ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น เรียบเรียงโดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 มิถุนายน 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จิตที่สงบลงด้วยการฝึกทรมานเพราะความกลัวเป็นเหตุ รู้สึกว่าสงบได้ละเอียดและนานกว่าการภาวนาธรรมดาอยู่มาก ขณะที่จิตสงบอย่างละเอียดเต็มที่ ในเวลานั้นกายหายจากความรู้สึกโดยสิ้นเชิง อายตนะภายในกับอายตนะภายนอกระงับจากการสัมผัสกัน จนกว่าจิตถอนขึ้นมาจึงจะทำงานต่อไป ความเป็นอยู่ของจิตที่ระงับจากการใช้อายตนะคล้ายคลึงกับขณะหลับแต่ไม่ใช่หลับ ขณะหลับมิได้มีความแปลกประหลาดใดๆ แสดงออกในเวลานั้น แต่ขณะจิตสงบเต็มที่มีความแปลกประหลาดแสดงออกอย่างเต็มตัวและมีความสักแต่ว่า "รู้" ประจำความสงบอยู่ในขณะนั้น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ความหลับธรรมดาที่ทั่วไปยอมรับผลของมันนั้น ต่างกับความสงบจิตอย่างละเอียดที่ผู้นั้นยอมรับผลจากสมาธิภาวนาของตน ผลนั้นทำให้ติดใจอาลัยอาวรณ์อยู่เสมอ ไม่จืดจาง ผลนี่แลที่ทำให้ผู้เคยได้รับเกิดความมั่นใจและกล้าหาญต่อวิธีฝึกทรมานตัวตามแบบนี้ในวาระต่อไป ผู้ที่เคยประสบผลมาแล้ว แม้ความกลัวจะเกิดขึ้นมากมายเพียงไรก็ไม่มีความย่อท้อ และยังถือความกลัวเป็นเครื่องเตือนใจ ที่จะทรมานทั้งความกลัวและคว้าเอาชัยชนะมาครองอย่างองอาจ ดังที่เคยประสบมาอีกด้วย นี่แลเป็นสาเหตุให้ท่านเสาะแสวงหาแต่ที่กลัวๆ เป็นที่บำเพ็ญ ที่กลัวมากเพียงไร ท่านยิ่งมุ่งหน้าไปพักบำเพ็ญอยู่ที่นั้น เพราะการฝึกทั้งที่ใจกำลังแสดงความผาดโผนอยู่ด้วยความกลัว จนเกิดความกล้าหาญประจักษ์ขึ้นมา ด้วยอุบายสติปัญญาที่ทันต่อเล่ห์เหลี่ยมของใจ เป็นสิ่งที่ท่านปรารถนาอยู่แล้วอย่างเต็มใจ
    <o:p></o:p>
    ที่ว่าสถานที่น่ากลัวนั้น น่ากลัวจริงๆ เพราะเป็นป่าเสืออาศัยอยู่เป็นประจำ และชอบเดินเที่ยวหากินผ่านไปมาอยู่เสมอ บางแห่งแม้กลางวันแสกๆ เสือยังเที่ยวไปมาก็ยังมี ยิ่งกลางคืนด้วยแล้วก็เป็นทำเลเที่ยวของมันโดยสะดวกและไม่ค่อยกลัวคนด้วย ผิดกับเวลากลางวันอยู่มาก เป็นเพียงมันไม่ค่อยสนใจกับคนนักเท่ากับสัตว์ที่เคยถือเป็นอาหารของมัน ถึงแม้เดินผ่านไปมาแถวบริเวณที่พักอยู่ก็เป็นเหมือนไม่มี ถ้ามันไม่ร้องครางขึ้นให้ได้ยิน แต่สัญชาตญาณที่เคยมีประจำนิสัยมนุษย์มาดั้งเดิมว่าเสือเป็นสัตว์ที่ดุร้าย ก็ย่อมอดคิดและกลัวไม่ได้ เพราะขณะที่ก้าวเข้าไปอยู่ในที่เช่นนั้นก็รู้สึกตัวดีอยู่แล้วว่า "ไปอยู่ดงเสือ" ใครจะหาญทำตัวเฉยๆ เหมือนอยู่ในตลาดได้ ก็จำต้องคิดระแวงและกลัวมันอยู่โดยดี
    <o:p></o:p>
    พระธุดงค์ที่ท่านเก่งท่านก็เก่งจริง น่าเคารพเลื่อมใสมาก คือ ขณะเสือกระหึ่มๆ อยู่รอบๆ บริเวณที่พัก ท่านยังเดินจงกรมเฉยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เมื่อถูกถามท่านก็ตอบอย่างสบายและมีเหตุผลน่าฟังมาก เช่นถามว่า เสือเป็นสัตว์ดุร้ายกัดได้กินได้ทั้งสัตว์ทั้งคน เคยได้ยินเสือกัดและกินคนอยู่เสมอ แต่ทำไมท่านจึงเดินจงกรมเฉยอยู่ได้ ท่านมีคาถาอาคมใส่กุญแจปากเสือให้อ้าปากกัดกินคนไม่ได้อย่างนั้นหรือ? ถ้ามีก็ขอเรียนบ้าง เผื่อเวลาเข้าป่าเข้าเขาจะไม่ต้องกลัวเสือกลัวหมีมากัดมากิน จะได้ภาวนาสบายหายกลัวเสียบ้าง เท่าที่ไปอยู่ป่าอยู่เขาด้วยความลำบากอยู่เวลานี้ก็เพราะความกลัวอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าไม่กลัวเพราะมีคาถาปิดปากป้องกันมิให้เสืออ้าปากกัดกินได้ก็แสนจะสะดวกสบาย
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านก็ตอบอย่างสบายว่า เสือมันก็ร้องอยู่โน่น ส่วนเราก็เดินจงกรมอยู่ที่นี่ ซึ่งห่างไกลกันเป็นเส้นๆ หรือเป็นกิโลเมตร ก็ไม่ทราบจะกลัวหาประโยชน์อะไร ถ้ามันเข้ามาร้องครางและทำท่าจะตะครุบเรากินเป็นอาหารจริงๆ ก็พอจะคิดน่ากลัวมันบ้าง เราไปอยู่ที่ไหนก็ได้ยินแต่เสียงมันร้องไปตามภาษาสัตว์ที่มีปาก ไม่เห็นมาทำท่าอะไรใส่เราพอจะน่ากลัว พูดถึงคาถาต่างๆ ใครก็มีอยู่ด้วยกัน ถ้าจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่คนแบบท่านแม้จะไปเรียนคาถาจากท้าวเวสสุวรรณบนสวรรค์ก็เถอะ พอเข้าไปป่า ได้ยินเสียงเสือกระหึ่มเท่านั้น ก็จะพาคาถาวิ่งอ้าวแบบไม่คิดชีวิตเลยนั่นแหละ คาถาจะเก่งขนาดไหนก็ต้องถูกคนขี้ขลาดกลัวตายพาวิ่งจนสบงจีวรหลุดขาด คาถาอาคมหลุดหายไปไหนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัวเลยแน่นอน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ผมแม้มีคาถาป้องกันอยู่บ้างก็ไม่คิดจะให้คนแบบท่าน กลัวจะเอาคาถาผมไปฉิบหายป่นปี้ไม่มีเหลือ คาถาจะดีขนาดไหน ถ้าคนไม่เป็นท่า คาถาก็ช่วยอะไรไม่ได้เหมือนคนมีปืนอยู่บนบ่า เวลามีเหตุอันตรายแต่ไม่รู้จักใช้ ปืนก็ช่วยอะไรไม่ได้ฉะนั้น นี่เพียงพูดเรื่องเสือเรื่องผีกันเล็กน้อยเท่านั้นก็เริ่มกลัวแทบตัวสั่นอยู่แล้ว จะไปมีสติสตังระลึกถึงคาถาอาคมเพื่อป้องกันได้อย่างไร นอกจากจะคิดเผ่นท่าเดียว ซึ่งเป็นเรื่องขายขี้หน้าชนิดไม่มีอะไรมาลบล้างได้ตลอดวันตาย ผมน่ะมิได้คิดแบบท่าน ถ้าคิดแบบท่านก็ต้องไปเที่ยวเรียนวิชาคาถาอาคมมาข่มขู่สัตว์เสือต่างๆ แต่จะไม่สนใจคิดข่มขู่ความกลัวอันเป็นภัยอยู่ภายในด้วยอุบายต่างๆ ให้หายไปได้ สุดท้ายก็เป็นคนไม่เป็นท่า เชื่อตัวเองไม่ได้ตลอดวันตาย คิดแล้วน่าอับอายเสือที่มีอำนาจกว่าคน นอนหรือร้องครางไปตามภาษาความสนุกคึกคะนองของตน ก็มีคนคอยกลัวอำนาจ นับว่าเสือดีมีอำนาจกว่าคนไม่เป็นท่าหลายเท่า เวลาถามและขอเรียนคาถากับท่าน แต่กลับได้รับคำตอบที่น่าคิดเป็นคติไปนาน
    <o:p></o:p>
    ท่านที่ฝึกจิตดวงเคยผาดโผนโลดเต้นเผ่นผยองลำพองตัวไม่มีขอบเขต ด้วยความพยายามไม่ลดละ จนยอมตนและกลายเป็นจิตที่เชื่องชินต่อเหตุผลอรรถธรรมด้วยดีแล้ว ท่านไม่สะทกสะท้านต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่ใครๆ จำต้องเผชิญอยู่เสมอ อยู่ไหนก็อยู่ได้ ไปไหนก็ไปได้ ไม่ว่าที่เช่นไร คำว่าป่าว่าเขาที่คนขี้กลัวอยู่ไม่ได้ แต่ท่านอยู่ได้อย่างสบาย และถือเป็นที่หลบซ่อนผ่อนคลายอิริยาบถและเจริญสมณธรรมอย่างพอใจไปตลอดกาล
    <o:p></o:p>
    ผู้หวังเป็นคนดีเจริญก้าวหน้าจึงควรยึดวิธีการของท่านเป็นเครื่องดำเนิน แม้จะไม่ต้องไปอยู่ป่าอยู่เขาเหมือนท่าน แต่อุบายเครื่องฝึกตนในหน้าที่ต่างๆ เพื่อเป็นคนดีมีหลักฐานมั่นคงในปัจจุบันและในอนาคต เป็นสิ่งที่รับถ่ายทอดจากกันได้ ไม่เช่นนั้นพระพุทธเจ้าก็ประกาศธรรมสอนโลกไม่ได้เลย เพราะใครๆ ไม่สามารถปฏิบัติแบบพระองค์ได้ แต่ผู้ยึดหลักธรรมไปปฏิบัติดำเนินตามจนกลายเป็นคนดีเลิศไปตาม และเป็นคนดีมีขื่อมีแปมาจนถึงพวกเราในวงพุทธบริษัท ย่อมเป็นที่ยอมรับกันว่ามีจำนวนมากมาย เนื่องจากการปฏิบัติตามท่านแบบลูกศิษย์มีครู<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การฝึกทรมานจิตด้วยวิธีต่างๆ ตามแต่ท่านผู้ใดมีความแยบคายในทางใด สำหรับพระธุดงค์สายของท่านพระอาจารย์มั่น ท่านปฏิบัติกันตลอดมามิได้ทอดทิ้งปฏิปทาท่านอาจารย์ท่านดำเนินจนทุกวันนี้ ท่านที่เกิดความสงสัยในองค์ที่ท่านเดินจงกรมแข่งกับเสียงเสือกระหึ่ม คิดว่าท่านมีคาถากุญแจปิดปากเสือนั้น ท่านคิดอย่างนั้นจริงๆ เพราะตัวท่านเองกลัวเสือมาก เวลาได้ยินเสียงมันกระหึ่มมาแถบบริเวณที่พัก แม้จะไม่เข้ามาในที่นั้นก็ตาม ท่านจึงต้องเรียนถามอย่างนั้น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ในวงพระธุดงค์ ท่านสนทนาธรรมกันเวลามาพบกันและโอกาสดีๆ รู้สึกน่าฟังมาก ทั้งด้านธรรมทางใจที่เกิดจากภาคปฏิบัติ ทั้งการทรมานและวิธีทรมานจิตใจด้วยอุบายต่างๆ กัน ทั้งความกล้าความกลัวที่แสดงขึ้นในเวลาต่างๆ กัน ทั้งความทุกข์ลำบากที่เกิดจากการหักโหมกายและทรมานใจในบางกาล ซึ่งสำคัญมากก็ด้านธรรมภายใน คือสมาธิและปัญญา ที่ต่างองค์ต่างรู้ต่างองค์ต่างเห็นอยู่ในสถานที่ต่างๆ กัน เวลามาสนทนากันตามภูมิจิตภูมิธรรมของแต่ละองค์ที่รู้เห็นมา ทำให้เพลิดเพลินไปตามจนลืมเวล่ำเวลาและความเหน็ดเหนื่อยต่างๆ ในบางรายแต่มีน้อย
    <o:p></o:p>
    ท่านพูดถึงจิตท่านหยั่งลงสู่ความสงบว่า ลงถึงสามขณะจึงจะเต็มภูมิของสมาธิ คือลงขณะหนึ่ง จิตสงบเพียงเบาๆ พอสบายๆ ลงขณะที่สอง ความสงบและความสบายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ลงขณะที่สาม ซึ่งเป็นขณะสุดท้าย ร่างกายดับ ในความรู้สึกว่ากายไม่มี อายตนะไม่ทำงาน ยังเหลือเพียงสักว่ารู้อย่างละเอียดและอัศจรรย์อย่างยิ่งที่บอกไม่ถูกเท่านั้น นี่ท่านว่าเป็นสมาธิเต็มภูมิและเป็นสมาธิที่สร้างฐานแห่งความมั่นคงให้แก่จิตได้เป็นอย่างดี ใจที่ลงสู่ความสงบเต็มที่ดังภูมินี้ โดยมากพักอยู่เป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง จึงถอนขึ้นมา บางครั้งถึง ๑๒ ชั่วโมงก็มี
    <o:p></o:p>
    บางท่านอาจสงสัยว่า ขณะที่จิตอยู่ในสมาธิหลายชั่วโมงในท่านั่งอย่างเดียวมิได้มีการเปลี่ยนแปลงเลย เวลาจิตถอนขึ้นมาแล้ว ร่างกายจะไม่เจ็บปวดชอกช้ำไปละหรือ? จึงขอเรียนตามความเป็นของจิตและขันธ์ว่า เมื่อจิตเข้าพักและสงบตัวอยู่อย่างเต็มภูมิเช่นนั้น จิตและกายไม่ได้รับความกระเทือนจากสิ่งใดเลย ความสนิทของจิตของธาตุที่เป็นอยู่เวลานั้น เข้าใจว่าละเอียดยิ่งกว่าขณะคนนอนหลับสนิท ทั้งนี้เพราะบางครั้งขณะหลับไปนานๆ ตื่นขึ้นมายังรู้สึกเจ็บปวดอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งอยู่บ้างที่ถูกนอนทับ แต่ขณะที่จิตถอนขึ้นมาจากสมาธิประเภทนี้ ไม่รู้สึกเจ็บปวดอวัยวะส่วนใดๆ เลย ทุกส่วนปกติตามเดิม ฉะนั้นจึงทำให้เชื่อมั่นในท่านที่เข้านิโรธสมาบัติอยู่หลายๆ วันว่าเป็นความจริง ทั้งการเข้าอยู่ได้นาน ทั้งสุขภาพทางร่างกายว่าเป็นปกติเช่นเดิม ไม่มีอะไรบอบช้ำเพราะสมาธิสมาบัติเป็นเครื่องบั่นทอนหรือทำลายเลย<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การสนทนาธรรมระหว่างพระธุดงค์ด้วยกัน โดยมากท่านสนทนาเรื่องผลของการปฏิบัติตามชั้นภูมิที่ตนรู้เห็นมา และสถานที่บำเพ็ญในที่ต่างๆ อันเป็นการถ่ายทอดความรู้ความเห็นทางใจแก่กันและกันจริงๆ ซึ่งเป็นเครื่องระลึกไปนาน การสนทนามิได้มีเรื่องโลกสงสาร กิจการบ้านเมือง เรื่องได้เรื่องเสีย เรื่องรักเรื่องชัง เรื่องโกรธเรื่องเกลียด เรื่องอิจฉาบังเบียดเหยียดหยามเข้าแฝงเลย มีแต่เรื่องธรรมปฏิบัติล้วนๆ เท่านั้น จะสนทนากันเป็นเวลาช้านานเพียงไรตามความจำเป็น ก็เป็นเครื่องพยุงจิตใจผู้ฟังให้ดื่มด่ำซาบซึ้งในธรรมมากเพียงนั้น รู้สึกเป็นอุดมคติซึ่งน่าจะจัดเข้าในธรรมบทว่า กาเลน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เพราะการสนทนาในระหว่างแห่งท่านนักปฏิบัติด้วยกัน ท่านมุ่งต่อความรู้จริงเห็นจริงต่อกันจริงๆ มิได้มุ่งเพื่ออวดชั้นอวดภูมิ อวดรู้อวดฉลาดแม้น้อยเพียงไรเลย จิตคอยรับความจริงด้วยความสนใจจากกันอยู่ทุกขณะที่แต่ละฝ่ายระบายออกมา ถ้าฝ่ายใดยังมีบกพร่องในจุดใด ก็ยอมรับคำชี้แจงจากอีกฝ่ายหนึ่งที่ภูมิธรรมสูงกว่า ด้วยความเคารพเต็มใจจริงๆ การสนทนาก็คือการสอบถามความรู้ความเห็นความเป็นไปของจิตที่เกี่ยวกับสมาธิสมาบัติมรรคผลนิพพานของกันและกันนั่นเอง เมื่อต่างฝ่ายต่างสนิทเชื่อถือคุณสมบัติปฏิปทาของกันและกันอย่างไม่มีเคลือบแคลงสงสัยแล้ว ย่อมสนทนากันได้ด้วยความสนิทใจและเปิดเผยต่อกันในบรรดาธรรมที่มีอยู่ภายใน ไม่มีปิดบังลี้ลับไว้เลย
    <o:p></o:p>
    ตอนนี้แลที่นักปฏิบัติมีโอกาสได้รู้ภูมิธรรมของกันและกันได้อย่างชัดเจนว่า ท่านผู้นั้นมีภูมิจิตภูมิธรรมอยู่ในขั้นนั้น ท่านผู้นั้นมีจิตละเอียด ท่านผู้นั้นมีปัญญาสูง ท่านผู้นั้นจวนผ่านภพชาติอยู่แล้ว และท่านผู้นั้นได้ผ่านภพชาติไปแล้วอย่างสบายหายห่วง ส่วนท่านผู้นี้กำลังขี้เกียจอ่อนแอ ภาวนามีแต่สัปหงก นั่งสมาธิมีแต่หลับใน นั่งอยู่ที่ไหนหลับในที่นั้น ท่านผู้นี้มีเอตทัคคะในทางหลับใน ในวงพระธุดงค์จึงไม่ควรเข้าใจว่าพระธุดงค์จะดีไปเสียทุกองค์ แม้ผู้เขียนก็ตัวเก่ง เคยหลับในมาแล้วอย่างช่ำชอง แต่ไม่อยากอวดตัว ท่านผู้นี้จิตกำลังเริ่มสงบ ท่านผู้นี้จิตกำลังเริ่มเป็นสมาธิ ท่านผู้นี้มีความรู้แปลกๆ เกี่ยวกับสิ่งภายนอก มีเปรตผีเทวดาเป็นต้น ท่านผู้นี้ชอบภาวนาทางนั่ง ท่านผู้นี้ชอบภาวนาทางนอน ท่านผู้นี้ชอบทรมานทางยืนมากกว่าอิริยาบถอื่นๆ
    <o:p></o:p>
    ท่านผู้นี้ชอบทรมานตนทางอดนอน ท่านผู้นี้ชอบทรมานตนทางผ่อนอาหาร ท่านผู้นี้ชอบทรมานตนทางอดอาหาร ท่านผู้นี้ชอบทรมานตนด้วยการเข้าป่าหาเสือหาหมีเพื่อเป็นอุบายช่วยความกลัวให้หายด้วยการพิจารณา โดยยึดเอาเสือหมีเป็นเหตุ ท่านผู้นี้ชอบทรมานด้วยการเดินเที่ยวหาเสือบนภูเขาในเวลาค่ำคืน ท่านผู้นี้ชอบต้อนรับแขกลึกลับคือพวกกายทิพย์ แต่ท่านผู้นี้ชอบกลัวแต่ผีแต่เปรตเหมือนพ่อแม่พาเกิดในบ้านผีบ้านเปรตและเอาซากผีมาหลอกหลอนอยู่ตลอดเวลา เมื่อมาบวชจึงชอบกลัวแต่เปรตประจำนิสัย<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านผู้นี้มีนิสัยเชื่อง่าย ใครพูดอะไรเชื่อเอาๆ ไม่ชอบใคร่ครวญก่อนแล้วค่อยเชื่ออย่างมีเหตุผล ท่านผู้นี้มีทิฐิมากไม่ค่อยลงใครง่ายๆ ท่านผู้นี้มีนิสัยฉลาดชอบใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยดีก่อนทุกกรณี ไม่เชื่อแบบสุ่มเดา เวลาอาจารย์อบรมสั่งสอนจบลงก็มักมีข้อข้องใจเรียนถามปัญหาต่างๆ และโต้ตอบกันเพื่อเหตุเพื่อผล ทำให้ผู้อื่นได้รับความรู้ความฉลาดเพิ่มเติมหลายแง่หลายทาง และเป็นอุบายช่วยเสริมสติปัญญาแก่วงปฏิบัติได้ดี เป็นผู้ประดับหมู่คณะให้สง่างามในวงปฏิบัติ เป็นที่เบาใจครูอาจารย์ผู้ให้การอบรมสั่งสอน ไปอยู่ที่ใด อยู่กับท่านผู้ใด ก็เป็นที่เบาใจท่านผู้นั้น ไปอยู่โดยลำพังก็พยายามรักษาตัวดีด้วยเหตุผลหลักธรรม ไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่วงคณะ การติดต่อกับผู้คนญาติโยมก็พอเหมาะพองาม ไม่เลยเถิดเปิดเปิง ซึ่งในวงพระธุดงค์มักมีทำนองนี้แทรกอยู่เสมอ โดยมากก็ไม่มีเจตนาให้เป็นอย่างนั้น แต่เพราะความไม่ฉลาดรอบคอบอย่างเดียว ทำให้เสียความดีงามอย่างอื่นไปด้วย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อีกประการหนึ่งที่มักมีเสมอในวงปฏิบัติ คือ เวลาจิตเป็นสมาธิย่อมมีความสงบมั่นคง ไม่วอกแวกคลอนแคลนไปกับโลก ใจมักมีโวหารปฏิภาณเป็นพิเศษ ทำให้ผู้ปฏิบัติลืมตัวได้ง่าย อาจสำคัญตนว่าเก่งขึ้นได้ทั้งที่ยังไม่เก่ง เป็นเพียงจะเริ่มเก่งถ้าพยายามทำความเพียรไม่ลืมตัวเสียก่อน แต่นักปฏิบัติมักลืมตัวตอนนี้มากกว่าตอนอื่นๆ เพราะไม่เคยประสบมาในชีวิต และเป็นก้าวแรกแห่งความดี ความสงบสุขทางใจ ความมั่นคงของใจที่ผู้ปฏิบัติเพิ่งได้รับ จึงทำให้ตื่นเต้นลืมตนไปได้ ถ้าไม่มีผู้เตือนก็อาจจะทะนงตัวแบบนักธรรมะไปได้ โดยทะนงตัวว่าธรรมะเกิด โวหารแตกฉานเทศน์ปฏิภาณก็ได้ ต่อไปอาจเข้าใจว่าตัวเทศน์เก่ง ธรรมะก็แตกฉานภายในใจ พูดเท่าไรธรรมะยิ่งไหลออกมาเหมือนน้ำเหมือนท่า ไม่อัดไม่อั้น เลยทำให้เพลินพูดไปไม่หยุดหย่อน กว่าจะรู้สึกตัว เวลาก็ปาเข้าไปหลายชั่วโมงในการพูดหรือเทศน์แต่ละครั้ง
    <o:p></o:p>
    การติดต่อกับผู้คนไม่รู้เวล่ำเวลาว่าควรไม่ควร พูดไม่รู้จักจบ เทศน์ไม่มี เอวํ ธรรมะมีเท่าไรขุดค้นออกมาพูดและเทศน์จนหมดเปลือก ใครมาหาโดยไม่ทราบว่าเขามาเพื่ออะไร มีแต่แจกจ่ายธรรมอย่างไม่อั้น ไม่เสียดาย ไม่ประหยัด ธรรมในใจแม้มีน้อยแต่ก็ชอบจ่ายให้มากอย่างสมใจ จ่ายไปจ่ายไป โดยไม่มีการบำรุงรักษาด้วยความเพียรอันเป็นดังทำนบกั้นธรรมภายในใจไม่ให้รั่วไหล แต่กลับทำลายด้วยความไม่รู้จักประมาณ แม้แต่น้ำในมหาสมุทรก็ยังลดตัวลงได้ ใจที่ไม่ได้รับการเหลียวแลทางความเพียรและประหยัดด้วยเวลา ก็มีทางเสื่อมลงได้เช่นเดียวกัน<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฉะนั้นจิตที่จ่ายมากแต่ขาดการบำเพ็ญติดต่อ ก็ย่อมมีความเสื่อมถอยด้อยลงทุกทีจนไม่มีอะไรเหลืออยู่ภายในเลย สุดท้ายก็เหลือแต่ความฟุ้งซ่านรำคาญเต็มดวงใจเอาไว้ไม่อยู่ นำลงสู่ความสงบไม่ได้เหมือนที่เคยเป็นมา ใจเปลี่ยนจากความสงบเย็น กลายเป็นใจฟุ้งเฟ้อเห่อคะนองและร้อนรุ่มกลุ้มใจ ยืนเดินนั่งนอนในท่าใดก็มีแต่ไฟเผาใจหาความสงบเย็นไม่ได้ เมื่อไม่มีทางออกก็คิดออกทางเปลวไฟ อันเป็นทางซ้ำเติมลงอีกโดยไม่รู้ตัวว่า ก็เมื่อมีแต่ความร้อนรนกระวนกระวายอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้แล้ว จะอยู่ไปทำไมให้หนักศาสนาเล่า สึกเสียดีกว่า อยู่ไปก็ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร เลยต้องสึกเสียเพื่อหายห่วงไปตามอารมณ์ดังนี้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ความคิดที่ไม่เป็นมงคลทั้งขณะที่กำลังเป็นนักบวชอยู่แล้ว แม้สึกออกไปก็ไม่เป็นมงคลด้วยความคิดชนิดนั้น คือ แม้สึกออกไปก็ไม่ดีอยู่ตามเคย และไม่เป็นประโยชน์อยู่ตามเดิม เวลาสึกออกไปว่าจะทำให้ศาสนาเบาก็ไม่เบา คงเป็นศาสนาและทรงความจริงอยู่เท่าเดิม
    <o:p></o:p>
    สรุปแล้วผู้ไม่ดีก็คือตัว ไม่เกิดประโยชน์ก็คือตัว ความหนักอกเพราะใจทำพิษก็คือตัว เรื่องนี้พอสอนให้รู้ว่า ไม่ว่าสมบัติใดๆ ถ้ามีแต่จับจ่ายใช้สอยถ่ายเดียว ไม่มีการเก็บรักษา ก็ย่อมเสื่อมโทรมและฉิบหายไปได้ ทำนองใจที่ปล่อยไปตามยถากรรม ผลก็คือความเดือดร้อนที่ตัวเองต้องรับในที่ทุกสถานตลอดกาลทุกเมื่อ เพราะความผิดถูก ชั่ว-ดี มิใช่ทายาทของผู้ใด แต่เป็นของผู้ทำไว้โดยเฉพาะเท่านั้นจะพึงรับแต่ผู้เดียว ท่านจึงสอนให้ระวังรักษาตัวด้วยดี ไม่ปล่อยปละละเลยไปตามอารมณ์ เวลาผลไม่ดีแสดงตัวแล้วลำบากมาก เพราะผลนี้หนักกว่าภูเขาตั้งร้อยลูกเป็นไหนๆ ปราชญ์ท่านจึงกลัวกันและสั่งสอนให้กลัวความชั่วตลอดมาจนปัจจุบันทุกวันนี้ เนื่องจากท่านทราบชัดในผลกรรมดี-ชั่วว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง
    <o:p></o:p>
    ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ที่พระธุดงค์นับแต่ผู้ใหญ่ลงมาถึงผู้น้อย ท่านทราบภูมิจิตของกันและกันได้โดยไม่ต้องมีญาณหยั่งทราบทางภายใน เพราะการสนทนาธรรมในวงพระกรรมฐานท่านถือเป็นสำคัญ และเป็นไปอยู่เสมอมิได้ขาด โดยถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นของกันและกัน และเป็นสัมโมทนียกถา เครื่องรื่นเริงในธรรมที่ต่างได้ปฏิบัติและรู้เห็นมา มีโอกาสก็สนทนากันตามแต่ท่านผู้ใดมีความรู้หยาบละเอียดประการใด เวลาท่านสนทนากันเราก็มีโอกาสทราบได้ในเวลานั้น ยิ่งเป็นครูอาจารย์ผู้ใหญ่สนทนากันด้วยแล้วก็ยิ่งน่าฟังมาก ธรรมท่านมีแต่ชั้นสูงๆ ฟังแล้วอัศจรรย์ อยากเอาหัวมุดดินลงในขณะนั้นด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ และละอายในความสามารถวาสนาของตน ที่ต่ำต้อยด้อยสติปัญญา ไม่สามารถรู้เห็นได้อย่างท่าน<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขณะฟังท่านสนทนากัน ทั้งไพเราะจับใจ ทั้งอัศจรรย์ ทั้งอยากรู้อยากเห็นอย่างท่านแทบใจจะขาด แต่สติปัญญาที่จะช่วยให้รู้เห็นอย่างท่านไม่ทราบว่าไปจมอยู่ที่ไหน คิดหาก็ไม่พบ ค้นหาก็ไม่เจอ มันมืดมิดปิดบังไปเสียหมด ประหนึ่งจะไม่ปรากฏอะไรขึ้นมาให้ได้ชมพอเป็นขวัญใจบ้าง ตลอดชีวิตลมหายใจคงจะตายกับซากแห่งความโง่เขลาไปเปล่าๆ มองดูหมู่เพื่อนที่นั่งฟังอยู่ด้วยกันที่สง่างามไปด้วยความสงบ ราวกับจะเหาะบินสิ้นกิเลสไปเสียหมด ทิ้งเราผู้ไม่เป็นท่าอันหาสติปัญญาเครื่องเปลื้องตนมิได้ ให้ตายจมอยู่ในวัฏวนเพียงคนเดียว ยิ่งคิดก็ยิ่งคับแคบแน่นหัวอก ใจสะทกสะท้านเหมือนถูกทอดทิ้งอยู่ในป่าเปลี่ยวคนเดียว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เวลาเลิกจากธรรมสภาก็แอบไปไต่ถามหมู่เพื่อนว่า ฟังธรรมสากัจฉาท่านแล้ว ใจเป็นอย่างไรบ้าง สำหรับผมเองแทบอกจะแตกตายอยู่ในที่นั้นเสียแล้ว ด้วยความอัศจรรย์ในธรรมที่ท่านสนทนากัน เวลากลับมามองดูตัวเป็นเหมือนกาตัวจับภูเขาทองเราดีๆ นี่เอง คิดแล้วอยากมุดดินให้สิ้นซากไปเสีย คิดว่าคงจะเบาพระศาสนา ไม่หนักอึ้งไปด้วยคนอาภัพอับวาสนาที่ทำการกดถ่วงอยู่ตลอดมาดังที่เป็นอยู่เวลานี้ ส่วนท่านและหมู่คณะที่ได้ยินได้ฟังด้วยกันมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง กรุณาเล่าให้ผมฟังตามความจริง เผื่อเป็นธรรมคติพอมีลมหายใจสืบต่อไป ไม่อัดอั้นตันอุราเหมือนใจจะขาดอยู่เวลานี้บ้าง
    <o:p></o:p>
    ท่านองค์ใดพูดขึ้นส่วนมากมักมีลักษณะเดียวกัน เพราะต่างองค์มีความกระหยิ่มในธรรมท่านมาก แล้วหวนมามองดูตัวที่อยากเป็นดังท่าน แต่เมื่อเหตุปัจจัยยังไม่สามารถเป็นไปได้ ก็เกิดความเสียใจขึ้นมา ผลจึงแสดงความทุกข์ในลักษณะต่างๆ ให้ปรากฏ พอได้ทราบจากหมู่คณะที่กำลังรับการอบรมศึกษาเล่าให้ฟัง จึงพอมีลมหายใจคืนมาบ้างและตั้งหน้าปฏิบัติตนต่อไป ไม่เกิดความเดือดร้อนกลัวจะไม่ได้ไม่ถึงต่างๆ อันเป็นการเบียดเบียนตนโดยใช่เหตุ
    <o:p></o:p>
    ที่พูดผ่านมาว่า พระธุดงค์บางท่านกล้าสละชีวิตไปนั่งอยู่ที่ทำเลเสือเที่ยวไปมาหากินในเวลาค่ำคืนบ้าง บางท่านกล้าเที่ยวเดินหาเสือบนเขาในเวลาค่ำคืนบ้างเป็นต้นนั้น อาจทำให้เกิดความสงสัยหรือไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เพราะเป็นสิ่งที่น่าคิดว่าท่านจะนั่งและเดินหาเสือเพื่อประโยชน์อะไรกัน เพียงนั่งอยู่กับบริเวณที่พักถ้าเป็นนิสัยคนขี้กลัวอยู่แล้ว ก็พอจะเกิดความกลัวได้จนแทบไม่มีลมหายใจก็ได้ แต่ทำไมจึงต้องใช้วิธีโลดโผนเลยสามัญธรรมดาไปถึงขนาดนั้น ถ้าไม่ใช่พระที่อาจจะขาดสติอยู่บ้างคงไม่ทำกันดังนี้<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ความจริงก็ควรจะเป็นอย่างนั้น แต่เรื่องของบางท่านที่เคยดำเนินมากลับเป็นอย่างนี้ คือความกลัวที่เกิดอยู่ในบริเวณ ท่านก็ใช้อุบายแก้ไขเช่นเดียวกับที่ไปนั่งและเดินเที่ยวหาเสือบนหลังเขา แต่ความกลัวที่เกิดตามลำพังดังที่เกิดขึ้นขณะพักอยู่บริเวณของตนเป็นอย่างหนึ่ง ท่านก็ใช้อุบายแก้ไขจนความกลัวนั้นหายไปได้ แต่ความกลัวที่ท่านกำลังแสวงหาด้วยวิธีต่าง ๆ มีหาด้วยการไปนั่งภาวนาอยู่บนหินดานหลังเขาบ้าง หาด้วยการเดินหาเสือบนหลังเขาบ้างนั้น เป็นความกลัวที่โลดโผนรุนแรงยิ่งกว่าความกลัวที่เกิดอยู่โดยลำพังมาก ถ้าไม่ใช้อุบายให้ทันกัน ก็น่ากลัวเป็นบ้าไปได้ ขณะพบกับเสือเข้าจริงๆ ฉะนั้นวิธีระงับจึงต้องใช้อุบายต่างกันมากจนความกลัวนั้นหายไปได้ ด้วยกุศโลบายของแต่ละท่านที่จะหาอุบายวิธีฝึกทรมานตนเป็นรายๆ ไป
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แต่การฝึกจิตดวงกำลังกลัวถึงขนาดให้หายพยศลงได้ ด้วยอุบายที่ทันสมัยนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก แม้ผลที่ปรากฏขึ้นในขณะจิตยอมจำนนต่อสติปัญญาก็เป็นความอัศจรรย์เกินคาด คือ ใจกลับเกิดความกล้าหาญขึ้นมา ขณะที่ความกลัวดับลงไปด้วยอุบายที่ทันกัน หลังจากนั้น จิตสงบเต็มที่ปราศจากความหวาดกลัวใดๆ หนึ่ง เวลาจิตถอนขึ้นมาก็ทรงความกล้าหาญไว้ได้ไม่กลับกลัว หนึ่ง เป็นพยานหลักฐานในใจได้อย่างมั่นคงว่า จิตเป็นสิ่งที่ทรมานให้หายพยศได้อย่างเห็นประจักษ์ ด้วยเหตุการณ์ต่างๆ เป็นเครื่องสนับสนุน มีความกลัวเป็นต้น หนึ่ง มีความพอใจที่จะทรมานตนด้วยวิธีนั้นหรือวิธีอื่นด้วยความถนัดใจ ไม่พรั่นพรึงต่อความตาย หนึ่ง แม้การทรมานตนด้วยวิธีอื่นๆ ก็โปรดทราบว่าท่านทำด้วยความมั่นใจที่เคยได้รับผลมาแล้ว มีแต่จะเร่งความเพียรหนักมือขึ้นไป เพื่อความก้าวหน้าของจิตของธรรมภายในใจต่อไป จนถึงจุดที่หมายตามใจหวังเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    ดังนั้นการฝึกทรมานใจหรือทรมานตนของพระธุดงค์จึงมีวิธีต่างๆ กันไปตามจริตนิสัย แต่โดยมากวิธีที่ท่านทำนั้นเป็นสิ่งที่ท่านเคยได้รับผลมาแล้ว จึงจำต้องพยายามในวิธีนั้นมากกว่าวิธีอื่นๆ เรื่อยไป จริตของคนเราไม่เหมือนกัน บางรายพอเกิดความกลัวขึ้นมา จิตเลยไม่มีสติรั้งตัว กลายเป็นคนหมดสติไปเลย ไม่ว่าจะกลัวอะไรก็ตาม เป็นลักษณะเดียวกันนี้ทั้งนั้น จริตชนิดนี้ไม่สมควรที่จะพาทรมานด้วยสิ่งน่ากลัว อาจเป็นบ้าเสียคนไปได้ คำว่า "ทรมาน" ก็ต้องขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละรายว่าจะควรทรมานตนด้วยวิธีใดบ้าง จึงจะเหมาะและได้กำลังทางจิตใจ ไม่เพียงได้ยินว่าทรมานชนิดนั้นได้ผลดีก็ทำไปตาม โดยไม่คำนึงถึงจิตของตน จึงไม่ค่อยเกิดประโยชน์เท่าที่ควร<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แต่การกล่าวทั้งนี้ มิได้กล่าวเพื่อให้เกิดความอ่อนแอแก่ท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย กล่าวเพื่อความเหมาะสมที่จะให้ได้รับประโยชน์ตามควรแก่ภาวะของตนต่างหาก บางท่านเมื่ออ่านพบเข้าก็อาจคิดไปว่า อะไรที่เห็นว่ายากลำบากฝืนใจบ้าง ก็จะเหมาเอาเสียว่ามิใช่จริตของตัวจะไปทำอย่างนั้น จริตของตัวต้องอยู่สบาย ไม่ต้องมีความหวาดความกลัวต่างๆ มาสัมผัสใจ อยู่ไปกินไปนอนไปอย่างสบายดีกว่าต่างหาก เหมาะกับจริตของตัวซึ่งชอบสบาย แต่ควรคิดว่าพระพุทธเจ้าองค์เอกและพระอรหันต์ที่เป็นสรณะของโลกตรัสรู้และบรรลุธรรมได้ ด้วยการฝึกทรมานมากกว่าวิธีอื่นๆ ที่คนขี้เกียจอ่อนแอเห็นว่าดี และไม่เคยมีใครบรรลุธรรมด้วยการอยู่ไปกินไปนอนไปตามใจชอบ โดยไม่มีการฝืนจิตทรมานใจบ้างเลย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ที่นำวิธีทรมานอย่างเผ็ดร้อนของท่านมาลงก็ด้วยเห็นว่า กิเลสของคนเรามักกลัวแต่อำนาจบังคับทรมานมากกว่าปล่อยตามใจ ถ้าใช้อำนาจบังคับบ้างก็ยอมหมอบเสียนิดหนึ่งพอได้ลืมตาหายใจ ถ้าอนุโลมไปตามบ้างก็ได้ใจกำเริบใหญ่ จำต้องใช้วิธีทรมานกันหลายอย่างเพื่อกิเลสกลัวบ้างพอเย็นใจ ท่านที่ต้องการเห็นความหมอบราบของกิเลสประจักษ์ใจก็นำเอาวิธีเผ็ดร้อนนี้ไปใช้เป็นเครื่องมือฝึกทรมาน ให้พอเหมาะกับจริตของตัว ย่อมมีทางผ่านพ้นไปได้เป็นพักๆ หักล้างกิเลสไปได้เป็นตอนๆ บั่นทอนทุกข์เครื่องทรมานใจลงได้เป็นทอดๆ จนถึงที่ปลอดภัย อันเป็นแดนเกษมเปรมใจด้วยวิธีนี้เป็นเครื่องสนับสนุน
    <o:p></o:p>
    ท่านที่เคยได้ผลจากการทรมานด้วยวิธีเผ็ดร้อน ท่านได้จริงๆ เห็นประจักษ์ใจ คือ จิตที่ต้องทรมานแบบนี้นั้นโดยมากเป็นจิตที่ผาดโผนประจำนิสัย ชอบเอาจริงเอาจัง ไม่เหลาะแหละ ว่าสู้ก็สู้จริงๆ ว่าตายก็ตายจริงๆ เป็นไม่ถอย เวลาจะทรมานความกลัวท่านก็หาที่ทรมานจริงๆ เช่นเอาเสือเป็นครูช่วยการทรมาน สถานที่ที่เห็นว่ากลัวมากเท่าไร ท่านยิ่งมุ่งหน้าไปสู่ที่นั้น และฝึกกันอย่างเอาเป็นเอาตายจริงๆ แม้ตายในขณะนั้นท่านก็ยอม ขอแต่ได้เห็นความกลัวหายไปเพราะอำนาจสติปัญญาเป็นเครื่องฝึก ท่านยอมทั้งนั้น ไม่เช่นนั้นท่านจะฝืนใจดวงกำลังกลัวๆ ไปอยู่ในที่กลัวๆ นั้นไม่ได้ แต่ท่านก็ฝืนได้ จนได้เห็นฤทธิ์ของความกลัวที่สู้ฤทธิ์ของธรรมไม่ไหว แล้วสลายตัวไปต่อหน้าต่อตา ความกล้าหาญปรากฏขึ้นแทนที่อย่างประจักษ์ใจ ซึ่งเป็นพยานแห่งการฝึกด้วยวิธีนั้น ว่ามิได้เป็นโมฆะ แต่กลับเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลที่คาดไม่ถึงเสียอีก<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บางรายใจสงบลงขณะได้ยินเสียงเสือกระหึ่มมารอบๆ บริเวณก็มี บางรายพอได้ยินบาทย่างเท้าเสือเดินมาข้างๆ ตามภาษาของมัน โดยมิได้ระวังว่าใครจะสนใจกล้าหรือกลัวมัน จิตรวบสงบลงไปในขณะนั้นก็มี บางรายทำความเพียรอยู่ตามปกติธรรมดา จิตไม่ยอมสงบลงได้ พอหาอุบายไปนั่งภาวนาอยู่ทางที่เสือเคยเดินผ่านไปมา แม้เสือมิได้มาที่นั้น แต่ใจกลับสงบลงเป็นสมาธิได้ก็มี โดยอาศัยความคิดและความกลัวว่าเสือจะมาหาตน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แต่การภาวนาในขณะความกลัวกำลังแสดงตัวมีสองวิธี คือ ทำจิตให้อยู่กับบทธรรมที่ตนเคยปฏิบัติมา ไม่ยอมส่งจิตออกไปคิดปรุงว่าสัตว์ว่าเสือใดๆ ทั้งสิ้น ภาวนาอยู่กับธรรมบทนั้นด้วยสติเป็นเครื่องควบคุม เป็นกับตายก็หมายพึ่งธรรมบทที่กำลังบริกรรมอยู่ในขณะนั้นเท่านั้น จิตเมื่อยอมตนลงหวังพึ่งธรรมจริงๆ ไม่คว้าโน้นคว้านี่ ย่อมสงบตัวลงได้โดยไม่ต้องสงสัย ขณะที่จิตลงสู่ความสงบ ความกลัวหายไปทันที นี้เป็นวิธีปฏิบัติของผู้เริ่มฝึกหัด
    <o:p></o:p>
    ส่วนวิธีของผู้ที่จิตเป็นสมาธิมีหลักใจแล้ว เวลาความกลัวเกิดขึ้นย่อมพิจารณาโดยอุบายปัญญาคือ แยกดูทั้งความกลัว แยกดูทั้งสัตว์เสือที่จิตสำคัญว่าเป็นของน่ากลัวออกเป็นชิ้นเป็นอัน นับแต่เขี้ยว เล็บ หนัง หัว หาง กลางตัว ตลอดทุกอวัยวะของเสือออกดู ว่าเป็นของน่ากลัวอย่างไรบ้าง จนเห็นชัดเจนด้วยปัญญา ความกลัวหายไปเอง นี้เป็นวิธีของผู้ที่เคยดำเนินทางวิปัสสนามาแล้ว ย่อมแก้ความกลัวได้ด้วยอุบายนี้ ท่านที่อยู่ในป่า ท่านฝึกทรมานท่านด้วยวิธีดังกล่าวนี้ทั้งนั้นและได้ผลเป็นที่พอใจ โดยที่เสือก็มิได้ทำอันตรายแก่ท่านเลย
    <o:p></o:p>
    เขียนมาถึงตอนนี้ มีเรื่องเกี่ยวเนื่องกันที่ควรจะนำมาลงเพื่อท่านผู้อ่านได้พิจารณาตามเหตุการณ์ที่เป็นมาแล้ว ในวงพระธุดงค์ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใหญ่ของท่านอาจารย์มั่นผู้หนึ่ง เวลานั้นท่านอาจารย์องค์นี้เที่ยวธุดงค์ไปฟากแม่น้ำโขงทางฝั่งประเทศลาวกับตาปะขาวคนหนึ่ง ขณะนั้นท่านพักอยู่ในเงื้อมผาแห่งหนึ่ง ตาปะขาวผู้ถือศีล ๘ ก็พักอยู่เงื้อมผาแห่งหนึ่ง ห่างกันประมาณ ๓ เส้น ตามที่ท่านเล่าให้ฟัง ว่าท่านพักอยู่ที่นั่นเป็นเวลาหลายเดือน โดยเห็นว่าเป็นความสะดวกแก่สุขภาพทางกายและทางใจ การบำเพ็ญสมณธรรมเป็นไปโดยสม่ำเสมอไม่มีอะไรติดขัด ทั้งท่านเองและตาปะขาว การโคจรบิณฑบาตก็สะดวก ไม่ห่างจากที่พักนัก ราว ๔ กิโลเมตร มีหมู่บ้านประมาณ ๑๕ หลังคาเรือน ชาวบ้านเองก็ไม่มารบกวนให้ลำบากและเสียเวลาบำเพ็ญเพียร ต่างคนต่างทำธุระหน้าที่ของตนไปตามเรื่อง<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วันหนึ่งตอนบ่าย ท่านรู้สึกไม่ค่อยสบายเหมือนจะเป็นไข้ มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวพิกล พอตาปะขาวมาหาที่พัก ท่านจึงสั่งให้แกไปต้มน้ำร้อนมาผสมกับยาฉันทดลองดูบ้าง บางทีอาจหายได้ เพราะยาที่ติดตัวไปนั้นหมอเขาบอกว่าเป็นยาแก้ไข้ป่าได้ด้วย ท่านเองเกรงจะเป็นไข้ป่ากับเขา เนื่องจากที่นั้นไข้ป่าชุมและคนก็เป็นไข้ป่ากันมาก เพราะแถวนั้นเป็นป่าทึบมาก คนแถวทุ่งๆ ไปอยู่มิได้ ที่นั้นเต็มไปด้วยสัตว์ด้วยเสือนานาชนิด กลางคืนเสียงร้องอึกทึกครึกโครม ทราบว่าแถวนั้นมีเสือกินคนอยู่บ้างห่างๆ ทั้งนี้ก็เนื่องจากชาวญวนเหมือนกันเป็นต้นเหตุทำให้เสือดุร้ายไม่ค่อยกลัวคน พอตาปะขาวทราบแล้วก็ถือกาต้มน้ำไปที่พักของตน ต่อจากนั้นก็หายเงียบไปเลย ไม่เห็นเอาน้ำร้อนกลับมาถวายท่านเพื่อผสมยา
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านเองก็รอคอยน้ำร้อนจากตาปะขาวจนค่ำก็ไม่เห็นมา ท่านคิดว่าตาปะขาวอาจจะลืมไป เมื่อนั่งภาวนาเพลินๆ ท่านเลยทอดธุระ อาการไข้ก็ค่อยเบาบางลงและหายไปในที่สุด ส่วนตาปะขาวเมื่อเอากาน้ำไปแล้วก็เตรียมก่อไฟ แต่ก่อเท่าไรไฟไม่ติด เลยเกิดโมโหขึ้นมา จึงลืมว่าตนเป็นตาปะขาวลูกศิษย์พระกรรมฐานองค์สำคัญ ปุบปับลุกขึ้นพร้อมกับความโมโหว่า ไฟนี้เราเคยก่อมันมากี่ร้อยกี่พันครั้งแล้ว แต่ครั้งนี้มันทำไมก่อไม่ติด ไฟนี้ต้องการน้ำหรืออย่างไร ถ้าต้องการน้ำเราก็จะให้น้ำ ว่าแล้วก็ (ขออภัย) ยืนปัสสาวะรดลงที่กองไฟจนเปียกหมด แล้วก็เดินหนีไปเงียบ ไม่มาบอกอาจารย์ที่คอยน้ำร้อนอยู่แต่วันจนค่ำเลย พอตกกลางคืนเรื่องที่ไม่คาดฝันก็ได้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าแปลกประหลาดอยู่มาก
    <o:p></o:p>
    แต่ก่อนที่เคยพักมานานแล้วไม่เคยมีเรื่องอะไรเกิดขึ้น เฉพาะคืนวันนั้นเวลาประมาณ ๓ ทุ่ม ตาปะขาวกำลังนั่งภาวนารำพึงถึงความผิดพลาดที่ตนได้ทำความประมาทต่ออาจารย์ด้วยความโมโหเป็นต้นเหตุ จึงได้ลุกขึ้นปัสสาวะรดกองไฟ มิหนำยังไม่ได้ไปเรียนขอขมาอาจารย์ให้ท่านงดโทษอโหสิกรรมให้ ขณะที่นั่งรำพึงโทษของตัวอยู่อย่างกระวนกระวาย เสียงที่ไม่คาดฝันก็ได้ดังขึ้นข้างมุ้งด้านหลังห่างกันไม่ถึงวาเลย เป็นเสียงคำรามของเสือโคร่งใหญ่ลายพาดกลอนที่กำลังหมอบหันหน้า ตาจ้องมองมาทางตาปะขาว ราวกับจะโดดตะครุบกินเป็นอาหารในขณะนั้น พร้อมทั้งเสียงครวญครางเบาๆ พอเป็นการทดลองความเก่งกาจแห่งความโมโหของลูกศิษย์กรรมฐาน ขนาดพอให้ได้ยินไปถึงอาจารย์ที่อยู่เงื้อมผาทางโน้น ขณะที่กำลังครวญครางนั้น ทั้งเอาหางฟาดลงพื้นดินดังตุบๆ ทั้งเสียงครางเบาๆ ทั้งแสดงท่าขยับหน้าและถอยหลัง ทำท่าจะตะครุบตาปะขาวเป็นอาหารสดในขณะนั้นให้จงได้
    <o:p></o:p>
    พอตาปะขาวได้ยินเสียงประหลาด ซึ่งไม่เคยได้ยินใกล้ชิดขนาดนั้นนับแต่มาอยู่ที่นั้นเป็นเวลาหลายเดือนก็ตกใจกลัว รีบหันหน้าไปดูทันที ระยะนั้นเดือนกำลังหงายเต็มที่ ก็ได้เห็นเสือโคร่งใหญ่หมอบจ้องมองทำท่าอยู่อย่างชัดเจน ตาปะขาวกลัวตัวสั่นราวกับจะสลบไปในขณะนั้น คิดอะไรไม่ทัน ใจหันเข้าพึ่ง พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นที่ฝากเป็นฝากตายว่า ขอพระพุทโธ ธัมโม สังโฆ ได้มาคุ้มครอง ปกเกล้าปกกระหม่อมจอมขวัญผู้ข้าเถิด อย่าให้เสือตัวนี้เอาไปกินเสียในคืนวันนี้ จะไม่ทันได้ไปขอขมาโทษอาจารย์ที่ตนทำผิดต่อท่านเมื่อบ่ายวันนี้ ขอพระพุทโธจงช่วยชีวิตของข้าไว้ให้ตลอดคืนวันนี้ด้วยเถิด สิ่งที่ข้าพเจ้าได้ทำผิดไปแล้ว ขอพระธรรมและอาจารย์จงโปรดเมตตาอโหสิให้ อย่าถึงกับเสือต้องกินเป็นอาหารเพื่อเป็นการชดเชยความผิดนั่นเลย<o:p></o:p>


    www.luangta.com
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทั้งบนทั้งบ่น ทั้งบริกรรมพุทโธ ทั้งสั่นทั้งกลัว ทั้งหันหน้าจ้องมองเสือ กลัวมันจะตะครุบไปกินเสียในขณะนั้น เสือพอมองเห็นคนหันหน้ามาจ้องมองก็ทำเป็นถอยห่างออกไปบ้างเล็กน้อย และทำเสียงครวญครางไม่ลดละ สักประเดี๋ยวก็เปลี่ยนท่าเข้ามาทางใหม่ และถอยออกไปขยับเข้ามาอยู่ทำนองนั้น ส่วนตาปะขาวเลยจะตายทั้งเป็น ที่ต้องหันรีหันขวางไปตามเสือที่ยักย้ายเปลี่ยนท่าต่างๆ ไปมาอยู่รอบๆ มุ้งไม่ลดละ พอคนตั้งท่าจ้องมองหนักเข้าก็ถอยห่างออกไป บางครั้งทำท่าเหมือนจะหนีไปจริงๆ โดยทำเป็นถอยออกไปห่างๆ พอคนเผลอนิดก็ขยับเข้ามาเกือบถึงตัว พุทโธกับใจปราศจากกันไม่ได้ ต้องท่องจนติดใจยึดไว้เป็นหลักประกันชีวิตอยู่ตลอดเวลา พอพุทโธห่างบ้างทีไร เสือเป็นต้องขยับเข้ามาทุกที
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เมื่อเห็นท่าไม่ดีก็รีบบริกรรมพุทโธและวิงวอนให้พุทโธช่วยชีวิตไว้ พอพุทโธสนิทกับใจ เสือก็ถอยห่างออกไปราวกับจะหนีไปจริงๆ แต่นิสัยคนเราชอบบังคับประจำสันดาน ฉะนั้นพอเสือถอยออกห่างบ้าง พุทโธก็เริ่มห่างจากใจ คิดว่าตัวจะไม่ตาย ฝ่ายเสือก็เริ่มขยับเข้ามาและทำท่าจะตะครุบอยู่ทำนองนั้น แต่ก็ไม่ทำไม เป็นแต่เปลี่ยนทิศทางเข้ามาทางนั้นบ้างทางนี้บ้าง ไม่ลดละความเพียรพยายาม ระหว่างเสือกับตาปะขาวเป็นสงครามกันอยู่ โดยต่างฝ่ายต่างไม่ลดราวาศอกให้แก่กันเลยนั้น เริ่มแต่เวลา ๓ ทุ่มจนสว่าง น้ำตาตาปะขาวที่ไหลรินอยู่ตลอดเวลาเพราะความกลัวตายนั้น แต่ขณะแรกถึงสว่างคาตาจนไม่มีอะไรจะไหล พอสว่างเสือก็ค่อยๆ ถอยห่างออกไปๆ ประมาณ ๔ วา แล้วก็ค่อยๆ เดินหลบฉากห่างออกไปโดยลำดับจนพ้นสายตา
    <o:p></o:p>
    พอเสือพ้นไปแล้ว ตาปะขาวยังตั้งท่าระวังอยู่ในมุ้งอีกนาน ไม่กล้าออกมา กลัวว่ามันจะแอบซุ่มอยู่แถวบริเวณใกล้เคียงนั้น เวลาคนเผลอตัวออกมาจากมุ้ง มันจะกระโดดออกมาคาบไปกินเสีย จำใจต้องนั่งรอดูเหตุการณ์อยู่ในมุ้งเป็นเวลานาน เห็นมันเงียบหายไปไม่กลับมาอีก จึงรีบออกจากมุ้งแล้ววิ่งถึงที่พักอาจารย์ด้วยตัวสั่นตาลาย พูดไม่เป็นถ้อยเป็นคำ จับต้นชนปลายไม่ถูก ฝ่ายอาจารย์เห็นอาการแปลกผิดปกติจึงถามดู ก็ได้ความว่า มาขอขมาโทษที่ทำผิดต่ออาจารย์เมื่อบ่ายวานนี้ และเล่าเหตุที่ทำผิด ตลอดเรื่องที่เสือมาเฝ้าทั้งคืนแทบเอาชีวิตไว้ไม่รอดถวายท่านทุกประการ
    <o:p></o:p>
    แต่แทนที่ท่านจะงดโทษให้ในทันทีทันใด ท่านกลับพูดทำท่าขู่เข็ญเพิ่มความเข้าอีกว่า ก็แกชอบสิ่งใดแกก็เจอสิ่งนั้น ชอบดีก็เห็นของดี ชอบชั่วก็เห็นของชั่ว นี่แกชอบเสือแกก็ได้เจอเสือ แล้วจะมาขอขมาโทษกับเราเพื่อประโยชน์อะไร เรายังอดโทษให้แกไม่ได้ อย่างน้อยแกก็ควรจะได้พบของดีที่แกชอบอีกสักคืนหนึ่ง ถ้าไม่ตายเพราะเสือกินก็พอให้ได้ที่ระลึกไปนานๆ บ้าง เสือมันดีกว่าอาจารย์ อาจารย์ก็จะมอบให้เสือเป็นผู้อบรมสั่งสอนต่อไป ว่าอย่างไร จะมอบให้เสือในคืนวันนี้ ถ้ามันสอนไม่ฟังก็จะมอบให้เป็นอาหารของมันไปเสียรู้แล้วรู้รอดไป ขี้เกียจสั่งสอน ว่ายังไง จะเอาไหม ที่เจอเสือและฟังเทศน์เสือทั้งคืนนั้นเหมาะกับเหตุดีแล้ว<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คืนนี้จะให้มันมาสอนอีก ถ้ายังขืนเก่งอยู่อีกก็จะมอบให้เป็นเสบียงเดินทางของมันไปเสีย มันคงสบายท้องไปหลายวัน จะเอาอย่างไหนดีรีบตอบมาอย่ามัวชักช้า อาจารย์กับเสือใครจะดีกว่ากัน เอาตอบเดี๋ยวนี้อย่ารอช้าอยู่ เดี๋ยวจะบอกให้เสือมารับตัวไปใช้สอยเสียเดี๋ยวนี้จะดีกว่าอาจารย์ใช้เป็นไหนๆ ว่าแล้วก็ทำเป็นเชิงตะโกนเรียกเสือว่า เสือตัวนั้นไปอยู่ที่ไหนเวลานี้ ให้รีบมารับเอาตัวตาปะขาวไปอยู่ด้วยเดี๋ยวนี้ อาจารย์มอบตาปะขาวคนนี้ให้เป็นลูกศิษย์ของเสือแล้ว รีบมารับเอาไปเดี๋ยวนี้อย่ารอช้าเลย ตอนนี้ตาปะขาวร้องไห้โฮอย่างไม่เป็นท่าและขอร้องอาจารย์ว่ากระผมเข็ดแล้ว ขอท่านอย่าได้เรียกมันมา กระผมจะตายขณะนี้อยู่แล้ว คืนนี้ก็นึกว่าตายไปหนหนึ่งแล้ว แต่กลับฟื้นคืนมาพอได้สติจึงรีบมาหาอาจารย์ขอความช่วยเหลือ มิหนำยังจะเรียกมันมาอีก กระผมจะไปเอาชีวิตจิตใจมาจากไหนต้านทานกับมัน ขอท่านจงบอกให้มันงดอย่าให้มันมาอีก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ทั้งร้องไห้ ทั้งขอร้องไม่ให้ท่านเรียกเสือมาอีก ทั้งกราบไหว้วิงวอนขอชีวิตชีวาไว้พอมีลมหายใจต่อไป ทั้งยอมเห็นโทษที่ทำผิดแล้วจะสำรวมระวังต่อไป ทั้งปฏิญาณตนด้วยความเข็ดหลาบต่อหน้าท่านว่าจะไม่ทำอย่างนั้นอีกต่อไป ทั้งร้องขอให้ท่านอโหสิกรรมให้ พอเห็นเป็นการอันควรแล้วท่านจึงรับขมาโทษ และอบรมสั่งสอนต่อไป และพูดปลอบโยนต่างๆ ว่า ที่เสือมานั้นมิใช่อะไรอื่นพาให้มา กรรมชั่วของแกเองบันดาลให้มา ถ้าแกยังไม่ยอมเห็นโทษแห่งความชั่วของตัว ก็ต้องเห็นดีกันในคืนนี้นี่แล พอตกมืดเสือตัวนั้นก็จะมาและเอาตัวแกไปพร้อมโดยไม่มีวันกลับมาอีกแล้ว มันจะไม่พูดพล่ามทำเพลงเหมือนคืนที่แล้วนี้เลย
    <o:p></o:p>
    เมื่อเจ็บแล้วต้องจำ เพราะบาปมีบุญมีประจำโลก ใครจะมาลบล้างธรรมทั้งสองอย่างนี้ไม่ได้ ถ้ากรรมอยู่ใต้อำนาจของผู้หนึ่งผู้ใดได้แล้ว ผู้มีอำนาจนั้นจะต้องลบล้างกรรมเหล่านี้ให้สูญไปจากโลกนานแล้ว ไม่สามารถยังเหลือมาถึงพวกเราเลย เท่าที่กรรมดี-ชั่วยังมีอยู่ ก็เพราะกรรมมิได้ขึ้นอยู่กับผู้ใดโดยเฉพาะ แต่ขึ้นอยู่กับผู้ทำกรรมนั้นๆ เท่านั้น นี่ก็แกทำกรรมชั่วไว้เมื่อบ่ายวานนี้ แกก็ต้องเห็นกรรมชั่วของแกเอง ถ้าแกยังไม่ยอมเห็นโทษของตัว ก็แน่ทีเดียวในคืนวันนี้พญากรรมตัวลายพาดกลอนจะมาตามเอาตัวแกไปดูผลของกรรมให้ประจักษ์กับตัวเอง
    <o:p></o:p>
    พออบรมเสร็จแล้วก็บอกให้เธอกลับไปที่พักตามเดิม แต่ตาปะขาวคนนั้นไม่ยอมไป กลัวว่าเสือตัวนั้นจะแอบมาโดดคาบเอาไปกินเป็นอาหารอีก ท่านต้องขู่ด้วยอุบายให้กลัวอีกครั้งว่า ก็เมื่อกี้นี้ก็ว่ายอมเห็นโทษแห่งความดื้อดึงของตัวว่าจะไม่ทำอีก แต่พูดยังไม่ขาดคำ ทำไมจึงแสดงความดื้อด้านขึ้นมาอีกเล่า ถ้าอย่างนั้นก็จงดื้ออยู่ที่นี่หากจะทนต่อเสือตัวนั้นได้จริงๆ พอพูดจบคำท่านก็เรียกหาเสือตัวนั้นมาอีกว่า เสือตัวเป็นอาจารย์ของตาปะขาวคนนี้ไปไหนเสีย รีบกลับมารับตาปะขาวผู้ดื้อด้านนี้ไปอบรมให้หน่อยเถอะ เราเบื่ออบรมจะตายอยู่แล้ว รีบๆ มาเร็วๆ หน่อย พอพูดจบคำ ตาปะขาวร้องไห้ขึ้นอีก พร้อมรับคำว่ากระผมจะรีบไปเดี๋ยวนี้ ขอท่านอย่าให้เสือมาเลย กระผมกลัวมัน คืนนี้แทบปอดหลุดหายอยู่แล้ว แต่ก็รีบไปที่พักของตนโดยไม่คิดถึงความกลัวความตายอีกเลย<o:p></o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เป็นที่น่าประหลาดและอัศจรรย์อย่างยิ่ง นับแต่วันนั้นมาไม่เคยปรากฏว่าเสือตัวนั้นมาลอบๆ มองๆ แถบบริเวณนั้นอีกเลย จนกระทั่งจากที่นั้นไปซึ่งก็เป็นเวลาอีกหลายเดือน ถ้าคิดตามสามัญสำนึกก็น่าจะมีอะไรมาบันดาลใจเสือตัวนั้น ให้มาทรมานตาปะขาวผู้เก่งกาจอาจหาญพาลพาโลทำในสิ่งไม่ควรทำ เช่น ยืนปัสสาวะรดกองไฟ แม้แต่คนธรรมดาไม่มีศีลมีธรรมก็ไม่คิดหาญทำได้ คนชนิดนี้ไม่มีอะไรจะเอาให้อยู่ในเงื้อมมือได้ นอกจากเสือโคร่งใหญ่ตัวนั้นพอเป็นคู่ทรมานกันได้ แกถึงได้ยอมจำนนอย่างราบ นับแต่วันนั้นมาท่านว่า ตาปะขาวก็ไม่เคยแสดงอาการดื้อดึงอีกเลย นับว่าได้ผลดี เสือทรมานคนเก่งมาก ทำให้เข็ดไปนานเสียด้วย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ตอนนี้ขอแทรกเรื่องพิเศษลงสักนิดพอหอมปากหอมคอ คือผู้เขียนเองก็คิดอยากได้เสือสักตัวมาอยู่แถวใกล้เคียงวัดป่าบ้านตาด เพื่อช่วยภาระบางอย่างให้เบาลงบ้าง เวลาพระเณรเถรชีหรือท่านผู้ใดก็ตาม ที่ขี้เกียจภาวนาขึ้นมามัวแต่นอน จะได้ช่วยให้ขยันขึ้นบ้าง แม้ไม่มาให้เห็นตัวเสือ แต่เพียงช่วยทางเสียงก็คงพอจะทำให้ตาตั้งหูกางและลุกขึ้นภาวนากันบ้าง ไม่สนุกนอนจนเกินไป แต่ถ้าเสือมาอยู่ที่นั้นแล้ว สุนัขบ้านที่มาอาศัยวัดอยู่หลายตัวซึ่งเคยเป็นอาจารย์สอนคนผู้ขี้เกียจปิดประตู และเก็บรักษาสิ่งของไว้รับประทาน จะพากันกลัววิ่งแตกหนีหมด ก็จะขาดกำลังทางหนึ่งไป
    <o:p></o:p>
    ความจริงเราอยากได้ไว้ที่วัดทั้งสองอาจารย์ คือ อาจารย์เสือและอาจารย์หมานั่นแล จะได้ช่วยกันเตือนทั้งความพากเพียร ทั้งการเก็บรักษาสิ่งต่างๆ ไว้ดีๆ วัดจะสมบูรณ์ทั้งคนขยันทำความเพียร ทั้งคนขยันเก็บรักษาสิ่งของต่างๆ ไว้รับประทานด้วยความปลอดภัย คงดีมากถ้าทำอย่างนี้ พระเณรเถรชีตลอดบรรดาลูกศิษย์ที่มาจากที่ต่างๆ ซึ่งเป็นนักกลัวเสือและขี้เกียจเก็บรักษาสิ่งของต่างๆ ก็จะพาลโมโหอาจารย์เข้าให้อีกว่า ไปเอาเสือเอาอะไรมาทรมานกันไม่เข้าเรื่อง ก็จะยุ่งกันใหญ่ แต่ความจริงก็น่าจะมีอะไรมาคอยช่วยเตือนบ้าง เฉพาะอาจารย์คนเดียวดูแลไม่ทั่วถึง
    <o:p></o:p>
    โดยมากทางครัวที่คณะลูกศิษย์ฝ่ายผู้หญิงและอุบาสิกามาจากที่ต่างๆ มาพักกัน มักจะเสียเปรียบพวกสุนัขบ้านที่แอบซ่อนอยู่ในวัดเป็นฝูงๆ ขโมยสิ่งของไปกินเสมอ แม้ไม่ใช่เรื่องใหญ่และน่าเสียดาย ก็เป็นความบกพร่องซึ่งไม่อยากให้มี เพราะคำว่าบกพร่องแล้ว อยู่กับอะไรไม่ดีทั้งสิ้น ยิ่งมาอยู่กับคนและไม่สนใจชำระแก้ไขด้วยแล้วยิ่งไม่ดีเลย ที่นำสัตว์นำเสือมาลงบ้างต้องขออภัยด้วย เห็นว่าเรื่องเกี่ยวเนื่องกันพอเป็นคติได้บ้างจึงได้นำลง<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขอย้อนพูดเรื่องท่านอาจารย์กับตาปะขาวต่อไปซึ่งยังไม่จบ พอเวลาต่อไปตาปะขาวตั้งท่ากลัวเสืออยู่ตลอดทั้งกลางวันกลางคืน ใจมองเห็นภาพเสือโคร่งใหญ่ตัวนั้นอย่างชัดเจนตลอดเวลา และคิดเรื่องเสือจะมาหาแทบทุกลมหายใจกระทั่งเย็น ไม่มีเวลาสบายใจได้เลย มัวคิดว่าเสือตัวนั้นจะโดดโผงผางมางับคอไปกินอยู่เรื่อยไป แต่ดีอยู่อย่างหนึ่งที่ระลึกเห็นภาพเสือทีไรก็ระลึกถึงพุทโธทีนั้นไปพร้อมๆ กัน ไม่มีเวลาพลั้งเผลอ พอเริ่มมืดก็เริ่มเข้าที่นั่งภาวนาพุทโธบ้าง คิดว่าเสือจะมาบ้างสับกันไป ไม่เป็นอันอยู่หลับนอนและภาวนาได้เหมือนแต่ก่อนเลย ภาวนาไปตาคอยจ้องมองเสือไป คืนนั้นเลยสว่างคาตาไม่ได้หลับนอนตลอดรุ่ง เพราะถ้าเผลอหลับไปเผื่อเสือมาในระยะนั้นจะทำอย่างไร ก็เท่ากับนอนคอยท่ามันเอาไปกินอย่างง่ายๆ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พอสว่างก็รีบไปหาอาจารย์ ท่านถามว่า เป็นอย่างไรเสือที่เป็นอาจารย์มาเยี่ยมบ้างหรือเปล่าคืนนี้ แกเรียนตอบท่านว่าไม่มา ท่านจึงปลอบใจให้มีความอบอุ่นบ้างว่า จะกลัวมันทำอะไร ถ้ากลัวความชั่วของตัวเองเท่ากลัวเสือก็พ้นทุกข์ไปนานแล้ว จงรีบกำจัดความชั่วที่ซ่องสุมอยู่ในใจให้เบาบางและสิ้นไป จะไปสนใจอะไรกับเสือ มันไม่มาทำไมหรอก เชื่อเราเถอะถ้าไม่ทำชั่วอีกเสือก็ไม่มา จงภาวนาให้ใจสบาย เสือจะได้สบายหายห่วงไม่ต้องมาเยี่ยมเยียนอยู่เรื่อย ขาดการหากินของมันไปเปล่าๆ ที่เสือมานั้นมันมาช่วยฉุดแกขึ้นจากนรกต่างหากเพราะการทำผิดของแก มิฉะนั้นแกจะตกนรกจริงๆ เสือมิได้มาเพื่อตั้งใจจะกิน ถ้าแกไม่ทำชั่วอีก คอยรักษาตัวดีๆ ก็แล้วกัน ถ้าแกพยายามและขยันภาวนาแล้ว แกจะเห็นเสือเท่าที่เห็นแล้ว จะไม่เห็นมันต่อไปอีกเลยกระทั่งพวกเราจากที่นี่ไป
    <o:p></o:p>
    นับแต่วันนั้นก็ไม่เคยเห็นเสือตัวนั้นเดินผ่านกล้ำกรายแถวๆ นั้นอีกเลยดังกล่าวแล้ว แม้จะมีเสียงกระหึ่มไปมาบ้างก็เป็นธรรมดาดังที่เคยได้ยินทั่วๆ ไป ไม่เคยมารบกวนให้ลำบากใจ ตาปะขาวก็ขยันภาวนาและสละทิฐิมานะทุกอย่าง กลายเป็นคนดีทั้งภายในภายนอกไม่มีที่ต้องติ นับแต่วันเสือมาช่วยอบรมให้เพียงคืนเดียว จึงน่าประหลาดใจอยู่ไม่ลืมจนบัดนี้ สำหรับท่านเองท่านไม่นึกกลัวเลย แม้ตาปะขาวมาเล่าให้ฟังก็เฉยๆ เสือตัวที่มานั้นก็เป็นเสือเทพบันดาลต่างหากท่านว่า<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านอาจารย์องค์นี้เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ของท่านอาจารย์มั่น ท่านชอบอยู่ลำพังองค์เดียวในป่าในเขาลึก อาศัยชาวไร่ชาวสวนเป็นที่โคจรบิณฑบาต เวลาท่านพักอยู่เงื้อมผากับตาปะขาวนั้น มีความก้าวหน้าทางจิตใจมากกว่าที่อื่นๆ จึงได้พักอยู่ที่นั่นหลายเดือน จนก้าวเข้าฤดูฝนจึงได้กลับมาฝั่งไทย ท่านว่าขณะเสือคำรามตาปะขาวเบาๆ ท่านก็ได้ยินชัดเจนแต่มิได้สนใจ เพราะเคยได้ยินอยู่เสมอจนชินหูเสียแล้ว ต่อเมื่อตาปะขาวมาเล่าให้ฟังด้วยทั้งร้องห่มร้องไห้เพราะความกลัว จึงได้พิจารณาตามเหตุการณ์และเทวดามาเล่าให้ฟังจึงทราบว่าเทพบันดาลให้เสือตัวนั้นทรมานแกเพื่อหายพยศ ไม่เช่นนั้นแกจะเคยตัวและแสดงความดื้อดึงไปเรื่อยๆ ทำให้เป็นบาปเพิ่มขึ้น เวลาตายแกจะลงนรก จึงได้รีบแก้ไขด้วยวิธีที่แกจะเข็ดหลาบไม่หาญทำอีกต่อไป
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านว่าเป็นความจริงดังเทวดามาเล่าให้ท่านฟัง เพราะนับแต่วันนั้นมานิสัยใจคอความประพฤติทุกด้านของแกเปลี่ยนไปหมด จนกลายเป็นคนละคนไปได้ แต่ก่อนแกมีนิสัยดื้อๆ อยู่บ้าง บางครั้งเป็นลักษณะเหมือนคนไม่เต็มเต็งบ้าง เราก็ไม่ค่อยถือสากับแก ปล่อยไปตามนิสัยของแกเรื่องมา จนวันเสือมาดัดสันดานหยาบปราบความดื้อดึงของแกลงได้ จึงได้ทราบชัดว่า แกมีนิสัยไม่ดีติดตัวมาจริงๆ มิใช่คนไม่เต็มเต็ง มิฉะนั้นแม้ถูกเสือทรมานแล้วก็ไม่เข็ด นิสัยไม่เต็มเต็งก็คงกลับมาอีก แต่นี่นับแต่วันนั้นมาแล้วไม่มีอะไรที่ไม่ดีกลับมาอีกเลย เรียบร้อยดีงามตลอดมา
    <o:p></o:p>
    ท่านอาจารย์องค์นี้ท่านมีคุณธรรมสูงมาก น่ากราบไหว้บูชา แต่ท่านเสียไปได้ราว ๔-๕ ปีแล้ว เวลาท่านจะจากขันธ์ไปก็ทราบว่า ไม่ให้ใครวุ่นวายกับท่านมากเป็นกังวลไม่สบาย ท่านขอตายอย่างเงียบแบบกรรมฐานตาย จึงเป็นความตายที่เต็มภูมิของพระปฏิบัติ ไม่เกลื่อนกล่นวุ่นวาย เวลาประชุมเพลิงท่าน ก็ทราบว่าพระผู้ใหญ่ทั้งหลายไม่ค่อยทราบกันเลย เนื่องจากท่านไม่ให้บอกใครให้ยุ่งไปมาก วุ่นเปล่าๆ วุ่นกับคนตาย หมดราคาค่างวดแล้วไม่ค่อยเกิดประโยชน์เหมือนวุ่นกับคนเป็น ท่านพูดอย่างสบายง่ายๆ อย่างนี้เอง ใครจึงไม่กล้าขัดขืนคำท่าน ประการหนึ่งก็เป็นคำท่านสั่งเสียด้วยใจจริงด้วย กลัวเป็นบาปถ้าขืนคำท่าน แม้ว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ ผู้เขียนก็เคยได้ไปพักอาศัยอยู่กับท่านในเขาลึกราวครึ่งเดือน ที่ท่านพักอยู่เวลานั้นเป็นป่าเขา อาศัยอยู่กับชาวไร่บิณฑบาตพอเป็นไปวันหนึ่งๆ ทราบว่าท่านจำพรรษาที่นั้นหลายพรรษาเหมือนกัน ที่นั้นผู้เขียนเคยตั้งเวลาดูตอนออกเดินทางกลับ จากที่พักท่านออกมาหมู่บ้านกว่าจะพ้นจากป่าก็เป็นเวลา ๓ ชั่วโมง ๒๐ นาทีพอดี จนถึงหมู่บ้านก็ร่วม ๔ ชั่วโมง<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ชื่อท่านว่า ท่านอาจารย์หล้า ภูมิลำเนาเดิมอยู่เวียงจันทน์ นับแต่อุปสมบทแล้วท่านเลยอยู่ฝั่งไทยตลอดมาจนวันมรณภาพ เพราะทางฝั่งไทยมีหมู่คณะและครูอาจารย์ทางฝ่ายปฏิบัติมาก การบำเพ็ญสมณธรรมท่านมีนิสัยเด็ดเดี่ยวอาจหาญ ชอบอยู่และไปคนเดียว อย่างมากก็มีตาปะขาวไปด้วยเพียงคนเดียว ท่านมีนิสัยชอบรู้สิ่งแปลกๆ ได้ดีคือ พวกกายทิพย์ มีเทวดาเป็นต้น พวกนี้เคารพรักท่านมาก ท่านว่าท่านพักอยู่ที่ไหนมักมีพวกนี้ไปอารักขาอยู่เสมอ ท่านมีนิสัยมักน้อยสันโดษมากตลอดมา และไม่ชอบออกสังคมคือหมู่มาก ชอบอยู่แต่ป่าแต่เขากับพวกชาวไร่ชาวป่าชาวเขาเป็นปกติตลอดมา ท่านมีคุณธรรมสูงน่าเคารพบูชามาก คุณธรรมทางสมาธิปัญญารู้สึกว่าท่านคล่องแคล่วมาก แต่ผู้คนพระเณรส่วนมากไม่ค่อยทราบเรื่องนี้มากนัก เพราะท่านไม่ค่อยแสดงตัว มีเพียงผู้ที่เคยอยู่ใกล้ชิดท่านที่ทราบกันได้ดี
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ราว พ.ศ.๒๔๙๓ ที่ผู้เขียนไปอาศัยอยู่กับท่าน ได้มีโอกาสศึกษาเรียนถามธรรมท่าน รู้สึกว่าซาบซึ้งจับใจมาก ท่านอธิบายปัจจยาการคืออวิชชาได้ดีละเอียดลออมาก ยากจะมีผู้อธิบายได้อย่างท่าน เพราะปัจจยาการเป็นธรรมละเอียดสุขุมมาก ต้องเป็นผู้ผ่านการปฏิบัติภาคจิตตภาวนามาอย่างช่ำชอง จึงจะสามารถอธิบายได้โดยละเอียดถูกต้อง เนื่องจากปัจจยาการหรืออวิชชาเป็นกิเลสประเภทละเอียดมาก ต้องเป็นวิสัยของปัญญาวิปัสสนาขั้นละเอียดเท่าๆ กัน จึงจะสามารถค้นพบและถอดถอนตัวปัจจยาการคืออวิชชาจริงได้ และอธิบายได้อย่างถูกต้อง ท่านอาจารย์องค์นี้เป็นผู้หนึ่งที่อธิบายอวิชชาปัจจยาการได้โดยละเอียดสุขุม เกินความสามารถของผู้เขียนจะนำมาอธิบายในที่นี้ได้ จึงขอผ่านไปด้วยความเสียดาย
    <o:p></o:p>
    ท่านอาจารย์องค์นี้ท่านเริ่มฉันหนเดียว และเที่ยวกรรมฐานอยู่ตามป่าตามเขากับท่านพระอาจารย์มั่น ท่านพระอาจารย์เสาร์ มาแต่เริ่มอุปสมบทจนถึงวันมรณภาพ ไม่เคยลดละข้อวัตรปฏิบัติและความเพียรทางใจตลอดมา นับว่าเป็นอาจารย์ที่เหนียวแน่นทางธรรมปฏิบัติที่หายากองค์หนึ่งในสมัยปัจจุบัน ควรเป็นคติตัวอย่างแก่ท่านผู้สนใจปฏิบัติทั้งหลายได้เป็นอย่างดี จึงขอยุติเรื่องท่านไว้เพียงนี้
    <o:p></o:p>
    ก่อนเขียนเรื่องท่านอาจารย์องค์นี้ ได้เขียนเรื่องวิธีการฝึกทรมานใจกับสิ่งที่น่ากลัว มีเสือเป็นต้น ของพระธุดงค์มาเป็นลำดับยังไม่จบ จึงขอดำเนินเรื่องต่อไป
    <o:p></o:p>
    บางท่านไปนั่งภาวนาอยู่ที่ปากเหวลึก ซึ่งถ้าเผื่อตกก็มีหวังแน่ๆ สำหรับท่านผู้นั้นไม่กลัว จึงต้องทำวิธีนั้นซึ่งเป็นวิธีฝึกวิธีหนึ่ง เผื่อเผลอสติก็ยอมตกลงเหวตายไปเลยเพราะเวลาทำภาวนาอยู่ ตามธรรมดาจิตบังคับไม่อยู่ ชอบยุ่งกับสิ่งนั้น วุ่นกับสิ่งนี้ แล้วก่อความทุกข์วุ่นวายให้ตัวเองไม่เลิกแล้วสักที ไม่ว่าคนหรือสัตว์ความกลัวตายมีเท่ากัน ดังนั้นเวลาถูกบังคับให้เข้าตาจนจริงๆ เช่น พาไปนั่งที่ปากเหวลึกๆ จิตต้องทำงานโดยไม่ต้องถูกบังคับขู่เข็ญใดๆ เพราะความตายเป็นสิ่งที่จิตกลัวมากกว่าสิ่งใดๆ มาดั้งเดิม ขณะนั้นแล เป็นเวลาจิตต่อสู้กับความตายด้วยความตั้งใจและระลึกสติไว้กับตัวตลอดเวลา ไม่ยอมส่งจิตไปอื่น มีสติประคองตัวอยู่ทุกขณะ จิตเมื่อมีสติคุ้มครองด้วยดีไม่เล็ดลอดออกไปสู่อารมณ์ต่างๆ ที่เป็นข้าศึก ก็ย่อมรวมสงบลงได้ในเวลาไม่นานนัก ท่านที่ทำวิธีนี้ก็ได้รับผลเป็นที่พอใจเช่นกัน<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การทำด้วยวิธีมีสิ่งบังคับคือความตายย่อมถือเป็นเรื่องสำคัญ ความเพียรเพื่อรักษาความเป็นอยู่ไว้ด้วยความมีสติอยู่กับตัว จึงทำให้เกิดผลทางด้านธรรมภายในใจ คือได้เห็นจิตดวงผาดโผน ยอมสงบตัวลงสู่สมาธิอย่างประจักษ์ ไม่ต้องเสียเวลานาน บางท่านนั่งภาวนาอยู่ในถ้ำ พอได้ยินเสียงเสือกระหึ่ม สังเกตดูจิตไม่มีความรู้สึกหวาดกลัวใดๆ ทั้งจิตก็ไม่ยอมลงสู่สมาธิตามต้องการ ท่านต้องหาอุบายขู่จิตโดยวิธีออกไปนั่งภาวนาอยู่หน้าถ้ำ เวลาเสือมาที่นั้นจิตจะได้กลัวและรีบรวมสงบลงหาที่ปลอดภัยหายกลัว เสือก็ทำอะไรไม่ได้ จิตก็รวมลงเป็นสมาธิได้ในขณะนั้น ความรู้สึกของพระธุดงค์โดยมากที่เคยได้กำลังใจในขณะที่จิตกำลังกลัว และฝึกทรมานจนลงสู่ความสงบได้แล้ว แน่ใจว่าอันตรายจะทำอะไรไม่ได้ในขณะนั้น แต่ความจริงจะเป็นอย่างไรนั้นท่านไม่สนใจ คิดแต่เพียงเพื่อกำลังใจเป็นสำคัญในเวลานั้นและเวลาต่อไป แม้จะตายในเวลานั้นท่านก็พร้อมที่จะยอมสละได้ เพราะความเชื่อธรรมมากกว่าความกลัวตาย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ดังนั้น ท่านผู้มุ่งต่ออรรถธรรมอย่างแท้จริง จึงชอบแสวงหาสถานที่และวิธีฝึกตนด้วยอุบายต่างๆ อย่างไม่ลดละ เพราะท่านเห็นผลจากสถานที่และวิธีนั้นๆ ประจักษ์ใจเสมอมา ราวกับว่าลงทุนน้อยแต่ได้กำไรมาก จึงเป็นที่น่าปลื้มใจและควรทำอยู่เสมอไม่เกียจคร้านรำคาญใจ ทั้งตัดปัญหาความสงสัยในสิ่งที่ทำว่าจะเกิดผลหรือไม่เสียได้ เพราะการทำนั้นยังผลให้เห็นอยัมภทันตาไปทุกประโยคแห่งความเพียร การออกไปนั่งภาวนาอยู่หน้าถ้ำก็ดี การไปเที่ยวนั่งภาวนาอยู่ตามหินดานบนเขาก็ดี การเดินเที่ยวกรรมฐานกลางคืนเพื่อพบกับเสือก็ดี การไปนั่งภาวนาอยู่ทางที่เสือเคยผ่านไปมาก็ดี การเดินจงกรมหรือนั่งภาวนาแข่งเสียงเสือกระหึ่มอยู่รอบๆ บริเวณที่พักก็ดี สรุปแล้วมีความหมายเพื่อจะช่วยให้จิตรวมลงสู่ความสงบรวดเร็วกว่าธรรมดาที่ควรเป็น หรือเพื่อเกิดปัญญาในการพิจารณาสัตว์ร้ายเป็นธรรมะ เพื่อปล่อยวางอุปาทานความยึดถือความเป็นความตายและความอาลัยอาวรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจิตให้สิ้นไปโดยลำดับนั้นแล มิใช่เพื่อทำลายตัวเองแต่อย่างใด
    <o:p></o:p>
    ท่านผู้หวังพ้นทุกข์ทั้งมวลอย่างถึงใจมีความเกิดตายเป็นต้น โดยมากท่านคิดและทำกันอย่างนั้นทั้งนั้น แม้พระพุทธเจ้าองค์เอกของโลกทั้งสามก็ทรงบำเพ็ญวิธีสละพระชนม์ชีพด้วยการอดพระกระยาหาร ไม่เสวยอะไรเลยได้ ๔๙ วัน ซึ่งเป็นวิธีที่ใกล้เคียงกัน คือเป็นวิธีที่เด็ดเดี่ยวอาจหาญเพื่อชัยชนะข้าศึกศัตรูภายใน เมื่อทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางจึงทรงงด แล้วทรงกลับมาตั้งสัตยาธิษฐานปฏิญญาพระองค์ว่าจะประทับนั่งเจริญอานาปานสติกรรมฐาน จนได้ตรัสรู้ธรรมตามพระทัยหมาย หากยังไม่ได้ตรัสรู้ธรรมสมพระประสงค์เมื่อไร ก็เป็นอันทรงถวายพระชนม์ชีพกับที่ประทับภาวนานั้น โดยไม่เสด็จไปที่ไหนๆ อีกเลย นี่แสดงว่าถ้าไม่ได้ตรัสรู้ธรรมจริงๆ ในที่ประทับนั่งเจริญอานาปานสติใต้ร่มมหาโพธินั้น ก็ต้องเป็นพระอิริยาบถสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพของพระองค์ในที่แห่งเดียวกันโดยแน่นอน ไม่มีทางเป็นอื่น<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คิดดู ท่านผู้เป็นตัวอย่างอันดีเลิศของโลก ไม่ว่าพระพุทธเจ้าและพระสาวก ตลอดครูอาจารย์หรือท่านนักปฏิบัติธรรมทั่วๆ ไป ทำสิ่งใดเป็นสิ่งที่สะดุดใจผิดธรรมดาสามัญอยู่มากและประทับใจไม่มีวันลบเลือน ที่พระธุดงคกรรมฐานบำเพ็ญเพียรและฝึกอบรมตนด้วยวิธีต่างๆ ตามจริตนิสัยและความสามารถของตนแต่ละราย จึงมิได้เป็นการโลดโผนหรือใกล้ต่อความโอ้อวดตัว ว่าเก่งกล้าสามารถยิ่งกว่าครูหรือกว่าใครแต่อย่างใด เพราะเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์เพื่อหวังอรรถธรรม นำตนให้พ้นทุกข์ด้วยวิธีนั้นๆ จึงได้พยายามตะเกียกตะกายตามกำลังความสามารถ และยังไม่เท่าผงธุลีที่ฝ่าพระบาทของพระพุทธองค์ที่หลุดออกในเวลาที่ทรงประกอบความเพียรด้วยความสละตายเลย เพียงเท่านี้จะสำคัญว่าตนมีความเพียรเก่งยิ่งกว่าครูได้อย่างไร และจะเข้าใจว่าทำเพื่ออวดโลกได้อย่างไร เมื่อความเพียรยังไม่เท่าขี้ผงที่ฝ่าพระบาทของพระพุทธเจ้าเลย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เมื่อคิดถึงปฏิปทาที่พระพุทธเจ้าทรงดำเนินมา กับปฏิปทาของพวกเราซึ่งคอยแต่จะล้มเหลว ทำความเพียรเพียงเล็กน้อยกลัวแต่จะยิ่งกว่าครูคือศาสดา จึงน่าอับอายขายหน้าตัวเองยิ่งกว่าขายอะไร ผู้เขียนยิ่งตัวเก่งที่กลัวแบบนี้ แต่แบบอื่นที่ไม่ดีไม่เป็นท่า ไม่เห็นกลัว มันอย่างนี้แลใจสามัญชนมันชนดะไป ถ้าเป็นสิ่งที่ปราชญ์ท่านตำหนิไม่อยากให้ชน แต่สิ่งท่านประสงค์อยากให้ชนแต่กลับหลบหน้าไม่กล้าชน คิดแล้วโมโหตัวเองที่เก่งไม่เข้าเรื่อง กรุณาท่านผู้อ่านอย่าถือเป็นตัวอย่าง จะกลายเป็นคนไม่เข้าเรื่องไปหลายคน
    <o:p></o:p>
    พระธุดงค์ที่ท่านหาอุบายทรมานตัวด้วยวิธีต่างๆ กันดังที่กล่าวมานี้ เคยเป็นมาแต่เริ่มแรกที่ได้รับการอบรมจากท่านอาจารย์มั่นสมัยท่านยังเป็นหนุ่ม ทำการสั่งสอนเรื่อยมาจนทุกวันนี้มิได้ลดละปล่อยวาง โดยถือเป็นมรดกที่ท่านมอบให้ด้วยความเมตตาสั่งสอนอย่างถึงใจ ต่างท่านจึงได้พยายามประคับประคองมาด้วยความเคารพเชื่อถือ ว่าเป็นปฏิปทาที่ท่านเคยปฏิบัติและได้ผลเป็นที่พึงใจมาแล้ว ซึ่งได้กลั่นกรองเอาแต่ยอดปฏิปทาอย่างเด็ด ๆ เผ็ดๆ ร้อนๆ ออกมาแสดง เพื่อท่านผู้ตั้งใจในธรรมอย่างยิ่งจะได้ยึดเป็นอุบายเครื่องพร่ำสอนและฝึกฝนทรมานตนต่อไป
    <o:p></o:p>
    สมัยท่านเป็นหนุ่ม ทราบว่าท่านเป็นผู้ปฏิบัติเด็ดเดี่ยวมาก การสั่งสอนก็เผ็ดร้อนมาก พร้อมทั้งปรจิตตวิชชาคือรู้วาระจิตของผู้อื่นด้วย แม้แต่ท่านมีอายุมากย่างเข้า ๗๒ ปี ซึ่งเป็นระยะที่ผู้เขียนไปอบรมกับท่าน ยังรู้สึกว่าเผ็ดร้อนอยู่เลย ไปอยู่และฟังท่านอบรมทีแรกแทบตั้งตัวไม่ติดเพราะกลัวมาก แต่เคารพเลื่อมใสท่านมาก ยอมจำนนต่อความจริงทุกขั้นที่ท่านแสดงออกทุกระยะ หาที่ค้านไม่ได้ เวลาท่านแสดงธรรมเกี่ยวกับวิธีทรมานใจนั้นยิ่งน่ากลัวมาก ทั้งเสียงก็ดังและกังวาน ทั้งมือก็ชี้ด้วยว่า โน้นน่ะป่า โน้นน่ะเขา อันเป็นที่เหมาะกับจิตดวงดิ้นรนกวัดแกว่งทรมานยาก อย่ามัวมามั่วสุมอยู่กับหมู่กับเพื่อนอย่างนี้ ผู้ปฏิบัติต้องรู้จักนิสัยของตัว รู้วิธีการทรมานตัว ถ้าไม่รู้นิสัยของตัว แม้ทำความเพียรไปจนถึงวันตายก็ไม่ได้รับผลเท่าที่ควร เวลาใจดื้อต้องเด็ดทางความเพียรและทรมานให้หนักมือ<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ใครกลัวเสือให้เข้าไปอยู่ในป่าในเขากับเสือ ใครกลัวผีให้เข้าไปอยู่ในป่าช้ากับผีตายชนิดต่างๆ จนใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับผีแล้วนั่นแล จึงจะเรียกว่าจิตยอมตัวต่อการทรมาน ผู้ที่อยู่ในป่า ถ้าใจยังไม่กล้าต่อเสือเมื่อไร อย่ายอมออกมาจากป่า ผู้ที่กลัวผีถ้าใจยังไม่กล้าต่อผีก็ไม่ยอมออกจากป่าช้า จงถือเอาป่าและเขาเป็นเรือนตายสำหรับผู้กลัวเสือ และถือเอาป่าช้าเป็นเรือนตายสำหรับผู้กลัวผี ถ้ายังไม่หายกลัวในสิ่งที่เคยกลัว อย่าออกมาให้ความกลัวมันหัวเราะเย้ยหยัน จะอายตัวเองไปตลอดวันตาย ไม่มีทางแก้ตัวให้หายได้ ถ้าเห็นแก่ตัวและพระศาสนาด้วยใจจริงแล้ว อย่ายอมให้ความกลัวต่างๆ ขึ้นนอนขับถ่ายอะไรๆ ลงรดหัวใจได้ รีบคว้ามันลงมาเหยียบย่ำทำลายด้วยความเพียรที่เต็มไปด้วยความทรหดอดทน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ใครกลัวตาย คนนั้นจะได้แต่ความตายติดตัวไปในภพชาติต่างๆ ไม่มีวันจบสิ้น ใครกลัวเสือ ไปอยู่ที่ไหนก็จะมีแต่ภาพเสือมาหลอกให้กลัวอยู่ตลอดไป ใครกลัวผีก็เช่นกัน ไปอยู่ที่ไหนจะมีแต่ภาพผีลักษณะต่างๆ มาหลอกจนถึงกับอยู่กินหลับนอนไม่ได้ แม้ใบไม้ร่วงจากกิ่งตกลงมา ก็จะคิดหลอกตัวเองว่าเป็นผีมาหลอกอยู่ร่ำไป เราเป็นคนไม่จริงและขี้ขลาดหวาดกลัวเสียคนเดียว ไปที่ไหนอยู่ที่ใดก็ต้องพบแต่ความขี้ขลาดหวาดระแวงด้วยความกลัวที่จิตคิดปรุงขึ้นหลอกตัวเองอยู่นั่นแล ไม่พบของจริงได้เลยแม้แต่น้อย
    <o:p></o:p>
    ใจจะกลัวถึงขนาดไหน ต้องเรียนให้ถึงความกลัวด้วยวิธีทดสอบทรมานกันให้ถึงความจริงของความกลัว กลัวเสือก็เรียนให้รู้ถึงความกลัวเสือด้วยสติปัญญา มีความทรหดอดทนเป็นเครื่องหนุนหลัง จนเกิดความกล้าหาญและโดดเข้าหาเสือได้โดยเสือไม่กล้าทำไมเลย กลัวผีก็เรียนให้รู้เรื่องความกลัวของตัว และรู้เรื่องผีว่าอะไรเป็นผีกันแน่ ถ้าไม่ใช่หัวใจตัวเองเป็นผีคิดหลอกตัวให้กลัวต่างหากเท่านั้น ไม่มีอะไรมาหลอก ผีก็อยู่กับผี เราก็อยู่กับเรา ไม่เห็นยุ่งกัน ถ้าพิจารณาโดยตลอดทั่วถึงแล้ว จงอยู่ให้เป็นสุข อย่าหลุกหลิกทางใจ ดูสิ จะเป็นสุขไหม
    <o:p></o:p>
    ทำไมนักปฏิบัติจึงไม่รู้จิตหลอกตัวเอง แล้วจะไปรู้อรรถรู้ธรรมได้อย่างไรกัน ผมก็เคยปฏิบัติมานานพอสมควรได้ ๔๐-๕๐ ปีกว่าแล้ว กลัวก็เคยกลัว กล้าก็เคยกล้า รักก็เคยรัก ชังก็เคยชัง เกลียดก็เคยเกลียด โกรธก็เคยโกรธ เพราะหัวใจมี มิใช่คนตายพระตาย แต่ก็พยายามทรมานตนเต็มความสามารถไม่ท้อถอยตลอดมา สิ่งเหล่านี้ที่เคยมีอำนาจก็ทลายลงด้วยอำนาจความเพียรของผู้กล้าตาย ไม่มีอะไรมาแอบซ่อนอยู่ในใจได้ อยู่ที่ไหนก็สบายหายกังวล ไม่มีอะไรมาก่อกวนให้หลงกลัวหลงกล้า หลงรักหลงชัง หลงเกลียดหลงโกรธ อันเป็นเรื่องไฟกิเลสทั้งกองเผาใจดังที่เคยเป็น ที่กล่าวมานี้ จะเพราะเหตุอะไรถ้าไม่ใช่เพราะการฝึกทรมานใจให้อยู่ใต้อำนาจแห่งเหตุผลคืออรรถธรรม<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...