ประวัติชีวิต การงาน หลักธรรม หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย sinless, 30 ตุลาคม 2010.

  1. sinless

    sinless เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +534

    [​IMG]

    ประวัติชีวิต การงาน หลักธรรม
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์



    สารบัญ

    1-- ชาติกำเนิด
    2-- ชีวิตฆราวาส
    3-- อ้อมอกพระศาสนา
    4-- ศึกษาพระปริยัติธรรม
    5-- ขอญัตติเป็นธรรมยุติกนิกาย
    6-- จาริกธุดงค์กับพระอาจารย์มั่น
    7-- ปรารภความเพียร ณ ป่าท่าคันโท
    8-- มหัศจรรย์แห่งธรรม
    9-- ผลแห่งการปฏิบัติ
    10-- เห็นแจ้งเรื่องความตาย
    11-- วัดม่วงไข่ บ้านกุดก้อม
    12-- พระอาจารย์อ่อน พระอาจารย์ฝั้น
    13-- ผู้นำทางการปฏิบัติ
    14-- ค้นพบความจริงอันประเสริฐ
    15-- อาถรรพ์ที่ถ้ำผาบิ้ง
    16-- พระมหาปิ่น
    17-- เปิดกรุแห่งพระธรรม
    18-- ถ้ำน้ำจันทร์
    19-- หลวงปู่สาม อกิญฺจโน
    20-- ตอบแทนคุณพระอุปัชฌาย์
    21-- รับบัญชาคณะสงฆ์
    22-- วัดบูรพาราม
    23-- ฟื้นฟูการศึกษาพระศาสนา
    24-- บูรณะปฏิสังขรณ์วัดบูรพาราม
    25-- ปฏิปทาในการเผยแพร่
    26-- แนวทางการสอน
    27-- เรื่องของหลวงตาพวง
    28-- กุศโลบายสอนนักเลง
    29-- อุบายสอนศิษย์
    30-- ปริยัติกับปฏิบัติ
    31-- พระธุดงค์
    32-- ประสบการณ์เดินธุดงค์
    33-- พระป่า พระเมือง
    34-- พระปรมาจารย์
    35-- ปูชนียบุคคล
    36-- นิสสัย ๔
    37-- จริยาวัตร
    38-- ผู้ไม่หวั่นไหว
    39-- บริสุทธิ์ทั้งกายวาจาใจ
    40-- ปราศจากทิฏฐิมานะ
    41-- พลังจิต
    42-- สิ่งพ้นวิสัย
    43-- อาพาธ
    44-- อารมณ์ขัน
    45-- สิ่งที่ดีที่สุด
    46-- อาพาธหนัก
    47-- พระมหากรุณาธิคุณ
    48-- สายธารแห่งปัญญา
    49-- กลับวัดบูรพาราม
    50-- อาการกำเริบ
    51-- ฉลองอายุ ๘ รอบ
    52-- ปัจฉิมกาล
    53-- สิ้นอายุขัย
    54-- งานพระราชทานเพลิงศพ

     
  2. sinless

    sinless เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +534
    . ชาติกำเนิด
    ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง ซึ่งอยู่ห่างไปทางทิศใต้ของจังหวัดสุรินทร์ มีครอบครัว “ดีมาก” อาศัยทำมาหากินอยู่ และเป็นสถานที่เกิดของเด็กชายดูลย์ ต่อมาเป็นพระกัมมัฏฐานผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ นามว่า พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล
    พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล มีบิดาชื่อนางแดง ดีมาก และมารดาชื่อนางเงิม ดีมาก ถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๑ ตรงกับแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ในรัชสมัยของพระบาทของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งขณะนั้นเสวยราชสมบัติย่างเข้าปีที่ ๓๐
    พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล มีพี่น้องทั้งสิ้น ๕ คน ได้แก่
    . นางกลิ้ง ๒.พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ๓.นายเคน ๔.นางรัตน์ และ ๕.นางทอง
    ในบรรดาพี่น้องทั้ง ๕ คนนั้น พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ท่านมีอายุยืนยาวที่สุดคือ ๙๖ ปี ส่วนพี่น้องคนอื่นมีอายุอย่างมากที่สุดเพียง ๗๐ ปีก็ถึงแก่กรรม
    ภายหลังท่านได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุล “เกษมสินธุ์” ด้วยเหตุที่นายพร้อม หลานชายของท่านให้ตั้งนามสกุลให้ ท่านจึงตั้งว่า “เกษมสินธุ์” แล้วท่านก็ได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุลนี้ด้วย
    ถิ่นกำเนิดบรรพบุรุษ
    สุรินทร์หรือเมืองประทายสมันต์ หรือไผทสมันต์ในอดีต อยู่ในพื้นที่ราบต่ำ ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่านานาชนิด ชุมชนสุรินทร์ในอดีตไม่มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่ามีมาไม่ต่ำกว่าสองพันปี เคยผ่านความรุ่งเรืองมาสมัยหนึ่ง ในฐานะเป็นเมืองด่านจากผืนที่ราบโคราชลงสู่แคว้นเจนละของกัมพูชา หลักฐานของเมืองโบราณที่พบเห็นได้แก่ ปราสาทหินหลายแห่งกระจายอยู่ทั่วไปในแถบบริเวณนั้น เช่น ปราสาทหินภูมิโปน ปราสาทระแงง ปราสาทตาเหมือน เป็นต้น รวมทั้งกำแพงเมือง ๒ ชั้นด้วย
    ปัจจุบันจังหวัดสุรินทร์ เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ทางภาคอีสานของประเทศไทย มีวัฒนธรรมเป็นแบบฉบับของตนเอง ยากที่ใครจะเหมือนได้ สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนี้ก็คือช้าง จนมีคนเรียกขานจังหวัดสุรินทร์ว่าเป็น “เมืองช้าง”
    พระอาจารย์ดูลย์เล่าถึงบรรพบุรุษของท่านว่า
    ปู่ทวดของท่านอาศัยอยู่ที่บ้านสลักได ซึ่งตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองสุรินทร์ ทางด้านตะวันออก ครั้นประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๘ ตาของท่านชื่อแสร์ และญาติพี่น้องรวม ๕ ครอบครัว ตั้งใจจะพากันอพยพไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ประเทศกัมพูชา จึงพากันออกเดินทางด้วยช้าง มุ่งลงทางใต้ไปเรื่อยๆ
    เมื่อเดินทางไปได้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร คณะของตาแสร์ก็ได้พบกับคณะของพระยาสุรินทร์ภักดีศรีปไผทสมันต์(ม่วง) เจ้าเมืองสุรินทร์ กำลังออกสำรวจพื้นที่อยู่ ครั้นทราบว่าคณะของตาแสร์กำลังจะไปทำมาหากินที่เขมรจึงทัดทานไว้ โดยชี้แจงถึงความยากลำบากและอันตรายในการเดินทาง รวมทั้งสภาพบ้านเมืองของเขมรซึ่งในขณะนั้นไม่สงบ และท่านแนะนำให้ตั้งบ้านเรือนทำมาหากิน ณ สถานที่แห่งนั้น ซึ่งอุดมสมบูรณ์ ใครใคร่จะจับจองเอาที่ดินมากเท่าไรก็ได้
    คณะของตาแสร์ปรึกษาหารือกัน ที่สุดก็คล้อยตามคำแนะนำนั้น จึงตกลงจะตั้งหลักแหล่งอยู่ ณ สถานที่นั้น ได้ช่วยกันหักร้างถางพง สร้างบ้านเรือนตั้งเป็นหมู่บ้านชื่อบ้านปราสาท และมอบหมายให้ตาแสร์เป็นนายบ้าน ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองดูแลหมู่บ้านปราสาทแห่งนั้น
    ตาแสร์มีลูก ๖ คน คือ นายมาก นางเงิม (มารดาของพระอาจารย์ดูลย์) นายม่วง นางแก้ว นางเมอะ และนายอ่อน ต่อมาครอบครัวของตาแสร์ได้ขยายเพิ่มสมาชิกออกไป บางส่วนอาศัยอยู่ในบ้านปราสาท บางส่วนก็ไปอยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียง หรืออพยพย้ายไปอยู่ถิ่นอื่นตามวิถีชีวิตของแต่ละคน
    บ้านเรือนที่อาศัยก็สร้างกันง่ายๆ ใช้ต้นไม้ทั้งต้นทำเป็นเสา ส่วนที่เป็นพื้นกระดานก็นำต้นไม้มาถากเป็นแผ่น นำใบไม้หรือไม้ไผ่มาขัดแตะทำเป็นฝาบ้านแล้วมุงหลังคาด้วยหญ้าคา ประกอบอาชีพปลูกข้าว ฟักแฟงแตงกวา เลี้ยงเป็ด ไก่ วัว ควาย เก็บของป่า ล่าสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำการทอผ้า ปั่นฝ้าย และเลี้ยงไหม ไว้แลกเปลี่ยนแทนการใช้เงินตรา หรือมีไว้สำหรับแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้านที่ขาดแคลน หรือให้กู้ยืมไปกินไปใช้ตามความจำเป็น
     
  3. sinless

    sinless เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +534
    ๒. ชีวิตฆราวาส
    ในวัยเด็ก การศึกษาเล่าเรียนของพระอาจารย์ดูลย์อาศัยวัดเป็นสถานศึกษา โดยมีพระในวัดเป็นผู้อบรมสั่งสอน ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับการศึกษาในสมัยนั้น วิชาที่เล่าเรียนก็ประกอบไปด้วยการเรียนการสอนทางโลกที่พอให้อ่านออกเขียนได้ และศีลธรรมจรรยามารยาทอันควรประพฤติปฏิบัติ โดยจะมุ่งเน้นที่การฝึกอบรมจิตใจเป็นหลักพื้นฐาน เพื่อเป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจของคน ส่วนในเรื่องของวิชาการนั้นจะมีน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเอาเสียเลย เพราะในสมัยนั้นระบบการศึกษาของประเทศยังไม่ดีพอ เด็กชายดูลย์ก็ได้เจริญเติบโตและได้รับการศึกษาอบรมมาแบบนั้นเช่นกัน
    พระอาจารย์ดูลย์ได้เล่าเรื่องราวในอดีตของท่านให้ฟังว่า ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๔ พระยาสุรินทร์ภักดี ฯ (ม่วง) ซึ่งเป็นผู้ที่ชักชวนให้คุณตาของท่านมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านปราสาทนั้น ได้ถึงแก่อนิจกรรม กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ในขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญนาค) ผู้เป็นน้องชายขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ ลำดับที่ ๖ แทน
    ขณะพระอาจารย์ดูลย์อายุประมาณ ๖ ปี ได้เกิดเหตุการณ์สู้รบกับต่างชาติ นั่นคือกรณีพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง (เหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒) ชายฉกรรจ์ในจังหวัดสุรินทร์ประมาณ ๘๐๐ คน ได้ถูกเกณฑ์ให้เข้ารับการฝึกในกองกำลังรบและส่งไปตรึงแนวรบด้านจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับกองกำลังจากเมืองอื่น ๆ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากฝรั่งเศส หลังจากการปะทะกันเล็กน้อย ก็ตกลงทำสัญญาสงบศึกกัน
    ต่อมาอีกไม่นาน เมื่อพระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญนาค) ถึงแก่กรรมลง และพระพิไชยนครบวรวุฒิ (จรัญ) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ ลำดับที่ ๘ เป็นที่พระยาสุรินทร์ภักดีไผทสมันต์ และเจ้าเมืองสุรินทร์ท่านนี้เองเป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กชายดูลย์ให้กลายเป็นนางเอกละคร
    วัยหนุ่ม
    เมื่อย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม นายดูลย์ได้เป็นเรี่ยวแรงสำคัญของครอบครัว ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่บุตรคนหัวปี แต่ก็ถือว่าท่านเป็นลูกชายคนโตของบ้าน ในช่วงแรกท่านก็ช่วยพี่สาวทำงานบ้าน ต่อเมื่อโตขึ้นต้องแบกรับภาระมากมายทั้งในบ้านและนอกบ้าน ตั้งแต่หาบน้ำ ตำข้าว หุงข้าว เลี้ยงดูน้อง ๆ และช่วยบิดามารดาทำไร่ไถนา เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เป็นต้น ซึ่งท่านก็สามารถทำได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่องแต่ประการใด
    ในบรรดาคนหนุ่มรุ่นเดียวกันแห่งบ้านปราสาท นายดูลย์จัดว่าเป็นหนุ่มหน้าตาดี ได้เปรียบเพื่อน ๆ ทั้งด้านรูปสมบัติที่นอกจากจะมีร่างกายแข็งแรงและสุขภาพอนามัยดีแล้ว ยังเป็นผู้ที่มีผิวพรรณหมดจด รูปร่างโปร่ง ได้สัดส่วนสมทรง น่ารักน่าเอ็นดู และมีท่าทางคล่องแคล่ว ว่องไว นอกจากนี้แล้วยังเป็นผู้มีอุปนิสัยที่อ่อนโยนเยือกเย็น ความประพฤติเรียบร้อยซึ่งติดมาตั้งแต่วัยเยาว์ จึงได้รับคำยกย่องชมเชยจากบรรดาญาติพี่น้องและผู้ที่ได้พบเห็นโดยทั่วไป
    นางเอกละคร
    ด้วยเหตุที่ท่านมีรูปร่างดังกล่าวนั้นเอง พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ เจ้าเมืองสุรินทร์ในสมัยนั้น จึงมีบัญชาให้นำตัวนายดูลย์มาร่วมแสดงละครนอกโดยให้เล่นเป็นตัวนางเอก
    พระอาจารย์ดูลย์ได้เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งท่านเล่นเป็นนางเอกละครว่า ในสมัยนั้นผู้คนนิยมดูละครกันมาก ถ้าเป็นละครของเจ้าเมืองในหัวเมือง ผู้แสดงจะต้องเป็นชายทั้งหมดโดยสมมติให้เป็นพระเป็นนาง ส่วนละครหลวงหรือละครของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้แสดงจะต้องเป็นหญิงล้วนโดยสมมติเอาเช่นกัน
    พระอาจารย์ดูลย์เมื่อครั้งรับบทเป็นนางเอกละครนั้น เป็นที่ชื่นชอบของผู้ดูมาก ละครที่ท่านแสดงมีหลายเรื่อง อาทิ ไชยเชษฐ์ จันทรกุมาร ลักษณวงศ์ เป็นต้น ท่านเล่าว่า ครั้งหนึ่งเมื่อท่านขึ้นแสดงละครนั้นครั้นจบการแสดงแล้ว มีหญิงสาวคนหนึ่งพรวดพราดเข้ามาหาท่านในห้องแต่งตัว ขณะเดียวกับที่ท่านกำลังเปลี่ยนเสื้อผ้า เมื่อหญิงสาวผู้นั้นแลเห็นถึงกับตกตะลึงเมื่อทราบว่าท่านเป็นผู้ชาย จึงรีบวิ่งหนีออกไปอย่างรวดเร็ว ด้วยไม่คิดว่าผู้แสดงที่ตนชื่นชอบจะเป็นผู้ชาย จากเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า หนุ่มสาวในสมัยนั้นรู้จักระมัดระวังในเรื่องการคบหาระหว่างเพศเป็นสำคัญ ซึ่งแตกต่างจากสมัยนี้สิ้นเชิง
    ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ เมื่อพระอาจารย์ดูลย์อายุได้ ๑๘ ปี และขณะที่ยังคงแสดงละครอยู่นั้น ท่านได้เดินทางไปบางกอก ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศเป็นครั้งแรก เพื่อไปหาซื้อเครื่องแต่งตัวละคร ด้วยตัวนางเอกจะต้องลงมาลองเครื่องแต่งตัวให้เหมาะเจาะสวยงามสมตัว
    การเดินทางในครั้งนั้น เมื่อออกจากเมืองสุรินทร์ใช้ช้างเป็นพาหนะ เป็นเวลา ๔ วัน ๔ คืน จนไปถึงเมืองโคราช แล้วขึ้นรถไฟสายกรุงเทพ ฯ – โคราช ใช้เวลาในการเดินทางอีก ๑ วัน จึงถึงเมืองบางกอก ซึ่งสมัยนั้นเมืองบางกอกยังไม่มีตึกรามบ้านช่องหรือผู้คนแออัดเหมือนสมัยนี้ ยังคงมีต้นไม้ป่าไม้ให้เห็นมากมาย น้ำในแม่น้ำลำคลองก็ใสสะอาด สามารถจะนำมาบริโภคใช้สอยได้เป็นอย่างดี
    การเดินทางมาครั้งนี้ ท่านรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ได้มีโอกาสไปเห็นด้วยสายตาตัวเอง เพราะเหตุว่าในสมัยนั้นน้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้ไปเห็นเมืองบางกอก ทำให้ท่านมีเรื่องที่จะเล่าให้ผู้อื่นฟังเสมอเมื่อกลับไปถึงสุรินทร์
    นายดูลย์อยู่กับคณะละครถึง ๔ ปีเศษ แม้ว่าจะอยู่ในสภาพที่น่าลุ่มหลงและเพลิดเพลินเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านเป็นนักแสดงที่ชื่นชอบของผู้คนเป็นจำนวนมาก แต่ท่านมิได้หลงใหลไปกับสิ่งนั้น กลับมีอุปนิสัยโน้มเอียงเข้าหาพระศาสนา และชอบเข้าวัดฟังธรรม ซึ่งแตกต่างจากเด็กหนุ่มทั่ว ๆ ไป
     
  4. sinless

    sinless เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +534
    อ้อมอกพระศาสนา
    เนื่องจากมีจิตใจฝักใฝ่โน้มเอียงไปในทางธรรม ทำให้นายดูลย์คิดจะออกบวชมาหลายครั้ง แต่ด้วยความที่เป็นกำลังสำคัญของครอบครัว และบิดามารดาก็ไม่ยินยอมให้บวชเรียนอย่างง่ายดายนัก ในครั้งแรกเมื่อคิดจะบวชจึงถูกคัดค้านจากพ่อแดงด้วยเหตุผลว่า เมื่อท่านไปบวชแล้วครอบครัวอาจจะต้องลำบาก เพราะท่านเป็นบุตรชายคนโต เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว
    นายดูลย์เฝ้าอ้อนวอนบิดามารดาอยู่หลายครั้ง แต่ก็ถูกคัดค้านเรื่อยมา แต่นายดูลย์ก็ยังมิได้ละความคิดในการบวชเรียนแต่ประการใด จนในที่สุดบิดามารดาก็ไม่อาจขัดขวางความตั้งใจจริงของท่านได้ จึงยินยอมอนุญาตให้บวชได้ตามความปรารถนา แต่มีข้อแม้ว่าเมื่อบวชแล้วต้องไม่สึก หรืออย่างน้อยที่สุดก็ต้องอยู่จนได้เป็นเจ้าอาวาสเสียก่อน เหตุที่นายดูลย์มีอุปนิสัยโน้มไปทางธรรมนั้นน่าจะมีส่วนส่งเสริมมาจากที่ปู่ของท่านเคยบวช และได้เป็นเจ้าอาวาสมาแล้ว จึงทำให้นายดูลย์มีอุปนิสัยรักการบุญและเกรงกลัวบาป มิได้เพลิดเพลินคึกคะนองไปในวัยหนุ่มเหมือนคนทั่ว ๆ ไป
    ครั้นเมื่อนายดูลย์ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาให้บวช ขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๒๒ ปี ตระกูลเจ้าเมืองที่เคยชุบเลี้ยงท่าน ได้เป็นผู้จัดแจงเรื่องการบวชให้ครบถ้วนทุกอย่าง
    ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ นายดูลย์ก็เข้าพิธีอุปสมบทก่อนเข้าพรรษา ณ พัทธสีมาวัดจุมพลสุทธาวาส ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งตั้งอยู่ในกำแพงเมืองรอบนอกของจังหวัดสุรินทร์ในสมัยนั้น
    โดยมี พระครูวิมลสีลพรต (ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์
    ท่านพระครูบึก เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    ท่านพระครูฤทธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ได้รับฉายาว่า “อตุโล” อันหมายถึง ผู้ไม่มีใครเทียบได้ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    เล่าเรียนกัมมัฏฐาน

    เมื่อได้อุปสมบทแล้ว พระอาจารย์ดูลย์มีความปรารถนาแรงกล้าในการที่จะศึกษาธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้นจึงไปขอจำพรรษาเพื่อศึกษากัมมัฏฐานที่วัดคอโค ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ออกไปประมาณ ๑๐ กิโลเมตร โดยมีหลวงพ่อแอก เจ้าอาวาสวัดคอโค เป็นผู้ฝึกกัมมัฏฐานให้เป็นท่านแรก
    การสอนกัมมัฏฐานในสมัยนั้น เป็นการสอนโดยถือตามความเห็นของครูบาอาจารย์เป็นหลัก วิธีการสอนของหลวงพ่อแอกนั้น ท่านให้เริ่มต้นด้วยการทำอย่างง่าย ๆ เพียงจุดเทียน ๕ เล่ม จากนั้นก็นั่งบริกรรมว่า “ขออัญเชิญปีติทั้ง ๕ จงมาหาเรา” บริกรรมไปเรื่อย ๆ จนกว่าเทียนจะไหม้หมด ซึ่งก็นับว่าดีเยี่ยมแล้วในสมัยนั้น
    ปีติมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ปฏิบัติจนได้ฌาน มี ๕ ประการ คือ
    . ขุททกาปีติ ปีติเล็ก ๆ น้อย ๆ พอขนชูชันน้ำตาไหล
    . ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ รู้สึกแปลบ ๆ เป็นขณะ ๆ เหมือนฟ้าแลบ
    . โอกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก หรือเป็นพัก ๆ คือรู้สึกซ่าลงมาในกายเหมือนคลื่นซัดต้องฝั่ง
    . อุพเพงคาปีติ ปีติโลดลอยเป็นอย่างแรง คือให้รู้สึกใจฟูขึ้น แสดงอาการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่นเปล่งอุทาน เป็นต้น
    . ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน คือให้รู้สึกเย็นซ่านเอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ อันเป็นปีติที่ประกอบกับสมาธิกระทั่งนำไปสู่รวมจิต
    พระอาจารย์ดูลย์เมื่อได้รับคำแนะนำ ท่านก็ได้พากเพียรปฏิบัติตามคำสั่งสอนของหลวงพ่อแอกผู้เป็นอาจารย์อย่างเคร่งครัดด้วยความอุตสาหะและความพยายามอย่างมิได้ลดละจนตลอดพรรษา แต่ก็ไม่บรรลุผลประการใดเลย และหลวงพ่อแอกก็สอนเพียงแค่นั้น จนทำให้ท่านเกิดความเบื่อหน่ายขึ้น เพราะได้เห็นแต่เทียน ๕ เล่ม โดยมิได้บังเกิดปีติ ๕ ตามปรารถนา
    ในระหว่างพรรษานั้น นอกจากพระอาจารย์ดูลย์จะพยายามทำตามคำสอนของหลวงพ่อแอกแล้ว ท่านยังทรมานตนด้วยการลดอาหารอีก จนกระทั่งร่างกายซูบผอม แต่ก็ยังไม่ได้ผลเหมือนเดิม ทำให้ท่านต้องกลับมาฉันอาหารตามเดิม
    นอกจากกัมมัฏฐาน และฝึกทรมานร่างกายแล้ว ท่านก็ได้ท่องบ่นบทสวดมนต์เจ็ดตำนานบ้าง สิบสองตำนานบ้าง แต่ก็มิได้เรียนพระธรรมวินัย ซึ่งถือเป็นข้อวัตรปฏิบัติเพื่อฝึกฝนขัดเกลากาย วาจา ใจ อันเป็นรากฐานของการปฏิบัติสมาธิภาวนาแต่ประการใด ถึงแม้จะปฏิบัติไม่ได้ผลแต่ท่านก็ยังคงพำนักอยู่ที่วัดคอโค นานถึง ๖ ปี ซึ่งในระหว่างนั้นท่านยังถูกใช้ให้สร้างเกวียนและเลี้ยงโค ทั้งที่ไม่ใช่กิจของสงฆ์ที่จะต้องทำ ท่านจึงเกิดความเบื่อหน่ายที่สุด

    http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=1170.0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...