ประกาศแม่กองบาลี ประจำปี 2553 พร้อมวิชาเรียนพื้นฐาน

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย อธิมุตโต, 5 มีนาคม 2009.

  1. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ไม่เป็นไรครับ ว่าง ๆ ก็แว๊ปมาดู แว๊ปมาตอบ บางครั้งบางครา ก็ได้ความรู้ครับ
     
  2. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    สาธุ ใช่ครับ

    ว่าแต่คำถามข้อที่ 1 ที่ว่า

    เอกวจนะ และ พหุวจนะ แตกต่างกันอย่างไร ? และแปลกกว่ากันตรงไหน ?

    ไม่ลองตอบหรือครับ
     
  3. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    เพื่อน ๆ โปรดทราบ ช่วยอนุเคราะห์คุณสร้อยหน่อยเน้อ ^^
     
  4. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    อนุโมทนาครับ กระทู้ มีไว้สำหรับ คนต้องการความรู้ ไม่หวงห้ามครับ
     
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    แหม พระอาจารย์ ไม่ต้องประกาศให้ทราบก็ได้เจ้าค่ะ... ^^
    อุตส่าห์กระซิบแล้วนะ .... พระอาจารย์ยังได้ยินอีก.... ^_^
     
  6. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,774
    ค่าพลัง:
    +12,932
    นักเรียนหายไปไหนกันหมดนะ อย่าปล่อยห้องร้างนะนี่ :)
     
  7. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    เดี๋ยวอาทิตย์หน้าจะขึ้นบทเรียนใหม่แล้ว หวัง ว่า นักเรียนจะมารายงานตัวกันหน่อยนะครับ ว่าพร้อมที่จะเรียนต่อหรือเปล่า
     
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    พระอาจารย์เจ้าขา สร้อยฟ้าฯ ยังไม่ได้ส่งการบ้านเลย ไม่มีเพื่อนให้ลอก(พูดตรงไปหน่อย) .. ^^!

    สงสัยเพื่อนๆ กลัวไข้หวัด ๒๐๐๙ เลยไม่กล้าเข้าชั้นเรียน....^^
     
  9. เวฬุวัล

    เวฬุวัล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    1,843
    ค่าพลัง:
    +505
    กราบนมัสการพระอาจารย์

    เวฬุวัลมารายงานตัวแล้วเจ้าค่ะ

    ;aa24
     
  10. omio

    omio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,679
    ค่าพลัง:
    +5,213
    อนุโมทนาค่ะ

    ไม่ทราบว่ามีโรงเรียนในกรุงเทพฯที่เปิดสอนบาลี สันสกฤต ให้คนทั่วไปหรือเปล่าคะ
     
  11. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    เฮ้อ เพลีย จริง ๆ เลย พึ่งสอนนักเรียนที่โรงเรียนเสร็จ อากาศ ก็ร้อน เหนื่อยกับเด็กอีก กะว่าจะมาโพสต์การเรียนต่อหลายวันแล้ว แต่ไม่ไหว เพลีย เหนื่อยเหลือเกิน

    วันนี้ไง ๆ ก็ต้องโพสต์ให้ได้ กลัวนักเรียนจะรอนาน

    โพสต์แล้วมาศึกษากันบ้างนะนักเรียนบาลี

    เอาละ วันนี้จะมาพูดถึงเรื่อง อายตนิบาต และ การันต์ คร่าว ๆ ก่อนแล้วกันนะ

    แล้ว พรุ่งนี้ค่อยมาขยายต่อ

    อายตนิบาต (อ่านว่า อา-ยะ-ตะ-นิ-บาด)<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อายตนิบาต แปลว่า คำเชื่อมหรือคำต่อ<o:p></o:p>
    อายตนิบาต หมายถึง เชื่อม หรือ ต่อศัพท์หนึ่งกับอีกศัพท์หนึ่งเข้ากัน ให้ได้วามหมายตามภาษาบาลี<o:p></o:p>
    เหมือน อายตนะภายนอกกับอายตนะภายใน ต้องต่อหรือเชื่อมกันอยู่เสมอ เช่น ตาเชื่อมหรือต่อกับรูป เป็นต้น<o:p></o:p>
    อายตนิบาต ก็เหมือนกัน ต้องเชื่อมหรือต่อกัน จึงจะได้ความหมายชัดเจน เช่น<o:p></o:p>
    วเน รุกฺโข = รุกฺโข แปลว่า อ.ต้นไม้ วเน แปลว่า ในป่า เป็นต้น คำว่า ใน เป็นคำแปลของอายตนิบาตสัตตมีวิภัตติ<o:p></o:p>
    สำเนียง หรือ คำแปลของอายตนิบาต ดังนี้<o:p></o:p>
    .<o:p></o:p>
    .<o:p></o:p>
    ตาราง.<o:p></o:p>
    .<o:p></o:p>
    .<o:p></o:p>
    การันต์<o:p></o:p>
    การันต์ แปลว่า สระที่สุดของศัพท์ เช่น ปุริส (ปุ-ริ-สะ) สระที่สุดของศัพท์ คือ สระ อะ /// ครุ (คะ-รุ) สระที่สุดของศัพท์ คือ สระ อุ เป็นต้น<o:p></o:p>
    การันต์ โดยย่อ มี 6 คือ อ อา อิ อี อุ อู (อ อ่านว่า อะ)<o:p></o:p>
    โดยพิสดารมีจำแนก 13 ตัว (จำแนก ตามลิงค์) ดังนี้<o:p></o:p>
    1. ในปุงลิงค์ มีการันต์ 5 ตัว คือ อ อิ อี อุ อู<o:p></o:p>
    2. ในอิตถีลิงค์ มีการันต์ 5 ตัว คือ อา อิ อี อุ อู<o:p></o:p>
    3. ในนปุงสกลิงค์ มีการันต์ 3 ตัว คือ อ อิ อุ<o:p></o:p>


    แค่นี้ก่อนนะ ...
     
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    กราบนมัสการพระคุณเจ้าท่าน เจ้าข้า...
    สร้อยฟ้าฯ ยังไม่หายไปไหน...
    ติดตามอ่านเสมอ แต่ก็ยัง งง อยู่บ้างเล็กน้อยถึงปานกลางค่อนไปข้างมาก... ???
     
  13. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [QUOTE=อธิมุตโต;2326188]

    เดี๋ยวอาทิตย์หน้าจะขึ้นบทเรียนใหม่แล้ว หวัง ว่า นักเรียนจะมารายงานตัวกันหน่อยนะครับ ว่าพร้อมที่จะเรียนต่อหรือเปล่า

    [/QUOTE]

    เย้ ! ห้องเรียนเปิดแล้ว

    แม่สร้อย เราไปตามเพื่อนมาเข้าเรียนกันเถอะ
    ไม่ต้องกลัว ไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙ หรอก นะ
    คนมีบุญ ผู้ทรงธรรม จะห่างไกลทุกข์ โศก โรคภัย จ้า


    ม๊ะ . แม่สร้อย ไปตามเพื่อนมาเข้าห้องเรียนกันเร้ว !
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2009
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    ^_^


    .......................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2009
  15. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    งงบ้างก็ไม่แปลก เพราะ เมื่อวานพระอาจารย์โพสต์ ยัง งง ๆ กับที่โพส เองเลย เพราะเบลอ เหนื่อย อ่อนเพลียมาก เมื่อวาน แต่ต้อง โพสต์หน่อยเพื่อให้กระทู้มีความเคลื่อนไหว

    ถ้าพยายามตอบปัญหาพระอาจารย์ คงจะพอเข้าใจมากขึ้น ย้อนกลับไปดูของเก่า ๆ จะได้ ทวนของเก่าด้วย

    เพราะบาลี หากลืมของเดิม จะต่อของใหม่ ไม่ติด จ้า
     
  16. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087


    เย้ ! ห้องเรียนเปิดแล้ว

    แม่สร้อย เราไปตามเพื่อนมาเข้าเรียนกันเถอะ
    ไม่ต้องกลัว ไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙ หรอก นะ
    เพียงชวน คุณจอมมารฯ เข้าห้องเรียนได้ ก็พอ
    (ก็ พี่เขามีหน้ากาก น่ะนะ) - พี่บุญญ ว่า
    คุณพี่จอมฯ เขาคงจะต้องมีเผื่อเพื่อนคนอื่นๆ ด้วยล่ะน้า

    ม๊ะ . แม่สร้อย ไปตามเพื่อนมาเข้าห้องเรียนกันเร้ว ![/QUOTE]

    ใจเย็น ๆ เดี๋ยวขอโพสต์ ให้เนื้อหาเป็นเรื่องเป็นราวก่อน ให้อ่านรู้เรื่องก่อน แล้วค่อยตามเพื่อน ๆ ก็ไม่สายครับ
     
  17. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ขอโพสต์บทเรียนให้เป็นเรื่องเป็นราวใหม่ก่อน

    อายตนิบาต และ การันต์

    อายตนิบาต (อ่านว่า อา-ยะ-ตะ-นิ-บาด)<O:p</O:p

    อายตนิบาต แปลว่า คำเชื่อมหรือคำต่อ<O:p</O:p
    อายตนิบาต หมายถึง เชื่อม หรือ ต่อศัพท์หนึ่งกับอีกศัพท์หนึ่งเข้ากัน ให้ได้ความหมายตามภาษาบาลี <O:p</O:pเหมือน อายตนะภายนอกกับอายตนะภายใน ต้องต่อหรือเชื่อมกันอยู่เสมอ เช่น ตาเชื่อมหรือต่อกับรูป เป็นต้น
    <O:p</O:p
    อายตนิบาต ก็เหมือนกัน ต้องเชื่อมหรือต่อกัน จึงจะได้ความหมายชัดเจน เช่น
    <O:p</O:p
    วเน รุกฺโข = รุกฺโข แปลว่า
    อ.ต้นไม้ วเน
    แปลว่า ในป่า เป็นต้น

    คำว่า ใน เป็นคำแปลของอายตนิบาตสัตตมีวิภัตติ<O:p</O:p

    สำเนียง หรือ คำแปล ของอายตนิบาต ดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คำแปลประจำหมวดวิภัตติทั้ง 7 ดังนี้

    เอกวจนะ (เอกพจน์) ** ถ้าเป็นพหุวจนะ จะเติมคำว่าทั้งหลายในคำแปลนั้น ๆ

    ปฐมาวิภัตติ ที่ 1 แปลว่า อันว่า (เขียนว่า อ.)

    ทุติยาวิภัตติ ที่ 2 แปลว่า ซึ่ง สู่ ยัง สิ้น ตลอด กะ เฉพาะ

    ตติยาวิภัตติ ที่ 3 แปลว่า ด้วย โดย อัน ตาม เพราะ มี ด้วยทั้ง

    จตุตถีวิภัตติ ที่ 4 แปลว่า แก่ เพื่อ ต่อ

    ปัญจมีวิภัตติ ที่ 5 แปลว่า แต่ จาก กว่า เหตุ

    ฉัฏฐีวิภัตติ ที่ 6 แปลว่า แห่ง ของ เมื่อ

    สัตตมีวิภัตติ ที่ 7 แปลว่า ใน ใกล้ ที่ ครั้นเมื่อ ในเพราะ เหนือ บน ณ

    อาลปนะ แปลว่า แน่ะ ดูก่อน ข้าแต่

    การันต์
    <O:p</O:p
    การันต์ แปลว่า สระที่สุดของศัพท์ เช่น
    - ปุริส (ปุ-ริ-สะ) สระที่สุดของศัพท์ คือ สระ อะ
    - ครุ (คะ-รุ) สระที่สุดของศัพท์ คือ สระ อุ เป็นต้น<O:p</O:p

    การันต์ โดยย่อ มี 6 คือ อ อา อิ อี อุ อู (อ อ่านว่า อะ)
    <O:p</O:p
    โดยพิสดารมีจำแนก 13 ตัว (จำแนก ตามลิงค์) ดังนี้<O:p</O:p
    1. ในปุงลิงค์ มีการันต์ 5 ตัว คือ อ อิ อี อุ อู<O:p</O:p
    2. ในอิตถีลิงค์ มีการันต์ 5 ตัว คือ อา อิ อี อุ อู<O:p</O:p
    3. ในนปุงสกลิงค์ มีการันต์ 3 ตัว คือ อ อิ อุ<O:p</O:p


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2009
  18. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    วิธีใช้ อายตนิบาตในคำแปลประจำหมวดวิภัตติทั้ง 7 ดังนี้

    เอกวจนะ (เอกพจน์) ** ถ้าเป็นพหุวจนะ จะเติมคำว่าทั้งหลายในคำแปลนั้น ๆ


    ปฐมาวิภัตติ ที่ 1 แปลว่า อันว่า (เขียนว่า อ.)

    ทุติยาวิภัตติ ที่ 2 แปลว่า ซึ่ง สู่ ยัง สิ้น ตลอด กะ เฉพาะ

    ตติยาวิภัตติ ที่ 3 แปลว่า ด้วย โดย อัน ตาม เพราะ มี ด้วยทั้ง

    จตุตถีวิภัตติ ที่ 4 แปลว่า แก่ เพื่อ ต่อ

    ปัญจมีวิภัตติ ที่ 5 แปลว่า แต่ จาก กว่า เหตุ

    ฉัฏฐีวิภัตติ ที่ 6 แปลว่า แห่ง ของ เมื่อ

    สัตตมีวิภัตติ ที่ 7 แปลว่า ใน ใกล้ ที่ ครั้นเมื่อ ในเพราะ เหนือ บน ณ

    อาลปน แปลว่า แน่ะ ดูก่อน ข้าแต่

    วิธีใช้ เช่น ศัพท์เดิมว่า กมฺม แปลว่า กรรม เมื่อนำมาประกอบเป็น ปฐมาวิภัตติ จนถึง สัตตมีวิภัตติ จะมีรูปและคำแปล ดังนี้ (ในที่นี้จะยกมาเฉพาะฝ่ายเอกวจนะ)

    ปฐมา-- กมฺมํ แปลว่า อ. กรรม (อ่านว่า อันว่ากรรม ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคได้)

    ทุติยา--กมฺมํ แปลว่า ซึ่งกรรม / สู่กรรม / ยังกรรม / สิ้นกรรม / ตลอดกรรม / กะกรรม / เฉพาะกรรม

    ตติยา--กมฺมุนา แปลว่า ด้วยกรรม / โดยกรรม / อันกรรม / ตามกรรม / เพราะกรรม / มีกรรม / ด้วยทั้งกรรม

    จตุตถี--กมฺมุโน แปลว่า แก่กรรม / เพื่อกรรม / ต่อกรรม

    ปัญจมี--กมฺมุนา แปลว่า แต่กรรม / จากกรรม / กว่ากรรม / เหตุกรรม

    ฉัฏฐี--กมฺมุโน แปลว่า แห่งกรรม / ของกรรม / เมื่อกรรม

    สัตตมี--กมฺมนิ แปลว่า ในกรรม / ใกล้กรรม / ที่กรรม / ครั้นเมื่อกรรม / ในเพราะกรรม / เหนือกรรม / บนกรรม / ณ กรรม

    อาลปน--กมฺม แปลว่า แน่ะกรรม / ดูก่อนกรรม / ข้าแต่กรรม

    ** สรุปว่า วิธีแปลก็คือ อายนิบาตอยู่หน้าตามด้วยคำแปลของศัพท์

    จะสังเกตเห็นว่า บางทีเป็นคนละวิภัตติ คำแปลต่างกัน แต่บาลีเขียนเหมือนกัน นี่แหละ บาลี คำ ๆ หนึ่งจึงแปลได้ตั้งหลายอย่าง

    ไวยากรณ์สั้น ๆ บทนี้ คงเป็นตัวช่วยให้อ่านคำอธิบายบาลีในบล็อกนี้ได้เข้าใจมากขึ้น และไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมคำ ๆ เดียวกัน เดี๋ยวแปลอย่างโน้น เดี๋ยวแปลอย่างนี้อีกแล้ว ทำไมไม่แปลให้เหมือนกัน


    ส่วนนี้ ขอบคุณเนื้อหาของ คุณปาลินารี
     
  19. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    แบบฝึกหัด ประจำเรื่อง อายตนิบาต และ การันต์ (ขอพยายามให้ตอบคำถาม จากที่ งง งง จะได้หาย งง ไม่มากก็น้อยครับ)

    1. นามศัพท์ มีเท่าไร อะไรบ้าง
    2. คำต่อไปนี้ คำใดเป็น สาธารณะนาม คำใดเป็น อสาธารณนาม ... ภูมิพล ... ท่าน้ำ ... ศรีลังกา ... ขนม ... คอมพิวเตอร์ ... วัดพระแก้ว
    3. วิภัติ คืออะไร
    4. วจนะ คืออะไร
    5. นปุงสกลิงค์คืออะไร
    6. อายตนิบาต ใช้ต่ออะไร เข้ากับอะไร
    7. หู เป็นอายตนะภายใน เชื่อมต่อกับอายตนะ ภายนอก คืออะไร
    8. การันต์คืออะไร
    9. คำว่า ต่อ...ท่าน...ทั้งหลาย อยู่ในวิภัตติไหน เอกวจนะ หรือ พหุวจนะ
    10. คำว่า ปุริส (ปุ-ริ-สะ) แปลว่า บุรุษ ในตติยาวิภัตติ เอกวจนะ เขียนเป็น ปุริเสน (ปุ-ริ-เส-นะ) จะแปลว่าอย่างไรได้บ้าง
     
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,933
    ค่าพลัง:
    +43,536
    เพื่อนๆ ไปไหนกันหมดอ่ะ.....

    มาส่งการบ้านเร็ว.....(จะได้ลอกบ้าง).....

    พระอาจารย์อย่าเพิ่งท้อนะ...........
    การเรียนจำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญ โดยเฉพาะผู้เรียน
    ยิ่งการเรียนแบบเปิด ยิ่งเหนื่อย.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...