเป็นอันเดียวกันจึงเป็นจิตที่ผิดกันมาก จนไม่อาจทราบได้ว่าจิตนั้นมีความหนาบางจากสิ่งดังกล่าวมากน้อยเพียงไร และพิสูจน์ไม่ได้ว่าจิตของผู้นั้นเดิมมาจากภพชาติอะไรบ้าง มีอะไรปกคลุมหุ้มห่อมากที่สุด บรรดาที่มีนามว่ากิเลสหรือของเศษเดนแห่งท่านผู้วิเศษทั้งหลาย
    <o:p></o:p>
    ท่านผู้ใดพยายามชำระแก้ไขสิ่งดังกล่าวออกได้มากน้อยเพียงไร ย่อมได้รับความสุขมากน้อยตามเหตุที่ชำระได้ ถึงขั้นบริสุทธิ์ก็เป็นผู้สิ้นทุกข์ทางใจในท่ามกลางแห่งขันธ์ที่กำลังครองอยู่ ดังพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ท่านที่ตรัสรู้และบรรลุธรรมแล้ว ย่อมทรงเสวยและเสวยวิมุตติสุขในขณะนั้นโดยไม่อ้างกาลสถานที่เลย ขอแต่กิเลสที่เป็นตัวข้าศึกแก่จิตใจได้สิ้นสูญไปก็พอแล้ว ฉะนั้นจึงมีเพียงกิเลสอย่างเดียวกั้นกางมรรคผลนิพพานไม่ให้จิตบรรลุถึงได้ นอกนั้นไม่มีอะไรหรือผู้ใดมีอำนาจกั้นกางได้ การสอนธรรมจึงสอนลงที่จิตซึ่งเป็นที่ซ่องสุมของกิเลสทั้งมวล ด้วยธรรมปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นหลักใหญ่ในบรรดาธรรมแก้ไขบุกเบิก
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การเดินจงกรม จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถทำกิเลสให้หลุดลอยออกจากใจได้เช่นวิธีทั้งหลาย มีการนั่งสมาธิภาวนา เป็นต้น จึงควรสนใจฝึกหัดทำแต่บัดนี้เป็นต้นไป เช่นเดียวกับงานทางโลกอันเป็นงานอาชีพ และงานเพื่อเกียรติแห่งสังคมมนุษย์ที่นิยมกัน ส่วนงานคือการทำความดีมีการเดินจงกรมเป็นต้นดังกล่าวมา เป็นงานพยุงตนทั้งภายในและภายนอก และเป็นงานพยุงเพื่อนมนุษย์และสัตว์ในโลกอีกด้วย ตามแต่กำลังความดีของแต่ละท่านละคนจะแผ่ความสุขให้โลกได้รับมากน้อยเพียงไร เช่น พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ทรงทำความร่มเย็นแก่โลกทั้งสามได้มากมหามาก ไม่มีท่านผู้ใดกล้าเป็นคู่แข่งได้ พระอรหันต์แต่ละองค์ทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้มากพอประมาณรองพระพุทธเจ้าทั้งหลายลงมา และมากกว่าสามัญชนทำต่อกัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    สุภาพชนถ้าเป็นผู้ใหญ่มีอำนาจวาสนามาก ก็ทำประโยชน์แก่ประชาชนราษฎรได้มาก ราษฎรเคารพนับถือและยกย่องเป็นพ่อพระแม่พระผู้หนึ่ง และรักมากราวกับพ่อแม่ของตนจริงๆ ยิ่งมีผู้ใหญ่เป็นคนดีจำนวนมากเพียงไร ก็เป็นการแสดงออกแห่งความเจริญรุ่งเรืองของหมู่ชนมากเพียงนั้น ศาสนาและผู้ประกาศสอนธรรมการสงเคราะห์โลกด้วยวิธีต่าง ๆ โดยไม่คิดค่าตอบแทนในทางอามิสและสินจ้างรางวัลใด ๆ ชื่อว่าผู้สร้างความกระหยิ่มปริ่มด้วยความเมตตาวิหารธรรม และจงรักภักดีแก่ประชาชนได้รับไม่มีวันจืดจางอิ่มพอ หลับและตื่นเขาย่อมระลึกบูชาเป็นขวัญตาขวัญใจอยู่ตลอดเวลา ไปที่ไหนไม่เป็นภัยแก่โลก นอกจากสร้างบุญสร้างคุณแก่ผู้อื่นให้เต็มตื้นไปด้วยความปีติยินดีโดยทั่วกันถ่ายเดียวเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    ศาสนากับผู้สงเคราะห์โลกด้วยธรรมและอามิส จึงเป็นเหมือนนายแพทย์และนางพยาบาลที่มีความสงสารเมตตาเที่ยวแจกยา และรักษาโรคให้หมู่ชนผู้จำเป็นที่ชีวิตอยู่กับยาและหมอ แม้เขาหายโรคแล้วแต่บุญคุณที่เขาระลึกต่อหมอผู้มีคุณนั้นจะไม่มีวันลืมเลย นี่แลอำนาจของความดี ไม่เลือกชาติชั้นวรรณะ ย่อมมีความปรารถนาทั่วหน้ากัน ความดีและศาสนาจึงมิได้เป็นของล้าสมัยดังที่บางคนเข้าใจ ทั้งที่เขาก็ยังหวังพึ่งผู้อื่นอยู่ด้วยความกระหายต่อความเมตตาอารีของท่านผู้ใจบุญทั้งหลาย อันมีศาสนาเป็นแหล่งผลิตคนดี เพราะศาสนาเป็นแหล่งแห่งความดีทั้งมวล ถ้ามิใช่คนดีจะนำศาสนาออกสอนโลกไม่ได้แน่นอน หลักศาสนาอย่างน้อยก็คือหัวใจของคนดีนั่นแล ยิ่งกว่านั้นก็คือหัวใจของท่านที่บริสุทธิ์วิมุตติธรรมทั้งดวง ดังศาสดาของศาสนาพุทธเป็นต้น
    <o:p></o:p>
    จะเป็นใครอื่นมาจากที่ไหนที่จะมีแก่ใจและความสามารถ ใครบ้างที่มีแก่ใจเสียสละเพื่อหมู่ชนเหมือนหัวใจของเจ้าของศาสนาผู้นำธรรมออกสอนโลก ดังพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ทรงเสียสละเต็มพระทัยแล้ว และพระสาวกอรหันต์ของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ที่ทำประโยชน์แก่หมู่ชน ถ้าไม่ใช่ท่านผู้มีใจขาวสะอาดปราศจากความเห็นแก่ตัวแล้ว จะยอมเสียสละทุกอย่างเพื่อโลกไม่ได้เลย ข้อนี้น่าเชื่อเหลือเกิน แม้ไม่มีใครเชื่อด้วยก็ยอมโง่เชื่อคนเดียว เพราะเราท่านเกิดมาในโลกนี้ก็นานพอจะทราบความคับแคบ ความกว้างขวาง ความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ผู้อื่น เพื่อนฝูงที่เป็นมนุษย์ด้วยกันได้ดี เพราะต่างก็อยู่โลกอันเดียวกัน ความทุกข์สุกดิบเกี่ยวเนื่องกันอยู่ทุกวันเวลาอย่างแยกไม่ออก จะไม่ทราบเรื่องของกันนั้นเป็นไปไม่ได้ ต้องทราบแน่นอน<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คนที่เบื่อหน่ายเกลียดชังกันก็เพราะทราบเรื่องของกัน คนที่รักชอบขอบใจตายใจเชื่อสนิทต่อกันก็เพราะทราบเรื่องของกัน การแสดงออกแห่งศาสนาของศาสดาแต่ละองค์ซึ่งเป็นการสะเทือนโลกธาตุ เพราะการปลุกปลอบใจสัตว์ทั้งหลายให้ตื่นจากหลับ ที่เคยจมอยู่ในกองกิเลสทั้งหลายให้ฟื้นตื่นตัวด้วยธรรมจักร ที่หมุนไปด้วยอริยสัจของจริงอันประเสริฐ ทำไมจะทราบไม่ได้ว่าบุคคลเช่นไรเป็นผู้ประกาศ และประกาศด้วยอัธยาศัยที่สัมปยุตด้วยอะไร ถ้าไม่สัมปยุตด้วยพระเมตตาตามหาคุณล้นโลกแล้ว ผู้เขียนก็ไม่ทราบจะเรียนอย่างไรจึงจะสมใจของท่านผู้อ่านทั้งหลาย ถ้าท่านเป็นเสมือนเรา ๆ ท่าน ๆ ที่ขุดค้นดูในตัวในใจเห็นแต่ความคับแคบตีบตัน ความเห็นแก่ตัวแบบเข้ากับใครไม่ได้นี้แล้ว ศาสนาและศาสดาจะไม่มีวันอุบัติขึ้นมาให้โลกได้กราบไหว้บูชาเป็นขวัญตาขวัญใจได้เลย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เท่าที่โลกยังเป็นโลกและมีคนดีคนชั่วสับปนกันอยู่ ไม่สูญปราชญ์ราชบัณฑิตไปจากพันธุ์มนุษย์ ก็เพราะอาศัยร่มเงาแห่งใจที่ขาวสะอาดของท่านผู้ไม่เห็นแก่ตัวกลัวคนอื่นจะดีกว่า มาชุบเลี้ยงชโลมไว้ด้วยด้วยศาสนธรรมนั่นเอง จึงพอมีคนดีไว้ประดับโลก การเกิดมาเป็นมนุษย์จึงไม่ควรคิดเอาง่าย ๆ ว่าเป็นภพที่เกิดได้ง่ายและตายยาก แต่อาจเป็นภพที่เกิดง่ายตายง่าย และเกิดยากตายง่ายเช่นเดียวกับสัตว์ทั่วไป เพราะชีวิตเป็นอยู่กับธาตุขันธ์เหมือนกัน ลมหายใจหยุดหมดความสืบต่อก็คือคนตายสัตว์ตายนั่นแล จะเรียกอย่างไรให้ยิ่งกว่านั้นไปอีกได้ จะมีความเที่ยงทนถาวรที่ไหนพอจะประมาทนอนใจไม่คิดอ่านเรื่องของตัว พอเป็นสุคตินิสัยสืบไปในอนาคต<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิธีนั่งสมาธิภาวนา

    การกล่าววิธีเดินจงกรมมาก็มากพอควร จึงขอเริ่มอธิบายวิธีนั่งสมาธิภาวนาต่อไปพอเป็นหลักฐานของผู้เริ่มฝึกหัด เพราะงานทุกแขนงทุกชนิดย่อมมีแบบฉบับเป็นเครื่องดำเนิน งานสมาธิภาวนาก็จำต้องมีแบบฉบับเป็นหลักเกณฑ์ วิธีนั่งสมาธิภาวนาท่านสอนไว้ว่า พึงนั่งขัดสมาธิ คือนั่งขัดสมาธิตามแบบพระพุทธรูปองค์แทนศาสดา เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางมือทั้งสองไว้บนตักหรือบนสมาธิ ตั้งกายให้ตรงธรรมดา อย่าให้ก้มนักเงยนัก อย่าให้เอียงซ้ายเอียงขวาจนผิดธรรมดา ไม่กดหรือเกร็งอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งอันเป็นการบังคับกายให้ลำบาก ปล่อยวางอวัยวะทุกส่วนไว้ตามปกติธรรมดา
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แต่เวลาทำหน้าที่ภาวนาต่อไปแล้ว กรุณาทำความสนใจกับหน้าที่นั้นอย่างเดียว ไม่พึงกลับมาทำความกังวลรักษาท่าสมาธิที่กำหนดไว้เดิม โดยเกรงท่านั่งนั้นจะเคลื่อนจากอาการเดิม เป็นการก้มเกินไปหรือเงยเกินไป เอียงซ้ายเกินไป เอียงขวาเกินไป ซึ่งเป็นการกังวลกับอาการทางกายมากกว่าทางจิต สมาธิภาวนาจะดำเนินไปไม่สะดวก ดังนั้นพอเริ่มต้นทางจิตตภาวนาแล้ว จึงไม่ควรเป็นกังวลกับทางกาย ตั้งหน้าทำงานทางจิตต่อไปจนถึงวาระสุดท้ายแห่งการออกจากที่สมาธิภาวนา
    <o:p></o:p>
    การเริ่มต้นทางจิตตภาวนาพึงตั้งความรู้สึก คือ จิตลงเฉพาะหน้าที่เรียกว่าปัจจุบันธรรม อันเป็นทางรู้ความเคลื่อนไหวของจิตของธรรมารมณ์ต่างๆ ดีชั่วได้ดีในเวลานั้นมากกว่าเวลาอื่น ๆ คือ ตั้งจิตลงเฉพาะหน้า มีสติ คือ ความระลึกรู้อยู่กับใจอันเป็นการเตือนตนให้รู้ว่าจะเริ่มทำงานในขณะนั้น กรุณาระวังไม่ให้จิตส่งออกไปสู่อารมณ์ต่าง ๆ ทั้งอดีต อนาคต ทั้งดีและชั่ว ที่นอกจากงานบริกรรมภาวนาซึ่งกำลังทำอยู่ในเวลานั้น
    <o:p></o:p>
    วิธีตั้งสติเฉพาะหน้า จิตเป็นผู้รู้โดยธรรมชาติเท่านั้น ไม่มีความแยบคายใคร่ครวญในตัวเอง เป็นเพียงรู้คิด รู้นึก รู้เย็น รู้ร้อน จากสิ่งสัมผัสต่าง ๆ เท่านั้น ไม่มีความแยบคายใคร่ครวญ ไม่รู้การพินิจพิจารณาและตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิดลงไปได้ คือ ไม่รู้จักผิดถูกชั่วดีโดยลำพังตนเอง จึงต้องอาศัยสติและปัญญาตัวรู้ตัววินิจฉัยใคร่ครวญกำกับรักษา เพราะสติปัญญามีอำนาจเหนือจิต สามารถรู้เท่าทันจิตที่คิดไปในอารมณ์ต่างๆ ได้ดี ฉะนั้นพึงกำหนดเอาสติ คือความระลึกรู้ชนิดหนึ่งที่มีอำนาจเหนือจิตนั้นมาไว้เฉพาะหน้า ทำหน้าที่กำหนดรู้และรักษาจิตไม่ให้ส่งไปอื่นจากอารมณ์ที่ภาวนา การมีสติรักษาจิตอยู่ทุกระยะนั้น สติสัมปชัญญะจะพึงเป็นสมบัติที่ควรได้รับในวาระนั้นหรือวาระต่อไปแน่นอน การภาวนาด้วยบริกรรมกับธรรมบทใดบทหนึ่งนั้น พึงให้เป็นไปตามจริตไม่ควรฝืน ธรรมบทใดเป็นที่สบายใจในเวลานั้น พึงนำธรรมบทนั้นมาบริกรรมภาวนาสืบต่อไปดังที่เคยอธิบายมาแล้ว
    <o:p></o:p>
    วิธีนึกคำบริกรรมภาวนา การนึกคำบริกรรมภาวนานั้น จะนึกกับธรรมบทใดบทหนึ่งตามนิสัยชอบดังกล่าวแล้วก็ได้ เช่น พุทโธ ธัมโม สังโฆ ๆ ๆ ๓ จบ แล้วกำหนดเอาเพียงบทเดียวติดต่อกันไปด้วยความมีสติ แต่จะกำหนดธรรมบทใดก็ตามนอกจากสามบทนี้ ก่อนจะเจริญธรรมบทนั้น ๆ ทุกครั้ง ควรเจริญรำลึกธรรมสามบท คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ๓ ครั้ง อันเป็นองค์พระรัตนตรัยก่อน จากนั้นค่อยบริกรรมบทที่ตนต้องการต่อไป เช่น อานาปานสติ หรืออัฐิ หรือตโจ เป็นต้น การที่ท่านให้มีคำบริกรรมภาวนาเป็นบท ๆ กำกับใจในเวลานั้นหรือเวลาอื่น ก็เพื่อเป็นอารมณ์เครื่องยึดของใจในเวลาต้องการความสงบ เพราะใจเป็นของละเอียดตามธรรมชาติ ทั้งยังไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ เนื่องจากจิตยังไม่เป็นตัวของตัวโดยสมบูรณ์ดังพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ท่าน จำต้องมีบทเป็นคำบริกรรมเพื่อผูกใจหรือเพื่อเป็นอารมณ์ของใจเวลานั้น<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การบริกรรมภาวนาในธรรมบทใดก็ตาม กรุณาอย่าคาดหมายผลที่จะพึงเกิดขึ้นในเวลานั้น เช่น ความสงบจะเกิดขึ้นในลักษณะนั้น นิมิตต่าง ๆ จะเกิดขึ้นในเวลานั้น หรืออาจจะเห็นนรกสวรรค์ขุมใดหรือชั้นใดในเวลานั้น เป็นต้น นั้นเป็นการคาดคะเนหรือด้นเดาซึ่งเป็นการก่อความไม่สงบให้แก่ใจเปล่า ๆ ไม่เกิดประโยชน์อะไรจากการวาดภาพนั้นเลย และอาจทำใจให้ท้อถอยหรือหวาดกลัวไปต่างๆ ซึ่งผิดจากความมุ่งหมายของการภาวนาโดยถูกทางที่ท่านสอนไว้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ที่ถูกควรตั้งจิตกับสติไว้เฉพาะหน้า มีคำบริกรรมเป็นอารมณ์ของใจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยมีใจกับสติสืบต่ออยู่กับคำบริกรรม เช่น พุทโธ ๆ สืบเนื่องกันไปด้วยความมีสติ และพยายามทำความรู้สึกตัวอยู่กับคำบริกรรมนั้น ๆ อย่าให้จิตเผลอตัวไปสู่อารมณ์อื่น ระหว่างจิตสติกับคำบริกรรมมีความสืบต่อกลมกลืนกันได้เพียงไร ยิ่งเป็นความมุ่งหมายของการภาวนาเพียงนั้น ผลคือความสงบเย็นหรืออื่น ๆ ที่แปลกประหลาดไม่เคยพบเคยเห็น อันจะพึงเกิดขึ้นให้ชมตามนิสัยวาสนาในเวลานั้น จะเกิดขึ้นเอง เพราะอำนาจของการรักษาจิตกับคำบริกรรมไว้ได้ด้วยสตินั่นแล จะมีอะไรมาบันดาลให้เป็นขึ้นไม่ได้
    <o:p></o:p>
    ข้อควรสังเกตและระวังในขณะภาวนา โดยมากมักคิดและพูดกันเสมอว่าภาวนาดูนรกสวรรค์ ดูกรรมดูเวรของตนและผู้อื่น ข้อนี้ท่านที่มุ่งต่ออรรถธรรมสำหรับตัวจริง ๆ กรุณาสังเกตขณะภาวนาว่า จิตได้มีส่วนเกี่ยวข้องผูกพันกับเรื่องดังกล่าวเหล่านี้บ้างหรือไม่ ถ้ามีควรระวังอย่าให้มีขึ้นได้สำหรับผู้ภาวนาเพื่อความสงบเย็นเห็นผลเป็นความสุขแก่ใจโดยถูกทางจริง ๆ เพราะสิ่งดังกล่าวเหล่านั้นมิใช่ของดีดังที่เข้าใจ แต่เป็นความคิดที่ริเริ่มจะไปทางผิด เพราะจิตเป็นสิ่งที่น้อมนึกเอาสิ่งต่าง ๆ ที่ตนชอบได้แม้ไม่เป็นความจริง นานไปสิ่งที่น้อมนึกนั้นอาจปรากฏเป็นภาพขึ้นมาราวกับเป็นของจริงก็ได้ นี่รู้สึกแก้ยาก แม้ผู้สนใจในทางนั้นอยู่แล้วจนปรากฏสิ่งที่ตนเข้าใจว่าใช่และชอบขึ้นมาด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำความมั่นใจหนักแน่นขึ้นไม่มีทางลดละ จะไม่ยอมลงกับใครง่าย ๆ เลย
    <o:p></o:p>
    จึงได้เรียนเผดียงไว้ก่อนว่าควรสังเกตระวังอย่าให้จิตนึกน้อมไปในทางนั้น จะกลายเป็นนักภาวนาที่น่าทุเรศเวทนา ทั้งที่ผู้นั้นยังทะนงถือความรู้ความเห็นของตัวว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่ และพร้อมจะสั่งสอนผู้อื่นให้เป็นไปในแนวของตนอีกด้วย จิตถ้าได้นึกน้อมไปในสิ่งใดแล้ว แม้สิ่งนั้นจะผิดก็ยังเห็นว่าถูกอยู่นั่นเอง จึงเป็นการลำบากและหนักใจแก่การแก้ไขอยู่ไม่น้อย เพราะจิตเป็นของละเอียดมากยากที่จะทราบได้กับบรรดาอารมณ์ที่จิตเข้าเกาะเกี่ยว ว่าเป็นอารมณ์ดีหรือชั่วประการใด นอกจากท่านที่เชี่ยวชาญทางด้านภาวนาซึ่งเคยผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ มาแล้วอย่างโชกโชน เช่น อาจารย์มั่นเป็นต้นนั้น ท่านพอตัวเสียทุกอย่างไม่ว่าภายในภายนอก ท่านคลี่คลายดูโดยละเอียดทั่วถึงไม่มีทางสงสัย จึงสมนามที่ท่านเป็นอาจารย์หรือครูชั้นเอกในการสอนธรรมกรรมฐานแก่บรรดาศิษย์<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านผู้ใดจะมีความรู้ความเห็นในด้านภาวนามากน้อย ทั้งภายในภายนอกมาเพียงไร เวลาเล่าถวายท่านจบลงแล้ว จะได้ยินเสียงท่านแสดงออกด้วยความเข้มข้นมั่นใจในความรู้ความเห็นของท่านเองอย่างจับใจและหายสงสัย ทั้งท่านที่มาเล่าถวายและบรรดาศิษย์ที่แอบฟังอยู่ที่นั้น ทั้งเกิดความรื่นเริงในธรรมนั้นสุดจะกล่าว แม้ผู้นั้นจะยังสงสัยในบางแขนง ขณะท่านอธิบายจบลงแล้ว ได้แยกแยะเรียนความรู้ความเห็นของตนให้ท่านฟังซ้ำอีก ท่านจะชี้แจงเหตุผลของสิ่งนั้น ๆ ให้ฟังทันทีด้วยความมั่นใจที่ท่านเคยผ่านมาแล้ว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านจะว่าท่านองค์นั้นว่าท่านลงไปงมกองมูตรกองคูถอยู่ทำไม ผมเคยงมมาก่อนท่านแล้ว และล้างมือด้วยสิ่งซักฟอกต่าง ๆ ตั้งสามวันก็ยังไม่หายกลิ่น และท่านยังขยันนำสิ่งนั้นมาทาตัวชโลมศีรษะโดยเข้าใจว่าเป็นน้ำหอมอยู่หรือ นั่นคือกองมูตรคูถที่เขาถ่ายมาได้สองสามวันแล้วซึ่งกำลังส่งกลิ่นฉุนเต็มที่ ท่านอย่ากล้าหาญอวดเก่งไปสูดดมเล่นเดี๋ยวน้ำในบ่อจะหมด แต่สิ่งที่ท่านนึกว่าหอมนั้นจะยังไม่หายกลิ่นจะว่าผมไม่บอก ผมเคยโดนมาแล้วจึงได้เข็ดและรีบบอก กลัวท่านจะโดนเข้าไปอีก ถ้าไม่มีน้ำล้างอาจร้ายกว่าผมที่เคยโดนมา ทั้งที่มีน้ำล้างยังแย่และเข็ดอยู่จนป่านนี้ ดังนี้ ซึ่งเป็นคำที่ออกรสอย่างยิ่งสำหรับผู้เขียนซึ่งมีนิสัยหยาบ ท่านผู้มีนิสัยละเอียดอาจเกิดความขยะแขยงไม่น่าฟัง แต่การที่ท่านแสดงเช่นนั้นเป็นคำยืนยันอย่างหนักแน่นแม่นยำในใจ ทั้งทางผิดและทางถูกที่ท่านเคยผ่านมาให้ผู้มาศึกษาฟัง และหายสงสัยในสิ่งที่ตนยังเห็นว่าถูกว่าดีนั้น แล้วพยายามติดตามท่านด้วยความแน่ใจ จะไม่โดนกองมูตรกองคูถอีก ซึ่งร้ายกว่าคำที่ท่านชี้แจงให้ฟังที่คิดว่าเป็นคำหยาบเสียอีก
    <o:p></o:p>
    การยกธรรมท่านมาแทรกบ้าง ก็เพื่อท่านนักอบรมทั้งหลายจะได้นำไปเป็นข้อคิดว่า ความรู้ทางด้านภาวนานี้ไม่สิ้นสุดอยู่กับผู้ใดที่พอจะยืนยันได้ทีเดียว โดยมิได้ไตร่ตรองหรือไต่ถามผู้รู้มาก่อนเสียก่อน นอกจากท่านที่ชำนิชำนาญมาอย่างเต็มภูมิแล้ว นั่นไม่นับเข้าในจำพวกที่กำลังเห็นกองมูตรคูถที่ท่านตำหนิว่าเป็นของดี แล้วชื่นชมในความรู้ความเห็นของตน แม้ผู้เขียนเองก็เคยอวดเก่งในความหางอึ่งของตนและถกเถียงท่านแบบตาแดงมาแล้ว จนไม่อาจนับได้ว่ากี่ครั้งกี่หนเพราะทำอยู่เสมอ รู้ขึ้นมาอยู่เสมอและสำคัญตัวว่าถูกอยู่เสมอ คำถกเถียงท่านทุกประโยคที่ตนเข้าใจว่าถูกต้องดีแล้ว เหมือนยื่นไม้แต่ละชิ้นให้ท่านตีเอา ๆ จนแทบศีรษะไม่มีผมเหลือค้างอยู่นั่นแล จึงจะได้ความฉลาดอันแหลมคมและความดีจากปัญหาขุยไม้ไผ่ (ปัญหาฆ่าตัวเอง) ของตนที่ถือว่าถูกว่าดีมาจากที่ไหน นอกจากท่านตีเอาอย่างถนัดมือ แล้วก็ยื่นยาใส่แผลที่ถูกตีมาให้ไปใส่แผลเอาเองเท่านั้น จะได้ดีกรีอะไรมาจากความฉลาดหางอึ่งนั้นเล่า<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ที่ว่าท่านยื่นยามาให้ไปใส่แผลเอาเองนั้น ได้แก่ท่านแก้ความรู้ความเห็นทางด้านภาวนาที่ตนสำคัญผิดไปนั้น แล้วเรากลับยอมเห็นตามท่าน กว่าจะยอมลงได้ด้วยเหตุและผล ก็ถูกท่านเข่นเอาเจ็บพอเข็ดหลาบที่เรียกว่าถูกตีนั่นแล ฉะนั้นจึงเรียนไว้เพื่อทราบว่าคนที่รู้แล้วกับคนที่ยังหลงอยู่ในกองกิเลสนั้นผิดกันอยู่มาก ถ้าไม่ใช่ผู้รู้มาแก้ความรู้ความเห็นผิดนั้น ปล่อยให้เฉพาะพวกที่เก่ง ๆ แก้กันเอง ที่นั้นจะต้องกลายเป็นเวทีมวยฝีปากที่ไม่ยอมลงกันได้ แบบไม่มีใครกล้าจองตั๋วเข้าฟังด้วยได้แน่นอน เพราะกลัวจะไปเหยียบน้ำลายของนักมวยฝีปากบนเวทีเสียจนลื่น และเลอะไปทั้งตัวโดยไม่มีผลดีอะไรติดตัวมาบ้างเลย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ทั้งนี้เพราะความรู้ภายในจากการภาวนาเป็นความสลับซับซ้อนมาก ยากจะกำหนดได้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด ผู้ปฏิบัติที่ไม่มีครูอาจารย์คอยอบรมสั่งสอนต้องลูบคลำ ผิดก็คลำ ถูกก็คลำ คลำทั้งน้ำทั้งเนื้อ ทั้งเปลือกทั้งกระพี้ ทั้งรากแก้วรากฝอย ทั้งกิ่งทั้งใบเอาไปทำบ้านเรือน คือเครื่องอยู่ของจิตที่ภาคภูมิใจด้วยไม้ทั้งต้น แล้วก็ชมว่าสวยงามเอาเองทั้งที่คนอื่นดูไม่ได้ การปฏิบัติภาวนาที่ไม่ใช้วิจารณญาณก็เป็นทำนองนี้เหมือนกัน อะไร ๆ ก็จะเหมาเอาเสียว่าถูกไปหมด เวลาระบายออกมาให้ผู้อื่นฟังกับปากกับหูตัวเองซึ่งอยู่ใกล้ๆ แทบติดกัน ก็ไม่ยอมฟังว่าที่พูดไปนั้นถูกหรือผิดประการใดบ้าง แต่จะเข้าใจว่าถูกและพูดฟุ้งไปทีเดียว ความเสียหายจึงไม่เปื้อนเฉพาะผู้ไม่พิจารณาสำรวมให้รอบคอบและรู้จักประมาณเพียงเท่านั้น ยังมีส่วนแปดเปื้อนเลอะเลือนแก่วงพระศาสนาอันเป็นจุดส่วนรวมอีกด้วยจึงควรสำรวมระวังไว้ให้มากเป็นการดี
    <o:p></o:p>
    ขณะนึกคำบริกรรมภาวนาที่เป็นความถูกต้อง ท่านนักภาวนาควรสนใจกับคำบริกรรมของตน โดยเฉพาะในขณะนั่งบริกรรมภาวนาไม่ควรเป็นกังวลกับท่านั่งที่กำหนดไว้ถูกต้องแต่ต้นแล้ว คือขณะภาวนาที่กำลังทำความกำหนดจดจ่อกับงานที่ทำนั้น กายอาจเอียงหน้าเอียงหลังเอียงซ้ายเอียงขวาไปบ้าง เพราะขาดความสนใจกับกาย เวลานั้นมีความสนใจกับการภาวนาโดยเฉพาะ ดังนั้นแม้กายจะเอียงไปบ้างก็ตาม แต่จิตขออย่าให้เอียงไปจากอารมณ์ภาวนาเป็นการดี เพราะจุดสำคัญที่ต้องการจริง ๆ อยู่กับภาวนา ถ้าจิตมากังวลกับกายอยู่เรื่อย ๆ กลัวจะเอนหน้าเอียงหลัง ทำให้จิตเผลอตัวจากคำภาวนา ไม่อาจเข้าสู่ความละเอียดเท่าที่ควรได้ตามกำลังของตน
    <o:p></o:p>
    เพื่อให้จิตได้ทำหน้าที่เต็มความสามารถของตนในเวลานั้น จึงไม่ควรกังวลกับกายภายนอก แต่ควรทำความจดจ่อต่อคำภาวนาอย่างเดียว จนจิตสงบและรู้เหตุรู้ผลของตนได้ตามความมุ่งหมาย แม้ขณะที่จิตสงบรวมลงสู่ภวังค์คือที่พักผ่อน ตัวหมดความรู้สึกกับสิ่งภายนอกมีกายเป็นต้นก็ตาม เวลาจิตถอนขึ้นมาแล้วเห็นกายเอนเอียงไปในลักษณะต่าง ๆ ก็ไม่ควรสงสัยข้องใจว่ากายนั่นไม่เที่ยงตรงตามที่กำหนดไว้ การกังวลทางกายและกังวลทางใจ นอกจากก่อความวุ่นวายให้แก่จิตที่ไม่รู้หน้าที่ของตนแล้ว ผลที่จะพึงได้รับเวลานั้นจึงไม่มีอะไรปรากฏยิ่งไปกว่า กายกับใจเกิดยุ่งกันในเวลาภาวนาโดยไม่รู้สึกตัว จึงควรทำความเข้าใจไว้แต่ขณะเริ่มลงมือภาวนา<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ที่ตั้งฐานสูงต่ำแห่งอารมณ์ของจิต กรรมฐานบางประเภทอันเป็นอารมณ์ของจิตย่อมมีฐานเป็นตัวอยู่แล้ว เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน มีฐานเป็นของตัวอยู่โดยเฉพาะ ส่วนหนังบางส่วนที่ถูกกำหนดเป็นฐาน ย่อมทราบว่าอยู่ในที่เช่นไร สิ่งที่ถูกกำหนดนั้น ๆ พึงทราบไว้ว่ามีอยู่ อารมณ์แห่งกรรมฐานในที่เช่นนั้น ๆ สูงหรือต่ำประการใด สิ่งนั้น ๆ มีฐานของตนที่เป็นอยู่ตายตัว เช่น ฟันมีอยู่ในมุขทวาร ผมตั้งอยู่บนศีรษะมีส่วนสูงเป็นที่อยู่ นอกนั้น เช่น หนัง ผม ขน เอ็น กระดูก มีอยู่ในที่ทั่วไปตามแต่จะกำหนดเอาอาการใดเป็นอารมณ์แห่งกรรมฐาน และอาการนั้น ๆ ตั้งอยู่ในที่เช่นไร เวลากำหนดสิ่งนั้น ๆ เป็นอารมณ์ตามฐานของตนที่ตั้งอยู่สูงหรือต่ำประการใด กรุณาทราบไว้ตามฐานของสิ่งนั้น ๆ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เวลากำหนดอาการใดอาการหนึ่งที่กล่าวมาเป็นอารมณ์ในขณะภาวนา พึงกำหนดเฉพาะอาการนั้นเป็นสำคัญกว่าความสูงหรือต่ำที่กำหนดไว้เดิม เช่นเดียวกับท่านั่งสมาธิที่เอนเอียงไปบ้างไม่สำคัญ ความสูงหรือต่ำที่เรากำหนดไว้เดิมอย่างไร ก็ปล่อยตามสภาพเดิม อย่ายกกรรมฐานที่เคยกำหนดแล้วว่าอยู่ในที่เช่นนั้นมาตั้งใหม่เรื่อย ๆ โดยเข้าใจว่าเคลื่อนจากที่เดิม ถ้ายกมาตั้งใหม่ตามความสำคัญของใจ จะทำให้เป็นกังวลไปกับฐานนั้น ๆ ไม่เป็นอันกำหนดภาวนากับกรรมฐานบทนั้นได้อย่างถนัดชัดเจน เช่น กำหนดกระดูกศีรษะและเพ่งสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ จนปรากฏเห็นเป็นภาพชัดเจนเหมือนกับดูด้วยตาเนื้อ แต่แล้วเกิดความสำคัญขึ้นว่ากระดูกศีรษะนั้นได้เคลื่อนจากฐานบนมาอยู่ฐานล่างซึ่งผิดกับความจริง แล้วกำหนดใหม่ ดังนี้เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างความลูบคลำสงสัยให้แก่ใจอยู่เสมอ ไม่มีเวลาพิจารณาอาการนั้น ๆ ให้แนบสนิทลงได้
    <o:p></o:p>
    ที่ถูกควรกำหนดอาการนั้น ๆ ให้อยู่ในความรู้สึกหรือความเห็นภาพแห่งอาการนั้น ๆ ด้วยความรู้สึกทางสติไปตลอดสาย แม้ภาพของอาการนั้น ๆ จะแสดงอาการใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงหรือแสดงอาการแตกสลายไป ก็ควรกำหนดรู้ไปตามอาการของมัน โดยไม่คำนึงถึงความสูงต่ำที่เคยกำหนดไว้เดิม การทำอย่างนี้จะทำให้จิตแนบสนิทและเกิดความสลดสังเวชไปกับอาการที่กำหนด ซึ่งแสดงอาการแปรสภาพให้เห็นอย่างเต็มใจ
    <o:p></o:p>
    การกำหนดลมหายใจและฐานที่ตั้งของลมก็เหมือนกัน เมื่อกำหนดลมทีแรกได้กำหนดไว้ในที่เช่นไร เช่น กำหนดที่ดั้งจมูกเป็นต้น เวลาดูลมเพลินไปด้วยความสนใจอาจเกิดความสงสัยขึ้นมาในเวลานั้นได้ว่า ลมได้เคลื่อนจากดั้งจมูกไปอยู่ในฐานอื่นเป็นต้น แล้วตั้งลมที่ดั้งจมูกใหม่ดังนี้ เรียกว่าก่อกวนตัวเองด้วยความสำคัญ จะไม่เกิดผลได้เลย เพราะความสงสัยมาแย่งเอาไปเสียหมด เพื่อความถูกต้องและหายกังวลในฐานต่าง ๆ จึงควรปฏิบัติตามที่กล่าวมาในอาการอื่น ๆ คือพึงทำความรู้ชัดในกองลมที่ผ่านเข้าผ่านออกด้วยสติทุกระยะไปจนถึงที่สุดของลม แม้ฐานของลมจะปรากฏว่าสูงต่ำ หรือผิดฐานเดิมไปตามความเข้าใจก็ตาม จะไม่ทำให้การกำหนดนั้นเสียไปแม้แต่น้อยเลย ยิ่งจะทำให้จิตกับลมสนิทแนบต่อกันไปตลอดที่สุดของการภาวนาหรือที่สุดของลม<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ลมหายใจดับไปในความรู้สึก ขณะภาวนาอานาปานสติในบางครั้ง ที่สุดของลมคือดับไป ที่สุดของใจคือรวมลงสนิท หมดความรับผิดชอบกับลม ตั้งอยู่เป็นเอกจิตคือมีอารมณ์เดียว เพียงรู้อย่างเดียวไม่เกี่ยวกับสิ่งใดต่อไปอีก ที่เรียกว่าจิตรวมสนิททางสมาธิภาวนา แต่ผู้ภาวนาอานาปานสติ เมื่อเข้าถึงลมละเอียดและลมดับไปในความรู้สึกขณะนั้น เกิดตกใจด้วยความคิดหลอกตัวเองว่า “ลมดับต้องตาย” เพียงเท่านี้ลมก็กลับมีมา และกลายเป็นลมหยาบไปตามเดิม จิตก็หยาบ สุดท้ายการภาวนาก็ไม่ก้าวไปถึงไหน คงได้เพียงขั้นกลัวตายแล้วถอยจิตถอยลมขึ้นมาหาที่ที่ตนเข้าใจว่าจะไม่ตายนี้เท่านั้น การภาวนาแบบนี้มีมากรายในวงปฏิบัติ จึงได้เรียนไว้บ้าง เพราะอาจเกิดมีแก่ท่านที่ภาวนาอานาปานสติเป็นบางราย แล้วอาจเสียท่าให้กับความหลอกลวงนี้ได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การภาวนาเพื่อเห็นความจริงกับลมในอานาปานสติ กรุณากำหนดลมด้วยสติจนถึงที่สุดของลมและของจิต จะเห็นความอัศจรรย์อย่างเด่นชัดขณะผ่านความกลัวตายในระยะที่เข้าใจว่าลมดับไปแล้วด้วยความกล้าหาญ คือ ขณะเจริญอานาปานสติไปถึงลมละเอียดและลมดับไปในความรู้สึกขณะนั้น โปรดทำความเข้าใจว่า แม้ลมจะดับไปจริง ๆ ก็ตาม เมื่อความรู้สึกคือใจยังครองตัวอยู่ในร่างนี้ อย่างไรก็ไม่ตายแน่นอน ลมจะดับก็จงดับไป หรืออะไร ๆ ในกายจะดับไปตามลมก็จงดับไปตามธรรมชาติของตน สำหรับใจผู้ไม่ดับไม่ตายไปกับสิ่งเหล่านั้น จะกำหนดดูให้รู้ทุกอย่างบรรดาที่ผ่านเข้ามาในความรู้สึกขณะนี้ แต่จะไม่เป็นกังวลกับอะไรที่เป็นสภาพเกิด ๆ ดับ ๆ
    <o:p></o:p>
    เพียงเท่านี้จิตจะตัดความกลัวและกังวลต่าง ๆ ที่เคยสั่งสมไว้ออกได้อย่างไม่คาดฝัน และสงบลงถึงฐานของสมาธิโดยไม่มีอะไรมากีดขวางได้เลย สิ่งที่เป็นอุปสรรคกีดขวางขณะลมจะดับหรือขณะลมดับไป ก็มีเฉพาะความกลัวตายเท่านั้นเอง พอผ่านอุปสรรคนี้ไปได้ด้วยอุบายดังกล่าวเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ครั้งต่อไปความกลัวหายหน้าไปเลยไม่อาจกลับมาหลอกได้อีก เราจึงพอมองเห็นเล่ห์เหลี่ยมของกิเลสได้ชัดตอนนี้แล ครั้นแล้วเราก็ไม่เห็นตายดังความคาดคิด ก็ยิ่งทำให้เห็นตัวมารที่แสนปั้นเรื่องขึ้นหลอกได้ชัดเจน ฉะนั้นท่านที่ภาวนาอานาปานสติ กรุณาจำหน้ามารตัวนี้ไว้ด้วยดี เวลาเจอกันในวันข้างหน้าจะได้ทราบวิธีหลบหลีกแก้ไข และดำเนินไปได้โดยสะดวกจนถึงฝั่งแห่งความปลอดภัยไร้ทุกข์ทั้งมวล ดังองค์ศาสดาท่านที่ทรงดำเนินธรรมบทนี้มาก่อนจนได้ตรัสรู้และนิพพานด้วยธรรมบทนี้เป็นบาทฐาน<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ภวังคจิต คำว่าจิตตกภวังค์ บางท่านอาจไม่เข้าใจ จึงขออธิบายไว้บ้างเล็กน้อย คำว่า ภวังค์ แปลอย่างป่า ๆ ตามนิสัยที่ถนัดใจ จึงขอแปลว่า องค์แห่งภพ หรือเรือนพักเรือนนอนของอวิชชามาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แสนกัปนับไม่ถ้วน คำว่า จิตตกภวังค์ คือ อวิชชารวมตัวเข้าไปอยู่ในที่แห่งเดียว ไม่ทำงานและไม่ใช้สมุนให้ออกเที่ยวล่าเมืองขึ้นตามสายทางต่าง ๆ นั่นแล ทางออกทางเข้าของสมุนอวิชชา คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เมืองขึ้นของอวิชชา คือ รูปร้อยแปด เสียงร้อยแปด กลิ่นร้อยแปด รสร้อยแปด เครื่องสัมผัสร้อยแปด ซึ่งล้วนเป็นที่รักชอบของอวิชชาทั้งสิ้น สมุนของอวิชชา คือ ราคะตัณหาโดยอาศัย สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้ เป็นเครื่องมือช่วยจัดการงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามความหวัง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขณะที่จิตตกภวังค์ด้วยกำลังของสมาธิ อวิชชาก็พักงานไปชั่วระยะหนึ่ง พอจิตถอนขึ้นมาก็เริ่มทำงานอีกตามหน้าที่ของตน แต่ไม่รุนแรงเหมือนที่ยังไม่ถูกหักแข้งหักขาจากสมาธิภาวนา ดังนั้นสมาธิภาวนาจึงเป็นเครื่องมือตัดกำลังของอวิชชาได้ดี เพื่อปัญญาจะได้ทำการกวาดล้างไปโดยลำดับ จนไม่มีอวิชชาเหลืออยู่ภายในใจ คำว่าภวังคจิตนี้ เริ่มทราบได้จากการภาวนาเมื่อจิตรวมสงบตัวลงไป พอถอนออกมา เรียกว่าจิตออกจากภวังค์ และเริ่มยุ่งไปกับเรื่องร้อยแปดที่อวิชชาเป็นผู้บงการ ไม่มีวันสำเร็จเสร็จสิ้นลงไป ฉะนั้นจึงไม่มีงานใดจะยืดยาวจนสืบสาวราวเรื่องหาเหตุผลต้นปลายไม่ได้ เหมือนงานของอวิชชาที่แผ่กระจายไปทุกแห่งหนตำบลหมู่บ้านตลอดโลกสงสาร และกล้าได้กล้าเสียต่องานของตน
    <o:p></o:p>
    รักชังเกลียดโกรธ เป็นงานประจำของอวิชชาไม่มีรังเกียจ พอใจทั้งรักทั้งชัง พอใจทั้งเกลียดทั้งโกรธ แม้จะมีความทุกข์ทรมานแก่ผู้รับใช้เพียงไร อวิชชาเป็นไม่ยอมให้ถอย ยุให้รักให้ชัง ให้เกลียดให้โกรธ จนผู้รับผลเกิดความฉิบหายป่นปี้ไปเพราะสิ่งเหล่านี้ อวิชชาก็ไม่ยอมเห็นใจและสงสาร บังคับให้ทำจนผู้รับใช้แหลกลาญไปกับมัน นั่นแลคือความเป็นธรรมของอวิชชาทุก ๆ อวิชชาที่มีอยู่ในใจสัตว์โลก งานที่อวิชชาพาให้ทำนั้นไม่มีวันสิ้นเสร็จสำเร็จเหมือนงานอื่น ๆ นอกจากแตกแขนงกว้างขวางออกไปเรื่อย ๆ ไม่มีวันเวลาเป็นกฎเกณฑ์ขอบเขตเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    ผู้มีธรรมในใจ เช่น ผู้มีสมาธิปัญญาบ้าง จึงพอเห็นโทษของอวิชชาที่พาทำงานไม่หยุด ดังนั้นเมื่อจิตรวมลงสู่ภวังค์ที่เรียกว่าอวิชชาพักงานชั่วคราว จึงปรากฏมีความสุขสบายหายห่วงไปพักหนึ่ง ตอนที่จิตพักงานนี้แลที่พอเห็นโทษแห่งความหมุนของตนที่มีอวิชชาอยู่หลังฉาก ซึ่งความหมุนนั้นผิดธรรมดาที่อยู่ในภวังค์มากมาย ขณะที่จิตถอนขึ้นมาใหม่ ๆ ใจก็ยังมีความสงบเย็นอยู่ด้วยกำลังของสมาธิหล่อเลี้ยง จิตมีความสงบเพราะสมาธิมากเพียงไร ก็เห็นโทษแห่งความวุ่นวายของอวิชชาเป็นเหตุมากเพียงนั้น ด้วยเหตุนี้ผู้ปฏิบัติจึงมักติดสมาธิจนไม่สนใจจะแก้ด้วยวิธีใด ๆ เพราะเป็นความสงบเย็นมากพอให้ติดได้ สุดท้ายจิตกลับเห็นโทษแห่งความวุ่นวายเพราะอวิชชา แต่ก็ติดในสมาธิซึ่งเป็นบ้านพักเรือนนอนของอวิชชาจนได้ เพราะไม่มีทางออกซึ่งเห็นว่าดีกว่านี้ นี่แลผู้ปฏิบัติจะเห็นคุณของสติปัญญาอย่างถึงใจ ก็มาเห็นตอนพยายามถอดถอนทำลายอวิชชานี่แล เพราะนอกจากสติกับปัญญาแล้ว ไม่มีเครื่องมือใดสามารถทำลายได้<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ภวังคจิตจะสูญสิ้นไปได้เมื่อไร ภวังคจิตไม่มีวันสูญสิ้นไปโดยลำพัง เพราะเป็นแหล่งสร้างภพสร้างชาติสร้างกิเลสตัณหามานาน และทางเดินของอวิชชาก็คือการสร้างภพชาติบนหัวใจสัตว์โลกอยู่ตลอดไป ไม่มีวันเกียจคร้านและอิ่มพอ ผู้ปฏิบัติถ้ายังรักสงวนภวังคจิตและรักฐานแห่งสมาธิของตนอยู่ ไม่คิดหาทางขยับตัวเข้าสู่ปัญญา เพื่อสอดส่องดูตัวอวิชชาที่เปรียบเหมือนนางบังเงาอยู่ในจิต หรือในภวังคจิตในสมาธิ ก็เท่ากับเป็นสมุนของภพชาติอยู่เรื่อยไปไม่มีวันพ้นไปได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ถ้าต้องการหลุดพ้น ก็ต้องสร้างสติปัญญาขึ้นกับใจจนคล่องแคล่วแกล้วกล้า สามารถทำลายภวังคจิตอันเป็นตัวภพชาตินั้นเสีย ภวังคจิตก็สลายหายซากไปเอง ผู้จะทราบภวังคจิตได้ ต้องเป็นผู้มีสมาธิอันมั่นคงและมีสติปัญญาอันแหลมหลัก เข้าเขตข่ายแห่งมหาสติมหาปัญญานั่นแล นอกนั้นไม่สามารถทราบได้ แม้เรียนจบพระไตรปิฎก ก็ไม่พ้นจากความพกเอาความรู้อวิชชาไว้อย่างเต็มพุงไปได้ เครื่องมืออันยอดเยี่ยมก็คือมหาสติมหาปัญญา นี่แลเป็นเครื่องสังหารทำลายภวังคจิตภวังคอวิชชา พระป่าก็เขียนไปตามนิสัยป่าอย่างนั้นเอง กรุณาอย่าได้ถือสาและยึดเป็นหลักเป็นเกณฑ์นักเลย เพราะพูดไม่มีแบบมีฉบับเป็นเครื่องยืนยันรับรอง เวลาปฏิบัติก็อยู่ในป่า เวลาเรียนก็เรียนในป่า ธรรมจึงเป็นธรรมป่า รวมแล้วมีแต่เรื่องป่า ไม่มีคำว่าคัมภีร์แฝงอยู่บ้างเลย
    <o:p></o:p>
    การอธิบายวิธีเดินจงกรมกับวิธีนั่งสมาธิก็ไม่ค่อยเป็นแถวเป็นแนว เนื่องจากความเกี่ยวโยงแห่งแขนงธรรมต่าง ๆ ที่ควรอธิบายมีสัมผัสกันเป็นตอน ๆ จึงเขียนวกเวียนซ้ำซากไปตามความจำเป็น ผู้เริ่มฝึกหัดใหม่อาจเป็นปัญหาและทำให้เกิดความรำคาญอยู่บ้าง แต่อาจเกิดผลในวาระต่อไป จึงขอสรุปวิธีการทั้งสองลงว่า ถ้าเห็นว่าการเดินจงกรมเหมาะกับนิสัย และได้รับความสงบหรือเกิดอุบายต่าง ๆ ขึ้นมากกว่าวิธีนั่งสมาธิ ก็ควรเดินมากกว่านั่ง ถ้าการนั่งจิตได้รับผลมากกว่าก็ควรนั่งมากกว่าเดิน แต่ไม่ควรปิดทางของการเปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งเป็นความสำคัญสำหรับกายที่เป็นเครื่องมือทำงาน ทั้งสองนี้จะเป็นวิธีใดก็คือการทำลายกิเลสสิ่งพอกพูนภพชาติ และกองทุกข์ทั้งมวลภายในใจอันเดียวกันนั่นแล<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กรุณาทำความสนใจกับจิตซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของโลกด้วย โลกกับเราจะอยู่ด้วยกันเป็นผาสุก ไม่อยู่ด้วยความเดือดร้อนนอนครางนัก เพราะจิตได้รับการอบรมพอ มีเครื่องป้องกันหลบซ่อนบ้าง ดีกว่าที่ไม่มีอะไรในตัวเลย เวลาดับขันธ์จะได้อาศัยพึ่งร่มพึ่งเงาความดีภายในตัวที่สั่งสมไว้ สัตว์โลกเป็นไปกับกรรมดีกรรมชั่วและเสวยผลเป็นสุขบ้างทุกข์บ้างตลอดมา ไม่เคยมีสัตว์ตัวใดหรือผู้ใดหลีกพ้นไปได้โดยไม่ยอมเสวยผลที่ไม่พึงปรารถนา แม้ในโลกมนุษย์เราก็รู้เห็นกันอยู่อย่างเต็มตาเต็มใจทั้งท่านและเราตลอดสัตว์ ซึ่งมีสุขบ้างทุกข์บ้างเจือปนกันไปเป็นคราว ๆ ในรายหนึ่ง ๆ การอบรมความดีมีศีลสมาธิปัญญาเป็นต้น เพื่อเป็นเรือนใจ อันเป็นสิ่งที่ผู้บำเพ็ญจะพึงรู้เห็นในปัจจุบัน วันนี้ชาตินี้ไม่สงสัย เช่นเดียวกับสมัยพุทธกาล ส่วนขณะจิตที่รวมลงเป็นสมาธิซึ่งมีหลายขณะต่าง ๆ กันตามนิสัยนั้น ไม่ขอแสดงไว้ ณ ที่นี้ เกรงว่าท่านที่เริ่มปฏิบัติจะคิดคาดหมายไปต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ความจริงที่เป็นเองจากสมาธินิสัยของตน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ที่อธิบายวิธีเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาที่ผ่านมานี้ อธิบายเป็นกลาง ๆ นำไปปฏิบัติได้ทั้งพระและฆราวาส ส่วนผลคือความเป็นของจิตที่เกิดจากการเดินจงกรมหรือนั่งสมาธินั้น ส่วนใหญ่คือความสงบของจิต เวลารวมลงไปถึงที่แล้ว จิตเป็นหนึ่งมีอารมณ์เดียวกัน ส่วนย่อยที่อาจเป็นไปตามนิสัยนั้นผิดกัน ผู้ปฏิบัติจึงไม่ควรเป็นกังวลเมื่อได้ทราบจากเพื่อนฝูงเล่าให้ฟังว่า จิตเขาเป็นอย่างนั้น รู้อย่างนั้น เห็นอย่างนั้น และรู้เห็นนิมิตต่าง ๆ อย่างนั้น โปรดถือหลักใหญ่คือความสงบ ขณะที่จิตรวมลงเป็นสำคัญนี้เป็นหลักรับรองผลของสมาธิโดยทั่วไป ท่านที่มีความเพียรพยายามอยู่แล้วไม่นิยมว่าเป็นนักบวชหรือสาธุชน ย่อมจะเห็นความอัศจรรย์ของจิตจากสมาธิภาวนาในวันหนึ่งแน่นอน
    <o:p></o:p>
    ข่าวที่เคยอ่านในประวัติของอริยสาวกทั้งหลาย จะกลายมาเป็นข่าวของตนในวันหนึ่งจนได้ เพราะสิ่งที่เป็นกิเลสบาปกรรมและธรรมเครื่องแก้กิเลสนั้นมีอยู่กับทุกคนและทั้งครั้งโน้นครั้งนี้ไม่ลำเอียง ผู้ปฏิบัติเป็นสามีจิกรรมชอบในสมาธิวิธี ผลเป็นที่พอใจเหมือนอริยสาวกในครั้งพุทธกาลได้รับ ตนจะพึงได้รับเช่นกัน ข้อสำคัญอย่าคาดกาลสถานที่ว่าเป็นที่เกิดแห่งมรรคผลนิพพาน ยิ่งไปกว่าการปฏิบัติตนด้วยมรรคโดยชอบธรรมเถิด นี่แลเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลสกองทุกข์ทางใจออกได้โดยสิ้นเชิง และมรรคนี่แลคือธรรมแก้กิเลสโดยตรงเรื่อยมาแต่ครั้งโน้นถึงครั้งนี้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง กรุณานำมาแก้จิตซึ่งเป็นที่เกิดที่อยู่แห่งกิเลสทั้งมวลให้เห็นประจักษ์ขึ้นกับใจ ว่าใจได้เปลี่ยนตัวจากความเคยเป็นภาชนะแห่งกิเลสทั้งหลาย มาเป็นภาชนะแห่งธรรมโดยลำดับจนเป็นธรรมทั้งดวง<o:p></o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ใจถ้าลงได้เป็นธรรมทั้งดวงแล้ว อยู่ที่ไหน ๆ ก็อยู่เถิด ความเกิดทุกข์ทางใจจะไม่มีมาเยี่ยมมาผ่านอีกเลย นอกจากธาตุขันธ์อันเป็นเรือนของทุกข์โดยตรงอยู่แล้ว ขันธ์ก็เป็นขันธ์และทุกข์ก็เป็นทุกข์ไปตามเคย จนถึงวันสุดท้ายปลายแดนแล้วก็สิ้นซากจากความเป็นขันธ์เป็นทุกข์ไปตามกัน คำว่าอวิชชาที่เคยเรืองอำนาจบนหัวใจก็สิ้นอำนาจขาดความหมายไป ในขณะที่จิตกลายเป็นธรรมทั้งดวงไปแล้ว นี่แลงานของธรรมมีความสิ้นสุดยุติและหลุดพ้นไปได้ ไม่เหมือนงานของอวิชชาซึ่งแผ่กระจายไปทั่วโลกสงสารไม่มีประมาณและเวลาจบสิ้นลงได้ จึงพอนำผลมาเทียบกันดูว่างานหนึ่งไม่มีประมาณและเวลาจบสิ้นลงได้ แม้จะทำไปกี่กัปกี่กัลป์ก็พาให้หมุนเวียนอยู่ตลอดไป แต่งานหนึ่งมีทางเสร็จสิ้นลงได้ ไม่ต้องวกวนขนทุกข์ให้แบกหามอยู่เรื่อยไป ทั้งสองงานนี้ ผู้เคยผ่านมาพอจะทราบผลที่ผิดกันเป็นคนละโลก ถ้าให้เลือกด้วยความเป็นธรรมจะเอางานไหน เพียงเท่านี้ก็พอมีทางออกได้ ไม่ติดจมอยู่กับงานวนงานเวียนนั้น จนลืมสนใจคิดถึงธรรมสมบัติเพื่อตนเองในกาลต่อไป
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การออกจากสมาธิภาวนา เวลาจะออกจากที่ภาวนา พึงออกด้วยความมีสติประคองใจ ถ้าจิตยังสงบอยู่ในภวังค์ นั้นมิใช่ฐานะจะบังคับให้ถอนขึ้นมาแล้วออกจากที่ภาวนา แม้ถึงเวลาจะต้องไปทำงานการหรือออกบิณฑบาตก็ไม่ควรรบกวน ปล่อยให้รวมสงบอยู่จนกว่าจะถอนขึ้นมาเอง งานภายนอกแม้จำเป็นก็ควรพักไว้ก่อนในเวลาเช่นนั้น เพราะงานของภวังคจิตสำคัญกว่ามากมายจนนำมาเทียบกันไม่ได้ หากไปบังคับให้ถอนขึ้นมาทั้งที่จิตยังไม่ชำนาญในการเข้าการออก จะเป็นความเสียหายแก่จิตในวาระต่อไป คือจิตจะไม่รวมสงบลงได้อีกดังที่เคยเป็นแล้ว จะเสียใจภายหลัง เพราะเรื่องทำนองนี้เคยมีเสมอในวงปฏิบัติ จึงควรระมัดระวังอย่าให้เรื่องซ้ำรอยกันอีก
    <o:p></o:p>
    การออกถ้าจิตรวมสงบอยู่ก็ต้องออกในเวลาที่จิตถอนขึ้นมาแล้ว หรือเวลาที่รู้สึกเหนื่อย ขณะออกก็ควรมีสติ ไม่ควรออกแบบพรวดพราดไร้สติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นธรรมประดับตัวตามกิริยาที่เคลื่อนไหว ก่อนออกควรนึกถึงวิธีทำที่ตนเคยได้ผลในขณะที่ทำสมาธิก่อนว่า ได้ตั้งสติกำหนดจิตอย่างไร นึกคำบริกรรมบทใด ช้าหรือเร็วขนาดใดใจจึงรวมสงบลงได้ หรือเราพิจารณาอย่างไรด้วยวิธีใด ใจจึงมีความแยบคายได้อย่างนี้ เมื่อกำหนดจดจำทั้งเหตุและผลที่ตนทำผ่านมาได้ทุกระยะแล้ว ค่อยออกจากสมาธิภาวนา การที่กำหนดอย่างนี้เพื่อวาระหรือคราวต่อไป จะทำให้ถูกต้องตามรอยเดิมและง่ายขึ้น<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เฉพาะนักบวชที่เป็นนักปฏิบัติอยู่แล้ว แม้ออกจากสมาธิมาแล้ว สติที่เคยประคองจิต ก็ไม่ควรปล่อยวางในอิริยาบถต่าง ๆ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน และทำข้อวัตรหรือทำงานอะไรอยู่ก็ควรมีสติกำกับคำบริกรรม หรือมีสติสัมปชัญญะอยู่กับตัว ไม่ปล่อยใจให้ส่ายแส่ไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ตามนิสัยของจิตที่เคยต่ออารมณ์ การมีสติอยู่กับคำบริกรรมหรือมีสติอยู่กับตัว กิริยาที่แสดงออกต่าง ๆ ทางกายวาจาย่อมไม่ผิดพลาด และเป็นความงามไม่แสลงหูแสลงตาผู้อื่น แม้จะมีนิสัยเชื่องช้าหรือรวดเร็วประการใดก็อยู่ในกรอบแห่งความน่าดูน่าฟังและงามตา ขณะทำสมาธิภาวนาจิตก็สงบลงได้เร็ว เพราะสติเครื่องควบคุมใจและงานที่ตนกระทำอยู่กับตัว ถ้าเป็นสัตว์ก็อยู่ในความอารักขาจะจับมาใช้งานเมื่อไรก็ง่าย ภัยก็ไม่ค่อยเกิดได้ง่ายเหมือนปล่อยไปตามยถากรรม
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    จิตที่พยายามรักษาอยู่ทุกเวลาแม้ไม่รวมสงบลงได้ดังใจหวัง ก็ไม่ค่อยเที่ยวก่อกรรมทำเข็ญใส่ตัวเหมือนที่ปล่อยไปตามยถากรรม การรักษาจิตได้แทบทุกครั้งหรือได้ทุกเวลานั้น เป็นการบำรุงสติและจิตเพื่อควรแก่งานทางด้านสมาธิภาวนาและงานอื่น ๆ ได้ดี งานใดก็ตามที่ผู้ทำทำด้วยความจงใจ มีสติจดจ่ออยู่กับงาน งานนั้นย่อมเป็นที่น่าดูไม่ค่อยผิดพลาด ตัวเองก็ไม่เป็นคนเผอเรอ เป็นคนหรือพระที่อยู่ในระดับ ไม่ลดฐานะและการงานให้เป็นของน่าเกลียด
    <o:p></o:p>
    ที่ว่า “สติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง” นั้น ถูกต้องเหมาะสมอย่างยิ่งหาที่คัดค้านไม่ได้ ทั้งนี้เราจะเห็นความจำเป็นของสติในเวลาทำสมาธิภาวนา หรือการพิจารณาธรรมภาคทั่วไป สติจำต้องตามกิจการนั้น ๆ อยู่ทุกระยะ จึงจะทราบเรื่องราวของจิตของธรรมได้ละเอียดลออสมความมุ่งหมาย ยิ่งผู้มีภูมิจิตภูมิธรรมสูงมากเพียงไร สติก็ยังเป็นธรรมจำเป็นทุกระยะโดยปราศจากไม่ได้เลย ปัญญาจะคมกล้าสามารถเพียงไร ย่อมขึ้นอยู่กับสติเป็นเครื่องพยุงส่งเสริม แม้ปัญญาจะก้าวขึ้นสู่ภูมิมหาปัญญาก็เป็นการแสดงถึงสติว่า ต้องก้าวขึ้นสู่ภูมิมหาสติเช่นเดียวกัน เพราะสติเป็นธรรมเครื่องนำทางของงานทุกชนิด คนเราธรรมดาสามัญเพียงขาดสติไปบ้างเป็นบางเวลา กิริยาที่แสดงออกไม่น่าดูเลย ยิ่งปล่อยให้ขาดไปมากแบบไม่สนใจเลยแล้ว ก็นับว่าจวนจะเข้า..แน่นอนไม่สงสัย
    <o:p></o:p>
    ด้วยเหตุนี้นักปฏิบัติที่บรรลุธรรมช้าหรือเร็วแม้จะต่างกันตามนิสัยวาสนา ก็ยังขึ้นอยู่กับสติปัญญาเป็นของสำคัญอยู่ด้วย ผู้เร่งรัดทางสติมาก สมาธิก็ปรากฏได้เร็ว คิดอ่านทางปัญญาก็ไปได้เร็วผิดกัน เราคิดเพียงงานเขียนหนังสือก็พอทราบได้ คือถ้าวันใดสติเลื่อนลอยเพราะความคิดสับสนมาก วันนั้นเขียนหนังสือก็ผิด ๆ ถูก ๆ ทั้งขีดทั้งฆ่ายุ่งไปหมด แต่ถ้าวันใดใจไม่ยุ่ง สติมีอยู่กับตัวบ้าง วันนั้นเขียนหนังสือก็ถูกดีไม่ค่อยขีดฆ่าอะไรนักเลย ท่านที่มีชื่อเสียงกิตติศัพท์กิตติคุณในทางจิตทางธรรมโดยมากมักเห็นความสำคัญของสติ ท่านพยายามตั้งสติอยู่ตลอดมาไม่ยอมให้พลั้งเผลอไปได้ ยิ่งเวลาทำสมาธิภาวนาและพิจารณาธรรมทั้งหลายด้วยแล้ว สติกับปัญญาต้องกลมกลืนเป็นอันเดียวกันไปโดยตลอด ไม่ยอมให้ขาดวรรคขาดตอนได้ ผู้เช่นนั้นทำอะไรอยู่ที่ใด ก็คือผู้มีชาครธรรมเครื่องตื่นอยู่กับตัว เป็นผู้มีเครื่องป้องกันตัวอย่างแน่นหนามั่นคง ข้าศึกยากจะเข้าถึงได้ ภัยทางใจจึงไม่มี ผิดกับผู้ไม่มีสติซึ่งเป็นพวกกอบโกยทุกข์เป็นไหน ๆ มีเท่าไรรับเหมาจนหมด<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านอาจารย์มั่นท่านสั่งสอนเน้นหนักทางสติมาก ไม่ว่าความเพียรในท่าใด อิริยาบถใด ไม่ว่าผู้เริ่มอบรมใหม่หรือเก่า ท่านเป็นต้องสอนสติตามไปกับโอวาทเพื่อภูมิจิตภูมิธรรมของผู้มาศึกษานั้นไม่ลดละเลย ท่านว่าท่านเคยเห็นโทษแห่งความขาดสติและเห็นคุณในความมีสติทั้งในระยะเริ่มต้นแห่งความเพียร ตลอดไปถึงที่สุดจุดหมายปลายทางมาแล้ว ว่าเป็นสิ่งสำคัญด้วยกันทั้งสองอย่าง ประมาทไม่ได้ โดยให้ความมั่นใจแก่นักปฏิบัติว่า นักปฏิบัติในเพศใดวัยใดก็ตาม ถ้าเป็นผู้สนใจกับสติอยู่เสมอ ไม่ให้ขาดวรรคขาดตอนในอิริยาบถและอาการต่าง ๆ นักปฏิบัตินั้นจะพึงมีหวังได้ชมสมาธิสมาบัติมรรคผลนิพพานไม่พ้นมือไปได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เริ่มแรกแต่การอบรม ขอให้มีสติเป็นพี่เลี้ยงรักษาเถิด ความรู้สึกตนและรู้สึกผิดถูกชั่วดีที่เกิดกับตนและผู้อื่นนั้น อย่างไรต้องทราบได้ตามลำดับที่สติอยู่กับตัว ไม่ยอมพลั้งเผลอปล่อยให้กิเลสฉุดลากและล้วงเอาของดีไปกินเสีย ย่อมมีหวังแน่นอน โดยมากผู้ปฏิบัติธรรมกลายเป็นนักตำหนิธรรมว่าไม่ให้ผลเท่าที่ควร หรือไม่ให้ผลแก่ตนในเวลาบำเพ็ญนั้น เพราะกิเลสตัวพาให้เผลอนั้นแลแอบมาทำหน้าที่ก่อนสติซึ่งเป็นผู้นำ และแอบทำหน้าที่แฝงไปกับจิต ทั้งเวลาประกอบความเพียรและเวลาธรรมดา จึงทำให้ผิดหวังไม่ได้ดังใจหมาย แล้วแทนที่จะตำหนิตัวผู้เสียท่าให้กิเลส แต่กลับไปตำหนิธรรมว่าไร้ผลไปเสีย จึงมีแต่เรื่องขาดทุนโดยถ่ายเดียว ในข้อนี้เป็นเพราะผู้ปฏิบัติไม่สนใจสังเกตกิเลสตัวพาให้เผลอนั้นเป็นภัยต่อตนและความเพียร เจ้าตัวนี้จึงได้โอกาสออกหน้าออกตาอยู่กับนักปฏิบัติ โดยผู้นั้นไม่รู้สึกว่าตนได้ถูกมันลากจูงอยู่ตลอดเวลา
    <o:p></o:p>
    ถ้าเป็นนักสังเกตอยู่บ้าง จะพอทราบได้ในช่วงระยะเวลาไม่ถึงนาทีเลย คือขณะเริ่มประกอบความเพียรด้วยท่าต่าง ๆ โดยเริ่มตั้งสติต่อความเพียรนั่นแล เป็นขณะที่จะทราบได้ว่าความตั้งสติกับความเผลอสติจะรบกันให้ผู้ปฏิบัติดู และไม่นานเลยความเผลอสติอันเป็นฝ่ายกิเลสที่คอยจดจ้องมองทีอยู่จะเป็นฝ่ายชนะ และฉุดลากจิตหายเงียบไปเลย จากนาทีนั้นก็มีแต่ร่างของนักปฏิบัติผู้ไม่มีสติทำความเพียรอยู่เปล่า ๆ ถ้าเดินจงกรมก็สักแต่กิริยาว่าเดิน ถ้านั่งสมาธิอยู่ก็สักแต่กิริยาว่านั่ง ถ้ายืนเป็นท่ารำพึงธรรมก็สักแต่กิริยาว่ายืนอยู่เท่านั้น เหมือนหุ่นหรือตุ๊กตาเราดี ๆ นี้เอง หาเป็นความเพียรตามองค์ของผู้บำเพ็ญอย่างแท้จริงไม่ เพราะสติที่เป็นองค์ความเพียรอันจะยังผลนั้น ๆ ให้เกิด ได้ถูกกิเลสตัวเผอเรอเอาไปกินเสียสิ้นแล้ว เหลือแต่ร่างซึ่งเป็นเพียงกิริยาแห่งความเพียรอยู่เท่านั้น
    <o:p></o:p>
    นี่แลกิเลสทำลายคนทำลายความเพียรของนักปฏิบัติ มันทำลายต่อหน้าต่อตาและทำเอาอย่างสด ๆ ร้อน ๆ ด้วยวิธีกล่อมให้หลับสนิทขณะกำลังทำความเพียรนั่นเอง ถ้าอยากทราบว่ากิเลสประเภทต่าง ๆ มีความสามารถอาจเอื้อมเพียงไรย่อมจะทราบได้ทุกระยะ แม้ขณะเริ่มจะทำความเพียรก็ทราบได้ไม่ยากเย็นอะไรเลย แต่โดยมากไม่อยากทราบกัน อยากทราบแต่สมาธิสมาบัติมรรคผลนิพพานอย่างเดียว หาทราบไม่ว่าธรรมเหล่านี้จะปรากฏขึ้นมาได้เพราะอะไร ถ้าไม่ใช่เพราะสติกับปัญญาเป็นเครื่องมือบุกเบิกอันสำคัญ หาใช่เพราะความเผอเรอไม่ พอที่จะไม่สนใจระวังมัน อันเป็นตัวทำลายธรรมทั้งหลายที่ตนพึงประสงค์ ดังนี้<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านเทศน์บางครั้งผู้ฟังทั้งหลายอดหัวเราะอยู่ภายในไปตาม ๆ กันไม่ได้เพราะขบขัน ผู้เขียนจำได้เฉพาะความขบขัน ส่วนเนื้อธรรมที่ท่านแสดงขัน ๆ นั้นจำไม่ค่อยได้มาก ท่านว่าถ้าพากันสนใจทำความเพียรเหมือนคนมีชีวิตจิตใจอยู่กับตัวบ้างแล้ว ความเจริญทางใจก็พอจะมีทางงอกเงยขึ้นได้ ไม่เหมือนคนเดินเข้าโลงผีทั้งเป็น ดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แต่นี้มองไปทิศใดทางใดเห็นมีแต่เศษพระเศษเณร เหมือนเศษเหล็กเคลื่อนที่เดินไปมาตามทางจงกรมงุ่มง่ามต้วมเตี้ยม ไม่มีสติความรู้สึกอยู่กับตัวและปัญญาความแยบคายใด ๆ บ้างเลย ถ้านั่งภาวนาก็นั่งอยู่เฉย ๆ เหมือนเศษเหล็กที่เขากองทิ้งไว้ในร้านหรือในโรงงานต่าง ๆ นั่นแล แต่เศษเหล็กมันยังไม่แสดงความโยกเยกประหงกหน้าประหงกหลัง เหมือนคนกำลังจะตายอยู่ในท่าแห่งความเพียรให้เราดูพอรำคาญใจ ส่วนพระกรรมฐานนั่งสัปหงกงกงันจะล้มเเหล่ไม่ล้มแหล่ จะตายแหล่ไม่ตายแหล่ พอให้รำคาญในการเตรียมท่องกุสลามาติกา นั่นซิมันน่าทุเรศน่ะ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    และบางครั้งที่เป็นเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาแร้งกาหมาหลับนอนกันเสียแล้ว เผื่อเกิดเป็นอะไรขึ้นมาในเวลานั้น ไม่ทราบว่าใครจะมาช่วยจัดการกุสลามาติกาศพให้ตามประเพณีที่มนุษย์นิยมกัน ถ้าเหตุเช่นนั้นเกิดขึ้นในเวลากลางวัน ก็พอให้แร้งการำคาญอีกแง่หนึ่ง คือเวลาเขาบินมาดูคิดว่าพอเป็นอาหารได้แล้ว ก็ยังมีลมหายใจและมีอาการกระดุกกระดิกอยู่ เห็นท่าไม่ได้การเขากลัว รีบพากันบินหนีไปและจับต้นไม้คอยดูอีกต่อไป บางทีมีหวัง แล้วมองกลับมาดูสิ่งที่น่ารำคาญนั้นอีก พอเห็นราวกับว่าเรียบร้อยไปแล้วคงจัดการได้ละทีนี้ เอ๊า พอบินกลับมาดูเข้าจริง ๆ กลับมีสติคืนมา และแหงนหน้าขึ้นมองดูเขาจนพากันกลัวบินหนีไปด้วยความหมดหวัง
    <o:p></o:p>
    พอจะบินไปเที่ยวหากินที่อื่น อาการของนักภาวนาในร่างแห่งคนตายครึ่งนั้นก็เป็นเหมือนร้องเรียกเขาให้บินกลับมาอีกว่า “จัดการได้แล้วทีนี้ สำเร็จแล้ว” อยู่เรื่อยไป ซึ่งพอให้เขารำคาญกับพระเศษคนเคลื่อนที่อยู่นั่นแล นี่คือผู้ปฏิบัติให้แร้งกาหมาป่าหมาบ้านรำคาญ ไม่ว่าเพียงแร้งกาและหมาทั้งหลายจะรำคาญเลย แม้ผู้สอนก็อกจะแตกยิ่งกว่าสัตว์จำพวกที่คอยจะกินเนื้อกินหนังพระที่ตายทั้งเป็น เพราะไม่มีสติประคองตัวเสียอีก ปฏิปทาแบบนี่คือแบบเตรียมการไม่หยุดแต่ไม่เกิดผล
    <o:p></o:p>
    พอเทศน์มาถึงจุดนี้ ท่านก็นิ่งไปพักหนึ่งราวกับจะกำหนดดูใจพระใจเณรที่กำลังนั่งฟังว่าจะพากันคิดอย่างไรบ้าง พอเห็นแต่ละองค์ต่างนั่งเงียบ คงทั้งกลัวบ้างขบขันบ้างนั่นเอง เสียงท่านก็เริ่มขึ้นอีกราวกับตอบคำสงสัยว่า ก็เตรียมกุสลามาติกาพระทั้งเป็นอย่างไรล่ะ คนตายเขายังมีกุสลาบังสุกุล พระนั่งภาวนาหลับแบบตายทั้งเป็นจะไม่กุสลามาติกาให้บุญ ก็จะพากันไปตกนรกทั้งหมดละซิ แม้เวลาเดินจงกรมหรือนั่งภาวนาก็ทำท่าโยกหน้าโยกหลังเหมือนจะโดดลงนรกทั้งเป็นอยู่แล้ว เมื่อถึงเวลาเข้าจริง ๆ จะโดดไปที่ไหน ถ้าไม่โดดลงนรกขุมนอนไม่ตื่นเล่า คำว่านรกขุมนอนไม่ตื่นพวกเราก็ไม่เคยได้ยินกันมาบ้างเลย แต่ท่านก็นำมาแสดงจนได้<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พอเลิกจากประชุมแล้วต่างพากันออกมาแอบคุยกันรอบ ๆ สภาหนูสนุกไปพักหนึ่ง ก่อนจะเลิกรากันไปสถานที่ที่ทำความเพียรของตนอันเป็นสถานที่ที่ท่านว่า โรงพักศพของพระที่ตายครึ่งคอยเตรียมรับกุสลาฯ แต่แปลกดังที่เคยเรียนแล้ว พระเณรไม่ว่าองค์ใด ไม่เคยแสดงอาการหงุดหงิด ไม่พอใจในคำที่ท่านเทศน์ดุด่าเฆี่ยนตีนั่นเลย มีแต่ต่างองค์ต่างฟังกันอย่างถึงใจและเพลิดเพลินไปตามคำเทศน์ขบขันท่านเสียอีก ไม่อยากให้จบลงง่าย ๆ เลย ทั้งนี้คงเป็นเพราะความเชื่อมั่นในองค์ท่านว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และมีจิตเต็มเปี่ยมด้วยเมตตาเป็นพื้นฐานและเหตุผลนั่นเอง จึงไม่มีท่านผู้ใดสนใจคิดวิพากษ์วิจารณ์ไปในแง่ต่าง ๆ แทนที่จะขยะแขยงต่อคำเทศน์ประเภทกุสลามาติกานั้น แต่กลับได้สติระลึกเห็นโทษแห่งความเผลอสติของตนไปตาม ๆ กัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    องค์ท่านเองก็แสดงสุ้มเสียงและท่าทางน่ากลัวเฉพาะเวลานั้นเท่านั้น พอพ้นไปแล้วก็มีอากัปกิริยาธรรมดาเหมือนไม่เคยแสดงท่าทางอย่างนั้นมาก่อนเลย แม้พระที่ท่านเคยอยู่กับท่านมานานจนทราบนิสัยท่านได้ดีพอแล้ว หลังจากฟังเทศน์แบบนั้นมาแล้ว ท่านก็สนทนาปราศรัยกับท่านอย่างสนิทสนมธรรมดา ๆ เหมือนไม่มีอะไรเคยเกิดขึ้นเมื่อครู่ก่อนนั้นบ้างเลย นอกจากท่านที่เพิ่งไปฝึกหัดใหม่ ที่ยังไม่เคยกับธรรมเครื่องดัดสันดานแบบนั้น จึงไม่ว่าท่านว่าเราเมื่อมาเจอเข้าอย่างจัง ๆ ก็ต้องมีอาการต่าง ๆ ทั้งจะผุดลุกผุดนั่ง ทั้งจะปวดหนักปวดเบา ทั้งร้อนทั้งหนาว ไม่มีสติพอยับยั้งตั้งตัวได้ เหมือนจับสุนัขโยนใส่เสือตายเราดี ๆ นี่เอง ได้ยินแต่เสียง “แหงก” คำเดียว แล้วตัวก็เผ่นหนีตายแบบไม่อาลัยชีวิตเอาเลย เห็นแต่อะไรๆ ที่ไม่คาดคิดของมันหลุดทิ้งเรี่ยราดสาดกระจายเต็มอวัยวะเสือทั้งตัวนั่นแล นั้นใครจะคิดว่าเป็นอะไรที่หลุดทะลักออกมาจากตัวมันลงกองเรี่ยราดเต็มตัวเสือที่มันกลัว ๆ นั่นเล่า ? ส่วนตัวสุนัขเองนั้นเผ่นหนีตายจนไม่มีที่ยับยั้งตั้งตัวได้
    <o:p></o:p>
    พระที่ไปอบรมกับท่านใหม่ ๆ โดยมากมักเป็นทำนองจับสุนัขโยนใส่เสือตายนั่นแล ไม่ค่อยจะมีสติยับยั้งตัวได้เท่าที่ควร ยืน เดิน นั่ง นอน มีแต่ความกลัวว่าท่านจะดุด่าเอาท่าเดียว โดยมิได้คิดถึงเหตุผลกลไกอะไรบ้างเลย ยิ่งกว่าสุนัขกลัวเสือตายเสียอีก (คำว่าสุนัขกลัวเสือนั้นกลัวจริงๆ มีอะไรอยู่ในท้องต้องหลุดลอยออกหมด ไปแต่ตัวขณะที่เจอเสือ แต่โดยมากสุนัขเจอเสือวิ่งหนีไปไหนไม่เป็น ยืนตัวแข็งปล่อยให้อะไรๆ ไหลออกจนหมดนั่นแล เพียงถูกจับโยนใส่เสือที่ตายแล้วยังเป็นดังที่เรียนแล้ว ทั้งนี้เพราะสัญชาตญาณของสัตว์พรรค์นี้กลัวกันแต่ไหนแต่ไรมา ท่านที่เคยอยู่ตามแถบป่าที่มีเสือชุมย่อมทราบเรื่องสุนัขกับเสือได้ดี แต่ท่านที่อยู่แต่ในเมืองหรือในกรุงเทพฯ มาแต่ต้นไม่อาจทราบได้ หรือไม่เชื่อว่าจะเป็นได้ดังที่เขียนก็เป็นได้ แต่ความจริงก็เป็นอย่างนั้น)<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เฉพาะท่านที่เคยอยู่อบรมกับท่านมานาน ท่านดุด่าขู่เข็ญมากเพียงไร ยิ่งเป็นเหมือนเร่งยาแก้ไข้ให้หายรวดเร็วทันใจยิ่งขึ้น ไม่มีคนไข้ใดที่โกรธแค้นให้หมอผู้เร่งยาเพื่อช่วยตัวเองให้หายจากโรค ที่กำลังบีบบังคับอยู่จนหาทางรอดตัวไม่ได้ นอกจากจะเกิดความอบอุ่นและขอบคุณหมอว่า ตนยังพอมีทางรอดตายได้เพราะความเมตตาอนุเคราะห์ของหมอเท่านั้น นักปฏิบัติผู้เห็นภัยในความโง่เพราะกิเลสของตัวบีบบังคับทับถม ก็ย่อมมีความกระหยิ่มยิ้มย่องต่อโอวาทหนักเบา เพื่อบรรเทาและแก้กิเลสของตัว จากครูอาจารย์ผู้มีเมตตาจิตคิดอนุเคราะห์ด้วยอุบายต่าง ๆ อันเป็นทางปลดเปลื้องเลี่ยงกิเลสกองทุกข์ไปได้ไม่นอนจมล้มเหลว เพราะอำนาจกิเลสบีบบังคับทำลายโดยถ่ายเดียว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การฟังโอวาทท่านถ้าฟังอย่างผู้มุ่งอรรถมุ่งธรรมจริง ๆ ไม่สงวนตัวนำกิเลสตัวทิฐิมานะเข้าไปต้านทานผลักดันธรรมที่ท่านแสดง เปิดใจฟังหยั่งความรู้ไปตามเหตุตามผลจริง ๆ แล้ว จะได้ฟังธรรมท่านอย่างถึงใจ แก้กิเลสไปได้เป็นวรรคเป็นตอนประจักษ์ใจในขณะที่ฟังทุกๆ ระยะที่ท่านแสดง ยิ่งมีเรื่องทำให้ท่านสะดุดใจถือเป็นเหตุ จะเป็นเรื่องใดหรือเรื่องของท่านผู้ใดก็ตามที่เป็นต้นเหตุยกขึ้นแสดงในเวลานั้น ยิ่งน่าฟังผิดกับที่ท่านแสดงธรรมดาอยู่มาก ผู้มุ่งกลัวท่านก็ได้กลัวเต็มภูมิที่อยากกลัวแทบตั้งตัวไม่ติดนั่นแล ผู้มุ่งเอาเหตุผลอรรถธรรมก็ได้ผลเต็มความสามารถแห่งสติปัญญาของตน ธรรมที่ปรากฏขึ้นในเวลานั้นต้องไม่เหมือนครั้งใดๆ ที่เคยผ่านมา แต่เป็นธรรมที่เหมาะสมกับเหตุการณ์นั้นโดยเฉพาะ และไม่มีการซ้ำรอยเดิมที่เคยแสดงมาแล้วด้วย
    <o:p></o:p>
    เพราะนิสัยท่านอาจารย์มั่นแสดงธรรมโดยปกติก็ไม่ซ้ำรอยเก่าอยู่แล้ว นอกจากผ่านกันไปมาเท่านั้น แม้แต่ภาษิตเก่าที่เคยยกขึ้นแสดง เวลาแปลยังไม่ซ้ำกับที่ท่านเคยแปลไว้เดิมเลย หากมีเลี่ยง ๆ เฉียด ๆ กันไปพอให้เกิดอุบายแก่ผู้ฟังเราดี ๆ นี่เอง จึงอดชมเชยท่านแล้วเล่าไม่ได้ว่า สมกับที่ท่านพิจารณาองค์ท่านเองว่า “เป็นปฏิสัมภิทานุศาสน์จริงๆ” ผู้ที่เคยอยู่กับท่านนานเท่าไรยิ่งชอบฟังธรรมเด็ดเผ็ดร้อนจากท่านมากกว่าธรรมดา เพราะมีรสซาบซึ้งผิดกันอยู่มาก แต่ผู้ไม่เคยฟังก็ว่าท่านดุด่า แล้วกลัวจนลืมสนใจกับเหตุผลความจริงในเวลานั้น ผลที่ได้รับจากการฟังธรรมท่านในเวลาเดียวกันจึงต่างกันราวกับฟังเทศน์คนละกัณฑ์
    <o:p></o:p>
    เวลาท่านแสดงธรรมสอนพระในวงปฏิบัติใกล้ชิด ท่านแสดงอย่างถึงเหตุถึงผลจริงๆ ไม่มีการแบ่งรับแบ่งสู้ ทั้งด้านสมาธิทุกขั้นปัญญาทุกภูมิและไตรลักษณ์ทั้งหลาย ท่านรื้อฟื้นบุกเบิกและเปิดเผยให้ฟังตามความมีความเป็นของสิ่งนั้น ๆ อย่างถึงใจ สมท่านเชี่ยวชาญทางจิตตภาวนาทุกภูมิจริงๆ แต่ผู้เขียนไม่อาจนำมาลงได้ทุกๆ ประโยคไป เพราะเป็นธรรมคู่ควรแก่ท่านผู้แสดงและท่านผู้ฟังโดยเฉพาะเท่านั้น เรียนได้แต่ว่าธรรมประเภท “สะเด็ดเผ็ดร้อน” เท่านั้น ซึ่งกิเลสกลัวและหลั่งไหลออกเป็นกองๆ เพราะอำนาจตปธรรมเครื่องแผดเผาไหลออกจากอนุศาสนีปาฏิหาริยะท่าน เหมือนน้ำไหลไฟสว่าง ราวกับจะมองเห็น ปู่ ย่า ตา ยาย ครอบครัว ผัวเมีย ลูกเต้าหลานเหลนของกิเลสชนิดต่างๆ แตกทัพดับสลายไม่เป็นขบวนไปในเวลานั้น<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบลง พุทธบริษัทได้บรรลุมรรคผลธรรมวิเศษนับแต่อริยธรรมขั้นต่ำจนถึงขั้นสูงสุดมีจำนวนเท่านั้น ๆ นั้น ในสมัยปัจจุบันถ้ายกธรรมประเภทที่ท่านอาจารย์มั่นแสดงในวงพระปฏิบัติชนิดเปิดโลกธาตุ แม้เป็นเพียงธรรมย่อยๆ ของธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงก็ตาม ขึ้นเทียบเคียงกันเพื่อหามูลความจริงกันแล้ว ผู้เขียนก็อดเชื่อไม่ได้ ต้องเชื่อจริงๆ ท่านผู้ใดจะว่าหูเบาเชื่อง่ายก็กรุณาว่ากันไป ส่วนผู้เชื่อก็เชื่อไปดังที่เรียนแล้ว เพราะกิเลสก็เป็นของจริงในอริยสัจ ธรรมเครื่องแก้กิเลสก็เป็นของจริงในอริยสัจอันเดียวกัน เมื่อความจริงเข้าถึงความจริงเต็มที่แล้ว จำต้องแสดงผลเป็นของจริงออกมาได้ทุกกาลสถานที่บุคคลไม่เลือกหน้า
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงธรรมของจริง ท่านอาจารย์มั่นก็แสดงธรรมของจริง เพื่อแก้กิเลสอันเป็นของจริงมาทุกกาลทุกสมัยเช่นเดียวกัน การที่กิเลสหลุดลอยไปเพราะการแสดงธรรมซักฟอกของท่านผู้ใดก็ตาม จึงเป็นความชอบด้วยเหตุผล ไม่ควรจะมีอะไรมาเป็นอุปสรรคได้ เพราะกิเลสมิได้ขึ้นอยู่กับอะไร มรรคเครื่องแก้กิเลสก็ไม่ขึ้นอยู่กับอะไรเช่นกัน แต่ขึ้นอยู่กับการสั่งสมกิเลสและการแก้กิเลสเท่านั้นเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับสิ่งหรือสถานที่สกปรก จะสะอาดได้ก็ขึ้นอยู่กับการชำระล้างด้วยน้ำที่สะอาดเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    ขณะฟังท่านอาจารย์มั่นแสดงธรรม เฉพาะท่านที่จิตเข้าสู่ภูมิปัญญาควรแก่การพิจารณาตามท่านได้แล้วนั้น เป็นความเห็นชัดระหว่างปัญญากับกิเลสปลดเปลื้องกัน โดยอาศัยธรรมท่านเป็นเครื่องบุกเบิก ผู้ฟังพิจารณาไปตาม ในขณะเดียวกันก็แก้กิเลสไปตามเป็นตอน ๆ ฟังคราวนี้พิจารณาแก้ความสงสัยได้ขนาดนี้ ฟังคราวต่อไปพิจารณาต่อไปและแก้กิเลสได้ขนาดนั้น หลายครั้งต่อหลายคราวก็จำต้องผ่านพ้นดงหนาป่ากิเลสไปได้ แล้วจะไม่ให้ท่านเชื่อว่าการฟังธรรมอาจบรรลุมรรคผลได้ ก็รู้สึกจะอวดกิเลสตัวเคยชอบอวดเกินไป เพราะปกติกิเลสไม่ชอบเหตุผล ชอบแต่ความอวดตัวยอตัวว่าเก่งทั้งที่ไม่เก่ง และทั้งที่ท่านผู้ฉลาดและยิ่งใหญ่กว่าตำหนิและสาปแช่งอยู่เสมอ ผู้ที่อยู่ในภูมิสมาธิความสงบ พอได้ฟังธรรมท่านใจก็สงบลงง่ายกว่าที่ทำโดยลำพังตนเอง เพราะธรรมท่านช่วยกล่อมเกลาในเวลานั้น
    <o:p></o:p>
    การฟังธรรมจึงเป็นภาคปฏิบัติสำคัญแขนงหนึ่งในบรรดาความเพียร ส่วนผู้ไม่เคยปฏิบัติและไม่เคยฟังพอปรากฏผลมาบ้างเลย เพียงจะด้นเดาเอาตามความคิดเห็นของตนไปคัดค้านนั้นก็คัดค้านได้ ถ้าจะตรงความจริงและเกิดประโยชน์ ความจริงแล้วมิใช่ทางให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด นอกจากจะสร้างมลทินให้แก่พระศาสนา และสร้างความรำคาญให้แก่ผู้อื่นที่ตั้งใจบำเพ็ญ ให้เกิดความเอือมระอาไปตามๆ กัน และหัวเราะอยู่ภายในเท่านั้นว่า “นักปราชญ์หัวกะทิที่สำเร็จด้วยการปฏิเสธและด้นเดา” มรรคผลนิพพานปัดทิ้งให้กาลสถานที่และบุคคลอื่นเอาไปครอง ตัวเองดื่มแต่อารมณ์แห่งความปฏิเสธด้นเดาก็ภูมิใจ<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...