ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เรียบเรียงโดย ท่านอาจารย์พระมหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 9 กรกฎาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้ที่จริตนิสัยถูกกับการอดในระยะยาวย่อมทราบได้ในขณะที่กำลังทำการอดอยู่ คืออดไปหลายวันเท่าไร ใจยิ่งเด่นดวงและอาจหาญต่ออารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึก ใจมีความคล่องแคล่วแกล้วกล้าต่อหน้าที่ของตนมากขึ้น นั่งสมาธิภาวนาลืมมืดลืมสว่าง เพราะความเพลินกับธรรม ขณะใจสัมผัสสัมพันธ์กับธรรมย่อมไม่สนใจต่อความหิวโหยและกาลเวลา มีแต่ความรื่นเริงในธรรมทั้งหลายอันเป็นสมบัติที่ควรได้ควรถึงในเวลานั้น จึงรีบตักตวงให้ทันกับเวลาที่กิเลสความเกียจคร้านอ่อนแอ ความไม่อดทน เป็นต้น กำลังนอนหลับอยู่ พอจะสามารถแอบปีนขึ้นบนหลังหรือบนคอมันบ้างก็ให้ได้ขึ้นในเวลานั้น ๆ หากรั้ง ๆ รอ ๆ หาฤกษ์งามยามดีพรุ่งนี้มะรืนอยู่ เวลามันตื่นขึ้นมาแล้วจะลำบาก ดีไม่ดีอาจสู้มันไม่ได้และกลายเป็นช้างให้มันโดดขึ้นบนคอ แล้วเอาขอสับลงบนศีรษะคือหัวใจ แล้วต้องยอมแพ้มันอย่างราบ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เพราะใจเราเคยเป็นช้างให้กิเลสเป็นนายควาญบังคับมานานแสนนานแล้ว ความรู้สึกกลัวที่เคยฝังใจมานานนั้นแลพาให้ขยาด ๆ ไม่กล้าต่อสู้กับมันอย่างเต็มฝีมือได้ ทางด้านธรรมท่านว่ากิเลสกับธรรมเป็นคู่อริกัน แต่ทางโลกเห็นว่ากิเลสกับใจเป็นคู่มิตรในลักษณะบ๋อยกลางเรือนอย่างแยกกันไม่ออก ฉะนั้น ผู้มีความเห็นไปตามธรรมจึงต้องพยายามต่อสู้กับสิ่งที่ตนเห็นว่าเป็นข้าศึก เพื่อเอาตัวรอดและครองตัวอย่างอิสระ ไม่ต้องขึ้นกับกิเลสเป็นผู้คอยกระซิบสั่งการ แต่ผู้เห็นตามกิเลสก็ต้องคอยพะเน้าพะนอเอาอกเอาใจ ที่มันแนะนำหรือสั่งการออกมาอย่างไรต้องยอมปฏิบัติตามทุกอย่างไม่ขัดขืนมันได้
    <o:p></o:p>
    ส่วนผลที่ได้รับจากมันนั้น เจ้าตัวก็ทราบว่ามีความกระเทือนต่อจิตใจเพียงใด แม้ผู้อื่นก็ย่อมทราบได้จากการระบายออกของผู้เป็นเจ้าทุกข์ เพราะความกระทบกระเทือนทางจิตใจที่ถูกกิเลสกลั่นแกล้งและทรมานโดยวิธีต่าง ๆ ไม่มีประมาณ โทษทั้งนี้แลทำให้ผู้มีความรักตัวสงวนใจต้องมีมานะต่อสู้ด้วยความเพียรทุกด้านอย่างไม่อาลัยเสียดายชีวิต ถึงจะอดก็ยอมอด ทุกข์ก็ยอมทุกข์ แม้ตายก็ยอมพลีชีพเพื่อยอมบูชาพระศาสนาไปเลย ไม่มีการแบ่งรับแบ่งสู้ไว้เพื่อกิเลสได้หวังมีส่วนด้วย จะได้ใจ
    <o:p></o:p>
    ที่ท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์ปลุกใจพระเณร ให้มีความอาจหาญร่าเริงต่อความเพียรเพื่อยกตนให้พ้นทุกข์เครื่องกดถ่วงจิตใจ ก็เพราะท่านได้พิจารณาทดสอบเรื่องของกิเลสกับธรรมมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนจนเห็นผลประจักษ์ใจแล้ว จึงได้กลับมาภาคอีสานและทำการสั่งสอนอย่างเต็มภูมิแห่งธรรมที่ท่านรู้เห็นมาเป็นคราว ๆ ในสมัยนั้น<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธรรมที่ท่านสั่งสอนอย่างอาจหาญและออกหน้าออกตาแก่บรรดาศิษย์อยู่เสมอ ได้แก่ พลธรรม ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา โดยให้เหตุผลว่า ผู้ไม่เหินห่างจากธรรมเหล่านี้ ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่ขาดทุนและล่มจม เป็นผู้มีหวังความเจริญก้าวหน้าไปโดยลำดับ ธรรมทั้ง ๕ ข้อนี้ ท่านแยกความหมายมาใช้สำหรับท่านเองเป็นข้อ ๆ ซึ่งโดยมากเป็นไปในทางปลุกใจให้อาจหาญ มีใจความว่า ศรัทธา เชื่อศาสนธรรมที่พระองค์ประทานไว้เพื่อโลก เราผู้หนึ่งในจำนวนของคนในโลก ซึ่งอยู่ในข่ายที่ควรได้รับแสงสว่างแห่งธรรมจากข้อปฏิบัติที่ทำจริงแน่นอนไม่เป็นอื่น และเชื่อว่าเกิดแล้วต้องตาย แต่จะช้าหรือเร็วไม่สำคัญ ที่สำคัญอยู่ตรงที่ว่าเราจะตายแบบผู้แพ้กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ หรือจะเป็นผู้ชนะวัฏวนสามนี้ก่อนจะตาย คำว่าแพ้ไม่เป็นสิ่งพึงปรารถนา แม้แต่เด็กเล่นกีฬากันต่างฝ่ายเขายังหวังชนะกัน เราจึงควรสะดุดใจ และไม่ควรทำตัวให้เป็นผู้แพ้ ถ้าเป็นผู้แพ้ก็ต้องทนอยู่อย่างผู้แพ้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ทุก ๆ อาการของผู้แพ้ต้องเป็นการกระเทือนใจอย่างมาก และระทมทุกข์จนหาทางออกไม่ได้ ขณะที่จิตจะคิดหาทางออกของผู้แพ้มีอยู่ทางเดียวคือ ตายเสียดีกว่า ซึ่งตายไปแบบที่ว่าดีกว่านี้ ก็ต้องเป็นการตายของผู้แพ้ต่อข้าศึกอยู่นั่นเอง อันเป็นทางกอบโกยโรยทุกข์ใส่ตัวเองจนไม่มีที่ปลงวาง จึงไม่มีอะไรดีเลยสำหรับผู้แพ้ทุกประตูแล้ว ถ้าจะตายแบบผู้ชนะดังพระพุทธเจ้าและพระสาวกท่าน ก็ต้องเชื่อแบบท่าน ทำแบบท่าน เพียรและอดทนแบบท่าน มีสติรักษาใจ รักษาตัว รักษากิริยาที่แสดงออกทุกอาการแบบท่าน ทำใจให้มั่นคงต่อหน้าที่ของตน อย่าโยกเยกคลอนแคลนแบบคนจวนตัวไม่มีสติเป็นหลักยึด แต่จงทำใจให้มั่นคงต่อเหตุที่ทำเพื่อผลอันพึงพอใจจะได้มีทางเกิดขึ้นได้ อันเป็นแบบที่ท่านพาดำเนิน
    <o:p></o:p>
    ศาสนาคือคำสั่งสอนของท่านผู้ฉลาด ท่านสอนคนเพื่อให้เกิดความฉลาดทุกแง่ทุกมุม ซึ่งพอจะพิจารณาตามท่านได้ แต่เราอย่าฟังเพื่อความโง่ อยู่ด้วยความโง่ กินดื่มทำพูดด้วยความโง่ คำว่าโง่ไม่ใช่ของดี คนโง่ก็ไม่ดี สัตว์โง่ก็ไม่ดี เด็กโง่ ผู้ใหญ่โง่ มิใช่ของดีทั้งนั้น เราโง่จะให้ใครเขาชมว่าดี จึงไม่ควรทำความสนิทติดจมอยู่กับความโง่โดยไม่ใช้ความพิจารณาไตร่ตรอง ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง จึงไม่ควรแก่สมณะซึ่งเป็นเพศที่ใคร่ครวญไตร่ตรอง นี่คือความหมายในธรรม ๕ ข้อที่ท่านคิดค้นขึ้นมาพร่ำสอนท่านเองและหมู่คณะที่ไปอบรมศึกษากับท่าน รู้สึกว่าเป็นคติได้ดีมาก เพราะเป็นอุบายปลุกใจให้เกิดสติปัญญาและอาจหาญ ทั้งเหมาะสมกับสภาพการณ์และสถานที่ของพระธุดงค์ ผู้เตรียมพร้อมแล้วในการรบพุ่งชิงชัยระหว่างกิเลสกับธรรมเพื่อความชนะเลิศ คือวิมุตติพระนิพพาน อันเป็นหลักเขตแดนมหาชัยที่ปรารถนามานาน
    <o:p></o:p>
    พระอาจารย์ที่เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ของท่านเล่าให้ฟังว่า เวลาอยู่กับท่าน แม้จะมีพระเณรจำนวนมากด้วยกัน แต่มองดูอากัปกิริยาของแต่ละองค์ เหมือนพระเณรที่สิ้นกิเลสกันแล้วทั้งนั้น ไม่มีอาการแสดงความคึกคะนองใด ๆ แม้แต่น้อยให้ปรากฏบ้างเลย ต่างองค์ต่างสงบเสงี่ยมเจียมตัว ทั้งที่อยู่โดยลำพังตนเอง ทั้งเวลามารวมกันด้วยกิจธุระบางอย่าง และเวลารวมประชุมฟังการอบรม ต่างมีมรรยาทสวยงามมาก ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเกี่ยวกับภูมิจิต เวลาท่านสนทนากันกับท่านอาจารย์บ้าง ก็อาจให้เกิดความสงสัยหรือเชื่อแน่ว่าแต่ละองค์คงสำเร็จพระอรหัตกันแน่ ๆ แต่พอเดาได้จากการแก้ปัญหาธรรมขณะที่ท่านสนทนากัน ว่าองค์ไหนควรอยู่ในภูมิธรรมขั้นใด นับแต่สมาธิและปัญญาขั้นต้นขึ้นไปถึงสมาธิและวิปัสสนาขั้นสูง <o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การแก้ปัญหาในเวลามีผู้ไปศึกษาก็ดี การแสดงธรรมอบรมพระเณรในเวลาประชุมก็ดี ท่านแสดงด้วยความแน่ใจและอาจหาญ พอให้ผู้ฟังทราบได้ว่าธรรมที่แสดงออกเป็นธรรมที่ท่านรู้เห็นทางจิตใจจริง ๆ ไม่แสดงด้วยความลูบคลำหรือสุ่มเดา ว่าเห็นจะเป็นอย่างนั้น เห็นจะเป็นอย่างนี้ จึงเป็นที่แน่ใจได้ว่า เป็นธรรมที่ส่อแสดงอยู่กับใจของทุกคนแม้ยังไม่รู้ไม่เห็น และคงมีวันหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถรู้ได้จำเพาะตนหากไม่ลดละความเพียรไปเสีย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    วิธีให้การอบรมแก่พระเณรและฆราวาส รู้สึกว่าท่านแสดงให้พอเหมาะสมกับขั้นภูมิความเป็นอยู่และจริตนิสัยของผู้มาอบรมศึกษาได้ดี และได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่ายขณะที่ฟังอยู่ด้วยกัน เพราะท่านอธิบายแยกแยะธรรมออกเป็นตอน ๆ ซึ่งพอเหมาะสมกับภูมิของผู้มาฟังจะเข้าใจและนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้ โดยมากเวลาท่านสอนฆราวาสญาติโยมโดยเฉพาะ ท่านยกธรรมเกี่ยวกับฆราวาสขึ้นแสดง มีทาน ศีล ภาวนาเป็นพื้น โดยให้เหตุผลว่า ธรรมทั้งสามนี้เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องเป็นผู้เคยผ่าน คือเคยสั่งสมธรรมเหล่านี้มา อย่างน้อยต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นเชื้ออยู่ในนิสัยของผู้จะมาสวมร่างเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษยสมบัติอย่างแท้จริง
    <o:p></o:p>
    ทาน คือเครื่องแสดงน้ำใจมนุษย์ผู้มีจิตใจสูง ผู้มีเมตตาจิตต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ผู้อาภัพ ด้วยการให้การเสียสละแบ่งปันมากน้อย ตามกำลังของวัตถุเครื่องสงเคราะห์ที่มีอยู่ จะเป็นวัตถุทาน ธรรมทาน หรือวิทยาทานแขนงต่าง ๆ ก็ตาม ที่ให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นโดยมิได้หวังค่าตอบแทนใด ๆ นอกจากกุศลคือความดีที่เกิดจากทานนั้น ซึ่งจะเป็นสิ่งตอบแทนให้เจ้าของทานได้รับอยู่โดยดีเท่านั้น ตลอดอภัยทานที่ควรให้แก่กันในเวลาอีกฝ่ายหนึ่งผิดพลาดหรือล่วงเกิน คนมีทานหรือคนที่เด่นในการให้ทาน ย่อมเป็นผู้สง่าผ่าเผยและเด่นในปวงชนโดยไม่นิยมรูปร่างลักษณะ ผู้เช่นนี้มนุษย์และสัตว์ตลอดเทวดาที่มองไม่เห็นก็เคารพรัก จะตกทิศใดแดนใดย่อมไม่อดอยากขาดแคลน หากมีสิ่งหรือผู้อุปถัมภ์จนได้ ไม่อับจนทนทุกข์
    <o:p></o:p>
    แม้ในแดนมนุษย์เรานี้ก็พอเห็นได้อย่างเต็มตารู้ได้อย่างเต็มใจว่า ผู้มีทานเป็นเครื่องประดับตัวย่อมเป็นคนไม่ล้าสมัยในสังคม และบุคคลทุกชั้นไม่มีใครรังเกียจ แม้แต่คนที่มั่งมีแต่แสนตระหนี่ถี่เหนียวก็ยังหวังต่อการสงเคราะห์ช่วยเหลือจากผู้อื่นเช่นเดียวกับมนุษย์ทั่ว ๆ ไป ไม่ต้องพูดถึงคนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ แต่ไม่หวังให้ผู้อื่นช่วยเหลือ จะไม่มีในโลกเมืองไทยเรา อำนาจทานทำให้ผู้มีใจชอบบริจาคเกิดความเคยชินต่อนิสัย จนกลายเป็นผู้มีฤทธิ์บันดาลไม่ให้อดอยากในภพที่เกิดกำเนิดที่อยู่นั้น ๆ ฉะนั้น ทานและคนที่มีใจเป็นนักให้ทาน การเสียสละ จึงเป็นเครื่องและเป็นผู้ค้ำจุนหนุนโลกให้เฟื่องฟูตลอดไป โลกที่ยังมีการสงเคราะห์กันอยู่ยังจัดเป็นโลกที่มีความหมายตลอดไป ไม่เป็นโลกที่ไร้ชาติขาดกระเจิง เหลือแต่ซากคือแผ่นดินแน่ ๆ ทานจึงเป็นสาระสำคัญสำหรับตัวและโลกทั่ว ๆ ไป ผู้มีทานย่อมเป็นผู้อบอุ่นและหนุนโลกให้ชุ่มเย็น ไม่เป็นบุคคลและโลกที่แห้งแล้งแข่งกับทุกข์ตลอดไป<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ศีล คือรั้วกั้นความเบียดเบียนและทำลายสมบัติร่างกายและจิตใจของกันและกัน ศีลคือพืชแห่งความดีอันยอดเยี่ยมที่ควรมีประจำชาติมนุษย์ ไม่ปล่อยให้สูญหายไปเสีย เพราะมนุษย์ที่ไม่มีศีลเป็นรั้วกั้นและเป็นเครื่องประดับตัวเสียเลย ก็คือกองเพลิงแห่งมนุษย์เราดี ๆ นี่เอง การเบียดเบียนและทำลายกันย่อมมีไปทุกหย่อมหญ้าและทั่วโลกดินแดน ไม่มีเกาะมีดอนพอจะเอาศีรษะซุกนอนให้หลับสนิทได้โดยปลอดภัย แม้โลกจะเจริญด้วยวัตถุจนกองสูงกว่าพระอาทิตย์บนท้องฟ้า แต่ความรุ่มร้อนแผดเผาจะทวีคูณยิ่งกว่าพระอาทิตย์เป็นไหน ๆ โลกจะไม่มีที่ปลงใจได้เลยถ้ายังมัวคิดว่าวัตถุมีคุณค่ายิ่งกว่าศีลธรรมอยู่ เพราะศีลธรรมเป็นสมบัติของจอมมนุษย์ คือพระพุทธเจ้า ผู้ค้นพบและนำมาประดับโลกที่กำลังมืดมัวกลัวทุกข์พอให้สว่างไสวร่มเย็น ควรอาศัยได้บ้างด้วยอำนาจศีลธรรมเป็นเครื่องปัดเป่ากำจัด
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ลำพังความคิดของมนุษย์ที่มีกิเลสคิดผลิตอะไรออกมา ทำให้โลกร้อนจะบรรลัยอยู่แล้ว ยิ่งจะปล่อยให้คิดตามอำนาจโดยไม่มีกลิ่นแห่งศีลธรรมช่วยเป็นยาแก้และชะโลมไว้บ้าง ก็น่ากลัวความคิดนั้น ๆ จะผลิตยักษ์ใหญ่ตัวโหดร้ายที่ทรงพิษขึ้นมากี่แสนกี่ล้านตัว ออกเที่ยวหากว้านกินมนุษย์ให้ฉิบหายกันทั้งโลก ไม่มีอะไรเหลืออยู่บ้างเลย ความคิดของคนสิ้นกิเลสที่ทรงคุณอย่างสูงสุดคือพระพุทธเจ้า มีผลให้โลกได้รับความร่มเย็นซาบซึ้ง กับความคิดที่เป็นไปด้วยกิเลสที่มีผลให้ตัวเองและผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนจนจะคาดไม่ถึงนี่แล เป็นความคิดที่ผิดกันอยู่มาก พอจะนำมาเทียบเคียงเพื่อหาทางแก้ไขผ่อนหนักผ่อนเบาลงได้บ้าง ไม่จมไปกับความคิดประเภทนั้นจนหมดทางแก้ไข ศีลจึงเป็นเหมือนยาปราบโรค ทั้งโรคระบาดและโรคเรื้อรัง อย่างน้อยก็พอให้คนไข้ที่สุมด้วยกิเลสกินอยู่หลับนอนได้บ้าง ไม่ถูกบีบคั้นด้วยโรคที่เกิดแล้วไม่ยอมหายนี้ตลอดไป มากกว่านั้นก็หายขาดอยู่สบาย
    <o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นท่านเมตตาสั่งสอนฆราวาสให้รู้คุณของศีล และให้รู้โทษของความไม่มีศีลอย่างถึงใจจริง ๆ ฟังแล้วจับใจไพเราะ แม้ผู้เขียนเองพอได้ทราบว่า ท่านสั่งสอนประชาชนให้เห็นโทษเห็นคุณในศีลอย่างซาบซึ้งจับใจเช่นนั้น ยังเผลอตัวไปว่า อยากมีศีล ๕ กับเขาบ้างทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นตนก็มีศีลอยู่ถึง ๒๒๗ ศีลอยู่แล้ว เพราะความปีติผาดโผนไปบ้างเวลานั้นจึงขาดสติไปพักหนึ่ง พอได้สติขึ้นมาเลยนึกอายตัวเองและไม่กล้าบอกใคร กลัวท่านเหล่านั้นจะหาว่าเราบ้าซ้ำเข้าไปอีก เพราะขณะนั้นเราก็ชักจะบ้า ๆ อยู่บ้างแล้วที่คิดว่าอยากมีศีล ๕ กับฆราวาสเขาโดยไม่คลำดูศีรษะบ้างเลย อย่างนี้แลคนเรา เวลาคิดไปทางชั่วจนถึงกับทำชั่วตามความคิดจริง ๆ ก็คงเป็นไปในลักษณะดังกล่าวมา จึงควรสำเหนียกในความคิดของตนไปทุกระยะ ว่าคิดไปในทางดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด ต้องคอยชักบังเหียนไว้เสมอ ไม่เช่นนั้นมีหวังเลยเถิดได้แน่นอน<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลอรรถธรรม รู้จักวิธีปฏิบัติต่อตัวเองและสิ่งทั้งหลาย ไม่ให้จิตผาดโผนโลดเต้นแบบไม่มีฝั่งมีฝา ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้นความคิดฟุ้งของใจให้อยู่ในเหตุผลอันจะเป็นทางแห่งความสงบสุข ใจที่ยังมิได้รับการอบรมจากภาวนาจึงยังเป็นเหมือนสัตว์ที่ยังมิได้รับการฝึกหัดให้ทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์ มีจำนวนมากน้อยก็ยังมิได้รับประโยชน์จากมันเท่าที่ควร จำต้องฝึกหัดให้ทำประโยชน์ตามประเภทของมันก่อน ถึงจะได้รับประโยชน์ตามควร ใจจึงควรได้รับการอบรมให้รู้เรื่องของตัวเสียบ้าง จะเป็นผู้ควรแก่การงานทั้งหลาย ทั้งส่วนหยาบส่วนละเอียด ทั้งส่วนเล็กส่วนใหญ่ ทั้งภายในภายนอก ผู้มีภาวนาเป็นหลักใจจะทำอะไรชอบใช้ความคิดอ่านเสมอ ไม่ค่อยเอาตัวเข้าไปเสี่ยงต่อการกระทำที่ไม่แน่ใจ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายแก่ตนและผู้เกี่ยวข้องตลอดส่วนรวมเมื่อผิดพลาดลงไป การภาวนาจึงเป็นงานเพื่อผลในปัจจุบันและอนาคต ไม่เสียประโยชน์ทั้งสองทาง ประโยชน์สำคัญคือประโยชน์เฉพาะหน้า ที่เรียกว่า ทิฏฐธรรมมิกัตถประโยชน์
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การงานทุกชนิดที่ทำด้วยใจของผู้มีภาวนา จะสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย ขณะที่ทำก็ไม่ทำแบบขอไปที แต่ทำด้วยความใคร่ครวญ และเล็งถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากงานเมื่อสำเร็จลงไปแล้ว จะไปมาในทิศทางใดจะทำอะไร ย่อมเล็งถึงผลได้เสียเกี่ยวกับการนั้น ๆ เสมอ การปกครองตนก็สะดวก ไม่ฝ่าฝืนตัวเองซึ่งเป็นผู้มีหลักเหตุผลอยู่แล้ว ถือหลักความถูกต้องเป็นเข็มทิศทางเดินของกาย วาจา ใจประจำตัว ไม่ยอมเปิดช่องให้ความอยากอันไม่มีขอบเขตเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะความอยากไป อยากมา อยากทำ อยากพูด อยากคิด ที่เคยเป็นมาดั้งเดิม เป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา ซึ่งไม่เคยสนใจต่อความผิดถูกดีชั่วเสียมากต่อมาก และพาเราเสียไปจนนับไม่ถ้วนประมาณไม่ถูก จะเอาโทษกับมันก็ไม่ได้ นอกจากยอมให้เสียไปอย่างน่าเสียดาย แล้วพยายามแก้ตัวใหม่เท่านั้นเมื่อยังมีสติอยู่บ้างพอจะหักล้างกันได้ ถ้าไม่มีสติพอระลึกบ้างเลยแล้ว ทั้งของเก่าก็เสียไป ทั้งของใหม่ก็พลอยจมไปด้วย ไม่มีวันกลับฟื้นคืนตัวได้เลย นี่แลเรื่องของกิเลส ต้องพาให้เสียหายเรื่อยไป ฉะนั้นการภาวนาจึงเป็นเครื่องหักล้างความลามกไม่มีเหตุผลของตนได้ดี แต่วิธีภาวนานั้นรู้สึกลำบากอยู่บ้าง เพราะเป็นการบังคับใจซึ่งเหมือนบังคับลิงให้อยู่เชื่อง ๆ พองามตาบ้าง ย่อมเป็นของลำบากฉะนั้น
    <o:p></o:p>
    วิธีภาวนาก็คือวิธีสังเกตตัวเองนั่นแล คือสังเกตจิตที่มีนิสัยหลุกหลิกเหมือนถูกไฟหรือน้ำร้อนลวก ไม่อยู่เป็นปกติสุข ด้วยสติตามระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของจิต โดยมีธรรมบทใดบทหนึ่งเป็นคำบริกรรม เพื่อเป็นยารักษาจิตให้ทรงตัวอยู่ได้ด้วยความสงบสุขในขณะภาวนา ตามที่นิยมใช้กันมากและได้ผลดีก็มีอานาปานสติบ้าง พุทโธบ้าง ธัมโมบ้าง สังโฆบ้าง มรณานุสสติบ้าง หรือเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ โดยอนุโลม ปฏิโลมบ้าง หรือใช้บริกรรมเฉพาะบทใดบทหนึ่งบ้าง พยายามบังคับใจให้อยู่กับอารมณ์แห่งธรรมบทที่นำมาบริกรรมขณะภาวนา ใจที่อาศัยบทธรรมอันเป็นอารมณ์ที่ให้คุณ ไม่เป็นภัยแก่จิตใจ ย่อมจะเกิดความสงบสุขขึ้นมาในขณะนั้น ที่เรียกว่าจิตสงบ หรือจิตรวมเป็นสมาธิ คือความมั่นคงต่อตัวเอง ไม่อาศัยธรรมบทใด ๆ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในเวลานั้น เพราะจิตมีกำลังพอดำรงตนอยู่โดยอิสระได้
    <o:p></o:p>
    คำบริกรรมที่เคยนำมากำกับใจ ก็ระงับกันไปชั่วขณะที่จิตปล่อยอารมณ์เข้าพักสงบตัว ต่อเมื่อถอนขึ้นมา ถ้ามีเวลาทำต่อไปอีกก็นำคำบริกรรมที่เคยกำกับมาบริกรรมต่อไป พยายามทำอย่างนี้เสมอด้วยความใฝ่ใจไม่ลดละความเพียร จิตที่เคยทำบาปหาบทุกข์อยู่เสมอก็จะค่อยรู้สึกตัวและปล่อยวางไปเป็นลำดับ และมีความสนใจหนักแน่นในหน้าที่ของตนเป็นประจำ ไม่ถูกบังคับถูไถเหมือนขั้นเริ่มแรก ซึ่งเป็นขั้นกำลังฝึกหัด จิตที่สงบตัวลงเป็นสมาธิ เป็นจิตที่มีความสุขเย็นใจมากและจำไม่ลืม ถ้าได้ปรากฏขึ้นเพียงครั้งเดียว ย่อมเป็นเครื่องปลุกใจให้ตื่นตัวและตื่นใจได้อย่างน่าประหลาด หากไม่ปรากฏอีกในวาระต่อไปทั้งที่ภาวนาอยู่ในใจ จะเกิดความเสียดายอย่างบอกไม่ถูก อารมณ์แห่งความติดใจและความเสียดายในจิตประเภทนั้นจะฝังใจไปนาน นอกจากจิตจะเจริญก้าวหน้าขึ้นสู่ความสงบสุขอันละเอียดไปเป็นลำดับเท่านั้น จิตถึงจะลืมและเพลินในธรรมขั้นสูงเรื่อยไป ไม่มาเกี่ยวข้องเสียดายจิตและความสงบที่เคยผ่านมาแล้ว <o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แต่เมื่อพูดถึงการภาวนาแล้ว ท่านผู้อ่านอาจจะรู้สึกเหงาหงอยน้อยใจและอ่อนเปียกไปทั้งร่างกายและจิตใจ ว่าตนมีวาสนาน้อย ทำไม่ไหว เพราะคิดว่ากิจการยุ่งยากทั้งภายในบ้านและนอกบ้านตลอดงานสังคมต่าง ๆ ลูกหลานก็มีหลายคนล้วนแต่ต้องเป็นธุระในการเลี้ยงดู จะมัวมานั่งหลับตาภาวนาอยู่เห็นจะไม่ทันอยู่ทันกินกับโลกเขา ต้องอดตายแน่ ๆ แล้วทำให้เกิดความอิดหนาระอาใจไม่อยากทำ ประโยชน์ที่ควรได้เลยผ่านไป ความคิดเช่นนั้นเป็นความคิดที่เคยฝังนิสัยมาดั้งเดิม และอาจเป็นความคิดที่คอยกีดกันทางเดินเพื่อการระบายคลายทุกข์ทางใจไปเสีย ถ้าไม่พยายามคิดแก้ไขเสียแต่บัดนี้เป็นต้นไป
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แท้จริงการภาวนา คือวิธีการแก้ความยุ่งยากและความลำบากทางใจทุกประเภท ที่เคยรับภาระอันหนักหน่วงมานานให้เบาลงและหมดสิ้นไป เหมือนอุบายอื่น ๆ ที่เราเคยนำมาแก้ไขไล่ทุกข์ออกจากตัวเหมือนที่โลกทำกันมานั่นเอง เช่น เวลาร้อนต้องแก้ด้วยวิธีอาบน้ำ เวลาหนาวแก้ด้วยวิธีห่มผ้าหรือผิงไฟ หรือด้วยวิธีอื่น ๆ เวลาหิวกระหายแก้ด้วยวิธีรับประทานและดื่ม เวลาเป็นไข้ก็แก้ด้วยวิธีรับประทานหรือฉีดยาที่จะยังโรคให้สงบและหายไป ซึ่งล้วนเป็นวิธีการที่โลกเคยทำตลอดมาถึงปัจจุบัน โดยไม่มีการผัดเพี้ยนเลื่อนเวลา ว่ายังยุ่งยากยังลำบาก และขัดสนจนใจใด ๆ ทั้งนั้น ทุกชาติชั้นวรรณะจำต้องปฏิบัติกันทั่วโลก แม้แต่สัตว์ก็ยังต้องอาศัยการเยียวยารักษาตัว ดังที่เราเห็นเขาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เพื่อผ่อนคลายระบายทุกข์ไปวันหนึ่ง ๆ พอยังชีวิตให้เป็นไปตลอดกาลของเขา ล้วนเป็นวิธีการแก้ไขและรักษาตัวแต่ละอย่าง ๆ
    <o:p></o:p>
    การอบรมใจด้วยภาวนาก็เป็นวิธีหนึ่งแห่งการรักษาตัว วิธีนี้ยิ่งเป็นงานสำคัญที่ควรสนใจเป็นพิเศษ เพราะเป็นวิธีที่เกี่ยวกับจิตใจผู้เป็นหัวหน้างานทุกด้านโดยตรง งานอะไรเรื่องอะไรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัว จิตจำต้องเป็นตัวการอย่างแยกไม่ออก ที่จะต้องเข้ารับภาระแบกหามโดยไม่คำนึงถึงความหนักเบา และชนิดของงานว่าเป็นงานชนิดใด จะพอยกไหวไหม แต่จิตต้องเข้ารับภาระทันที ดีหรือชั่วผิดหรือถูกไม่ค่อยสนใจคิด แม้งานหรือเรื่องจะหนักเบาเศร้าโศกเพียงใด ซึ่งบางเรื่องแทบจะคว้าเอาชีวิตไปด้วยในขณะนั้น แม้เช่นนั้นใจยังกล้าเอาตัวเข้าไปเสี่ยงและแบกหามจนได้ โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นจะตายเพราะเหลือบ่ากว่าแรง มิหนำยังหอบเอาเรื่องมาคิดเป็นการบ้านอยู่อีก จนแทบนอนไม่หลับ รับประทานไม่ได้ ก็ยังมีในบางครั้ง คำว่าหนักเกินไปยกไม่ไหว เพราะเกินกว่ากำลังใจจะคิดและต้านทานนั้นเป็นไม่มี มีแต่จะสู้เอาท่าเดียว
    <o:p></o:p>
    งานทางกายยังมีเวลาพักผ่อน และยังรู้ประมาณว่าควรหรือไม่ควรแก่กำลังของตนเพียงใด ส่วนงานทางใจไม่มีวันเวลาได้พักผ่อนเอาเลย จะมีพักอยู่บ้างเล็กน้อยก็ขณะหลับนอนเท่านั้น แม้เช่นนั้นจิตยังอุตส่าห์ทำงานด้วยการละเมอเพ้อฝันต่อไปอีก และไม่รู้จักประมาณว่าเรื่องต่างๆ นั้นควรหรือไม่ควรแก่กำลังของใจเพียงใด เมื่อเกิดเป็นอะไรขึ้นมาก็ทราบแต่เพียงว่าทุกข์เหลือทน แต่ไม่ทราบว่าทุกข์เพราะงานหนักและเรื่องเผ็ดร้อนเหลือกำลังที่ใจจะสู้ไหว จึงควรให้นามว่า ใจคือนักต่อสู้เพราะดีก็สู้ ชั่วก็สู้ สู้จนไม่รู้จักหยุดยั้งไตร่ตรอง <o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อารมณ์ชนิดใดผ่านมาต้องสู้ และสู้แบบรับเหมา ไม่ยอมให้อะไรผ่านหน้าไปได้ จิตเป็นเช่นนี้แลจึงสมนามว่านักต่อสู้ เพราะสู้จนไม่รู้จักตายถ้ายังครองร่างอยู่ และไม่ได้รับการแก้ไข ก็ต้องเป็นนักต่อสู้เรื่อยไปชนิดไม่มีวันปลงวางภาระลงได้ หากปล่อยให้เป็นไปตามชอบของใจที่ไม่รู้ประมาณ โดยไม่มีธรรมเครื่องยับยั้งบ้าง คงไม่มีเวลาได้รับความสุขแม้สมบัติจะมีเป็นก่ายกอง เพราะนั้นมิใช่กองแห่งความสุข แต่กลับเป็นกองส่งเสริมทุกข์สำหรับใจที่ไม่มีเรือนพักคือธรรมภายในใจ

    นักปราชญ์ท่านกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า ธรรมแลเป็นเครื่องปกครองทรัพย์สมบัติและปกครองใจ ถ้าใจมีธรรมมากน้อย ผู้นั้นแม้มีทรัพย์สมบัติมากน้อยย่อมจะมีความสุขพอประมาณ ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว ลำพังความอยากของใจ จะพยายามหาทรัพย์ให้ได้กองเท่าภูเขาก็ยังหาความสุขไม่เจอ เพราะนั้นเป็นเพียงเครื่องอาศัยของกายและใจ ผู้ฉลาดหาความสุขใส่ตัวเท่านั้น ถ้าใจไม่ฉลาดด้วยธรรม ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียวจะไปอยู่โลกใดและกองสมบัติใด ก็เป็นเพียงโลกเศษเดนและกองสมบัติเศษเดนอยู่เท่านั้น ไม่มีประโยชน์อะไรแก่ใจเลยแม้นิด ความสมบุกสมบัน ความรับทุกข์ทรมาน ความอดทนและความทนทานต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่าง ๆ ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทาง ใจจะกลายเป็นของประเสริฐขึ้นมาให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจและอิ่มพอต่อเรื่องทั้งหลายทันที
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การใช้งานจิตนับแต่วันเกิดจนบัดนี้ รู้สึกว่าใช้เอาอย่างไม่มีปรานีปราศรัย ถ้าเป็นเครื่องใช้ชนิดต่าง ๆ มีรถราเป็นต้น จะเป็นอย่างไรบ้าง ไม่ควรพูดถึงการนำเข้าอู่ซ่อม แต่ควรพูดถึงความแหลกยับเยินของรถจนกลายเป็นเศษเหล็กไปนานแล้วจะเหมาะสมกว่า นี่แลทุกสิ่งเมื่อมีการใช้ต้องมีการบูรณะซ่อมแซม มีการเก็บรักษา ถึงจะพอมีทางอำนวยประโยชน์ต่อไป จิตเป็นสมบัติสำคัญมากในตัวเราที่ควรได้รับการเหลียวแล ด้วยวิธีเก็บรักษาเช่นเดียวกับสมบัติทั่วไป วิธีที่ควรแก่จิตโดยเฉพาะก็คือภาวนาวิธีดังที่อธิบายมาบ้างแล้ว ผู้สนใจในความรับผิดชอบต่อจิตอันเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งของตน จึงควรปฏิบัติรักษาจิตด้วยวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม คือฝึกหัดภาวนาในโอกาสอันควร เพื่อเป็นการตรวจตราดูเครื่องเคราของรถคือจิต ว่ามีอะไรบกพร่องและเสียไปบ้าง จะได้นำเข้าโรงซ่อมสุขภาพทางจิต
    <o:p></o:p>
    คือนั่งพินิจพิจารณาดูสังขารภายใน คือความคิดปรุงของใจ ว่าคิดอะไรบ้างในวันและเวลาหนึ่ง ๆ พอมีสารประโยชน์บ้างไหม หรือพยายามคิดแส่หาแต่เรื่อง หาแต่โทษ และขนทุกข์มาเผาลนเจ้าของอยู่ทำนองนั้น พอให้รู้ความผิดถูกของตัวบ้าง และพิจารณาสังขารภายนอก คือร่างกายของเรา ว่ามีความเจริญขึ้นหรือเจริญลงในวันและเวลาหนึ่ง ๆ ที่ผ่านไปจนกลายเป็นปีเก่าและปีใหม่ผลัดเปลี่ยนกันไปไม่มีที่สิ้นสุด สังขารร่างกายเรามีอะไรใหม่ขึ้นบ้างไหม หรือมีแต่ความเก่าแก่และคร่ำคร่าชราหลุดลงไปทุกวัน ซึ่งพอจะนอนใจกับเขาละหรือ จึงไม่พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลาที่พอทำได้ เวลาตายแล้วจะเสียการ นี่คือการภาวนา การภาวนาคือวิธีเตือนตนสั่งสอนตน ตรวจตราดูความบกพร่องของตนว่าควรจะแก้ไขจุดใดตรงไหนบ้าง
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้ใช้ความพิจารณาอยู่ทำนองนี้เรื่อย ๆ ด้วยวิธีสมาธิภาวนาบ้าง ด้วยการรำพึงในอิริยาบถต่าง ๆ บ้าง ใจจะสงบเยือกเย็น ไม่ลำพองผยองตัวและคว้าทุกข์มาเผาลนตัวเอง เป็นผู้รู้จักประมาณ ทั้งหน้าที่การงานที่พอเหมาะพอดีแก่ตัว ทั้งทางกายและทางใจ ไม่ลืมตัวมั่วสุมในสิ่งที่เป็นหายนะต่าง ๆ คุณสมบัติของผู้ภาวนานี้มีมากมายไม่อาจพรรณนาให้จบสิ้นลงได้ แต่ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมิได้อธิบายลึกซึ้งมากไปกว่าฐานะของฆราวาสที่มารับการอบรม ผิดกับท่านอธิบายให้พระเณรฟังอยู่มาก เท่าที่เขียนตามท่านอธิบายไว้พอหอมปากหอมคอนี้ ก็ยังอาจมีบทที่รู้สึกว่าเปรี้ยวจัดเค็มจัดแฝงอยู่บ้างตามทรรศนะของนานาจิตตัง จะให้เป็นแบบเดียวกันย่อมไม่ได้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เท่าที่ได้พยายามตะเกียกตะกายนำมาลง ก็เพื่อท่านผู้อ่านได้ช่วยติชมพอเป็นยาอายุวัฒนะ ผิดถูกประการใดโปรดได้ตำหนิผู้นำมาเขียน กรุณาอย่าได้สนใจกับท่านผู้เป็นเจ้าของประวัติ เพราะท่านมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย เวลาแสดงธรรมขั้นสูงท่านก็แสดงเป็นการภายในเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเท่านั้น แต่ผู้เขียนคะนองไปเอง ใจและมือไม่อยู่เป็นสุข ไปเที่ยวซอกแซกบันทึกเอาจากปากคำของพระอาจารย์ทั้งหลายที่เป็นลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งเคยอยู่กับท่านมาเป็นคราว ๆ ในสมัยนั้น ๆ แล้วนำมาลงเพื่อท่านผู้อ่านได้ทราบปฏิปทาการดำเนินของท่านบ้างแม้ไม่สมบูรณ์ เพราะปฏิปทาท่านปรากฏว่าเด็ดเดี่ยวอาจหาญมาก แทบจะพูดได้ว่าไม่มีท่านผู้ใดบรรดาลูกศิษย์ที่เคยพึ่งร่มเงาแห่งบารมีท่านมา จะสามารถปฏิบัติเด็ดเดี่ยวต่อธุดงควัตรและจริยธรรมทั้งหลายอย่างสม่ำเสมอเหมือนท่าน สำหรับองค์ท่าน ทั้งข้อปฏิบัติ ทั้งความรู้ภายในใจ นับว่าเป็นเยี่ยมในสมัยปัจจุบัน ยากจะหาผู้เสมอเหมือนได้
    <o:p></o:p>
    แถบจังหวัดอุดร และหนองคาย ตามในป่า ชายเขา และบนเขาที่ท่านพักอยู่ ท่านเล่าว่าพวกเทพฯ ทั้งเบื้องบนเบื้องล่างมาเยี่ยมฟังธรรมท่านเป็นคราว ๆ ครึ่งเดือนบ้าง หนึ่งเดือนบ้างมาหนหนึ่ง ไม่บ่อยนักเหมือนจังหวัดเชียงใหม่ แต่จะเขียนต่อเมื่อประวัติท่านดำเนินไปถึง ระยะนี้ขอดำเนินเรื่องไปตามลำดับเพื่อไม่ให้ก้าวก่ายกัน ท่านเคยไปพักบำเพ็ญเพียรอยู่ชายเขาฝั่งไทยตะวันตกเมืองหลวงพระบาง นานพอสมควร ท่านเล่าว่าที่ใต้ชายเขาลูกนั้นมีเมืองพญานาคตั้งอยู่ใหญ่โตมาก หัวหน้าพญานาคพาบริวารมาฟังธรรมท่านเสมอ และมากันมากมายในบางครั้ง พวกนาคไม่ค่อยมีปัญหามากเหมือนพวกเทวดา พวกเทวดาทั้งเบื้องบนเบื้องล่างมักมีปัญหามากพอ ๆ กัน ส่วนความเลื่อมใสในธรรมนั้นมีพอ ๆ กัน ท่านพักอยู่ชายเขาลูกนั้น พญานาคมาเยี่ยมท่านแทบทุกคืนและมีบริวารติดตามมาไม่มากนัก นอกจากจะพามาเป็นพิเศษ ถ้าวันไหนพญานาคจะพาบริวารมามาก ท่านก็ทราบได้ล่วงหน้าก่อนทุกครั้ง
    <o:p></o:p>
    ท่านว่าท่านพักอยู่ที่นั้นเป็นประโยชน์แก่พวกนาคและพวกเทวดาโดยเฉพาะ ไม่ค่อยเกี่ยวกับประชาชนนัก พวกนาคมาเยี่ยมท่านไม่มาตอนดึกนัก ท่านว่าอาจจะเป็นเพราะที่ที่พักสงัดและอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านก็ได้ พวกนาคจึงพากันมาเยี่ยมเฉพาะที่นั้นราว ๒๒๒๓ นาฬิกา คือ ๔-๕ ทุ่ม ส่วนที่อื่น ๆ มาดึกกว่านั้นก็มี เวลาขนาดนั้นก็มี พญานาคอาราธนานิมนต์ท่านให้อยู่ที่นั่นนาน ๆ เพื่อโปรดเขา เขาเคารพเลื่อมใสท่านมาก และจัดให้บริวารมารักษาท่านทั้งกลางวันและกลางคืน โดยผลัดเปลี่ยนวาระกันมามิได้ขาด แต่เขามิได้มาอยู่ใกล้นัก อยู่ห่าง ๆ พอทราบและรักษาเหตุการณ์เกี่ยวกับท่านได้สะดวก ส่วนพวกเทพฯ โดยมากมักมาดึกกว่าพวกนาค คือ ๒๔ นาฬิกาหรือตี ๑ ตี ๒ ถ้าอยู่ในเขาห่างไกลจากหมู่บ้าน พวกเทพฯ ก็มีมาแต่วัน ราว ๒๒๒๓ นาฬิกาอยู่บ้างจึงไม่แน่นัก แต่โดยมากนับแต่เที่ยงคืนขึ้นไป พวกเทพฯ ชอบมากันเป็นนิสัย<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ป่าแถบนี้แต่ก่อนไม่มีบ้านผู้บ้านคน ถึงมีก็อยู่ห่าง ๆ กันและมีเพียง ๓-๔ หลังคาเรือน ตั้งอยู่เป็นหย่อม ๆ ซึ่งอาศัยทำไร่ข้าวและปลูกสิ่งต่าง ๆ เป็นอาชีพ ตั้งอยู่ตามชายเขาระหว่างที่ผ่านไป ท่านอาศัยชาวบ้านเหล่านั้นเป็นโคจรบิณฑบาตไปเป็นระยะ ๆ หมู่บ้านที่อยู่แถบนั้นเขามีศรัทธาในพระธุดงค์ดีมาก พวกนี้อาศัยสัตว์ป่าเป็นอาหาร เพราะสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ มีมาก เวลาพักอยู่กับเขาได้รับความสะดวกแก่การบำเพ็ญมาก เขาไม่มารบกวนให้เสียเวลาเลย ต่างคนต่างอยู่และต่างทำหน้าที่ของตน ปรากฏว่าการเดินทางเป็นไปด้วยความสะดวกราบรื่น ทั้งทางกายและทางใจ จนถึงกรุงเทพฯ ด้วยความสวัสดี
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านเข้าพักวัดปทุมวัน ท่านว่าการขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพฯ กับภาคอีสาน ท่านขึ้นล่องเสมอ บางเที่ยวขึ้นรถไฟไปลงเอาที่สุดรถไฟไปถึง เพราะแต่ก่อนรถไฟยังไม่ทันถึงที่สุดทาง บางเที่ยวก็เดินธุดงค์ไปมาเรื่อย ๆ ก็มี เวลาท่านพักและจำพรรษาที่วัดปทุมวัน ได้ไปศึกษาอรรถธรรมกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ วัดบรมนิวาสเสมอ ออกพรรษาแล้วหน้าแล้ง ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ จะไปเชียงใหม่ ท่านนิมนต์ท่านอาจารย์ไปเชียงใหม่ด้วย ท่านเลยไปเที่ยวทางเชียงใหม่กับท่านเจ้าคุณ อุบาลีฯ ขณะนั่งรถไฟไปเชียงใหม่ ท่านเล่าว่าท่านเข้าสมาธิภาวนาไปเรื่อย ๆ เกือบตลอดทาง มีพักนอนบ้าง ก็เวลารถไฟออกจากกรุงเทพฯ ไปถึงลพบุรี พอถึงอุตรดิตถ์ รถจะเริ่มเข้าเขา ท่านก็เริ่มเข้าสมาธิภาวนาแต่บัดนั้นเป็นต้นไป จนจะถึงสถานีเชียงใหม่ถึงได้ถอนจิตออกจากสมาธิ เพราะขณะจะเริ่มทำสมาธิภาวนา ท่านตั้งจิตไว้ว่า จะให้จิตถอนจากสมาธิต่อเมื่อรถไฟจวนเข้าถึงตัวเมืองเชียงใหม่ แล้วก็เริ่มปฏิบัติหน้าที่ภาวนาต่อไป โดยมิได้สนใจกับอะไรอีก
    <o:p></o:p>
    ขณะนั่งทำสมาธิไม่นาน ประมาณ ๒๐ นาที จิตก็รวมลงสู่ความสงบถึงฐานของสมาธิอย่างเต็มที่ จากขณะนั้นแล้วก็ไม่ทราบว่ารถไฟวิ่งหรือไม่ มีแต่จิตที่แน่วลงสู่ความสงบระงับตัวจากสิ่งภายนอกทั้งมวล ไม่มีอะไรปรากฏ แม้ที่สุดกายก็ได้หายไปในความรู้สึก เป็นจิตที่ดับสนิทจากการรับรู้และรบกวนจากสิ่งต่าง ๆ เป็นเหมือนโลกธาตุไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย ประหนึ่งได้ดับไปพร้อมกับความคิดปรุงและความสำคัญรับรู้ต่าง ๆ ของขันธ์โดยสิ้นเชิง ขณะนั้นเป็นความรู้สึกว่ากายหายไป รถไฟและเสียงรถหายไป ผู้คนโดยสารในรถไฟหายไป ตลอดสิ่งต่าง ๆ ที่เคยเกี่ยวข้องกันกับจิตได้หายไปจากความรู้สึกโดยสิ้นเชิง สิ่งที่เหลืออยู่ในเวลานั้นก็น่าจะเป็นสมาธิสมาบัติอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในขณะนั้นมิได้สำคัญตนว่าอยู่ในที่เช่นไร
    <o:p></o:p>
    จิตทรงตัวอยู่ในลักษณะนี้ตลอดมาแต่ ๒๐ นาทีแรกเริ่มสมาธิ จนถึงชานเมืองเชียงใหม่จึงได้ถอนตัวออกมาเป็นปกติจิต ลืมตาขึ้นมองดูสภาพทั่วไป ก็พอดีเห็นตึกรามบ้านช่องขาวดาดาษไปทุกทิศทุกทาง จากนั้นก็เริ่มออกจากที่และเตรียมจะเก็บสิ่งของบริขาร มองดูผู้คนในรถรอบ ๆ ข้าง ต่างพากันมองมา นัยน์ตาจับจ้องมองดูท่านอย่างพิศวงสงสัยไปตาม ๆ กัน รู้สึกจะเป็นที่ประหลาดใจของคนในรถไฟทั้งขบวน นับตั้งแต่เจ้าหน้าที่รถไฟลงมาไม่น้อยเลย มาทราบได้ชัดเจนเอาตอนท่านจะขนสิ่งของบริขารลงจากรถ ขณะที่รถจะถึงที่เจ้าหน้าที่รถไฟต่างมาช่วยขนสิ่งของลงรถช่วยท่านด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ทั้งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย ทั้งคนโดยสารและเจ้าหน้าที่รถไฟต่างยืนมองท่านจนวาระสุดท้ายอย่างไม่กะพริบตาไปตาม ๆ กัน<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แม้ก่อนจะลงจากรถก็มีเจ้าหน้าที่รถไฟและคนโดยสารมาถามท่านว่า ท่านอยู่วัดไหน และท่านจะเดินทางไปไหนต่อไป ท่านก็ได้ตอบว่าท่านเป็นพระอยู่ตามป่า ไม่ค่อยมีหลักฐานวัดวาแน่นอนนัก และตั้งใจจะมาเที่ยววิเวกตามเขาแถบนี้ เจ้าหน้าที่รถไฟและผู้โดยสารบางคนก็ถามท่านด้วยความเอื้อเฟื้อเลื่อมใสว่า ขณะนี้ท่านจะไปพักวัดไหนและมีผู้มารับหรือตามส่งหรือยัง ท่านแสดงความขอบคุณเจ้าหน้าที่รถไฟ และเรียนว่ามีผู้มารับเรียบร้อยแล้ว เพราะท่านไปกับท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่และเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวเมืองเป็นอย่างยิ่ง นับแต่เจ้าผู้ครองนครลงมาถึงพ่อค้าประชาชน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ขณะนั้นปรากฏว่ามีผู้คนพระเณรไปรอรับท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ อยู่คับคั่ง แม้รถยนต์ซึ่งเป็นของหายากในสมัยนั้น แต่ก็ปรากฏว่ามีรถไปรอรับอยู่หลายคัน ทั้งรถข้าราชการและพ่อค้าประชาชน รับท่านเจ้าคุณฯ จากสถานีมาวัดเจดีย์หลวง
    <o:p></o:p>
    เมื่อประชาชนทราบว่า ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ มาพักที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ต่างก็มากราบนมัสการเยี่ยมและฟังโอวาทท่าน ในโอกาสที่ประชาชนมามากนั้น ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ได้อาราธนาท่านพระอาจารย์มั่นเป็นองค์แสดงธรรมให้ประชาชนฟัง ปรากฏว่าท่านแสดงธรรมไพเราะเพราะพริ้งจับใจท่านผู้ฟังมากมาย ไม่อยากให้จบลงง่าย ๆ เทศน์กัณฑ์นั้นทราบว่า ท่านเริ่มแสดงมาแต่ต้นอนุปุพพิกถาขึ้นไปเป็นลำดับ จนจบลงในท่ามกลางแห่งความเสียดายของพุทธศาสนิกชนที่กำลังฟังเพลิน พอเทศน์จบลง ท่านลงมากราบพระเถระ แล้วหลีกออกไปหาที่พักผ่อนตามอัธยาศัย
    <o:p></o:p>
    ขณะนั้นท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ กล่าวชมเชยธรรมเทศนาของท่านในท่ามกลางบริษัทว่า ท่านมั่นแสดงธรรมไพเราะมาก หาผู้เสมอเหมือนได้ยาก และแสดงธรรมเป็นมุตโตทัย คือแดนแห่งความหลุดพ้น ที่ผู้ฟังไม่มีที่น่าเคลือบแคลงสงสัย นับว่าท่านแสดงได้อย่างละเอียดลออดีมาก แม้แต่เราเองก็ไม่อาจแสดงได้ในลักษณะแปลก ๆ และชวนให้ฟังเพลินไปอย่างท่านเลย สำนวนโวหารของพระธุดงคกรรมฐานนี้แปลกมาก ฟังแล้วทำให้ได้ข้อคิดและเพลินไปตาม ไม่มีเวลาอิ่มพอและเบื่อง่ายเลย<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านเทศน์ในสิ่งที่เราเหยียบย่ำไปมาอยู่นี่แล คือสิ่งที่เราเคยเห็นเคยได้ยินอยู่เป็นประจำ แต่มิได้สนใจคิดและนำมาทำประโยชน์ เวลาท่านเทศน์ผ่านไปแล้วถึงระลึกได้ ท่านมั่นท่านเป็นพระกรรมฐานองค์สำคัญที่ใช้สติปัญญาตามทางมรรคที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้จริง ๆ ไม่นำมาเหยียบย่ำทำลายให้กลายเป็นโลก ๆ เลว ๆ ไปเสียดังที่เห็น ๆ กัน ท่านเทศน์มีบทหนักบทเบาและเน้นหนักลงเป็นตอน ๆ พร้อมทั้งการคลี่คลายความสลับซับซ้อนแห่งเนื้อธรรมที่ลึกลับ ซึ่งพวกเราไม่อาจแสดงออกมาได้อย่างเปิดเผย และสามารถแยกแยะธรรมนั้น ๆ ออกมาชี้แจงให้เราฟังได้อย่างถึงใจโดยไม่มีปัญหาอะไรเลย นับว่าท่านฉลาดแหลมคมมากในเชิงเทศนา วิธีซึ่งหาตัวจับได้ยาก อาตมาแม้เป็นอาจารย์ท่าน แต่ก็ยกให้ท่านสำหรับอุบายต่าง ๆ ที่เราไม่สามารถซึ่งมีอยู่เยอะแยะ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เฉพาะท่านมั่นท่านสามารถจริง อาตมาเองยังเคยถามปัญหาขัดข้องใจที่ตนไม่สามารถแก้ได้โดยลำพังกับท่าน แต่ท่านยังสามารถแก้ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวด้วยปัญญา เราพลอยได้คติจากท่านไม่มีประมาณ อาตมาจะมาเชียงใหม่จึงได้นิมนต์ท่านมาด้วย ซึ่งท่านก็เต็มใจมาไม่ขัดข้อง ส่วนใหญ่ท่านอาจเห็นว่าที่เชียงใหม่เรามีป่า มีภูเขามาก สะดวกแก่การแสวงหาที่วิเวก ถึงได้ตกลงใจมากับอาตมาก็เป็นได้ เป็นแต่ท่านมิได้แสดงออกเท่านั้นเอง พระอย่างท่านมั่นเป็นพระที่หาได้ยากมาก อาตมาแม้จะเป็นผู้ใหญ่กว่าท่าน แต่ก็เคารพเลื่อมใสธรรมของท่านอยู่ภายใน ท่านเองก็ยิ่งมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่ออาตมามากจนละอายท่านในบางคราว ท่านพักอยู่ที่นี่พอสมควรก็ออกแสวงหาที่วิเวกต่อไป อาตมาก็จำต้องปล่อยตามอัธยาศัยท่าน ไม่กล้าขัดใจ เพราะพระจะหาแบบท่านมั่นนี้รู้สึกจะหาได้ยากอย่างยิ่ง เมื่อท่านมีเจตนามุ่งต่อธรรมอย่างยิ่ง เราก็ควรอนุโมทนา เพื่อท่านจะได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ตนและประชาชน พระเณรในอนาคตอันใกล้นี้
    <o:p></o:p>
    ท่านผู้ใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการอบรมภาวนาก็เชิญไปศึกษาไต่ถามท่าน จะไม่ผิดหวังแน่นอน แต่กรุณาอย่าไปขอตะกรุดวิชาคาถาอาคมอยู่ยงคงกระพันชาตรี ความแคล้วคลาดปลอดภัยต่าง ๆ ที่ผิดทาง จะเป็นการไปรบกวนท่านให้ลำบากโดยมิใช่ทาง บางทีท่านอาจใส่ปัญหาเจ็บแสบเอาบ้างจะว่าอาตมาไม่บอก เพราะท่านมั่นมิใช่พระประเภทนั้น ท่านเป็นพระจริง ๆ และสั่งสอนคนให้เห็นผิดเห็นถูก เห็นชั่วเห็นดีและเห็นบาปเห็นบุญจริง ๆ มิได้สั่งสอนออกนอกลู่นอกทางไปจากคลองธรรม ท่านเป็นพระปฏิบัติจริงและรู้ธรรมตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้จริง ๆ
    <o:p></o:p>
    เท่าที่ได้สนทนาธรรมกับท่านแล้วรู้สึกได้ข้อคิดอย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งใคร ๆ ไม่อาจพูดได้อย่างท่านเลยเท่าที่ผ่านมาในสมัยปัจจุบัน อาตมาเคารพเลื่อมใสท่านมากภายในใจ โดยที่ท่านไม่ทราบว่าอาตมาเคารพท่าน ถ้าท่านไม่ทราบด้วยญาณเอง เพราะมิได้พูดให้ท่านฟัง ท่านเป็นพระที่น่าเคารพบูชาจริง ๆ และอยู่ในข่ายแห่งปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส ขั้นใดขั้นหนึ่งแน่นอนไม่สงสัย แต่ท่านเองมิได้แสดงตัวว่าเป็นพระที่ตั้งอยู่ในธรรมขั้นนั้น ๆ หากพอรู้ได้ในเวลาสนทนากันโดยเฉพาะ ไม่มีใครเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย<o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อาตมาเองเชื่อว่าเป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรมขั้นสามอย่างเต็มภูมิ ทั้งนี้ทราบจากการแสดงออกแห่งธรรมที่ท่านรู้เห็น แม้ท่านจะไม่บอกภูมิที่บรรลุว่าภูมินั้น ๆ แต่ก็ทราบได้อย่างไม่มีข้อสงสัย เพราะธรรมที่ท่านแสดงให้ฟังเป็นธรรมในภูมินั้น ๆ แน่นอน ไม่ผิดกับปริยัติที่แสดงไว้ ท่านเป็นพระที่มีความเคารพและจงรักภักดีต่ออาตมามากตลอดมา ไม่เคยแสดงอากัปกิริยากระด้างวางตัวเย่อหยิ่งแต่อย่างใดให้เห็นเลย นอกจากวางตัวแบบผ้าขี้ริ้ว ซึ่งเห็นแล้วอดเลื่อมใสอย่างจับใจไม่ได้ทุก ๆ ครั้งไปเท่านั้น นี่เป็นคำของเจ้าคุณอุบาลีฯ กล่าวชมเชยท่านพระอาจารย์มั่นในที่ลับหลังให้ญาติโยมและพระเณรฟัง หลังจากท่านแสดงธรรมจบลงแล้วหลีกไป
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พระที่ได้ยินคำชมเชยนี้แล้วนำไปเล่าให้ท่านฟัง ท่านจึงนำเรื่องนี้มาเล่าให้คณะลูกศิษย์ฟังเวลามีโอกาสดี ๆ คำว่ามุตโตทัย ที่มีในชีวประวัติย่อของท่าน ซึ่งพิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพท่าน ก็เป็นนิมิตตกนามไปจากคำชมเชยของท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ครั้งนั้นสืบต่อมา ทราบว่าท่านไปพักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ จนถึงพ.ศ. ๒๔๘๓ จึงได้ไปจังหวัดอุดรตามคำอาราธนาของท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ตอนเกี่ยวกับอุดรจะรอเขียนลงข้างหน้า เมื่อเรื่องท่านดำเนินไปถึง
    <o:p></o:p>
    ท่านพักอยู่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ พอสมควรแล้ว ก็กราบลาท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ เพื่อไปเที่ยวแสวงหาที่วิเวกตามอำเภอต่าง ๆ ที่มีป่ามีเขามาก ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ก็อนุญาตตามอัธยาศัย ท่านเริ่มออกเที่ยวครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ ทราบว่าท่านไปเที่ยวองค์เดียว จึงเป็นโอกาสอันเหมาะอย่างยิ่ง ที่ช่วยให้ท่านมีตนเป็นผู้เดียวในการบำเพ็ญเพียรอย่างสมใจที่หิวกระหายมานาน นับแต่สมัยที่อยู่เกลื่อนกล่นกับหมู่คณะมาหลายปี เพิ่งได้มีเวลาเป็นของตนในคราวนั้น ทราบว่าท่านเที่ยววิเวกไปทางอำเภอแม่ริม เชียงดาว เป็นต้น เข้าไปพักในป่าในเขาตามนิสัย ทั้งหน้าแล้งหน้าฝน
    <o:p></o:p>
    การบำเพ็ญเพียรคราวนี้ท่านเล่าว่าเป็นความเพียรขั้นแตกหัก ท่านพร่ำสอนตนว่าคราวนี้จะดีหรือไม่ดี จะเป็นหรือจะตายต้องเห็นกันแน่นอน เรื่องอื่น ๆ ไม่มียุ่งเกี่ยวแล้ว เพราะความสงสารหมู่คณะและการอบรมสั่งสอนก็ได้ทำเต็มความสามารถแล้วไม่มีทางสงสัย ผลเป็นประการใดก็เห็นประจักษ์มาบ้างแล้ว บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่จะสงสารตัวเอง อบรมสั่งสอนตัวเอง ยกตัวเองให้พ้นจากสิ่งมืดมิดปิดบังที่มีอยู่ภายในให้พ้นไป ชีวิตความเป็นอยู่ของคนที่มีภาวะเกี่ยวข้องด้วยหมู่คณะ เป็นชีวิตที่เกลื่อนกล่นทนทุกข์จนเหลือทน แทบไม่มีเวลาปลีกตัวออกได้ แม้จะมีสติปัญญาพอเป็นเครื่องพาหลบซ่อนผ่อนคลายความทุกข์ได้บ้างไม่เผาลนจนเกินไปก็ตาม แต่ก็จำต้องยอมรับว่าเป็นชีวิตที่กระเสือกกระสนอดทนต่อความทุกข์ร้อนอยู่นั่นเอง การบำเพ็ญก็น้อย ผลที่จะพึงได้รับก็นิดเดียว ไม่สมกับความเหนื่อยยากลำบากมานาน<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บัดนี้เป็นโอกาสที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่ได้หลีกออกมาบำเพ็ญอยู่คนเดียว ในสถานที่เปล่าเปลี่ยวไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งใด นี่คือชีวิตของบุคคลผู้เดียวไม่เกี่ยวเกาะ นี่คือสถานที่อยู่ที่บำเพ็ญที่เป็นและที่ตายของบุคคลผู้มุ่งตัดความเยื่อใยทั้งภายในภายนอกออกจากใจ มิให้มีสิ่งกังวลเศษเหลืออยู่พอเป็นเชื้อแห่งภพชาติ อันเป็นที่ไหลมาแห่งกองทุกข์ทั้งมวล ซึ่งจะตามมาบีบบังคับให้จำต้องทรมานต่อไปไม่มีเวลาจบสิ้นลงได้ นี่คือสถานที่ของผู้มีความเพียรตามติดเพื่อประชิดต่อสิ่งที่เคยก่อภพก่อชาติ อันเป็นจอมฉลาดทางปลิ้นปล้อนหลอกลวงให้พลอยหลงตามอยู่ภายใน ให้ขาดกระเด็นไปจากใจในไม่ช้า
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อย่ามัวพะว้าพะวังกับสิ่งโน้นสิ่งนี้ คนโน้นคนนี้ อันเป็นเรื่องของเรือพ่วงที่เพียบด้วยภาระหนัก จะไปไม่ถึงไหนและใกล้ต่อความอับปาง ทั้งห่างเหินต่อฝั่งแห่งพระนิพพาน เมื่อถึงที่หมายตามใจหวังแล้ว ความเมตตาสงสารจะดับไปตามกิเลสความเห็นแก่ตัว ไม่เหลียวแลผู้ใดที่กำลังตกทุกข์ ก็ขอให้รู้กันในวงแห่งความบริสุทธิ์ที่กำลังมุ่งมั่นหวั่นเกรงกลัวจะไม่ถึงอยู่เวลานี้ ขณะนี้จงห่วงใยตัวเอง เมตตาตัวเอง ให้พอกับความหวังด้วยความเพียรของผู้เป็นศิษย์พระตถาคตผู้ปรากฏเด่นทางความเพียรไม่ลดละและถอยกำลัง
    <o:p></o:p>
    เราทราบหรือยังว่าเวลานี้เรามาทำความเพียรพยายามเพื่อข้ามโลกข้ามสงสาร มีพระนิพพานเป็นหลักชัย ไกลกังวลและพ้นทุกข์โดยประการทั้งปวง ถ้าทราบแล้วประโยคพยายามของผู้จะข้ามโลกสมมุติท่านดำเนินกันอย่างไรบ้าง พระศาสดาผู้ทรงพาดำเนินและประกาศสอนธรรมไว้ ท่านพาดำเนินและสอนไว้อย่างไร ท่านสอนไว้ว่าพอรู้เห็นอรรถธรรมบ้างแล้วให้เริ่มห่วงนั้นห่วงนี้จนลืมตัวหรืออย่างไร? แรกเริ่มที่พระองค์ทรงประกาศพระศาสนาแก่หมู่ชน โดยมีพระองค์และพระสาวกไม่กี่องค์ที่ควรช่วยพุทธภาระให้เบาลง และเพื่อพระศาสนาได้แพร่ไปในหมู่ชนกว้างขวางโดยรวดเร็ว ข้อนั้นควรอย่างยิ่ง สำหรับเราไม่เข้าในลักษณะนั้น จึงควรเห็นตนเป็นสำคัญในขณะนี้ เมื่อตนชอบยิ่งแล้ว ประโยชน์เพื่อผู้อื่นจะค่อยตามมาอย่างแยกไม่ออก นี่จัดว่าเป็นผู้รอบคอบและไม่เนิ่นช้า ควรนำมาขบคิดเพื่อเป็นคติแก่ตัวเรา
    <o:p></o:p>
    เวลานี้เรากำลังเข้าอยู่ในสนามรบ เพื่อชิงชัยระหว่างกิเลสกับมรรค คือข้อปฏิบัติ เพื่อช่วงชิงจิตให้พ้นจากความเป็นสมบัติสองเจ้าของ มาครองเป็นเอกสิทธิ์แต่ผู้เดียว ถ้าความเพียรย่อหย่อน ความฉลาดไม่พอ จิตจำต้องหลุดมือตกไปอยู่ในอำนาจของฝ่ายต่ำ คือกิเลส และพาให้เป็นวัฏจักรหมุนเพื่อความทุกข์ร้อนไปตลอดอนันตกาล ถ้าเราสามารถด้วยความเพียรและความฉลาดแหลมคม จิตจำต้องตกมาอยู่ในเงื้อมมือและเป็นสมบัติอันล้นค่าของเราแต่ผู้เดียว คราวนี้เป็นเวลาที่เรารบรันฟันแทงกับกิเลสอย่างสะบั้นหั่นแหลก ไม่รีรอย่อหย่อนอ่อนกำลัง โดยเอาชีวิตเข้าประกัน ถ้าไม่ชนะก็ยอมตายกับความเพียรโดยถ่ายเดียว ไม่ยอมถอยหลังพังทลายให้กิเลสหัวเราะเยาะเย้ยซึ่งเป็นสิ่งที่น่าอับอายไปนาน ถ้าชนะเราก็ครองอิสระอย่างสมบูรณ์ไปตลอดกาล ทางเดินของเรามีทางเดียวเท่านี้ คือต้องสู้จนถึงตายกับความเพียรเพื่อชัยชนะอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีทางอื่นเป็นทางออกตัว <o:p></o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เหล่านี้เป็นโอวาทที่ท่านพร่ำสอนตัวเองให้เกิดความกล้าหาญ เพื่อชัยชนะอันเป็นความสมหวังดังใจหมายต่อไป ก็เป็นประโยคแห่งความเพียรที่ดำเนินตามกฎข้อบังคับแบบตายตัวทั้งกลางวันกลางคืน ยืน เดิน นั่ง นอน เว้นแต่ขณะหลับเท่านั้น นอกนั้นเป็นความเพียรไปตลอดสาย สติกับปัญญาหมุนรอบความสัมผัสภายนอกและความคิดภายใน มีสติกับปัญญาเป็นผู้วินิจฉัยไต่สวนเรื่องที่เกิดกับใจไม่ยอมให้ผ่านไปได้ เพราะสติปัญญาขั้นนี้เป็นธรรมจักรหมุนรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่นิยมอิริยาบถ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านเล่าความเพียรตอนนี้ ผู้ฟังทั้งหลายต่างนั่งตัวแข็งเหมือนไม่มีลมหายใจไปตาม ๆ กัน เพราะเกิดความอัศจรรย์ในธรรมท่านอย่างสุดขีด เหมือนท่านเปิดประตูพระนิพพานออกให้ดู ทั้งที่ไม่เคยรู้ว่าพระนิพพานเป็นเช่นไรเลย แม้องค์ท่านเองก็ปรากฏว่ากำลังเร่งฝีเท้าคือความเพียรเพื่อบรรลุพระนิพพานอย่างรีบด่วนอยู่เช่นกันในขณะนั้น หากแต่ธรรมที่ท่านเล่าเพียงขั้นกำลังดำเนินนั้น เป็นธรรมที่ผู้ไม่เคยได้ยินมาก่อนจะทรงตัวอยู่ไม่ได้ จำต้องไหวตามด้วยความอัศจรรย์อยู่ดี
    <o:p></o:p>
    ท่านเล่าว่า จิตท่านทรงอริยธรรมขั้น ๓ อย่างเต็มภูมิมานานแล้ว แต่ไม่มีเวลาเร่งความเพียรตามใจชอบ เพราะภารกิจเกี่ยวกับหมู่คณะมีมากตลอดมา พอได้โอกาสคราวไปพักที่เชียงใหม่ จึงได้เร่งความเพียรเต็มเม็ดเต็มหน่วย และก็ได้อย่างใจหมายไปทุกระยะ สถานที่บรรยากาศก็อำนวย พื้นเพของจิตที่เป็นมาดั้งเดิมก็อยู่ในขั้นเตรียมพร้อม สุขภาพทางร่างกายก็สมบูรณ์ควรแก่ความเพียรทุก ๆ อิริยาบถ ความหวังในธรรมขั้นสุดยอด ถ้าเป็นตะวันก็กำลังทอแสงอยู่แล้วทุกขณะจิต ว่าแดนพ้นทุกข์กับเราคงเจอกันในไม่ช้านี้
    <o:p></o:p>
    ท่านเทียบจิตกับธรรมและกิเลสขั้นนี้เหมือนสุนัขไล่เนื้อ ตัวอ่อนกำลังเต็มที่แล้วเข้าสู่ที่จนมุม รอคอยแต่วาระสุดท้ายของเนื้อจะตกเข้าสู่ปากและบดเคี้ยวให้แหลกละเอียดอยู่เท่านั้น ไม่มีทางเป็นอย่างอื่น เพราะเป็นจิตที่สัมปยุตด้วยมหาสติมหาปัญญา ไม่มีเวลาพลั้งเผลอตัว แม้ไม่ตั้งใจระวังรักษา เนื่องจากเป็นสติปัญญาอัตโนมัติหมุนกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปโดยลำพังตนเอง เมื่อทราบเหตุผลแล้วปล่อยวางไว้ตามเป็นจริง ไม่ต้องมีการบังคับบัญชาเหมือนขั้นเริ่มแรกปฏิบัติ ว่าต้องพิจารณาสิ่งนั้น ต้องปฏิบัติต่อสิ่งนี้ อย่าเผลอตัวดังนี้ แต่เป็นสติปัญญาที่มีเหตุมีผลอยู่กับตัวอย่างพร้อมมูลแล้ว ไม่จำต้องหาเหตุหาผลหรืออุบายต่าง ๆ มาพร่ำสอนสติปัญญาขั้นนี้ให้ออกทำงาน<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เพราะในอิริยาบถทั้งสี่เว้นแต่หลับเท่านั้น เป็นเวลาทำงานของสติปัญญาขั้นนี้ตลอดไป ไม่ขาดวรรคขาดตอน เหมือนน้ำซับน้ำซึมที่ไหลรินอยู่ตลอดหน้าแล้งหน้าฝน โดยถือเอาอารมณ์ที่คิดปรุงจากจิตเป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณา เพื่อหามูลความจริงจากความคิดปรุงนั้น ๆ ขันธ์สี่คือนามขันธ์ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่แลคือสนามรบของสติปัญญาขั้นนี้ ส่วนรูปขันธ์เริ่มหมดปัญหามาแต่ปัญญาขั้นกลางที่ทำหน้าที่เพื่ออริยธรรมขั้น ๓ คือ อนาคามีธรรมนั้นแล้ว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อริยธรรมขั้น ๓ นี้ ต้องถือรูปขันธ์เป็นเป้าหมายแห่งการพิจารณาอย่างเต็มที่ และละเอียดถี่ถ้วนจนหมดทางสงสัยแล้วผ่านไปอย่างหายห่วง เมื่อถึงขั้นสุดท้าย นามขันธ์เป็นธรรมจำเป็นที่ต้องพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง ทั้งที่ปรากฏขึ้น ตั้งอยู่และดับไป โดยมีอนัตตาธรรมเป็นที่รวมลง คือ พิจารณาลงในความว่างเปล่าจากสัตว์ บุคคล หญิง ชาย เรา เขา ไม่มีคำว่าสัตว์ บุคคล เป็นต้น เข้าไปแทรกสิงอยู่ในนามธรรมเหล่านั้นเลย การเห็นนามธรรมเหล่านี้ต้องเห็นด้วยปัญญาหยั่งทราบตามหลักความจริงจริง ๆ ไม่เพียงเห็นด้วยความคาดหมายหรือคาดคะเนเดาเอาตามนิสัยของมนุษย์ที่ชอบด้นเดามาประจำสันดาน ความเห็นตามสัญญากับความเห็นด้วยปัญญาต่างกันอยู่มากราวฟ้ากับดิน ความเห็นด้วยสัญญาพาให้ผู้เห็นมีอารมณ์มาก มักเสกสรรตัวว่ามีความรู้มากทั้งที่กำลังหลงมาก จึงมีทิฐิมานะมากไม่ยอมลงใครง่าย ๆ
    <o:p></o:p>
    เราพอทราบได้เวลาสนทนาธรรมกันในวงนักศึกษาที่ต่างรู้ด้วยความจดจำด้วยกัน สภาธรรมมักจะกลายเป็นสภามวยฝีปากกันอยู่เสมอ โดยไม่จำกัดชาติชั้นวรรณะและเพศวัยเลย เพราะความสำคัญตนพาให้เป็นไป จนลืมมรรยาทความเคารพอันดีงามต่อกันตามประเพณีของมนุษย์ผู้มีธรรม ส่วนความเห็นด้วยปัญญาเป็นความเห็นซึ่งพร้อมที่จะถอดถอนความสำคัญมั่นหมายต่าง ๆ อันเป็นตัวกิเลสทิฐิมานะน้อยใหญ่ออกไปโดยลำดับที่ปัญญาหยั่งถึง ถ้าปัญญาหยั่งลงโดยทั่วถึงจริง ๆ กิเลสทั้งมวลก็พังทลายไปหมด ไม่มีกิเลสชนิดใดจะทนต่อสติปัญญาขั้นยอดเยี่ยมไปได้ ฉะนั้น สติปัญญาจึงเป็นอาวุธชั้นนำของธรรมที่กิเลสทั้งมวลไม่หาญสู้ได้แต่ไหนแต่ไรมา
    <o:p></o:p>
    พระศาสดาได้เป็นพระพุทธเจ้าก็เพราะสติปัญญา พระสาวกได้บรรลุถึงพระอรหัตก็เพราะสติปัญญาความรู้จริงเห็นจริง มิได้ถอดถอนกิเลสด้วยสัญญาความคาดหมายหรือเดาเอาเฉย ๆ เลย นอกจากนำมาใช้พอเป็นแนวทางในขั้นเริ่มแรกเท่านั้น แม้เช่นนั้นก็จำต้องระวังสัญญาจะแอบแฝงตัวขึ้นมาเป็นความจริงให้หลงตามอยู่ทุกระยะมิได้นิ่งนอนใจ การประกาศพระศาสนาเพื่อความจริงแก่โลก ทั้งพระพุทธเจ้าและพระสาวกทรงประกาศด้วยปัญญาความรู้จริงเห็นจริงทั้งนั้น ดังนั้นผู้ปฏิบัติทางจิตตภาวนาจึงควรระวังเจ้าสัญญาจะแอบเข้าทำหน้าที่แทนปัญญา โดยรู้เอาหมายเองเฉย ๆ แต่กิเลสแม้ตัวเดียวก็ไม่ถอดออกจากใจบ้างเลย และอาจกลายเป็นทำนองว่า ความรู้ท่วมหัว แต่เอาตัวไปไม่รอด ก็ได้<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธรรมขั้นรู้เห็นด้วยปัญญานี่แลที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่กาลามชนว่า ไม่ให้เชื่อแบบสุ่มเดา แบบคาดคะเน ไม่ให้เชื่อตาม ๆ กันมา ไม่ให้เชื่อตามครูอาจารย์ที่ควรเชื่อได้ เป็นต้น แต่ให้เชื่อด้วยปัญญาที่หยั่งลงสู่หลักความจริงด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นความรู้ที่แน่ใจอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าและสาวกอรหันต์ท่านมิได้มีคนประกันรับรองว่า ท่านได้บรรลุธรรมจริงอย่างนั้น ไม่จริงอย่างนี้ แต่ สนฺทิฏฺฐิโกมีอยู่กับทุกคน ถ้าปฏิบัติตามธรรมที่แสดงไว้โดยสมควรแก่ธรรม
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าว่า ปฏิบัติมาถึงขั้นนี้ มีความเพลิดเพลินจนลืมเวล่ำเวลา ลืมวันลืมคืน ลืมพักผ่อนหลับนอน ลืมความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า จิตตั้งท่าแต่จะสู้กิเลสทุกประเภทด้วยความเพียร เพื่อถอดถอนมันพร้อมทั้งราก โดยไม่มีความสะทกสะท้านหวั่นเกรงอะไรเลย นับแต่ออกจากวัดเจดีย์หลวงไปบำเพ็ญโดยลำพังองค์เดียวด้วยเวลาเป็นของตนทุก ๆ ระยะ ไม่ปล่อยให้วันคืนผ่านไปเปล่า ไม่นานนักเลยก็ไปถึงบึงใหญ่ชื่อ หนองอ้อ และ อ้อนี่เอง คือนับแต่ขณะปลีกออกไป จิตท่านเริ่มแสดงตัวอย่างผาดโผนเหมือนม้าอาชาไนยตัวองอาจ
    <o:p></o:p>
    ทั้งจะเหาะเหินเดินฟ้า ทั้งจะดำดินและบินขึ้นบนอากาศ ทั้งจะออกรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่มีประมาณบรรดามีอยู่ในโลกธาตุ ทั้งจะขุดค้นรื้อถอนกิเลสภายในใจให้หมดสิ้นไป ประหนึ่งในอึดใจเดียว เพราะความสามารถอาจหาญของสติปัญญาที่ถูกกักขังบังคับไว้ด้วยภาระเกี่ยวกับหมู่คณะเป็นเวลานาน มิได้ออกแล่นในห้วงมหาสมมุติมหานิยม เพื่อชมและเลือกเฟ้นกลั่นกรองให้สุดสติปัญญาที่แสนอยากรู้มานาน คราวนั้นจึงสบโอกาสวาสนาอำนวย สติปัญญาจึงแผลงฤทธิ์ทะยานออกล่องหนค้นดูไตรโลกธาตุ ทั้งภายในภายนอก วิ่งออกวิ่งเข้า แหวกว่ายผุดขึ้นดำลง ทั้งปลดทั้งปลง ทั้งปล่อยทั้งวาง ทั้งตัดทั้งฟัน ทั้งขยี้ทำลายสิ่งจอมปลอมทั้งหลายอย่างสุดกำลัง เหมือนปลาใหญ่สนุกแหวกว่ายหัวหางกลางตัวในทะเลหลวงฉะนั้น
    <o:p></o:p>
    จิตมองคืนไปข้างหลังที่ผ่านมาแล้ว เห็นแต่ความตีบตันมืดมิดและเต็มไปด้วยภัยนานาชนิดสุดที่จะรั้งรออยู่ได้ ใจสั่นริก ๆ เพื่อหาทางรอดพ้น มองไปข้างหน้าเห็นมีแต่ความสง่าผ่าเผยเวิ้งว้างสว่างไสว สุดความรู้ความเห็นที่จะพรรณนาให้จบสิ้นลงได้ และยากที่จะนำมาเขียนลงเพื่อท่านได้อ่านอย่างสมใจ จึงขออภัยไว้ด้วยในตอนที่ไม่สามารถจะนำมาลงซึ่งมีอยู่มากมายตามที่ท่านเล่าให้ฟัง<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ในเวลาไม่นานนักนับแต่ท่านออกรีบเร่งตักตวงความเพียรด้วยมหาสติมหาปัญญา ซึ่งเป็นสติปัญญาธรรมจักรหมุนรอบตัวและรอบสิ่งเกี่ยวข้องไม่มีประมาณตลอดเวลา ในคืนวันหนึ่งเวลาดึกสงัด ท่านนั่งสมาธิภาวนาอยู่ชายภูเขาที่มีหินพลาญกว้างขวางและเตียนโล่ง อากาศก็ปลอดโปร่งดี ท่านว่าท่านนั่งอยู่ใต้ร่มไม้ซึ่งตั้งอยู่โดดเดี่ยวเพียงต้นเดียว มีใบดกหนาร่มเย็นดี ซึ่งในตอนกลางวันท่านก็เคยอาศัยนั่งภาวนาที่นั้นบ้างในบางวัน แต่ผู้เขียนจำชื่อต้นไม้และที่อยู่ไม่ได้ว่า เป็นตำบล อำเภอและชายเขาอะไร เพราะขณะฟังท่านเล่าก็มีแต่ความเพลิดเพลินในธรรมท่านจนลืมคิดเรื่องอื่น ๆ ไปเสียหมด หลังจากฟังท่านผ่านไปแล้วก็นำธรรมที่ท่านเล่าให้ฟังไปบริกรรมครุ่นคิดแต่ความอัศจรรย์แห่งธรรมนั้นถ่ายเดียวว่า ตัวเรานี้จะเกิดมาเสียชาติและจะนำวาสนาแห่งความเป็นมนุษย์นี้ไปทิ้งลงในตมในโคลนที่ไหนหนอ จะมีวาสนาบารมีพอมีวันโผล่หน้าขึ้นมาเห็นธรรมดวงเลิศดังท่านบ้างหรือเปล่าก็ทราบไม่ได้ ดังนี้ จึงลืมไปเสียสิ้น มิได้สนใจว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องเรื่องราวกับท่านในวาระต่อไป ดังได้นำประวัติท่านมาลงอยู่ขณะนี้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    นับแต่ตอนเย็นไปตลอดจนถึงยามดึกสงัดของคืนวันนั้น ท่านว่าใจมีความสัมผัสรับรู้อยู่กับปัจจยาการ คือ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เป็นต้น เพียงอย่างเดียว ทั้งเวลาเดินจงกรมตอนหัวค่ำ ทั้งเวลานั่งเข้าที่ภาวนา จึงทำให้ท่านสนใจพิจารณาในจุดนั้นโดยมิได้สนใจกับหมวดธรรมอื่นใด ตั้งหน้าพิจารณาอวิชชาอย่างเดียวแต่แรกเริ่มนั่งสมาธิภาวนา โดยอนุโลมปฏิโลมกลับไปกลับมาอยู่ภายในอันเป็นที่รวมแห่งภพชาติ กิเลสตัณหามีอวิชชาเป็นตัวการ เริ่มแต่ ๒๐ น. คือ ๒ ทุ่ม ที่ออกจากทางจงกรมแล้วเป็นต้นไป ตอนนี้เป็นตอนสำคัญมาก ในการรบของท่านระหว่างมหาสติมหาปัญญาอันเป็นอาวุธคมกล้าทันสมัย กับอวิชชาซึ่งเป็นข้าศึกที่เคยทรงความฉลาดในเชิงหลบหลีกอาวุธอย่างว่องไว แล้วกลับยิงโต้ตอบให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับพ่ายแพ้ยับเยินไม่เป็นท่า และครองตำแหน่งกษัตริย์วัฏจักรบนหัวใจสัตว์โลกต่อไปตลอดอนันตกาล ไม่มีใครกล้าต่อสู้กับฝีมือได้
    <o:p></o:p>
    แต่ขณะที่ต่อยุทธสงครามกันกับท่านพระอาจารย์มั่นในคืนวันนั้น ประมาณเวลาราวตี ๓ ผลปรากฏว่า ฝ่ายกษัตริย์วัฏจักรถูกสังหารทำลายบัลลังก์ลงอย่างพินาศขาดสูญ ปราศจากการต่อสู้และหลบหลีกใด ๆ ทั้งสิ้น กลายเป็นผู้สิ้นฤทธิ์ สิ้นอำนาจ สิ้นความฉลาดทั้งมวลที่จะครองอำนาจอยู่ต่อไป ขณะกษัตริย์อวิชชาดับชาติขาดภพลงไปแล้ว เพราะอาวุธสายฟ้าอันสง่าแหลมคมของท่านสังหาร ท่านว่าขณะนั้นเหมือนโลกธาตุหวั่นไหว เสียงเทวบุตรเทวธิดาทั่วโลกธาตุประกาศก้องสาธุการเสียงสะเทือนสะท้านไปทั่วพิภพ ว่าศิษย์พระตถาคตปรากฏขึ้นในโลกอีกหนึ่งองค์แล้ว พวกเราทั้งหลายมีความยินดีและเป็นสุขใจกับท่านมาก แต่ชาวมนุษย์คงไม่มีโอกาสทราบ อาจมัวแต่เพลิดเพลินหาความสุขทางโลกเกินขอบเขต ไม่มีใครสนใจทราบว่าธรรมประเสริฐในดวงใจเกิดขึ้นในแดนมนุษย์เมื่อสักครู่นี้
    <o:p></o:p>
    พอขณะอัศจรรย์กระเทือนโลกธาตุผ่านไป เหลือแต่วิสุทธิธรรมภายในใจอันเป็นธรรมชาติแท้ซึ่งแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์ร่างกายและจิตใจ แผ่กระจายไปทั่วโลกธาตุในเวลานั้น ทำให้ท่านเกิดความแปลกประหลาดและอัศจรรย์ตัวเองมากมาย จนไม่สามารถจะบอกกับใครได้ ที่เคยมีเมตตาต่อโลกและสนใจจะอบรมสั่งสอนหมู่คณะและประชาชนมาดั้งเดิม เลยกลับกลายหายสูญไปหมด เพราะความเห็นธรรมภายในใจว่าเป็นธรรมละเอียดและอัศจรรย์ จนสุดวิสัยของมนุษย์จะรู้เห็นตามได้ และเกิดความท้อใจจนกลายเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่คิดจะสั่งสอนใครต่อไปในขณะนั้น คิดจะเสวยธรรมอัศจรรย์ในท่ามกลางโลกสมมุติแต่ผู้เดียว<o:p></o:p>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ใจหนักไปทางรำพึงรำพันถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครู ทรงรู้จริงเห็นจริง และสั่งสอนเวไนยเพื่อวิมุตติหลุดพ้นจริง ๆ ไม่มีคำโกหกหลอกลวงแฝงอยู่ในพระโอวาทแม้บทเดียวบาทเดียวเลย แล้วกราบไหว้บูชาพระคุณท่านไม่มีเวลาอิ่มพอตลอดคืน จากนั้นก็คิดเมตตาสงสารหมู่ชนเป็นกำลังที่เห็นว่าสุดวิสัยจะสั่งสอนได้ โดยถือเอาความบริสุทธิ์และอัศจรรย์ภายในใจมาเป็นอุปสรรค ว่าธรรมนี้มิใช่ธรรมของคนมีกิเลสจะครองได้ ถ้าสั่งสอนใครก็เกรงจะถูกหาว่าเป็นบ้า ว่าไปหาเรื่องอะไรมาสั่งสอนกัน คนดี ๆ มีสติสตังอยู่บ้างเขาจะไม่นำเรื่องทำนองนี้มาสอนกันดังนี้กันทั่วโลก จะไม่มีใครอาจรู้เห็นตามได้พอเป็นพยานให้เกิดกำลังใจในการสั่งสอน นอกจากอยู่ไปคนเดียวอย่างนี้พอถึงวันตายเท่านั้น ก็พอแล้วกับความหวังที่อุตส่าห์เสาะแสวงมาเป็นเวลานาน อย่าหาเรื่องร้ายใส่ตัวเองเลย จะกลายเป็นว่าทำคุณกลับได้โทษ โปรดสัตว์กลับได้บาปไปเปล่า ๆ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    นี้เป็นความคิดที่เกิดขึ้นกับท่านขณะที่ค้นพบธรรมอัศจรรย์ใหม่ ๆ ยังมิได้คิดอะไรให้กว้างขวางออกไป พอมีทางเชื่อมโยงถึงการอบรมสั่งสอนตามแนวศาสนธรรมที่พระศาสดาพาดำเนินมา ในวาระต่อมาค่อยมีโอกาสทบทวนธรรมที่รู้เห็นและปฏิปทาเครื่องดำเนิน ตลอดตัวเองที่รู้เห็นธรรมอยู่ขณะนั้นว่า ก็เป็นมนุษย์เดินดินกินผักกินหญ้าเหมือนโลกทั่ว ๆ ไป ไม่มีอะไรพิเศษแตกต่างกันพอจะเป็นบุคคลพิเศษสามารถอาจรู้เฉพาะผู้เดียว ส่วนผู้อื่นไม่สามารถ ทั้งที่มีอำนาจวาสนาสามารถรู้ได้อาจมีอยู่จำนวนมาก จึงเป็นความคิดเห็นที่เหยียบย่ำทำลายอำนาจวาสนาของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพราะความไม่รอบคอบกว้างขวางซึ่งไม่เป็นธรรมเลย
    <o:p></o:p>
    เพราะปฏิปทาเครื่องดำเนินเพื่อมรรคผลนิพพาน พระศาสดามิได้ประทานไว้เฉพาะบุคคลเดียว แต่ประทานไว้เพื่อโลกทั้งมวล ทั้งก่อนและหลังการเสด็จปรินิพพานผู้ตรัสรู้มรรคผลนิพพานตามพระองค์ด้วยปฏิปทาที่ประทานไว้มีจำนวนมหาศาลเหลือที่จะนับจะประมาณ มิได้มีเฉพาะเราคนเดียวที่กำลังมองข้ามโลกว่าไร้สมรรถภาพอยู่เวลานี้
    <o:p></o:p>
    พอพิจารณาทบทวนทั้งเหตุและผลทั้งต้นและปลายแห่งพระโอวาท ที่ประกาศปฏิปทาทางดำเนินเพื่อมรรคเพื่อผล ว่าเป็นธรรมสมบูรณ์สุดส่วนควรแก่สัตว์โลกทั่วไป ไม่ลำเอียงต่อผู้หนึ่งผู้ใดที่ปฏิบัติชอบอยู่ จึงทำให้เกิดความหวังที่จะสงเคราะห์ผู้อื่นขึ้นมา มีความพอใจที่จะอบรมสั่งสอนแก่ผู้มาเกี่ยวข้องอาศัยเท่าที่จะสามารถทั้งสองฝ่าย แต่การแสดงธรรมผู้แสดงต้องมีความเคารพต่อธรรม ไม่แสดงแก่บุคคลไม่มีความเคารพและไม่สนใจที่จะฟัง ขณะฟังมีผู้ส่งเสียงอื้ออึงไม่สนใจว่าธรรมมีคุณค่าเพียงไร ขณะนี้เป็นเวลาเช่นไรและกำลังอยู่ในสถานที่เช่นไร ควรจะใช้กิริยามรรยาทอย่างใดถึงจะเหมาะสมกับกรณี เห็นเป็นธรรมดา ๆ แบบโลกที่ชินชาต่อธรรมมาจนจำเจ ชินชาต่อวัด ชินชาต่อพระ ชินชาต่อธรรม เหมือนสิ่งธรรมดาทั่วไป อย่างนี้ก็แสดงไม่ลง เราก็เป็นโทษ ผู้ฟังก็ไม่ได้รับประโยชน์ที่ควรจะได้<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กว่าจะได้ธรรมมาแสดงก็แทบกระอักเลือดตายอยู่กลางป่ากลางเขาอยู่แล้ว เพราะความพยายามตะเกียกตะกายสุดกำลัง แถมยังนำธรรมมาละลายกับน้ำในทะเลเสียอีก ซึ่งมีที่ไหนท่านพากันทำสืบมาพอจะไม่คิดคำนึงบ้าง สำหรับสมณะซึ่งเป็นเพศที่ใคร่ครวญ แม้แต่กะปิเขายังรู้จักที่ที่ควรละลาย ธรรมมิใช่กะปิจึงควรพิจารณาด้วยดีก่อนจะนำออกทำประโยชน์ มิฉะนั้นจะกลายเป็นโทษโดยไม่รู้สึกและไม่มีอะไรสำคัญในโลกเลย การแสดงธรรมก็เพื่ออนุเคราะห์โลก เหมือนหมอวางยาแก่คนไข้เพื่อหายโรคและทุกขเวทนา หวังความอยู่สบายเป็นผล ถ้าเขาไม่สนใจอยากฟังก็จะไปกระวนกระวายแสดงธรรมหาประโยชน์อะไร
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ถ้าเรามีธรรมในใจจริง อยู่คนเดียวก็สบายพอแล้ว ไม่จำต้องไปแสวงหาเพื่อนหรือใคร ๆ มาคุยด้วยเพื่อแก้รำคาญหรือบรรเทาทุกข์ เพราะความอยากเทศน์อยากคุยซึ่งเป็นการเสริมทุกข์แก่ตัวเปล่า ๆ ผู้ทรงธรรมในลักษณะเช่นนั้นก็เป็นเพียงชื่อเท่านั้น ไม่เป็นความจริงใจในธรรมอย่างแท้จริง ที่ว่ารู้ธรรมเห็นธรรมดังพระพุทธเจ้าและพระสาวกทรงรู้เห็น สำหรับผมเองอยู่คนเดียวเป็นความสนิทใจว่าได้ปรับตัวทั้งทางกายและทางใจได้ดีพอ เพราะผู้มีธรรมก็คือผู้ไม่กระเพื่อมคะนองทางใจนั่นเอง ธรรมคือความสงบ ใจที่มีธรรมบรรจุอยู่ก็คือใจดวงสงบระงับจากเรื่องทั้งปวงนั่นแล
    <o:p></o:p>
    ด้วยความรู้สึกประจำใจอย่างนี้แล จึงชอบอยู่แต่ป่าแต่เขาประจำนิสัย เพราะเป็นที่ให้ความสุขทางวิหารธรรมได้ดีกว่าที่ทั้งหลาย การสงเคราะห์โลกเป็นกรณีพิเศษที่มีเป็นบางกาล ไม่ถือเป็นความจำเป็นเสมอไป ดังสุขวิหารธรรมที่จะควรทำให้มีอยู่เสมอในเวลาขันธ์ยังครองตัวอยู่ ไม่เช่นนั้นย่อมไม่สะดวกในการครองตัว ธรรมเมื่อมีอยู่กับเรา เรารู้อยู่ เห็นอยู่ ทรงอยู่ จะกระวนกระวายไปไหน ซึ่งล้วนเป็นการแส่หาทุกข์ทั้งนั้น ธรรมอยู่ที่ไหนความสงบสุขก็อยู่ที่นั่น ตามหลักธรรมชาติแล้วธรรมอยู่ที่ใจของผู้ปฏิบัติธรรม ความสงบสุขจึงมักเกิดขึ้นที่นั้น ที่อื่นไม่มีทางเกิดความสงบสุขได้
    <o:p></o:p>
    การแสดงธรรมผมระวังเอานักเอาหนา ไม่แสดงแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะธรรมมิใช่ธรรมสุ่มสี่สุ่มห้า การปฏิบัติธรรมก็มิได้ปฏิบัติแบบสุ่มสี่สุ่มห้า แต่ปฏิบัติอย่างมีกฎเกณฑ์ มีข้อบังคับ มีระเบียบแบบแผนตำรับตำราพาดำเนิน เวลารู้ก็มิได้รู้สุ่มสี่สุ่มห้า แต่รู้ตามหลักความจริง ตามความสามารถมากน้อยเพียงไร พระนักปฏิบัติจึงควรระวังและสำนึกตัวเสมอว่า เรามิใช่พระสุ่มสี่สุ่มห้า แต่เป็นพระที่มีระเบียบธรรมวินัยคือองค์แทนของศาสดาเป็นเครื่องปฏิบัติดำเนิน ความสงบเสงี่ยมเจียมตัวระวังกายวาจาใจไม่ให้เคลื่อนไปในทางผิด นั่นแลคือพระที่ทรงมรรค ทรงผล ทรงธรรม ทรงวินัย จะสามารถทรงตนได้ดีทั้งปัจจุบันและอนาคตไม่เสื่อมเสีย<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านว่าท่านพูดถึงการแสดงธรรม แล้วก็ย้อนมาหาธรรมภายในอีกว่า ขณะที่ธรรมแสดงขึ้นกับใจอย่างเต็มที่ โดยมิได้คิดอ่านไตร่ตรองไว้ก่อนเลยนั้น เป็นขณะที่ผิดคาดผิดหมายและสุดวิสัยที่จะคาดคะเนหรือด้นเดาให้ถูกกับความจริงของธรรมจริง ๆ ได้ รู้สึกเหมือนเราตายแล้วเกิดชาติใหม่ขึ้นมาในขณะนั้น ซึ่งเป็นการตายและการเกิดที่อัศจรรย์ไม่มีอะไรจะเทียบได้ ความรู้ซึ่งเปลี่ยนตัวขึ้นมาที่ว่าเกิดใหม่นี้ เป็นความรู้ที่ไม่เคยพบเคยเห็นทั้ง ๆ ที่มีอยู่กับตัวมาดั้งเดิม แต่เพิ่งมาปรากฏอย่างตื่นเต้นและอัศจรรย์เหลือประมาณเอาขณะนั้นนั่นเอง จึงทำให้เกิดความคิดเห็นไปต่าง ๆ ซึ่งออกจะนอกลู่นอกทางไปบ้าง ตอนคิดว่าไม่มีทางจะสั่งสอนคนอื่นให้รู้ตามได้ เพราะธรรมนี้สุดวิสัยที่ใคร ๆ จะรู้ได้ ดังนี้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านมีนิสัยผาดโผนมาดั้งเดิมนับแต่เริ่มออกปฏิบัติใหม่ ๆ ดังที่เรียนแล้ว แม้ขณะจิตจะเข้าถึงจุดอันเป็นวาระสุดท้ายก็ยังแสดงลวดลายให้องค์ท่านเองระลึกอยู่ไม่ลืม ถึงกับได้นำมาเล่าให้บรรดาลูกศิษย์ฟังพอเป็นขวัญใจ คือ พอจิตพลิกคว่ำวัฏจักรออกจากใจโดยสิ้นเชิงแล้ว ยังแสดงขณะเป็นลักษณะฉวัดเฉวียนเวียนรอบตัววิวัฏจิตถึงสามรอบ รอบที่หนึ่งสิ้นสุดลงแสดงบทบาลีขึ้นมาว่า โลโป บอกความหมายขึ้นมาพร้อมว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือการลบสมมุติทั้งสิ้นออกจากใจ รอบที่สองสิ้นสุดลงแสดงคำบาลีขึ้นมาว่า วิมุตติ บอกความหมายว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือความหลุดพ้นอย่างตายตัว รอบที่สามสิ้นสุดลงแสดงคำบาลีขึ้นมาว่า อนาลโย บอกความหมายขึ้นมาว่า ขณะใหญ่ของจิตที่ทำหน้าที่สิ้นสุดลงนั้น คือการตัดอาลัยอาวรณ์โดยสิ้นเชิง เป็นเอกจิต เอกธรรม จิตแท้ ธรรมแท้มีอันเดียว ไม่มีสองเหมือนสมมุติทั้งหลาย นี่คือวิมุตติธรรมล้วน ๆ ไม่มีสมมุติเข้าแอบแฝง จึงมีได้เพียงอันเดียว รู้ได้เพียงครั้งเดียว ไม่มีสองมีสามมาสืบต่อสนับสนุนกัน
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าและพระสาวกล้วนแต่รู้เพียงครั้งเดียวก็เป็นเอกจิตเอกธรรมอันสมบูรณ์ ไม่แสวงเพื่ออะไรอีก สมมุติภายในคือขันธ์ก็เป็นขันธ์ล้วน ๆ ไม่เป็นพิษเป็นภัยและทรงตัวอยู่ตามปกติเดิม ไม่มีการเพิ่มขึ้นและลดลงตามความตรัสรู้ คือขันธ์ที่เคยนึกคิด เป็นต้น ก็ทำหน้าที่ของตนไปตามคำสั่งของจิตผู้บงการ จิตที่เป็นวิมุตติก็หลุดพ้นจากความคละเคล้าพัวพันในขันธ์ ต่างอันต่างอยู่ ต่างอันต่างจริง ต่างไม่หาเรื่องหลอกลวงต้มตุ๋นกันดังที่เคยเป็นมา ต่างฝ่ายต่างสงบอยู่ตามธรรมชาติของตน ต่างฝ่ายต่างทำธุระหน้าที่ประจำตนจนกว่าจะถึงกาลแยกย้ายจากส่วนผสม เมื่อกาลนั้นมาถึงจิตที่บริสุทธิ์ก็แสดง ยถาทีโป จ นิพฺพุโต เหมือนประทีปดวงไฟที่หมดเชื้อแล้วดับไปฉะนั้น ไปตามความจริง เรื่องของสมมุติที่เกี่ยวข้องกันก็มีเพียงเท่านี้ นอกนั้นไม่มีสมมุติจะติดต่อกันให้เกิดเรื่องราวต่อไป นี่คือธรรมแสดงในจิตท่านขณะแสดงลวดลายเป็นขณะสามรอบจบลง อันเป็นวาระสุดท้ายแห่งสมมุติกับวิมุตติทำหน้าที่ต่อกัน และแยกทางกันเดินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    <o:p></o:p>
    ตลอดคืนวันนั้นท่านว่าท่านปลงความสลดสังเวชในความโง่เขลาเต่าตุ่น ซึ่งเปรียบเหมือนหุ่นตัวท่องเที่ยวในภพน้อยภพใหญ่ไม่มีประมาณ จนน้ำตาไหลตลอดคืน ในขณะที่เดินทางมาพบบึงใหญ่ มีน้ำใสสะอาดรสชาติมหัศจรรย์ที่ไม่เคยพบมาก่อน ชื่อว่า หนองอ้อ และ อ้อนี้เองหรือ ที่พระพุทธเจ้าและสาวกท่านค้นพบว่าหนองอ้อ และประกาศธรรมสอนโลกมาได้ตั้ง ๒,๐๐๐ กว่าปีแล้ว เพิ่งมาพบวันนี้ และกราบพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อย่างถึงใจ โดยกราบแล้วกราบเล่าอยู่ทำนองนั้นไม่อิ่มพอ<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...