ประวัติกาชาดไทย

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย piyaa, 2 พฤษภาคม 2010.

  1. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    <hr> พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ก่อตั้งองค์กรการกุศล เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2436 (ร.ศ.112) ใช้ชื่อว่า "สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม" ดำเนินการช่วยเหลือทหารบาดเจ็บ ป่วยไข้จากการสู้รบ ทำหน้าที่ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ รักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยจากภัยสงครามและภัยพิบัติต่าง ๆ
    ปีพุทธศักราช 2449 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมกาชาดระหว่างประเทศ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อลงนามความตกลงเรื่องการใช้เครื่องหมายกาชาดช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในสนาม รบ สภากอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม จึงได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า สภากาชาดสยาม โดยใช้เครื่องหมายกาชาดเป็นสัญลักษณ์
    ปีพุทธศักราช 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงสืบทอดพระราชภารกิจของสภากาชาดสยามให้เจริญก้าวหน้าเช่นอารยประเทศ
    ปีพุทธศักราช 2454 พระองค์ท่านได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ผู้แทนไปร่วมประชุมกาชาดระหว่าง ประเทศที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เพื่อร่วมลงนามความตกลงเรื่องกฏหมายคุ้มครองเครื่องหมายกาชาด (กฎหมายมนุษยธรรมระหว่งประเทศ IHL)
    ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นอุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม บริหารงานของสภากาชาดให้เจริญก้าวหน้า ทรงมีพระราชโองการให้ประการพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยาม ปีพ.ศ.2461 และทรงนำสภากาชาดสยามเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์สภากาชาดฯ ในปีพ.ศ.2463 เป็นลำดับที่ 27 เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2464
     
  2. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    ภาวะสงครามกับกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ


    [​IMG]
    ด้วยคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ มีภารกิจสำคัญประการหนึ่ง คือ การพัฒนาและเผยแพร่กฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เพื่อการปกป้องคุ้มครองเพื่อนมนุษย์จากภัยสงครามและการขัดแย้งทางกำลังทหาร ไปสู่ประชาชนและเยาวชน โดยเฉพาะเยาวชนนั้นถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่จะเป็นกำลังสำคัญแห่งอนาคต จำเป็นที่เขาเหล่านั้นน่าจะได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้ตระหนักในคุณค่าของ ความมีมนุษยธรรม เพื่อการเติบโตเป็นพลเมืองที่ดี ฉะนั้น คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จึงได้มีแผน Exploring Humanitarian Law Project (EHL) เป็นการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเผยแพร่กฏหมายมนุษยธรรมไปสู่ เยาวชนกลุ่มต่าง ๆ โดยทดลองนำร่องใช้ใน 4 ประเทศ คือ จาไมก้า โมร็อกโก อาฟริกาใต้ และประเทศไทย โดยสำนักงานยุวกาชาดได้รับมอบหมายจากสภากาชาดไทยให้ประสานความร่วมมือกับ ICRC เพื่อดำเนินการเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

    กฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ คือ "ข้อกำหนด / ข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศที่มุ่งคุ้มครองเพื่อนมนุษย์จากภัยสงคราม หรือภัยจากการขัดแย้งทางกำลังทหาร ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ คุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อของการสู้รบ บรรเทาทุกข์ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยสงครามนั้น" โดยวางกฎเกณฑ์สำหรับใช้ปฏิบัติการทางการทหารในยามสงคราม จัดทำในรูปแบบของอนุสัญญาที่เรียกว่า อนุสัญญาเจนีวา จำนวน 4 ฉบับ และพิธีสารเพิ่มเติมอีก 2 ฉบับ โดยมีคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (TheInternational Committee of the Red Cross/ICRC)
    รับผิดชอบควบคุม ติดตามส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามกฏหมาย IHL นี้

    กฏหมายมนุษยธรรมที่กำหนดในอนุสัญญาเจนีวา มีดังนี้

    อนุสัญญาฉบับที่ 1
    ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยในกองทัพที่อยู่ในสนามรบให้มีสภาพดีขึ้น

    อนุสัญญาฉบับที่ 2
    ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วย และลูกเรือที่อับปางของกองกำลังรบใน
    ทะเลให้มีสภาพดีขึ้น

    อนุสัญญาฉบับที่ 3
    ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก

    อนุสัญญาฉบับที่ 4
    ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองบุคคลพลเรือนในระหว่างสงคราม หรือการขัดแย้งทางกำลังทหาร

    กฏหมายมนุษยธรรมที่กำหนดในพิธีสารเพิ่มเติม ดังนี้

    พิธีสารเพิ่มเติม ฉบับที่ 1
    ว่า ด้วยการคุ้มครองพลเรือนซึ่งได้รับผลกระทบจากการขัดแย้งทางกำลังทหารระหว่าง ประเทศ ครอบคลุมถึงทรัพย์สินของพลเรือน อุปกรณ์รักษาพยาบาล แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ และการกำหนดวิธีใช้อาวุธในสงคราม

    พิธีสารเพิ่มเติม ฉบับที่ 2
    ว่า ด้วยการคุ้มครองพลเรือนซึ่งได้รับผลกระทบจากการขัดแย้งทางกำลังทหาร ที่มิใช่ระหว่างประเทศ เช่น สงครามกลางเมือง การขัดแย้งระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายกบฏ

    จะเห็นได้ว่า แม้จะมีกฏหมายดังกล่าวแล้วก็ยังให้ความคุ้มครองแก่เหยื่อของสงครามไม่เพียง พอ คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ จึงมีนโยบายที่จะเผยแพร่กฏหมายนี้ไปยังประชาชนทั่วไปให้รู้จักมองสถานการณ์ ของโลกทั้งที่ใกล้ตัวและไกลตัว สร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนว่า จริง ๆ แล้วเหตุการณ์จะดีหรือร้ายแรงเกิดจากการกระทำของคนทั้งสิ้น หากคนมีมนุษยธรรม มีความสงสาร ที่เกิดจากสัญชาตญาณของตนเอง คนก็จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ กฏหมายก็ไม่ถูกละเมิดหรือจำเป็นที่จะถูกนำมาใช้ สงครามและความขัดแย้งต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น


    หนังสืออ้างอิง
    นาถศรี ใจชาญสุขกิจ, วารสารยุวกาชาด ฉบับที่ 292, สำนักพิมพ์ประชาชน
    สุนันทา ศรอนุสิน, วารสารยุวกาชาด ฉบับที่ 294, สำนักพิมพ์ประชาชน
     
  3. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    กฏกติกาสากล ในเวลาทำศึกสงคราม เขาจะไม่ไปยุ่งกับโรงพยาบาล คนที่ติดเครื่องหมายกาชาด เขาจะไม่ยิง ไม่ทำร้าย
    แต่.......เฮ้อ.....
     
  4. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content --> [​IMG]
    โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

    [​IMG]

    ที่อยู่
    <table style="padding: 0pt; background: transparent none repeat scroll 0% 0%; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial; text-align: left; table-layout: auto; border-collapse: collapse; font-size: 100%;" width="246" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td colspan="2" align="center">ถนนพระราม 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน
    กรุงเทพมหานคร</td> </tr> </tbody></table> ​

    ข้อมูลทั่วไป
    <table style="padding: 0pt; background: transparent none repeat scroll 0% 0%; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial; text-align: left; table-layout: auto; border-collapse: collapse; font-size: 100%;" width="246" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 5px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" width="93" bgcolor="#f3f3f4" nowrap="nowrap">ชื่อ</td> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 3px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" bgcolor="#f9f9f9">โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์</td> </tr> <tr> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 5px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" width="93" bgcolor="#f3f3f4" nowrap="nowrap">ชื่ออังกฤษ</td> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 3px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" bgcolor="#f9f9f9">King Chulalongkorn Memorial Hospital</td> </tr> <tr> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 5px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" width="93" bgcolor="#f3f3f4" nowrap="nowrap">วันสถาปนา</td> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 3px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" bgcolor="#f9f9f9">30 พฤษภาคม พ.ศ. 2457</td> </tr> <tr> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 5px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" width="93" bgcolor="#f3f3f4" nowrap="nowrap">สังกัด</td> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 3px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" bgcolor="#f9f9f9">สภากาชาดไทย</td> </tr> <tr> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 5px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" width="93" bgcolor="#f3f3f4" nowrap="nowrap">ประเภท</td> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 3px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" bgcolor="#f9f9f9">โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย</td> </tr> <tr> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 5px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" width="93" bgcolor="#f3f3f4" nowrap="nowrap">ผู้อำนวยการ</td> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 3px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" bgcolor="#f9f9f9">ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์</td> </tr> </tbody></table> ​
    ค่าสถิติ[ซ่อน]
    <table style="padding: 0pt; background: transparent none repeat scroll 0% 0%; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial; text-align: left; table-layout: auto; border-collapse: collapse; font-size: 100%;" width="246" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 5px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" width="93" bgcolor="#f3f3f4" nowrap="nowrap">เตียง</td> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 3px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" bgcolor="#f9f9f9">1,387<sup id="cite_ref-0" class="reference">[1]</sup></td> </tr> <tr> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 5px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" width="93" bgcolor="#f3f3f4" nowrap="nowrap">เว็บไซต์</td> <td style="padding: 0.4em 0pt 0.4em 3px; vertical-align: top; text-align: left;" valign="top" bgcolor="#f9f9f9">www.chulalongkornhospital.go.th</td> </tr> </tbody></table> ​



    โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นหน่วยงานในสังกัดสภากาชาดไทย โดยดำเนินงานร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่ 1873 ถนนพระราม 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
    ประวัติ

    [​IMG] [​IMG]
    โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


    โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สร้างขึ้นโดยพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพร้อมด้วยพระราชภาดาและภคินี สนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<sup id="cite_ref-1" class="reference">[2]</sup> ด้วยเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระชนม์อยู่นั้น ได้ทรงพระราชดำริจัดตั้ง สภากาชาด ซึ่งเรียกในเวลานั้นว่า สภาอุณาโลมแดง ขึ้นไว้ โดยรับการรักษาพยาบาลผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ตามมติของนานาชาติที่เจริญแล้ว แต่การสภากาชาดไทยยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ ถ้าจะบริจาคทรัพย์สร้างโรงพยาบาลสภากาชาดขึ้น ก็จะเป็นพระกุศล อันประกอบด้วยถาวรประโยชน์อนุโลม ตามพระราชประสงค์แห่งองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ และเป็นเกียรติแก่ราชอาณาจักรโดยทรงพระดำริเห็นพ้องกัน บรรดาพระราชโอรส พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบริจาคทรัพย์รวมกัน สมทบกับทุนของสภากาชาด สร้างโรงพยาบาลขึ้น และพระราชทานนามตามพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมชนกนาถว่า "โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2457 <sup id="cite_ref-2" class="reference">[3]</sup> ตามแจ้งความสภากาชาดสยาม ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2457 <sup id="cite_ref-3" class="reference">[4]</sup> ได้กำหนดจุดมุ่งหมายให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นโรงพยาบาลที่ดีจริงต้องตามวิทยาศาสตร์แผ่พระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวกับทั้งแพร่เกียรติยศของชาติไทย บริการรักษาพยาบาลช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ให้บริการรักษาผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยไข้ทั้งในยามสงครามและปกติ โดยยึดมั่นในปณิธาณอันแน่วแน่ที่จะให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บทั่วไป โดยไม่เลือกชาติ ชั้น วรรณะ ลัทธิ ศาสนา หรือความคิดเห็นทางการเมือง โดยให้บริการทางการแพทย์ พยาบาล ตลอดจนการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย รวมทั้งระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการรักษาพยาบาล มีการค้นคว้าวิจัย<sup id="cite_ref-4" class="reference">[5]</sup>และ พัฒนาการรักษา พัฒนาบุคลากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในด้านการรักษาพยาบาล ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง'โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์' และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    หน่วยงาน/ฝ่าย

    <table class="" style="background-color: transparent; width: 100%;" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td valign="top" width="50%" align="left">
    </td> <td valign="top" width="50%" align="left">
    • ฝ่ายอายุรศาสตร์
    • ฝ่ายผู้ป่วยนอก
    • ฝ่ายสวัสดิการสังคม
    • ฝ่ายธนาคารเลือด
    • ฝ่ายทันตกรรม
    • ฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ
    • ฝ่ายการพยาบาล
    • ฝ่ายเภสัชกรรม
    • ฝ่ายเวชภัณฑ์
    • ฝ่ายโภชนวิทยาและโภชนบำบัด
    • ฝ่ายบริหารงานพัสดุ
    • ฝ่ายบริหารงานอาคารและสิ่งแวดล้อม
    • ฝ่ายการเงิน
    • ฝ่ายงบประมาณและบัญชี
    • ฝ่ายเลขานุการ
    • หน่วยคอมพิวเตอร์
    • หน่วยการเจ้าหน้าที่
    • หน่วยพิธีการ
    • หน่วยพัฒนาบุคลากร
    • หน่วยนโยบายและแผน
    • สำนักงานประกันคุณภาพ
    • ศูนย์ประกันสุขภาพ
    </td> </tr> </tbody></table> [แก้] ศูนย์เฉพาะทาง


    [แก้] อาคารและสิ่งก่อสร้าง

    ภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีอาคารและสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นพระราชานุสรณ์ของเจ้านายหลายพระองค์

    [แก้] การเดินทาง


    [แก้] อ้างอิง


    1. ^ ระบบรายงานทรัพยากรสาธารณสุข
    2. ^ แจ้งความสภากาชาดสยาม เรื่องเปิดโรงพยาบาล ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2457
    3. ^ พระราชดำรัสตอบในการเปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗
    4. ^ แจ้งความสภากาชาดสยาม เรื่องเรี่ยไรเงินจากสมาชิกก่อสร้างโรงพยาบาล ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗
    5. ^ แจ้งความสภากาชาดสยาม เรื่องชักชวนบุคคลให้ทำการตรวจค้นในทางแพทยศาสตร์
    [แก้] แหล่งข้อมูลอื่น



    พิกัดภูมิศาสตร์: [​IMG]13°43′57″N 100°32′13″E / 13.732611°N 100.536962°E / 13.732611; 100.536962

     

แชร์หน้านี้

Loading...