ปฐมเหตุ มิลาเรปะ ใครชอบอ่าน แนว วัชรญาณบ้าง โหลดเอานะ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Kamen rider, 9 กรกฎาคม 2005.

  1. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle>
    ปฐมเหตุ มิลาเรปะ


    เรื่องราวและธรรมเทศนาของท่าน มิลาเรปะ เป็นคัมภีร์ที่ทรงคุณค่ามากที่สุดคัมภีร์หนึ่งของทิเบต สภาพความเป็นอยู่ของชนชาวทิเบต ที่ผูกพันอยู่กับพระศาสนา ได้ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด ความหมายอันลึกซึ้งในธรรมเทศนาของท่านมิลาเรปะ เป็นดังประทีปส่องทางดำเนินให้แก่สาธุชนผู้มุ่งสู่โพธิญาณ อรรถรสในการอุปมาเปรียบเปรยอย่างชาญฉลาดของท่านมิลาเรปะ นำมาซึ่งธรรมปีติอย่างน่าอัศจรรย์ การจะกล่าววิพากษ์วิจารณ์ถึงคัมภีร์ของทิเบตเล่มนี้ มิใช่สิ่งที่สามารถกระทำได้โดยง่ายเลย ผู้ที่เหมาะสมที่สุดที่จะแสดงความคิดเห็นต่อหนังสือเล่มนี้ได้ คงจะมีแต่ผู้ที่ร่วมกันรจนาคัมภีร์นี้ขึ้นมาเท่านั้น .

    ท่าน มิลาเรปะ ถือกำเนิดในปี ค . ศ .1052 และดับขันธ์นิพพานในปี ค . ศ .1135 ชีวิตในวัยหนุ่มหลังจากมรณะกรรมของบิดา เต็มไปด้วยความขมขื่น ท่านและมารดาถูกคดโกงมรดกมหาศาลที่บิดามอบให้จนหมดสิ้น ท่านเผชิญกับความยากไร้และต่ำต้อย ซึ่งสร้างความทุกข์ทรมานแก่ท่านอย่างสาหัส ในที่สุดท่านได้คบคิดกับมารดาหาทางแก้แค้น โดยท่านมิลาเรปะ ได้ยอมอุทิศตนเข้าศึกษาวิชาไสยศาสตร์อย่างจริงจัง พลังอำนาจจากเวทย์มนต์คาถาที่ท่านได้ร่ำเรียนมา ทำให้ท่านสามารถบันดาลให้เกิดพายุลูกเห็บ ตกลงมาถล่มบ้านของป้าและลุง ซึ่งได้พลอยทำอันตรายชีวิตและทรัพย์สินของเพื่อนบ้านข้างเคียงไปด้วยโดยที่ท่านไม่ได้เจตนา ท่านสังเวชสลดใจกับบาปกรรมที่ได้ก่อขึ้นในครั้งนี้มาก จึงได้ตัดสินใจ อุทิศชีวิตที่เหลือของท่านให้กับพระศาสนา เพื่อมุ่งหวังจะลบล้างบาปกรรมที่ท่านได้ก่อเอาไว้ ความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมของท่านเต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย ท่านถูกส่งตัวมาศึกษากับท่านอาจารย์ มาระปะ ซึ่งเพิ่งกลับมาจากประเทศอินเดีย ท่านอาจารย์ มาระปะ ได้รับคำพยากรณ์จากเทพธิดาว่าจะได้พบกับสานุศิษย์องค์สำคัญ ซึ่งจะเป็นผู้แผ่ขยายธรรมานุภาพของพระศาสดาไปทั่วสารทิศ ท่านอาจารย์ มาระปะ ได้ทรมานท่าน มิลาเรปะ ด้วยอุบายวิธีต่างๆมากมาย เพื่อผ่อนคลายอิทธิพลของอกุศลวิบากกรรม อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมของท่าน มิลาเรปะ อยู่หลายปี .

    สิบเอ็ดเดือนเต็มสำหรับการได้เริ่มต้นลงมือปฏิบัติธรรมที่เข้าสู่เนื้อหาสาระอันแท้จริง การบำเพ็ญอย่างอุกฤษฏ์โดยต่อเนื่องในถ้ำแต่ผู้เดียว ทำให้เกิดธรรมจักษุต่อมรรคาที่จะบรรลุสู่พระโพธิญาณ ในระหว่างนี้ ท่านได้กลับมาเยี่ยมบ้าน มรณกรรมของมารดา และสภาพแร้นแค้นของบรรดาพี่น้องของท่าน ก่อให้เกิดความสลดสังเวชใจอย่างล้ำลึก แรงบันดาลใจที่จะสละโลกทั้งปวง ดำเนินไปอย่างรุนแรงเด็ดเดี่ยว ท่านได้อธิษฐานจิต ที่จะปฏิบัติบำเพ็ญอย่างต่อเนื่องในหุบเขาที่เงียบสงัด จนกว่าจะบรรลุถึงความวิมุติหลุดพ้นอย่างแท้จริง .

    สิบสองปีเต็มกับการกระทำตามคำอธิษฐาน ท่านได้บรรลุถึงบรมธรรมขั้นสูงสุด การออกเผยแพร่ธรรมเป็นไปอย่างกว้างขวางมาก จนท่านมิลาเรปะ ได้ถูกจารึกว่าเป็นพระภิกษุองค์สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของชนชาวทิเบต .

    ลีลาในการแสดงธรรมของท่านมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนผู้ใด ธรรมบรรยายที่หลั่งไหลออกจากการบรรลุอมตธรรมของท่าน มิลาเรปะ มีลักษณะแห่งการอุปมาเปรียบเปรยกับธรรมชาติรอบๆตัวด้วยอรรถอันวิจิตรพิสดาร ก่อให้เกิดแนวทางอันวิเศษที่จะปฏิบัติบำเพ็ญตาม ท่านมิลาเรปะ แตกต่างจากพระภิกษุรูปอื่นซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาในยุคนั้น ท่านไม่ยุ่งเกี่ยวกับงานก่อสร้างถาวรวัตถุ ท่านไม่รวมกลุ่มกับใคร เพื่อเน้นลัทธินิกายใดๆ ท่านชอบใช้ชีวิตที่โดดเดี่ยวอยู่ในป่าเขาโดยไม่ติดยึดสถานที่ ท่านออกจาริกธุดงค์ไปพบกับผู้คนโดยไม่มีข้อกำหนดว่าจะเป็นสถานที่เช่นไร เพื่อแสดงธรรมตามแบบฉบับของท่าน ไม่มีการท่องบ่นสวดมนต์อันเป็นรูปแบบที่กระทำกันทั่วไป ท่านชักนำผู้คนให้เริ่มปฏิบัติธรรมในทันทีทันใด โดยไม่รั้งรอต่อการศึกษาจากตำรับตำรามากมายเหมือนที่นิยมทำกันในหมู่ภิกษุผู้คงแก่เรียน ประสบการณ์เรียนรู้สภาวะธรรมจริงที่เกิดขึ้นในจิตใจเป็นสิ่งที่ท่านแนะนำต่อพุทธศาสนิกชนให้พากเพียรปฏิบัติ ท่าน มิลาเรปะ ไม่ได้ร่วมในการยอมรับว่าพุทธศาสนานิกาย เถรวาท มหายาน หรือวัชรยาน อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งถูกต้องมากกว่ากัน แต่ท่านจะเน้นหนักถึงความเป็นมายาของปรากฏการณ์ทั้งหลายทั้งปวง เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเดินลัดตรงไปสู่ความสิ้นอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในบรรดาสรรพสิ่งโดยสิ้นเชิง .

    ท่าน มิลาเรปะ นับได้ว่าเป็นคุรุผู้สามารถทำให้สานุศิษย์เป็นจำนวนมากบรรลุ มรรคผลนิพพาน ท่านฮุยเหน็ง ( ท่าน เหวยหล่าง ) ผู้ก่อตั้งวิถีทางบรรลุฉับพลันอันได้แก่ลัทธิเซนในประเทศจีน ก็เป็นพระภิกษุอีกรูปหนึ่ง ที่พอจะเทียบเทียมกับท่านมิลาเรปะได้ ในแง่ที่ว่าท่านทั้งสองไม่อ้อมค้อมเสียเวลาอยู่กับเปลือกนอกของพระศาสนา แต่สำหรับความสามารถในด้านก่อแรงบันดาลใจ ให้ผู้คนหันมาประพฤติธรรมโดยใช้ถ้อยคำอุปมาอันชาญฉลาดนั้น ต้องถือได้ว่าท่าน มิลาเรปะ มีเอกลักษณ์ที่สมบูรณ์มากกว่า .

    เพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้นสำหรับการทำความเข้าใจกับข้อความในหนังสือเล่มนี้ หลักคำสอนอันเป็นส่วนสำคัญสำหรับพุทธศาสนาในทิเบตยุคนั้น อันมิใช่เป็นเพียงปรัชญาอย่างตรรกศาสตร์ หากเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดความตระหนักชัดขึ้นในภายในจริงๆ สามารถรวบรวมโดยย่นย่อที่สุดได้เป็นข้อๆดังต่อไปนี้ .
     
  2. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    [​IMG]


    ความเป็นมาของการเริ่มแปลหนังสือเล่มนี้ เกิดจากข้อความบางโศลก ที่ข้าพเจ้าได้อ่านพบจากการแปลของท่านอาจารย์ในคณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อหลายปี มาแล้ว พฤติภาพในจิตใจของข้าพเจ้าถูกปลุกเร้าอย่างน่าอัศจรรย์ ข้าพเจ้าได้รับความอนุเคราะห์จากร้านขายหนังสือ ศึกษิตสยาม อยู่แถวสามย่าน ในการช่วยเป็นธุระค้นหาและสั่งหนังสือชื่อ THE HUNDRED THOUSAND SONGS OF MILAREPA จากต่างประเทศเข้ามาให้ เมื่อเริ่มทดลองแปลดูในระยะแรกๆโดยใช้เวลากลางคืนก่อนเข้านอน ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ค่อยจะธรรมดาเสียแล้ว เพราะการแปลจะทำได้เฉพาะวันที่มีจิตใจสงบด้วยสำนึกซึ่งเป็นความเข้าใจอันเป็นปัจจัตตังรู้เฉพาะตนว่า หนทางถูกต้องที่สุดในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคน คือการพยายามเข้าใจให้ได้ถึงข้อเท็จจริงในธรรมชาติ เพื่อที่ว่าจะได้มีโอกาสบรรลุถึงความดับสนิทของทุกข์ตลอดกาลนิรันดร .

    แม้ว่าโดยพื้นฐานการศึกษาทางด้านวิศวกรรมของข้าพเจ้าจะเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อันเป็นการเรียนรู้ถึงข้อเท็จจริงในธรรมชาติก็ตาม แต่มันไม่ได้ช่วยตอบคำถามนานับประการ ถึงความลับของชีวิตแต่อย่างใด มันเป็นเรื่องน่าสมเพชเมื่อได้เห็นมนุษย์กล่าวโอ้อวดถึงความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ชาติ ทั้งๆที่ขอบเขต ความต้องการ ของมนุษย์ที่เข้าใจว่าตนเองก้าวหน้า ได้ขยายตัวออกไปเรื่อยๆ การกำหนดหมายจะต้องมีต้องได้ทั้งวัตถุทั้งสถานะภาพในสังคมมีนัยยะหลากหลาย พฤติกรรมของความหิวกระหายอยากอันทุกข์ทรมานโดดเด่นขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นความเจริญ มโนทวารของข้าพเจ้าเอ็ดอึงไปด้วยข้อโต้แย้งด้วยความเห็นส่วนตนที่ว่า ในเมื่อความมุ่งหมายในใจของสรรพชีวิตทั้งมวล คือการขจัดสภาพทนได้ยากทั้งปวงออกไปให้พ้นวิถีทางดำเนินชีวิต ไฉนเราจึงไม่ชี้ขาดความเจริญหรือความเสื่อมของมนุษย์ โดยถือเอาข้อเท็จจริงในการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของความทุกข์ซึ่งเป็นสภาพทนได้ยากเป็นข้อตัดสินในเรื่องนี้ แต่กลับไปถือเอาการเพิ่มภาระให้กับชีวิต ที่จะต้องมีต้องได้ทั้งวัตถุและสถานะภาพทางสังคมตามค่านิยมร่วมสมัยเป็นแนวทางแสวงหาความเจริญของชีวิต ซึ่งบทพิสูจน์มากมายปรากฏให้เห็นอยู่เสมอในชีวิตประจำวันว่าแนวทางเช่นนี้ก่อให้เกิดการแก่งแย่งเบียดเบียนกันอย่างบ้าคลั่งในสังคมโลก

    จากการเรียนรู้ธรรมชาติของดวงจิตด้วยการมีสติคอยเฝ้าสังเกตพฤติกรรมของมันอยู่เสมอ ข้าพเจ้าได้พบธรรมชาติที่น่าสลดใจที่สุดว่า ความอยากอันเป็นสภาพทนได้ยากในโลกซึ่งมนุษย์จัดการแก้ไขโดยการพากเพียรแสวงหามาให้ได้ตามที่อยากนั้น มิได้เป็นการระงับสภาพทนได้ยากตามที่ผู้คนหลงเข้าใจกันอยู่ ตรงกันข้ามหลังจากที่ความทุกข์ดูเหมือนจะดับลงเมื่อได้สมใจอยากนั้น ธรรมชาติแห่งความยินดีที่สั่งสมลงในจิตใจกลับเป็นตัวการสำคัญที่จะเข้าร่วมสนับสนุนให้เกิดความต้องการเพิ่มพูนมากขึ้นไปอีก ในการปรุงแต่งกำหนดหมายของจิตครั้งต่อๆไป วังวนของกิเลสที่ทำให้ประกอบกรรมและเกิดวิบากผลมาปรุงแต่งให้เกิดกิเลสอีก เป็นความสิ้นหวังของสรรพชีวิต เป็นวัฏฏะที่น่าสงสาร ที่ความพากเพียรให้ผลออกมาเป็นความเพิ่มพูนของตัณหาหรือความอยาก อันนำไปสู่สภาพทนได้ยากไม่สิ้นสุด .

    ท่าน มิลาเรปะ เป็นพุทธสาวกที่ถ่ายทอดคำสั่งสอนของพระศาสดาได้อย่างมหัศจรรย์ ด้วยลีลาแสดงธรรมอันมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร การแปลธรรมเทศนาของท่าน จากภาษาอังกฤษ ที่แปลมาจากภาษาทิเบต ทำให้ข้าพเจ้าไม่อาจรักษาสำนวนในภาษาอังกฤษแบบคำต่อคำไว้ได้ แม้แต่น้อย นอกจากใช้วิธีอ่านให้เข้าใจ แล้วจึงลำเลียงถ้อยคำเป็นภาษาไทยออกมาด้วยเอกลักษณ์ส่วนตัว ภูมิธรรมอันจำกัดของข้าพเจ้าซึ่งเป็นปัจจัยในการหล่อหลอมเอกลักษณ์ส่วนตัว นับว่าน่าเป็นห่วงยิ่งสำหรับการถ่ายทอดข้อความอันสำคัญเช่นนี้ เพื่อให้ท่านผู้อ่าน มีโอกาสเข้าใจในข้อความบางตอน ที่เป็นความจริงขั้นปรมัตถ์ (ULTIMATE TRUTH) ซึ่งไม่ผันแปรไปกับกาลเวลาและเหตุปัจจัยแวดล้อมใดๆ ท่านจำเป็นจะต้องเข้าใจถึงการชี้นำของพระพุทธองค์เกี่ยวกับสามัญลักษณะสามประการของบรรดาสรรพสิ่ง อันได้แก่ อนิจลักษณะเป็นประการแรก ทรงชี้ให้เห็นว่า ธรรมชาติของสิ่งทั้งปวงไม่ยกเว้นสิ่งใด ผันแปรอยู่ตลอดเวลา จนอาจกล่าวได้ว่าไม่มีการดำรงอยู่ของอะไรทั้งที่สัมผัสได้ การรู้สึกสัมผัสกับความกำหนดหมายต่อความรู้สึกสัมผัสเป็นคนละขั้นตอนกัน การกำหนดหมายต่อความรู้สึกสัมผัสย่อมมีนัยยะเป็นอนันตภาพ ขึ้นอยู่กับการสั่งสมอวิชชาไว้ในรูปแบบใดของแต่ละบุคคล การไม่กำหนดหมายต่อความรู้สึกสัมผัส ด้วยการ สักว่าเห็น สักว่าได้ยิน สักว่าได้กลิ่น สักว่าลิ้มรส สักว่ากายสัมผัส ย่อมสอดคล้องกับธรรมชาติแห่งความไม่ดำรงอยู่ ดังได้กล่าวมาแล้ว ถ้าท่านเข้าใจตามที่กล่าวมานี้ได้ ท่านอาจถึงกับสะดุ้งผวากับความผิดพลาดซึ่งสั่งสมอยู่ทุกเวลานาทีในการกำหนดหมายต่อสิ่งทั้งปวง ความเข้าใจต่อปฏิจจสมุปบาทธรรมที่พระพุทธองค์ทรงนั่งทบทวนในคืนวันตรัสรู้น่าจะได้ก่อตัวขึ้นมาบ้างแล้ว เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร ( การกำหนดหมายปรุงแต่งภายในจิตใจเพราะความไม่รู้ ) ซึ่งนำไปสู่ความกำหนดหมายผิดๆว่า สิ่งที่สัมผัสได้นั้นเป็นความมีอยู่จริงเป็นอยู่จริงตามจิตสังขารด้วยอวิชชา ( เกิดวิญญาณรับรู้ที่ ทะยอยเป็น นามรูป หรือเกิด
     
  3. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998


    THE MAGIC LIFE OF
    MILAREPA
    TIBET'S GREAT YOGI
    [​IMG]
    Highlights from the Life of Milarepa

    ขอน้อมเศียรเกล้ากราบลง ณ เบื้องบาทของวิสุทธิบุคคลทั้งมวล .
     
  4. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD height=10>(bb-flower


    ดาวโหลดเอาเลย ครับ ชอบตอนใหนอยากอ่านตอนใหน เชิญ
    http://www.puttagamo.com/story_download.php
    http://www.puttagamo.com/story_main.php



    </TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD>


    [​IMG]



    </TD><TD width=50 background=images/detail_title_background.gif></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=10></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR></TR><TR><TD colSpan=2>

    ภาคที่๑ การปราบและการสั่งสอนอมนุษย์ของท่านมิลาเรปะ
    </TD></TR><TR><TD>-หุบเขาอัญมณีแดง</TD><TD>-การจาริกธุดงค์สู่ลาชิ</TD></TR><TR><TD>-ธรรมลีลาแห่งเทศกาลหิมะโปรย</TD><TD>-วิวาทะกับเจ้าแม่ผู้ชาณฉลาด</TD></TR><TR><TD>-มณฑลรักม่า</TD><TD>-วิหารเทียมฟ้าจันแพน</TD></TR><TR><TD>-ธรรมปีติของสมณะ</TD><TD>-ท่านมิลาเรปะกับนกพิราบ</TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ภาคที่ ๒ ท่านมิลาเรปะและบรรดาสานุศิษย์ที่เป็นมนุษย์
    </TD></TR><TR><TD>-หุบเขาวัชชระสีเทา</TD><TD>-ภิกษุเรชุงปะ</TD></TR><TR><TD>-ข้อตักเตือนถึงโอกาสที่หาได้ยากในการปฏิบัติธรรม</TD><TD>-การค้นหาธรรมชาติแห่งจิตของชายเลี้ยงแกะ</TD></TR><TR><TD>-ธรรมคีตาแห่งความตระหนักชัด</TD><TD>-การมุ่งสู่โพธิญาณของสตรีเพศ</TD></TR><TR><TD>-ธรรมคีตา ณ ที่พักผู้เดินทาง</TD><TD>-พาลชนที่กลายเป็นสาวก</TD></TR><TR><TD>-การพบกันที่สายธารสีเงินยวง</TD><TD>-นิมิตหมายแห่งพระธรรมจากไม้เท้า</TD></TR><TR><TD>-ข้อชี้นำยี่สิบเอ็ดประการ</TD><TD>-ภิกษุกาชอนเรปะ</TD></TR><TR><TD>-คำตักเตือนสำหรับท่านธัมมะวอชู</TD><TD>-การแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ณ ภูเขาหิมะดีซี</TD></TR><TR><TD>-การบรรลุธรรมของท่านเรชุงปะ</TD><TD>-การกลับใจของชาวลัทธิบอนผู้กำลังตาย</TD></TR><TR><TD>-แสดงธรรมกับหญิงสาวผู้ชาญฉลาด</TD><TD>-นายพรานกับกวาง</TD></TR><TR><TD>-พระราชาแห่งเนปาล</TD><TD>-เผชิญเจ้าแม่ทเซรินมา</TD></TR><TR><TD>-การกลับใจของเจ้าแม่ทเซรินมา</TD><TD>-ข้อแนะนำเกี่ยวกับภาวะสัมภเวสี</TD></TR><TR><TD>-ทเซรินมากับการปฏิบัติธรรม</TD><TD>-ข้อตักเตือนสำหรับท่านดอจี วอนซู</TD></TR><TR><TD>-การพบกับท่านธรรมโพธิ</TD><TD>-เผชิญนักปริยัติ</TD></TR><TR><TD>-เยือนอินเดียครั้งที่สามของท่านเรชุงปะ</TD><TD>-ความตระหนักชัดของท่านเมกอมเรปะ</TD></TR><TR><TD>-สาลีอุยกับพระธรรม</TD><TD>-เขาของตัวจามรี</TD></TR><TR><TD>-การสำนึกผิดของเรชุงปะ</TD><TD>-ความที่ยิ่งกว่าสุข</TD></TR><TR><TD>-ศิษย์เอกกัมโบปะ</TD><TD>-นักปริยัติผู้กลับใจ</TD></TR><TR><TD>-ธรรมปราโมทย์</TD><TD>-แสดงอภิญญาจูงใจคน</TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ภาคที่ ๓ รวมเรื่องราวต่างๆ
    </TD></TR><TR><TD>-รวมโศลกธรรมสั้นๆ (New)</TD><TD>-ธรรมเทศนาที่ภูผาบอนโบ้ (New)</TD></TR><TR><TD>-แรงบันดาลใจ (New)</TD><TD>-ชินดอโมและเลซีบุม (New)</TD></TR><TR><TD>-แกะที่กำลังจะตาย (New)</TD><TD>- ธรรมคีตาแห่งการดื่ม (New)</TD></TR><TR><TD>-แด่เรชุงปะด้วยเมตตา (New)</TD><TD>-เรชุงปะสู่เมืองวู (New)</TD></TR><TR><TD>-พบท่านธัมปาสันจี (New)</TD><TD>-มิติแห่งสวรรค์ (New)</TD></TR><TR><TD>-คำพยากรณ์แห่งเทพธิดา (New)</TD><TD>-คำตักเตือนคุณหมอยางงี (New)</TD></TR><TR><TD>-การจากไปของเรชุงปะ (New)</TD><TD>-เรื่องราวของดราชิเซ (New)</TD></TR><TR><TD>-กัลยาณมิตร (New)</TD><TD>-ประจักษ์พยานแห่งการบรรลุธรรม (New)</TD></TR><TR><TD>-ปัจฉิมโอวาท (New)</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...