ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น เรียบเรียงโดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 มิถุนายน 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขนบธรรมเนียมหรือพิธีการต่าง ๆ เกี่ยวกับพระกรรมฐาน

    ขออภัย เรียนตามความจริงที่เป็นไปโดยมาก พระกรรมฐานสายนี้รู้สึกจะคร่ำครึอยู่มากเกี่ยวกับพิธีการหรือขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ของสังคม ดังนั้นเวลาท่านถูกนิมนต์มาในงานพิธีต่าง ๆ จึงอาจได้พบเสมอในความไม่สันทัดจัดเจนของพระกรรมฐานสายนี้ที่แสดงอาการเก้อ ๆ เขิน ๆ อยู่ในพิธีนั้น ๆ เช่นในงานศพ งานสวดมนต์ฉันเช้า เป็นต้น เวลาท่านถูกนิมนต์มาเฉพาะวงคณะพระกรรมฐานด้วยกันก็ดี มาสับปนกับพระอื่น ๆ ที่ท่านมีความสันทัดจัดเจนในพิธีนั้น ๆ ก็ดี ความระเกะระกะไม่น่าดูต่าง ๆ จะมารวมอยู่กับพระกรรมฐานทั้งสิ้น บางทีท่านผู้เป็นเจ้าภาพอาจทนอายแขกเหรื่อทั้งหลายที่อุตส่าห์สละเวลามาให้เกียรติในงานไม่ได้ก็มี
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เพราะท่านไม่เคยชินกับสังคมและพิธีการต่างๆ ว่านิยมกันอย่างไรบ้าง เนื่องจากท่านไม่ค่อยมีโอกาสได้เข้าพิธีและสังคมต่างๆ ที่ประชาชนนิยมกัน อยู่แต่ในป่าในเขากับพวกชาวป่าชาวเขา ซึ่งไม่ค่อยมีพิธีและขนบธรรมเนียมสำคัญ ๆ อะไรนัก เวลาถูกนิมนต์มาในงานต่าง ๆ ในบ้านใหญ่เมืองหลวง จึงมักปฏิบัติไม่ถูกกับกาลเทศะที่โลกนิยมกัน ท่านไม่ทราบจะจับด้ายสายสิญจน์มือไหน จับพัดมือไหน ชักบังสุกุลมือไหนอย่างไรจึงจะถูกตามความนิยม บางครั้งท่านยังจับพัดเอาข้างในของพัดออกข้างนอก และเอาข้างนอกของพัดเข้ามาข้างใน จนประชาชนและคณะลูกศิษย์ที่นั่งดูอยู่ทนไม่ได้ ต้องหันหน้าเข้าฝาก็มีเพราะอายแทนท่าน ส่วนท่านเองยังคงอยู่สบายและวางเฉยราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้งที่ประชาชนทนดูไม่ไหวแทบมุดศีรษะลงพื้นไปตาม ๆ กัน พระกรรมฐานท่านเป็นอย่างนี้เอง
    <o:p></o:p>
    ผู้เขียนนี้ก็ตัวสำคัญ ที่ถูกนิมนต์ไปขายหน้าเจ้าภาพและคณะลูกศิษย์บ่อยที่สุด โดยมากในกรุงเทพฯ ที่ถูกนิมนต์มาในงานศพบ้าง พิธีอื่นๆ บ้าง ขอร้องไม่ให้นิมนต์มาเพราะจะมาขายหน้าลูกศิษย์เปล่า ๆ ก็ไม่ฟัง ไปนิมนต์มาจนได้ สุดท้ายก็ขายหน้าจริง ๆ ด้วย แต่ก็ไม่ยอมเข็ดกัน ยังขยันไปนิมนต์อยู่เสมอ เรื่องเช่นนี้แม้คณะลูกศิษย์พอจะทนอายแทนได้ แต่อาจารย์เองก็ทนอายไม่ไหวจึงไม่อยากมา คิดดูก็เหมือนจับลิงป่าโยนเข้าในสังคมมนุษย์เราดีๆ นี่เอง จะสวยงามน่าดูที่ตรงไหน มีแต่จะน่าอายทั้งสองฝ่ายนั่นเอง ขนาดโดนเอา ๆ ยังไม่จำ จึงโดนบ่อยกระทั่งทุกวันนี้ งานไหนงานนั้นเป็นไม่พ้นไปได้ เมื่อคิดถึงหมู่เพื่อนและครูอาจารย์ทั้งหลายที่อาจถูกนิมนต์มาในพิธีต่าง ๆ ในเมืองหรือในกรุงจึงอดจะอายไว้ก่อนแต่เนิ่น ๆ ไม่ได้
    <o:p></o:p>
    อย่างไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าพระกรรมฐานสายนี้ถูกนิมนต์แล้ว ต้องเป็นทำนองดังกล่าวแน่นอน เพราะทราบเรื่องของกันและกันได้ดีว่าคร่ำครึจริงๆ เนื่องจากไม่ได้สำเหนียกศึกษาทางนี้มาก่อน พอถูกนิมนต์ทีไรจึงต้องโดนเอาๆ แทบทุกงานและทุกองค์ไม่ว่าแก่หรืออ่อนพรรษา บางทีเสร็จงานแล้วออกมา ลูกศิษย์ฝ่ายฆราวาสสงสารยังตามมากระซิบบอกว่า ท่านทำไมทำอย่างนั้น น่าอายจริง ๆ แต่ท่านเองยังไม่ทราบว่าทำผิดอะไรเสียอีก จนเขาต้องกระซิบบอกว่าให้ทำอย่างนั้น ๆ อย่าทำอย่างนั้นต่อไปมันผิด เดี๋ยวเขาจะขโมยหัวเราะเอา วันนี้ผมก็หน้าชาไปบ้างเหมือนกันพอเห็นท่านทำ... ซึ่งพระที่นี่ท่านมิได้ทำกันดังนี้ พอไปทีหลัง ก็โดนอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าอีกแล้ว ยิ่งกว่าเด็กเสียอีก ไม่รู้จักจดจำบ้างเลย เรื่องเป็นอย่างนี้แลพระกรรมฐานสายนี้ที่ถูกนิมนต์เข้ามาในงานพิธีต่าง ๆ<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แต่ทางวินัยอันเป็นระเบียบขนบธรรมเนียมของพระนั้น ท่านรู้สึกปฏิบัติถูกต้องแม่นยำดี ไม่ค่อยผิดพลาดเหมือนพิธีการต่าง ๆ อันเป็นขนบธรรมเนียมที่โลกนิยมกัน ที่น่าชมท่านก็คือ ท่านไม่ถือเป็นอารมณ์ข้องใจ บางทีก็พวกเดียวกันใส่ปัญหาหยอกเล่นกันเสียเอง เวลามองไปเห็นองค์หนึ่งกำลังจับพัดหันรีหันขวาง จับข้างในของพัดออกข้างนอก และจับข้างนอกเข้าข้างในตัวเอง แล้วหลับตาให้ศีลเขาอยู่อย่างสบายวางเฉยอุเบกขา องค์ผู้มองเห็นเองอดขำไม่ได้โดยสุดวิสัยที่จะเตือนท่าน เพราะอยู่ห่างไกลกัน ต้องทนอายและนั่งเฉยไปจนเสร็จพิธี
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เวลากลับออกมาจึงพูดหยอกเล่นกันว่า แหม วันนี้ทำเสียเต็มยศเทียวนะ ผู้ทนดูแทบใจขาดตาย ส่วนท่านองค์นั้นไม่ทราบจึงถามว่า เต็มยศอะไรกัน ก็ท่านจับพัดหันหลังพัดออกสู่แขก หันหน้าพัดเข้าสู่ตัวแล้วหลับตาให้ศีลเฉยอยู่ได้ จะไม่ให้ว่าเต็มยศก็รู้สึกจะใจดำน้ำขุ่นเกินไป ก็จำต้องชมเชยกันบ้างเพื่อสมศักดิ์ศรีกรรมฐานไงล่ะ ท่านองค์นั้นงงและยิ้มเล็กน้อย แล้วถามว่าอย่างนั้นจริง ๆ หรือ ก็ไม่ได้สนใจนี่นา นึกว่าพัดแล้วก็จับยกขึ้นว่าไปเลย มิได้สะดุดใจคิดว่าด้านหน้าด้านหลังเป็นด้านไหนอะไรกันนี่
    <o:p></o:p>
    นี่แลเรื่องกรรมฐานมักจะขายหน้าอยู่ทุกแห่งทุกหนในงานพิธีต่าง ๆ จะว่าขายกันก็ยอมรับ เพราะความจริงเป็นอย่างนั้น แม้ผู้เขียนก็เคยเป็นมาเสียยิ่งกว่าเคย เนื่องจากการสำเหนียกศึกษาหนักไปคนละทาง ส่วนทางระเบียบวินัยแล้วท่านรู้สึกองอาจ ไม่ค่อยสะทกสะท้านหวั่นไหวในสังคมทั่วไป เพราะท่านศึกษาและปฏิบัติอยู่เป็นประจำอิริยาบถ ส่วนขนบธรรมเนียมหรือพิธีการต่าง ๆ นั้น นาน ๆ ถึงจะมีครั้งหนึ่ง และไม่อยู่ในข่ายแห่งความสนใจนัก จึงมีการเคลื่อนคลาดบาดตาอยู่เสมอ สำหรับผู้เขียนเคยโดนมาจนน่าอับอายและเข็ดหลาบ แต่ก็ยังไม่วายที่จะโดนอยู่เรื่อยมาจนบัดนี้
    <o:p></o:p>
    พูดมาถึงนี้ ก็ควรจะได้อ่านเรื่องกรรมฐานเสียบ้าง พอทราบความเป็นไปของป่าและบ้านว่าต่างกันอย่างไรบ้าง คือ ราว พ.ศ.๒๔๗๖-๒๔๗๗ มีพระกรรมฐานองค์หนึ่งนับแต่บวชมาท่านไม่เคยเข้าอยู่ในเมือง ชอบบำเพ็ญอยู่แต่ในป่าเรื่อยมา ท่านมิได้เรียนและสอบเหมือนพระทั้งหลาย เรียนเฉพาะกรรมฐาน ๕ และอาการ ๓๒ กับอาจารย์แล้วก็เข้าบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่ากับอาจารย์และหมู่คณะ โดยมุ่งมั่นทางสมาธิภาวนาเป็นที่ตั้ง เพราะอายุก็ร่วมเข้า ๔๐ ปีแล้ว กลัวสังขารจะไม่อำนวยไปนานอาจตายเสียก่อน วันหนึ่งเพื่อนนักปฏิบัติด้วยกันมาพูดคุยเรื่องพระกรรมฐานทางโคราชให้ฟังว่า เวลานี้มีพระกรรมฐานมากผิดปกติ สถานที่บำเพ็ญก็มีเยอะ ตามป่าและภูเขาแถบทิศใต้และตะวันตกของโคราช เช่น เขาพริก เขาใหญ่ เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นที่สงัดวิเวกและสะดวกแก่การสมาธิภาวนามาก<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พอเพื่อนเล่าให้ฟังท่านเลยคิดอยากไป จึงตกลงใจไปกับท่านองค์นั้น โดยเธอเองเป็นผู้นำทางจนถึงจุดที่หมาย พอไปถึงโคราชก็เข้าพักที่วัดป่าสาลวัน ซึ่งสมัยนั้นวัดป่าสาลวันเพิ่งสร้างขึ้นใหม่ ๆ มีท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นเจ้าอาวาส ตอนเช้าท่านก็ออกบิณฑบาตสายในเมืองกับพระที่นั่น เผอิญวันนั้นศรัทธาญาติโยมห่อเม็ดอะไรใส่บาตร ซึ่งท่านเองก็ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อนนับแต่วันเกิดมา เพราะกำเนิดภูมิลำเนาเดิมท่านเป็นคนบ้านนอกทางภาคอีสานอยู่แล้ว จึงยากที่จะได้พบเห็นสิ่งดังกล่าวนั้น นับแต่ขณะที่เขาเอาห่อเม็ดอะไรนั้นใส่บาตรท่านแล้ว ทำให้เกิดความสงสัยข้องใจอยู่ไม่วาย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เพราะขณะที่เปิดฝาบาตรออกรับบาตรทีไร จะปรากฏกลิ่นอะไรพิกลฉุน ๆ จมูกอยู่เสมอ แต่ไม่กล้าปริปากพูดให้ใครฟัง ทำให้นึกสงสัยไปถึงความไม่ดีไม่งามต่าง ๆ ของศรัทธาญาติโยมว่า จะทำได้ลงคอละหรือ เราเป็นพระซึ่งปราศจากความอิจฉาเบียดเบียนใคร ๆ ตลอดสัตว์ทั่วไปหมดแล้ว ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรเพื่อมรรคผลนิพพานอย่างเดียว ไม่น่าจะมาทำพระอย่างเราได้ลงคอ ชะรอยจะมีพระบางองค์ที่ประพฤติตัวไม่ดีทำตัวให้เป็นที่รังเกียจของประชาชนก็ได้ เขาจึงเกลียดชังและทำได้อย่างนี้ เดินบิณฑบาตก็ครุ่นคิดไป กลิ่นฉุน ๆ นั้นก็เตะจมูกเรื่อยไป ขณะเปิดฝาบาตรเพื่อรับไทยทานศรัทธาทุกระยะไป พยายามอดใจไว้ไม่แสดงอาการใดๆ ออกมาให้ใครทราบ เพราะตนก็เพิ่งมาอยู่ใหม่ๆ และมาเจอเอาเรื่องอย่างนี้เข้าด้วยจึงควรอดทน
    <o:p></o:p>
    พอพ้นหมู่บ้านออกมาแล้วทนไม่ไหว จึงเปิดฝาบาตรออกค้นหาดูห่อสำคัญที่เกิดเรื่องกันมาตลอดทาง ก็ไปเจอเอาห่อเม็ดทุเรียนที่เขาแกะห่อใส่บาตรด้วยศรัทธาเข้า จึงอุทานขึ้นมาทันทีว่า โธ่ พ่อคุณ เรานึกว่า...ตัวส่งกลิ่นฟุ้งที่เขาห่อใส่บาตรดัดสันดานพระ เรานึกโมโหทั้งน้อยใจและเสียใจมาตลอดทาง ที่ไหนได้มันเป็นเม็ดขนุนเน่าได้สามปีกับสี่เดือนนี้เองหรือ ทำเอาเราจนใจ ไม่เป็นใจพระกลายเป็นใจอะไรไป แทบไม่ได้สติประคองตัวเสียนาน พร้อมกับโยนเม็ดขนุนเน่าห่อนั้น (เม็ดทุเรียนนั่นเอง)ลงในคลองข้างทางตูม แล้วก็ไปอย่างสบายหายห่วง และหายสงสัยในปัญหาทั้งมวล เพียงแต่วิพากษ์วิจารณ์ผลไม้ไปต่าง ๆ ตามความรู้สึกว่า ขนุนเน่าเมืองนี้กับขนุนเน่าเมืองเราต่างกันมาก ขนุนเน่าเมืองเราแม้จะเน่าขนาดเปื่อยเละเพียงไร ก็มิได้ส่งกลิ่นฉุนมากมายแทบทนไม่ไหวเหมือนขนุนเมืองนี้ ผู้ใส่บาตรแม้ไม่มีเจตนาร้ายต่อพระ คงขาดความสังเกตพิจารณาและเอาใจใส่อยู่บ้าง จึงหาญเอาเม็ดขนุนเน่าจนใช้ไม่ได้มาใส่บาตรพระให้ทนดมมาตลอดทาง
    <o:p></o:p>
    เรื่องเม็ดขนุนเน่านี้ท่านคงเป็นอารมณ์ให้คิดมากพอดู จึงทำให้ระบายให้พระที่ไปด้วยกันฟังในตอนบ่าย โดยตั้งปัญหาขึ้นว่า ทำไมจังหวัดนี้กับจังหวัดโน้นซึ่งเป็นภาคอีสานอันเดียวกัน ดินฟ้าอากาศจึงแตกต่างกันมากมาย ถึงกับผลไม้ชนิดเดียวกันต้องมีกลิ่นต่างกันมาก พระองค์นั้นจึงถามขึ้นบ้างว่า อะไรต่างกันและต่างกันอย่างไร ท่านตอบ ก็ขนุนเมืองเราแม้เน่าจนเละฉันไม่ได้ ยังมิได้ส่งกลิ่นอะไรเลย ส่วนขนุนเมืองนี้ดูก็ไม่เห็นสุกจนเละ แต่ทำไมจึงส่งกลิ่นฉุนนักหนาจนแทบทนไม่ไหว ขนุนที่ไหนเป็นอย่างนั้น ผมยังไม่เคยเห็นเลย ก็ขนุนที่เขาใส่บาตรมาเมื่อเช้านี้ไงล่ะท่าน จะให้ส่งกลิ่นขนาดไหนจนผมทนเอามาวัดไม่ไหว ต้องโยนทิ้งลงคลองข้างทาง ขนุนนี้เขาไม่ได้ใส่บาตรท่านบ้างหรือ เพราะท่านเดินออกหน้าผมน่าจะได้นี่<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ที่เขาใส่เมื่อเช้านี้หรือ นั่นมันมิใช่ขนุนท่าน โอตายจริง ท่านนี่น่าจะยังไม่เคยเห็นทุเรียนเสียแล้วกระมังนี่ นั่นหรือที่ท่านเอาโยนลงคลองน่ะ ใช่ เพราะเหลือจะทน ใครจะสะพายไปทำไม องค์นั้นออกอุทาน ต๊ายตายท่านนี่แย่จริง ท่านไม่รู้จักทุเรียนหรือ ที่เขาใส่บาตรเมื่อเช้านี้คือทุเรียน ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีค่าสูงสุดในเมืองไทย คนไม่มีสตางค์ไม่มีวาสนาร้องไห้อยากกินก็ไม่ได้กิน ตายทิ้งเปล่า ๆ นั่นแล นี่เขาอุตส่าห์ใส่บาตรมาด้วยศรัทธาจริง ๆ ทำไมท่านโยนทิ้งเสีย น่าจะถามผู้อื่นบ้างสักคำก่อนจะโยนของดีทิ้งทั้งที แล้วกัน ท่านไม่เคยเห็นทุเรียนมาก่อนบ้างหรืออย่างไร
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เปล่าเพิ่งจะมาเจอเอาเมื่อเช้านี้เอง แทบเป็นลมทนไม่ไหว ใครจะว่าดีวิเศษขนาดไหนก็ตาม จมูกเรามีไม่ยอมให้ใครมาโกหกได้ ก็เช้านี้ผมทราบด้วยจมูกผมเองขนาดทนไม่ไหวถึงได้โยนทิ้ง แล้วยังจะมาเสกสรรว่าเป็นของดิบดีวิเศษอะไรกันอีก เพราะจมูกคนกับจมูกสุนัขมันต่างกันนี่ท่าน จมูกสุนัขมันว่าไปอย่างหนึ่ง แต่คนฉลาดกว่าสุนัข จะขืนเอาความรู้ของสุนัขมาลบล้างความรู้คน ผมไม่เห็นและลงใจด้วย เม็ดพรรค์นี้มันตั้ง...จริง ๆ ไม่ว่าแต่มันจะราคาแพง ๆ เลย ให้เปล่า ๆ ผมยังไม่ยอมรับ ไม่งั้นจะโยนทิ้งทำไม ก็เพราะมันทนไม่ไหวนั่นเอง จึงต้องหาทางออกด้วยวิธีนั้น ท่านองค์นั้นมีแต่ยิ้มขันๆ แล้วพูดว่า ท่านนี่น่าจะเกิดไม่หมดชาติเสียแล้ว เห็นของดีมีค่าก็ไม่ทราบว่าเป็นของดี ยังหาว่าเป็นของเก๊ไปได้ ผมก็หมดปัญญาจะอธิบายอะไรให้ท่านฟังอีกแล้ว ท่านขนุนเน่าเป็นเพียงยิ้ม แต่พูดอย่างหนักแน่น ไม่สนใจกับคำพูดยกย่องชมเชยทุเรียนขององค์นั้นเลย
    <o:p></o:p>
    เท่าที่เล่ามานี้ ท่านผู้อ่านพอจะทราบได้กระมังว่า กรรมฐานป่าแท้ ๆ ท่านยอมฟังเสียงใครเอาง่าย ๆ เมื่อไร นอกจากไม่ฟังแล้ว ท่านยังโต้แย้งยืนยันอย่างหนักหน่วงอีกด้วย ดังท่านขนุนเน่าเป็นตัวอย่าง ดังนั้นคนป่าพระป่ากับคนบ้านพระในเมืองจึงรู้สึกต่างกันอยู่มาก เพียงเจอทุเรียนก็เข้าใจว่าขนุนเน่าถึงกับโยนลงคลอง ถ้าเป็นผู้ใช้ความสังเกตพิจารณาบ้างสมกับตำหนิเขาว่าขาดความสังเกตและความเอาใจใส่ ตัวเองควรอุตส่าห์สะพายบาตรที่ปิดฝาดีแล้วไปถึงวัด เพื่อถามผู้อื่นดูก่อนจะโยนทิ้ง อันเป็นลักษณะของความขาดปัญญา
    <o:p></o:p>
    ความจริงก็น่าเห็นใจเพราะไม่เคยเห็นทุเรียนเนื่องจากอยู่ในป่า การคมนาคมสมัยโน้นผิดกับสมัยนี้อยู่มาก จึงไม่มีทางได้เห็นสิ่งแปลก ๆ เหมือนทุกวันนี้ นี่แลพระป่าเข้ามาในงานนิมนต์ในเมืองหรือในกรุง ต้องเป็นลักษณะพระป่ามาเจอขนุนเน่าเข้าจนได้ แต่ท่านที่เป็นกรรมฐานประเภทคล่องแคล่วทันสมัยเสียจนเข็ดฟัน ก็อาจมีสับปนกันไปเหมือนดีกับชั่วนั่นแล ความคร่ำครึเกินไปก็ดี ความคล่องแคล่วทันสมัยเกินไปก็ดี คงตกอยู่ในความไม่เหมาะสมน่าดูเช่นกัน เพราะผิดกับหลักมัชฌิมาแห่งธรรมที่เป็นความพอดีเหมาะสมโดยแท้ แต่คร่ำครึแบบนี้ก็น่าสงสาร<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การสนทนาธรรมของพระกรรมฐาน

    เท่าที่เป็นมา การสนทนาธรรมของพระกรรมฐานเป็นที่น่าเลื่อมใส และให้คติแก่ผู้ฟัง สมดังมงคลสูตรบทว่า “กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การสนทนาธรรมตามกาลเป็นมงคลอันสูงสุด” เพราะเป็นกิริยาที่แสดงออกแต่ละฝ่ายอย่างน่าชม เนื่องจากเป็นความมุ่งอรรถมุ่งธรรม เพื่อประโยชน์จากการศึกษาไต่ถามกันทั้งสองฝ่าย โดยไม่นิยมว่าแก่หรืออ่อนพรรษา ข้อนี้ผู้เขียนขอชมธรรมสากัจฉาท่านว่า เป็นไปตามทางของปราชญ์ที่น่าเลื่อมใสจริง มิได้เป็นไปแบบ...ซึ่งเห็นแล้วเอือมระอาและยิ่งนับวันมีมากดาษดื่น จนบางท่านให้นามสภาประเภทนี้ว่า “สภาน้ำลายไหลนอง ถ้าเป็นสภาธรรมตามหลักธรรมสากัจฉา ก็ควรจะมียุติกันด้วยเหตุผลและการยอมรับ”
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การกล่าวนี้โดยทราบว่าชาวพุทธเราต่างมีกิเลสด้วยกัน แต่เป็นผู้มุ่งต่ออรรถธรรมด้วยกัน จึงเมื่อทราบดีชั่วประการใดก็นำมาลงจากการติชมของผู้อื่น ลำพังเราติชมตัวเองคงไม่สามารถยังกิเลสความเห็นแก่ตัวให้ไหวตัวได้บ้างเลย จำต้องอาศัยผู้อื่นช่วยอยู่โดยดี หากเป็นผู้มุ่งชำระสิ่งไม่ดีในตัวจริงแล้ว คำติกับคำชมเชยน่าจะถือเอาประโยชน์ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เรื่องผิดถูกดีชั่วของพระกรรมฐาน ผู้เขียนจึงกล้านำมาลง เพราะหวังประโยชน์จากสิ่งทั้งสองนั้น มิได้ตำหนิเพื่อเหยียบย่ำทำลายแต่อย่างใด การสนทนาธรรมของพระกรรมฐานท่าน ที่น่าชมเชยก็เพราะท่านมุ่งเพื่อยึดคติจากธรรมของกันและกันจริง ๆ ไม่มีทิฐิมานะเข้าแฝงเลย แม้ต่างคนต่างยังมีกิเลสด้วยกัน
    <o:p></o:p>
    การสนทนาธรรมนั้น ท่านสนทนาตามภูมิจิตภูมิธรรมที่ปรากฏขึ้นจากจิตตภาวนาซึ่งตนบำเพ็ญมา เริ่มแต่ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ตามขั้นที่บำเพ็ญ และสงสัยก็ศึกษาไต่ถามกันเป็นระยะไป ท่านที่เข้าใจก็อธิบายให้ฟังตามลำดับแห่งความสงสัยจนอีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจ และปัญญาเป็นขั้น ๆ เช่นเดียวกับสมาธิ ผู้สงสัยในปัญญาขั้นใดเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังพิจารณายังผ่านไปไม่ได้ ท่านที่เข้าใจหรือผ่านไปแล้วก็อธิบายให้ฟังเป็นตอน ๆ ไปตามที่สงสัย จนเป็นที่เข้าใจเหมือนภูมิอื่น ๆ ที่ผ่านมา การสนทนาธรรมระหว่างกันและกันของพระกรรมฐาน รู้สึกรื่นเริงไปตามธรรมขั้นนั้น ๆ เพราะผู้ถามก็ถอดออกจากใจที่ปฏิบัติรู้เห็นมาอย่างไรบ้าง ผู้อธิบายก็ถอดถอนจากใจที่ปฏิบัติรู้เห็นมาเช่นเดียวกัน ต่างได้พยานหลักฐานความจริงจากการปฏิบัติด้วยกัน และเป็นคติต่อเติมกันไปไม่มีสิ้นสุด
    <o:p></o:p>
    วันหนึ่งท่านองค์หนึ่งมาสนทนาเรื่องหนึ่ง อีกวันหรือเวลาหนึ่งท่านองค์หนึ่งมาสนทนาอีกเรื่องหนึ่ง สับเปลี่ยนถ่ายทอดกันไปเรื่อย ๆ เพราะต่างองค์ต่างปฏิบัติ ต่างองค์ต่างรู้ในลักษณะต่าง ๆ กันทั้งภายนอกภายใน การสนทนาธรรมที่เกิดจากความรู้ภายในใจ แม้ผู้มาเล่าและเรียนถามปัญหาจะมีพรรษาอ่อนกว่ากันอยู่มาก แต่การเล่าและการไต่ถามนั้น แฝงอยู่ด้วยความอาจหาญมั่นใจในความรู้และปัญหาของตน ไม่พรั่นพรึงหวั่นไหวหรือประหม่า กลัวท่านจะซักหรือทักท้วงแต่อย่างใด พูดไปและถามไปตามความรู้สึกของตน และยอมรับกันโดยทางเหตุผลของแต่ละฝ่าย ถ้าตอนใดเหตุผลยังลงกันไม่ได้ ก็ซักซ้อมกันอยู่ในจุดนั้น จนเป็นที่เข้าใจแล้วค่อยผ่านไป โดยไม่มีฝ่ายใดสงวนศักดิ์ศรีดีชั่วของตนอันเป็นลักษณะโลกแฝงธรรม ให้นอกเหนือจากความหวังเข้าใจต่อกัน ผิดหรือถูกประการใด ผู้เล่าหรือไต่ถามจะดำเนินไปตามความถนัดใจที่รู้เห็นมา โดยไม่คิดว่ากลัวจะผิด ผู้ฟังก็ตั้งใจฟังไปตามจุดที่ผู้นั้นถามและเล่าให้ฟังด้วยความสนใจ และไม่สนใจกับอะไรยิ่งไปกว่าปัญหาธรรมที่กำลังเป็นไปอยู่เฉพาะหน้า<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ไม่ว่าท่านผู้ใดสนทนาและฟัง ต่างมีความสนใจเอื้อเฟื้อต่อธรรมของกันโดยสม่ำเสมอ แต่ต้นจนอวสานแห่งปัญหาธรรม ไม่แสดงความอิดหนาระอาใจ ไม่แสดงความดูถูกเหยียดหยามด้วยภูมิจิตภูมิธรรมของกันและกัน ต่างสนทนากันด้วยความบริสุทธิ์ใจ หวังความรู้และความอนุเคราะห์จากกันจริง ๆ เมื่อผู้เล่าและเรียนถามถูกคัดค้านจากผู้รับฟังในเรื่องใดตอนใด เรื่องนั้นตอนนั้นต้องกลายเป็นปัญหาการบ้านของเจ้าของปัญหาทันที ที่จะนำไปขบคิดเพื่อแก้ไขดัดแปลงต่อไปจนเป็นที่แน่ใจ จนกว่าปัญหานั้นเป็นที่สนิทใจไม่ขัดแย้งจากอาจารย์ผู้ให้อุบาย และตนก็เข้าใจตามนั้น จึงจะปล่อยให้ผ่านไป
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ตามธรรมดาผู้ถูกคัดค้านแทนที่จะเสียใจ แต่กลับเพิ่มความสนใจยิ่งขึ้นในปัญหาที่ถูกคัดค้านนั้น ๆ ดังนั้นการสนทนาธรรมระหว่างผู้ปฏิบัติด้วยกันในลักษณะนี้ จึงน่าจะเกิดมงคลได้ตามหลักธรรมว่า การสนทนาธรรมตามกาลย่อมเป็นมงคลอันสูงสุด การสนทนาที่เป็นข้าศึกหรือทำลายธรรมบทว่า กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ นั้น น่าจะได้แก่การสนทนาที่ทำให้เกิดกิเลส หรือสนทนาอวดกิเลสกันมากกว่ามุ่งประโยชน์ในธรรม แต่นี้กล่าวตามความด้นเดาของวิสัยป่าไปอย่างนั้นเอง กรุณาอย่าได้ถือเป็นหลักเกณฑ์นัก เพราะคำว่าป่าหรือเถื่อนก็เป็นคำประกาศตัวอยู่แล้วว่า เป็นสภาพเช่นนั้นอยู่ในตัวเอง
    <o:p></o:p>
    อะไรจะเกิดประโยชน์โดยธรรมแก่ตนด้วยวิธีใด ควรพยายามตักตวงวิธีนั้นให้เต็มกำลังความเพียรของตน แม้วิธีนั้นจะอยู่ในท่ามกลางแห่งความตำหนิของใคร ที่มีกิเลสประเภทชอบติเพื่อยกตนหรือทำลายมากกว่าความเป็นธรรม ก็ไม่สามารถลบล้างวิธีนั้นได้ หากสามารถลบล้างได้ พระพุทธเจ้าซึ่งทรงบำเพ็ญอยู่ในท่ามกลางเจ้าทิฐิทั้งหลายที่ควรเรียกได้ว่าคลังกิเลส คงไม่เล็ดลอดมาเป็นศาสดาของพวกเราชาวพุทธของพระองค์ได้ มีความจริงเท่านั้นชนะสิ่งจอมปลอมทั้งหลายได้ คือชนะตนได้ก็เพราะความจริง ชนะโลกได้ก็เพราะความจริง หนีความจริงไปไม่พ้น ผู้มั่นในศาสนาพุทธ จึงควรมั่นในความจริงซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนา
    <o:p></o:p>
    ดังนั้นการสนทนาธรรมและปฏิบัติธรรมจะเป็นวิธีใดก็ตาม ถ้าทำลงไปกิเลสกลัวและหลุดลอยออกจากใจได้ การทำนั้นก็เป็นมงคลแก่ตน แม้กิเลสจะไม่เห็นเป็นมงคลด้วยก็ไม่เป็นปัญหา แต่โดยมากพวกเรามักทำตัวให้เป็นมงคลแก่กิเลสมากกว่าเป็นมงคลแก่ตัว จึงควรจะระวังมงคลชนิดนี้ ถ้าขืนให้เป็นมาก ๆ อาจจมไปทั้งที่เข้าใจว่าตัวเจริญ ดังแบบเที่ยวคดโกง จี้ ปล้น รีดไถสมบัติของคนอื่นมาเป็นสมบัติและมงคลแก่ตน โดยเข้าใจว่าตัวฉลาดมีบุญมาก มีอำนาจวาสนามาก รวยเงินกองเท่าภูเขา บัญชีเงินฝากธนาคารอ่านทั้งวันไม่จบ แต่ความจริงก็คือมงคลชั่วลมหายใจ มงคลดินเหนียวติดศีรษะที่จะพาให้จมย่อยยับ โดยไม่มีท่านผู้รู้ใดสงสัยกันว่านั่นคือมงคลอะไรกันแน่<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความจริงการวินิจฉัยมงคล ท่านสอนให้วินิจฉัยความเคลื่อนไหวเพื่อการกระทำของตน ว่าเป็นไปในทางใดในวันเวลาหนึ่ง ๆ ความเคลื่อนไหวนั้น ๆ จะเป็นขึ้นที่กายวาจาใจของเราแต่ละราย ความเป็นมงคลหรืออัปมงคลซึ่งเป็นส่วนผล จะตามมากับความเคลื่อนไหวนั้น ๆ อย่างแยกไม่ออก ที่ผ่านมากล่าวความเป็นมงคลของการสนทนาธรรมที่ถูกกับสุขลักษณะทางใจ นับว่าเป็นที่น่ายินดีในวงปฏิบัติที่ท่านสนทนาธรรมตามเยี่ยงอย่างของธรรมสากัจฉา ซึ่งเป็นผลยังกันและกันให้รื่นเริงตามธรรมกถา เครื่องบรรเทาและกำจัดกิเลสภายในโดยลำดับ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เวลาสบโอกาสที่ต่างท่านต่างลงมาจากภูเขาและจากป่า อันเป็นที่ให้ความสุขความสำราญทางใจมารวมกันในบางกาล เวลานั้นเป็นโอกาสอันดีที่ท่านต้องสนทนาปกิณกธรรมต่อกันด้วยความหิวกระหาย เพราะนาน ๆ จะมีสักครั้ง ขั้นเริ่มแรกโดยมากก็เป็นปัญหาของพระที่อ่อนพรรษาเริ่มต้นก่อน โดยพระอาวุโสเริ่มอารัมภบทกำหนดรายองค์เป็นผู้ริเริ่มปัญหาก่อนด้วยภาคปฏิบัติ คือ จิตตภาวนาตามที่รู้เห็นมา พอองค์นั้นเล่าจบ บางทีพระอาวุโสก็ซักและแทรกธรรมลงในระหว่างบ้าง เพื่อแก้ไขจุดบกพร่องและส่งเสริมธรรมที่ท่านองค์นั้นกล่าวถูกต้องแล้วให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น องค์นอกนั้นเมื่อยังไม่ถึงเวลาของตนก็นั่งฟังในท่าสงบ เพื่อฟังอุบายต่าง ๆ จากการสนทนากันระหว่างองค์แรกกับท่านที่คอยให้นัย
    <o:p></o:p>
    ตอนที่ท่านสนทนากันนี้เป็นที่ประหลาดและอัศจรรย์อย่างไม่คาดฝันว่า ธรรมที่ต่างคนต่างปฏิบัติ ต่างคนต่างรู้เห็นอยู่คนละทิศทาง แต่เวลามาพูดขึ้นกลับเป็นธรรมกลมกลืนกันได้กับที่ตนรู้เห็นมาในบางแขนง ราวกับว่าใจดวงเดียวกัน ธรรมแท่งเดียวกัน ทั้งที่ธรรมก็มีหลายแขนง ใจก็มีหลายดวง เพราะต่างคนต่างมี ไม่น่าจะมาตรงกันอย่างเหมาะสมเช่นนั้นได้ พูดเรื่องภูตผีก็ดี เรื่องเทพก็ดี เรื่องสัจธรรมบางแขนงก็ดี เรื่องอุบายปัญญาบางแขนงก็ดี หรือเรื่องกิเลสชนิดต่าง ๆ ก็ดี ท่านเข้าใจกันได้ราวกับได้เห็นในขณะเดียวกัน ฉะนั้นผู้นั่งฟังก็ดี ผู้เล่า ผู้ถามก็ดี ผู้รับฟังเพื่อวินิจฉัยก็ดี ย่อมมีส่วนได้รับประโยชน์จากปัญหานั้นเช่นเดียวกับท่านชี้แจงให้ตนฟังโดยเฉพาะ นอกจากความสามารถอันเป็นเรื่องของแต่ละรายไปเท่านั้นที่ยิ่งหย่อนต่างกัน จึงอาจเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง
    <o:p></o:p>
    เวลาฟังคำชี้แจงเฉพาะปัญหาที่ยกขึ้นนั้น สามารถอำนวยประโยชน์แก่ผู้ฟังได้โดยทั่วถึง เพราะอยู่ในฐานะที่ควรได้รับเสมอกัน ดังในตำราว่าพระพุทธเจ้าทรงกำลังแก้ปัญหาธรรมแก่ผู้ใดผู้หนึ่งอยู่ ขณะนั้นยังมีผู้ได้รับประโยชน์จนสำเร็จมรรคผลนิพพานได้ ทั้งที่เป็นปัญหาของผู้อื่นและกำลังทรงแก้ปัญหาเพื่อผู้อื่นอยู่ ทั้งนี้เพราะธรรมเป็นศูนย์กลางของโลก จึงสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ควรได้รับ โดยไม่เลือกกาลสถานที่บุคคลที่อยู่ในฐานะควรได้รับ<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การสนทนาธรรมในเวลาที่นั่งอยู่ด้วยกันหลายองค์ ย่อมเกิดประโยชน์แก่ผู้ฟังโดยทั่วกัน แต่ปัญหามีหลายชนิด มีทั้งเกี่ยวกับภายนอกและภายในเอาประมาณไม่ได้ ที่ควรแก่สาธารณะก็มี ที่ไม่ควรก็มี จึงยากที่จะพูดและฟังโดยทั่วไปได้ จะเป็นปัญหาชนิดใดก็ตามผู้เป็นเจ้าของย่อมทราบเอง ถ้าเป็นปัญหาชนิดที่ควรแก่สาธารณะ ผู้อื่นก็มีโอกาสได้ฟังด้วย ถ้าเป็นปัญหาเฉพาะผู้เป็นเจ้าของ ก็หาโอกาสเล่าและเรียนถามครูอาจารย์โดยลำพังตามความเหมาะสม ปัญหาที่กล่าวเหล่านี้เป็นปัญหาทางจิตตภาวนาล้วน ๆ เพราะการบำเพ็ญอยู่เสมอในอิริยาบถต่าง ๆ ทั้งด้านสมาธิและด้านปัญญา ปัญหาจึงเกิดขึ้นเสมอโดยไม่เลือกอิริยาบถ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ปัญหาหรือธรรมบางอย่างเมื่อปรากฏขึ้นมาจากใจ เจ้าของทราบได้ชัดเจนในขณะนั้นก็มี บางอย่างก็พอแก้ไขได้โดยลำพังไม่ต้องให้ผู้อื่นช่วย บางอย่างเมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องใช้เวลาพิจารณานานพอควรจึงเข้าใจและผ่านไปได้เป็นระยะ ๆ แต่ปัญหาบางอย่างเมื่อเกิดขึ้นแล้วตัวเองไม่ทราบวิธีแก้ไข ต้องอาศัยท่านผู้อื่นช่วยแนะนำ ปัญหาบางอย่างล่อแหลมต่ออันตรายต้องรีบแก้ไข ถ้าไม่สามารถแก้ด้วยตัวเอง ต้องรีบไปหาครูอาจารย์ช่วยแก้ไข ขืนปล่อยไว้อาจทำให้หลงผิดและเสียไปได้ อย่างไรก็ตามสติปัญญาเป็นธรรมสำคัญทุกกรณีแห่งการแก้ไขหรือส่งเสริมปัญหาที่เกิดขึ้นกับตน ต้องนำสติปัญญามาทดสอบพิจารณาจนเป็นที่แน่ใจ ทั้งฝ่ายที่เข้าใจว่าผิดหรือถูกโดยทางเหตุผล มิใช่โดยความเข้าใจหรือชอบกับอารมณ์ของตนแล้วก็ยึดถือว่าเป็นถูก ก่อนจะยอมรับกัน แต่ละปัญหาต้องผ่านการพิสูจน์ด้วยปัญญาโดยทางเหตุผล
    <o:p></o:p>
    ดังนั้นพระกรรมฐานจึงแสวงหาครูอาจารย์ และเคารพเลื่อมใสเชื่อฟังอาจารย์มากผิดกับทางปริยัติ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นจากจิตตภาวนาเป็นปัญหาสำคัญโดยเฉพาะ ต้องเป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่เคยผ่านมาแล้วเท่านั้นจะสามารถแก้ได้ ผู้ไม่เคยภาวนา แม้ได้ศึกษามามากก็ไม่อาจแก้ได้ เพราะปัญหาที่เกิดทางจิตตภาวนาโดยมากไม่ค่อยตรงกับปริยัติที่เคยเรียนมา หากมีแอบ ๆ แฝง ๆ เลียบ ๆ เคียง ๆ กันไปนั่นแล จะว่าผิดกับปริยัติไปเลยทีเดียวก็ไม่ใช่ จะว่าถูกกันทีเดียวก็ไม่เชิง จึงลำบากในการวินิจฉัยหาความจริงอยู่ไม่น้อยสำหรับผู้ไม่เคยผ่าน การพูดเช่นนี้ท่านที่ไม่เคยปรากฏและไม่เคยภาวนาอาจไม่เข้าใจ หรืออาจหัวเราะก็ได้ว่า พูดป่า ๆ เถื่อน ๆ ไม่มีหลักเกณฑ์ แต่ความจริงก็เป็นอย่างนั้นในวงปฏิบัติ สำหรับท่านที่เคยปรากฏจากหลักภาวนามาแล้ว พอแย้มออกก็เข้าใจได้ทันที<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปัญหาที่เกิดขึ้นในวงสมาธิกับวงปัญญาต่างกัน

    คำว่าปัญหาเป็นคำกลาง ๆ ยังไม่บ่งชัดลงไปว่าปัญหาอะไรบ้าง เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และเกิดขึ้นในระยะใดบ้าง จึงขอชี้แจงไว้พอเป็นแนวทางสำหรับท่านที่เป็นนักจิตตภาวนาเพื่อเป็นข้อคิด เวลาปรากฏกับตัวเองจะพอมีทางแก้ไข โดยอาศัยยึดหลักที่อธิบายไว้เป็นแนวทางทดสอบแก้ไข ปัญหาที่เกิดในวงสมาธิ มักจะเกิดแก่รายที่จิตสงบลง แล้วถอยออกไปรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มาเกี่ยวข้องไม่มีประมาณ เพื่อตัดปัญหาความยุ่งยากเกินภูมิแห่งขั้นเริ่มแรกของตนที่เริ่มฝึกหัด ควรย้อนจิตเข้าสู่ภายในองค์สมาธิเสีย ไม่ตามวินิจฉัยใคร่ครวญสิ่งที่มาปรากฏนั้น ๆ ต่อไป
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขณะจิตเข้าสู่ความสงบ ควรมีสติระวังให้จิตอยู่กับความสงบนั้น ไม่ยอมให้ความผลักดันพาจิตออกสู่ภายนอก เช่น พาเหาะเหินเดินฟ้าเที่ยวชมนรกสวรรค์วิมาน หรือความคะนองในสมาธิ คิดอยากดูจิตของผู้อื่นในขณะที่จิตสงบ เหล่านี้เป็นเครื่องเขย่าก่อกวนจิตให้กระเพื่อมตัวออกสู่อารมณ์ ควรให้จิตเป็นสุขสงบอารมณ์อยู่ในองค์สมาธิ คือความสงบในเวลานั้น จะได้ชมความสุขอย่างบริสุทธิ์ใจ ไม่มีอะไรรบกวนชวนให้ยุ่งและเกิดปัญหาขึ้นมาโดยไม่มีประโยชน์ เพราะยังมิใช่กาลเวลาและฐานะที่ควรจะรู้และได้รับประโยชน์จากปัญหานั้น ๆ
    <o:p></o:p>
    เรื่องบาปบุญมีจริง นรกมีจริง สวรรค์มีจริง นิพพานมีจริงหรือไม่ เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาใจแตก หรือโลกภายในใจแตก จึงควรสร้างสมาธิ สร้างปัญญา อันเป็นทางรู้บุญรู้บาป รู้นรกรู้สวรรค์ และรู้นิพพานให้มั่นคง สิ่งเหล่านี้จะไม่พ้นวิสัยของใจที่ขัดเกลาด้วยดี หรือขัดเกลาดีแล้วไปได้ ต้องรู้ประจักษ์ยิ่งกว่าการคาดคิดซึ่งเป็นปัญหาทำลายหัวใจเป็นไหน ๆ และควรทราบว่า ท่านที่มาชี้แจงบาปบุญ นรก สวรรค์ นิพพาน ให้พวกเราด้นเดาจนหัวเสียไปตาม ๆ กัน แบบเด็กขึ้นบนบ้านโดดชูชีพด้วยร่มกันแดดกันฝน สิ่งที่ได้รับคือขาหักสลบเหมือดไปพักหนึ่ง นั้นท่านรู้ด้วยหลักใจหลักธรรมเป็นเครื่องพาให้รู้ให้เห็น ท่านจึงรู้ได้ชัด พูดได้ชัด ชี้แจงได้ชัด ไม่ผิดพลาดจากความจริง
    <o:p></o:p>
    แม้สิ่งนั้นจะมีจริงจากความรู้ความเห็นจริงท่าน แต่พวกเรายังด้นเดาไม่ถูก สิ่งที่ถูกอย่างปฏิเสธไม่ได้ก็คือความเหลวไหลไร้สาระ และคำปฏิเสธว่าสิ่งเหล่านั้นไม่มี แล้วก็สร้างกรรมพอกพูนทับถมตัวเองจนหาบขนไปไม่ไหว แม้เช่นนั้นก็ยังกล้าด้นเดาและปฏิเสธต่อไปอีก ด้วยความลูบคลำกำมือว่าตายแล้วก็สูญเท่านั้น ไม่มีอะไรมาคอยรับผลแห่งกรรมเหล่านี้สืบต่อไปอีก โดยมิได้คำนึงว่าโลกที่เกิดมาบ่นว่าทุกข์กันนั้น ถ้าเสียงบ่นให้ความทุกข์ทรมานที่ทับถมจนหาทางออกมิได้ ดังเหมือนเสียงฟ้าเสียงระเบิดแล้ว โลกนี้คงตับแตกหัวใจวายตายฉิบหายป่นปี้กันไปหมด เพราะเสียงระเบิดแห่งความบ่นดังสนั่นแผดเผาทั่วโลกธาตุ ไม่มีกาลสถานที่พอให้หายใจได้บ้างเลย แม้ต่างคนต่างบ่นให้กับทุกข์ที่อยู่บนหัวใจของตัวด้วยกัน ยังไม่ทราบว่ากรรมมีและกรรมให้ผลมาตลอดสายแต่อดีต ปัจจุบัน ตลอดอนาคตไม่มีสิ้นสุด แล้วก็ยากจะหากรรมดีชั่วให้เจอได้ในนรกสวรรค์วิมานหลังไหนกัน<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้เขียนก็อยู่ในแดนแห่งทุกข์ด้วยกัน จึงไม่มีปัญญาจะแนะบอกวิธีให้เห็นกรรมและผลของกรรม ตลอดสถานที่อยู่ของผู้มีกรรมที่ต้องรับเสวยได้ นอกจากจะบอกว่าตัวทุกข์อยู่ที่ไหน ตัวกรรมก็อยู่ที่นั่นเท่านั้น ใครสิ้นทุกข์ผู้นั้นก็สิ้นกรรม ดังพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายที่ทรงสิ้นทุกข์ไปแล้ว กรรมจึงไม่มีอำนาจตามบังคับให้ทรงรับเสวยได้เช่นโลกจอมบ่นทั้งหลาย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ที่กล่าวมาเกี่ยวกับการคิดเรื่องนรกสวรรค์เป็นต้น นั้นคือต้นปัญหาทำลายจิตใจ ควรระวังอย่าด่วนให้เกิดขึ้น แต่พยายามทำใจให้รู้แจ้งแทงตลอดสิ่งปกปิดกำบังทั้งหลาย หากจะรู้ไปเองปิดไม่อยู่ ต้องรู้แน่นอน สิ่งมีอยู่เหล่านั้นไม่ปิดบังตัวเอง นอกจากโลกปิดบังตัวเองไม่มีอะไรมาปิดบัง โลกมีจักษุคือตาในเปิดเผยก็เห็นเอง สมาธิจิตอาจให้เกิดปัญหาได้หลายทาง แต่ปัญญาคือฝั่งหรือทำนบกั้นนั้น ปัญหาทุกชนิดพ้นไปไม่ได้ ถ้านำมาใช้ต้องเห็นผลทันตา แต่การเริ่มแรกปฏิบัติไม่ควรวิตกให้เกิดปัญหาสลับซับซ้อนก่อนปัญหาจะเกิดดังที่กล่าวมา ปกติธรรมดาถ้าจิตมีความสนใจอยู่เฉพาะบทธรรมที่บริกรรมและรวมสงบตัวลงอยู่ด้วยความสงบสุขเท่านั้น ก็ไม่ค่อยเกิดมีปัญหาต่าง ๆ มารบกวนให้จิตฟุ้งซ่าน สำคัญที่ชอบคิดไม่มีเหตุผลจึงมักก่อความกังวลใส่ตนอยู่เสมอ ปัญหาทางสมาธิมีมาก แต่ขอยุติไว้เพียงนี้เพื่ออธิบายปัญหาทางปัญญาต่อไป
    <o:p></o:p>
    แต่ก่อนจะอธิบายปัญหาทางด้านปัญญา จะขอเล่าเรื่องผลของปัญหาทางสมาธิที่อบรมดีแล้วให้ท่านฟังพอเป็นคติต่อไป เพราะภูมิสมาธิและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากสมาธิของรายที่มีจิตผาดโผน เมื่อฝึกอบรมถูกทางแล้ว ย่อมใช้ทำประโยชน์ได้ลึกซึ้งและกว้างขวางผิดธรรมดา ดังที่เคยทราบจากประวัติท่านอาจารย์มั่น เป็นต้น ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มีจิตผาดโผนในขั้นฝึกทรมาน และเป็นจิตอาชาไนยหลังจากท่านฝึกดีแล้ว แต่ที่จะเล่าต่อไปนี้ เป็นผู้หญิงซึ่งเคยเป็นลูกศิษย์ที่ได้รับการอบรมมาจากท่านในขั้นต้น ขณะนี้หญิงคนนั้นเป็นอุบาสิกานุ่งขาวห่มขาวแล้วและยังมีชีวิตอยู่ จิตของแกมีนิสัยผาดโผนคล้ายคลึงกับท่านอาจารย์มั่นอยู่หลายแขนง ซึ่งพอจะนำมาลงไว้เป็นข้อคิดแก่ท่านนักปฏิบัติได้พิจารณาหาสาระเท่าที่ควรเป็นได้
    <o:p></o:p>
    สมัยแกยังเป็นสาว ท่านอาจารย์มั่นเคยไปจำพรรษาอยู่ที่บ้านแกหนึ่งพรรษา พร้อมพระเณรเป็นจำนวนมาก ทราบว่านับแต่ตั้งบ้านนั้นมาเพิ่งมีพระมาอยู่จำพรรษาราว ๔๐–๕๐ องค์ คราวนั้นเอง พระเถรานุเถระที่มีอายุพรรษามากซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านก็มีมาจำพรรษาด้วยหลายองค์ องค์ที่มีความรู้ทางปรจิตตวิชชา รู้วาระจิตของคนอื่นก็มี และทำหน้าที่ช่วยดักจับพระที่ชอบขโมยเก่ง ๆ (จิตพระที่ชอบขโมยคิดออกนอกลู่นอกทาง) อีกด้วย คือก่อนท่านจะแสดงธรรมอบรมพระในเวลากลางคืน บางครั้งท่านสั่งพระองค์ที่มีความสามารถในทางปรจิตตวิชชานั้นว่า วันนี้ท่านช่วยผมปราบขโมยหน่อยนะ ขณะเทศน์ผมไม่ค่อยมีโอกาสดักจับขโมยเหล่านี้ แม้จับได้ก็ไม่ถนัดดังที่คอยซุ่มดักจับอยู่ที่ประตู (คอยกำหนดจิตดักจับจิตที่คิดต่างๆ ของผู้อื่นอยู่โดยเฉพาะ ไม่มีงานอื่นเข้ามาแทรก) เนื่องจากผมทำหน้าที่แสดงธรรมไม่มีเวลาคิดอย่างอื่น กว่าจะย้อนจิตมาตรวจจับ ขโมยก็รีบไปกว้านเอาอะไรแล้วรีบกลับมาเสียก่อน เรื่องจึงมักจะเย็นไปไม่ได้คาหนังคาเขา จึงขอให้ท่านช่วยจับให้ได้คาหนังคาเขาให้หน่อย ขโมยพวกนี้เก่งนัก คอยด้อมออกเวลาเรามีธุระจำเป็น คอยดักเอาตัวเก่ง ๆ ที่ฉลาดให้ได้<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พอสั่งเสร็จก็เริ่มแสดงธรรมต่อไปโดยไม่สนใจกับอะไรอีก สักประเดี๋ยวขโมยก็ด้อมออกเที่ยวเพ่นพ่านตามเคย และก็ได้ยินเสียงท่านองค์ทำหน้าที่ปราบทักขึ้นในเวลาต่อมาว่า ท่าน ...คิดอะไรอย่างนั้น ท่านอาจารย์หยุดเทศน์ชั่วคราว และช่วยเสริมการปราบของท่านองค์นั้นว่า มันต้องอย่างนั้นจึงจะทันกับพวกพรรค์นี้ที่แสนรวดเร็ว แล้วก็แสดงธรรมต่อไป สักครู่ต่อมาขโมยรายใหม่ก็โผล่ออกมาอีก ท่านองค์ปราบก็ทักอีกว่า ท่าน....คิดอะไรอย่างนั้นล่ะ จงกำหนดจิตให้อยู่กับตัวซิ อย่าส่งจิตออกไปคิดเรื่องต่าง ๆ อย่างนั้นมันผิด ขโมยกลับกลัวท่านและเข็ดหลาบไม่กล้าออกเที่ยวเพ่นพ่านเหมือนแต่ก่อน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านทักไม่กี่รายโจรผู้ร้ายก็สงบลงเห็นกับตา แต่บางรายกลับกลัวท่านมากทั้งในขณะนั้นและวาระต่อไป ไม่กล้าส่งจิตออกเที่ยวนักเหมือนแต่ก่อน นี่ท่านสั่งให้ทำเป็นครั้งคราว ส่วนจะมีความหมายอย่างไรบ้างนั้นพวกเราทราบไม่ได้ เพราะท่านไม่บอก แม้องค์ที่เคยช่วยท่าน ถ้าท่านไม่สั่งก็ทำเป็นเหมือนไม่รู้ไม่เห็น ราวกับว่าไม่รู้อะไร แต่พระเณรก็กลัวท่านมากรองท่านอาจารย์ลงมา นี่เขียนออกนอกลู่นอกทางยิ่งกว่าขโมยพระเสียอีก จึงขอย้อนกลับเข้ารอยเดิมที่วางแนวเอาไว้
    <o:p></o:p>
    หญิงสาวคนนั้น ก่อนที่จะเริ่มฝึกหัดภาวนาก็เนื่องจากท่านอาจารย์ไปจำพรรษาที่นั้น และแกก็เคยไปวัดกับชาวบ้านอยู่เสมอ ท่านจึงสั่งให้ทำภาวนาและแนะวิธีให้ไปทำที่บ้าน ได้ผลอย่างไรให้ออกไปเล่าให้ท่านฟังเพื่อท่านจะได้อธิบายต่อให้ ตอนบวชเป็นชีแล้วแกเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า พอท่านสั่งแล้วสั่งอีกหลายครั้งหลายหนให้ทำภาวนา แกจึงคิดสะดุดใจว่าชะรอยเราจะพอมีวาสนาอยู่บ้างกระมัง ท่านอาจารย์จึงมักเมตตาเราเป็นพิเศษเสมอมา ถ้าไม่มีอะไรดีอยู่บ้าง ท่านจะมาสนใจอะไรกับเราที่เป็นเพียงเด็กกลางบ้านคนหนึ่ง ซึ่งเทียบกับหมาตัวหนึ่งเราดี ๆ นี้เอง ไม่มีอะไรดียิ่งกว่านั้น ต่อไปนี้เราควรทำภาวนาตามวิธีที่ท่านเมตตาแนะนำ แกเล่าว่า ท่านแนะให้ภาวนาพุทโธ
    <o:p></o:p>
    กลางคืนวันหนึ่ง พอทานอาหารเย็นเสร็จแล้วก็เตรียมเข้าห้องนอนแต่หัวค่ำ ความมุ่งหมายจะเข้าที่ทำภาวนาอย่างเอาจริงเอาจังตามคำท่านสั่ง พอไหว้พระเสร็จก็เริ่มเข้าที่ภาวนาตามวิธีที่ท่านแนะ พอเริ่มบริกรรมภาวนาพุทโธ ๆ ไปได้ราว ๑๕ นาที จิตก็สงบรวมลงไป แต่แกเองไม่ทราบว่าจิตของตัวรวมเพราะไม่เคยเห็นไม่เคยเป็นมาก่อน เพิ่งมาเป็นเอาวันนั้น ขณะที่จิตรวมลงนั้นเหมือนตัวเองตกลงไปก้นบ่อลึก พับเดียวแล้วหายเงียบไปพักหนึ่ง จากนั้นปรากฏว่าตัวแกเองตายจริง ๆ คือภาพตัวแกเองมาตายอยู่ต่อหน้า มองเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นตัวแกจริงตายอยู่ต่อหน้า และเชื่อแน่ในขณะที่เห็นภาพนั้นว่าตัวเองตายแล้วจริง ๆ<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แต่สิ่งหนึ่งนึกขึ้นมาว่า โอหนอ เราตายเสียแล้วบัดนี้ วันพรุ่งนี้ใครจะนึ่งข้าวใส่บาตร (ทางภาคอีสานทานข้าวเหนียวกันโดยมาก) แทนเราหนอ เวลาท่านอาจารย์มาบิณฑบาตไม่เห็นเราใส่บาตรท่านก็จะถามถึง แล้วใครจะเรียนตอบท่านแทนได้ว่า เราตายเสียแล้วตอนนั่งภาวนาคืนนี้ เลยนึกตัดสินใจในขณะนั้นว่า เอ๊า ตายเป็นตาย คนและสัตว์ทั้งโลกล้วนจะตายเช่นเดียวกับเรานี่แล ไม่มีใครจะมาจับจองครองโลกแต่ผู้เดียวได้ไม่ยอมตาย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พอตัดสินใจได้แล้ว ก็ย้อนจิตมาสนใจกับภาพศพตัวเองที่กำลังนอนตายอยู่ต่อหน้าไม่เลือนรางหายไปไหน ราวกับเตือนให้รู้สึกตัวว่าตายแล้วไม่มีทางสงสัย ขณะที่กำลังรำพึงการตายของตัวเองยังไม่ถึงไหน ชาวบ้านพากันมาหามศพนั้นไปป่าช้าในขณะนั้น พอไปถึงป่าช้าก็มองเห็นท่านอาจารย์มั่นกับพระทั้งหลายกำลังเดินตรงเข้ามาที่ศพซึ่งนอนอยู่ เฉพาะองค์ท่านอาจารย์มั่นพูดกับพระว่า นี่เด็กหญิงคนนี้ตายแล้ว เอ๊า พวกเรามาติกา แต่คำมาติกานั้นเป็นคำของท่านอาจารย์มั่นพูดออกมาองค์เดียว ในท่ามกลางพระสงฆ์ที่กำลังยืนมุงดูอยู่ ว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา สังขารร่างกายตายแล้วใช้งานอะไรไม่ได้ แต่จิตไม่ตายยังใช้งานได้ตลอดไป นอกจากจะนำไปใช้ในทางที่เสียใจก็เป็นภัยแก่ตัวเอง ว่าสามหนซ้ำ ๆ กันอยู่ประโยคเดียว
    <o:p></o:p>
    เสร็จแล้วปรากฏว่าท่านเอาไม้เท้าท่านเขี่ยไปตามร่างศพเบา ๆ พร้อมกับพูดว่า ร่างกายไม่เที่ยงเกิดแล้วต้องตาย แต่จิตใจเที่ยงไม่มีเกิดไม่มีตายไปกับร่างกาย เป็นเพียงหมุนไปตามเหตุปัจจัยพาให้เป็นไป และพูดซ้ำซากไปมา แต่ไม้ท่านเขี่ยไปถึงที่ใด เนื้อหนังมังสังเปื่อยออกไปถึงนั่น จนเปื่อยไปหมดทั้งร่าง เพราะท่านเขี่ยไปทั่วร่างของศพนั้น จนเหลืออยู่เฉพาะหมากหัวใจท่านจึงหยิบเอาหมากหัวใจออกมา และพูดว่าหัวใจนี้ทำลายไม่ได้ ถ้าทำลายต้องตายไม่มีฟื้นอีก ตัวแกก็ดูอยู่ด้วยตลอดเวลาแต่ขณะแรกปรากฏ จึงคิดขึ้นมาว่า ก็คนตายจนเปื่อยไปหมดทั้งร่างแล้ว ยังเหลือแต่กระดูกจะเอาอะไรมาฟื้น ท่านตอบความคิดนึกของแกทันทีแต่ไม่ได้มองดูหน้าแกว่า ต้องฟื้นซิ ไม่ฟื้นอย่างไร เพราะสิ่งที่จะพาให้ฟื้นยังมีอยู่ จวนสว่างพรุ่งนี้ก็ฟื้นเท่านั้นเองดังนี้
    <o:p></o:p>
    นับแต่ชุลมุนวุ่นวายอยู่กับศพแต่หัวค่ำจนเรื่องจะยุติลง และท่านอาจารย์กับพระสงฆ์จะจากไปกินเวลานานแสนนานแกว่า แกเล่าเหตุการณ์ของแกยืดยาว ผู้เขียนจำไม่ค่อยหมด แกว่าจิตเริ่มปรากฏแต่ขณะสงบลงทีแรก และต่อเรื่องราวไปจนจวนสว่างจึงถอนขึ้นมา พอจิตถอนรู้สึกตัวขึ้นมาจึงได้ยินเสียงไก่ขันกระชั้นจวนสว่าง มองดูตัวยังนั่งอยู่ตามปกติมิได้ตายดังที่เข้าใจในเวลานั้น จึงกลับดีใจคืนมาว่าตัวมิได้ตายไปกับเรื่องที่ปรากฏ เมื่อทราบเรื่องของตัวโดยตลอดว่าไม่ตายจริง ๆ แล้วก็มานึกตำหนิตัวเองว่า ท่านให้นั่งภาวนา แต่ทำไมเราจึงนั่งหลับ และหลับเสียจนฝันว่าตัวตายไปทั้งคืนก็ยังไม่ตื่น แหม คืนนี้ภาวนาเลวจริง ๆ <o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พอรุ่งเช้าวันต่อมา ท่านอาจารย์มาบิณฑบาตก็สั่งแกในขณะนั้นว่า ประมาณพระฉันเสร็จให้ออกไปหา โดยที่แกมิได้เรียนอะไรให้ท่านทราบไว้ก่อนเลย แม้แต่ก่อนท่านก็ไม่เคยสั่งให้แกออกไปหา เพิ่งมีครั้งนั้นเท่านั้น จึงเป็นที่น่าประหลาดว่าท่านต้องทราบเรื่องของตนแต่ตอนกลางคืนแล้วอย่างชัดเจน พอออกไปท่านก็ถามทันทีว่า เป็นอย่างไรภาวนาเมื่อคืนนี้ แกเรียนตอบว่าภาวนาไม่ได้เรื่องอะไรเลย พอภาวนาพุทโธ ๆ ไปได้ราว ๑๕ นาที จิตก็ตกลงไปก้นบ่อแล้วหลับ และฝันไปเลยเกือบตลอดคืน จวนสว่างตื่นขึ้นมาจึงรู้สึกเสียใจไม่หายจนบัดนี้ กลัวหลวงพ่อจะดุเอาว่าภาวนาไม่เป็นท่าได้แต่หลับ พอทราบเท่านั้นท่านก็หัวเราะชอบใจและถามทันทีว่า มันหลับอย่างไรและฝันอย่างไรบ้าง ลองเล่าให้ฟังดูที
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แกเล่าถวายท่านดังกล่าวมา ท่านยิ่งหัวเราะใหญ่และพูดออกมาด้วยความชอบใจว่า นั่นไม่ใช่หลับ ไม่ใช่ฝัน นั่นแลจิตสงบจิตรวม จงจำไว้ ที่ว่าฝันมิใช่ฝัน แต่เป็นนิมิตที่เกิดจากสมาธิภาวนาต่างหาก นี่แลที่ท่านว่าภาวนาเห็นนิมิตต่าง ๆ นั้นคือเห็นอย่างที่หนูเห็นนั่นเอง ท่านอธิบายให้ฟังจนเป็นที่เข้าใจแล้วก็บอกให้พากันกลับบ้าน และสั่งกำชับให้ภาวนาต่อไป และบอกว่าจิตจะรู้เห็นอะไรก็ปล่อยให้มันเห็นไปไม่ต้องกลัว หลวงพ่อไม่ให้กลัว อะไรผ่านมาในขณะภาวนาจงกำหนดรู้ให้หมด เวลาหลวงพ่ออยู่ที่นี่ไม่เป็นอะไร ไม่ต้องกลัว เวลาภาวนารู้อะไรเห็นอะไรให้ออกมาเล่าให้ฟัง จากนั้นมาแกก็พอใจภาวนา เหตุการณ์เป็นไปเรื่อย ๆ ในลักษณะต่าง ๆ กัน
    <o:p></o:p>
    จนเวลาท่านจะจากไปจึงสั่งให้ออกไปหา และสั่งกำชับให้หยุดภาวนาไปพักหนึ่งก่อน เมื่อถึงกาลแล้วจะค่อยเป็นไปเอง คือเวลาท่านจากไปห้ามไม่ให้ภาวนา ท่านคงคิดพอแล้วว่าแกมีนิสัยของจิตผาดโผน หากเป็นอะไรขึ้นเวลาท่านไม่อยู่จะไม่มีผู้ช่วยแนะแก้ไขอาจมีทางเสียได้ จึงห้ามไม่ให้ทำต่อไป ตัวแกเองก็ไม่ทราบความหมายแต่เชื่อตามท่านสั่ง จึงมิได้ภาวนาต่อไปทั้งที่อยากทำแทบใจจะขาด จนอายุแกจวนย่างเข้า ๔๐ ปี จึงได้สละครอบครัวออกบวชและฝึกหัดภาวนาต่อไป นิสัยที่เคยรู้เคยเห็นสิ่งต่าง ๆ ก็ปรากฏรู้เห็นเรื่อยมา ตอนแกพบผู้เขียนและเล่าภาวนาให้ฟัง จึงทราบนิสัยและทราบความมุ่งหมายของท่านอาจารย์ที่ห้ามไม่ให้แกภาวนา เพราะเป็นนิสัยผาดโผน ถ้าไม่มีผู้รู้ที่เหนือกว่าจะรั้งไว้ไม่อยู่เวลาเป็นขึ้นมา เนื่องจากไม่มีอุบายจะรั้งนั่นเอง อาจมีทางเสียได้<o:p></o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จึงขอสรุปเรื่องของแกเอาแต่ใจความ มาประกอบกับปัญหาทางสมาธิและปัญญาเท่าที่ควร ความรู้แปลก ๆ ของแกมีมากพอสมควร แม้ตอนท่านอาจารย์มั่นป่วยหนักคราวจะมรณภาพ แกก็ทราบทางสมาธิเหมือนกัน ทั้งที่อยู่คนละจังหวัดระยะทางห่างไกลกันมาก คือตอนกลางคืนเวลาเข้าที่สมาธิ ปรากฏท่านอาจารย์มั่นเหาะมาทางอากาศ มายับยั้งอยู่บนอากาศ แล้วประกาศก้องลงมาว่า พ่อป่วยหนัก จงรีบไปเยี่ยมพ่อเสียแต่เนิ่น ๆ พ่อจะลาโลกเพราะการป่วยครั้งนี้แน่นอน ที่ท่านเหาะมาโดยทางอากาศนั้นแกทราบโดยทางสมาธิภาวนาแทบทุกคืน โดยมาเตือนให้รีบไปเดี๋ยวจะไม่ทันเห็นร่างของพ่อ จะตายก่อน ยิ่งจวนวันท่านจะมรณภาพเท่าไร ก็ยิ่งมาปรากฏให้เห็นทุกคืนไม่มีวันเว้นเลย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ตามปกติเวลาแกบวชแล้วก็เคยไปกราบนมัสการเยี่ยมท่าน เพื่อฟังการอบรมทุกปีมิได้ขาด ในระยะที่ปรากฏเห็นองค์ท่านอาจารย์มาปรากฏบ่อยนั้น จะว่ากรรมหรืออะไรก็ยากจะเดาถูก เพราะขณะปรากฏทางสมาธินิมิตก็ได้เล่าให้หมู่เพื่อนฟังอยู่เสมอว่า ท่านอาจารย์ป่วยหนักจวนเต็มทีแล้ว ท่านอุตส่าห์เมตตาเหาะมาบอกแทบทุกคืน และต่อมาก็มาปรากฏทุกคืน พวกเรายังไม่ได้ไปกราบเยี่ยมท่านเลย ยังติดธุระนั่นนี่อยู่ไม่มีวันสร่างซา พอนัดกันวันนั้นวันนี้ว่าจะออกเดินทางไปกราบเยี่ยมท่านก็ไม่สำเร็จ พอวันสุดท้ายที่กำหนดออกเดินทางก็เป็นวันท่านมรณภาพมาถึง
    <o:p></o:p>
    และก็คืนนั่นแลท่านได้เหาะมาทางอากาศยามดึกสงัด มายืนประกาศกึกก้องอยู่บนอากาศว่า เห็นไหม พ่อบอกหลายครั้งแล้วว่าให้รีบไปเยี่ยมพ่อ บัดนี้หมดเวลาเสียแล้ว จะพากันนอนจมกองมูตรกองคูถอยู่ที่นี่ก็ตามใจ ถ้าไม่สนใจคำของพ่อก็เป็นอันหมดหวังเพียงวันนี้ ไม่ได้พบร่างพ่ออีกแล้ว บัดนี้พ่อลาโลกไปเสียแล้ว พากันทราบหรือยัง ถ้ายังก็คอยฟังข่าวเสีย พ่อบอกความจริงให้แล้วไม่เชื่อ ไปก็เห็นแต่ซากนั่นแลที่ไม่มีอะไรรับรู้เหลืออยู่แล้ว บัดนี้พ่อลาโลกแล้วนะเชื่อหรือยัง หรือยังไม่เชื่ออยู่อีก เพราะกรรมเกิดจากความประมาทตัวเดียวนั่นแลพาโลกให้ผิดหวัง พ่อลาโลกในคืนวันนี้แล้วไม่สงสัยดังนี้ แล้วก็หายไปในอากาศ
    <o:p></o:p>
    พอจิตถอนออกจากสมาธิก็จวนสว่าง ตัวแกเองทนไม่ไหว เพราะเห็นท่านเมตตาโปรดทุกคืนในระยะจวนจะลาโลกลาขันธ์ ต้องร้องไห้อยู่คนเดียวหลังจากสมาธิแล้ว พอสว่างก็รีบมาบอกหมู่คณะว่า ท่านอาจารย์มั่นนิพพานไปเสียแล้วเมื่อคืนนี้ ฉันทราบทางนิมิตภาวนาอย่างชัดเจนไม่สงสัย ดังที่เคยเตือนให้ทราบอยู่เสมอมา และร้องไห้ต่อหน้าหมู่เพื่อนอย่างไม่อาย จนใครก็งงงันไปตามๆ กัน ถ้าจะว่าแกเป็นบ้าหรือก็ไม่ถนัดใจ เพราะความรู้ทางสมาธิของแกเคยแม่นยำมาแล้ว จนเชื่ออย่างตายใจยิ่งกว่าจะมาคิดว่าแกเป็นบ้า<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขณะที่พูดสนทนากันยังไม่ขาดคำ ก็มีคนวิ่งตารีตาขวางออกมาบอกว่า ท่านอาจารย์มั่นมรณภาพเสียแล้วเมื่อคืนนี้ คุณแม่ทราบหรือยัง วิทยุทางอำเภอประกาศเมื่อเช้านี้เวลา ๘ นาฬิกา ว่าท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ องค์ลือนามในวงปฏิบัติสมัยปัจจุบันได้มรณภาพเสียแล้วแต่เวลา ๒.๓๓ น. ที่วัดสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ผมทราบเพียงเท่านี้ก็รีบกลับมาบ้านบอกใครต่อใครบ้าง แล้วก็วิ่งมาเรียนให้คณะคุณแม่ทราบ เกรงว่าจะยังไม่ทราบกันดังนี้ พอทราบความแน่นอนในวาระที่สองว่าท่านอาจารย์มั่นมรณภาพแล้วจริง ๆ เท่านั้น สำนักแม่ชีได้กลายเป็นสภาน้ำตาขึ้นมาอีกวาระหนึ่ง หลังจากพากันหลั่งน้ำตาไปแล้วในตอนเช้าที่แม่ชีคนนั้นเล่านิมิตให้ฟัง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แม่ชีคนนี้แกมีความรู้ทางสมาธิแปลก ๆ ผิดธรรมดาอยู่หลายแขนง ทราบว่าแกเพลินติดความรู้ประเภทนี้อยู่เป็นเวลาสิบกว่าปี วันใดภาวนาไม่รู้เห็นสิ่งต่าง ๆ โดยทางสมาธินิมิต แกถือว่าวันนั้นไม่ได้รับประโยชน์ทางสมาธิภาวนาเลย แกติดทางนี้จนฝังใจว่าการเห็นนิมิตต่าง ๆ เป็นทางมรรคผลของการภาวนาจริง ๆ ต่อเมื่อมีพระที่เป็นสายท่านอาจารย์ไปพักจำพรรษาที่นั่น และอบรมสั่งสอนทั้งด้านนิมิตและด้านอื่น ๆ จนเป็นที่แน่ใจและรู้วิธีปฏิบัติต่อสมาธินิมิต และทางดำเนินอันเป็นทางมรรคทางผล จนกลายเป็นความราบรื่นดีงามตลอดมา ไม่กำเริบเป็นต่าง ๆ ดังที่เคยเป็นอยู่เสมอ แกจึงยอมแก้ไขดัดแปลงไปตาม และเห็นผลเป็นที่พอใจ ไม่ตื่นเต้นอับเฉาไปตามนิมิตต่าง ๆ ที่มาปรากฏ ดำรงตนอยู่ด้วยสติปัญญาอันเป็นทางดำเนินเพื่อความพ้นภัยไร้ทุกข์ แกจึงได้รับความสะดวกในการบำเพ็ญตลอดมาจนปัจจุบันทุกวันนี้ การปฏิบัติต่อสมาธินิมิตของแกจึงไม่มีอะไรที่น่าวิตกอีกต่อไป สมาธิประเภทนี้จึงกลายเป็นความสำคัญขึ้นในการทำประโยชน์ตนและส่วนรวม แกมีความรู้แปลก ๆ ที่นักปฏิบัติทั้งหลายไม่ค่อยมีกัน เรื่องเหตุการณ์ในอดีต อนาคต เปรต ภูตผี เทวดา จำพวกกายทิพย์ประเภทต่าง ๆ แกรู้ได้ดีพอสมควร จะขอยกตัวอย่างมาลงโดยสังเขป พอเป็นข้อคิดเกี่ยวกับตาในใจทิพย์ของผู้ปฏิบัติที่มีนิสัยในทางนี้ คือ
    <o:p></o:p>
    คืนวันหนึ่งแกนั่งภาวนา ปรากฏมีสัตว์ชนิดหนึ่งเข้ามาหาในภาพแห่งบุรุษ มาร้องทุกข์ว่า เธอเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านนี้ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าของ ว่าใช้สอยแกมาตั้งแต่พอลากคราดลากไถใส่ล้อใส่เกวียนได้เรื่อยมา แทนที่จะเห็นบุญคุณแกบ้าง นอกจากทรมานเฆี่ยนตีในเวลาลากเข็นและเวลาปกติธรรมดาแล้ว ยังถูกจูงไปมัดคอใส่ต้นไม้แล้วฆ่าแทงแกจนตายและกินเนื้อกินหนังเสียอีก ซึ่งเป็นการกระทำที่โหดร้ายทารุณสิ้นมนุษยธรรมเสียจริง ๆ ก่อนจะตายก็ทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสทนไม่ไหว จึงได้ตายทั้งที่ไม่อยากตาย รู้สึกมีความเคียดแค้นในเจ้าของเป็นอย่างมากแทบไม่มีที่ปลงวางจิตใจเวลานี้ จึงได้เดินโซซัดปัดเป๋มาหาคุณแม่ให้ช่วยบรรเทาทุกข์ และขอพึ่งบุญบารมีแบ่งส่วนกุศลผลบุญที่คุณแม่ได้บำเพ็ญมา พอมีส่วนได้ไปเกิดเป็นมนุษย์กับเขา พอมีทางหายใจระบายทุกข์บ้าง ไม่ถูกกดขี่บังคับทรมานจนเกินไปดังที่เป็นมาเวลานี้<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การเกิดเป็นสัตว์ลำบากทรมานมากเหลือเกิน เพราะถูกบังคับทรมานด้วยประการต่าง ๆ ทั้งจากมนุษย์และจากสัตว์ด้วยกัน การเกิดเป็นมนุษย์แม้จะอดอยากกันดาร สองวันหิวสามวันอิ่มปากอิ่มท้องครั้งหนึ่ง ก็ยังดีกว่ามาเกิดเป็นสัตว์ ซึ่งมีความทุกข์ลำบากทรมานอยู่ตลอดเวลา แม่ชีจึงถามบุรุษนั้นบ้างว่า ทำไมว่าเขาไม่รู้จักบุญคุณของเราและว่าเขาไม่มีมนุษยธรรมในใจ ฆ่าตีทรมานโดยประการต่าง ๆ จนถึงกับผูกโกรธผูกแค้นจองกรรมจองเวรในเขา มิใช่เราไม่ดีไปเที่ยวหาลักขโมยสิ่งของหวงแหนที่เขาปลูกไว้ตามไร่นารั้วสวนมากินละหรือ อยู่ดี ๆ ทำไมเขาจะเอาตัวมาเฆี่ยนตีทรมานและนำตัวไปฆ่า มนุษย์แถวนี้ก็ปรากฏว่าดีมีศีลธรรมพอเชื่อถือได้ ทำไมเขาจะทำได้ลงคอถ้าเรายังดีอยู่ นี่น่ากลัวจะไปเที่ยวทำไม่ดีอย่างแม่ว่ากระมัง เขาจึงได้ทำอย่างนั้นให้เราเพื่อสาสมกับความไม่ดีของตน เราได้ทำดังที่แม่ว่าบ้างหรือเปล่าล่ะ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เขาตอบน่าสงสารจับใจว่า ก็เพราะความหิวโหยอดอยากเกี่ยวกับปากท้องอันเดียวนี่แลเป็นสำคัญในมวลสัตว์โลก เห็นอะไรก็เข้าใจว่าเป็นอาหารจะพอประทังชีวิต จึงไม่ทราบว่าอะไรเป็นสมบัติของใคร อะไรใครหวงแหนหรือไม่หวงแหน พอคว้าถึงปากก็กัดก็แทะกินไปตามประสาสัตว์อย่างนั้นเอง ถ้ารู้ภาษาอยู่บ้างเหมือนมนุษย์ก็คงไม่ทำและไม่มาเกิดเป็นสัตว์ให้เขาฆ่าตีทำลายดังที่เป็นอยู่เวลานี้ ส่วนมนุษย์ผู้มีความฉลาดกว่าสัตว์ก็น่าจะเห็นใจให้อภัยบ้าง ไม่ทำตามอำนาจจนเกินไปซึ่งผิดจากศีลธรรมของมนุษย์ มนุษย์ผู้ดีเขาไม่ทำอย่างนี้ เพราะเป็นความอุจาดบาดใจขายชาติของตัวเอง ที่ว่ามนุษย์แถวนี้เป็นคนดีมีศีลธรรมเขาคงไม่ทำชั่วแก่สัตว์ได้ลงคอนั้น จริงสำหรับมนุษย์ที่มีธรรมดังคุณแม่ว่า แต่มนุษย์คนชื่อว่า….. ที่เป็นเจ้าของของผมนี้ มิใช่มนุษย์ที่ดีมีศีลธรรมติดใจพอเป็นเชื้อสายของมนุษย์บ้างเลย มันเป็นเพียงเศษมนุษย์มาเกิดต่างหาก ฉะนั้นเขาจึงมีใจโหดร้ายทารุณที่อะไร ๆ จะให้อภัยเขาไม่ได้ แม้แต่มนุษย์ด้วยกันเขาก็ทำร้ายได้ อย่าว่าแต่สัตว์ซึ่งอาภัพวาสนาเลย
    <o:p></o:p>
    แม่ชีจึงให้โอวาทสั่งสอนเขาด้วยความเมตตาสงสาร และแบ่งส่วนกุศลให้เขาด้วยใจเอ็นดูอย่างถึงใจ พร้อมกับให้ศีลให้พร ขอให้กุศลผลเมตตาของแม่ที่แบ่งให้นี้ จงเป็นเสบียงเครื่องหล่อเลี้ยงส่งเสริม และนำทางให้คุณได้ไปเกิดในสุคติสถาน มีอาหารทิพย์และวิมานทองเป็นที่อยู่เสวยเถิด พอเขาสาธุรับส่วนกุศลแล้ว ก็ลาคุณแม่เขาไปด้วยอาการอันแช่มชื่นเบิกบาน ราวกับจะได้ไปเกิดในกำเนิดและสถานที่อันสมหวังในขณะนั้น
    <o:p></o:p>
    พอรุ่งขึ้นก็เรียกหลานชายในบ้านมากระซิบบอกว่า คืนนี้แม่นั่งภาวนาปรากฏ…ขอให้แกหาอุบายไปสืบดูพฤติการณ์ของนาย……ให้แม่ที จากคนใดคนหนึ่งที่พอทราบได้(นาย.. คือคนที่สัตว์ลึกลับระบุชื่อว่าเป็นผู้ที่นำเขาไปฆ่า) แต่อย่าให้เขารู้ตัวว่าแม่สั่งให้ไปสืบถาม เดี๋ยวเขาจะอายเราหรืออาจคิดไม่ดีต่อเราแล้วจะเป็นบาปหนักเพิ่มขึ้นอีกก็ยิ่งจะแย่ใหญ่ พอเรียกหลานมากระซิบสั่งดังนั้น หลานก็บอกขึ้นทันทีเพราะอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันกับอีตาคนนั้น และทราบเรื่องนี้ได้ดีว่า คุณแม่จะให้ผมไปถามให้เสียเวลาทำไม ก็เมื่อคืนนี้ราวสองทุ่ม แกลากเอาควายของแกไปฆ่าอยู่ที่…เสียงควายร้องเพราะความทุกข์ทรมานได้ยินถึงไหนโน่น เสร็จแล้วก็เอาเนื้อมันมากินเลี้ยงกันใหญ่ เสียงเอ็ดตะโรโฮเฮจนเกือบสว่างจึงได้สงบลง ป่านนี้มันตื่นนอนกันหรือยังก็ไม่รู้ ผมรู้เรื่องนี้ดีจึงอย่าให้ไปสืบถามให้เสียเวลาเลยดังนี้ ความจริงที่แม่ชีเล่าให้ฟังเป็นอย่างนี้ การปรากฏนิมิตก็ปรากฏในคืนเดียวกัน เป็นเพียงแกปรากฏตอนดึกสงัดซึ่งผิดเวลากันเล็กน้อย จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดสำหรับพวกเราที่กำลังตกอยู่ในห้วงวัฏฏะ ซึ่งมีทางเป็นได้ด้วยกันโดยไม่เลือกกาลสถานที่และใคร ๆ<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เรื่องที่สองนี้เป็นหมูป่า นี้ก็น่าประหลาดไปอีกทางหนึ่ง คือหมูป่าตัวนี้ก็เที่ยวหากินมาตามชายเขาโดยลำพัง ไม่นึกว่าจะมีคนดักซุ่มอยู่ตามบริเวณนั้น เพราะอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านมาก นัยว่านายพรานไปดักซุ่มยิงสัตว์ป่าที่มาหากินน้ำในแอ่งหินชายภูเขา เผอิญคืนนั้นกรรมของหมูป่าตัวนี้มาถึง จึงลงไปกินน้ำในแอ่งหินที่เขากำลังนั่งห้างคอยทีอยู่ก่อนแล้ว พอมาถึงน้ำก็โดนยิงตายในขณะนั้น จวนสว่างหมูตัวนั้นก็มาหาแม่ชีซึ่งกำลังนั่งสมาธิภาวนาอยู่ ด้วยเพศแห่งบุรุษเช่นเดียวกัน แม่ชีจึงถามว่า มีเหตุทุกข์ร้อนอะไรหรือถึงได้มาหาเรา บุรุษนั้นก็เล่าเหตุการณ์ที่เป็นมาให้ฟังว่า ตนได้ถูกนาย….ยิงตายเสียแล้วขณะที่มากินน้ำเพราะความหิวโหย แม่ชีถาม ตอนลงกินน้ำมิได้คิดระวังเนื้อระวังตัวบ้างหรือ การระวังก็ระวังอยู่ตลอดเวลาไม่เคยเผลอตัวเพราะกลัวอันตราย ความเป็นสัตว์นี้ลำบากมากไม่มีอิสระในตัวเอง ไปที่ไหนก็มีแต่ภัยแต่เวรรอบด้าน ต้องระวังตัวอยู่เสมอ แม้เช่นนั้นก็ยังถูกเขาฆ่าจนได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แต่การตายคราวนี้ก็มิได้ติดใจเสียดายอะไร ยิ่งกว่าการไปเกิดในภพต่อไป กลัวจะไปเกิดเป็นสัตว์อีกดังที่เคยเกิดมาแล้ว ซึ่งแสนทุกข์ทรมานเพราะความอดอยากและการระวังภัยนั่นแลพาให้เกิดทุกข์ จนกลายเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยความระแวงระวังอยู่รอบด้านไม่เป็นอันกินอยู่หลับนอน ที่ตะเกียกตะกายมานี้ก็เพราะความกลัวการเกิดจะผิดพลาดไม่อาจห้ามได้ หากไม่มีบุญช่วยค้ำชูอุดหนุน จึงได้กระเสือกกระสนมาหวังพึ่งบุญบารมีคุณแม่ผู้บำเพ็ญธรรมมีบุญค้ำหนุนโลก ได้ช่วยอนุเคราะห์เมตตาสัตว์ผู้อาภัพอับวาสนาในคราวนี้ด้วยเถิด อาจได้ไปเกิดในที่และกำเนิดอันสมหวัง
    <o:p></o:p>
    ผมไม่มีสมบัติใดติดตัวพอเป็นเครื่องอบอุ่นมั่นใจในคติภพ มีแต่ร่างกายเนื้อหนังที่ถูกทำลายตายไปเมื่อคืนนี้เท่านั้น พอได้ถวายเป็นทานบูชาธรรมแด่ท่านผู้ทรงธรรมบำเพ็ญพรหมจรรย์ จึงได้มากราบเรียนวิงวอนไว้เพื่อคุณแม่ทราบเหตุการณ์และอนุเคราะห์ด้วย คือเวลาเขาเอาอวัยวะเครื่องภายในอันเป็นของมีค่า และเนื้อหนังมังสังอวัยวะภายนอกของผมมาให้ท่านที่นี่ ขอคุณแม่ได้โปรดเมตตาบริโภคขบฉันให้ผมด้วยเถิด เผื่อบุญอันเกิดแต่ทานนี้จะได้เป็นเครื่องอุดหนุนเชิดชู ให้ผมได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ในภพต่อไปสมความมุ่งปรารถนา สิ่งที่เป็นน้ำใจอันประสงค์อยากถวายทานอย่างยิ่งของผมนั้นคือ เครื่องในแห่งอวัยวะของหมูที่ตายอันเป็นตัวผมเอง
    <o:p></o:p>
    แต่มนุษย์มีความละโมบโลภมากกว่าสัตว์ทั้งหลาย จึงกลัวว่าเนื้อชิ้นใดที่ดี ๆ เขาจะเก็บสั่งสมไว้เพื่อพุงของตัวมากกว่าเพื่อทำบุญ แล้วไม่นำมาให้ทาน เพราะกลัวจะหมดจากลิ้นจากปากด้วยอำนาจกิเลสตัวโลโภพาให้เป็นไป ผมจึงมีความวิตกกังวลมากเกรงไม่สมใจที่อยากให้ทานในวาระสุดท้าย แม่ชีได้เมตตาอบรมสั่งสอนเขาพร้อมกับให้ศีลให้พรและแผ่ส่วนกุศลแก่เขา ขอให้ได้ไปเกิดในกำเนิดที่มุ่งหมายตามใจหวัง เขารับอนุโมทนาส่วนบุญแล้วได้ลาจากไปในขณะนั้น<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พอรุ่งเช้าแกก็มากระซิบบอกคณะแม่ชีด้วยกันว่า แกนั่งทำสมาธิภาวนาอยู่ตอนดึกราว ๓ นาฬิกา ได้มีนิมิตปรากฏเห็นบุรุษคนหนึ่งเข้ามาหาด้วยท่าทางที่มีความทุกข์ทรมานใจมาก เมื่อถูกถามก็ได้ความว่าบุรุษนั้นเป็นหมูป่าอาศัยอยู่ในภูเขา….มาหลายปี คืนนี้ขณะหมูป่าตัวนั้นลงมากินน้ำที่แอ่งหินชายภูเขา จึงถูกนาย….อยู่หมู่บ้าน…ซึ่งนั่งห้างคอยทีอยู่ยิงตายในขณะนั้น จากร่างหมูตัวที่ตายนั้นจึงนิรมิตเพศเป็นมนุษย์มาหาฉัน แสดงความประสงค์อยากอุทิศร่างกายอวัยวะของตัวที่ถูกเขาฆ่า ให้ทานแก่พวกเราเพื่อรับประทานเนื้อหนังมังสังของเขา เผื่อภพต่อไปเขาจะได้เกิดเป็นมนุษย์เพราะผลแห่งทานนี้ จึงได้เล่าเหตุการณ์ให้ทราบล่วงหน้าว่า เมื่อเขานำเนื้อหนังมังสังส่วนใดก็ตามมาให้ทานที่นี่ ขอให้พวกเราอนุเคราะห์เมตตาบริโภคให้เขาด้วย เพื่อบุญนี้ได้เกื้อหนุนเขาได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ในภพชาติต่อไป ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ก็ไม่ทราบ ฉันเองก็ไม่เคยปรากฏเช่นนี้มาก่อนเลย ที่สัตว์เดียรัจฉานคิดใจบุญอยากให้ทานเนื้อหนังของตนดังหมูป่าตัวนี้ ถ้าเป็นความจริง คอยสังเกตดูต่อไป จะจริงหรือเท็จประการใดบ้างก็ทราบกันคราวนี้เอง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เป็นที่น่าประหลาดและอัศจรรย์อยู่ไม่น้อยถ้าตามเหตุผลที่เป็นมานี้ คือพอสายหน่อยประมาณ ๘ นาฬิกา ก็เห็นผู้หญิงสองสามคนกับภรรยาของนาย…..นั่นเอง คนหนึ่งนำเนื้อหมูป่ามาให้ทานที่นั่น พอคณะแม่ชีมองเห็นเนื้อที่เขานำออกแสดงก็ทราบกันโดยนัยว่า ต้องเป็นเนื้อหมูป่าตัวนั้นแน่นอนไม่สงสัย เมื่อถามเขาก็ทราบเป็นความจริงทุกประการ แม้ผู้ยิงหมูป่าตัวนั้นก็เป็นนาย….จริง ๆ ด้วย นี่คือนิมิตต่าง ๆ ที่เกิดในสมาธิของนักปฏิบัติบางราย และปัญหาที่เกิดจากสมาธิก็มีมากดังกล่าวมา จึงขอยุติไว้เพียงเท่านี้
    <o:p></o:p>
    ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นตามขั้นปัญญายิ่งมีมากกว่าสมาธิ ทั้งลึกซึ้งและสลับซับซ้อนกว่าสมาธิอีกมากมาย วันหนึ่ง ๆ เกิดได้ไม่มีกำหนด ต้องอาศัยปัญญาเป็นผู้คลี่คลายแยกแยะแก้ไขเป็นตอน ๆ ไป มิฉะนั้นไม่มีทางผ่านพ้นไปได้ นอกจากไม่สามารถผ่านไปได้แล้ว ยังทำให้เกิดงงงันอั้นตู้อยู่เป็นพัก ๆ เป็นวัน ๆ เพราะปัญหาแต่ละข้อมีความหนักเบาต่างกัน นักภาวนาจำต้องเป็นนักใคร่ครวญไปในตัวโดยไม่มีใครมาบังคับ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละปัญหาหากเป็นเครื่องเขย่าสติปัญญาให้ตื่นตัวไปเอง นับแต่ขั้นอสุภะจนถึงขั้นนามธรรมอันเป็นส่วนละเอียด ย่อมเป็นทางเดินของสติปัญญาโดยแท้ นักปฏิบัติต้องเกิดปัญหาและปัญญาในตอนนี้แล มากกว่าทุกขั้นทุกตอนที่ผ่านมา
    <o:p></o:p>
    ถ้าเข้าใจว่าตนมีภูมิจิตภูมิธรรมละเอียดคล่องแคล่วในอสุภธรรม และนามธรรมคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ปัญหามิได้เกิดขึ้นมารบกวนใจ เลยคิดภาคภูมิว่าตนเป็นประเภท สุขา ปฏิปทา คือ ปฏิบัติสะดวก นั่นคือการภาคภูมิในความนอนใจของการปฏิบัติเพื่อรื้อถอนรากแก้วรากฝอย หรือรากเหง้าเค้ามูลของกิเลสทั้งปวงโดยไม่รู้สึกตัว เพราะการแก้กิเลสด้วยปฏิปทาเริ่มแต่ขั้นสมาธิถึงขั้นปัญญาตามลำดับขั้นนั้น ๆ โดยมากต้องเกิดปัญหาต่าง ๆ แทรกขึ้นในระหว่างเป็นระยะไป ซึ่งเป็นการปลุกหรือเขย่าสติปัญญาให้ตื่นตัวไปในขณะเดียวกัน ผู้ปฏิบัติธรรมไม่มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นบ้างเลย นั่นน่าจะปฏิบัติสะดวกเกินไป ถ้าเป็นชิ้นเนื้อต่างๆ ก็ชนิดเขียงกลัวไปตามๆ กัน ไม่กล้าเข้ามารองรับให้สับหั่น นี่ก็น่ากลัวตัวประมาทนอนใจหรือตัวโมหะพากันกลัวไปตาม ๆ กัน ไม่กล้ารับเข้าในบัญชี กลัวจะไปทำลายจำพวกโมหะที่มีอยู่มากพอแล้วให้แตกคอกแหวกแนวไปเสียหมดนั่นเอง<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เฉพาะขั้นปัญญาโดยตรงด้วยแล้ว ต้องเป็นเรือนรังแห่งปัญหาแง่ต่างๆ จะพึงเกิดขึ้นเสมอในวันเวลาหนึ่งๆ ขณะที่ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น สติปัญญาจะนิ่งนอนใจอยู่ไม่ได้ เพราะถูกปัญหานั้นๆ เขย่าเซ้าซี้อยู่ไม่หยุดจนทนอยู่เฉยๆ ไม่ได้ จำต้องทำการพิจารณาแก้ไขให้ลุล่วงไปเป็นตอนๆ ซึ่งเป็นการดำเนินผ่านพ้นไปด้วยในขณะที่ปัญหาแต่ละข้อตกไป อุบายแยบคายต่างๆ ย่อมเกิดขึ้นเสมอ โดยสติปัญญาที่ขุดค้นคลี่คลายพาให้เป็นไป การปฏิบัติที่ไม่มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นบ้างเลย ย่อมแสดงถึงความนอนใจของผู้ปฏิบัติเองว่า ไม่แสวงหาทางหลุดพ้นด้วยความสนใจเท่าที่ควร เพราะโดยมากปัญหาย่อมเกิดขึ้นจากการใคร่ครวญไตร่ตรองหาเหตุ จิตเป็นตัวการคอยรับเหตุดีชั่วอยู่ตลอดเวลา เมื่อสังเกตใคร่ครวญอยู่บ้าง ย่อมต้องเจอสิ่งที่จะให้เกิดปัญหาเรื่องต่างๆ ขึ้นมา อันเป็นทางให้เกิดปัญญาในอันดับต่อไป สำหรับผู้สนใจต่อปัญญาเครื่องตัดฟันกิเลส
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    จึงขอเรียนตามความรู้สึกว่า นักปฏิบัติใดที่ไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นจากการปฏิบัติบ้างเลยนับแต่ขั้นสมาธิเป็นต้นไป นักปฏิบัตินั้นมิได้ปฏิบัติเพื่อปัญญาความรู้แจ้งในสัจธรรมทั้งหลายอย่างแท้จริง และย่อมจะหาทางหลุดพ้นไปไม่ได้ เพราะสัจธรรมฝ่ายผูกมัดจิตอันมีสมุทัยเป็นสำคัญนั้น คือแหล่งแห่งปัญหาเครื่องปลุกหรือเขย่าทั้งมวล และมรรคมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะเป็นสำคัญ เป็นแหล่งแห่งปัญญาทุกขั้นซึ่งเป็นเครื่องแก้ปัญหาที่เกิดจากสมุทัยสัจ ธรรมทั้งสองนี้ต้องทำหน้าที่ต่อกันอย่างเต็มภูมิก่อนจะผ่านไปได้แต่ละขั้นละภูมิ การที่สติปัญญาทำหน้าที่ต่อสมุทัยอันเป็นต้นเหตุแห่งปัญหานั้น เรียกว่าปัญหาเกิด และเรียกว่าแก้ปัญหาในวงปฏิบัติของนักภาวนาทั้งหลาย ดังนั้นผู้ก้าวเข้าสู่ความสงบบ้างแล้ว จึงควรใช้ปัญญาหาเหตุผลในลำดับต่อไป หรือเรียกว่าเริ่มต้นหาเรื่องให้เกิดปัญหา เพื่อปัญญาจะได้มีงานทำต่อไปไม่ว่างงาน อันเป็นลักษณะของคนขี้เกียจ ทำความสนิทติดจมอยู่กับความนอนใจที่เรียกว่าโมหะ กล่อมให้หลับตลอดเวลาไม่มีวันตื่นเอาเลย ซึ่งมิใช่ทางเดินของสมาธิ ปัญญา อันเป็นทางหลุดพ้นตามหลักของผู้แก้กิเลสด้วยสติปัญญา
    <o:p></o:p>
    แต่จะอธิบายระบุว่าปัญหาที่เกิดต้องเป็นปัญหานั้น ต้องเกิดในลักษณะนั้น และปัญญาที่จะนำมาแก้ไขปัญหาต้องเป็นปัญญาเช่นนั้น ต้องใช้อุบายอย่างนั้นดังนี้ย่อมไม่ได้ เรื่องทำนองนี้ต้องเป็นเทคนิค คือความแยบคายของแต่ละรายจะคิดผลิตขึ้นเพื่อเหมาะแก่กรณีนั้น ๆ เป็นข้อ ๆ และเป็นราย ๆ ไป เพราะคำว่าปัญหาก็ดี ปัญญาก็ดี มีมากมายและสลับซับซ้อนไปตามกลมารยาของกิเลสสมุทัย และความแยบคายของสติปัญญา ดังนั้นจึงลงไว้เท่าที่ควร ไม่ฟั่นเฝือเรื้อรังเกินไปจนทำให้ท้อถอยน้อยใจก่อนจะลงมือปฏิบัติ อย่างไรก็ตามการปฏิบัติทางใจเพื่อเหตุเพื่อผลจริง ๆ จำต้องมีปัญหาและปัญญาเป็นข้าศึกศัตรูกันตลอดไป จนถึงที่สุดของเหตุและผลโดยสมบูรณ์แล้วนั่นแล ปัญหาเกี่ยวกับสมุทัยก็ดี ปัญหาเกี่ยวกับมรรคเครื่องแก้ก็ดี ย่อมหมดไปตาม ๆ กัน

    <o:p>ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายจึงกรุณาหนักแน่นในสติกับปัญญา ที่จะพิสูจน์ปัญหาแง่ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวในทางสมาธิ และทางความรำพึงไตร่ตรองหรือทางปัญญา ให้ลุล่วงไปด้วยความมีเหตุผลเป็นเครื่องดำเนิน กิเลสที่แทรกอยู่กับปัญหานั้น ๆ จะหลุดลอยไปด้วยขณะที่ปัญหาสิ้นสุดลงแต่ละข้อ การอธิบายปัญหาที่จะพึงเกิดขึ้นโดยทางสมาธิและทางปัญญา ที่คิดว่าพอเป็นแนวแก่ท่านผู้สนใจก็นับว่าพอสมควร จึงยุติไว้เพียงนี้<o:p></o:p>
    </o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การสนทนาธรรมของพระกรรมฐาน ย่อมมีการเกี่ยวโยงไปถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากด้านสมาธิและด้านปัญญาอย่างแยกไม่ออก จึงได้นำเรื่องที่ควรคิดหรือเป็นตัวอย่างบางตอนของผู้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติมาลงไว้ ดังเรื่องของแม่ชีคนนั้นเป็นต้น ที่นำมาลงนี้เพียงเอกเทศเท่านั้น มิได้กว้างขวางมากมายนัก ดังที่ปรากฏกับท่านผู้ปฏิบัติเองเป็นราย ๆ ไปที่มีนิสัยต่าง ๆ กัน การสนทนาธรรมของท่านจึงรู้สึกสลับซับซ้อนมาก ตามภูมิของผู้ปฏิบัตินั้นๆ จะรู้เห็นไปในแง่ต่างๆ กัน ปัญหาที่เกี่ยวกับสมาธิที่รวมลงแล้วมีลักษณะแสดงออกอย่างไรในขณะนั้นบ้าง รวมลงแล้วหยุดอยู่ในขั้นใด เช่น ขั้นขณิกะ อุปจาระ อัปปนา บ้าง ขณะที่รวมลงเพียงขั้นอุปจาระ จิตออกไปสัมผัสรับรู้กับอะไรบ้าง ซึ่งเป็นสมาธิที่มักมีปัญหามากกว่าสมาธิอื่น ๆ บ้าง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เหล่านี้เป็นแหล่งแห่งปัญหาที่ผู้ปฏิบัติอาจปรากฏเป็นบางราย แล้วนำมาสนทนากับหมู่คณะหรือครูอาจารย์ที่ตนเคารพเชื่อถือ ด้วยความจำเป็น ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับภูมินี้หรือภูมิปัญญาเป็นขั้น ๆ ก็นำมาสนทนาต่อกัน เพื่อทดสอบความรู้ความเห็นให้เป็นที่แน่ใจทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้มาศึกษาไต่ถามก็แน่ใจว่าไม่มีความล่อแหลมต่อความผิดพลาดในบรรดาปัญหาที่สนทนาผ่านมาแล้ว ฝ่ายผู้ให้การศึกษาก็แน่ใจว่าปัญหาของท่านนั้นเป็นไปในร่องรอยเพื่อการถอดถอนกิเลส และเป็นเครื่องส่งเสริมในการพิจารณาเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามความจำเป็น
    <o:p></o:p>
    ปัญหาเกี่ยวกับความติดขัดในการพิจารณาเพื่อผ่านไปเป็นพัก ๆ นี้สำคัญมาก ขณะพิจารณานั้นจิตติดอยู่กับอะไร จะควรพิจารณาแก้ไขอย่างไรจึงจะถูกและจะผ่านไปได้ คู่สนทนาหรืออาจารย์ต้องพยายามชี้แจงวิธีแก้ไขจุดนั้น ๆ จนเป็นที่เข้าใจ เพื่อผู้นั้นจะนำไปปฏิบัติถูกและได้ผลเป็นระยะไป ปัญหาต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นแต่ละปัญหาทั้งด้านสมาธิและด้านปัญญาขั้นนั้น ๆ ย่อมสร้างความหนักใจแก่เจ้าของได้พอดู นอกจากจะวินิจฉัยด้วยตัวเองแล้ว ยังต้องอาศัยท่านที่เคยผ่านมาแล้วเป็นคู่ปรึกษาเป็นทอด ๆ ไป เพื่อความแน่ใจในการปฏิบัติ และปัญหาที่วินิจฉัยและปรึกษาแล้วนั้นเป็นความมั่นใจด้วยเหตุผลสมบูรณ์แล้ว ด้วยเหตุนี้พระกรรมฐานจึงมักมีการสนทนาธรรมกันอยู่เสมอ เนื่องจากการปฏิบัติเป็นไปอยู่ตลอดเวลา
    <o:p></o:p>
    เวลาท่านสนทนากันอย่างถึงพริกถึงขิง ถึงเหตุผลอรรถธรรมจริง ๆ นั้น ท่านมักสนทนากันระหว่างสองต่อสอง การสนทนาแบบนี้ต้องเป็นโอกาสเหมาะๆ และนานๆ ท่านจะได้มาพบกัน ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีความกระหายอยากฟังผลแห่งการปฏิบัติธรรมทางใจของกันและกัน การสนทนาจึงมักเริ่มต้นจากการปฏิบัติ หนึ่ง เริ่มจากที่เคยสนทนากันแล้วเป็นต้นไป หนึ่ง โดยฝ่ายหนึ่งเริ่มเรื่องของตัวจากลำดับดังกล่าวเรื่อยไปจนถึงปัจจุบันที่จิตกำลังเป็นอยู่ ลำดับต่อไปถ้ายังไม่มีโอกาสซักซ้อมปัญหาที่ผู้ฟังข้องใจ ผู้ฟังก็เริ่มเล่าเรื่องของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งฟังต่อไป เริ่มแต่ต้นจนเต็มภูมิที่รู้ที่เป็นมา จากนั้นถ้าท่านผู้ใดยังข้องใจในแง่แห่งธรรม หรือปัญหาที่มีแฝงอยู่ในธรรมที่ฝ่ายหนึ่งเล่าให้ฟัง ท่านผู้นั้นก็สนทนาซักซ้อมความเข้าใจต่อกันต่อไปอีก จนเป็นที่ลงกันได้ด้วยความสนิทใจ<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...