ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เรียบเรียงโดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 9 กรกฎาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟัง

    แทบทุกครั้งที่ออกบิณฑบาต ท่านจะนำเรื่องสัตว์หรือเรื่องคนมาพร่ำไปตามสายทางในลักษณะที่กล่าวมา ผู้สนใจพิจารณาตามก็เกิดสติปัญญา ได้อุบายต่าง ๆ จากท่าน ผู้ไม่สนใจพิจารณาตามก็ไม่เกิดประโยชน์ และยังอาจคิดไปว่าท่านพูดอะไรกับสัตว์กับมนุษย์ ซึ่งเขาเหล่านั้นไม่มีทางทราบได้ เพราะท่านมิได้พูดเฉพาะหน้าเขา ดังนี้ก็อาจมีได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เวลาท่านพักอยู่ภาคอีสานบางจังหวัด ขณะท่านแสดงธรรมอบรมพระตอนดึก ๆ หน่อย ในบางคืนซึ่งเป็นกรณีพิเศษ ท่านยังสามารถทราบและมองเห็นพวกรุกขเทวดาที่พากันมาแอบฟังท่านอยู่ห่าง ๆ เพราะพวกเทพฯ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง มีความเคารพพระมาก ท่านเล่าว่า เวลาพวกเทพฯ ชั้นบนลงมาจากชั้นต่าง ๆ มาฟังธรรมท่านในยามดึกสงัด จะไม่มาทางที่มีพระพักอยู่ แต่จะมาตามทางที่ว่างจากพระและพร้อมกันทำประทักษิณสามรอบขณะที่มาถึง แล้วนั่งอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เสร็จแล้วหัวหน้ากล่าวคำรายงานตัวที่พาพวกเทพฯ มาจากที่นั้น ๆ ประสงค์อยากฟังธรรมนั้น ๆ ท่านก็เริ่มทักทายพอสมควร แล้วเริ่มกำหนดจิตเพื่อธรรมที่สมควรจะแสดงแก่ชาวเทพฯ จะผุดขึ้นมา จากนั้นก็เริ่มแสดงให้ชาวเทพฯ ฟังจนเป็นที่เข้าใจ จบแล้วชาวเทพฯ พร้อมกันสาธุการสามครั้งเสียงลั่นโลกธาตุ สำหรับผู้มีหูทิพย์ได้ยินทั่วกัน ส่วนหูกระทะหูหม้อต้มหม้อแกงไม่มีทางทราบได้ตลอดไป
    <o:p></o:p>
    พอจบการแสดงธรรมแล้วชาวเทพฯ พร้อมกันทำประทักษิณสามรอบ แล้วลาท่านกลับอย่างมีระเบียบสวยงาม ผิดกับชาวมนุษย์เราอยู่มาก แม้ผู้เป็นพระและผู้เป็นอาจารย์ พวกชาวเทพฯก็ไม่สามารถทำได้อย่างสวยงามเหมือนเขา เพราะความหยาบความละเอียดแห่งเครื่องมือคือกายต่างกันกับเขามาก พอออกไปพ้นเขตวัดหรือที่พักแล้ว ชาวเทพฯ เหล่านั้นพากันเหาะลอยขึ้นสู่อากาศเหมือนปุยนุ่นหรือสำลีเหาะปลิวขึ้นบนอากาศฉะนั้น เวลาที่ชาวเทพฯ มาก็เช่นกัน พากันเหาะลอยมาลงนอกบริเวณที่พัก แล้วเดินเข้ามาด้วยความเคารพอย่างมีระเบียบสวยงามมากและมิได้พูดคุยกันอึกทึกครึกโครมเหมือนชาวมนุษย์เราเข้าไปหาอาจารย์ที่ถือว่าเป็นที่เคารพนับถือ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพวกเทพฯ เป็นกายทิพย์ จะพูดอย่างมนุษย์จึงขัดข้อง ข้อนี้พวกเทพฯ ต้องยอมแพ้มนุษย์ที่พูดเสียงดังกว่า มนุษย์จึงได้เปรียบพวกเทพฯตรงนี้เอง
    <o:p></o:p>
    พวกเทพฯ ขณะฟังเทศน์มีความสำรวมดีมาก ไม่ส่ายโน่นส่ายนี่ ไม่แสดงทิฐิมานะออกมาให้กระทบจิตใจของผู้จะให้อรรถให้ธรรม ตามปกติก่อนหน้าพวกเทพฯ จะมาฟังเทศน์ ท่านเคยทราบไว้ก่อนเสมอ เช่น เขาจะมาในราวที่สุดของสองยาม คือ ๖ ทุ่ม พอตกตอนเย็นท่านทราบไว้ก่อนแล้ว บางวันท่านคิดว่าจะมีการประชุมพระตอนเย็นก็ต้องสั่งงดในคืนวันนั้น พอขึ้นจากทางจงกรมแล้วท่านเริ่มเข้าที่ทำสมาธิภาวนา พอจวนเวลาพวกเทพฯ จะมาถึง ท่านเริ่มถอยจิตออกมา รออยู่ขั้นอุปจารสมาธิและส่งกระแสจิตออกไปดู ถ้ายังไม่เห็นมา ท่านก็เข้าสมาธิอีก พักอยู่พอสมควรแล้วถอยจิตออกมาอีก บางครั้งพวกเทพฯ มาถึงก่อนแล้ว บางครั้งกำลังหลั่งไหลเข้ามาในบริเวณที่พัก บางครั้งท่านก็รอคอยอยู่ขั้นอุปจารสมาธินานพอสมควร จึงเห็นพวกเทพฯ มา <o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟัง

    วันไหนที่ทราบว่าเขาจะมาดึก ๆ หน่อย ราวตี ๑ ตี ๒ หรือตี ๓ ก็มีห่าง ๆ วันเช่นนั้นพอทำความเพียรจนถึงเวลาพอสมควรแล้วท่านก็พักผ่อนจำวัด ไปตื่นเอาตอนนั้นทีเดียว แล้วเตรียมต้อนรับแขกตามเวลาที่กำหนดไว้ พวกเทพฯ ที่มาฟังเทศน์ท่านเวลาพักอยู่ทางภาคอีสานไม่ค่อยมีมาบ่อย ๆ และไม่มีมากนัก ส่วนรายที่มาแอบฟังเทศน์ท่านอยู่ห่าง ๆ ขณะที่ท่านกำลังอบรมพระนั้น พอทราบท่านก็หยุดการอบรมในเวลานั้นและสั่งพระให้เลิกประชุม สำหรับองค์ท่านก็รีบเข้าที่ทำสมาธิภาวนาเพื่อแสดงธรรมให้ชาวเทพฯ ฟังในลำดับต่อไปจนจบ พอพวกเทพฯ กลับไปแล้ว ท่านก็พักจำวัดจนกว่าถึงเวลาอันควร ก็ตื่นทำความเพียรต่อไปตามปกติที่เคยทำมาเป็นประจำ การต้อนรับชาวเทพฯ เป็นกิจของท่านโดยเฉพาะไม่ให้คลาดเคลื่อนเวลาได้เลย เพราะเขามาตามกำหนดเวลา คำสัตย์เขาถือเป็นสำคัญมาก แม้พระทำให้เคลื่อนโดยไม่มีความจำเป็นเขาก็ตำหนิติเตียน พวกเทพฯ เคารพหัวหน้ามาก คอยฟังคำสั่งและปฏิบัติตามด้วยความสนใจ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พวกนี้ไม่ว่าจะมาจากชั้นบน หรือที่เป็นรุกขเทพฯ มาจากที่ต่าง ๆ ต้องมีหัวหน้าเป็นผู้นำเสมอ การสนทนาระหว่างพวกเทพฯ กับพระใช้ภาษาใจภาษาเดียวเท่านั้น ไม่มีหลายภาษาเหมือนมนุษย์และสัตว์ชนิดต่าง ๆ กัน เนื้อหาของใจที่คิดขึ้นเพื่อผู้ตอบนั้นเป็นคำถามของภาษาใจที่แสดงออกอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย แล้วผู้ตอบเข้าใจได้ชัดเช่นเดียวกับเราถามกันเป็นประโยคด้วยคำพูดทางวาจา ประโยคที่ผู้ตอบคิดขึ้นแต่ละประโยคแต่ละคำเป็นเนื้อหาของภาษาใจอย่างเต็มที่แล้ว ผู้ถามเข้าใจได้ชัดเจนเช่นเดียวกัน ภาษาของใจยิ่งตรงตามความรู้สึกที่ระบายออกทีเดียว ไม่ต้องแยกแยะหรือขยายเนื้อความให้เด่นชัด เหมือนใช้คำพูดทางวาจาเป็นเครื่องมือของใจอีกวาระหนึ่ง ซึ่งบางประโยคความรู้สึกทางใจกับคำพูดที่จะใช้ให้เหมาะสมไม่ค่อยตรงกัน จึงทำให้เสียความมุ่งหมายอยู่บ่อย ๆ
    <o:p></o:p>
    ตราบใดที่ใช้วาจาเป็นสื่อแทนใจอยู่ ความไม่สะดวกย่อมมีอยู่ตราบนั้น แต่ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่คนเราไม่รู้ภาษาใจของกันและกัน จำต้องใช้วาจาเป็นเครื่องมือของใจอยู่ตลอดไปอย่างแยกไม่ออก ทั้ง ๆ ที่ไม่สู้จะตรงกับความมุ่งหมายของใจเท่าไรนัก เพราะโลกหากพานิยมใช้กันมาอย่างนี้ ไม่มีทางแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นซึ่งดียิ่งกว่านี้ได้ นอกจากจะรู้ภาษาใจกันเท่านั้น สิ่งลี้ลับก็กลับเปิดเผยและยุติกันไปเอง ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเชี่ยวชาญทางนี้มาก เครื่องมือท่านก็มีพร้อมในการฝึกอบรมคนให้เป็นคนดี ส่วนพวกเราแม้แต่จะคิดขึ้นมาใช้เฉพาะตัว ยังต้องเที่ยวหาหยิบยืมจากผู้อื่น คือเที่ยวศึกษาอบรมจากครูอาจารย์ในที่ต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ แม้เช่นนั้นก็ยังหลุดไม้หลุดมือไปได้ รักษาไว้ไม่อยู่ คือฟังจากท่านแล้วก็หลงลืมไปแทบไม่มีอะไรเหลือติดตัว แต่สิ่งที่ไม่ดีอันมีอยู่ดั้งเดิม คือความผิดพลาดขาดสติปัญญาความระลึกรู้ไตร่ตรอง ไม่ยอมหลงลืมและตกไป คงยังสมบูรณ์อยู่ตลอดไป ฉะนั้น จึงมีแต่ความผิดหวัง คือนั่งอยู่ก็ผิดหวัง เดินไปก็ผิดหวัง ยืนอยู่ก็ผิดหวัง นอนอยู่ก็ผิดหวัง อะไร ๆ มีแต่ความผิดหวัง เพราะขาดคุณธรรมดังกล่าวที่จะทำให้มีหวังในสิ่งที่พึงใจทั้งหลาย
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟัง

    ปฏิปทาเครื่องดำเนินและการอบรมสั่งสอน ท่านพระอาจารย์มั่นรู้สึกว่าราบรื่นสม่ำเสมอ ไม่ค่อยมีเรื่องกระเทือนฝั่ง ดังที่เคยปรากฏมา ท่านไปที่ไหนชุ่มเย็นราบเรียบในที่นั้น พระเณรมีความเคารพเลื่อมใสศรัทธา ญาติโยมพอทราบข่าวว่าท่านไปที่ไหนต่างมีความยิ้มแย้มแจ่มใส พากันหลั่งไหลไปกราบไหว้บูชาด้วยความเคารพเลื่อมใสอย่างฝังจิตฝังใจ ไม่มีเวลาจืดจางตลอดมา ดังชาวบ้านถ้ำที่ท่าแขก ฝั่งแม่น้ำโขงแห่งประเทศลาว ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ท่านพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์เคยไปพัก ก่อนหน้าที่ท่านไปเล็กน้อย ชาวบ้านนั้นเกิดโรคฝีดาษกันเกือบทั้งบ้าน พอเห็นท่านไป เขาดีอกดีใจกันมากแทบตัวลอย พร้อมกันวิ่งออกมาต้อนรับและวิงวอนขอให้ท่านเป็นที่พึ่ง ท่านก็ให้เขาพากันมารับพระไตรสรณคมน์ คือ ถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะแทนถือผี เพราะแต่ก่อนเขาพากันนับถือผีกันทั้งบ้าน ท่านแนะนำวิธีปฏิบัติให้เขา เช่น ตอนเช้าตอนเย็นเวลาจะหลับนอนให้พากันไหว้พระสวดมนต์ก่อน และให้พากันทำวัตรสวดมนต์ทุก ๆ เช้าเย็น เขาก็ทำตาม ส่วนท่านเองก็ทำพิธีอะไร ๆ อันเป็นการภายในช่วยเขา
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เป็นที่น่าประหลาดและอัศจรรย์ทันตาเห็น คนที่ล้มตายกันวันละหลาย ๆ ศพเรื่อยมาเพราะโรคนั้น กลับไม่มีใครตายอีกเลยนับแต่วันนั้นเป็นต้นมา แม้ที่กำลังเป็นกันอยู่ก็กลับหายไปอย่างรวดเร็ว และไม่มีการกำเริบอีกต่อไปราวกับปาฏิหาริย์ ชาวบ้านเกิดความอัศจรรย์ ไม่เคยเห็นและไม่คาดฝันว่าจะเป็นได้ถึงเพียงนี้ ยิ่งเกิดความเชื่อเลื่อมใสกันทั้งบ้าน ตลอดลูกหลานติดต่อสืบเนื่องกันมากระทั่งทุกวันนี้ แม้พระที่เป็นสมภารองค์ปัจจุบันประจำหมู่บ้านนั้น ก็เกิดศรัทธาเคารพเลื่อมใสท่านพระอาจารย์ทั้งสองมากมาจนบัดนี้ พูดถึงท่านพระอาจารย์ทั้งสองทีไรต้องยกมือไหว้ก่อน แล้วคอยพูดเรื่องของท่านพระอาจารย์ทั้งสองต่อไป ที่เป็นทั้งนี้ก็เพราะอำนาจธรรมในใจท่านแผ่กระจายออกไปให้เป็นความสุขเย็นใจแก่โลก
    <o:p></o:p>
    ท่านเล่าว่า ท่านแผ่เมตตาใหญ่ในรอบ ๒๔ ชั่วโมงต่อ ๓ ครั้ง คือ เวลากลางวันตอนบ่ายขณะนั่งภาวนาหนึ่งครั้ง ตอนก่อนนอนหนึ่งครั้ง ตอนตื่นนอนหนึ่งครั้ง ส่วนการแผ่เมตตาปลีกย่อยประจำนิสัยนั้น มิได้นับอ่านว่าวันหนึ่งกี่สิบครั้ง ท่านแผ่เมตตาใหญ่ ท่านว่ากำหนดจิตให้ดำรงตัวอยู่เฉพาะ แล้วกำหนดกระแสใจให้แผ่ซ่านออกไปทั่วโลกธาตุเบื้องบนเบื้องล่าง ทั่วทุกทิศทุกทางไม่มีว่างเว้น ปรากฏว่าจิตในขณะนั้นมีอำนาจแผ่รัศมีและแสงสว่างออกไปทั่วพิภพ ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีอะไรมาปิดบังได้เลย ยิ่งกว่าแสงพระอาทิตย์กี่ร้อยกี่พันดวงเป็นไหน ๆ และไม่มีอะไรจะทรงแสงสว่างเสมอด้วยใจที่ได้ชำระอย่างเต็มภูมิแล้ว คุณสมบัติซึ่งแสดงออกจากจิตที่บริสุทธิ์สิ้นเชิงแล้ว ย่อมทำให้โลกสว่างและมีความร่มเย็นอย่างอัศจรรย์ที่บอกไม่ถูก เพราะไม่มีพิษสงแม้น้อยเจือปนอยู่ มีแต่คุณธรรมคือความเย็นล้วน ๆ ดำรงอยู่ในดวงใจ ท่านผู้มีเมตตาจิตและมีใจบริสุทธิ์สะอาดไปอยู่ ณ ที่ใด มนุษย์เทวดาอารักษ์ย่อมเคารพเลื่อมใส ตลอดสัตว์เดียรัจฉานก็ไม่ระเวียงระวังว่าจะเป็นภัยต่อเขา เพราะจิตท่านอ่อนนิ่มไปทั้งดวงด้วยเมตตาที่มีอยู่ประจำตลอดเวลา ไม่นิยมกาลสถานที่ บุคคล และกำเนิดสูงต่ำ เหมือนฝนตกลงสู่พื้นพิภพ ไม่นิยมว่าสถานที่สูงต่ำประการใดฉะนั้น<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟัง

    คราวท่านกลับจากอุบลฯ ทีแรกท่านมาจำพรรษาที่บ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร มีพระเณรติดตามมาศึกษาปฏิบัติด้วยเป็นจำนวนมากมาย ประชาชนหญิงชายพากันตื่นเต้นมาก ประหนึ่งท่านผู้มีบุญมาเกิด แต่มิได้ตื่นเต้นแบบมงคลตื่นข่าว หากแต่ตื่นเต้นเพื่อละชั่วทำดี ละการนับถือผีไหว้เจ้า กราบพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์แทนเท่านั้น พอออกพรรษาแล้ว ท่านออกเที่ยวธุดงค์ไปเรื่อย ๆ มาทางจังหวัดอุดรธานี ไปอำเภอหนองบัวลำภูบ้าง อำเภอบ้านผือและจำพรรษาที่บ้านค้อบ้าง ไปอำเภอท่าบ่อจำพรรษาที่นั้นในเขตจังหวัดหนองคายบ้าง พักอยู่สองจังหวัดนี้นานพอควร สถานที่ที่ท่านพักบำเพ็ญโดยมากมีแต่ป่าแต่เขาดังกล่าวแล้ว หมู่บ้านก็มีอยู่ห่าง ๆ กัน ในสมัยโน้นไม่แออัดด้วยผู้คนและบ้านเรือนเหมือนสมัยนี้ การอบรมสั่งสอนก็ง่าย ป่าก็เป็นป่าจริง ๆ เต็มไปด้วยหมู่ไม้ใหญ่ ๆ สูง ไม่มีใครทำลาย สัตว์ป่าก็ชุกชุม
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พอตกกลางคืนได้ยินแต่เสียงสัตว์ชนิดต่าง ๆ ร้องไปตามภาษาของเขา ฟังแล้วทำให้เพลิดเพลินไปตามด้วยความเมตตาและสนิทสนม เพราะเสียงสัตว์ไม่ค่อยเป็นข้าศึกต่อการบำเพ็ญสมณธรรม ผิดกับเสียงมนุษย์อยู่มาก ท่านว่า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเราไม่เข้าใจความหมายของเสียงก็เป็นได้ ส่วนเสียงมนุษย์ไม่ว่าจะพูดสนทนากันธรรมดา ไม่ว่าจะขับลำทำเพลงกัน ไม่ว่าจะทะเลาะวิวาทกัน ไม่ว่าจะแสดงความสนุกรื่นเริงกัน เพียงแต่เริ่มแสดงออกก็เริ่มเข้าใจความหมายไปตามทุก ๆ คำและทุก ๆ ระยะ จึงทำให้ไม่ค่อยสะดวกนักในเวลามีเสียงคนมากระทบขณะทำสมาธิภาวนา ยิ่งเป็นเสียง อิตฺถี สทฺโทด้วยแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มความทิ่มแทงมากขึ้น ถ้าสมาธิไม่ดีพอ มีหวังล้มละลายได้อย่างง่ายดาย
    <o:p></o:p>
    แต่ต้องขออภัยจากท่านเจ้าของเสียงนี้มาก ๆ ที่เขียนนี้มิได้มุ่งเพื่อจะตำหนิท่านผู้เป็นเจ้าของเสียงแต่อย่างใด แต่เขียนไปตามความไม่เป็นท่าของนักภาวนาต่างหาก เพื่อจะได้สติฮึดสู้บ้าง พอมีทางเอาตัวรอดได้ ไม่หมอบยอมแพ้ราบอยู่ท่าเดียว ที่ท่านชอบพักอยู่ในป่าในเขาอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องทำนองนี้อยู่บ้าง เพื่อหลบภัยและเพื่อบำเพ็ญคุณงามความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปไม่ล่าถอย จนถึงที่สุดอันเป็นจุดหมายปลายทางของผู้ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อธรรมขั้นนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นท่านชอบอยู่ในป่าในเขาตลอดมาจนถึงวันมรณภาพ จึงได้ธรรมอันเป็นขวัญใจมาฝากพวกเราอย่างภูมิใจ
    <o:p></o:p>
    ท่านเล่าว่า เวลาท่านกำลังบำเพ็ญ ถ้าเป็นโรคก็เป็นประเภทชีวิตไม่ยังเหลือค้างโลกให้ใคร ๆ ได้เห็นต่อไป เพราะมีแต่การฝึกทรมานทั้งกายทั้งใจตลอดไป ไม่มีวันจะได้ลืมตาอ้าปากพูดอย่างสนุกรื่นเริงเหมือนท่านผู้อื่นบ้างเลย เพราะกิเลสกับใจมันไวต่อการติดพันกันจนมองไม่ทัน เผลอตัวบ้างไม่ได้เลย เป็นได้เรื่องทันที แต่พอมันติดพันใจได้แล้ว แก้หรือถอนไม่ยอมออกอย่างง่าย ๆ มีแต่จะพันให้แน่นเข้าทุกที อันนี้แลที่จะทำให้เผลอตัวไม่ได้ ต้องจ้องต้องมองต้องคอยจองจำทำโทษมันอยู่เสมอ ไม่ยอมให้มีกำลังขึ้นมาได้ เดี๋ยวมันมัดเราเข้าอีกมีหวังจอดจมแน่ ทำถึงขนาดนั้นจึงพอมีความสุขและลืมตาได้บ้างเท่านั้น พอมีกำลังใจบ้างและได้รับความสะดวกกายสบายใจก็ได้วกมาสั่งสอนหมู่เพื่อน ต่อจากนั้นหมู่เพื่อนทั้งพระทั้งเณรทั้งฆราวาสไม่ทราบมาจากไหน ทางนั้นก็มา ทางนี้ก็มา มาไม่หยุด และมาทุกทิศทุกทาง บางครั้งจนไม่มีที่พักเพียงพอกัน เพราะมามากต่อมาก ทั้งน่าสงสาร ทั้งน่าเห็นใจท่านว่า<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟัง

    บางครั้งก็ทำให้วิตกกับผู้อื่นเกี่ยวกับความปลอดภัย ซึ่งมีผู้หญิงและชีนุ่งขาวไปเยี่ยม เช่น คราวพักอยู่ในถ้ำบ้านนาหมี นายูง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี สมัยนั้นคนมีน้อยและสัตว์เสือก็ชุกชุมมาก ถ้ำและบริเวณที่ท่านพักอยู่ เสือโคร่งใหญ่ ซึ่งมีอยู่หลายตัวในแถวนั้นเคยเข้ามาบริเวณนั้นเสมอ ไม่เป็นที่ไว้ใจในชีวิตของผู้ไปเยี่ยมท่านและค้างคืนที่นั้น เวลาเขาไปเยี่ยม ท่านต้องสั่งให้ชาวบ้านหาไม้มาทำห้างสูง ๆ จนพ้นจากปากเสือที่จะกระโดดขึ้นไปถึงที่คนที่หลับนอนอยู่บนห้างนั้น เวลาค่ำคืนท่านห้ามไม่ให้ลงมาพื้นดินกลัวเสือจะโดดคาบเอาไปกิน แม้ปวดหนักปวดเบาก็ให้เตรียมหาภาชนะขึ้นไปไว้ข้างบนด้วย เพื่อสะดวกแก่การขับถ่ายในเวลาค่ำคืน เพราะแถวนั้นเสือชุมมากและดุร้ายด้วย ผู้ที่ไปเยี่ยม ท่านไม่ให้พักอยู่หลายวัน ต้องรีบพากันกลับ เสือแถบนั้นไม่ค่อยกลัวคนนัก ยิ่งเป็นผู้หญิงด้วยแล้วมันยิ่งไม่กลัวเอาเลย หากพอทำอันตรายได้มันอาจทำ แม้ชาวบ้านก็พูดเหมือนกันว่า เสือพวกนี้ไม่ค่อยจะกลัวคนนัก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    บางครั้งเวลากลางคืน ท่านกำลังเดินจงกรมอยู่ โดยจุดเทียนไขใส่โคมไฟแขวนไว้ที่ทางจงกรม ยังเห็นเสือโคร่งใหญ่เดินตามหลังฝูงควาย ที่พากันเดินผ่านมาที่พักท่านอย่างองอาจ ไม่กลัวท่านซึ่งกำลังเดินจงกรมอยู่บ้างเลย ฝูงควายที่ถูกเสือรบกวนมาก ต้องพากันกลับเข้าบ้าน เสือยังกล้าเดินตามหลังฝูงควายมาได้ต่อหน้าต่อตาพระซึ่งก็เป็นคนผู้หนึ่งที่นั้น พระที่ไปศึกษาอบรมกับท่านต้องเป็นพระที่เตรียมพร้อมทุกอย่างแล้ว ทั้งความสละเป็นสละตายต่อการประกอบความพากเพียรในสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งไม่เป็นที่แน่ใจและอาจมีภัยรอบด้าน ทั้งสละทิฐิมานะ ความถือตัวว่ามีราคาค่างวด ซึ่งอวดรู้อวดฉลาดอยู่ภายใน และสละทิฐิมานะต่อหมู่ต่อคณะ ประหนึ่งเป็นอวัยวะอันเดียวกัน จิตใจถึงจะมีความสงบสุข การประกอบความเพียรก็มี เกิดสมาธิได้เร็ว ไม่มีนิวรณ์มาขัดขวางถ่วงใจ
    <o:p></o:p>
    ในที่ถูกบังคับให้อยู่ในวงจำกัด เช่น สถานที่กลัว ๆ อาหารมีน้อย ฝืดเคืองด้วยปัจจัย สติกำกับใจไม่ลดละ คิดอ่านเรื่องอะไรมีสติคอยสะกิดบังคับอยู่เสมอ ย่อมเข้าสู่ความสงบได้เร็วกว่าเท่าที่ควรจะเป็น เพราะข้างนอกก็มีภัย ข้างในก็มีสติคอยบังคับขู่เข็ญ จิตซึ่งเปรียบเหมือนนักโทษก็ยอมตัวไม่คึกคะนอง นอกจากนั้น ยังมีอาจารย์คอยใส่ปัญหาเวลาจิตคิดออกนอกลู่นอกทางอีกด้วย จิตซึ่งถูกบังคับด้วยเครื่องทรมานอยู่ตลอดเวลาทั้งข้างนอกข้างใน ย่อมกลายเป็นจิตที่ดีขึ้นได้อย่างไม่คาดฝัน คือ กลางคืนซึ่งเป็นเวลากลัว ๆ เจ้าของก็บังคับให้ออกเดินจงกรมแข่งกับความกลัว ทางไหนจะแพ้จะชนะ ถ้าความกลัวแพ้ ใจก็เกิดความอาจหาญขึ้นมาและรวมสงบลงได้ ถ้าใจแพ้สิ่งที่แสดงขึ้นมาในเวลานั้นก็คือความกลัวอย่างหนักนั่นเอง ฤทธิ์ของความกลัวคือ ทั้งหนาวทั้งร้อน ทั้งปวดหนักปวดเบา ทั้งเหมือนจะเป็นไข้ หายใจไม่สะดวกแบบคนจะตายเราดี ๆ นี่เอง
    <o:p></o:p>
    เครื่องส่งเสริมความกลัวคือเสียงเสือกระหึ่ม ๆ อยู่ตามชายเขาบ้าง ไหล่เขาบ้าง หลังเขาบ้าง พื้นราบบ้าง จะกระหึ่มอยู่ที่ไหนทิศใดก็ตาม ใจจะไม่คำนึงทิศทางเลย แต่จะคำนึงอย่างเดียวว่าเสือจะตรงมากินพระองค์เดียว ที่กำลังเดินจงกรมด้วยความกลัวตัวสั่นไม่เป็นท่าอยู่นี้เท่านั้น แผ่นดินกว้างใหญ่ขนาดไหน ไม่ได้นึกว่าเสือเป็นสัตว์มีเท้าจะเที่ยวไปที่อื่น ๆ แต่คิดอย่างเดียวว่าเสือจะตรงมาที่ที่มีบริเวณแคบ ๆ เล็ก ๆ นิดเดียว ซึ่งพระขี้ขลาดกำลังเดินวุ่นวายอยู่ด้วยความกลัวนี้แห่งเดียว การภาวนาไม่ทราบว่าไปถึงไหนมิได้คิดคำนึงเพราะลืมไปหมด ที่จดจ่อที่สุดก็คือ คำบริกรรมโดยไม่รู้สึกตัว ว่าได้บริกรรมว่า เสือจะมาที่นี่ เสือจะมาที่นี่ อย่างเดียวเท่านั้น จิตก็ยิ่งกำเริบด้วยความกลัวเพราะการส่งเสริมด้วยคำบริกรรมแบบโลกแตก ธรรมก็เตรียมจะแตกหากบังเอิญเสือเกิดหลงป่าเดินเปะปะมาที่นั้นจริง ๆ ลักษณะนี้อย่างน้อยก็ยืนตัวแข็งไม่มีสติ มากกว่านั้นเป็นอะไรไปเลยไม่มีทางแก้ไข <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟัง

    นี่คือการตั้งจิตไว้ผิดธรรม ผลจะแสดงความเสียหายขึ้นมาตามขนาดที่ผู้นั้นพาให้เป็นไป ทางที่ถูกที่ท่านสอนให้ตั้งหลักใจไว้กับธรรม จะเป็นมรณัสสติหรือธรรมบทใดบทหนึ่งในขณะนั้น ไม่ให้ส่งจิตปรุงออกไปนำเอาอารมณ์ที่เป็นภัยเข้ามาหลอกตัวเอง เป็นกับตายก็ตั้งจิตไว้กับธรรมที่เคยบริกรรมอยู่เท่านั้น จิตเมื่อมีธรรมเป็นเครื่องยึดจะไม่เสียหลัก และจะตั้งตัวได้ในขณะที่ทั้งกลัว ๆ นั่นแล จะกลายเป็นจิตที่อาจหาญขึ้นมาในขณะนั้นอย่างอัศจรรย์ที่บอกไม่ถูก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นท่านสอนให้ตั้งหลักด้วยความเสียสละทุกสิ่งบรรดามีอยู่กับตัว คือ ร่างกาย จิตใจ แต่มิให้สละธรรมที่ตนปฏิบัติหรือบริกรรมอยู่ในขณะนั้น จะเป็นอะไรก็ปล่อยให้เป็นไปตามคติธรรมดา เกิดแล้วต้องตาย จะเป็นคนขวางโลกไม่ยอมตายไม่ได้ ผิดคติธรรมดา ไม่มีความจริงใด ๆ มาชมเชยคนผู้มีความคิดขวางโลกเช่นนั้น ท่านสอนให้เด็ดเดี่ยวอาจหาญ ไม่ให้สะทกสะท้านต่อความตาย เกี่ยวกับสถานที่ที่จะไปบำเพ็ญเพื่อหาความดีใส่ตัว ดงหนาป่ารกชัฏมีสัตว์เสือชุมเท่าไรยิ่งสอนให้ไปอยู่ โดยให้เหตุผลว่า ที่นั้นแลจะได้กำลังใจทางสมาธิปัญญา เสือจะได้ช่วยให้ธรรมเกิดในใจได้บ้าง เพราะคนเราเมื่อไม่กลัวพระพุทธเจ้า ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า แต่กลัวเสือและเชื่อเสือว่าเป็นสัตว์ดุร้ายจะมาคาบเอาไปเป็นอาหาร และช่วยไล่ตะล่อมจิตเข้าสู่ธรรมให้ก็ยังดี จะได้กลัวและตั้งใจภาวนาจนเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมแล้วก็เชื่อพระพุทธเจ้าและเชื่อพระธรรมไปเอง เมื่อเข้าสู่ที่คับขันแล้วจิตไม่เคยเป็นสมาธิก็จะเป็น ไม่เคยเป็นปัญญาก็จะเป็นในที่เช่นนั้นแล
    <o:p></o:p>
    ใจไม่มีอะไรบังคับบ้าง มันขี้เกียจและตั้งหน้าสั่งสมแต่กิเลสพอกพูนใจ แทบจะหาบหามไปไม่ไหว ไปให้เสือช่วยหาบขนกิเลสตัวขี้เกียจ ตัวเพลิดเพลินจนลืมตัวลืมตายออกเสียบ้าง จะได้หายเมาและเบาลง ยืนเดินนั่งนอนจะไม่พะรุงพะรังไปด้วยกิเลสประเภทไม่เคยลงจากบนบ่า คือหัวใจคน ที่ใดกิเลสกลัวท่านสอนให้ไปที่นั้น แต่ที่ที่กิเลสไม่กลัวอย่าไปเดี๋ยวเกิดเรื่อง ไม่ได้ความแปลกและอัศจรรย์อะไรเลย นอกจากกิเลสจะพาสร้างความฉิบหายใส่ตัวจนมองไม่เห็นบุญบาปเท่านั้น ไม่มีอะไรน่าชมเชย ท่านให้ความมั่นใจแก่นักปฏิบัติว่า สถานที่ที่ไม่มีสิ่งบังคับบ้าง ทำความเพียรไม่ดี จิตลงสู่ความสงบได้ยาก แต่สถานที่ที่เต็มไปด้วยความระเวียงระวังภัย ทำความเพียรได้ผลดี ใจก็ไม่ค่อยปราศจากสติ ซึ่งเป็นทางเดินของความเพียรอยู่ในตัวอยู่แล้ว ผู้หวังความพ้นทุกข์โดยชอบจึงไม่ควรกลัวความตายในที่ ๆ น่ากลัว มีในป่าในเขาที่เข้าใจว่าเป็นสถานที่น่ากลัว เป็นต้น
    <o:p></o:p>
    เวลาเข้าสู่ที่คับขันจริง ๆ ขอให้ใจอยู่กับธรรม ไม่ส่งออกนอกกายนอกใจ ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่ของธรรม ความปลอดภัยและกำลังใจทุกด้านที่จะพึงได้ในเวลานั้น จะเป็นสิ่งที่ยอมรับกันไปในตัว อย่างไรก็ไม่ตายถ้าไม่ถึงกาลตามกรรมนิยม แทนที่จะตายดังความคาดหมายที่ด้นเดาไว้ ท่านเคยว่าท่านได้กำลังใจในที่เช่นนั้นแทบทั้งนั้น จึงชอบสั่งสอนหมู่เพื่อนให้มีใจมุ่งมั่นต่อธรรมในที่คับขัน จะสมหวังในไม่ช้าเลย แทนที่จะทำไปแบบเสี่ยงวาสนาบารมีอันเป็นเรื่องเหลวไหลหลอกลวงตนมากกว่าจะเป็นความจริง เพราะความคิดเช่นนั้น ส่วนมากมักจะออกมาจากความอ่อนแอท้อถอย จึงมักเป็นความคิดที่กดถ่วงลวงใจมากกว่าจะช่วยเสริมให้ดี และเพิ่มพูนกำลังสติปัญญาให้ยิ่ง ๆ ขึ้น ธรรมที่ให้ความมั่นใจแก่นักปฏิบัติเพื่อถือเป็นหลักประกันชีวิตและความเพียร คือ พึงหวังพึ่งเป็นและพึ่งตายต่อธรรมจริง ๆ อย่าฟั่นเฟือนหวั่นไหวโดยประการทั้งปวงหนึ่ง พึงเป็นผู้กล้าตายด้วยความเพียรในที่ที่ตนเห็นว่าน่ากลัวนั้น ๆ หนึ่ง <o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟัง

    เมื่อเข้าที่จำเป็นและคับขันเท่าไร พึงเป็นผู้มีสติกำกับใจให้มั่นในธรรม มีคำบริกรรมเป็นต้น ให้กลมกลืนกันทุกระยะ อย่าปล่อยวาง แม้ช้างเสืองูเป็นต้น จะมาทำลาย ถ้าจิตสละเพื่อธรรมจริงอยู่แล้ว สิ่งเหล่านั้นจะไม่กล้าเข้าถึงตัว มิหนำเรายังจะกล้าเดินเข้าไปหามันด้วยความองอาจกล้าหาญ ไม่กลัวตาย แทนที่มันจะทำอันตรายเรา แต่ใจเรากลับจะเป็นมิตรอย่างลึกลับอยู่ภายในกับมันอีกด้วย โดยไม่เป็นอันตรายหนึ่ง ใจเรามีธรรมประจำแต่ใจสัตว์ไม่มีธรรม ใจเราต้องมีอำนาจเหนือกว่าสัตว์เป็นไหน ๆ แม้สัตว์จะไม่ทราบได้ว่ามีธรรม แต่สิ่งที่ทำให้สัตว์ไม่กล้าอาจเอื้อมมีอยู่กับใจเราอย่างลึกลับ นั่นแลคือธรรมเครื่องป้องกัน หรือธรรมเครื่องทรงอำนาจให้สัตว์ใจอ่อนไม่กล้าทำอะไรได้หนึ่ง อำนาจของจิตเป็นอำนาจที่ลึกลับและรู้อยู่เฉพาะตัว แต่ผู้อื่นทราบได้ยากหากไม่มีญาณภายในหนึ่ง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ฉะนั้น ธรรมแม้จะเรียนและประกาศสอนกันทั่วโลก ก็ยังเป็นธรรมชาติที่ลึกลับอยู่นั่นเอง ถ้าใจยังเข้าไม่ถึงธรรมชาติเป็นขั้น ๆ ที่ควรจะเปิดเผยกับใจเป็นระยะ ๆ ไป เมื่อเข้าถึงกันจริง ๆ แล้ว ปัญหาระหว่างใจกับธรรมก็สิ้นสุดลงเอง เพราะใจกับธรรมมีความละเอียดสุขุมและลี้ลับพอ ๆ กัน เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว แม้จะพูดว่าใจคือธรรมและธรรมคือใจก็ไม่ผิด และไม่มีอะไรมาขัดแย้งถ้ากิเลสตัวเคยขัดแย้งสิ้นไปไม่มีเหลือแล้ว เท่าที่ใจกลายเป็นเครื่องมือของกิเลสตัณหาจนมองหาคุณค่าไม่เจอนั้น ก็เพราะใจถูกสิ่งดังกล่าวคละเคล้ากลุ้มรุมจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงดูเหมือนไม่มีคุณค่าอะไรแฝงอยู่เลยในระยะนั้น ถ้าปล่อยให้เป็นทำนองนั้นเรื่อยไป ไม่สนใจรักษาและชำระแก้ไข ใจก็ไม่มีคุณค่า ธรรมก็ไม่มีราคาสำหรับตน แม้จะตายแล้วเกิด และเกิดแล้วตายสักกี่ร้อยกี่พันครั้ง ก็เป็นทำนองเขาเปลี่ยนชุดเสื้อผ้าซึ่งล้วนเป็นชุดที่สกปรกด้วยกัน จะเปลี่ยนวันละกี่ครั้งก็คือผู้สกปรกน่าเกลียดอยู่นั่นเอง
    <o:p></o:p>
    ผิดกับผู้เปลี่ยนชุดเสื้อผ้าที่สกปรกออก แล้วสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดแทนเป็นไหน ๆ ฉะนั้น การเปลี่ยนชุดดีชั่วสำหรับใจ จึงเป็นปัญหาสำคัญของแต่ละคนจะพิจารณาและรับผิดชอบตัวเองในทางใด ไม่มีใครจะมารับภาระแทนได้ ไม่ต้องเป็นกังวลอีกต่อไป แต่เรื่องตัวเองนี้เป็นเรื่องใหญ่โตของแต่ละคน ซึ่งรู้อยู่กับตัวทั้งปัจจุบันและอนาคต ว่าต้องเป็นผู้รับผิดชอบตัวเองตลอดไป ไม่มีกำหนดกาล นอกจากผู้ให้การบำรุงรักษาจนถึงที่ปลอดภัยโดยสมบูรณ์แล้วเท่านั้น ดังพระพุทธเจ้าและพระสาวกท่านเป็นตัวอย่าง นั้นชื่อว่าเป็นผู้หมดภาระโดยประการทั้งปวงอย่างสมบูรณ์ ผู้เช่นนั้นแลที่โลกกล่าวอ้างเป็นสรณะเพื่อหวังฝากเป็นฝากตายในชีวิตตลอดมา แม้ผู้ตกอยู่ในลักษณะแห่งความไม่ดี แต่ยังพอรู้บุญรู้บาปอยู่บ้าง ก็ยังกล่าวอ้าง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะอย่างไม่หยุดปากกระดากใจ ยังระลึกถึงพอให้พระองค์ทรงเป็นห่วงและรำคาญในความไม่ดีของเขาอยู่นั่นเอง เช่นเดียวกับลูก ๆ ทั้งที่เป็นลูกที่ดีและลูกที่เลวบ่นถึงผู้บังเกิดเกล้าว่าเป็นพ่อเป็นแม่ของตนฉะนั้น<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟัง

    ท่านพระอาจารย์มั่นท่านฝึกอบรมพระเณรเพื่อเห็นผลประจักษ์ในการบำเพ็ญ ท่านมีอุบายปลุกปลอบด้วยวิธีต่าง ๆ ดังกล่าวมา ผู้ตั้งใจปฏิบัติตามท่านด้วยความเคารพเทิดทูนจริง ๆ ย่อมได้รับคุณธรรมเป็นการถ่ายทอดข้อวัตรวิธีดำเนินจากท่านมาอย่างพอใจ ตลอดความรู้ความฉลาดภายในใจเป็นที่น่าเลื่อมใส และนำมาสั่งสอนลูกศิษย์สืบทอดกันมาพอเห็นเป็นสักขีพยานว่า ศาสนายังทรงมรรคทรงผลประจักษ์ใจของผู้ปฏิบัติตลอดมาไม่ขาดสูญ ถ้าพูดตามความเป็นมาและการอบรมสั่งสอนของท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ควรเรียกได้อย่างถนัดใจว่า “ปฏิปทาอดอยาก”คือที่อยู่ก็อดอยาก ที่อาศัยก็ฝืดเคือง ปัจจัยเครื่องอาศัย โดยมากดำเนินไปแบบขาด ๆ เขิน ๆ ทั้งที่สิ่งเหล่านั้นมีอยู่ ความเป็นอยู่หลับนอนที่ล้วนอยู่ในสภาพอนิจจังนั้น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ถ้าผู้เคยอยู่ด้วยความสนุกรื่นเริงและสมบูรณ์ไปเจอเข้า อาจเกิดความสลดสังเวชใจในความเป็นอยู่ของท่านเหล่านั้นอย่างยากจะปลงตกได้ เพราะไม่มีอะไรจะเป็นที่เจริญตาเจริญใจสำหรับโลกผู้ไม่เคยต่อสภาพเช่นนั้น จึงเป็นที่น่าทุเรศเอานักหนา แต่ท่านเองแม้จะเป็นอยู่ในลักษณะของนักโทษในเรือนจำ แต่ก็เป็นความสมัครใจและอยู่ได้ด้วยธรรม เป็นอยู่หลับนอนด้วยธรรม ลำบากลำบนทนทุกข์ด้วยธรรม ทรมานตนเพื่อธรรม อะไร ๆ ในสายตาที่เห็นว่าเป็นการทรมานของผู้ไม่เคยพบเคยเห็น จึงเป็นเรื่องความสะดวกกายสบายใจสำหรับท่านผู้มีปฏิปทาในทางนั้น ดังนั้น จึงควรให้นามว่า “ปฏิปทาอดอยาก”เพราะอยู่ด้วยความตั้งใจทรมานอดอยาก ฝืนกายฝืนใจจริง ๆ คือ อยู่ก็ฝืน ไปก็ฝืน นั่งก็ฝืน ยืนก็ฝืน นอนก็ฝืน เดินจงกรมก็ฝืน นั่งสมาธิก็ฝืน ในอิริยาบถทั้งสี่เป็นท่าฝืนกายฝืนใจทั้งนั้น ไม่ยอมให้อยู่ตามอัธยาศัยใจชอบเลย
    <o:p></o:p>
    บางครั้งยังต้องทนอดทนหิว ไม่ฉันจังหันไปหลายวัน เพื่อเร่งความเพียรทางใจ ขณะที่ไม่ฉันนั้นเป็นเวลาทำความเพียรตลอดสาย ไม่มีการลดหย่อนผ่อนตัวว่าหิวโหย แม้จะทุกข์ก็ทราบว่าทุกข์ในเวลานั้น แต่ก็ทราบว่าตนทนอดทนหิวเพื่อความเพียร เพราะผู้ปฏิบัติบางรายจริตนิสัยชอบทางอดอาหาร ถ้าฉันไปทุกวันร่างกายสมบูรณ์ความเพียรทางใจไม่ก้าวหน้า ใจอับเฉา ไม่สว่างไสว ไม่องอาจกล้าหาญ ก็จำต้องหาทางแก้ไข โดยมีการผ่อนและอดอาหารบ้าง อดระยะสั้นบ้าง ระยะยาวบ้าง พร้อมกับความสังเกตตัวเองว่า อย่างไหนมีผลมากน้อยต่างกันอย่างไรบ้าง เมื่อทราบนิสัยของตนว่าถูกกับวิธีใดก็เร่งรีบในวิธีนั้น รายที่ถูกจริตกับการอดหลายวันก็จำต้องยอมรับตามนิสัยของตน และพยายามทำตามแบบนั้นเรื่อยไป แม้จะลำบากบ้างก็ยอมทนเอา เพราะอยากดี อยากรู้ อยากฉลาด อยากหลุดพ้นจากทุกข์
    <o:p></o:p>
    ผู้ที่จริตนิสัยถูกกับการอดในระยะยาวย่อมทราบได้ในขณะที่กำลังทำการอดอยู่ คืออดไปหลายวันเท่าไร ใจยิ่งเด่นดวงและอาจหาญต่ออารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึก ใจมีความคล่องแคล่วแกล้วกล้าต่อหน้าที่ของตนมากขึ้น นั่งสมาธิภาวนาลืมมืดลืมสว่าง เพราะความเพลินกับธรรม ขณะใจสัมผัสสัมพันธ์กับธรรมย่อมไม่สนใจต่อความหิวโหยและกาลเวลา มีแต่ความรื่นเริงในธรรมทั้งหลายอันเป็นสมบัติที่ควรได้ควรถึงในเวลานั้น จึงรีบตักตวงให้ทันกับเวลาที่กิเลสความเกียจคร้านอ่อนแอ ความไม่อดทน เป็นต้น กำลังนอนหลับอยู่ พอจะสามารถแอบปีนขึ้นบนหลังหรือบนคอมันบ้างก็ให้ได้ขึ้นในเวลานั้น ๆ หากรั้ง ๆ รอ ๆ หาฤกษ์งามยามดีพรุ่งนี้มะรืนอยู่ เวลามันตื่นขึ้นมาแล้วจะลำบาก ดีไม่ดีอาจสู้มันไม่ได้และกลายเป็นช้างให้มันโดดขึ้นบนคอ แล้วเอาขอสับลงบนศีรษะคือหัวใจ แล้วต้องยอมแพ้มันอย่างราบ<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟัง

    เพราะใจเราเคยเป็นช้างให้กิเลสเป็นนายควาญบังคับมานานแสนนานแล้ว ความรู้สึกกลัวที่เคยฝังใจมานานนั้นแลพาให้ขยาด ๆ ไม่กล้าต่อสู้กับมันอย่างเต็มฝีมือได้ ทางด้านธรรมท่านว่ากิเลสกับธรรมเป็นคู่อริกัน แต่ทางโลกเห็นว่ากิเลสกับใจเป็นคู่มิตรในลักษณะบ๋อยกลางเรือนอย่างแยกกันไม่ออก ฉะนั้น ผู้มีความเห็นไปตามธรรมจึงต้องพยายามต่อสู้กับสิ่งที่ตนเห็นว่าเป็นข้าศึก เพื่อเอาตัวรอดและครองตัวอย่างอิสระ ไม่ต้องขึ้นกับกิเลสเป็นผู้คอยกระซิบสั่งการ แต่ผู้เห็นตามกิเลสก็ต้องคอยพะเน้าพะนอเอาอกเอาใจ ที่มันแนะนำหรือสั่งการออกมาอย่างไรต้องยอมปฏิบัติตามทุกอย่างไม่ขัดขืนมันได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ส่วนผลที่ได้รับจากมันนั้น เจ้าตัวก็ทราบว่ามีความกระเทือนต่อจิตใจเพียงใด แม้ผู้อื่นก็ย่อมทราบได้จากการระบายออกของผู้เป็นเจ้าทุกข์ เพราะความกระทบกระเทือนทางจิตใจที่ถูกกิเลสกลั่นแกล้งและทรมานโดยวิธีต่าง ๆ ไม่มีประมาณ โทษทั้งนี้แลทำให้ผู้มีความรักตัวสงวนใจต้องมีมานะต่อสู้ด้วยความเพียรทุกด้านอย่างไม่อาลัยเสียดายชีวิต ถึงจะอดก็ยอมอด ทุกข์ก็ยอมทุกข์ แม้ตายก็ยอมพลีชีพเพื่อยอมบูชาพระศาสนาไปเลย ไม่มีการแบ่งรับแบ่งสู้ไว้เพื่อกิเลสได้หวังมีส่วนด้วย จะได้ใจ
    <o:p></o:p>
    ที่ท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์ปลุกใจพระเณร ให้มีความอาจหาญร่าเริงต่อความเพียรเพื่อยกตนให้พ้นทุกข์เครื่องกดถ่วงจิตใจ ก็เพราะท่านได้พิจารณาทดสอบเรื่องของกิเลสกับธรรมมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจนเห็นผลประจักษ์ใจแล้ว จึงได้กลับมาภาคอีสานและทำการสั่งสอนอย่างเต็มภูมิแห่งธรรมที่ท่านรู้เห็นมาเป็นคราว ๆ ในสมัยนั้น
    <o:p></o:p>
    ธรรมที่ท่านสั่งสอนอย่างอาจหาญและออกหน้าออกตาแก่บรรดาศิษย์อยู่เสมอ ได้แก่ พลธรรม ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา โดยให้เหตุผลว่า ผู้ไม่เหินห่างจากธรรมเหล่านี้ ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่ขาดทุนและล่มจม เป็นผู้มีหวังความเจริญก้าวหน้าไปโดยลำดับ ธรรมทั้ง ๕ ข้อนี้ ท่านแยกความหมายมาใช้สำหรับท่านเองเป็นข้อ ๆ ซึ่งโดยมากเป็นไปในทางปลุกใจให้อาจหาญ มีใจความว่า ศรัทธาเชื่อศาสนธรรมที่พระองค์ประทานไว้เพื่อโลก เราผู้หนึ่งในจำนวนของคนในโลก ซึ่งอยู่ในข่ายที่ควรได้รับแสงสว่างแห่งธรรมจากข้อปฏิบัติที่ทำจริงแน่นอนไม่เป็นอื่น และเชื่อว่าเกิดแล้วต้องตาย แต่จะช้าหรือเร็วไม่สำคัญ ที่สำคัญอยู่ตรงที่ว่าเราจะตายแบบผู้แพ้กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ หรือจะเป็นผู้ชนะวัฏวนสามนี้ก่อนจะตาย คำว่าแพ้ไม่เป็นสิ่งพึงปรารถนา แม้แต่เด็กเล่นกีฬากันต่างฝ่ายเขายังหวังชนะกัน เราจึงควรสะดุดใจ และไม่ควรทำตัวให้เป็นผู้แพ้ ถ้าเป็นผู้แพ้ก็ต้องทนอยู่อย่างผู้แพ้ <o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟัง

    ทุก ๆ อาการของผู้แพ้ต้องเป็นการกระเทือนใจอย่างมาก และระทมทุกข์จนหาทางออกไม่ได้ ขณะที่จิตจะคิดหาทางออกของผู้แพ้มีอยู่ทางเดียวคือ “ตายเสียดีกว่า”ซึ่งตายไปแบบที่ว่าดีกว่านี้ ก็ต้องเป็นการตายของผู้แพ้ต่อข้าศึกอยู่นั่นเอง อันเป็นทางกอบโกยโรยทุกข์ใส่ตัวเองจนไม่มีที่ปลงวาง จึงไม่มีอะไรดีเลยสำหรับผู้แพ้ทุกประตูแล้ว ถ้าจะตายแบบผู้ชนะดังพระพุทธเจ้าและพระสาวกท่าน ก็ต้องเชื่อแบบท่าน ทำแบบท่าน เพียรและอดทนแบบท่าน มีสติรักษาใจ รักษาตัว รักษากิริยาที่แสดงออกทุกอาการแบบท่าน ทำใจให้มั่นคงต่อหน้าที่ของตน อย่าโยกเยกคลอนแคลนแบบคนจวนตัวไม่มีสติเป็นหลักยึด แต่จงทำใจให้มั่นคงต่อเหตุที่ทำเพื่อผลอันพึงพอใจจะได้มีทางเกิดขึ้นได้ อันเป็นแบบที่ท่านพาดำเนิน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ศาสนาคือคำสั่งสอนของท่านผู้ฉลาด ท่านสอนคนเพื่อให้เกิดความฉลาดทุกแง่ทุกมุม ซึ่งพอจะพิจารณาตามท่านได้ แต่เราอย่าฟังเพื่อความโง่ อยู่ด้วยความโง่ กินดื่มทำพูดด้วยความโง่ คำว่าโง่ไม่ใช่ของดี คนโง่ก็ไม่ดี สัตว์โง่ก็ไม่ดี เด็กโง่ ผู้ใหญ่โง่ มิใช่ของดีทั้งนั้น เราโง่จะให้ใครเขาชมว่าดี จึงไม่ควรทำความสนิทติดจมอยู่กับความโง่โดยไม่ใช้ความพิจารณาไตร่ตรอง ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง จึงไม่ควรแก่สมณะซึ่งเป็นเพศที่ใคร่ครวญไตร่ตรอง นี่คือความหมายในธรรม ๕ ข้อที่ท่านคิดค้นขึ้นมาพร่ำสอนท่านเองและหมู่คณะที่ไปอบรมศึกษากับท่าน รู้สึกว่าเป็นคติได้ดีมาก เพราะเป็นอุบายปลุกใจให้เกิดสติปัญญาและอาจหาญ ทั้งเหมาะสมกับสภาพการณ์และสถานที่ของพระธุดงค์ ผู้เตรียมพร้อมแล้วในการรบพุ่งชิงชัยระหว่างกิเลสกับธรรมเพื่อความชนะเลิศ คือวิมุตติพระนิพพาน อันเป็นหลักเขตแดนมหาชัยที่ปรารถนามานาน
    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์ที่เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ของท่านเล่าให้ฟังว่า เวลาอยู่กับท่าน แม้จะมีพระเณรจำนวนมากด้วยกัน แต่มองดูอากัปกิริยาของแต่ละองค์ เหมือนพระเณรที่สิ้นกิเลสกันแล้วทั้งนั้น ไม่มีอาการแสดงความคึกคะนองใด ๆ แม้แต่น้อยให้ปรากฏบ้างเลย ต่างองค์ต่างสงบเสงี่ยมเจียมตัว ทั้งที่อยู่โดยลำพังตนเอง ทั้งเวลามารวมกันด้วยกิจธุระบางอย่าง และเวลารวมประชุมฟังการอบรม ต่างมีมรรยาทสวยงามมาก ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเกี่ยวกับภูมิจิต เวลาท่านสนทนากันกับท่านอาจารย์บ้าง ก็อาจให้เกิดความสงสัยหรือเชื่อแน่ว่าแต่ละองค์คงสำเร็จพระอรหัตกันแน่ ๆ แต่พอเดาได้จากการแก้ปัญหาธรรมขณะที่ท่านสนทนากัน ว่าองค์ไหนควรอยู่ในภูมิธรรมขั้นใด นับแต่สมาธิและปัญญาขั้นต้นขึ้นไปถึงสมาธิและวิปัสสนาขั้นสูง
    <o:p></o:p>
    การแก้ปัญหาในเวลามีผู้ไปศึกษาก็ดี การแสดงธรรมอบรมพระเณรในเวลาประชุมก็ดี ท่านแสดงด้วยความแน่ใจและอาจหาญ พอให้ผู้ฟังทราบได้ว่าธรรมที่แสดงออกเป็นธรรมที่ท่านรู้เห็นทางจิตใจจริง ๆ ไม่แสดงด้วยความลูบคลำหรือสุ่มเดา ว่าเห็นจะเป็นอย่างนั้น เห็นจะเป็นอย่างนี้ จึงเป็นที่แน่ใจได้ว่า เป็นธรรมที่ส่อแสดงอยู่กับใจของทุกคนแม้ยังไม่รู้ไม่เห็น และคงมีวันหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถรู้ได้จำเพาะตนหากไม่ลดละความเพียรไปเสีย <o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟัง

    วิธีให้การอบรมแก่พระเณรและฆราวาส รู้สึกว่าท่านแสดงให้พอเหมาะสมกับขั้นภูมิความเป็นอยู่และจริตนิสัยของผู้มาอบรมศึกษาได้ดี และได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่ายขณะที่ฟังอยู่ด้วยกัน เพราะท่านอธิบายแยกแยะธรรมออกเป็นตอน ๆ ซึ่งพอเหมาะสมกับภูมิของผู้มาฟังจะเข้าใจและนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้ โดยมากเวลาท่านสอนฆราวาสญาติโยมโดยเฉพาะ ท่านยกธรรมเกี่ยวกับฆราวาสขึ้นแสดง มีทาน ศีล ภาวนาเป็นพื้น โดยให้เหตุผลว่า ธรรมทั้งสามนี้เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องเป็นผู้เคยผ่าน คือเคยสั่งสมธรรมเหล่านี้มา อย่างน้อยต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเชื้ออยู่ในนิสัยของผู้จะมาสวมร่างเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษยสมบัติอย่างแท้จริง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ทาน คือเครื่องแสดงน้ำใจมนุษย์ผู้มีจิตใจสูง ผู้มีเมตตาจิตต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ผู้อาภัพ ด้วยการให้การเสียสละแบ่งปันมากน้อย ตามกำลังของวัตถุเครื่องสงเคราะห์ที่มีอยู่ จะเป็นวัตถุทาน ธรรมทาน หรือวิทยาทานแขนงต่าง ๆ ก็ตาม ที่ให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นโดยมิได้หวังค่าตอบแทนใด ๆ นอกจากกุศลคือความดีที่เกิดจากทานนั้น ซึ่งจะเป็นสิ่งตอบแทนให้เจ้าของทานได้รับอยู่โดยดีเท่านั้น ตลอดอภัยทานที่ควรให้แก่กันในเวลาอีกฝ่ายหนึ่งผิดพลาดหรือล่วงเกิน คนมีทานหรือคนที่เด่นในการให้ทาน ย่อมเป็นผู้สง่าผ่าเผยและเด่นในปวงชนโดยไม่นิยมรูปร่างลักษณะ ผู้เช่นนี้มนุษย์และสัตว์ตลอดเทวดาที่มองไม่เห็นก็เคารพรัก จะตกทิศใดแดนใดย่อมไม่อดอยากขาดแคลน หากมีสิ่งหรือผู้อุปถัมภ์จนได้ ไม่อับจนทนทุกข์
    <o:p></o:p>
    แม้ในแดนมนุษย์เรานี้ก็พอเห็นได้อย่างเต็มตารู้ได้อย่างเต็มใจว่า ผู้มีทานเป็นเครื่องประดับตัวย่อมเป็นคนไม่ล้าสมัยในสังคม และบุคคลทุกชั้นไม่มีใครรังเกียจ แม้แต่คนที่มั่งมีแต่แสนตระหนี่ถี่เหนียวก็ยังหวังต่อการสงเคราะห์ช่วยเหลือจากผู้อื่นเช่นเดียวกับมนุษย์ทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องพูดถึงคนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ แต่ไม่หวังให้ผู้อื่นช่วยเหลือ จะไม่มีในโลกเมืองไทยเรา อำนาจทานทำให้ผู้มีใจชอบบริจาคเกิดความเคยชินต่อนิสัย จนกลายเป็นผู้มีฤทธิ์บันดาลไม่ให้อดอยากในภพที่เกิดกำเนิดที่อยู่นั้น ๆ ฉะนั้น ทานและคนที่มีใจเป็นนักให้ทาน การเสียสละ จึงเป็นเครื่องและเป็นผู้ค้ำจุนหนุนโลกให้เฟื่องฟูตลอดไป โลกที่ยังมีการสงเคราะห์กันอยู่ยังจัดเป็นโลกที่มีความหมายตลอดไป ไม่เป็นโลกที่ไร้ชาติขาดกระเจิง เหลือแต่ซากคือแผ่นดินแน่ ๆ ทานจึงเป็นสาระสำคัญสำหรับตัวและโลกทั่ว ๆ ไป ผู้มีทานย่อมเป็นผู้อบอุ่นและหนุนโลกให้ชุ่มเย็น ไม่เป็นบุคคลและโลกที่แห้งแล้งแข่งกับทุกข์ตลอดไป
    <o:p></o:p>
    ศีล คือรั้วกั้นความเบียดเบียนและทำลายสมบัติร่างกายและจิตใจของกันและกัน ศีลคือพืชแห่งความดีอันยอดเยี่ยมที่ควรมีประจำชาติมนุษย์ ไม่ปล่อยให้สูญหายไปเสีย เพราะมนุษย์ที่ไม่มีศีลเป็นรั้วกั้นและเป็นเครื่องประดับตัวเสียเลย ก็คือกองเพลิงแห่งมนุษย์เราดี ๆ นี่เอง การเบียดเบียนและทำลายกันย่อมมีไปทุกหย่อมหญ้าและทั่วโลกดินแดน ไม่มีเกาะมีดอนพอจะเอาศีรษะซุกนอนให้หลับสนิทได้โดยปลอดภัย แม้โลกจะเจริญด้วยวัตถุจนกองสูงกว่าพระอาทิตย์บนท้องฟ้า แต่ความรุ่มร้อนแผดเผาจะทวีคูณยิ่งกว่าพระอาทิตย์เป็นไหน ๆ โลกจะไม่มีที่ปลงใจได้เลยถ้ายังมัวคิดว่าวัตถุมีคุณค่ายิ่งกว่าศีลธรรมอยู่ เพราะศีลธรรมเป็นสมบัติของจอมมนุษย์ คือพระพุทธเจ้า ผู้ค้นพบและนำมาประดับโลกที่กำลังมืดมัวกลัวทุกข์พอให้สว่างไสวร่มเย็น ควรอาศัยได้บ้างด้วยอำนาจศีลธรรมเป็นเครื่องปัดเป่ากำจัด
    <o:p></o:p>
    ลำพังความคิดของมนุษย์ที่มีกิเลสคิดผลิตอะไรออกมา ทำให้โลกร้อนจะบรรลัยอยู่แล้ว ยิ่งจะปล่อยให้คิดตามอำนาจโดยไม่มีกลิ่นแห่งศีลธรรมช่วยเป็นยาแก้และชะโลมไว้บ้าง ก็น่ากลัวความคิดนั้น ๆ จะผลิตยักษ์ใหญ่ตัวโหดร้ายที่ทรงพิษขึ้นมากี่แสนกี่ล้านตัว ออกเที่ยวหากว้านกินมนุษย์ให้ฉิบหายกันทั้งโลก ไม่มีอะไรเหลืออยู่บ้างเลย ความคิดของคนสิ้นกิเลสที่ทรงคุณอย่างสูงสุดคือพระพุทธเจ้า มีผลให้โลกได้รับความร่มเย็นซาบซึ้ง กับความคิดที่เป็นไปด้วยกิเลสที่มีผลให้ตัวเองและผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนจนจะคาดไม่ถึงนี่แล เป็นความคิดที่ผิดกันอยู่มาก พอจะนำมาเทียบเคียงเพื่อหาทางแก้ไขผ่อนหนักผ่อนเบาลงได้บ้าง ไม่จมไปกับความคิดประเภทนั้นจนหมดทางแก้ไข ศีลจึงเป็นเหมือนยาปราบโรค ทั้งโรคระบาดและโรคเรื้อรัง อย่างน้อยก็พอให้คนไข้ที่สุมด้วยกิเลสกินอยู่หลับนอนได้บ้าง ไม่ถูกบีบคั้นด้วยโรคที่เกิดแล้วไม่ยอมหายนี้ตลอดไป มากกว่านั้นก็หายขาดอยู่สบาย<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟัง

    ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเมตตาสั่งสอนฆราวาสให้รู้คุณของศีล และให้รู้โทษของความไม่มีศีลอย่างถึงใจจริง ๆ ฟังแล้วจับใจไพเราะ แม้ผู้เขียนเองพอได้ทราบว่า ท่านสั่งสอนประชาชนให้เห็นโทษเห็นคุณในศีลอย่างซาบซึ้งจับใจเช่นนั้น ยังเผลอตัวไปว่า “อยากมีศีล ๕ กับเขาบ้าง”ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นตนก็มีศีลอยู่ถึง ๒๒๗ ศีลอยู่แล้ว เพราะความปีติผาดโผนไปบ้างเวลานั้นจึงขาดสติไปพักหนึ่ง พอได้สติขึ้นมาเลยนึกอายตัวเองและไม่กล้าบอกใคร กลัวท่านเหล่านั้นจะหาว่าเราบ้าซ้ำเข้าไปอีก เพราะขณะนั้นเราก็ชักจะบ้า ๆ อยู่บ้างแล้วที่คิดว่าอยากมีศีล ๕ กับฆราวาสเขาโดยไม่คลำดูศีรษะบ้างเลย อย่างนี้แลคนเรา เวลาคิดไปทางชั่วจนถึงกับทำชั่วตามความคิดจริง ๆ ก็คงเป็นไปในลักษณะดังกล่าวมา จึงควรสำเหนียกในความคิดของตนไปทุกระยะ ว่าคิดไปในทางดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด ต้องคอยชักบังเหียนไว้เสมอ ไม่เช่นนั้นมีหวังเลยเถิดได้แน่นอน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลอรรถธรรม รู้จักวิธีปฏิบัติต่อตัวเองและสิ่งทั้งหลาย ไม่ให้จิตผาดโผนโลดเต้นแบบไม่มีฝั่งมีฝา ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้นความคิดฟุ้งของใจให้อยู่ในเหตุผลอันจะเป็นทางแห่งความสงบสุข ใจที่ยังมิได้รับการอบรมจากภาวนาจึงยังเป็นเหมือนสัตว์ที่ยังมิได้รับการฝึกหัดให้ทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ มีจำนวนมากน้อยก็ยังมิได้รับประโยชน์จากมันเท่าที่ควร จำต้องฝึกหัดให้ทำประโยชน์ตามประเภทของมันก่อน ถึงจะได้รับประโยชน์ตามควร ใจจึงควรได้รับการอบรมให้รู้เรื่องของตัวเสียบ้าง จะเป็นผู้ควรแก่การงานทั้งหลาย ทั้งส่วนหยาบส่วนละเอียด ทั้งส่วนเล็กส่วนใหญ่ ทั้งภายในภายนอก ผู้มีภาวนาเป็นหลักใจจะทำอะไรชอบใช้ความคิดอ่านเสมอ ไม่ค่อยเอาตัวเข้าไปเสี่ยงต่อการกระทำที่ไม่แน่ใจ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายแก่ตนและผู้เกี่ยวข้องตลอดส่วนรวมเมื่อผิดพลาดลงไป การภาวนาจึงเป็นงานเพื่อผลในปัจจุบันและอนาคต ไม่เสียประโยชน์ทั้งสองทาง ประโยชน์สำคัญคือประโยชน์เฉพาะหน้า ที่เรียกว่า ทิฏฐธรรมมิกัตถประโยชน์
    <o:p></o:p>
    การงานทุกชนิดที่ทำด้วยใจของผู้มีภาวนา จะสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย ขณะที่ทำก็ไม่ทำแบบขอไปที แต่ทำด้วยความใคร่ครวญ และเล็งถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากงานเมื่อสำเร็จลงไปแล้ว จะไปมาในทิศทางใดจะทำอะไร ย่อมเล็งถึงผลได้เสียเกี่ยวกับการนั้น ๆ เสมอ การปกครองตนก็สะดวก ไม่ฝ่าฝืนตัวเองซึ่งเป็นผู้มีหลักเหตุผลอยู่แล้ว ถือหลักความถูกต้องเป็นเข็มทิศทางเดินของกาย วาจา ใจประจำตัว ไม่ยอมเปิดช่องให้ความอยากอันไม่มีขอบเขตเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะความอยากไป อยากมา อยากทำ อยากพูด อยากคิด ที่เคยเป็นมาดั้งเดิม เป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา ซึ่งไม่เคยสนใจต่อความผิดถูกดีชั่วเสียมากต่อมาก และพาเราเสียไปจนนับไม่ถ้วนประมาณไม่ถูก จะเอาโทษกับมันก็ไม่ได้ นอกจากยอมให้เสียไปอย่างน่าเสียดาย แล้วพยายามแก้ตัวใหม่เท่านั้นเมื่อยังมีสติอยู่บ้างพอจะหักล้างกันได้ ถ้าไม่มีสติพอระลึกบ้างเลยแล้ว ทั้งของเก่าก็เสียไป ทั้งของใหม่ก็พลอยจมไปด้วย ไม่มีวันกลับฟื้นคืนตัวได้เลย นี่แลเรื่องของกิเลส ต้องพาให้เสียหายเรื่อยไป ฉะนั้นการภาวนาจึงเป็นเครื่องหักล้างความลามกไม่มีเหตุผลของตนได้ดี แต่วิธีภาวนานั้นรู้สึกลำบากอยู่บ้าง เพราะเป็นการบังคับใจซึ่งเหมือนบังคับลิงให้อยู่เชื่อง ๆ พองามตาบ้าง ย่อมเป็นของลำบากฉะนั้น<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิธีภาวนาก็คือวิธีสังเกตตัวเองนั่นแล คือสังเกตจิตที่มีนิสัยหลุกหลิกเหมือนถูกไฟหรือน้ำร้อนลวก ไม่อยู่เป็นปกติสุข ด้วยสติตามระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของจิต โดยมีธรรมบทใดบทหนึ่งเป็นคำบริกรรม เพื่อเป็นยารักษาจิตให้ทรงตัวอยู่ได้ด้วยความสงบสุขในขณะภาวนา ตามที่นิยมใช้กันมากและได้ผลดีก็มีอานาปานสติบ้าง พุทโธบ้าง ธัมโมบ้าง สังโฆบ้าง มรณานุสสติบ้าง หรือเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ โดยอนุโลม ปฏิโลมบ้าง หรือใช้บริกรรมเฉพาะบทใดบทหนึ่งบ้าง พยายามบังคับใจให้อยู่กับอารมณ์แห่งธรรมบทที่นำมาบริกรรมขณะภาวนา ใจที่อาศัยบทธรรมอันเป็นอารมณ์ที่ให้คุณ ไม่เป็นภัยแก่จิตใจ ย่อมจะเกิดความสงบสุขขึ้นมาในขณะนั้น ที่เรียกว่าจิตสงบ หรือจิตรวมเป็นสมาธิ คือความมั่นคงต่อตัวเอง ไม่อาศัยธรรมบทใด ๆ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในเวลานั้น เพราะจิตมีกำลังพอดำรงตนอยู่โดยอิสระได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    คำบริกรรมที่เคยนำมากำกับใจ ก็ระงับกันไปชั่วขณะที่จิตปล่อยอารมณ์เข้าพักสงบตัว ต่อเมื่อถอนขึ้นมา ถ้ามีเวลาทำต่อไปอีกก็นำคำบริกรรมที่เคยกำกับมาบริกรรมต่อไป พยายามทำอย่างนี้เสมอด้วยความใฝ่ใจไม่ลดละความเพียร จิตที่เคยทำบาปหาบทุกข์อยู่เสมอก็จะค่อยรู้สึกตัวและปล่อยวางไปเป็นลำดับ และมีความสนใจหนักแน่นในหน้าที่ของตนเป็นประจำ ไม่ถูกบังคับถูไถเหมือนขั้นเริ่มแรก ซึ่งเป็นขั้นกำลังฝึกหัด จิตที่สงบตัวลงเป็นสมาธิ เป็นจิตที่มีความสุขเย็นใจมากและจำไม่ลืม ถ้าได้ปรากฏขึ้นเพียงครั้งเดียว ย่อมเป็นเครื่องปลุกใจให้ตื่นตัวและตื่นใจได้อย่างน่าประหลาด หากไม่ปรากฏอีกในวาระต่อไปทั้งที่ภาวนาอยู่ในใจ จะเกิดความเสียดายอย่างบอกไม่ถูก อารมณ์แห่งความติดใจและความเสียดายในจิตประเภทนั้นจะฝังใจไปนาน นอกจากจิตจะเจริญก้าวหน้าขึ้นสู่ความสงบสุขอันละเอียดไปเป็นลำดับเท่านั้น จิตถึงจะลืมและเพลินในธรรมขั้นสูงเรื่อยไป ไม่มาเกี่ยวข้องเสียดายจิตและความสงบที่เคยผ่านมาแล้ว
    <o:p></o:p>
    แต่เมื่อพูดถึงการภาวนาแล้ว ท่านผู้อ่านอาจจะรู้สึกเหงาหงอยน้อยใจและอ่อนเปียกไปทั้งร่างกายและจิตใจ ว่าตนมีวาสนาน้อย ทำไม่ไหว เพราะคิดว่ากิจการยุ่งยากทั้งภายในบ้านและนอกบ้านตลอดงานสังคมต่าง ๆ ลูกหลานก็มีหลายคนล้วนแต่ต้องเป็นธุระในการเลี้ยงดู จะมัวมานั่งหลับตาภาวนาอยู่เห็นจะไม่ทันอยู่ทันกินกับโลกเขา ต้องอดตายแน่ ๆ แล้วทำให้เกิดความอิดหนาระอาใจไม่อยากทำ ประโยชน์ที่ควรได้เลยผ่านไป ความคิดเช่นนั้นเป็นความคิดที่เคยฝังนิสัยมาดั้งเดิม และอาจเป็นความคิดที่คอยกีดกันทางเดินเพื่อการระบายคลายทุกข์ทางใจไปเสีย ถ้าไม่พยายามคิดแก้ไขเสียแต่บัดนี้เป็นต้นไป
    <o:p></o:p>
    แท้จริงการภาวนา คือวิธีการแก้ความยุ่งยากและความลำบากทางใจทุกประเภท ที่เคยรับภาระอันหนักหน่วงมานานให้เบาลงและหมดสิ้นไป เหมือนอุบายอื่น ๆ ที่เราเคยนำมาแก้ไขไล่ทุกข์ออกจากตัวเหมือนที่โลกทำกันมานั่นเอง เช่น เวลาร้อนต้องแก้ด้วยวิธีอาบน้ำ เวลาหนาวแก้ด้วยวิธีห่มผ้าหรือผิงไฟ หรือด้วยวิธีอื่น ๆ เวลาหิวกระหายแก้ด้วยวิธีรับประทานและดื่ม เวลาเป็นไข้ก็แก้ด้วยวิธีรับประทานหรือฉีดยาที่จะยังโรคให้สงบและหายไป ซึ่งล้วนเป็นวิธีการที่โลกเคยทำตลอดมาถึงปัจจุบัน โดยไม่มีการผัดเพี้ยนเลื่อนเวลา ว่ายังยุ่งยากยังลำบาก และขัดสนจนใจใด ๆ ทั้งนั้น ทุกชาติชั้นวรรณะจำต้องปฏิบัติกันทั่วโลก แม้แต่สัตว์ก็ยังต้องอาศัยการเยียวยารักษาตัว ดังที่เราเห็นเขาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เพื่อผ่อนคลายระบายทุกข์ไปวันหนึ่ง ๆ พอยังชีวิตให้เป็นไปตลอดกาลของเขา ล้วนเป็นวิธีการแก้ไขและรักษาตัวแต่ละอย่าง ๆ<o:p></o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การอบรมใจด้วยภาวนาก็เป็นวิธีหนึ่งแห่งการรักษาตัว วิธีนี้ยิ่งเป็นงานสำคัญที่ควรสนใจเป็นพิเศษ เพราะเป็นวิธีที่เกี่ยวกับจิตใจผู้เป็นหัวหน้างานทุกด้านโดยตรง งานอะไรเรื่องอะไรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัว จิตจำต้องเป็นตัวการอย่างแยกไม่ออก ที่จะต้องเข้ารับภาระแบกหามโดยไม่คำนึงถึงความหนักเบา และชนิดของงานว่าเป็นงานชนิดใด จะพอยกไหวไหม แต่จิตต้องเข้ารับภาระทันที ดีหรือชั่วผิดหรือถูกไม่ค่อยสนใจคิด แม้งานหรือเรื่องจะหนักเบาเศร้าโศกเพียงใด ซึ่งบางเรื่องแทบจะคว้าเอาชีวิตไปด้วยในขณะนั้น แม้เช่นนั้นใจยังกล้าเอาตัวเข้าไปเสี่ยงและแบกหามจนได้ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นจะตายเพราะเหลือบ่ากว่าแรง มิหนำยังหอบเอาเรื่องมาคิดเป็นการบ้านอยู่อีก จนแทบนอนไม่หลับ รับประทานไม่ได้ ก็ยังมีในบางครั้ง คำว่าหนักเกินไปยกไม่ไหว เพราะเกินกว่ากำลังใจจะคิดและต้านทานนั้นเป็นไม่มี มีแต่จะสู้เอาท่าเดียว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    งานทางกายยังมีเวลาพักผ่อน และยังรู้ประมาณว่าควรหรือไม่ควรแก่กำลังของตนเพียงใด ส่วนงานทางใจไม่มีวันเวลาได้พักผ่อนเอาเลย จะมีพักอยู่บ้างเล็กน้อยก็ขณะหลับนอนเท่านั้น แม้เช่นนั้นจิตยังอุตส่าห์ทำงานด้วยการละเมอเพ้อฝันต่อไปอีก และไม่รู้จักประมาณว่าเรื่องต่างๆ นั้นควรหรือไม่ควรแก่กำลังของใจเพียงใด เมื่อเกิดเป็นอะไรขึ้นมาก็ทราบแต่เพียงว่าทุกข์เหลือทน แต่ไม่ทราบว่าทุกข์เพราะงานหนักและเรื่องเผ็ดร้อนเหลือกำลังที่ใจจะสู้ไหว จึงควรให้นามว่า “ใจคือนักต่อสู้”เพราะดีก็สู้ ชั่วก็สู้ สู้จนไม่รู้จักหยุดยั้งไตร่ตรอง
    <o:p></o:p>
    อารมณ์ชนิดใดผ่านมาต้องสู้ และสู้แบบรับเหมา ไม่ยอมให้อะไรผ่านหน้าไปได้ จิตเป็นเช่นนี้แลจึงสมนามว่านักต่อสู้ เพราะสู้จนไม่รู้จักตายถ้ายังครองร่างอยู่ และไม่ได้รับการแก้ไข ก็ต้องเป็นนักต่อสู้เรื่อยไปชนิดไม่มีวันปลงวางภาระลงได้ หากปล่อยให้เป็นไปตามชอบของใจที่ไม่รู้ประมาณ โดยไม่มีธรรมเครื่องยับยั้งบ้าง คงไม่มีเวลาได้รับความสุขแม้สมบัติจะมีเป็นก่ายกอง เพราะนั้นมิใช่กองแห่งความสุข แต่กลับเป็นกองส่งเสริมทุกข์สำหรับใจที่ไม่มีเรือนพักคือธรรมภายในใจ

    นักปราชญ์ท่านกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า ธรรมแลเป็นเครื่องปกครองทรัพย์สมบัติและปกครองใจ ถ้าใจมีธรรมมากน้อย ผู้นั้นแม้มีทรัพย์สมบัติมากน้อยย่อมจะมีความสุขพอประมาณ ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว ลำพังความอยากของใจ จะพยายามหาทรัพย์ให้ได้กองเท่าภูเขาก็ยังหาความสุขไม่เจอ เพราะนั้นเป็นเพียงเครื่องอาศัยของกายและใจ ผู้ฉลาดหาความสุขใส่ตัวเท่านั้น ถ้าใจไม่ฉลาดด้วยธรรม ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียวจะไปอยู่โลกใดและกองสมบัติใด ก็เป็นเพียงโลกเศษเดนและกองสมบัติเศษเดนอยู่เท่านั้น ไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใจเลยแม้นิด ความสมบุกสมบัน ความรับทุกข์ทรมาน ความอดทนและความทนทานต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่าง ๆ ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง ใจจะกลายเป็นของประเสริฐขึ้นมาให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจและอิ่มพอต่อเรื่องทั้งหลายทันที <o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การใช้งานจิตนับแต่วันเกิดจนบัดนี้ รู้สึกว่าใช้เอาอย่างไม่มีปรานีปราศรัย ถ้าเป็นเครื่องใช้ชนิดต่าง ๆ มีรถราเป็นต้น จะเป็นอย่างไรบ้าง ไม่ควรพูดถึงการนำเข้าอู่ซ่อม แต่ควรพูดถึงความแหลกยับเยินของรถจนกลายเป็นเศษเหล็กไปนานแล้วจะเหมาะสมกว่า นี่แลทุกสิ่งเมื่อมีการใช้ต้องมีการบูรณะซ่อมแซม มีการเก็บรักษา ถึงจะพอมีทางอำนวยประโยชน์ต่อไป จิตเป็นสมบัติสำคัญมากในตัวเราที่ควรได้รับการเหลียวแล ด้วยวิธีเก็บรักษาเช่นเดียวกับสมบัติทั่วไป วิธีที่ควรแก่จิตโดยเฉพาะก็คือภาวนาวิธีดังที่อธิบายมาบ้างแล้ว ผู้สนใจในความรับผิดชอบต่อจิตอันเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งของตน จึงควรปฏิบัติรักษาจิตด้วยวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม คือฝึกหัดภาวนาในโอกาสอันควร เพื่อเป็นการตรวจตราดูเครื่องเคราของรถคือจิต ว่ามีอะไรบกพร่องและเสียไปบ้าง จะได้นำเข้าโรงซ่อมสุขภาพทางจิต

    คือนั่งพินิจพิจารณาดูสังขารภายใน คือความคิดปรุงของใจ ว่าคิดอะไรบ้างในวันและเวลาหนึ่ง ๆ พอมีสารประโยชน์บ้างไหม หรือพยายามคิดแส่หาแต่เรื่อง หาแต่โทษ และขนทุกข์มาเผาลนเจ้าของอยู่ทำนองนั้น พอให้รู้ความผิดถูกของตัวบ้าง และพิจารณาสังขารภายนอก คือร่างกายของเรา ว่ามีความเจริญขึ้นหรือเจริญลงในวันและเวลาหนึ่ง ๆ ที่ผ่านไปจนกลายเป็นปีเก่าและปีใหม่ผลัดเปลี่ยนกันไปไม่มีที่สิ้นสุด สังขารร่างกายเรามีอะไรใหม่ขึ้นบ้างไหม หรือมีแต่ความเก่าแก่และคร่ำคร่าชราหลุดลงไปทุกวัน ซึ่งพอจะนอนใจกับเขาละหรือ จึงไม่พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอทำได้ เวลาตายแล้วจะเสียการ นี่คือการภาวนา การภาวนาคือวิธีเตือนตนสั่งสอนตน ตรวจตราดูความบกพร่องของตนว่าควรจะแก้ไขจุดใดตรงไหนบ้าง <O:p

    ผู้ใช้ความพิจารณาอยู่ทำนองนี้เรื่อย ๆ ด้วยวิธีสมาธิภาวนาบ้าง ด้วยการรำพึงในอิริยาบถต่าง ๆ บ้าง ใจจะสงบเยือกเย็น ไม่ลำพองผยองตัวและคว้าทุกข์มาเผาลนตัวเอง เป็นผู้รู้จักประมาณ ทั้งหน้าที่การงานที่พอเหมาะพอดีแก่ตัว ทั้งทางกายและทางใจ ไม่ลืมตัวมั่วสุมในสิ่งที่เป็นหายนะต่าง ๆ คุณสมบัติของผู้ภาวนานี้มีมากมายไม่อาจพรรณนาให้จบสิ้นลงได้ แต่ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมิได้อธิบายลึกซึ้งมากไปกว่าฐานะของฆราวาสที่มารับการอบรม ผิดกับท่านอธิบายให้พระเณรฟังอยู่มาก เท่าที่เขียนตามท่านอธิบายไว้พอหอมปากหอมคอนี้ ก็ยังอาจมีบทที่รู้สึกว่าเปรี้ยวจัดเค็มจัดแฝงอยู่บ้างตามทรรศนะของนานาจิตตัง จะให้เป็นแบบเดียวกันย่อมไม่ได้ <O:p

    เท่าที่ได้พยายามตะเกียกตะกายนำมาลง ก็เพื่อท่านผู้อ่านได้ช่วยติชมพอเป็นยาอายุวัฒนะ ผิดถูกประการใดโปรดได้ตำหนิผู้นำมาเขียน กรุณาอย่าได้สนใจกับท่านผู้เป็นเจ้าของประวัติ เพราะท่านมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย เวลาแสดงธรรมขั้นสูงท่านก็แสดงเป็นการภายในเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเท่านั้น แต่ผู้เขียนคะนองไปเอง ใจและมือไม่อยู่เป็นสุข ไปเที่ยวซอกแซกบันทึกเอาจากปากคำของพระอาจารย์ทั้งหลายที่เป็นลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งเคยอยู่กับท่านมาเป็นคราว ๆ ในสมัยนั้น ๆ แล้วนำมาลงเพื่อท่านผู้อ่านได้ทราบปฏิปทาการดำเนินของท่านบ้างแม้ไม่สมบูรณ์ เพราะปฏิปทาท่านปรากฏว่าเด็ดเดี่ยวอาจหาญมาก แทบจะพูดได้ว่าไม่มีท่านผู้ใดบรรดาลูกศิษย์ที่เคยพึ่งร่มเงาแห่งบารมีท่านมา จะสามารถปฏิบัติเด็ดเดี่ยวต่อธุดงควัตรและจริยธรรมทั้งหลายอย่างสม่ำเสมอเหมือนท่าน สำหรับองค์ท่าน ทั้งข้อปฏิบัติ ทั้งความรู้ภายในใจ นับว่าเป็นเยี่ยมในสมัยปัจจุบัน ยากจะหาผู้เสมอเหมือนได้<O:p
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แถบจังหวัดอุดร และหนองคาย ตามในป่า ชายเขา และบนเขาที่ท่านพักอยู่ ท่านเล่าว่าพวกเทพฯ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างมาเยี่ยมฟังธรรมท่านเป็นคราว ๆ ครึ่งเดือนบ้าง หนึ่งเดือนบ้างมาหนหนึ่ง ไม่บ่อยนักเหมือนจังหวัดเชียงใหม่ แต่จะเขียนต่อเมื่อประวัติท่านดำเนินไปถึง ระยะนี้ขอดำเนินเรื่องไปตามลำดับเพื่อไม่ให้ก้าวก่ายกัน ท่านเคยไปพักบำเพ็ญเพียรอยู่ชายเขาฝั่งไทยตะวันตกเมืองหลวงพระบาง นานพอสมควร ท่านเล่าว่าที่ใต้ชายเขาลูกนั้นมีเมืองพญานาคตั้งอยู่ใหญ่โตมาก หัวหน้าพญานาคพาบริวารมาฟังธรรมท่านเสมอ และมากันมากมายในบางครั้ง พวกนาคไม่ค่อยมีปัญหามากเหมือนพวกเทวดา พวกเทวดาทั้งเบื้องบนเบื้องล่างมักมีปัญหามากพอ ๆ กัน ส่วนความเลื่อมใสในธรรมนั้นมีพอ ๆ กัน ท่านพักอยู่ชายเขาลูกนั้น พญานาคมาเยี่ยมท่านแทบทุกคืนและมีบริวารติดตามมาไม่มากนัก นอกจากจะพามาเป็นพิเศษ ถ้าวันไหนพญานาคจะพาบริวารมามาก ท่านก็ทราบได้ล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านว่าท่านพักอยู่ที่นั้นเป็นประโยชน์แก่พวกนาคและพวกเทวดาโดยเฉพาะ ไม่ค่อยเกี่ยวกับประชาชนนัก พวกนาคมาเยี่ยมท่านไม่มาตอนดึกนัก ท่านว่าอาจจะเป็นเพราะที่ที่พักสงัดและอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านก็ได้ พวกนาคจึงพากันมาเยี่ยมเฉพาะที่นั้นราว ๒๒–๒๓ นาฬิกา คือ ๔-๕ ทุ่ม ส่วนที่อื่น ๆ มาดึกกว่านั้นก็มี เวลาขนาดนั้นก็มี พญานาคอาราธนานิมนต์ท่านให้อยู่ที่นั่นนาน ๆ เพื่อโปรดเขา เขาเคารพเลื่อมใสท่านมาก และจัดให้บริวารมารักษาท่านทั้งกลางวันและกลางคืน โดยผลัดเปลี่ยนวาระกันมามิได้ขาด แต่เขามิได้มาอยู่ใกล้นัก อยู่ห่าง ๆ พอทราบและรักษาเหตุการณ์เกี่ยวกับท่านได้สะดวก ส่วนพวกเทพฯ โดยมากมักมาดึกกว่าพวกนาค คือ ๒๔ นาฬิกาหรือตี ๑ ตี ๒ ถ้าอยู่ในเขาห่างไกลจากหมู่บ้าน พวกเทพฯ ก็มีมาแต่วัน ราว ๒๒–๒๓ นาฬิกาอยู่บ้างจึงไม่แน่นัก แต่โดยมากนับแต่เที่ยงคืนขึ้นไป พวกเทพฯ ชอบมากันเป็นนิสัย<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ข้อวัตรประจำองค์ท่านโดยเฉพาะในมัชฌิมวัย

    ข้อวัตรประจำองค์ท่านโดยเฉพาะในมัชฌิมวัย หลังจังหันเสร็จแล้วเข้าทางจงกรมจวนเที่ยงหรือเที่ยงวันเข้าที่พักกลางวันเล็กน้อย หลังจากพักก็เข้าที่ทำสมาธิภาวนาราวชั่วโมงครึ่ง จากนั้นลงเดินจงกรม จนถึงเวลาบ่าย ๔ โมงปัดกวาดลานวัดหรือที่พัก เสร็จแล้วสรงน้ำ แล้วเข้าทางจงกรมอีก จนถึงเวลา ๑-๒ ทุ่มเข้าที่พักทำสมาธิภาวนาต่อไป ถ้าเป็นหน้าฝนหรือหน้าแล้ง คืนที่ฝนไม่ตกท่านยังลงมาเดินจงกรมอีกจนดึกดื่น ถึงจะขึ้นกุฏิหรือเข้าที่พัก ซึ่งเป็นร้านเล็ก ๆ ถ้าเห็นว่าดึกมากไปท่านก็เข้าพักจำวัด ปกติท่านพักจำวัดราว ๒๓ นาฬิกา คือ ๕ ทุ่ม ไปตื่นเอาตี ๓ คือ ๙ ทุ่ม ถ้าวันใดจะมีแขกเทพฯ มาเยี่ยมฟังธรรม ซึ่งปกติท่านต้องทราบไว้ล่วงหน้าในตอนเย็นก่อนแล้วทุกครั้ง วันนั้นถ้าเขาจะมาดึกท่านก็รีบพักเสียก่อน ถ้าจะมาราว ๕ ทุ่ม หรือเที่ยงคืนก็เข้าที่รอรับพวกเทพฯ อย่างนี้เป็นประจำ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านไปพักบำเพ็ญในที่บางแห่ง บางคืนมีทั้งพวกเทพฯ เบื้องบนและเทพฯเบื้องล่างจะมาเยี่ยมท่านในเวลาเดียวกันก็มี ถ้าเป็นอย่างนี้ ท่านต้องย่นเวลาคือรับแขกเทพฯ พวกมาถึงก่อนแต่น้อย แสดงธรรมให้ฟังและแก้ปัญหาเท่าที่จำเป็น แล้วก็บอกชาวเทพฯ ที่มาก่อนให้ทราบว่า ถัดจากนี้ไปจะมีชาวเทพฯมาฟังธรรมและถามปัญหาอีก พวกที่มาก่อนก็รีบลาท่านกลับไป พวกมาทีหลังซึ่งรออยู่ห่าง ๆ พอไม่ให้เสียมารยาทความเคารพก็พากันเข้ามา ท่านก็เริ่มแสดงธรรมให้ฟัง ตามแต่บาทคาถาที่ท่านกำหนดในขณะนั้นจะผุดขึ้นมา ซึ่งพอเหมาะกับจริตนิสัยและภูมิของเทพฯ พวกนั้น ๆ บางทีหัวหน้าเทพฯ ก็แสดงความประสงค์ขึ้นเสียเองว่าขอฟังธรรมนั้น ท่านก็เริ่มกำหนด พอธรรมนั้นผุดขึ้นมาก็เริ่มแสดงให้พวกเทพฯ ฟัง
    <o:p></o:p>
    ในบางครั้งหัวหน้าเทพฯ ขอฟังธรรมประเภทนั้น ท่านสงสัยต้องถามเขาก่อนว่าธรรมนั้นชื่ออะไรในสมัยนี้ เพราะชื่อธรรมที่พวกเทพฯ เคยนับถือกันมาดั้งเดิมแต่สมัยโน้นกับชื่อธรรมในสมัยนี้ต่างกันในบางสูตรบางคัมภีร์ เขาก็บอกว่าอย่างนั้นในสมัยนี้ แต่สมัยโน้นซึ่งพวกเทพฯ นับถือกันมาชื่อว่าอย่างนั้น บางครั้งถ้าสงสัยท่านก็กำหนดเอง ยอมเสียเวลาเล็กน้อย บางครั้งก็ถามเขาเลยทีเดียว แต่บางครั้งพอเขาขอฟังธรรมสูตรนั้นหรือคัมภีร์นั้น ซึ่งเป็นสูตรหรือคัมภีร์ที่ท่านเคยรู้อยู่แล้ว นึกว่าเป็นความนิยมในชื่ออันเดียวกัน ท่านเลยไม่ต้องกำหนดพิจารณาต่อไป เพราะเข้าใจว่าตรงกันกับที่เขาขอ ท่านเริ่มแสดงไปเลย พอแสดงขึ้นเขารีบบอกทันทีว่าไม่ใช่ ท่านยกสูตรหรือคัมภีร์ผิดไป ต้องขึ้นคาถาว่าอย่างนั้นถึงจะถูก อย่างนี้ก็เคยมี
    <o:p></o:p>
    ท่านว่าพอโดนเข้าครั้งหนึ่งสองครั้งก็จำได้เอง จากนั้นท่านต้องกำหนดให้แน่ใจเสียก่อนว่าตรงกับมนุษย์และเทวดานิยมใช้ตรงกันหรือเปล่า ค่อยเริ่มแสดงต่อไป บางวันพวกเทพฯเบื้องบนบ้าง เบื้องล่างบ้าง พวกใดพวกหนึ่งจะมาเยี่ยมฟังธรรมกับท่านในเวลาเดียวกันกับพวกพญานาคจะมาก็มี เช่นเดียวกับแขกมนุษย์เรามาเยี่ยมครูอาจารย์ในเวลาเดียวกันฉะนั้น แต่นาน ๆ มีครั้ง ในกรณีเช่นนี้ เมื่อเขามาในเวลาตรงกันบ่อย ๆ เข้า ท่านจำต้องตกลงกับเทพฯ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างว่าพวกนี้ให้มาในเวลาเท่านั้น พวกนั้นให้มาในเวลาเท่านั้น และพวกนาคให้มาในเวลาเท่านั้น เพื่อความสะดวกทั้งฝ่ายพระฝ่ายเทพฯ และฝ่ายนาคทั้งหลาย<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตามท่านเล่าว่า ท่านไม่ค่อยมีเวลาว่างเท่าไรนัก แม้จะไปอยู่ในป่าในเขาลึก ๆ ก็จำต้องปฏิบัติต่อพวกเทพฯ ซึ่งมาจากเบื้องบนชั้นต่าง ๆ และมาจากเบื้องล่างในที่ต่าง ๆ กันอยู่นั่นเอง ในคืนหนึ่งพวกหนึ่งชั้นหนึ่งไม่มา ก็ต้องมีอีกพวกหนึ่งอีกชั้นหนึ่ง และพวกรุกขเทพฯ ที่ใดที่หนึ่งมากันจนได้ จึงไม่ค่อยมีเวลาว่างในเวลากลางคืน แต่ที่เช่นนั้นมนุษย์ไม่ค่อยมี ถ้าลงมาพักใกล้บ้านใกล้เมืองก็เป็นชาวมนุษย์จากที่ต่าง ๆ มาเยี่ยม แต่ต้องต้อนรับเวลากลางวัน ตอนบ่ายหรือตอนเย็น จากนั้นก็อบรมพระเณรต่อไป
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขณะที่จะเขียนประวัติของชาวมนุษย์เราในอันดับต่อจากชาวเทพฯที่มาเกี่ยวข้องกับท่านซึ่งผู้เขียนมีส่วนได้เสียรวมอยู่ด้วย เพราะความเป็นมนุษย์ปุถุชนด้วยกัน จึงต้องขออภัยท่านผู้อ่านมาก ๆ หากเป็นการไม่งามและไม่สมควรประการใดในเนื้อหาต่อไปนี้ เพราะความจำเป็นที่จำต้องเขียนตามความจริงที่ท่านเล่าให้ฟังเป็นการภายในโดยเฉพาะ แต่ผู้เขียนมีนิสัยไม่ดีประจำตัวที่แก้ไม่ตกในบางกรณี ดังเรื่องที่จะเขียนต่อไปนี้ ทั้งนี้เพื่อจะได้นำมาเทียบเคียงกันระหว่างชาวมนุษย์กับชาวเทพฯ และถือเอาประโยชน์เท่าที่ควร จึงขออภัยอีกครั้ง
    <o:p></o:p>
    ท่านเล่าว่า การติดต่อและแสดงธรรมระหว่างมนุษย์กับเทวดารู้สึกต่างกันอยู่มาก คือเวลาแสดงธรรมให้เทวดาฟัง ไม่ว่าเบื้องบน เบื้องล่าง หรือรุกขเทวดา พวกนี้ฟังเข้าใจง่ายกว่ามนุษย์เราหลายเท่า พอแสดงธรรมจบลง เสียงสาธุการ ๓ ครั้ง กระเทือนโลกธาตุ ขณะที่พวกเทพฯ ทุกชั้นทุกภูมิมาเยี่ยมก็มีความเคารพพระอย่างยิ่ง ไม่เคยเห็นพวกเทพฯ แม้รายหนึ่งแสดงอาการไม่ดีไม่งามภายในใจ ทุกอาการของพวกเทพฯ อ่อนนิ่มเหมือนผ้าพับไว้เสมอกันในขณะนั้น ขณะที่มาก็ดี ขณะนั่งฟังธรรมก็ดี ขณะจะจากไปก็ดี เป็นความสงบเรียบร้อยและสวยงามไปตลอดสาย แต่เวลาแสดงธรรมให้ชาวมนุษย์ฟังกลับไม่เข้าใจกัน แม้อธิบายซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ นอกจากไม่เข้าใจแล้ว ยังคิดตำหนิผู้แสดงอยู่ภายในอีกด้วยว่าเทศน์อะไรฟังไม่รู้เรื่องเลย สู้องค์นั้นไม่ได้ สู้องค์นี้ไม่ได้
    <o:p></o:p>
    บางรายยังอดจะเอากิเลสหยาบ ๆ อยู่ภายในของตัวออกอวดไม่ได้ว่า สมัยเราบวชยังเทศน์เก่งกว่านี้เป็นไหน ๆ คนฟังฮากันตึง ๆ ด้วยความเพลิดเพลิน ไม่มีการง่วงเหงาหาวนอนเลย ยิ่งเทศน์โจทก์สองธรรมาสน์ด้วยแล้ว คนฟังหัวเราะกันไม่ได้หุบปากตลอดกัณฑ์ บางรายก็คิดในใจว่า คนเล่าลือกันว่าท่านเก่งมากทางรู้วาระน้ำจิตคน ใครคิดอะไรขึ้นมาท่านรู้ได้ทันที แต่เวลาเราคิดอะไร ๆ ท่านไม่เห็นรู้บ้างเลย ถ้ารู้ก็ต้องแสดงออกบ้าง ถ้าไม่แสดงออกตรง ๆ ต่อหน้าผู้กำลังคิด ก็ควรพูดเป็นอุบายเปรียบเปรยว่า นาย ก. นาย ข.ไม่ควรคิดเช่นนั้น ๆ มันผิด ควรเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ดังนี้ พอจะจับเงื่อนได้ว่าผู้รู้หัวใจคนจริงสมคำเล่าลือ บางรายเตรียมตัวจะมาจับผิดจับพลาดด้วยความอวดตัวว่าฉลาดอย่างพอตัว ผู้นั้นไม่มีความสนใจต่อธรรมเอาเลย แม้จะแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟังด้วยวิธีใด ๆ ที่เขานั่งฟังอยู่ด้วยในขณะนั้น ก็เป็นเหมือนเทน้ำใส่หลังหมานั่นเอง มันสลัดทิ้งหมดทันที ไม่มีน้ำเหลืออยู่บนหลังแม้หยดเดียว ว่าแล้วท่านก็หัวเราะ อาจจะขบขันในใจอยู่บ้าง ที่นาน ๆ ท่านจะได้พบมนุษย์ที่ฉลาดสักครั้งหนึ่ง แล้วก็เล่าต่อไป <o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เวลามาต่างก็แบกทิฐิมานะมาจนจะเดินแทบไม่ไหว เพราะหนักมากเกินกว่าแรงมนุษย์ทั้งคนจะแบกหามได้ ในตัวทั้งหมดปรากฏว่ามีแต่ทิฐิมานะตัวเป้ง ๆ ทั้งนั้น ไม่ใช่ของเล่น มองดูแล้วน่ากลัวยิ่งกว่าที่จะน่าสงสารและคิดแสดงธรรมให้ฟัง แต่ก็จำต้องแสดงเพื่อสังคม ถูไถกันไปอย่างนั้นแล ธรรมก็ไม่ทราบว่าหายไปไหนหมด คิดหาแต่ละบทละบาทก็ไม่เห็นมีแสดงขึ้นมาบ้างเลย เข้าใจว่าธรรมจะสู้ตัวเป้ง ๆ ไม่ไหวเลยวิ่งหนีหมด ยังเหลือแต่ตัวเปล่าที่เป็นเหมือนตุ๊กตา ซึ่งกำลังถูกเหล็กแหลมทิ่มแทงอยู่อย่างไม่มีใครสนใจว่าจะมีความรู้สึกอย่างไรเวลานั้น ที่เขาตำหนิก็ถูกของเขา เพราะบางครั้งเราก็ไม่มีธรรมโผล่หน้าขึ้นมาเพื่อให้แสดงบ้างเลยจริง ๆ มีแต่นั่งอยู่เหมือนหัวตอ จะได้อรรถได้ธรรมมาจากไหน แล้วท่านก็หัวเราะไปพลางเล่าไปพลาง ผู้นั่งฟังอยู่ด้วยกันหลายคนในขณะนั้น บางรายก็เกิดตัวสั่นขึ้นมาเอาเฉย ๆ แต่หาไข้ไม่เจอหาหนาวไม่เจอ เพราะไม่ใช่หน้าหนาว เลยพากันเดาเอาเองว่าคงเป็นเพราะความกลัวนั่นเอง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านว่าถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่เทศน์ เพราะการเทศน์เป็นเหมือนโปรยยาพิษทำลายคนผู้ไม่มีความเคารพอยู่ภายใน ส่วนธรรมนั้นยกไว้ว่าเป็นธรรมที่เยี่ยมยอดจริง ๆ มีคุณค่ามหาศาลสำหรับผู้ตั้งใจและมีเมตตาเป็นธรรม ไม่อวดรู้อวดฉลาดเหนือธรรม ตรงนี้แลที่สำคัญมาก และทำให้เป็นยาพิษเผาลนเจ้าของผู้ก่อเหตุโดยไม่รู้สึกตัว ผู้ไม่ก่อเหตุ ผลจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ขณะนั่งฟังอยู่ด้วยกันหลายคน ผู้ร้อน ๆ จนจะละลายตายไปก็มี ผู้เย็น ๆ จนตัวจะเหาะลอยขึ้นบนอากาศก็มี มันผิดกันที่ใจดวงเดียวนี้เท่านั้น นอกนั้นไม่สำคัญ เราจะพยายามอนุเคราะห์เขาเพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบาบ้างก็ไม่มีทาง เมื่อใจไม่ยอมรับแล้วแม้จะพยายามคิดว่า ถ้าไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่อยากให้เกิดโทษ แต่ก็ปิดไม่อยู่ เพราะผู้คอยจะสร้างบาปสร้างกรรมนั้นเขาสร้างอยู่ตลอดเวลา แบบไม่สนใจกับใครและอะไรทั้งนั้น
    <o:p></o:p>
    การเทศน์สั่งสอนมนุษย์นับว่ายากอยู่ไม่น้อย เวลาเขามาหาเราซึ่งไม่กี่คน แต่โดยมากต้องมียาพิษแอบติดตัวมาจนได้ไม่มากก็พอให้รำคาญใจได้ ถ้าเราจะสนใจรำคาญอย่างโลก ๆ ก็ต้องได้รำคาญจริง ๆ แต่นี้ปล่อยตามบุญตามกรรม เมื่อหมดทางแก้ไขแล้วถือว่าเป็นกรรมของสัตว์ ท่านว่าแล้วก็หัวเราะ ผู้ตั้งใจมาเพื่อแสวงหาอรรถหาธรรม หาบุญกุศลด้วยความเชื่อบุญเชื่อกรรมจริง ๆ ก็มี นั่นน่าเห็นใจและน่าสงสารมาก แต่มีจำนวนน้อย ผู้มาแสวงหาสิ่งไม่เป็นท่าและไม่มีขอบเขตนั้นรู้สึกมากเหลือหูเหลือตาพรรณนาไม่จบ ฉะนั้น จึงชอบอยู่แต่ในป่าในเขาอันเป็นที่สบายกายสบายใจ ทำความพากเพียรก็เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่มีสิ่งรบกวนให้ลำบากตาลำบากใจ มองไปทางไหน คิดเรื่องอะไรเกี่ยวกับอรรถธรรมก็ปลอดโปร่งโล่งใจ <o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มองดูและฟังเสียงสัตว์สาราสิง พวกลิงค่างบ่างชะนีที่หยอกเล่นกัน ทั้งห้อยโหนโยนตัวและกู่ร้องโหยหวนหากันอยู่ตามกิ่งไม้ชายเขาลำเนาป่า ยังทำให้เย็นตาเย็นใจไปตาม โดยมิได้คิดว่าเขาจะมีความรู้สึกอะไรต่อเรา ต่างตัวต่างหากินและปีนขึ้นโดดลงไปตามภาษาของสัตว์ ทำให้รู้สึกในอิริยาบถและความเป็นอยู่ทุกด้านสดชื่นผ่องใสและวิเวกวังเวง หากจะมีอันเป็นอันตายขึ้นมาในเวลานั้น ก็เป็นไปด้วยความสงบสุขทั้งทางกายและจิตใจ ไม่เกลื่อนกล่นวุ่นวาย ตายแบบธรรมชาติคือมาคนเดียวไปคนเดียวแท้ โดยมากพระสาวกอรหันต์ท่านนิพพานแบบนี้กันทั้งนั้น เพราะกายและจิตของท่านไม่มีความเกลื่อนกล่นวุ่นวายมาแอบแฝง มีกายอันเดียว จิตดวงเดียว และมีอารมณ์เดียว ไม่ไหลบ่าแส่หาความทุกข์ ไม่สั่งสมอารมณ์ใด ๆ มาเพิ่มเติมให้เป็นการหนักหน่วงถ่วงตน ท่านอยู่แบบอริยะ ไปแบบอริยะ ไม่ระคนคละเคล้ากับสิ่งที่จะทำให้กังวลเศร้าหมองในทิฏฐธรรมปัจจุบัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    สะอาดเท่าไรยิ่งรักษา บริสุทธิ์เท่าไรยิ่งไม่คุ้นกับอารมณ์ ตรงกันข้ามกับที่ว่าหนักเท่าไรยิ่งขนมาเพิ่มเข้า แต่ท่านเบาเท่าไรยิ่งขนออกจนไม่มีอะไรจะขน แล้วก็อยู่กับความไม่มีทั้ง ๆ ที่ผู้ว่าไม่มีคือใจก็มีอยู่กับตัว คือไม่มีงานจะขนออกและขนเข้าอีกต่อไป เรียกว่าบรรลุถึงขั้นคนว่างงาน ใจว่างงาน ทางศาสนาถือการว่างงานแบบนี้เป็นความสุขอันยิ่งใหญ่ ผิดกับโลกที่ผู้ว่างงานกลายเป็นคนมีทุกข์มากขึ้น เพราะไม่มีทางไหลมาแห่งโภคทรัพย์
    <o:p></o:p>
    ท่านเล่าความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับเทวดาให้ฟังมากมาย แต่นำมาเขียนเท่าที่จำได้และที่เห็นว่าควรจะยึดเป็นสารประโยชน์ได้บ้างตามสติปัญญา ที่จะคัดเลือกหาแง่ที่เป็นประโยชน์ ที่มีขาดตอนไปบ้างในเรื่องเดียวกัน เช่น เรื่องเทวดา เป็นต้น ซึ่งควรจะนำมาเชื่อมโยงติดต่อกันไปจนจบ แต่ไม่สามารถทำได้ในระยะนี้นั้น เกี่ยวกับประสบการณ์ของท่านผู้เป็นเจ้าของ มีประสบหลายครั้งทั้งในที่และสมัยต่าง ๆ กัน จำต้องเขียนไปตามประวัติที่ท่านประสบเพื่อให้เรียงลำดับกันไป แม้เรื่องเทวดาก็ยังจะมีอยู่อีกในวาระต่อไป ตามประวัติที่ผู้เขียนดำเนินไปถึงตามประสบการณ์นั้น ๆ ไม่กล้านำมาลงให้คละเคล้ากัน จึงขออภัยด้วยหากไม่สะดวกในการอ่าน ซึ่งมุ่งประสงค์จะให้จบสิ้นในเรื่องทำนองเดียวกันในตอนเดียวกัน
    <o:p></o:p>
    ที่ท่านเล่าระหว่างมนุษย์กับเทวดานั้น เป็นเรื่องราวของมนุษย์และเทวดาในสมัยโน้นต่างหาก ซึ่งองค์ท่านผู้ประสบและเล่าให้ฟังก็มรณภาพผ่านไปราว ๒๐ ปีนี้แล้ว คิดว่ามนุษย์และเทวดาสมัยนั้นคงจะแปรสภาพเป็นอนิจจังไปตามกฎอันมีมาดั้งเดิม อาจจะยังเหลือเฉพาะมนุษย์และเทวดาสมัยใหม่ ซึ่งต่างก็ได้รับการอบรมพัฒนาทางจิตใจและความประพฤติกันมาพอสมควร เรื่องมนุษย์ทำนองที่มีในประสบการณ์ของท่านจนกลายเป็นประวัติมานั้น คงจะไม่มีท่านผู้สนใจสืบต่อให้รกรุงรังแก่ตนและประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์อีกต่อไป เพราะการศึกษานับวันเจริญ ผู้ได้รับการศึกษามากคงไม่มีท่านผู้มีจิตใจใฝ่ต่ำขนาดนั้น จึงเป็นที่เบาใจกับชาวมนุษย์ในสมัยนี้<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...