ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น เรียบเรียงโดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 มิถุนายน 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถ้าเชื่อกิเลสยิ่งกว่าธรรม จงยืนตัวสั่นเฝ้าร่างแห่งกองทุกข์อยู่ที่นี่ ถ้าเชื่อธรรมของพระพุทธเจ้า จงสละเลือดเนื้อให้เสือเอาไปเป็นอาหารพอมีลมหายใจสืบชีวิตของมันต่อไปเดี๋ยวนี้อย่าชักช้า ว่าอย่างไร จะไปตามธรรมหรือจะโดดลงหลุมอุบาทว์แห่งความตระหนี่ รีบตัดสินใจ อย่าให้เสียเวลาของเสือที่กำลังรอฟังนักบวชอันเป็นเพศแห่งบุคคลผู้เสียสละ จะประกาศความอาจหาญออกมาด้วยปัญญาที่ใคร่ครวญดีแล้วว่า “จะให้หรือจะหวง”
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    นับแต่สงครามอันเข้มข้นระหว่างเสือกับท่านกำลังเป็นไปอยู่ ซึ่งต่างฝ่ายต่างไม่ยอมลดราวาศอกให้แก่กันเป็นเวลาชั่วโมงเศษๆ ท่านองค์นั้นจึงตัดสินใจลงได้ด้วยความเห็นภัยในความหึงหวงแห่งชีวิต กลับเป็นใจที่กล้าหาญและเต็มเปี่ยมด้วยเมตตาสงสารเสือตัวนั้นเป็นกำลัง โดยถือธรรมบทว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันหมดสิ้น เป็นหลักใจ มองเห็นภาพเสือตัวกำลังเป็นศัตรูกลายเป็นภาพแห่งมิตรอย่างสนิทใจ คิดอยากลูบคลำอวัยวะของมันเล่น ด้วยความรักสงสารและสนิทสนมในใจจริงๆ จึงก้าวออกจากทางจงกรม ถือเอาโคมไฟที่แขวนอยู่ข้างทาง เดินตรงไปที่เสืออยู่ทันทีพร้อมด้วยจิตใจที่อ่อนโยนด้วยความเมตตา พอไปถึงที่ที่เข้าใจว่าเสืออยู่ แต่ไม่ปรากฏมีเสืออยู่ที่นั้นเลย จึงเดินตามหาเสือตัวนั้นทั่วทั้งป่าแถบบริเวณนั้น ขณะที่เดินตามหาเสือด้วยความกล้าหาญและใจอ่อนโยนด้วยเมตตานั้น ก็ไม่เห็นเสือตัวนั้นอีกเลย เสือก็ไม่ทราบว่าหายตัวไปที่ไหนอย่างลึกลับ
    <o:p></o:p>
    ขณะที่เดินตามหาเสือไม่พบจนอ่อนใจนั้น มีอะไรผุดขึ้นภายในใจราวกับคนมาเตือนว่า จะตามหามันทำไมกัน ความรู้กับความหลงก็ตกอยู่กับเราคนเดียว มิได้อยู่กับสัตว์กับเสือตัวไหนนี่ ความกลัวตายถึงกับจะเป็นบ้าไปในขณะนั้นก็คือความหลงของตัวผู้เดียว ความรู้ว่าธรรมท่านสอนไว้ว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งสิ้น ถึงกับสละความหึงหวงเสียได้ กลายเป็นคนมีเมตตาจิตอ่อนโยนต่อเพื่อนร่วมโลกก็เป็นความรู้ของตัวผู้เดียว ทั้งสองประโยคนี้มิได้เป็นสมบัติของใคร แต่เป็นสมบัติของตนโดยเฉพาะ แล้วจะเที่ยวหาอะไรอีก เมื่อรู้ก็ควรมีสติอยู่กับผู้รู้ เพียรไปกับผู้รู้ จัดว่าเป็นความถูกต้องดีงามแล้ว จะไปตามเอาอะไรกับสัตว์กับเสือให้กลายเป็นความเห็นผิดไปอีกเล่า พอความรู้ผุดขึ้นเตือนจบลง ก็กลับได้สติขึ้นมาทันที
    <o:p></o:p>
    ท่านว่าขณะที่กำลังเดินไปหาเสือนั้น เป็นความแน่ใจว่าเสือเป็นมิตรกับตนอย่างสนิทสามารถจะลูบคลำหลังและอวัยวะต่างๆ ของมันได้อย่างเต็มมือโดยมิได้นึกคิดว่ามันจะทำอะไรตนได้เลย แต่ความจริงจะเป็นอย่างไรไม่ทราบได้ จากนั้นก็กลับมาเดินจงกรมอย่างสบายหายห่วง ไม่มีความหวาดกลัวเหลืออยู่เลย เสียงเสือที่คำรามและหยุดไปเป็นพักๆ นั้นก็หายไปในทันที ไม่มาปรากฏอีกเลยทั้งในคืนวันนั้นและคืนต่อๆ ไป จนท่านหนีจากที่นั้น ท่านว่าน่าอัศจรรย์ที่จิตกลัวแทบตั้งตัวไม่อยู่และจวนจะเป็นบ้าในขณะนั้นอยู่แล้ว แต่พอถูกขู่เข็ญทรมานด้วยอุบายต่างๆ กลับเป็นจิตที่กล้าหาญขึ้นมา สามารถสละเลือดเนื้อชีวิตจิตใจพลีต่อเสือได้ โดยไม่มีความสะทกสะท้านหวั่นไหวและอาลัยเสียดายเลย<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นับแต่วันนั้นมา เวลาเดินจงกรมหรือนั่งภาวนา ถ้าจิตไม่ยอมสงบง่าย ใจคิดอยากให้เสือมาหาและกระหึ่มให้ฟังบ่อยๆ จิตจะได้มีความตื่นตัว อย่างน้อยก็ได้รับความสงบ มากกว่านั้นก็เป็นใจมีเมตตาอ่อนโยนและเป็นสุขไปกับสัตว์กับเสือ เพราะขณะที่ใจพลิกไปกับเสียงสัตว์ต่างๆ มีเสือเป็นต้น รู้สึกเป็นสุขอย่างละเอียดที่บอกไม่ถูก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขออภัยลืมประโยคที่อะไรผุดขึ้นในใจท่านขณะที่เดินตามหาเสือ ยังเก็บไม่หมด จำต้องวกเวียนมาอีก ท่านว่าอะไรผุดขึ้นมาว่า ความเมตตาที่แสดงเป็นความอ่อนโยนนั่นแล เป็นความสนิทสนมกับสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นศัตรูและทั่วๆ ไป ตลอดมนุษย์มนาเทวดาอินทร์พรหมยมยักษ์ทั่วไตรโลกธาตุ ไม่มีอะไรเป็นศัตรูในเวลานั้น ใจของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นใจที่เต็มไปด้วยเมตตาในสัตว์ไม่มีประมาณอย่างนั้นแล ผู้มีเมตตา หลับแลตื่นย่อมเป็นสุข สิ่งที่ผุดขึ้นในเวลานั้น เหมือนเป็นโอวาทสั่งสอนเราคนเดียว ปรากฏแว่วๆ ขึ้นมาในจิต ฟังได้คนเดียว รู้ได้คนเดียว ชัดถ้อยชัดคำและผุดขึ้นมากมาย แต่จำไม่ได้ทุกประโยค ยังรู้สึกเสียดายอยู่ไม่หายดังนี้
    <o:p></o:p>
    การอยู่ป่าอยู่เขาซึ่งเป็นที่เปลี่ยวๆ สำหรับผู้มุ่งต่อธรรมอย่างยิ่งย่อมเกิดประโยชน์ผิดธรรมดาอยู่มาก ดังท่านอาจารย์องค์นี้เล่าตอนจิตอ่อนโยนกับสัตว์เสือต่างๆ ไม่มีประมาณ คิดอยากไปลูบคลำหลังและอวัยวะต่างๆ ของมันเล่นด้วยความสงสารนั้น ผู้เขียนเชื่ออย่างเต็มใจเพราะเคยได้ประสบมากับตัวเอง ขณะที่เกิดความกลัวมากๆ จนแทบตั้งตัวไม่อยู่ ได้พยายามใช้อุบายวิธีฝึกทรมานตนเช่นเดียวกับท่าน จนจิตหายพยศ ปรากฏเป็นความอาจหาญและอ่อนโยนด้วยเมตตาขึ้นมา สามารถเดินเข้าหาศัตรูทุกชนิดได้โดยไม่มีความหวั่นเกรงใดๆ เลย พอได้ยินท่านเล่าให้ฟัง ใจจึงรู้สึกซึ้งในความเป็นของท่านทันทีว่า ยังมีผู้ทำแบบป่าๆ เถื่อนๆ เช่นเราอยู่เหมือนกัน นึกว่าเป็นอะไรไปเฉพาะเราคนเดียว เพราะเป็นเรื่องที่พูดได้ยาก เนื่องจากเป็นเรื่องนอกบัญชีแห่งความนึกคิดของคนทั่วไปที่จะคิดกัน
    <o:p></o:p>
    ธุดงค์ ๑๓ แต่ละข้อมีความหมายในการปราบปรามกิเลสทุกประเภทได้อย่างอัศจรรย์ยากที่จะคาดให้ทั่วถึงได้ แต่ได้อธิบายไว้ในประวัติท่านพระอาจารย์มั่นพอสมควรแล้ว ในปฏิปทาฯนี้จึงคิดว่าจะไม่ขออธิบายมากมายนัก ทั้งที่พระธุดงค์บรรดาที่เป็นศิษย์ท่านต่างดำเนินตามปฏิปทาสายของท่านเป็นประจำตลอดมา ธุดงค์ ๑๓ ข้อที่ได้อธิบายไว้ในประวัติของท่านพระอาจารย์มั่น ปรากฏว่ามีดังนี้ถ้าจำไม่ลืม ข้ออยู่รุกขมูลร่มไม้ บิณฑบาตเป็นวัตร ฉันในบาตร ฉันหนเดียวในวันหนึ่งๆ ถือผ้าบังสุกุล ข้อไม่รับอาหารที่ตามส่งทีหลัง ที่อาจอธิบายซ้ำอีกบ้างก็เป็นเพียงเพิ่มเติมเล็กน้อย<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พอเขียนธุดงค์นี้จบลง ไปปรึกษาหมู่เพื่อนว่าจะไม่เขียนซ้ำอีก เกรงว่าจะซ้ำกับที่เขียนไว้แล้วในประวัติท่านอาจารย์มั่น แต่โดยมากมีความเห็นว่าอยากให้อธิบายธุดงค์ข้อที่เคยเขียนในประวัติท่านอาจารย์แล้วซ้ำอีก ทั้งนี้ไม่แน่ใจว่าท่านผู้อ่านทั้งหลายอาจจะไม่ได้รับหนังสือประวัติท่านอาจารย์มั่นโดยทั่วถึงก็เป็นได้ จะไม่มีโอกาสทราบว่าธุดงควัตรมีความสำคัญกับการปฏิบัติธรรมอย่างไรบ้าง เลยจำต้องอธิบายไว้ในที่นี้ซ้ำอีกเล็กน้อย ขอความกรุณาท่านที่เคยได้อ่านธุดงค์ในประวัติท่านพระอาจารย์มั่นมาแล้ว อย่าได้รำคาญเพราะสำนวนซ้ำซาก โปรดคิดเสียว่าเพื่ออนุเคราะห์ท่านที่ยังไม่เคยทราบเรื่องธุดงควัตร ๑๓ ข้อ จะพอมีทางทราบจากที่นี่บ้าง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ธุดงค์ข้ออยู่รุกขมูลคือร่มไม้นี้ พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญมาก่อนธุดงค์ทั้งหลาย วันตรัสรู้ธรรมแดนโลกธาตุหวั่นไหวทั่วไตรภพ ก็ตรัสรู้ใต้ร่มไม้คือร่มพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธบริษัทถือเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นคู่เคียงพระศาสนาและพระศาสดามาจนทุกวันนี้ เวลาปรินิพพานก็ทรงนิพพานใต้ร่มไม้คือนางรังทั้งคู่ ที่เรียกว่ารุกขมูลแห่งธุดงค์ข้อนี้ การอยู่ในกุฎีที่มุงที่บังมิดชิดปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ กับการอยู่ใต้ร่มไม้ มีความแตกต่างกันมาก ข้อนี้จะทราบได้ชัดจากผู้ที่เคยอยู่ทั้งที่มุงที่บังคือกุฎีวิหาร ทั้งเคยอยู่รุกขมูลคือร่มไม้เปลี่ยวๆ มาแล้ว ใจจะรู้สึกและว้าเหว่ต่างกันมาก ยิ่งกุฎีในป่าเปลี่ยวและร่มไม้ในป่าเปลี่ยวที่เต็มไปด้วยสัตว์เสือด้วยแล้ว จะเห็นได้ชัดว่าระหว่างกุฎีกับร่มไม้มีความแปลกต่างกันอยู่มาก
    <o:p></o:p>
    ผู้ที่อยู่กุฎีในป่าเปลี่ยวจะสนุกนั่งสนุกนอนมากกว่าจะสนุกภาวนาเสียซ้ำ อย่างสบายหายระแวงต่างๆ ส่วนผู้ที่อยู่ใต้ร่มไม้ในป่าเปลี่ยวปราศจากเครื่องอารักขา หาที่จะพอหลบซ่อนนั่งนอนให้สบายมิได้ จำต้องระวังภัยอยู่ทุกอิริยาบถ สติกับจิตไม่มีเวลาจากกันเพราะกลัวจะเสียท่าเวลามีอันตราย ซึ่งอาจเกิดได้ทุกอิริยาบถ ความสุขทุกข์ของการอยู่ในที่ต่างกันนั้นรู้สึกต่างกันมาก ผู้อยู่ใต้ร่มไม้จะเป็นทุกข์มากแทบทุกด้าน แต่ทางสมาธิภาวนาสำหรับผู้มุ่งต่อธรรมแล้ว ผู้อยู่รุกขมูลร่มไม้มีทางเจริญมากกว่า เพราะอยู่ในท่าแห่งความเพียรทุกอิริยาบถ นอกจากเวลาหลับเท่านั้น ความระวังรักษาสติไม่ให้พรากจากใจเนื่องจากความกลัวภัยเป็นเหตุนั้น เป็นประโยคแห่งความเพียรที่จะยังจิตให้เจริญทางสมาธิปัญญาได้ไม่มีทางสงสัย
    <o:p></o:p>
    ดังนั้นการอยู่รุกขมูลในป่าเปลี่ยวของนักรบผู้กล้าตาย จึงเป็นเหมือนเข้าสู่แนวรบในอิริยาบถ แม้จิตที่ไม่เคยสงบ ไม่เคยรู้ว่าสมาธิเป็นอย่างไร ปัญญาเป็นอย่างไรหรือมรรคผลนิพพานเป็นอย่างไรก็ตาม เมื่อตั้งสติเข้าใกล้ชิดติดแนบกับใจ พยายามรักษาไม่ให้พลั้งเผลอ จะบริกรรมภาวนาด้วยธรรมบทต่างๆ ก็เป็นภาวนาขึ้นมาได้โดยถูกต้องด้วยสติ จะพิจารณาสภาวธรรมเพื่อความเห็นแจ้งทางปัญญา ก็เป็นปัญญาขึ้นมาได้ด้วยสติเครื่องควบคุม สติจึงเป็นธรรมจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับกิจการต่างๆ ทั้งภายนอกภายใน<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้อยู่ในที่เปลี่ยวมีรุกขมูลเป็นต้นเป็นที่บำเพ็ญ จึงมีโอกาสส่งเสริมความเพียรได้ดีกว่าที่ที่เห็นว่าปลอดภัยไร้กังวลทั้งหลายมีกุฎีเป็นต้น คุณสมบัติแห่งการอยู่รุกขมูลร่มไม้ทำให้ไม่นอนใจ มีสติอยู่กับตัว อันเป็นทางเจริญแห่งสมาธิสมาบัติมรรคผลนิพพานโดยลำดับ ไม่ชักช้าหรือมัวสงสัยอยู่เพราะความประมาทนอนใจ ผู้ที่เคยอยู่รุกขมูลในป่าเปลี่ยวมาจนเคยชินแล้ว ย่อมเป็นเหมือนผู้จัดเจนในสงครามไม่สะทกสะท้านต่อข้าศึก อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ ผิดกับผู้ไม่เคยฝึกหัดอยู่มาก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านอาจารย์มั่นท่านสรรเสริญการอยู่รุกขมูลอย่างถึงใจ และติดปากติดใจท่านตลอดมาจนอวสานแห่งชีวิต และเคยพูดเป็นเชิงเตือนสติพระลูกศิษย์ทั้งหลายให้สำนึกตัว เกิดความสนใจในการอยู่รุกขมูลว่า พระเราถ้าอยากทราบเรื่องหยาบละเอียดของตัว และเชื่อความสามารถของตนว่าเป็นพระปฏิบัติเต็มภูมิหรือไม่เพียงไร จงพากันไปอยู่รุกขมูลร่มไม้ในป่าเปลี่ยว ที่เต็มไปด้วยสัตว์เสือเป็นสิ่งเตือนใจ และทดลองความสามารถอาจหาญหรือความขี้ขลาดไม่เป็นท่าของตัว จนรู้ความลึกตื้นแห่งความหมายของการอยู่รุกขมูลที่ทรงบัญญัติไว้ พอทราบความกลัวตามนิสัยดั้งเดิมและความกล้าที่เกิดจากความเพียรที่ตนชำระได้ ศีล สมาธิ ปัญญา ตลอดธรรมเบื้องสูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ ย่อมเจริญขึ้นตามๆ กัน และรู้ประจักษ์ใจตัวเองเป็นระยะไป นั่นแลจะเห็นคุณของธุดงค์ข้อนี้อย่างถึงใจ
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าและสาวกท่านทรงถือและถือธุดงค์ข้อนี้ เป็นคู่กับชีวิตความเพียรไปตลอดสายไม่ทรงละเลย เพราะเป็นที่อยู่ของบุคคลผู้ตื่นตัวตื่นใจไม่ประมาทนิ่งนอน ความเพียรด้านจิตใจท่านจึงเจริญและเจริญจนสุดขีดสุดแดน ไม่มีอะไรเทียบเท่าเสมอได้ในโลกทั้งสาม จึงทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นกรุยหมายป้ายบอก ราวกับท่านตรัสว่า นี่น่ะทางเดินเพื่อพ้นภัยไร้ทุกข์ทั้งมวล เธอทั้งหลายมัวงุ่มง่ามต้วมเตี้ยมอยู่ทำอะไรกัน สถานที่นี้มิใช่สถานที่งุ่มง่ามทรามสติปัญญา แต่เป็นสถานที่ฟื้นฟูสติปัญญาความเพียรทุกด้านให้แก่กล้าแหลมคม มา เราตถาคตจะพาไปไม่ชักช้า อย่ามัวพะรุงพะรังแบกภาระหนักโดยสำคัญว่าตนมีกำลังสามารถอยู่เลย เวลาคับขันจะไม่มีอะไรติดตัว รีบแสวงหาชัยสมรภูมิที่บำเพ็ญเหมาะๆ มีรุกขมูลเป็นต้น จิตจะได้บรรลุธรรมที่เหมาะกับใจ ไร้กิเลสกองทุกข์ทั้งหลายเสียได้
    <o:p></o:p>
    สถานที่เช่นนี้แลตถาคตปราบปรามกิเลสทั้งมวลให้หมอบราบเสียได้ โน้นต้นพระศรีมหาโพธิ์อย่างไรล่ะ ที่เป็นเครื่องหมายมหาชัยของตถาคต ถ้าไม่เรียกว่ารุกขมูลควรจะเรียกว่าอะไร สิทธัตถราชกุมารอุบัติตรัสเป็นพระพุทธเจ้าที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์นั่นแล พวกเธอยังจะสงสัยและจะไปแสวงหาธรรมที่ไหนกันอีก ถ้าไม่หาดังที่ตถาคตพาหาพารู้นี้ สถานที่เช่นนี้แลคือที่อันศักดิ์สิทธิ์ของผู้เห็นภัย จะพากันหลงงมงายไปหาที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ไหนกัน ความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเราเป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งเหนือสิ่งใดๆ จงพากันค้นหาให้เจอและค้นลงที่ใจนี้ โดยอาศัยสถานที่เหมาะสมเป็นสนามขุดค้นดังนี้<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงที่ไหน รู้สึกถึงใจดังที่เขียนผ่านมานี้ เพราะเป็นโอวาทที่ออกจากความรู้จริงเห็นจริงของท่านจริงๆ ไม่มีที่น่าสงสัยว่าข้อปฏิบัติมรรคผลนิพพานจะมีอยู่ในที่อื่นใด นอกไปจากข้อปฏิบัติของผู้บำเพ็ญด้วยสามีจิกรรมเลย ยิ่งฟังต่อหน้าท่านแสดงด้วยแล้ว ราวกับท่านถอดมรรคผลนิพพานออกมาจากใจ ให้คณะศิษย์ผู้ตาบอดลูบคลำกันพอให้เสียดาย แล้วท่านก็เก็บไว้ที่เดิมเสีย คือขณะท่านแสดงก็เหมือนท่านหยิบยกออกมาให้ดู พอจบการแสดงก็เหมือนท่านเก็บไว้ที่เดิมคือที่ใจท่านเสีย ขณะฟังเหมือนจะพากันเหาะเหินเดินเมฆไปทางอากาศ พอฟังจบแล้วเหมือนคนตาบอด ต่างลูบคลำแต่หาทางไปไม่ได้ อันนั้นก็สงสัยอันนี้ก็สงสัย อันนั้นก็เข้าใจว่าดี อันนี้ก็เข้าใจว่าเลิศ แล้วคว้าเอาทั้งเปลือกทั้งกระพี้ทั้งรากแก้วรากฝอย ซึ่งทำประโยชน์อะไรไม่ได้นั่นแล พอปลง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เราดีๆ นี่เอง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การอยู่รุกขมูลนี้ท่านอาจารย์ท่านว่า ท่านเคยได้รับประโยชน์ประทับใจเรื่อยมา จึงชอบอยู่ในสถานที่เช่นนั้นไม่จืดจาง การอยู่ปราศจากที่มุงที่บังอันเป็นเครื่องป้องกันอันตราย จิตใจต้องหวาดระแวงแน่นอน ยิ่งตกกลางคืน ถ้าเป็นคนขี้ขลาดมองเห็นอะไรต้องเหมาว่าเป็นเสือไปหมด บางรายที่มีนิสัยขี้กลัว ตอนกลางวันต้องสังเกตพุ่มไม้ข้างบริเวณที่อยู่ไว้อย่างรอบคอบ เพื่อสังเกตง่ายในเวลากลางคืน ไม่เช่นนั้นพุ่มไม้ที่อยู่รอบๆ บริเวณที่พักนั้นก็จะกลายเป็นเสือขึ้นในมโนภาพความสำคัญ และหลอกหลอนตลอดคืนไม่เป็นอันอยู่หลับนอนและภาวนาได้ ผู้ที่อยู่รุกขมูลมีความระมัดระวังผิดกับผู้อยู่ในที่มุงที่บังอยู่มาก ทั้งด้านอิริยาบถเกี่ยวกับความเป็นอยู่หลับนอนและด้านสมาธิภาวนา ฉะนั้นจิตจึงมักก้าวไปเร็วกว่ากัน
    <o:p></o:p>
    ทั้งนี้มิได้มีใครบังคับท่านให้จำต้องทำ แต่เป็นความสมัครใจของแต่ละท่านจะหาอุบายฝึกทรมานตนเป็นรายๆ ไป บางครั้งขณะท่านนั่งทำสมาธิภาวนาอยู่ในมุ้งใต้ร่มไม้ที่เรียกว่ารุกขมูล เสือยังแอบด้อมเข้ามาดูท่านอย่างเงียบๆ จนถึงที่อยู่ก็ยังมี พอทราบว่าเป็นคนแล้วก็รีบถอยห่างออกไปไม่มาเกี่ยวข้องอีกเลย ที่มันแอบเข้ามาดูนั้น เข้าใจว่ามันคงสงสัยเพราะไม่เคยเห็นมาก่อน แต่เสือบางตัวรู้สึกจะมีเจตนาซ่อนเร้นพิกลที่ไม่น่าไว้ใจแฝงอยู่ด้วย จะทราบได้ขณะที่พระท่านกำลังเดินจงกรมอยู่ที่มืดๆ ไม่จุดไฟ มันยังแอบด้อมเข้ามาจนถึงที่สุดทางเดินจงกรม ห่างกันประมาณวาเศษเท่านั้น และหมอบราบดูอยู่ที่นั้นไม่ยอมหนีไปไหน จนพระท่านได้ยินเสียงนิดๆ ผิดสังเกตธรรมดา ฉายไฟไปดูก็เห็นมันโดดออกไปจากที่นั้นทันที แต่วันหลังไม่เห็นมันกลับมาอีก ที่กล่าวนี้หมายถึงเสือโคร่งใหญ่ลายพาดกลอน ตัวขนาดเท่าม้าแข่งเราดีๆ นี่เอง มิใช่เสือดาวซึ่งเป็นสัตว์ชอบแอบหากินสุนัขกับคนที่ไปเที่ยวป่า ตามนิสัยของสัตว์ชนิดนั้นที่เคยหากินกับคน<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การอยู่รุกขมูลของพระธุดงค์ผู้เป็นเจ้าของเรื่องต่างๆ ที่น่าหวาดกลัวซึ่งนำมาลงเพียงเล็กน้อยนี้ ถ้านึกวาดภาพเปลี่ยนให้ท่านที่อยู่รุกขมูลและเรื่องที่ท่านประสบมา กลายมาเป็นเรื่องของเราเข้าบ้าง ท่านผู้อ่านจะมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง ถ้าทนได้และทรมานได้จนกลายเป็นเจ้าของประวัติอันดีงามได้ก็นับว่าดี เป็นคติแก่อนุชนได้ยึดเป็นหลักใจต่อไป เผื่อทนไม่ได้ทรมานไม่ลงปลงไม่ตก น่ากลัวจะเป็นประวัติที่ขายหน้าตัวเองและหมู่คณะตลอดพระศาสนาอันเป็นหัวใจของชาวพุทธให้มัวหมอง ชนิดไม่มีอะไรมาลบล้างให้หายได้ตลอดกาลนาน และกลายเป็นบุคคลที่มีปมด้อย วงกรรมฐานที่มีปมด้อย และพระศาสนาที่มีปมด้อยตลอดไป เพราะอาศัยเราคนไม่เป็นท่าเพียงคนเดียว พาให้สิ่งที่มีคุณค่าไม่มีประมาณทั้งหลายเสียไปด้วย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เพียงนึกวาดภาพทดลองดูขณะเดียวก็พอทำให้ทราบได้ว่า ท่านที่อุตส่าห์พยายามตะเกียกตะกายด้วยวิธีนั้นแต่ขั้นเริ่มแรกชีวิตแห่งธุดงคกรรมฐาน จนสามารถตั้งรากฐานมั่นคงในธรรมทั้งหลายได้ เพราะความเดนตายนั้น จะเป็นความลำบากกายทรมานใจมากเพียงไร ซึ่งยากจะมีผู้กล้าเสียสละอย่างท่านได้ในวงมนุษย์ผู้เห็นแก่ตัวกลัวทุกข์มากกว่าธรรมเครื่องนำออก การอยู่ปราศจากที่มุงที่บังโดยประการทั้งปวงนั้น ย่อมเป็นเครื่องส่อให้เห็นแล้วว่า เป็นนักเสียสละทุกอย่างไม่อาลัยเสียดาย จะตายไปเพราะเหตุใดก็ย่อมให้เป็นไปตามคติธรรมดา ไม่คัดค้านต้านทานด้วยวิธีเห็นแก่ตัว จะอดอยากขาดแคลนปัจจัยสี่ที่โลกอาศัยและถือกันเป็นสำคัญ ก็ยอมอดโดยธรรม ไม่แสดงความอึดอัดขัดใจอันเป็นทางส่งเสริมทุกข์ให้มากมูน จะเป็นทุกข์ทรมานเพราะความเพียรกล้าก็ยอมทน เพราะอยากพ้นทุกข์ด้วยความเพียรนั้นๆ แม้สัตว์เสือตัวหิวโหยอาหารจะมากัดและคาบเอาไปกิน ก็ยอมสละให้มันด้วยความเป็นนักบวชและนักเสียสละอย่างพร้อมมูลอยู่แล้วภายในใจไม่มีอะไรขัดข้องหึงหวง
    <o:p></o:p>
    การเสียสละทุกอย่างเพื่อธรรมดวงเลิศ เป็นความอยู่สบายในที่ทุกสถาน แม้ชีวิตของผู้อยู่รุกขมูลร่มไม้ด้วยความเสียสละ จะไม่มีความหมายสำหรับคนทั่วไป แต่ใจกลับมีความหมายในธรรมอันมีค่ามาก ฉะนั้นแทนที่ชีวิตร่างกายท่านจะหมดความหมายไปตามความเสกสรรของโลกทั่วๆ ไป แต่กลับเป็นสิ่งที่มีค่ามากยากจะมีผู้สละได้ พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นความสำคัญแห่งคุณค่าในธุดงค์ข้อนี้ว่า เป็นธรรมเครื่องปราบปรามกิเลสภายในใจสัตว์โลกได้เป็นอย่างดี จึงทรงบัญญัติเป็นแนวทางไว้ โลกจะได้ดำเนินตาม และเผื่อท่านผู้มีใจเป็นนักรบเพื่อการอยู่จบพรหมจรรย์ ประสงค์ธรรมข้อนี้เป็นยานพาหนะขับขี่ข้ามโลกสงสาร จะได้ยึดเป็นหลักชัยในการออกสงคราม ตามเสด็จให้ทันพระองค์โดยไม่ชักช้าเนิ่นนาน
    <o:p></o:p>
    เพราะธรรมข้อนี้เป็นเครื่องปลุกใจ ให้ผู้ปฏิบัติเกิดความอาจหาญต่อแดนพ้นทุกข์ไม่มีทางสงสัย โดยอาศัยสิ่งแวดล้อมชนิดต่างๆ เป็นเครื่องเตือนใจให้ประคองความเพียรด้วยความสม่ำเสมอ จนถึงจุดที่มุ่งหมายได้โดยไม่มีอุปสรรค ดังที่อธิบายมาพอเป็นแนวทางเล็กน้อยแก่ท่านผู้สนใจจะได้นำไปเทียบเคียง ระหว่างท่านกับเราซึ่งหวังความเจริญด้วยกัน จะควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง พอมีทางเล็ดลอดปลอดภัยที่ควรเป็นได้ ไม่นั่งนอนคอยรับทุกข์น้อยใหญ่จากการกระทำของจิตผู้เป็นตัวการ ซึ่งมีนิสัยชอบในสิ่งที่เลยขอบเขตประจำตน ธรรมข้อนี้แม้จะเรียกว่าเป็นหัวใจกรรมฐานข้อหนึ่งก็ไม่น่าจะผิด เพราะพระธุดงคกรรมฐานผู้มุ่งต่ออรรถต่อธรรมจริงๆ ท่านชอบปฏิบัติธรรมข้อนี้แทบทั้งนั้น ผู้เขียนเองแม้จะไม่มีความรู้ความฉลาดอะไรเลย แต่หัวใจมีก็อดจะชอบธรรมข้อนี้ไม่ได้ นอกจากจะเอื้อมไม่ถึงเท่านั้น จึงยอมสารภาพตนอย่างไม่อาย<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธุดงค์ข้อบิณฑบาตเป็นวัตร การบิณฑบาตเป็นกิจจำเป็นของพระผู้บวชเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส ปรากฏในพระพุทธศาสนาโดยทางเพศอย่างเปิดเผย ย่อมถือบิณฑบาตเป็นงานสำคัญประจำชีวิต ดังอนุศาสน์ท่านสอนไว้ ซึ่งมีทั้งข้อรุกขมูล เสนาสนะและข้อบิณฑบาต ซึ่งเป็นเครื่องพร่ำสอนที่สำคัญหลังจากการอุปสมบทแล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงสนพระทัย และทรงถือเป็นกิจจำเป็นประจำพระองค์ตลอดมาจนถึงวันเสด็จปรินิพพาน หากจะทรงงดบ้างก็เป็นบางสมัยที่ไม่อาจทรงปฏิบัติได้ เช่น สมัยทรงจำพรรษาที่ป่าเลไลยก์กับช้างปาลิเลยยกะ เป็นต้น เพราะมิใช่แดนมนุษย์ที่ควรจะถวายความสะดวกแก่พระองค์ได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การบิณฑบาตเป็นกิจวัตรข้อหนึ่งที่อำนวยผลแก่ผู้บำเพ็ญ ให้ได้รับความสงบสุขทางใจ คือ เวลาเดินไปในละแวกบ้านก็เป็นการบำเพ็ญเพียรไปในตัวตลอดทั้งไปและกลับ เช่นเดียวกับเดินจงกรมอยู่ในสถานที่พัก หนึ่ง เป็นการเปลี่ยนอิริยาบถในเวลานั้น หนึ่ง ผู้บำเพ็ญทางปัญญาโดยสม่ำเสมอแล้ว เวลาเดินบิณฑบาตขณะที่ได้เห็นหรือได้ยินสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาสัมผัสทางทวาร ย่อมเป็นเครื่องเสริมปัญญาและถือเอาประโยชน์จากสิ่งนั้นๆ ได้โดยลำดับ หนึ่ง เพื่อดัดความเกียจคร้านประจำนิสัยมนุษย์ที่ชอบแต่ผลอย่างเดียว แต่ขี้เกียจทำเหตุซึ่งเป็นคู่ควรแก่กัน หนึ่ง เพื่อดัดทิฐิมานะ ที่เข้าใจว่าตนเป็นคนชั้นสูงออกจากตระกูลสูงและมั่นคั่งสมบูรณ์ทุกอย่าง แล้วรังเกียจต่อการโคจรบิณฑบาตอันเป็นลักษณะคนเที่ยวขอทานท่าเดียว
    <o:p></o:p>
    ได้อะไรมาจากบิณฑบาตก็ฉันพอยังอัตภาพให้เป็นไป ไม่พอกพูนส่งเสริมกำลังทางกายให้มาก อันเป็นข้าศึกต่อความเพียรทางใจให้ก้าวไปได้ยาก การฉันหนเดียวก็ควรฉันพอประมาณ ไม่มากเกินจนท้องอืดเฟ้อย่อยไม่ทัน เพราะเหลือกำลังของไฟในกองธาตุจะย่อยได้ ความอดความหิวถือเป็นเรื่องธรรมดาของผู้พิจารณาธรรมทั้งหลายเพื่อความสิ้นทุกข์โดยไม่เหลือ นอกจากฉันหนเดียวแล้วยังสังเกตอาหารอีกด้วยว่า อาหารชนิดใดเป็นคุณแก่ร่างกาย ไม่ทำให้ท้องเสียและเป็นคุณแก่จิต ภาวนาสะดวก จิตไม่มัวหมองเพราะพิษอาหารเข้าไปทำลาย
    <o:p></o:p>
    เช่น เผ็ดมากเกินไป เค็มมากเกินไป ซึ่งทำให้ออกร้อนภายในท้อง ก่อความกังวลแก่จิตใจไม่เป็นอันทำความเพียรได้สะดวก เพราะกายกับใจเป็นสิ่งเกี่ยวเนื่องกันและกระเทือนถึงกันได้เร็ว ท่านจึงสอนให้เลือกอาหารที่เป็นสัปปายะ ซึ่งเป็นคุณแก่ร่างกายและจิตใจถ้าพอเลือกได้ ถ้าเลือกไม่ได้แต่ทราบอยู่ว่าอาหารนี้ไม่เป็นสัปปายะก็งดเสียดีกว่า ฝืนฉันลงไปแล้วเกิดโทษแก่ร่างกาย ทำความทุกข์กังวลแก่จิตใจ ผู้ฉันหนเดียวมักทำความรู้สึกตัวได้ดี ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมในรสอาหารชนิดต่างๆ<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การอยู่รุกขมูลร่มไม้เป็นวัตรก็ดี การบิณฑบาตเป็นวัตรก็ดี การฉันหนเดียวเป็นวัตรก็ดี สำหรับพระธุดงคกรรมฐาน ล้วนเป็นอุบายวิธีฝึกทรมานกิเลสตัวพาดวงจิตดิ้นรนกวัดแกว่งให้ลดกำลังลง ไม่ฮึกเหิมลำพองออกนอกลู่นอกทาง เหมือนม้าตัวพยศแหวกแนวจากสนามรบฉะนั้น คุณสมบัติแห่งธุดงค์เหล่านี้ทำให้ร่างกายจิตใจเบา ฝึกหัดง่ายกว่าธรรมดา กายก็ไม่มีกำลังทับจิตใจได้มากเหมือนปล่อยให้ฉันตามต้องการ และฉันจิ๊บๆ จั๊บๆ พร่ำเพรื่ออันเป็นการบำรุงมากไป ผิดกับลักษณะของพระธุดงคกรรมฐานผู้ศึกษาอบรมเพื่อรู้จักประมาณในทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ฉันในบาตรเป็นวัตร ฉันในภาชนะเดียว นี้หมายถึงการฉันสำรวมในบาตร บรรดาอาหารคาวหวานต่างๆ นำเข้ารวมลงในบาตรใบเดียวทั้งสิ้น ไม่แบ่งแยกไว้ในภาชนะใดที่อยู่นอกบาตรอันเป็นความมักมากเหลือเฟือ เสียศักดิ์ศรีของพระธุดงค์ผู้ตั้งตนอยู่ในความมักน้อยสันโดษซึ่งเป็นความเหมาะสมดีแล้ว ไม่พะรุงพะรังทั้งการเตรียมฉันเตรียมนั่งเตรียมนอนต่างๆ คุณสมบัติที่เกิดจากการฉันในบาตรมีมากตามแต่กำลังสติปัญญาของแต่ละรายจะขุดค้นขวนขวายขึ้นมาใช้สำหรับตัว
    <o:p></o:p>
    ธุดงค์นี้มีอย่างต่ำ อย่างกลางและอย่างเยี่ยม อย่างต่ำแม้จะนำอาหารลงรวมในบาตร แต่ก็แยกไว้คนละด้านได้ เช่น คาวอยู่ด้านหนึ่ง หวานอยู่ด้านหนึ่ง หรือมีอาหารชนิดที่ควรกั้นได้ เช่น กล้วยเป็นต้น กั้นไว้ไม่ให้คละเคล้ากัน อย่างกลางแม้นำอาหารรวมกันเช่นอย่างต่ำ แต่อาจแยกกันโดยปริยาย ไม่ผสมกันทีเดียว อย่างเยี่ยม ไม่ว่าคาวหรือหวานนำเข้าผสมกัน ไม่ปรากฏว่าคาวกับหวานอยู่คนละด้านเลย ทำให้ผสมกันหมด ก่อนจะลงมือฉันก็รำพึงถึงปัจจเวกขณะก่อน คือ ปฏิสงฺขา โยนิโส ปิณฺฑปาตํ ปฏิเสวามิ ฯลฯ เป็นเครื่องพิจารณาโดยแยบคาย ในบรรดาอาหารชนิดต่างๆ ที่รวมกันอยู่ในที่แห่งเดียว ตามกำลังสติปัญญาที่มีอยู่ อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าหนึ่งนาที เพราะของดีที่จะเกิดจากการพิจารณาด้วยดีนั้น มีซ่อนเร้นอยู่ในอาหารผสมอย่างลึกลับ ทั้งจะได้เห็นตัวตัณหา ที่คอยแอบแฝงมากับความหิวโหยอย่างไม่คาดฝันในวันหนึ่งแน่นอน
    <o:p></o:p>
    ตามปกติความหิวโหยของธาตุขันธ์ท่านมิได้จัดว่าเป็นตัณหา แต่ความหิวอันเป็นตัวตัณหาที่คอยแอบตามมากับธาตุขันธ์นั้นเป็นความลึกลับอยู่มาก ยากจะเห็นและจับตัวมันได้ เพราะมันคอยกลบรอยและสอดแทรกไปกับธาตุขันธ์ที่กำลังหิวโหยในเวลานั้น จนมิได้สนใจว่า ความหิวของธาตุก็มีกิเลสประเภทบังเงาแฝงมาด้วย การพิจารณาก่อนฉันหรือกำลังฉันไปตามลำดับแห่งการฉัน จึงมีทางรู้เรื่องของกิเลสชนิดแอบแฝงนี้ได้ดี และเห็นคุณของ ปฏิสงฺขา โยนิโส ฯ ว่าเป็นอาวุธเครื่องประหารกิเลสประเภทบังเงาได้อย่างดีเยี่ยม แม้กิจนอกการในใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับตนก็จะไม่ลืมธรรมบทนี้ จนกลายเป็นผู้มีธรรมบทนี้ประจำใจอยู่ทุกอิริยาบถ การแยกแยะต่างๆ ทั้งชนิดอาหารและวิธีพิจารณาจะไม่ขออธิบายไว้มาก เกรงจะฟั่นเฝือเกินไป<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธุดงค์ข้อถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรเป็นการตัดทอนกิเลสตัวทะเยอทะยานชอบสวยชอบงามได้ดี กิเลสชนิดนี้เป็นที่น่าเบื่อหน่ายในวงนักปราชญ์ทั้งหลาย แต่เป็นที่กระหยิ่มลืมตัวของพาลชนทั้งหลาย พระธุดงค์ที่ต้องการความสวยงามภายใน คือ ใจสะอาดผ่องใส จำต้องฝืนกิเลสตัวชอบสวยงามราวกับจะเหาะเหินเดินเมฆไปทางอากาศนี้ เที่ยวเสาะแสวงหาผ้าบังสุกุลที่เขาทอดทิ้งไว้ตามป่าช้า หรือที่กองขยะของเศษเดนทั้งหลาย มาซักฟอกแล้วเย็บปะติดปะต่อเป็นสบงจีวรสังฆาฏิใช้สอยพอปกปิดกาย และบำเพ็ญสมณธรรมไปตามสมณวิสัยอย่างหายกังวล ไม่คิดเป็นอารมณ์ห่วงใยผูกพันกับใครและสิ่งใด นอกไปจากธรรมที่กำลังขุดค้นบำเพ็ญอยู่
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ผ้าบังสุกุลในสมัยนั้นรู้สึกจะเป็นผ้าที่ไร้คุณค่าและความหมายจริงๆ เช่น ผ้าพันศพ ผ้าที่ทิ้งอยู่ตามถนนหนทาง มิใช่ผ้าที่ศรัทธาตั้งใจถวายเป็นผ้าบังสุกุลดังที่เป็นอยู่ในเมืองเราทุกวันนี้ ผู้ที่สามารถชักผ้าชนิดนั้นได้ก็ต้องเป็นผู้ตั้งหน้าสละความนิยมจากทางโลก เปลี่ยนใจออกมาเป็นความมีคุณค่าและความมุ่งหมายในทางธรรม นับแต่ชีวิตอัตภาพร่างกายลมหายใจทุกส่วน มอบเป็น พุทธทาส ธรรมทาส สังฆทาส ด้วยความเทิดทูนโดยสิ้นเชิง การสลัดปัดทิ้งซึ่งความมีคุณค่าและความนิยมทั้งหลายที่นับถือกัน แทนที่จะเป็นผู้หมดคุณค่าและความนิยมดังที่เข้าใจกัน แต่ใจกลับมีคุณค่าขึ้นมาอย่างอัศจรรย์ผิดคาด เช่น พระพุทธเจ้าขณะที่สละราชสมบัติออกทรงผนวชที่เรียกว่าหมดคุณค่าแห่งความนิยมนับถือของโลกสมัยนั้น แต่ผลกลับปรากฏขึ้นอย่างผิดคาดหมาย คือได้เป็นศาสดาของโลกทั้งสามมาจนปัจจุบันนี้ ซึ่งหมดทางที่จะแย้งได้ ธุดงควัตรที่เป็นเครื่องพร่ำสอนพระให้ทำตนเป็นเหมือนผ้าขี้ริ้ว ก็มีความมุ่งหมายทำนองนั้นเหมือนกัน คือ เพื่อคุณค่าทางจิตใจ
    <o:p></o:p>
    ธุดงค์ข้ออยู่ป่าเป็นวัตร การอยู่ป่าเป็นวัตรเป็นธรรมเนียมของพระธุดงคกรรมฐานที่เคยปฏิบัติกันมา ในสายตาของท่านอาจารย์มั่น ท่านถือเป็นธุดงค์สำคัญข้อหนึ่งในบรรดาธุดงค์ทั้งหลาย ธุดงค์ที่ท่านปฏิบัติกันมากมาเป็นประจำคือ ข้ออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่รุกขมูลร่มไม้เป็นวัตร ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร ฉันหนเดียวเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร แต่มิได้ปฏิเสธคหบดีจีวรที่ท่านผู้มีศรัทธาถวาย สำหรับท่านอาจารย์มั่นท่านไม่รับครองจริงๆ จนอวสานสุดท้ายแห่งชีวิต ข้อนี้ไม่ค่อยมีท่านที่ยึดจากท่านได้กี่องค์ ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร ถือเนสัชชิ คือไม่นอนเป็นคืนๆ ไป ตามแต่จะกำหนด ถือห้ามอาหารที่ตามส่งทีหลัง ฯลฯ
    <o:p></o:p>
    ข้อเหล่านี้ ท่านชอบปฏิบัติมากในสายท่านอาจารย์มั่น ส่วนข้ออื่นๆ นอกจากนี้ก็ปฏิบัติบ้างเป็นครั้งคราว แต่จะขอผ่านไป เพราะได้เคยอธิบายไว้ในประวัติท่านอาจารย์มั่นบ้างแล้ว ท่านผู้ประสงค์อยากทราบโดยละเอียด โปรดดูหมวดธุดงค์ ๑๓ ในธรรมวิภาค ปริเฉท ๒ หากจะอธิบายบ้างก็ขอยกออกมาเป็นตอนๆ ที่เกี่ยวกับปฏิปทาของพระธุดงค์แต่ละรายไป สำหรับสายท่านอาจารย์มั่น ท่านชอบปฏิบัติเป็นประจำก็มีดังที่ระบุมานี้ ส่วนขันธวัตร ๑๔ มีเสนาสนวัตรเป็นต้น ก็จะไม่ขออธิบาย เพราะมีอยู่ในหนังสือทั่วไป หาดูได้ง่าย เช่น วินัยมุขเล่ม๒ เป็นต้น ถ้าประสงค์อยากทราบก็กรุณาหาดูตามนั้น<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระกรรมฐานท่านปฏิบัติตามธุดงค์ ๑๓ และขันธวัตร ๑๔ นี้เป็นประจำ แม้จะมีปลีกย่อยออกไปบ้างก็อยู่ในหลักใหญ่ที่กล่าวแล้ว มิได้ปฏิบัตินอกลู่นอกทางไปอื่น แต่การปฏิบัติและประสบเหตุการณ์นั้นมีแปลกต่างกันไปบ้างเป็นรายๆ ตามจริตนิสัยที่ไม่เหมือนกัน โดยมากรายที่ชอบอยู่ป่าอยู่เขาเป็นนิสัย มักจะประสบเหตุการณ์มากกว่าการอยู่ป่าธรรมดา แม้ท่านอาจารย์มั่นผู้เป็นต้นตระกูลของพระธุดงคกรรมฐานสายนี้ ก็ชอบอยู่ป่าอยู่ถ้ำอยู่เขาเป็นนิสัย และชอบสั่งสอนพระให้สนใจในการอยู่ป่าอยู่เขา มากกว่าจะสอนให้อยู่ในที่ธรรมดา ฉะนั้นการประสบเหตุการณ์ของพระผู้ชอบอยู่ป่าเปลี่ยวนั้นจึงมีมากและมีอยู่เสมอ เช่นเกี่ยวกับพวกภูตผี เทวดา อินทร์ พรหม นาค พวกสัตว์เสือต่างๆ บ้าง พระสาวกอรหันต์มาเยี่ยมและอบรมสั่งสอนบ้าง

    พูดมาถึงนี้ ก็จะขออาราธนาเรื่องพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นศิษย์ท่านอาจารย์มั่นมาลงบ้าง พอท่านผู้อ่านได้ข้อคิดเล็กน้อย ที่ท่านมีประสบการณ์คล้ายคลึงกับท่านอาจารย์มั่น ว่าจะมีความจริงเพียงไรในความรู้สึกของพวกเรา ผู้เพียงอ่านเรื่องท่านผู้อื่นไปก่อน มิใช่เรื่องของตัวประสบเอง เมื่อถึงเวลาเราประสบบ้างถ้ามีความสามารถ จะมีความคิดความรู้สึกอย่างไรบ้าง จึงขอฝากข้อคิดไว้ พระเถระรูปนั้นปัจจุบันท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านชอบเที่ยวอยู่ในป่าในเขาเป็นนิสัย ไม่ชอบเกี่ยวข้องด้วยหมู่ชนพระเณร ท่านเห็นประโยชน์ในการอยู่โดยลำพังในป่าในเขาลึก ทั้งเพื่อประโยชน์ท่านเองและประโยชน์ผู้อื่นที่เป็นภูมิลึกลับ คือ พวกเทวบุตร เทวดา อินทร์ พรหม ภูตผี นาค อสุรกาย ต่างๆ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ภพภูมิเหล่านี้เป็นสัตว์ลึกลับในสายตามนุษย์ทั้งหลาย คล้ายกับไม่มีความหมายและไม่มีอยู่ในโลกมนุษย์และในตัวในสามภพนี้เลย สัตว์พิเศษเหล่านี้อาราธนาท่าน ขอให้เห็นแก่พวกเขาที่มีความเชื่อกรรมดีชั่ว บุญบาป นรกสวรรค์ และนิพพาน เช่นเดียวกับมนุษย์ผู้เชื่อกรรมทั้งหลาย เป็นแต่ไม่สามารถแสดงตนและความคิดเห็นต่างๆ ให้โลกรู้เห็นได้อย่างเปิดเผยเหมือนโลกที่เปิดเผยทั้งหลายเท่านั้น นานๆ จะมีท่านที่มีสายตายาว คือ ความรู้พิเศษ ไม่อคติลำเอียงต่อสิ่งที่มีอยู่ทั้งหลาย มาโปรดสักครั้ง
    <o:p></o:p>
    สัตว์พิเศษเหล่านี้ไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับมนุษย์หญิงชาย ผู้หยาบทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ค่อยมีความให้อภัยสัตว์โลกกันแทรกอยู่ในจิตเลย นอกจากมนุษย์ที่มีศีลธรรมในใจ แม้กายจะหยาบก็ถือว่าเป็นหลักธรรมชาติของผู้อยู่ใต้กฎของกรรมจะยอมรับโดยทั่วกัน เทวดาทั้งหลายมิได้ถือมิได้รังเกียจ แต่มนุษย์จำพวกนี้มีน้อยมากและหาคบได้ยาก แม้เขาจะสามารถให้ความร่มเย็นแก่เรา เพราะความดีของเขาที่สละเพื่อผู้อื่นด้วยวิธีต่างๆ แต่เขาก็ไม่สามารถรู้เรื่องและติดต่อกับเราโดยตรงได้ นอกจากความดีที่ประสานกันอยู่เท่านั้น<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มนุษย์พวกนี้ทำความร่มเย็นแก่โลกได้อย่างกว้างขวาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งที่แจ้งแลที่ลับ ไม่มีกาลสถานที่ ไม่มีประมาณ แม้พวกภูตผีที่มีกรรมเบาพอประมาณ ก็ได้รับความเย็นจากมนุษย์จำพวกนี้แผ่ส่วนความดีให้เป็นประจำ พวกกายทิพย์พลอยอนุโมทนากับเขาอยู่โดยสม่ำเสมอ ขอให้เขามีความเจริญรุ่งเรืองและทำประโยชน์แก่โลกได้นานๆ กว่าจะละโลกนี้ไปเสวยสมบัติอันมีค่าของตนๆ สำหรับพระคุณเจ้าเป็นมนุษย์พิเศษ มีทั้งศีลทั้งธรรม งามทั้งใจ สว่างไสวด้วยความรู้และคุณธรรม น่าเคารพเลื่อมใสมาก พวกข้าพเจ้าทั้งหลายขออาราธนาอยู่ที่นี่โปรดสัตว์ไปนานๆ เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลกผู้อาภัพ ความมีภพภูมิตามสายตาของมนุษย์ทั้งหลาย จะได้พากันมาฟังโอวาทคำสั่งสอนแลเพิ่มพูนบุญญาบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป และเป็นปัจจัยแก่มรรคผลนิพพานอันเป็นธรรมสุดโลกดังนี้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านเล่าว่า เวลาท่านพักอยู่ในภูเขาลึก โดยมากมีแต่พวกกายทิพย์มาเกี่ยวข้องทั้งใกล้ทั้งไกล ทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง ตลอดนาคและภูตผีทั้งหลายแทบไม่เว้นแต่ละคืน การทำความเพียรก็เป็นไปตามเวลามิได้หยุดหย่อน การพักผ่อนร่างกายก็สะดวกสบาย การต้อนรับแขกลึกลับก็มิได้หยุด วันคืนหนึ่งๆ ไม่ค่อยมีเวลาว่างอยู่เฉยๆ แต่เป็นความสะดวกผิดธรรมดาที่อยู่กับผู้คนพระเณรมากๆ ซึ่งหาความสงบไม่ค่อยได้ขณะที่มาเกี่ยวข้องกัน ส่วนพวกกายทิพย์จะเป็นภูมิใดก็ตาม แม้มีมาเป็นจำนวนมากก็เป็นเหมือนไม่มี การแสดงธรรมก็เป็นมาจากใจล้วนๆ ไม่ได้ใช้กำลังกาย ขณะที่แสดงธรรมก็ไม่ปรากฏว่ากายมีในความรู้สึก มีแต่ความรู้กับธรรมที่สัมผัสกันออกมาเท่านั้น ความเหน็ดเหนื่อยไม่ปรากฏในเวลาแสดงธรรมให้พวกนี้ฟัง ขณะฟังธรรมจบลงรู้สึกมีความยิ้มแย้มแจ่มใส และพร้อมกันสาธุการสามครั้ง เสียงสะเทือนไปทั่วโลกธาตุเช่นเดียวกับที่ท่านอาจารย์มั่นเคยเล่าให้ฟัง
    <o:p></o:p>
    การสนทนาธรรมก็มุ่งความรู้ความเข้าใจจริงๆ เช่นเดียวกับผู้เดินทางสายที่ตนยังไม่เคยเดิน กลัวผิดทาง ถามเขาด้วยความสนใจอยากรู้ทางจริงๆ ฉะนั้น บางพวกก็สนทนาด้วยภาษาใจธรรมดา แต่บางพวกสนทนาด้วยภาษาบาลีเหมือนพุทธพจน์ แต่ก็ทราบความหมายของบาลีนั้นๆ อันอยู่ในความหมายแห่งภาษาใจอันเดียวกัน ท่านเล่าว่าเวลาออกจากสมาธิแล้ว ท่านพยายามจดบาลีปัญหาที่เทวดาถามไว้มากมาย สมัยท่านอาจารย์มั่นยังมีชีวิตอยู่ ก็ไปเรียนถามให้ท่านแปลให้ฟัง
    <o:p></o:p>
    ท่านอาจารย์มั่นว่าบาลีเป็นศัพท์ตายตัวเวลาสู่โลกทั่วๆ ไป แต่บาลีที่ผุดขึ้นมาก็ดี เทวดาถามก็ดี เป็นคำเฉพาะบุคคล กาล สถานที่เท่านั้นจะนำออกไปใช้ทั่วไปย่อมไม่สะดวก แม้ได้ความชัดเจนตามที่แปลออกจากบาลีทั่วๆ ไปก็จริง แต่บาลีที่ผุดขึ้นเฉพาะบุคคลในความหมายก็มุ่งเฉพาะบุคคลนั้นเท่านั้น มักไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น แม้ผมแปลให้ท่านฟังได้ แต่ก็อาจไม่ตรงกับความหมายที่ท่านเข้าใจมากับบาลีนั้น ผมจึงไม่อยากแปล เพราะคำที่ผุดขึ้นมาจากใจจะเป็นคำบาลีก็ดี เป็นภาษาใจก็ดี เป็นคำห้ามหรือตักเตือนใดๆ ก็ดี ย่อมเข้าใจและแน่นอนเฉพาะผู้นั้น ผู้อื่นจะแยกความหมายที่เกิดขึ้นเพื่อผู้นั้นไปเป็นอื่น ย่อมขัดต่อความมุ่งหมายของธรรมซึ่งผุดขึ้นเพื่อผู้นั้น<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผมพอเข้าใจธรรมที่ผุดขึ้นภายในทั้งเพื่อตนเองทั้งเพื่อเทวบุตรเทวดา และเพื่อผู้อื่นใดที่มาเกี่ยวข้องได้พอสมควร เพราะธรรมเหล่านี้เคยเกิดกับผมอยู่เสมอ แม้จะเรียกว่าเกิดคู่เคียงกับปฏิบัติสมาธิภาวนาโดยสม่ำเสมอก็ไม่ผิด นอกจากนั้นเวลาปกติธรรมดา ธรรมดังกล่าวยังเกิดได้ บางทีเดินจงกรมอยู่ก็เกิด นั่งอยู่ธรรมดาก็เกิด เดินไปบิณฑบาตก็เกิด ฉันจังหันอยู่ก็เกิด พูดคุยอยู่กับหมู่คณะพอหยุดพูดก็เกิด กำลังแสดงธรรมอยู่พอหยุดชั่วขณะเท่านั้นก็เกิด เกิดไม่เลือกกาลสถานที่และอิริยาบถ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ถ้าจะเรียกว่าเกิดประจำนิสัยก็ไม่ถนัดใจ เพราะแต่เริ่มแรกปฏิบัติที่ยังไม่รู้ภาษีภาษาอะไร ธรรมเหล่านี้ก็ไม่เห็นเกิด เพิ่งเริ่มเกิดบ้างก็เมื่อปฏิบัติพอรู้อะไรนิดๆ หน่อยๆ ขึ้นบ้าง จนจิตเป็นสมาธิและปัญญาเรื่อยมา ธรรมเหล่านี้ก็ค่อยๆ เกิดเป็นคู่เคียงกันมาตามกำลังของจิต จนตลอดปัจจุบันนี้ ธรรมเหล่านี้เกิดไม่มีประมาณ ทั้งไม่เลือกว่าอิริยาบถใดสถานที่ใด เกิดได้ทั้งนั้น แต่จะเกิดในอิริยาบถใดสถานที่ใดก็ตาม ย่อมถือเป็นธรรมเฉพาะตัว เข้าใจจำเพาะตัว ไม่คิดจะให้ใครแปลให้ฟัง นอกจากต้องการทราบความหมายจากผู้อื่นที่แปลจากธรรมบทนั้น เพื่อเทียบเคียงกับความเข้าใจของตนบ้างเท่านั้น จึงถามท่านผู้อื่นบ้างในบางครั้ง แต่มิได้ถามด้วยความอยากรู้เพราะตนไม่รู้ความหมายของธรรมบทนั้นมาก่อน
    <o:p></o:p>
    ที่ท่านเล่าให้ฟังผมเข้าใจดีทั้งหมดว่า เป็นธรรมจำเพาะตัวใครตัวเรา ฉะนั้น ผมจึงไม่อยากแปลให้ท่านฟัง แม้ผมจะเป็นอาจารย์ท่าน แต่สาระสำคัญที่ท่านจะพึงรู้พึงเข้าใจจากธรรมที่ผุดขึ้นกับท่าน เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าผมแปลให้ฟัง แล้วท่านก็ไม่แปลให้ฟังเสีย แต่เราก็มิได้ข้องใจสงสัยอะไรเลย ความจริงก็เป็นดังท่านพูดไม่มีผิด ผมยอบรับคำอย่างเทิดทูนไม่มีที่แย้ง<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เทวดามาเยี่ยมฟังธรรมจากพระเถระรูปนี้เสมอ เช่นเดียวกับท่านอาจารย์มั่น

    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ท่านเล่าว่าเทวดามาเยี่ยมฟังธรรมท่านแต่ละครั้งมีจำนวนมากบ้างน้อยบ้าง แต่ไม่มากเหมือนที่มาเยี่ยมฟังธรรมท่านพระอาจารย์มั่น บางครั้งมาในราว ๕๐-๖๐ บางครั้งราว ๑๐๐-๒๐๐ บางครั้งราว ๕๐๐-๖๐๐ บางครั้งก็เป็นพันๆ แต่ห่างๆ มา เครื่องนุ่งห่มของเทวดาทั้งเบื้องบนเบื้องล่างที่มาในบางครั้ง มีสีขาวล้วนบ้าง สีแดงล้วนบ้าง เป็นแบบเดียวกันหมดไม่ก้าวก่ายกัน ทุกพวกและทุกครั้งที่มาไม่มีเครื่องประดับตบแต่งใดๆ ทั้งสิ้น เวลาเข้ามาหาพระผู้ทรงศีลทรงธรรมเป็นที่เคารพมาก เทวดาถือกัน หัวหน้าประกาศห้ามไม่ให้ใส่เครื่องประดับตบแต่งเข้าไปหาพระ ให้นุ่งห่มแบบเรียบๆ เหมือนพุทธมามกะชาวพุทธ มีกิริยามารยาทสวยงามมาก ติดตาติดใจ เห็นแล้วไม่จืดไม่จาง มนุษย์เราน่ายึดเอาแบบอย่างของเขามาใช้ เมื่อเวลาเข้าไปหาพระหาสงฆ์ในวัดหรือที่ใดก็ตาม จะน่าดู ไม่อุจาดบาดตาบาดใจเกิดไป เห็นแล้วทุเรศปลงไม่ตก กลัวตกนรกมากกว่า
    <o:p></o:p>
    แต่ใครล่ะจะสามารถนำเรื่องของเทวบุตรเทวดามาเล่า มาสั่งสอนมนุษย์ให้เชื่อถือและยอมรับปฏิบัติตามได้บ้าง ใครจะกล้ายอมรับทำหน้าที่นี้เล่า เพียงได้ยินใครเล่าเรื่องเทวดาเปรตผีให้ฟังบ้าง ไม่ทราบว่าเล่าเล่นเล่าจริงก็จะถูกหัวเราะเยาะเย้ยแล้ว ขืนเอากฎระเบียบของเมืองเทพเมืองผีมาใช้ในเมืองมนุษย์ เขาก็จะหาว่าบ้าไม่มีสติ โรงพยาบาลปากคลองสานก็จะไม่ยอบรับเป็นคนไข้ แล้วจะไม่ตายทิ้งเปล่าๆ ทั้งที่บ้ายังติดตัวไปด้วยละหรือ ท่านพูดแล้วหัวเราะกันไปพักหนึ่ง ผู้เขียนก็ปากอยู่ไม่เป็นสุข จึงเรียนเล่นบ้างจริงบ้างเป็นการหยั่งเสียงดูว่าท่านจะว่าอย่างไร ก็ท่านอาจารย์เองจะเป็นไรไป โลกเขาไปเห็นอะไรในเมืองนอกเมืองนา เขายังนำมาเล่ากันฟังได้ และนำเอากิจการจากเมืองนอกมาปรับปรุงแก้ไขในบ้านเมืองของตน โดยออกกฎเกณฑ์ให้คนในประเทศปฏิบัติตามได้
    <o:p></o:p>
    เช่น เมืองไทยเราการแต่งเนื้อแต่งตัวเวลานี้ ก็กำลังจะกลายเป็นเมืองนอกไปหมดแล้วทั้งหญิงชาย ทั้งหนุ่มสาวเฒ่าแก่ เพราะคนไทยเราสั่งสอนง่าย ไม่เป็นคนหัวแข็งหัวดื้อรั้นเหมือนคนเมืองอื่นๆ ยิ่งการแต่งเนื้อแต่งตัวด้วยแล้วคนไทยยิ่งชอบและถอดแบบของใครๆ มาปฏิบัติได้อย่างถูกต้องแม่นยำ หรือยิ่งกว่าครูเสียอีก ทั้งจำอะไรๆ ที่แปลกหูแปลกตาได้อย่างอัศจรรย์ ยิ่งการแต่งกายแบบเมืองเทพซึ่งใครๆ ไม่เคยไปเห็น แม้พวกนักท่องเที่ยวอวกาศ ก็ไม่มีหวังจะได้เจอได้ชมการแต่งกายของพวกเทพพอจะนำมาอวดโลกได้เลยด้วยแล้ว ถ้ามนุษย์ได้รับการแนะนำแนวทางบ้างแล้ว เข้าใจว่าจะมีผู้สนใจไม่น้อย เพราะเป็นแบบของคนชั้นสูง
    <o:p></o:p>
    พอจบประโยคต่างคนต่างหัวเราะกันพักใหญ่ แล้วท่านว่าให้ผู้เขียนว่า คำพูดของท่านมักพิสดารเกินไป ถ้าขืนทำตามท่านผมต้องไม่ได้อยู่ในเมืองไทยแน่ จะต้องถูกเนรเทศไปอยู่กับพวกเปรตพวกผีโดยไม่ต้องสงสัย เพราะเขาจะหาว่าผมเป็นเพื่อนกับพวกนั้น แล้วจะขับไล่ให้ไปอยู่กับพวกเปรตพวกผีนั้นแน่นอน ส่วนจะให้ไปอยู่กับพวกเทพพวกพรหมคงไม่มีหวังแน่ๆ เพราะภูมินี้เป็นภูมิดีมีศักดิ์สูง แต่ภูมิเปรตผีนั้นซิที่เขาจะไล่ผมไปอยู่ด้วย เพราะเป็นภูมิที่ต่ำต้อยด้อยศักดิ์ศรีไม่มีใครปรารถนา เพื่อเป็นการประณาม ถ้าเรื่องเป็นอย่างนี้ท่านจะว่าอย่างไร<o:p></o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตอนนี้ทั้งท่านทั้งผู้เขียนต่างหัวเราะกันพักหนึ่ง แล้วท่านพูดต่อไปว่า ท่านกรุณาอย่าหาญคิดจะให้ผมเอาระเบียบของเทพของพรหมมาใช้ในเมืองมนุษย์เลย แม้แต่พวกดังกล่าวนี้ก็ยังเคารพศาสนา เคารพพระพุทธเจ้าอย่างเทิดทูน ธรรมดังกล่าวก็อยู่ในมนุษย์เรานี้เอง ถ้าใครจะสนใจปฏิบัติตาม ก็ไม่เห็นอะไรบกพร่องในบรรดาธรรมสอนโลกที่มีอยู่ในแดนมนุษย์เรา ถ้าเราไม่โง่จนเกินไป เท่าที่ผมเล่าให้ฟังก็ถือเป็นกันเอง มิได้คิดจะไปพูดไปเล่าที่ไหน แต่พอเล่าให้ฟังตามเหตุการณ์ที่ปรากฏบ้าง ท่านกลับขอให้ผมนำเอาขนบธรรมเนียมของเทวดามาสั่งสอนมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องซวยที่สุดสำหรับผู้จะเริ่มคิดนำธรรมเนียมลึกลับมาสอนโลก ผมทำไม่ลง แม้แต่คิดก็ไม่เคยคิด ผู้เขียนเรียนท่านว่า กระผมก็เรียนไปตามภาษาอย่างนั้นเอง ถ้าท่านอาจารย์ไม่สะดวกก็ไม่ควรฝืน เราคุยกันสนุกตามแบบพระโดยลำพังที่ถือเป็นกันเอง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    บรรดาเทวดาหลายพวกที่มาเยี่ยมท่านในวาระต่างๆ กันนั้น มีความคิดเห็นรักชอบธรรมต่างๆ กัน บางพวกชอบรับศีลก่อนฟังธรรม บางพวกขอฟังธรรมเลยทีเดียว บางพวกชอบธรรมสังโยชน์เบื้องบน บางพวกชอบฟังสังโยชน์เบื้องต่ำ แต่ที่ชอบฟังสังโยชน์เบื้องต่ำมากกว่า บางพวกชอบฟังธัมมจักกัปปวัตตนสูตร บางพวกชอบฟังกรณียเมตตสูตร บางพวกชอบฟังสังคหธรรมเกี่ยวกับการสงเคราะห์กัน ชอบแปลกๆ ต่างๆ กันตามจำนวนของพวกเทพที่มานั้นๆ ต่างมีความรักชอบธรรมไปตามนิสัยเหมือนมนุษย์เรา บางพวกชอบฟังเมตตาพรหมวิหาร บางพวกชอบฟังสูตรที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเลยก็มี เราจนใจต้องบอกกับเขาว่าไม่เคยรู้ไม่เคยเรียนมา เขาก็ขอฟังสูตรอื่นๆ ที่เขาชอบต่อไป
    <o:p></o:p>
    ท่านว่าเทวดาเคารพรักท่านมาก ไม่อยากให้ท่านหนีไปที่ไหนเลย อยากให้ท่านพักอยู่กับเขานานๆ ขณะที่ท่านพักอยู่ที่นั้น เทวดาว่ามีความสงบเย็นใจมาก กลางคืนก็ได้ยินเสียงท่านสวดมนต์และเจริญธรรมบทเมตตา เขามีความซาบซึ้งในธรรมที่ท่านสวดมาก ไม่อยากให้จบลงง่ายๆ ท่านว่าการสวดมนต์ก็เพียงนึกอยู่ในใจ มิได้สวดเสียงดังพอจะได้ยินถึงใครๆ แต่เวลาเทวดามาเยี่ยม เขาขอให้สวดมนต์สูตรนั้น ๆ ให้มากกว่าสูตรอื่นๆ เขาเป็นสุขใจและชอบฟังมากกว่าสูตรอื่นๆ ขณะท่านสวดมนต์เขาสนใจฟังอย่างเพลิดเพลินดังนี้ ท่านถามเขาว่าทราบได้อย่างไรว่าอาตมาสวดมนต์สูตรนั้นๆ เขาตอบท่านทันทีว่าเสียงสวดมนต์ของพระคุณท่านสะเทือนไปทั่วพิภพ จะไม่ให้ได้ยินอย่างไรได้ ธรรมเป็นของละเอียดอ่อนอยู่แล้ว เมื่อยกขึ้นประกาศด้วยการสวดหรือสังวัธยาย ก็ต้องดังกังวานไปทั่วพิภพ ให้รู้ทั่วถึงกันทั้งโลกธาตุบรรดาผู้ควรจะทราบได้<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระอรหันต์มาแสดงธรรมให้ท่านฟัง



    ท่านพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ตอนกลางคืนยามดึกสงัด ท่านกำลังเข้าที่ทำสมาธิภาวนาอยู่ มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อ พระภากุละ รูปร่างขาวสูง สวยงามมาก มองเห็นแล้วน่าเคารพเลื่อมใสทันที ท่านเหาะทางอากาศมาเยี่ยมท่านทางสมาธิภาวนา ตอนกลางวันของคืนวันนั้น บริขารชิ้นหนึ่งของท่านหาย หายังไงก็ไม่พบ พอตกกลางคืนนั่งภาวนา พระอรหันต์องค์นี้ก็เหาะมาเยี่ยมท่านพอดี พอเหาะลงมาถึงพื้น นั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ถามขึ้นทันทีว่า ทราบว่าบริขารชื่อนั้นของท่านหายเมื่อตอนกลางวันใช่ไหม ท่านเรียนตอบว่า ใช่ พระอรหันต์องค์นั้นก็ชี้มือบอกว่า "นั่น อยู่ที่นั่น มิได้หาย ท่านลืมที่ไว้ต่างหาก" พอเช้าวันหลังไปดูที่ท่านชี้บอกก็เห็นจริงๆ ท่านรู้สึกแปลกใจว่าท่านก็มิได้บนบานศาลกล่าวอะไรเลย แต่ท่านทำไมทราบได้ บริขารนั้นก็ได้คืนมาจริงๆ ตามจุดที่ท่านชี้บอก จึงน่าอัศจรรย์อยู่มากท่านว่า
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขณะที่พระอรหันต์ท่านเหาะมาเยี่ยมท่านอาจารย์องค์นั้น ท่านชมเชยและสรรเสริญท่านที่ถือธุดงควัตร และปฏิบัติดีปฏิบัติชอบน่าเคารพเลื่อมใส จึงดลบันดาลให้ท่านต้องมาเยี่ยมถึงที่อยู่ จากนั้นท่านก็แสดงธรรมเพื่อความรื่นเริงแก่ท่าน และสอนเน้นหนักลงในธุดงควัตรว่า จงพยายามรักษาธุดงค์ไว้ให้มั่นคงต่อไป อย่าให้เสื่อมร่วงโรยไปเสีย ธุดงควัตรเสื่อมก็เท่ากับว่าศาสนาเสื่อม แม้คัมภีร์ธรรมทั้งหลายยังมีอยู่ก็ไม่อาจทรงคุณค่าแก่ผู้ไม่สนใจได้เท่าที่ควร ธุดงควัตรเป็นธรรมขั้นสูงมาก ผู้รักษาธุดงค์ได้ต้องเป็นผู้มีจิตใจสูง ท่านควรทราบว่า พระอริยเจ้าทุกประเภทไปจากธุดงควัตรนี้ทั้งนั้น เพราะธุดงค์เป็นธรรมเครื่องทำลายกิเลสได้ทุกประเภท ธุดงควัตรจึงเป็นทางเดินเพื่ออริยธรรม อริยบุคคล
    <o:p></o:p>
    คนไม่มีธุดงควัตรคือคนวัตรร้าง เช่นเดียวกับบ้านร้างเมืองร้าง อะไรก็ตามถ้าลงได้ร้างแล้วไม่เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาเลย ท่านจงรักษาธุดงค์อันเป็นเครื่องทำลายกิเลสไว้ให้ดีและมั่นคง อย่าให้เป็นพระวัตรร้าง จะเป็นทางรั่วไหลแตกซึมแห่งมรรคผลนิพพานที่ควรจะได้จะถึง พระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายบรรดาที่เลิศแล้ว ล้วนแต่ท่านรักษาธุดงควัตรกันทั้งนั้น ใครประมาทธุดงค์ว่าไม่สำคัญ ผู้นั้นคือผู้หมดสาระสำคัญในตัวเอง ท่านจงรักษาความสำคัญของตนไว้ด้วยธุดงควัตร ผู้มีธุดงควัตรเป็นผู้มีอำนาจทั้งภายนอกภายในอย่างลึกลับจับใจที่บอกใครไม่ได้ เป็นผู้เด่นในวงแห่งทวยเทพชาวไตรภพทั้งหลาย มนุษย์และเทวดาทุกชั้นทุกภูมิเคารพรักผู้มีธุดงควัตรประจำตัวอยู่ และไปที่ไหนไม่เป็นภัยแก่ตัวและผู้อื่น มีแต่ความเย็นฉ่ำอยู่ภายในทั้งกลางวันและกลางคืน
    <o:p></o:p>
    ธุดงควัตรเป็นธรรมลึกลับยากที่จะมองเห็นความสำคัญ ทั้งที่ธุดงควัตรเป็นธรรมสำคัญในศาสนามาดั้งเดิม ธุดงควัตรเป็นหลักใหญ่แห่งพระศาสนา ผู้มีธุดงค์ประจำตัว คือผู้รู้ความสำคัญของตัวและรักษาถูกจุดแห่งความสำคัญได้ดี เป็นที่น่าชมเชยอย่างถึงใจ ผู้มีธุดงควัตรดีเป็นผู้มีจิตใจเมตตาอ่อนโยนในสัตว์ทั้งหลาย ถ้ายังมีผู้ปฏิบัติรักษาธุดงควัตรอยู่ตราบใด ศาสนาก็ยังทรงดอกทรงผลอยู่ตราบนั้น เพราะธุดงค์เป็นทางที่ไหลมาแห่งมรรคและผลทุกชั้น ไม่มีสถานที่กาลเวลาหรือสิ่งใดๆ มาเป็นอุปสรรคกีดขวางทางเดินเพื่อมรรคผลนิพพานได้ ถ้าธุดงควัตรยังเป็นไปอยู่กับผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ท่านจงจดจำให้ถึงจิต คิดไตร่ตรองให้ถึงธรรมคือธุดงควัตรดังกล่าวมา อยู่ที่ใดไปที่ใดจะชุ่มเย็นอยู่กับตัวท่านเอง ธุดงควัตรนี่แลคือบ่อเกิดแห่งธรรมทั้งหลายดังนี้<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พอแสดงธรรมจบลง ท่านก็ลาจากไปโดยทางอากาศหายเงียบไปเลย เมื่อพระอรหันต์ท่านจากไปแล้ว ท่านนำธรรมที่ท่านแสดงสั่งสอนมาคิดอ่านไตร่ตรอง เกิดความอัศจรรย์ใจตัวเองที่ไม่คาดฝันว่าจะมีพระอรหันต์ผู้วิเศษ แม้นิพพานแล้วยังอุตส่าห์มาเมตตาอบรมสั่งสอนเกี่ยวกับธุดงควัตรและธรรมอื่นๆ มากมาย เกิดความมั่นใจในธรรมทั้งหลายว่า ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ทั้งชาติ ได้จอมปราชญ์มาเมตตาสั่งสอน ซึ่งเป็นพระขีณาสพทั้งองค์เหาะมาทางอากาศ เราคงมีวาสนาบารมีอยู่บ้างที่ได้เห็นสิ่งที่ไม่น่าจะเห็น และได้ฟังสิ่งที่ไม่คาดฝันว่าจะได้ยินได้ฟังนับแต่เกิดมา การดำเนินของเราคงไม่เป็นโมฆะในวงพระศาสนา มิฉะนั้นพระอรหันต์องค์วิเศษคงไม่เหาะมาโปรดเมตตาให้เสียเวลา
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    คืนวันนั้นพอออกจากที่ทำสมาธิมาเดินจงกรม ราวกับตัวจะเหาะลอยขึ้นบนอากาศตามพระอรหันต์ท่านไปจนได้ ทำความเพียรไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าใดๆ เลย มรรคผลนิพพานเหมือนกับอยู่ชั่วเอื้อมมือถึง ทั้งที่จิตก็ยังมีกิเลสอยู่ในใจนั่นแล จิตใจสงบเย็น กายก็เบา มองไปในทิศทางใดรู้สึกปลอดโปร่งโล่งไปหมด ไม่ปรากฏสิ่งและอารมณ์ใดๆ มาเกี่ยวข้องพัวพันจิตใจให้ลำบากรำคาญเหมือนที่เคยเป็นมารต่อกันมาเลย เดินจงกรมจนถึงสว่างโดยไม่รู้สึกเมื่อยขบใดๆ ทั้งสิ้น
    <o:p></o:p>
    ที่เคยได้ยินธรรมท่านแสดงไว้ว่า ธมฺมปีติ สุขํ เสติ ผู้มีความปีติในธรรมย่อมอยู่หลับนอนเป็นสุขดังนี้ ก็เพิ่งมาปรากฏชัดกับใจในคืนวันนั้นดังนี้ ฟังแล้วขนลุกซู่เพราะความปีติยินดีในประสบการณ์ของท่านที่มีวาสนาบารมี บำเพ็ญธรรมจนเห็นมรรคเห็นผลอยัมภทันตา ทั้งภายนอกมีพระอรหันต์องค์วิเศษเหาะมาโปรดเมตตา ทั้งภายในก็ได้ดื่มธรรมรสปรากฏซาบซ่านไปทั้งกายทั้งใจ อันเป็นความเย็นที่หาได้ยาก ฟากฟ้าแดนดินถิ่นใกล้ถิ่นไกลหรือถิ่นไหนๆ ก็ไม่มีให้เจอ ถ้าไม่เจอจากความเพียรพยายามปฏิบัติอบรมในธรรมนี้เท่านั้น ท่านที่เพียรทางนี้ย่อมมีวันเจอ เพราะสิ่งที่จะให้เจออยู่กับธรรม และธรรมก็อยู่กับใจ ไม่แยกหรืออยู่ห่างไกลกันอะไรเลย
    <o:p></o:p>
    ท่านอาจารย์องค์นี้รู้สึกจะมีประวัติแปลกอยู่บ้างองค์หนึ่ง ในบรรดาศิษย์ท่านอาจารย์มั่นในการเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งโดยมากก็เป็นความอดอยากกันดารและสัตว์เสือที่เป็นเรื่องเสี่ยงต่อชีวิตที่โลกรักสงวนกันอย่างยิ่ง ผลที่ได้รับก็ประทับใจทั้งภายนอกภายใน คือภายนอกก็ได้เห็นสิ่งลึกลับที่เกินกว่าสายตาและหูของมนุษย์ทั้งหลายจะรู้เห็นและได้ยินได้ แต่ท่านก็ได้เห็นอยู่เสมอเป็นคู่เคียงกับปฏิปทาตลอดมา และภายในคือธรรมรสก็ปรากฏอยู่กับใจโดยสม่ำเสมอ ต่อไปนี้ท่านผู้อ่านก็จะได้นึกวาดภาพไปตามความเป็นไปแห่งเรื่องของท่านต่อไปอีก ซึ่งจะขออาราธนาเรื่องท่านมาลงไปเรื่อยๆ จนควรแก่การยุติ<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คือท่านพักทำความเพียรอยู่ในถ้ำแห่งภูเขาลูกหนึ่ง ทราบว่าห่างจากหมู่บ้านมากผิดที่เคยอยู่มาก่อน บิณฑบาตทั้งไปและกลับก็กินเวลาราวสองชั่วโมงกว่า จนเหงื่อแตกโชกแทบไม่มีเหลือติดตัวกว่าจะกลับถึงที่พักแต่ละครั้ง แต่ท่านก็พอใจที่จะอยู่บำเพ็ญด้วยความสมัครใจ ไม่คิดถึงความลำบากกันดารใดๆ ทั้งสิ้น การภาวนาก็เป็นไปด้วยความดูดดื่มไม่จืดจาง คืนวันหนึ่งพอจิตสงบตัวลงไม่นานนัก ก็ปรากฏเห็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ชื่อท่านว่า พระกัสสปเถระ เหาะลอยมาทางอากาศ มุ่งหน้ามาหาท่านและค่อยๆ เหาะลงมาราวกับมีเบรกห้ามล้อเหมือนรถยนต์เรา แล้วก็ค่อยๆ หย่อนองค์ท่านลงมาจนถึงพื้น เสร็จแล้วนั่งพับเพียบเรียบร้อยที่ตรงหน้าท่านด้วยสีหน้ายิ้มแย้มที่เต็มไปด้วยรัศมีแพรวพราวรอบองค์ มีลักษณะท่าทางอ่อนโยนด้วยเมตตา ราวกับหมอผู้มีอัธยาศัยใจเอื้ออารีต่อคนไข้ เข้ามาถามดูอาการด้วยความเป็นห่วง หวังจะช่วยอนุเคราะห์ด้วยหยูกยาและวิธีการต่างๆ อย่างเต็มสติกำลังความสามารถที่มีอยู่ฉะนั้น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พระอรหันต์องค์นั้นก็เช่นกัน พอนั่งพับเพียบเรียบร้อยด้วยทั้งอัธยาศัยที่เต็มไปด้วยเมตตาหวังธรรมานุเคราะห์แก่ท่าน แล้วก็ถามด้วยความเอื้อเฟื้อว่า เป็นอย่างไร ขันธปัญจกกับใจที่เป็นเจ้าของแห่งวัฏฏะของท่าน พอเป็นไปอยู่ละหรือ จิตพอจะเห็นโทษและเบื่อหน่ายต่อการเกิดตายบ้างหรือยัง ผมเป็นห่วงท่าน กลัวว่าจิตที่เคยนอนไม่ตื่นมาเป็นอนันตกาลจนนับประมาณมิได้ จะไม่สนใจอยากตื่นพอมองเห็นทางเดินเพื่อพระนิพพาน อันเป็นแดนลึกลับสำหรับสัตว์โลกผู้ไม่สนใจจะตื่นจากหลับ คือความเพลินหลงในสิ่งหลอกลวงทั้งหลายที่มีประจำอยู่ในแดนของสัตว์โลกผู้ชอบลุ่มหลง ยิ่งกว่าความชอบรู้จริงเห็นจริงทั้งหลายซึ่งมีอยู่ในแดนเดียวกัน จึงได้มุ่งมา เมื่อมาถึงแล้วก็น่าอนุโมทนาในกำลังศรัทธาและข้อปฏิบัติที่ท่านบำเพ็ญอยู่เวลานี้ นี่เป็นประโยคแรกที่ท่านทักทายไต่ถามด้วยความเป็นห่วงและเมตตา
    <o:p></o:p>
    ส่วนท่านอาจารย์องค์นั้นท่านปรากฏในนิมิตภาวนาว่า ท่านลุกขึ้นกราบไหว้ท่านด้วยความตื้นตันใจ ทั้งที่ใจยังอยู่ในสมาธิขณะที่ท่านเหาะลงมาถึงทีแรก ท่านเรียนตอบพระอรหันต์โดยทางสมาธิภาวนาว่า ขันธ์ของเกล้ากระผมก็พอทนกันไปแบบโลกๆ เขาทนกัน ส่วนจิตก็พยายามตะเกียกตะกายปลุกปล้ำกันไป เพื่อความเห็นโทษแห่งการลืมตัวมั่วสุมกับสิ่งที่เป็นพาลภายใน ซึ่งคอยหลอกหลอนให้ลุ่มหลงไปตามตลอดเวลา พอได้รับความร่มเย็นเห็นโทษแห่งวัฏฏะบ้างเท่าที่สติปัญญาสามารถ<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เมื่อจบลงท่านก็เริ่มแสดงธรรมให้ฟัง โดยเน้นหนักไปทางธุดงควัตรเช่นเดียวกับองค์ก่อน แสดงพระวินัยเป็นวาระสุดท้าย ใจความแห่งธรรมที่แสดง ท่านยกเอาธุดงควัตรที่อาจารย์องค์นั้นกำลังปฏิบัติอยู่ขึ้นแสดง ว่าที่ท่านปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้นั้นเป็นสามีจิกรรมอันชอบแล้ว พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายที่เป็นอัจฉริยบุคคล ท่านชอบอยู่ในป่าเปลี่ยว อยู่ในถ้ำ เงื้อมผา รุกขมูลร่มไม้ อยู่ในป่าชัฏ อยู่ในป่าช้า อันเป็นสถานที่เตือนบอกเรื่องความตายทุกวันเวลา เกี่ยวกับการที่ประชาชนมาทิ้งผี ทั้งผีหญิงผีชาย ผีชายหนุ่ม ผีหญิงสาว ผีเด็กผีคนเฒ่าคนแก่ อยู่ทุกวันเวลา ท่านอยู่ด้วยความมีสติปัญญาไตร่ตรองกับเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งมีอยู่ตลอดเวลา เพื่อสติปัญญาจะได้มีทางตื่นตัวและหาทางออก ท่านอยู่อย่างที่ท่านกำลังอยู่บำเพ็ญเวลานี้แล
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การอยู่ของท่านจึงเป็นความถูกต้อง ไม่เกลื่อนกล่นวุ่นวายด้วยเรื่องส่งเสริมวัฏทุกข์ให้พอกพูนหัวใจจนหาที่ปลงวางมิได้ แต่สัตว์โลกไม่ค่อยคิดหาที่ปลงวางกัน นอกจากต่างคนต่างคิดสั่งสม และส่งเสริมให้เชื้อและทุกข์เพิ่มขึ้นจนเป็นมหันตทุกข์เท่านั้น ฉะนั้นการเกิดตายของสัตว์โลกจึงเกลื่อนไปทั่วดินแดน ไม่มีอะไรที่ไหนจะมากกว่าป่าช้าของสัตว์ที่ตั้งหน้าเกิดตายกัน แม้ที่เรากำลังนั่งอยู่เวลานี้ก็คือป่าช้าของสัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งสิ้น ไม่มีที่ว่างว่าไม่มีป่าช้าของสัตว์แทรกอยู่ แม้ในตัวเราตัวท่านก็คือป่าช้าของสัตว์เราดีๆ นี่แล ก็เมื่อทุกหนทุกแห่งมีแต่ที่เกิดตายของสัตว์เช่นนี้ เราจะหาความสบายที่ไหนกัน
    <o:p></o:p>
    ท่านได้พิจารณาบ้างหรือยังว่า แม้ในตัวท่านเองก็เป็นป่าช้าที่เกิดตายของสัตว์ชนิดต่างๆ เช่นเดียวกับภายนอก ถ้ายังไม่พิจารณาก็แสดงว่าปัญญายังไม่รอบคอบพอที่วัฏฏะจะเกรงกลัวและหาทางออก ไม่มารบกวนชวนให้เกิดตายซ้ำๆ ซากๆ ที่น่ารำคาญของนักปราชญ์ทั้งหลาย คำว่าปัญญาก็ได้แก่ความแยบคายของใจเอง ต้องสอดแทรกไปหมดไม่มีเว้นแม้ขนาดเท่าเม็ดหินเม็ดทราย ซึ่งล้วนเป็นสมมุติสิ่งทำให้ติดข้องได้ด้วยกัน ปราชญ์ท่านจึงพิจารณาและรื้อถอนออกจนหมดสิ้นไม่มีเหลืออยู่เลย
    <o:p></o:p>
    ท่านก็เป็นผู้หนึ่งในวงของพระธุดงค์ที่มีใจมุ่งมั่นต่อแดนพ้นทุกข์ และปฏิบัติตามเยี่ยงอย่างปฏิปทาของอริยบุคคลอันสูงสุด จึงควรใช้สติปัญญาแบบท่านบ้าง จะเป็นความถูกต้องเหมาะสมตามนโยบายของธุดงควัตรที่ทรงบัญญัติไว้ เพื่อส่งเสริมสติปัญญาของผู้ดำเนินตามให้เกิดความฉลาดรอบรู้ในทุกแง่ทุกมุมที่เกี่ยวกับตน และถอดถอนออกได้เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่นั่งเฝ้านอนเฝ้าธุดงควัตรต่างๆ อยู่โดยไม่ทราบความมุ่งหมายว่า ธุดงค์ข้อนั้นๆ เพื่อแก้กิเลสบาปธรรมต่างกันอย่างไรบ้าง และอำนวยประโยชน์แก่ผู้ดำเนินตามโดยถูกต้องในทางใดบ้าง ซึ่งความจริงธุดงค์แต่ละข้อมีความมุ่งหมายในการแก้หรือถอดถอนกิเลสอยู่ในตัวอย่างพร้อมมูลแล้ว ไม่ว่ากิเลสประเภทใดที่มีอยู่ในใจสัตว์โลก ธุดงค์นั้นๆ สามารถรื้อถอนได้โดยสิ้นเชิง ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถรู้ทั่วถึงความมุ่งหมายของธุดงค์ได้โดยถูกต้อง เพราะธุดงค์เหล่านี้เป็นเครื่องกลั่นกรองสามัญมนุษย์ให้กลายเป็นอัจฉริยมนุษย์มามากต่อมากแล้ว<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เท่าที่ท่านปฏิบัติอยู่เวลานี้ก็น่าชมเชยอยู่แล้ว แต่ที่อธิบายเพิ่มเติมบ้างก็เพื่อเป็นการส่งเสริมสติปัญญาให้ยิ่งๆ ขึ้นไป สมกับธุดงค์เป็นเครื่องกลั่นกรองคนให้ฉลาดแหลมคมขึ้นไปโดยลำดับ ไม่ติดอยู่เพียงแค่คำว่าถือธุดงค์เท่านั้น ซึ่งเป็นความโง่เขลานอนใจ ไม่คิดอ่านทางปัญญาหาความฉลาดใส่ตน ธุดงค์แต่ละข้อมีความหมายลึกซึ้งมากมายที่จะรู้ทั่วถึง จึงควรใช้สติปัญญาไตร่ตรองให้ละเอียดถี่ถ้วนเป็นข้อๆ ไป ท่านจะได้รับประโยชน์จากธุดงค์ไม่มีประมาณ แม้ความสิ้นสุดถึงวิมุตติพระนิพพาน ก็ไม่นอกเหนือไปจากธุดงค์ดังกล่าวเป็นเครื่องส่งเสริมเลย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านอัจฉริยชนทั้งหลายมีความรักชอบธรรมเหล่านี้มาก และท่านฝากชีวิตจิตใจไว้กับธรรมเหล่านี้กันทั้งนั้น ทั้งชมเชยยกย่องท่านผู้สนใจปฏิบัติธุดงค์ว่า เป็นผู้จะยังประโยชน์ตนให้สำเร็จไปด้วยดีไม่มีอุปสรรค และดำรงอริยประเพณีไว้ได้ เพราะนี้เป็นอริยประเพณีที่ท่านดำเนินมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดมาตรัส ตรัสไว้ในสมัยใดและที่ใด จำต้องมีธุดงควัตรอันเป็นคู่เคียงพระศาสนาเสมอมา
    <o:p></o:p>
    อย่าเข้าใจว่าธุดงควัตรเหล่านี้ จะมีเฉพาะศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเท่านั้นเลย แต่มีประจำกับทุกๆ ศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์นั้น ๆ ตลอดมาจนถึงพุทธศาสนาปัจจุบัน จะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ใดมาตรัสในพระนามของความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส พระพุทธเจ้านั้น ๆ จำต้องประกาศสอนธุดงควัตรแก่ภิกษุบริษัทของพระองค์เช่นเดียวกันทุกๆ ศาสนา เพราะธุดงควัตรเป็นปฏิปทาที่เหมาะสมกับนักบวชอย่างยิ่ง ผู้หวังความหลุดพ้นอย่างเต็มใจอยู่แล้ว จะได้ปฏิบัติตามธุดงควัตรด้วยความมุ่งมั่นกลั่นกรองกิเลสออกจากใจ ได้ทันกับเหตุการณ์ไม่เนิ่นช้าล้าหลัง
    <o:p></o:p>
    ท่านอาจารย์องค์นั้นเรียนถามข้อข้องใจ ในระหว่างพระอรหันต์ท่านหยุดชั่วขณะว่า มีผู้สงสัยว่านับแต่พระพุทธองค์ปรินิพพานจนถึงสมัยนี้ ถ้านับเวลาก็ได้สองพันกว่าปีแล้ว ถ้าเป็นผลไม้และสิ่งต่างๆ ก็จำต้องร่วงโรยไปตามกฎอนิจจัง ไม่มีอะไรเหลืออยู่แม้ซากแห่งลำต้นของมัน ถ้าเป็นบริษัทห้างร้านต่างๆ ก็เป็นผุยผงของดินไปหมดแล้ว ไม่มีอะไรเหลือพอเป็นเครื่องหมายแห่งบริษัทและตึกรามบ้างเลย แม้แต่ภูเขาแท่งทึบยังมีการเปลี่ยนแปลงได้ ไม่มีอะไรเหนืออำนาจกฎอนิจจัง ส่วนธรรมาภิสมัยที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลายตรัสรู้และบรรลุในสมัยนั้น พอตกมาสมัยนี้ น่าจะไม่มีเค้าโครงแห่งมรรคผลนิพพานเหลืออยู่พอกุลบุตรทั้งหลายได้ดื่มบ้าง ด้วยปฏิปทาข้อปฏิบัติของตน น่าจะค่อยๆ เสื่อมสูญไปเช่นเดียวกับสิ่งทั้งหลายฉะนั้น<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กระผมเองไม่มีปัญญาสามารถแก้ไขเหตุการณ์ทำนองนี้ให้สงบลงได้ แต่วันนี้เป็นโอกาสวาสนาสุดที่จะอัศจรรย์ของกระผมเองที่คาดไม่ถึง ซึ่งพระผู้ประเสริฐเลิศโลกเหาะลอยลงมาโปรดด้วยความเมตตาสงสาร จึงขอประทานกราบเรียนถามข้อข้องใจที่เป็นมาว่า เรื่องมรรคผลนิพพานในวงพระศาสนาอันเป็นทางปฏิวัติกับสิ่งสมมุติทั้งหลาย ยังจะกลับเป็นธรรมานุวัติไปตามโลกแห่งอนิจจังอยู่หรือประการใด คือเมื่อโลกแปรปรวน ธรรมก็แปรปรวน โลกเสื่อมธรรมก็เสื่อม โลกสูญธรรมก็สูญ สิ่งต่างๆ หมดความหมายลง ธรรมก็อาจหมดความหมายไปตาม และอาจกระเทือนถึงมรรคผลนิพพานว่า จะต้องสิ้นสุดกุดด้วนไปตามกาลสถานที่แห่งการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าด้วยหรือประการใด
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เท่าที่ทราบมาการปรินิพพานของพระองค์นั้น เป็นเรื่องของพระองค์โดยเฉพาะ มิได้เกี่ยวกับหลักธรรมวินัยที่ทรงประกาศสอนไว้เพื่อมรรคผลนิพพานแต่อย่างใด แต่แล้วผู้ที่สงสัยเกี่ยวกับกาลเวลาแห่งการปรินิพพานของพระองค์ ที่ทำให้มรรคผลนิพพานกระเทือนไปก็ยังมีอยู่ ดังคำว่าพระองค์ปรินิพพานได้สองพันกว่าปีแล้ว ศาสนาของพระองค์ย่อมจะค่อยๆ ร่วงโรยและหมดมรรคหมดผลไปด้วย แม้ปฏิบัติกันไปก็ลำบากเปล่าโดยไม่มีผลตอบแทนแต่อย่างใดเลยดังนี้ ฟังแล้วรู้สึกขัดกันกับพุทธพจน์อยู่มาก ทั้งเป็นการสร้างความสะเทือนใจแก่วงพระศาสนาและประชาชนพุทธบริษัท ให้เกิดความสงสัยลังเลได้พอดู ซึ่งความคิดเห็นเหล่านี้ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใดเลย นอกจากเขย่าศาสนาและจิตใจประชาชนให้ขุ่นมัวเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    พระอรหันต์ตอบท่านว่า ถ้าธรรมเป็นเหมือนผลไม้ เป็นเหมือนบริษัทห้างร้าน เป็นเหมือนสิ่งต่างๆ ในแดนสมมุติที่ตกอยู่ในกฎแห่งอนิจจัง ธรรมก็หายซากไปนานแสนนานแล้ว ไม่มีใครได้ดื่มรสแม้เพียงผ่านชิวหาประสาทคือใจชั่วขณะเลย พระพุทธเจ้าทั้งหลายและสาวกของพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ที่มีจำนวนมหาศาล ไม่สามารถจะนับจะประมาณ ก็ไม่มีโอกาสปรากฏขึ้นในโลกแห่งอนิจจังนี้ได้ แม้ที่จะมาตรัสรู้และบรรลุข้างหน้าซึ่งไม่มีประมาณ ก็เป็นอันดับดิ้นสิ้นอริยชาติอริยวาสน์อริยวงศ์ไปตามๆ กัน เท่าที่พระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลาย ทั้งอดีตอนาคต ยังปรากฏสืบเนื่องกันมาเป็นลำดับไม่ขาดมูลสูญราก ยังปรากฏความดีและคนดีวิเศษเป็นร่างเหลืออยู่ให้สัตว์โลกได้กราบไหว้บูชาเป็นขวัญตาขวัญใจสืบมาจนทุกวันนี้ ก็เพราะธรรมมิได้เป็นเหมือนตึกรามบ้านช่องที่คอยแต่จะล้มทับคนตายด้วยกฎอนิจจังบังคับนั่นเอง<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...