ปฏิปทาสิ้นกรรม (พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 3 ตุลาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    วันนี้อาตมาก็จะนำธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    มาให้กับพวกเราได้ยินได้ฟังกัน ในเรื่องของปฏิปทาให้ถึง
    ในความสิ้นกรรมที่พระองค์เรียกว่า กัมมะนิ โลมิทามินี ปฏิปทา ปฏิปทา
    หมายถึงเครื่องดำเนินไปของกาย วาจา จิต ว่าเราจะฝึกกายอย่างไร
    ฝึกวาจาอย่างไรฝึกจิตอย่างไร ถึงจะทำให้สิ้นกรรมได้ อันนี้ก็คือสิ่งที่
    พระตถาคตได้บอกสอนเอาไว้ และข้อปฏิบัติตรงนี้คืออะไร ซึ่งถ้าเราไปถาม
    ผู้ที่ไม่ได้ใช้ความเห็นพระตถาคต ก็อาจจะมีหลายแบบ
    บางที่ก็อาจจะให้ไปออกกรรม ด้วยวิธีนอนในโลงบ้าง เอาผ้าคลุมบ้าง
    หรือไปทำวิธีต่างๆ ตามแบบตามความเห็นของเขา ถ้าโยมไปในอินเดีย
    ก็คงจะถูกแนะนำให้ลงในแม่น้ำคงคา พอขึ้นมาก็บอกว่าสบาย บริสุทธิ์แล้ว
    หมดกรรมแล้ว ในอินเดียหลายๆที่ ก็มีรูปหญ้าเขียว ดื่มน้ำโคไมสด บูชาไฟ
    บูชาดวงอาทิตย์ บูชาพระจันทร์ ยืนขาเดียว อ้าปากกินน้ำค้าง ก็สารพัดแบบ
    พระตถาคตเคยลองมาหมดแล้ว พระผู้มีพระเจ้าเคยเล่าให้พระสารีบุตรฟังว่า
    ท่านเคยทำวัตรเศร้าหมองเหล่านี้ ในปฏิปทาเปียกแซะ ปฏิปทาไหม้เกรียม
    ได้ทำมาหมดแล้ว เช่นอะไร เช่นพระพุทธเจ้าบอกว่า ท่านทำตัวเป็นผู้ไร้มารยาท
    กายเปลือยเปล่า ไม่สนใจอะไร ทำตัวเป็นชีเปลือยก็เคย ท่านนอนบนหนาม
    เดินบนหนาม ท่านไปนั่งกลางหิมะที่ตก ๘ วัน ในอินเดีย ท่านเคยไปนั่งกลางแจ้ง
    ตากแดดร้อนอยู่อย่างนั้น ไม่มีเสื้อผ้าเลย นั่งกลางหิมะก็ไม่มีเสื้อผ้าเลย
    มันจะทำให้สิ้นกรรม มันจะทำให้ถึงความไม่ตายได้
    เพราะแต่ก่อนเขาแสวงหาความไม่ตายกัน อะไรคือความไม่ตาย อมตะธรรม
    ทุกคนออกแสวงหา

    พระตถาคตไปนอนในคอกวัวคอกควาย อาศัยขี้วัว ขี้ควายกินเป็นอาหาร
    เด็กเลี้ยงวัวเลี้ยงควายมันไม้มาไชจมูก ไชหูท่าน ท่านก็ไม่รู้สึกซึ่งความโกรธ
    ความชัง ปล่อยตัวทำเป็นคนไม่รู้เรื่องอะไร คิดว่าทำอย่างนี้ มันจะสิ้นกรรมได้
    ลองมาทุกอย่าง จนกระทั่งเอาใหม่ อดอาหารเต็มที่เลย ท่านบอกว่า
    ท่านอดอาหาร เอามือลูบท้องไปสัมผัสได้ถึงกระดูกสันหลังเลย
    ท่านลองทำมาสารพัด ไม่อาบน้ำเลยก็มี คิดว่าฝุ่นแม้แต่นิดเดียว
    เราจะไม่ลูบเลย ท่านไม่เคยคิดจะลูบฝุ่นออกจากตัวเอง
    หรือแม้แต่อยากจะให้คนอื่นลูบฝุ่นออกจากตัวของท่าน ผิวของท่าน
    เป็นตะตุ่มตะต่ำ เกรอะกรังไปหมด พระพุทธเจ้าลองมาสารพัดก่อน ๖ ปี
    ก่อนการตรัสรู้ลองมาแล้ว เพราะฉะนั้นใครรู้จริงเรื่องสิ้นกรรม
    ใครรู้จริงเรื่องวิธีแก้กรรม พระตถาคตรู้จริง พระศาสดารู้จริง
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้ารู้จริง จึงไม่แปลกเลย
    ที่ไม่รู้จริงก็ต่างพูดไปตามความเห็นของตัวเอง ทำให้ผู้ที่ไม่รู้
    ก็พลอยเกิดความสงสัยไปด้วยว่าใครพูดจริง มันเลยงงสับสนกันไปหมด

    พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า จิตของผู้ที่ยังไม่หยั่งในอริยสัจ ๔ มันจะเบาเหมือน
    ปุยนุ่น เวลามีลมพัดไปทางซ้ายมันก็ปลิวไปทางซ้าย มีลมพัดไปทางขวา
    มันก็ปลิวไปทางขวา เพราะมันยังไม่หยั่งรากไปในอริยสัจ ๔
    แต่จิตของคนที่หยั่งรากไปในอริยสัจ ๔ เปรียบเหมือนเสาหิน
    ที่ปักลงอย่างแน่นหนา ไม่มีการโยกคอนแม้จะถูกลมพัดมาทั้ง ๔
    อันนี้แหละจะทำอย่างไรให้หยั่งลงในอริยสัจ ๔ได้ มันจะได้
    ไม่ไหวคอนไปตามสมณะพราหมณ์เหล่านั้นเหล่านี้ หรือเจ้าลัทธินั้นลัทธินี้
    จึงถามลงไปในสังคมว่า ใครรู้จริงในเรื่องการสิ้นกรรม ใครรู้จริงเรื่องวิธี
    แก้กรรม หรือปฏิปทาให้ถึงความสิ้นกรรม


    ที่พระองค์เรียกว่า กัมมะนี โลมิทามินี ปฏิปทา พระตถาคตกล่าวอย่างไร
    ในเรื่องของกรรม เรามารู้เรื่องของกรรมก่อนจะสิ้นกรรมกัน กรรมคืออะไร
    พระตถาคตบอกว่า “เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม” นี่คือสิ่งที่บุคคลควรทราบ
    กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ควรทราบเรื่องอะไร ต้องรู้ก่อนว่ากรรมคืออะไร
    พูดกันว่ากรรมๆ กรรมมันคืออะไร จะไปแก้มันอย่างไร จะไปทำให้มันสิ้น
    เพราะอะไร “เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม” และสิ่งที่ควรรู้ต่อไปอีกคือว่า
    อะไรเป็นเหตุของกรรม พระตถาคตบอกว่า ผัสสะ เป็นเหตุของกรรม
    ผัสสะคือการสัมผัส คือการกระทบกัน การกระทบของอะไร ของวิญญาณ
    ที่เข้าไปรับรู้ของอายตานะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ใน รูป เสียง กลิ่น รส
    กระทบแล้ว อายตานะภายในภายนอกกระทบแล้ว เกิดการรับรู้ขึ้นมา
    วิญญาณเข้าไปรับรู้สิ่งต่างๆ เข้ามา นั่นแหละเป็นเหตุของกรรม
    เวมะกะตาแห่งกรรมความมีประมาณต่างๆ ของกรรม
    กรรมที่ทำให้สัตว์ไปเกิดในนรก กำเนิดเดียรฉาน เปรตวิสัย มนุษย์โลก เทวโลก
    พรหมโลก มี นี่เรียกว่าความมีประมาณต่างๆของกรรม ความดับของกรรมมีไหมมี

    พระตถาคตเรียกว่า กัมมะนิโรธ คือความดับกรรม กรรมดับเพราะว่าผัสสะดับ
    ผัสสะเป็นความดับของกรรม เพราะฉะนั้นกรรมเกิดที่ไหนดับที่นั่น ผัสสะเป็นเหตุ
    แห่งการเกิดของกรรม ผัสสะดับ กรรมดับ


    วิบากของกรรมมีอะไร วิบากของกรรม พระตถาคตบอกว่ามี ๓ ระดับ
    ๑.วิบากในทิฏฐธรรม แปลว่าวิบากในปัจจุบัน
    ๒.วิบากในอุปัชปะชะ เวลาถัดมา และ
    ๓.อัปยปรินายะ เวลาถัดมาอีก
    วิบากของกรรมคือผลของกรรมส่ง ๓ ระดับ ตามห้วงของกาลเวลาในปัจจุบัน
    เวลาถัดมาและถัดมาอีก ไม่รู้ว่าถัดไปเท่าไหร่


    ที่นี้มาถึงกัมมะนิโรธะคามินีปฏิปทา ปฏิปทาให้ถึงความสิ้นกรรม
    พอจะทราบไหมว่าอะไรคือวิธีดับกรรม คือวิธีแก้กรรมที่แท้จริงถูกต้อง
    ดูสิว่าจะตรงกับพระตถาคตหรือไม่ จะตรงกับความเห็นของผู้นั้นผู้นี้
    ที่พูดกันในสังคมหรือไม่

    พระตถาคตบอกว่า ปฏิปทาให้ถึงความสิ้นกรรมคือ
    อริยมรรคมีองค์ ๘ ตั้งแต่. สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
    สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะสัมมาสติ สัมมาสมาธิ


    ข้อปฏิบัติ กาย วาจา จิต ๘ อย่างนี้ เป็นเครื่องดำเนินการไป
    ให้ถึงความสิ้นกรรม ถ้าพวกเราทั้งหลายฝึกกายอย่างนี้ ฝึกวาจาอย่างนี้
    ฝึกจิตอย่างนี้ กรรมหมดไปได้เหมือนกันไหม กับที่เราเคยได้ยินได้ฟังในสังคม
    ดูบางทีต่างกันเยอะเหมือนกัน เหมือนกับพระพุทธเจ้าไปเจอนางพราหมณีอยู่คนหนึ่ง
    เขากำลังทำพิธีแก้กรรมอยู่เหมือนกัน พาบวงสรวง พระพุทธเจ้าเดินทางไปถึง
    ก็ถามว่า “นางทำอะไรเหรอ” นางพราหมณีก็ตอบว่า “เราทำพิธี ปัจจโลหินี
    ปัจจโลหินีของเธอทำอย่างไร เขาก็บรรยายไป เขาก็เอาน้ำมัน น้ำผึ้ง เนย น้ำอ้อย
    มาสาดใส่ไฟ เอาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาบวงสรวงบูชาไฟ เขาบอกว่าตรงนี้กรรมก็จะสิ้นได้
    แล้วเขาก็หันมาถามพระตถาคตว่า “แล้วท่านล่ะ มีพิธีปัจจโลหินีไหม พระพุทธเจ้า
    บอก มี ปัจจโลหินี ของเราก็มี อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ปัจจโลหินี ของเรา
    คือวิธีแก้กรรมของเรา” ท่านก็บรรยายไป มรรค ๘ เป็นอย่างไรให้นางพราหมณีฟัง
    นางฟังแล้วก็โอ้โฮ วิธีแก้กรรมของพระตถาคตแยบยลมาก ละเอียดมากนัก
    เจ้าลัทธิในสมัยก่อน นางพราหมณียังยอมรับความเห็นของพระตถาคตเลย
    แล้วพอฟังแล้วบอกมันห่างชั้นกันมาก ที่นี้มาดู ดูตั้งแต่ข้อแรก ใน ๘ ข้อ

    ๒ ข้อแรกพระตถาคตสงเคราะห์ในกลุ่มปัญญา
    ๓ ข้อกลางสงเคราะห์ในส่วนของศีล
    ๓ ข้อท้ายสงเคราะห์ในส่วนของสมาธิ


    เพราะฉะนั้นตัวมรรคในองค์ ๘ จึงเริ่มจากปัญญา๒ข้อ, ศีล ๓ ข้อ,
    สมาธิ ๓ ข้อ ศีล สมาธิ ปัญญา ส่วนมรรคมีองค์ ๘ พูดย่อๆ เหลือ ๓ ส่วน
    พระพุทธเจ้าจะพูดว่าศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าพระตถาคตพูดย่อเหลือ ๒ พระพุทธเจ้า
    จะพูดว่าอย่างไร ใครรู้ (พระอาจารย์ถามผู้ฟัง) ใครรู้ ....สมถะกับวิปัสสนา
    จิตนิ่งเห็นเกิดดับจบแล้ว แก้กรรมได้แล้วแบบสั้นๆ นี่คืออย่างสั้น

    สมถะ คือจิตมีอารมณ์อย่างเดียว จิตมีอารมณ์อย่างเดียวคืออารมณ์อย่างไร
    อารมณ์ปัจจุบันๆ คืออะไรได้บ้าง เช่นสติปัฏฐานสี่ กาย, เวทนา, จิต, ธรรม
    ๔ อย่างหรือยกมาอันหนึ่งกายสติปัฏฐาน คืออะไร รู้การเคลื่อนไหว อิริยาบถ
    มีลมหายใจ รู้การทำงานในปัจจุบัน ตัวอย่างนี่คือวิธีสิ้นกรรม ต้องไปทำอะไรไหม...
    ต้องไปเสียเงินทองไหม... ไม่ต้องเลย ไม่ต้องไปที่โน้นที่นี่เลย นั่งเงียบๆ
    อยู่กับบ้านก็สิ้นกรรมได้

    สาระธรรมบรรยาย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
    เรื่อง “ปฏิปทาสิ้นกรรม”
    วันอาทิตย์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
    ณ ห้องปฏิบัติธรรม ชั้น ๔ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ
    แสดงกระทู้ - เชิญอ่านธรรมะพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล (ศิษย์หลวงพ่อชา) • ลานธรรมจักร
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    มรรคมีองค์ ๘ ตามที่ไล่มาทั้ง ๘ ข้อ ปฏิบัติอย่างไร

    ๑.สัมมาทิฐิ มีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าใด ใครไม่รู้อริยสัจ ๔ คนนั้นชื่อว่า
    มีมิจฉาทิฐิ ใครรู้อริยสัจ ๔ ผู้นั้นชื่อว่ามี สัมมาทิฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง แล้วอริยสัจ ๔
    ฟังแล้วมันกว้างขนาดไหนกัน จริงๆ แล้วก็แค่เห็นเกิดกับเห็นดับ เพราะสิ่งที่เรา
    เข้าไปเห็นก็คือกองทุกข์นั่นเอง กาย จิต อารมณ์ ของเราคือสิ่งที่เราเข้าไปเห็น
    เข้าไปเห็นอะไรถึงจะเรียกว่า สัมมาทิฐิ เห็นมันเกิด เห็นมันดับ ๒ อย่างแค่นี้
    เกิดคือสมุทัย ดับคือนิโรธ ขณะที่เรากำลังเข้าไปเห็นธรรมชาติเหล่านี้ตาม
    ความเป็นจริง เรียกว่าเรากำลังเจริญมรรค เจริญข้อปฏิบัติเพื่อให้รู้ ซึ่งสัจจะ
    ความจริงของธรรมชาติ ว่าธรรมชาติคือ กาย, จิต, อารมณ์ ของเรานี้
    มันมีความจริงอย่างไร และความจริงเหล่านี้มันเป็นอย่างไร ทั้งโลกธาตุคืออะไร
    มันเกิดแล้วมันดับหยิบมาเลย ต้นไม้เกิดไหม ภูเขาเกิดไหมดับไหม รถยนต์ คน
    สัตว์ สิ่งของต่างๆ แม่น้ำ ลำธาร เกิดแล้วแตกสลายหมด ไม่มีอะไรเกิดแล้วไม่ดับ
    รวมไปถึงนามธรรม สุขเกิดขึ้นมาดับไหม... ดับ ถ้าไม่ดับ มีใคร
    ยืนยันว่าตัวเองสุขแช่ได้ทั้งวันไม่มีการดับ ความทุกข์ ดับไหม..ดับ มีใครทุกข์
    แช่ทั้งวันมีไหม..ไม่มีเหมือนกัน แต่เวลามันดับเราไม่เคยสังเกต เมื่อเราไม่สังเกต
    เราจึงไม่เห็นอริยสัจ ไม่เห็นความจริงของมัน แล้วเวลามันเกิดก็ไม่สังเกต
    ไม่รู้ว่าถ้าสังเกตการเกิดการดับมันจะได้ประโยชน์ นี่คือไม่มีปัญญาเครื่องเจาะ
    แทงกิเลส ไม่มีสัมมาทิฐินั่นเอง เพราะฉะนั้นสัมมาทิฐิจึงตีกรอบเข้าไป
    แค่เห็นเกิดดับ หรือเห็นอริยสัจแค่นี้ ทำแค่นี้ได้สัมมาทิฐิแล้ว เอาสั้นๆ ก่อนก็ได้
    เดี๋ยวค่อยขยายความไปตามแต่ละมรรค
    ๒.สัมมาสัมปทาทำอย่างไร มรรคข้อที่ ๒ บุคคลนั้นภิกษุนั้น มาทิ้ง
    ความคิดอกุศล อกุศลคืออะไร... กาม พยาบาท เบียดเบียน เพราะฉะนั้น
    ถ้าเรามาใช้ความเพียรในการที่จะละความคิด อกุศล ๓ อย่างนี้ออกไปจากใจ
    พระพุทธเจ้าบอกว่า ผู้นั้นกำลังเจริญสัมมาสัมปะแล้ว กำลังปฏิบัติข้อปฏิบัติ
    อันเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมแล้ว เหมือนกับใครเขาบ้างไหม ดูจะไม่เหมือน
    อีกแล้วในข้อที่ ๒
    ๓.สัมมาวาจา พระองค์บอกว่าเธอต้องปฏิบัติวาจาอย่างนี้
    คือไม่พูดโกหก คำหยาบ เพ้อเจ้อ ส่อเสียด โยมคุมวาจา ๔ อย่างนี้
    ถามว่าโยมต้องคุมใจตัวเองไหม...ต้องคุมใจตัวเอง เพราะปากจะพูดไปต้อง
    ใจสั่งก่อน แต่เราพูดจนชำนาญ เลยเหมือนกับว่าพูดแล้วไม่ต้องคิดก็ได้
    ลองหยุดพูดสักวันหนึ่ง จะรู้สึกเลยว่ามันคันมาก มันอยากจะพูด อยากมาก
    อาตมาเคยไม่พูดอยู่ ๓-๔ เดือน พอออกมาพูดจ้อยๆ เลย มันอัดอั้นมานาน
    การไม่พูดโกหกคืออะไร ไม่รู้ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นได้กล่าวว่าเห็น
    ได้พูดพล่อยๆเท็จเปล่าๆลักษณะของการพูดไม่จริง การพูดคำหยาบคืออะไร
    คำพูดที่พูดแล้วเสียดแทงใจคนอื่น คำพูดสอดเสียดเป็นอย่างไร
    คำพูดสอดเสียด ในภาษาไทยมันเหมือนกับว่า พูดเสียดแทงใจคนอื่น
    แต่พระพุทธเจ้าจัดอยู่ในคำหยาบ แต่คำพูดส่อเสียดของพระพุทธเจ้าหมายถึง
    คำพูดยุยงให้เขาแตกกัน นำความฝ่ายนี้ไปบอกฝ่ายนั้น นำความฝ่ายนั้น
    ไปบอกฝ่ายนี้ ให้ทั้ง ๒ ฝ่ายแตกร้าวกัน นี่เรียกว่าคำพูดส่อเสียด ภาษาไทย
    เรียกว่าพูด ยุยงให้เขาแตกกัน ไม่สมานความสามัคคี ชอบความแตกร้าวกัน
    อย่างสุดท้ายอย่างที่ ๔ คำพูดเพ้อเจ้อเป็นอย่างไร คือคำพูดที่เป็นวาจา
    ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีเวลาจบ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ประกอบสมควรแก่เวลา
    เป็นคำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้งเสีย นี่คือลักษณะคำพูดเพ้อเจ้อ โยมคุม
    วาจาได้ ๔ อย่างนี้ นี่กำลังปฏิบัติข้อปฏิบัติอันเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม

    ๔.สัมมากัมมันตะ คือปฏิบัติกายให้ถูกต้อง ๓ อย่าง ก็คือศีล ๕ สามข้อแรก
    นั่นเอง ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่พฤติผิดในกาม ปฏิบัติ ๓ ข้อนี้
    โยมได้มรรคมีองค์ ๘ ไปหนึ่งข้อ และกำลังปฏิบัติข้อปฏิบัติหรือปฏิปทา
    อันเป็นไปเพื่อการสิ้นกรรมแล้ว เราไม่ฆ่า งดการเบียดเบียน ไม่ขโมย
    ก็งดการเบียนเบียด แล้วพระพุทธเจ้าก็บอกว่าใครปฏิบัติ ๓ ข้อนี้เรียกว่า
    เป็นมรรคมหาทานชั้นเลิศ โยมบอกว่าไม่มีเงินทำบุญเลยทำไงดี
    อยากจะทำทาน นี่เลยรักษาศีล๕ สามข้อแรกนี่เลย เป็นมหาทานชั้นเลิศเลย
    มหาทานอย่างไร โยมไม่ฆ่าสัตว์ พระพุทธเจ้าบอกเท่ากับให้ทานชีวิตสัตว์
    อย่างไม่มีประมาณ การไม่ลักขโมยเป็นการให้ทาน อย่างไม่มีประมาณ
    การไม่ประพฤติผิดในกามก็เป็นการให้ของรักอย่างไม่มีการประมาณ อาตมา
    มานึกถึงสมัยเด็กๆ ตอนเช้าตื่นมาเข้าห้องน้ำ เปิดห้องน้ำมาก็จะเห็นยุง
    เต็มห้องน้ำ ไปตบยุงติดกำแพงไปหมดเลย เลือดสาดเต็มกำแพง ยุงตาย
    ไปหลายร้อยตัวด้วยความสนุกมาก เพราะเราไม่มีศีล วันๆ หนึ่งทุกวัน
    ชีวิตจะต้องตายไปเป็นร้อยๆชีวิตเพราะเรา แต่พอเรารักษาศีล ๕
    ชีวิตไม่ต้องล้มตายเพราะเราเป็นร้อยชีวิตต่อวัน เป็นการให้ทานชีวิต
    เห็นง่ายๆ เลย มหาทานชั้นเลิศ เป็นอภัยทาน อเวรทาน อัพพยาปัชทาน
    เป็นการให้ทานด้วยการไม่ผูกเวร ไม่ผูกพยาบาท หมั่นไส้มันเหมือนกัน
    มันกัดเราอยากตบแต่ก็ไม่ตบ ให้อภัยมันหน่อย เห็นไหม...

    ๕.สัมมาอาชีวะ พระตถาคตตรัสอย่างไร สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิต
    ที่ไม่เบียนเบียด บอกง่ายๆ สั้นๆ เลี้ยงชีวิตเบียนเบียนอย่าง การโกงด้วย
    ตาชั่ง การโกงด้วยเครื่องนับ การพูดโกหกหว่านล้อมด้วยเล่ห์สารพัดอย่าง
    หรืออาชีพที่พระองค์บอกว่าอย่าไปทำเลย อาชีพนี้ไม่ดีเป็นไปด้วย
    การเบียนเบียด ค้าน้ำเมา ค้ายาพิษ ค้าประหาร ค้าสัตว์มาเป็นอาหาร ค้า
    มนุษย์ ๕ อย่างนี้ไม่ควรทำ เพราะฉะนั้นอาชีพอื่นถ้าอยากจะทำ
    ทำตามสะดวก อาชีพในโลกมีจิปาถะเป็นร้อย เป็นพัน พระพุทธเจ้า
    ไม่ไปนั่งบรรยายว่าอาชีพอะไรทำได้บ้าง เอาแค่ว่าอาชีพอะไรมัน
    ไม่ควรทำอย่างยิ่ง บอกไว้ ๕ อย่างพอแล้ว

    ๖.สัมมาวายามะคืออะไร สัมมาวายามะ พระองค์บอกว่าผู้นั้นมี
    ความเพียรที่จะทำให้อกุศลที่ยังไม่เกิดไม่เกิดขึ้น อกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
    ต้องรีบละไป ทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทำกุศลที่เกิดแล้วให้ทรงไว้
    นี่คือความเพียร ๔ อย่างหรือเรียกว่า สัมมปทาน ๔ ก็ได้ ความเพียร
    ของเราต้องทำตรงนี้ เพราะฉะนั้นเวลากุศลเกิดขึ้นในจิตในใจแล้ว
    ดูสิเหมือนกับ สัมมาสัมกัปปะไหม..จะตรัสสอดคล้องกันเลย
    คือต้องใช้ความเพียรความพยายามทุกอย่าง ที่จะละอกุศลนั้นให้ได้
    พระองค์เปรียบเหมือนไฟที่ไหม้เสื้อผ้าของเรา ถ้าไฟไหม้เสื้อผ้า
    ของเราอยู่ หรือไหม้ผมของเราอยู่ พวกเราต้องรีบดับไหม...
    ต้องรีบก่อนอย่างอื่นเลย ถ้าไหม้ตอนนี้โยมเลิกฟังอาตมาแน่นอน
    คงต้องวิ่งเข้าห้องน้ำ หาน้ำดับไฟ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าบอกว่า
    ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่ออกุศลเกิดขึ้นในใจแล้ว เธอต้องรีบทิ้งอย่างเร็วที่สุด
    เพราะฉะนั้นถ้าเราไปดูพระสูตรที่พระตถาคตตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้
    ว่าอกุศลเกิดขึ้นมาแล้วอย่าไปเลี้ยงมันไว้ เลี้ยงมันไว้ไม่ดีแน่นอน
    ความเพียรที่โยมทำ โยมทำแน่นอน ถ้าใครมาบอกว่าเธอทำความเพียร
    เพื่อละอกุศลมันไม่ดี มันเป็นกิเลส อย่าไปเชื่อนะ เชื่อพระตถาคตดีกว่า
    พระพุทธเจ้าตรัสอย่างไร ท่านบอกภิกษุนั้นพึงพิจารณาเถอะว่ามีอยู่
    หรือไม่มีอยู่หนอ บาป อกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้ แล้วเป็นอันตราย
    ต่อเรา ผู้กระทำการละลงไปในคืนนี้ ภิกษุทั้งหลายถ้าภิกษุพิจารณาอยู่
    รู้สึกว่าบาปอกุศลธรรมเหล่านั้นมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงกระทำด้วยฉันทะ
    วายามะ อุตสาหะ อุโสรหิ ปฏิวานี สติและสัมปัชชัญญะอย่างแรงกล้า
    เพื่อละบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น เช่นเดียวกับบุคคล ผู้มีเสื้อผ้า
    หรือศีรษะอันไฟลุกโพลงแล้ว จะกระทำฉันทะ วายามะ อุตสาหะ อุโสรหิ
    ปฏิวานี สติและสัมปัญชัญญะอันแรงกล้า เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้า
    หรือศีรษะนั้นเสีย ฉันใดก็ฉันนั้น เห็นไหมยืนยันโดยพุทธวัจนะ
    คำพระตถาคตสั่งให้เราใช้ความเพียรเข้าไปดับต้องตั้งเจตนาดับให้เร็ว
    และถ้าโยมดับได้รวดเร็วดุจกระพริบตา พระองค์ตรัสว่านี่คืออินทรีย์
    ภาวนาชั้นเลิศ เพราะฉะนั้นเวลาอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว เป็นอารมณ์ที่ชอบใจ
    ไม่ชอบใจก็ตาม จะต้องดับให้เร็วที่สุด ดูพระตถาคตตรัสอย่างไร
    อานนท์ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจอันบังเกิดขึ้นแล้ว
    ภิกษุนั้นย่อมดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน ส่วนอุเบกขา
    ยังคงเหลืออยู่นี้แล เราเรียกว่าอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยะวินัย
    เพราะฉะนั้นใครให้โยมเลี้ยงอารมณ์ไว้อย่าไปเชื่อ เพราะพระศาสดา
    บอกว่าเธอต้องทิ้งอารมณ์ให้ไว ไวขนาดไหน กระพริบตาเดียว
    หรือพระองค์บอกว่า เปรียบเหมือนบุรุษดีดนิ้วบั๊ปอารมณ์นั้นต้องดับ
    หรือเปรียบเหมือนหยดน้ำหยดลงในกระทะร้อนๆ แป็ปเดียวต้องหายไป

    เพราะฉะนั้นความเพียรของเราต้องเพียรที่จะละอารมณ์ที่ไม่ดีออกจากใจ
    ให้เร็วที่สุด เพราะฉะนั้นเวลาโกรธมาดีดนิ้วให้เยอะๆ ดับไปๆๆ ดับให้เร็ว
    ดีดไป ๑๐ รอบยังไม่ดับเลย ก็กระพริบตาเข้าเยอะๆอย่าเลี้ยงไว้
    บางคนก็เลี้ยงข้ามวันข้ามคืนไปเรื่อยๆไม่มีประโยชน์ เรายิ่งเลี้ยงอกุศล
    มากเท่าไหร่ เดี๋ยวก็ไปด่าเขาไปทำร้ายเขา เดี๋ยวก็ลามไปถึงฆ่าเขา
    แบบพระเทวทัต เลี้ยงอกุศลไว้นานเลยคิดฆ่าพระพุทธเจ้าเลย ไม่ยอม
    วางอกุศลความคิดก็จะเดินหน้าไปเรื่อยๆอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
    สัมมายาวามะดับอกุศลให้ไว แล้วอะไรเป็นกุศล อยากสร้างกุศล
    สร้างอะไร พระพุทธเจ้าบอกกุศลาศีล อะไรคือความเป็นกุศลที่แท้จริง
    เราไปวิ่งหากุศล วิ่งหาไปเถอะ สิ่งนั้นเป็นกุศล ทำอย่างนี้เป็นกุศล
    เขาว่าไปไหว้ที่โน้นที่นี่ ทำบุญที่นั้นที่นี้เป็นกุศล กุศลาศีลที่แท้จริง
    คือเจริญสติปัฏฐานสี่

    ๗. สัมมาสติ พระตถาคตจึงบอกว่าให้ตั้งสติ ตั้งจิตไว้ในฐานทั้ง ๔ คือ
    กาย เวทนา จิต ธรรม สติแปลว่าการระลึกได้ จิตเรากำลังคิดอดีต-อนาคต
    เพลินๆไป มีสติระลึกได้ กลับมาอยู่กับอะไร กลับมาอยู่กลับกายของเรา
    หรืออุเบกขาเวทนา หรือจิตผู้รู้ หรือธรรม ธรรมคืออะไร ให้เห็นอาการ
    ของมัน อาการอะไร อาการไม่เที่ยง ดับไม่เหลือสลัดคืน เพราะฉะนั้น
    ถ้าใครมีการระลึกได้ กลับเข้ามารู้ เข้ามาเห็น เข้ามาตั้งไว้ในฐานทั้ง ๔
    นี่เรียกว่าผู้นั้นมีสติสัมปชัญญะแล้ว สติแปลว่าการระลึกรู้ระลึกได้กลับ
    มาแล้ว จะเหลือสัมปชัญญะความรู้ตัว เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้ามักจะ
    พูดติดกัน มีสติและสัมปชัญญะ สติเกิดแว็บหนึ่งดับไปแล้ว
    หรือสัมปชัญญะคือการรู้ตัว

    แต่ถ้าโยมระลึกได้ เช่น กำลังเพลินกับอดีตแล้วระลึกได้ ไปเพลินกับ
    อนาคต(แล้วระลึกได้) อย่างนี้เรียกว่า ขาดสติเหมือนเดิมยังใช้ไม่ได้
    หรือเรียกว่ามีนันทิ แปลว่าความเพลิน พระพุทธเจ้าบอกเธออย่ามีนันทิ
    ให้เธอตั้งไว้ซึ่งกาย เวทนา จิต ธรรม เพราะความเพลินใด ความเพลินนั้น
    เป็นอุปาทาน ถ้าเธอเพลินเธอยึดแล้ว เรียกว่าเธอมีอุปาทาน ภิกษุผู้มี
    อุปาทานไปนิพพานไม่ได้ ถ้าเรายังเพลินอยู่แสดงว่าเรามีอุปาทาน
    เราปรินิพพานไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องไม่เพลิน และการละความเพลิน
    จำสั้นๆง่ายๆก็ได้ ละนันทิ จิตหลุดพ้น เพราะอะไร เพราะตถาคตตรัส
    อย่างนี้

    นันทิคยา ราคะคะโย เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิจึงมีความสิ้นไปแห่ง
    ราคะคือความพอใจ เพราะความสิ้นไปแห่งความพอใจ จึงมีความสิ้นไป
    แห่งความเพลิน นันทิ ราคะคะยาจิตตัง สุวิมุตตันติจะติ เพราะความ
    สิ้นไปแห่งความเพลินและความพอใจ กล่าวได้ว่าจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี
    จิตหลุดพ้นก็พ้นกรรมดับกรรม อยากดับกรรมง่ายๆ จำคำเดียวละนันทิ
    คือความเพลิน จิตหลุดพ้นเลย เพราะมันเป็นหนึ่งในอริยมรรคมีองค์ ๘
    แค่นั้นเอง เพราะฉะนั้นจะขยายความก็ได้ จะสั้นก็ได้ ยาวก็ได้มีหมด
    สติปัฏฐานสี่ ระลึกได้กลับมาสู่กาย เวทนา จิต ธรรม ยกมาอย่างหนึ่ง
    กลับมาสู่กาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐานคืออะไร กลับมารู้อยู่ซึ่งการ
    หายใจ กลับมารู้การเคลื่อนไหวอิริยาบถ กลับมารู้อยู่ซึ่งการทำงาน
    ปัจจุบันของเรา ที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่านี้เรียกอีก
    อย่างหนึ่งว่าอนุสติปัฏฐานที่ ๖ คือจิตอธิษฐานการงาน การทำการงาน
    ในปัจจุบัน กลับมาตรงนี้แค่นี้ชื่อว่าเธอมีสติสัมปชัญญะแล้ว ถ้าโยม
    ระลึกได้แล้วโยมตั้งจิตไว้อยู่กับลมหายใจต่อเนื่องยาวนานเรียกว่า
    เรามีสัมปชัญญะ ถ้าสามารถมีสัมปชัญญะต่อเนื่องยาวนานไปได้เรื่อย
    เรียกว่าเรามีสมาธิ สติระลึกได้ มีสัมปชัญญะๆ ต่อเนื่องยาวนานเรียกว่า
    มีสมาธิ สติสัมปชัญญะ สมาธิแยกแบบนี้และสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้เรียก
    อีกอย่างว่า ที่เที่ยวของจิต ถ้าเธอจะเที่ยวไปให้เที่ยวไปใน ๔ ที่นี้
    อย่าไปเที่ยวห้าง อย่าไปช็อปปิ้ง เที่ยวได้บางครั้งบางคราวอย่า
    ไปบ่อย เดี๋ยวเงินจะหมดกระเป๋า เจอความเพลินเข้าไป มันจะดึง
    เงินบินหนีออกจากกระเป๋า เพราะฉะนั้นให้เที่ยวอยู่ในสติปัฏฐานสี่
    กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าเราทำอย่างนี้ชื่อว่ามีสติสัมปชัญญะถูก
    ต้องแล้ว


    ๘. สัมมาสมาธิ สัมปชัญญะต่อเนื่องยาวนานเรียกว่ามีสมาธิ สมาธิ
    มีหลายแง่หลายมุม มุมหนึ่งคือการเข้าฌานที่๑ ๒ ๓ ๔ พระตถาคต
    บอกการเข้าฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ ไว้เรียกสัมมาสมาธิ นั่นเป็นอริยะสัมมา
    สมาธิที่ถูกต้องในอริยมรรคองค์ ๘ คนพูดเรื่องสมาธิกันเต็มไปหมด
    ก็พูดกันไปหลากหลายแบบ แต่พระตถาคตบัญญัติอะไร บัญญัติ
    ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตฌาน อากาสานันกายะ เจตะนะ
    วิญญาณนันญารัตนะ อาจิณจัญญาญะตนะ เนวะสัญญาณาญะ
    สัญญาณะตะนะ สัญญาเวทิตะนิโรธ ๙ ระดับของสมาธิหมดแล้วแค่นี้

    เราอาจจะเคยได้ยิน ที่บอกว่ามี ขณิกะ อุปัชญาญะ อัปปนา
    เคยเช็คไหม ลองเช็คดูนิดหนึ่ง ตอนนี้เราโปรแกรมพระไตรปิฏก
    ทั้งหมดเข้าไปในคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว แล้วมีการตรวจเช็ค เวลา
    โยมสงสัยคำว่าอะไรใส่คำนั้นลงไป แล้วให้มันสแกนทั้งพระไตรปิฎก
    โยมจะทราบว่าคำๆ นี้พระตถาคตเคยตรัสไว้ไหม ลองใส่คำว่า
    ขณิกะสมาธิก็ได้ สแกนดูในบาลีเป็นภาษาไทย กดทั้ง ๔๕ เล่ม
    เครื่องหมายติ๊กถูก กดค้นหาไม่เกิน ๑๐ วินาทีแล้วจะทราบว่าคำๆ นั้น
    ในพุทธวัจนะมีหรือไม่ สแกนถึงสุดพระไตรปิฎก สแกนถึงอภิธรรมปิฎก
    จบสุดท้ายไม่มี ไม่มีข้อมูล
     

แชร์หน้านี้

Loading...