ประวัติพระพุทธสาวกทั้ง 80 พระองค์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย phuang, 22 กันยายน 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระมหาปรันตปเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระมหาปรันตปะ มีชาติภูมิเป็นมาอย่างไร เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาในสำนักของใคร ณ ที่ไหน เมื่อบวชแล้วได้ทำอะไรบ้าง ยังไม่พบที่มาแห่งประวัติของท่านเลย แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งมีชื่อคล้ายคลึงกันกับท่าน คือ พระเจ้าปรันตปะ ผู้เป็นพระราชบิดาของพระเจ้าอุเทนในพระนครโกสัมพี ซึ่งมาในอรรถกถาธรรมบทภาค ๒ เรื่องพระนางสามาวดี แต่ก็ไม่ปรากฏว่าพระองค์ได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา จะเข้าใจว่าท่านพระมหาปรันตปะนั้นได้แก่พระเจ้าปรันตปะก็คงจะเป็นไปไม่ได้เลย


    เพราะฉะนั้น ในเรื่องของพระมหาปรันตปะนี้ ขอให้เข้าใจไว้เพียงว่า ท่านได้บรรลุพระอรหัตตผล เป็นพระอเสขบุคคล นับเนื่องในพระสาวกผู้ใหญ่รูปหนึ่ง เมื่อท่านดำรงอายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระมหาปันถกเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระมหาปันถก เป็นบุตรของธิดาแห่งเศรษฐี ในเมืองราชคฤห์ เดิมชื่อว่า ปันถก เพราะเกิดในระหว่างทาง มีน้องชายชื่อ ปันถก เพราะเกิดในระหว่างทางเหมือนกัน ท่านเป็นพี่ชาย มีคำว่า มหา ข้างหน้า จึงเป็นมหาปันถก ผู้เป็นน้องชาย เติมคำว่า จูฬ ข้างหน้า จึงเป็นจูฬปันถก มีเรื่องเล่าว่า ในเมืองราชคฤห์ มีธิดาของเศรษฐีคนหนึ่ง เมื่อเจริญวัยเป็นสาวแล้ว บิดามารดาป้องกันรักษาอย่างเข้มงวด ให้อยู่บนปราสาทชั้นที่เจ็ด แต่ธิดานั้นเป็นคนโลเลมีนิสัยไม่แน่นอนในผู้ชาย จึงได้เสียกับคนรับใช้ของตน ต่อมากลัวคนอื่นจะรู้จึงชวนกันหนีออกจาก ปราสาทไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านอื่นที่คนไม่รู้จักตน ภายหลังภรรยาตั้งครรภ์ เมื่อครรภ์แก่ใกล้จะคลอดจึงตกลงกับสามีว่าจะไปคลอดที่บ้านเดิม ส่วนสามีกลัวบิดามารดาลงโทษ แต่ขัดภรรยาไม่ได้ จึงอาสาว่าจะพาไป แต่แกล้งทำเป็นผัดวันประกันพรุ่งว่า พรุ่งนี้ก่อนค่อยไป จนล่วงไปหลายวัน ภรรยาเห็นเช่นนั้นจึงรู้ถึงความประสงค์ของสามี อยู่มาวันหนึ่งเมื่อสามีออกไปทำงานนอกบ้านจึงสั่งคนผู้คุ้นเคยกันอยู่ในบ้านใกล้เคียงกัน ให้บอกเรื่องที่ตนไม่อยู่แก่สามีหนีออกจากเรือนเดินไปตามหนทาง พอถึงระหว่างทางก็คลอดบุตรเป็นชาย ส่วนสามีเมื่อกลับบ้านไม่เห็น ภรรยาสืบถามทราบว่าหนีกลับไปบ้านเดิมจึงออกติดตามไปทันในระหว่างทาง แล้วพากันกลับมาอยู่ที่บ้านนั้นอีก และได้ตั้งชื่อทารกนั้นว่า ปันถก กาลต่อมาก็คลอดบุตรโดยทำนองนั้นอีก จึงตั้งชื่อว่า จูฬปันถก เพราะเกิดทีหลัง ตั้งชื่อบุตรคนแรกว่า มหาปันถก เพราะเกิดก่อน เมื่อมหาปันถกเติบโตแล้ว ไปเล่นกับเด็กเพื่อนบ้านด้วยกันได้ยินเด็กพวกนั้นเรียก ปู่ ย่า ตา ยาย ส่วนตนไม่มีคนเช่นนั้นจะเรียก จึงไปถามมารดาว่า แม่ครับ เด็ก ๆ พวกอื่นเรียกคนสูงอายุว่า ตาบ้าง ยายบ้าง ก็ญาติของเราในที่นี้ไม่มีบ้างหรือ ? มารดาของท่านตอบว่า ลูกเอ๋ย ญาติของเจ้าในที่นี้ไม่มีหรอก แต่ตาของลูกชื่อว่า ธนเศรษฐี อยู่ในเมืองราชคฤห์ ในที่นั้นญาติของเรามีมากมาย ท่านจึงถามต่อไปว่า ก็แล้วทำไมแม่ไม่ไปอยู่ในเมืองราชคฤห์นั้น ฝ่ายมารดาไม่บอกความจริงแก่ลูก ลูกจึงรบเร้า ถามอยู่บ่อย ๆ จนเกิดความรำคาญ ปรึกษากับสามีว่า พวกลูกของเรารบเร้าเหลือเกิน ขึ้นชื่อว่าบิดามารดาเห็นลูกแล้ว จะฆ่าจะแกงเชียวหรือ อย่ากระนั้นเลย เราจะพาลูกทั้งสองไปเมืองราชคฤห์ เมื่อถึงแล้วพักอาศัยที่ศาลาหนังหนึ่งใกล้ประตูเมือง ให้คนไปบอกธนเศรษฐีผู้เป็นบิดา พอบิดารู้ว่าลูกสาวพาหลายชายสองคนมาเยี่ยม ธนเศรษฐีมี ความแค้นยังไม่หายจึงบอกกับคนที่มาส่งข่าวว่า สองผัวเมียอย่ามาให้ฉันเห็นหน้าเลย ถ้าต้องการอะไรก็จงถือเอาไปเลี้ยงชีวิตเถิด แต่จงส่งหลายทั้งสองมาให้ฉัน ฉันจะเลี้ยงดูเอง สองสามีภรรยาก็ถือเอาทรัพย์พอแก่ความต้องการแล้วก็กลับไปอยู่ที่เดิมส่วนเด็กทั้งสองก็อยู่ที่บ้านของธนเศรษฐีผู้เป็นตาจนเจริญวัยขึ้น มหาปันถก เมื่อเจริญวัยได้ไปฟังเทศน์กับตาในสำนักของพระศาสดา ที่พระเวฬุวันมหาวิหารเป็นประจำ ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้ว เกิดศรัทธา เลื่อมใคร่จะบวชจึงบอกตา ตาก็อนุญาติให้บวช พระศาสดาจึงตรัสรับสั่งภิกษุรูปหนึ่งให้จัดการบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออาจุครบ ๒๐ ปีแล้ว ก็อุปสมบทเป็นภิกษุ เล่าเรียนพระพุทธวจนะได้มาก เป็นผู้ไม่ประมาทบำเพ็ญเพียรในวิปัสสนา กรรมฐานไม่นานก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์.


    เมื่อท่านพระมหาปันถกสำเร็จกิจแห่งพรหมจรรย์แล้ว จึงคิดว่า สมควรจะรับภารธุระสงฆ์ จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลอาสาจะรับหน้าที่เป็นภัตตุเทศก์* พระองค์ก็ทรงอนุมัติแล้ว ประทานตำแหน่งนั้นให้แก่ท่าน ท่านได้ทำงานในหน้าที่นั้นเรียบร้อยเป็นอย่างดี อนึ่ง ท่านพระมหาปันถกนั้นเป็นผู้อันพระศาสดาทรงยกย่องว่า เป็นผู้เลศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เจริญภาวนา เมื่อท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.

    *ภัตตุเทศก์ เจ้าหน้าที่จัดแจงภัต


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระมหาโมคคัลลานเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านมหาโมคคัลลานะ เป็นบุตรพราหมณ์ผู้เป็นนายบ้านชื่อว่า โกลิตะ มารดาชื่อนางโมคคัลลี แต่เดิมชื่อว่า โกลิตะ ตามโคตรแห่งบิดา และถูกเรียกชื่อเพราะ เป็นบุตรนางโมคคัลลีว่า โมคคัลลานะ พอเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว พวกภิกษุเรียกกันว่า พระโมคคัลลานะ ทั้งนั้นท่านเกิดใน โกลิตคามไม่ห่างจากเมืองราชคฤห์ สมัยเป็นเด็กได้เป็นสหายที่รักใคร่กันกับอุปติสสมาณพ ผู้มีอายุคราวเดียวกัน และตระกูลของทั้งสองนั้นมั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์และบริวารเท่า ๆ กัน มีความคุ้นเคยสนิทสนมกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เมื่อโกลิตมาณพเจริญวัยขึ้นก็ได้ำปศึกษาเล่าเรียนศิลปะด้วยกันกับอุปติสสมาณพ แม้จะไปเที่ยวหรือไปทำธุระอะไรก็มักจะไปด้วยกันอยู่เสมอ จนกระทั่งเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาก็บวชพร้อมกัน ต่างกันแต่ว่าได้ดวงตาเห็นธรรมครั้งแรกนั้นไม่พร้อมกัน เรื่องราวต่าง ๆ ก่อนอุปสมบทคล้าย ๆ กับพระสารีบุตรตามที่ได้บรรยายมาก่อนหน้านี้


    หลังจากอุปสมบทแล้ว ๗ วัน ได้ไปทำความเพียรอยู่ที่บ้านกัลลวาลมุตตคาม แขวงมคธ เกิดความอ่อนใจนั่งโงกง่วงอยู่ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ทรงสั่งสอน และแสดงอุบายสำหรับระงับความง่วง ๘ ประการ คือ
    ๑. โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างไร ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอควรทำในใจถึงสัญญานั้นให้มาก จะละความง่วงนั้นได้
    ๒. หากยังละไม่ได้ เธอควรตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตนได้ฟังและได้เรียนมาแล้วด้วยใจของเธอเอง จะละความง่วงได้
    ๓. หากยังละไม่ได้ เธอควรสาธยายธรรมตามที่ตนได้ฟังและได้เรียนมาโดยพิสดาร จะละความง่วงได้
    ๔. หากยังละไม่ได้ เธอควรยอนหูทั้งสองข้างและลูบด้วยฝ่ามือ จะละความง่วงได้
    ๕. หากยังละไม่ได้ เธอควรลุกข้นยืน ลูบนัยน์ตาด้วยน้ำ เหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ จะละความง่วงได้
    ๖. หากยังละไม่ได้ เธอควรทำในใจถึงอาโลกสัญญา คือความสำคัญในแสงสว่าง ตั้งความสำคัญว่ากลางวันไว้ในใจ ให้เหมือนกันทั้งกลางวันและกลางคืน มีจิตใจแจ่มใสไม่มีอะไรห่อหุ้ม ทำจิตอันมรแสงสว่างให้เกิด จะละความง่วงได้
    ๗. หากยังละไม่ได้ เธอควรอธิษฐานจงกรม กำหนดหมายว่าจะเดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีจิตไม่คิดไปภายนอก จะละความง่วงได้
    ๘. หากยังละไม่ได้ เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์ คือนอนตะแคงเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ตั้งใจว่าจะลุกขึ้น พอเธอตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้น ด้วยการตั้งใจว่าจะไม่ประกอบสุขในการนอน จะไม่ประกอบสุขในการเอนหลัง จะไม่ประกอบสุขในการเคลิ้มหลับ


    ครั้นตรัสสอนอุบาย สำหรับระงับความง่วงอย่างนี้แล้ว ทรงสั่งสอนให้สำเหนียกอย่างนี้ว่า "เราจักไม่ชูงวง (คือการถือตัว) เข้าไปสู้ตระกูล จักไม่พูดคำที่เป็นเหตุให้คนเถียงกัน เข้าใจผิดต่อกัน และตรัสสอนให้ยินดีด้วยที่นั่งที่นอนอันเงียบสงัด และควรเป็นอยู่ตามลำพังสมณวิสัยไ เมื่อตรัสสอนอย่างนี้แล้ว พระโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า "โดยย่อข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วนเกษมจากโยคะธรรม เป็นพรหมจารีบุคคลยิ่งกว่าผู้อื่น มีที่สุดกว่าผู้อื่น ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายไ พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า "โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไดเสดับแล้วว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น เธอทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันวิเศษ ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงได้ เธอได้ประสบเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี เธอพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นด้วปัญญาเป็นเครื่องหน่าย เป็นเครื่องดับ เป็นเครื่องสละ คืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่น ถือมั่น สิ่งอะไร ๆ ในโลกไม่มีความสะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้ด้วยตนเอง และทราบชัดว่า ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะทำอย่างนี้อีกมิได้มี ว่าโดยย่อข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แหละ ภิกษุได้ชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา" ท่านพระโมคคัลลานะได้ปฏิบัติตามโอวาท ที่พระบรมศาสดาตรัสสั่งสอน ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันนั้น

    ครั้นได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว พระโมคคัลลานะได้เป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ตามที่พระองค์ทรงดำริให้สำเร็จเพราะท่านเป็นผู้มีฤทธิ์มาก จึงได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระบรมศาสดาว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางเป็นผู้มีฤทธิ์" และทรงยกย่องว่าเป็นคู่พระอัครสาวก คู่กันกับพระสารีบุตรในการอุปการะภิกษุผู้เข้ามาบวชในพระธรรมวินัย ดังกล่าวในประวัติพระสารีบุตรว่า สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ยังบุตรให้เกิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบน ที่สูงกว่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีคำยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา พระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกฝ่ายซ้าย พระธรรมเทศนา ของพระโมคคัลลานะไม่ค่อยจะมีที่เป็นโอวาทให้แก่ภิกษุสงฆ์มีเพียงแต่อนุมานสูตร ซึ่งว่าด้วยธรรมินทำให้คนเป็นผู้ว่ายากหรือง่าย ในมัฌิมนิกายกล่าวว่า ท่านพระโมคคัลลานะเข้าใจในนวกรรมคือการก่อสร้าง เพราะฉนั้นเมื่อนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างบุพพาราม ในเมืองสาวัตถี พระบรมศาสดารับสั่งให้ท่านเป็นนวกัมมาธิฏฐายี คือผู้ควบคุมการก่อสร้าง

    ท่านพระโมคคัลลานะ ปรินิพพานก่อนพระบรมศาสดา มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อท่านพำนักอยู่ ณ ตำบลกาฬศิลา แคว้นมคธ พวกเดียรถีย์ปรึกษากันว่า บรรดาลาภสักการะ ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแก่พระบรมศาสดาในครั้งนั้น ก็เพราะอาศัยพระโมคคัลลานะ เพราะสามารถนำข่าวในสวรรค์และนรกมาแจ้งแก่มนุษย์ ชักนำให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใส ถ้าพวกเรากำจัดพระโมคคัลลานะเสียได้แล้ว ลัทธิของพวกเราก็จะเจริญรุ่งเรืองขึ้น ลาภสักการะต่าง ๆ ก็จะมาหาพวกเราหมด เมื่อปรึกษากันดังนั้นแล้วจึงจ้างโจรผู้ร้ายให้ลอบฆ่าพระโมคคัลลานะ เมื่อโจรมาท่านพระโมคคัลลานะทราบเหตุนั้นจึงหนีไปเสียสองครั้ง ครั้งที่สามท่านพิจารณาเห็นว่ากรรมตามทันจึงไม่หนี พวกโจรผู้ร้ายจึงได้ทุบตีจนร่างกายแหลกเหลว ก็สำคัญว่าตายแล้ว จึงนำร่างท่าน ไปซ่อนไว้ในพุ่มไม้แห่งหนึ่งแล้วพากันหนีไป ท่านพระโมคคัลลานะยังไม่มรณะ เยียวยาอัตภาพให้หายด้วยกำลังฌานแล้วเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา แล้วทูลลากลับปรินิพพาน ณ ที่เกิดเหตุ ในวันเดือนดับ เดือน ๑๒ หลังพระสารีบุตร ๑๕ วัน สมเด็จพระบรมศาสดาได้เสด็จไปทำฌาปนกิจแล้วรับสั่งให้นำอัฐิธาตุ มาก่อเจดีย์บรรจุไว้ ณ ที่ใกล้ประตูวัดเวฬุวัน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระมหาโสภิตเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระโสภิตะ ถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองสาวัตถี มีนามว่า โสภิตมาณพ เมื่อเติบโตได้ไปศึกษาอักษรสมัยในลัทธิพราหมณ์อยู่มาวันหนึ่งได้ไปสู่สำนักพระบรมศาสดา สดับธรรมีกถา ที่พระองค์ทรงแสดง เกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย ครั้นได้อุปสมบทแล้วไม่ประมาท ทำความเพียรบำเพ็ญสมณธรรม เจริญวิปัสสนากรรมฐานไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณทั้ง ๔ เป็นพระมหาขีณาสพผู้ประเสริฐ และเป็นผู้มีปกติสั่งสมวสี* ๕ ประการ ชำนาญการเป็นพิเศษในบุพเพนิวาสานุสสติญาณ หมายถึง ญาณเป็นเครื่องระลึกชาติได้ในอดีต


    เพราะอาศัยคุณข้อนี้ พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายข้างระลึกซึ่งปุพเพสันนิวาส ท่านพระโสภิตเถระ ครั้นดำรงชนมายุอยู่โดยสมควรแก่กาล สมัยแล้วก็ได้ดับขันธปรินิพพาน.

    *วสี : ความคล่องแแคล่ว,ความชำนาญมี ๕ อย่าง คือ
    ๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว
    ๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญคล่องแแคล่วในการที่เข้าฌานได้รวดเร็วทันที
    ๓. อธิษฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตนั้นตกภวังค์
    ๔. วุฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการจะออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ
    ๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระเมฆิยเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระเมฆิยะ มีชาติภูมิเป็นมาอย่างไร เป็นบุตรใคร เกิดในตระกูลไหน เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาเมื่อไร อยู่ในสำนักของใคร ที่ไหน ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอน เรื่องราวของท่านที่ปรากฏในปกรณ์นั้น ๆ ก็กล่าวถึงเรื่องที่ท่านได้อุปสมบทมาแล้วเท่านั้น ตามประวัตินั้น ปรากฏว่าท่านได้เคยเป็นผู้อุปัฏฐากพระบรมศาสดาด้วยองค์หนึ่ง ซึ่งมีปรากฏในเรื่องอุทานหน้า ๑๐๔ มีข้อความว่า ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ จาลิกบรรพตในกรุงจาลิกามีท่านพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐาก วันหนึ่งท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลลาพระองค์เข้าไปบิณฑบาตในชันตุคาม


    เมื่อได้รับพระบรมพุทธานุญาตแล้ว เวลารุ่งเช้าได้เข้าไปบิณฑบาตในบ้านนั้น เมื่อเวลากลับจากบิณฑบาตเนมาตามริมฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬาได้เห็นสวนมะม่วงมีอากาศร่มเย็นเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ ใคร่จะกลับมาทำความเพียรที่สวนนั้น ครั้นกลับมาแล้วจึงเข้าไปกราบทูลลาพระผู้มีพระภาค พระองค์ตรัสห้ามว่า ดูกรเมฆิยะ เธอจงรอก่อน ดังนี้ ถึง ๓ ครั้ง ท่านพระเมฆิยะไม่เชื่อฟัง กราบทูลลาแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระองค์แล้วหลีกไปบำเพ็ญเพียรอยู่ที่สวนมะม่วงนั้น

    ในการบำเพ็ญเพียรของท่าน ก็หาได้สำเร็จมรรคผลตามความประสงค์ไม่ เพราะท่านถูกวิตก ๓ เข้าครอบงำ จึงกลับมาเฝ้ากราบทูลเนื้อความนั้นให้พระองค์ทรงทราบ พระองค์จึงตรัสสอนวิธีระงับวิตก ๓ ประการนั้น โดยอเนกปริยาย ชั้นต้น ตรัสสอนให้ตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ คือ
    ๑. เป็นผู้มีกัลยาณมิตร
    ๒. เป็นผู้มีศีลสำรวมในพระปาติโมกข์
    ๓. เป็นผู้พูดวาจาเป็นสุภาษิต (วาจาที่ขัดเกลา คือ พูด แล้วไม่นำมาซึ่งโทษมีแต่จะนำมาซึ่งประโยชน์โดยส่วนเดียว)
    ๔. เป็นผู้มีความเพียรความบากบั่น
    ๕. เป็นผู้มีปัญญา
    และพระองค์ตรัสให้บำเพ็ญธรรมอีก ๔ ประการ คือ
    อสุภะ เพื่อจะได้ละซึ่งราคะ ๑
    เมตตา เพื่อจะได้ละพยาบาท ๑
    อานาปานสติ เพื่อจะได้ตัดเสียซึ่งวิตก ๑
    อนิจจสัญญา เพื่อจะได้ถอนอัสมิมานะเสียได้เด็ดขาด ๑


    ท่านพระเมฆิยะตั้งอยู่ในโอวาทที่พระบรมศาสดาตรัสสั่งสอน ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพียรพยายามบำเพ็ญสมณธรรม ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล เป็นพระอรหันต์ซึ่งนับเข้าในพระสาวกผู้ใหญ่องค์หนึ่ง ในจำนวน ๘๐ องค์ ท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยกาลอันสมควรแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระเมตตคูเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระเมตตคู เป็นบุตรของพราหมณ์ ในนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้วได้ไปมอบตัวเป็นศิษย์พราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เพื่อศึกษาศิลปวิทยา ครั้นต่อมาพราหมณ์พาวรีออกบวชเป็นชฏิล ประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนเมืองอัสสกะ และเมืองอาฬกะต่อกัน เมตตคูมาณพออกบวชติดตามไปศึกษาศิลปวิทยาอยู่ด้วย และนับเข้าในมาณพ ๑๖ คน ที่พราหมณ์ พาวรีได้ผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดาที่ปาสาณเจดีย์แคว้นมคธ


    เมตตคูมาณพได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่ ๔ ว่า
    ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถาม ทราบมาว่า พระองค์ถึงที่สุดจบไตรเพท มีจิตอันอบรมดีแล้ว ทุกข์ในโลกหลายประการล้วนมีเหตุมาจากอะไร ?


    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า เธอถามเราถึงเหตุเกิดแห่งทุกข์ เราตถาคตจะบอกให้แก่เธอตามที่รู้เห็น ทุกในโลกนี้มีอุปธิ คือ กรรม และกิเลสเป็นเหตุ ทุกข์ทั้งมวลล้วนเกิดมาจากอุปธิ ผู้ใดเป็นคนเขลาไม่รู้แล้วกระทำอุปธินั้นให้เกิดขึ้น ผู้นั้นย่อมประสบทุกข์ บ่อย ๆ เหตุนั้นเมื่อรู้จักเหตุว่า อุปธิเป็นตัวให้เกิดเหตุแล้ว อย่ากระทำให้อุปธินั้นเกิดขึ้น

    เช้าวันรุ่งขึ้น เมตตคูมาณพ : ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลถามปัญหาข้อต่อไปว่า ทำอย่างไร ผู้มีปัญญาจึงจะข้ามพ้นห้วงทะเลใหญ่ คือ ชาติ ชรา และโสกปริเทวะได้ ขอพระองค์ทรงแก้ปัญหาข้อนี้แก่ข้าพระพุทธเจ้า เพราะพระองค์ทราบธรรมนั้นแล้ว ?

    พระบรมศาสดา : เราตถาคตจักแสดงธรรมที่จะพึงเห็นแจ้งด้วยตนเอง อัตภาพ คือ ร่างกายนี้ ไม่ต้องไปพิศวงตามคำของคนอื่นที่พูดอย่างนั้น อย่างนี้ เมื่อได้ทราบแล้วจะเป็นผู้มีสติ ดำเนินข้ามความอยากอันทำให้ติดอยู่ในโลกได้

    เมตตคูมาณพ : ข้าพระองค์ยินดีธรรมที่สูงสุดนั้นเป็นอย่างยิ่ง ?

    พระบรมศาสดา : เธอรู้อย่างใดอย่างหนึ่งในส่วนเบื้องบน (คือ อนาคต) ในส่วนเบื้องต่ำ (คือ อดีต) ในส่วนท่ามกลาง (คือ ปัจจุบัน) จงบรรเทาความเพลิดเพลินความยึดมั่นในส่วนเหล่านั้นเสีย วิญญาณของเธอจะไม่ตั้งอยู่ในภพ ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติไม่ประมาทเมื่อได้ทราบแล้ว ละความถือมั่นว่า "เป็นของเรา" เสียได้ เธอจะละทุกข์ คือ ชาติ ชรา และโสกปริเทวะในโลกนี้ได้

    เมตตคูมาณพ : ข้าพระพุทธเจ้า ชอบพระวาจาของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง ธรรมอันไม่มีอุปธิพระองค์แสดงชอบแล้ว พระองค์คงจะละทุกข์ได้แน่แล้ว แม้ท่านผู้รู้ที่พระองค์ทรงสั่งสอนอยู่เป็นประจำ คงจะละทุกข์นั้นได้ด้วยเป็นแน่ เหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้มาถวายบังคมพระองค์ ด้วยความตั้งใจจะให้ทรงสั่งสอนข้าพระพุทธเจ้าเป็นประจำเหมือนอย่างนั้นบ้าง ?

    พระบรมศาสดา : เธอรู้ว่าผู้ใดเป็นพราหมณ์ ถึงที่สุดจบไตรเพท ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ติดข้องอยู่ในกามภพ ผู้นั้นแลข้ามพ้นเหตุแห่งทุกข์ดุจห้วงทะเลใหญ่นี้ได้แน่แล้ว ครั้นข้ามถึงฝั่งแล้ว ถึงที่สุดจบไตรเพทในศาสนานี้ ละธรรมที่เป็นเหตุติดข้องอยู่ในภพน้อยภพใหญ่เสียได้แล้ว เป็นคนมีความอยากสิ้นแล้ว ไม่มีกิเลสอันจะมากระทบจิต หาความทะเยอทะยานอยากมิได้ เราตถาคต กล่าวว่า ผู้นั้นแล ข้ามพ้นชาติชราได้แล้ว

    ในที่สุดแห่งการแก้ปัญหา เมตตคูมาณพก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผล (ก่อนอุปสมบท) เมื่อจบโสฬสปัญหาพยากรณ์แล้วเมตตคูมาณพพร้อมด้วยเพื่อนมาณพอีก ๑๕ คนทูลขออุปสมบทกับพระบรมศาสดา พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้มาณเหล่านั้นเป็นภิกษุในพระธรรมวินัยด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านดำรง ชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระโมฆราชเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระโมฆราช เป็นบุตรพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้วได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เพื่อศึกษาศิลปวิทยาตามประเพณีพราหมณ์ ครั้นพราหมณ์พาวรีมีความเบื่อหน่ายในฆราวาส ได้ทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศลออกจากหนย้าที่ปุโรหิต ออกบวชเป็นชฎิลประพฤติตามลัทธิของพราหมณ์ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรหมแดนแห่งเมืองอัสสกะและเมืองอาฬกะติดต่อกัน เป็นคณาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์โมฆราชมาณพพร้อมกับมาณพสิบห้าคนออกบวชติดตามไปอยู่ด้วย และอยู่ในมาณพ 16 คน ที่พราหมณ์พาวรีได้ผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดาที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ


    โมฆราชมาณพ ปรารภจะทูลถามปัญหาเป็นคนที่สอง เพราะถือว่าตนเองเป็นคนมีปัญญาดีกว่ามาณพทั้งสิบหกคน คิดจะทูลถามปัญหาก่อน แต่เห็นว่าอชิตมาณพเป็นผู้ใหญ่กว่า และเป็นหัวหน้า จึงยอมให้ทูลถามปัญหาก่อน พระบรมศาสดาจึงตรัสห้ามว่า โมฆราช ท่านรอให้มาณพอื่นได้ทูลถามปัญหาก่อนเถิด โมฆราชก็หยุดอยู่ แต่หลังจากที่มาณพคนอื่น ๆ ได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่เก้าอีก พระบรมศาสดาก็ทรงห้ามไว้ โมฆราชก็ยับยั้งนิ่งอยู่ รอให้มาณพอื่นทูลถามถึงสิบสี่คนแล้ว จึงทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบห้าว่า

    ข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาถึงสองครั้งแล้ว พระองค์ไม่ทรงแก้ประทานแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ยินว่า ถ้าทูลถามถึงสามครั้งแล้วพระองค์จะทรงแก้ จึงได้ทูลถามปัญหา เป็นคนที่สิบห้าว่า โลกนี้ก็ดี โลกอื่นก็ดี พรหมโลกกับเทวโลกก็ดีย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ เหตุฉะนี้ จึงมีปัญหามาถึงพระองค์ผู้ทรงพระปรีชาเห็นล่วงสามัญชนทั้งปวงอย่างนี้ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราช (ความตาย) จึงจะไม่แลเห็น คือ จะตามไม่ทัน ?

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ท่านจงเป็นคนมีสติ พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่า ตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิด ท่านจะพ้นจากมัจจุราชได้ด้วยอุบายอย่างนี้ ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้แล มัจจุราชจะไม่แลเห็น

    พระบรมศาสดาทรงแก้ปัญหาจบลงแล้ว โมฆราชมาณพได้บรรลุพระอรหัตตผล ครั้นพระองค์ทรงพยากรณ์ปัญหาที่ ปิงคิยมาณพทูลถามจบลงแล้ว โมฆราชมาณพพร้อมมาณพอีกสิบห้าคน ทูลขออุปสมบท ในพระธรรมวินัย พระองค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา

    ท่านพระโมฆราช เมื่อได้อุปสมบทแล้ว ท่านยินดีในการครองจีวรเศร้าหมอง ด้วยเหตุนี้ จึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง ท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระยสเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระยสเถระ ท่านเป็นบุตรของเศรษฐี ในกรุงพาราณสี ซึ่งมีเรือน ๓ หลังเป็นที่อยู่ในสามฤดู ครั้งหนึ่งในช่วงของฤดูฝน ยสกุลบุตรอาศัย อยู่ในเรือนซึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน มีสตรีล้วนประโคมดนตรีบำรุงบำเรอ ในคืนหนึ่ง ยสกุลบุตรนอนหลับก่อนหมู่ชนที่เป็นบริวาร เมื่อตื่นขึ้นมาตอนใกล้รุ่ง จึงเห็นหมู่ชนที่เป็นบริวารของตนนอนหลับมีอาการพิกลต่าง ๆ ไม่เป็นที่พอใจปรากฏแก่ยสกุลบุตร ดุจซากศพที่ทิ้งอยู่ในป่าช้า ยสกุลบุตรเกิดความสลดใจ เบื่อหน่าย จึงอุทานออกมาว่า "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ" สวม รองเท้าเดินออกจากประตูเมือง มุ่งหน้าไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน


    ในเวลา จวนใกล้รุ่ง พระบรมศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ทรงได้ยินเสียงยสกุลบุตรเปล่งอุทานเดินใกล้เข้ามา จึงตรัสเรียกว่า "ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาที่นี่เถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน" ยสกุลบุตรได้ยินเสียงตรัสเรียกอย่างนั้นแล้วจึงถอด รองเท้าเดินเข้าไปถวายบังคม นั่ง ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาชื่อว่า "อนุปุพพิกถา" เพื่อฟอกจิตใจยสกุลบุตรให่ห่างไกลจากความยินดีในกาม ต่อมาพระองค์ทรงแสดง "อริยสัจ ๔" ยสกุลบุตรได้เห็นธรรมพิเศษ ณ สถานที่นั้นนั่นเอง ในภายหลังได้พิจารณาภูมิธรรมที่ตนเห็นแล้ว จิตก็พ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์

    ส่วนมารดา ของยสกุลบุตร (มารดาดาของยสกุลบุตร คือนางสุชาดา ผู้เคยถวายข้าวมธุปายาสแด่พระมหาบุรุษก่อนตรัสรู้เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้า) พอรุ่งเช้าก็ขึ้นไปบนเรือนไม่เห็นลูก จึงบอกแก่เศรษฐีผู้เป็นสามีให้ทราบ เศรษฐีใช้ให้คนไปตามหาในทิศทั้งสี่ ส่วนตนเองก็เที่ยวตามหาอีกทางหนึ่งด้วย แต่บังเอิญเดินทางมุ่งสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้เห็นรองเท้าของลูกชายวางอยู่ ณ ที่นั้นจึงตามไปเมื่อเศรษฐีเดินไปถึงแล้วพระบรมศาสดาจึงแสดงพระธรรมเทศนาชื่อว่า อนุปุพพิกถา และ อริยสัจ ๔ ในที่สุด แห่งพระธรรมเทศนา เศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรม ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสก ว่า "ข้าพระพุทธเจ้าขอ ถึงพระองค์ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึก ขอพระองค์จงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัย เป็นที่ระลึกตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป" เศรษฐีนับได้ว่าเป็นอุบาสกที่อ้างเอาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็น สรณะก่อนกว่าชนทั้งปวงในโลก

    เศรษฐี ผู้เป็นบิดายังไม่ทราบว่า ยสกุลบุตรเป็นผู้ที่สิ้นอาสวะแล้ว จึงขอร้องให้กลับไปเพื่อให้มารดาคลายจากความโศกเศร้าเสียใจ ภายหลังเมื่อทราบว่ายสกุลบุตรมีอาสวะสิ้นแล้ว ไม่สามารถจะหวนกลับไปครอบครองเรือนบริโภคกามคุณเหมือนแต่ก่อน จึง ทูลอาราธนาพระบรมศาสดากับยสะเป็นปัจฉาสมณะตามเสด็จรับบิณฑบาตในเวลาเช้า พระองค์ทรงรับด้วยอาการดุษณียภาพ (ดุษณีภาพ คือการรับนิมนต์ของพระบรมศาสดา ได้แก่ ทรงนิ่ง) เศรษฐีทราบว่าพระองค์ทรงรับนิมนต์ จึงลุกขึ้นจากที่นั่ง ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วก็หลีกไป เมื่อเศรษฐีกลับไปแล้ว ยสกุลบุตรจึงทูลขอบรรพชาอุปสมบทกับพระบรมศาสดา พระองค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยพระวาจาว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เถิด" ในที่นี่ไม่ได้ตรัสว่า "เพื่อจะทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ" เพราะพระยสะได้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว

    เช้าวันรุ่งขึ้น พระบรมศาสดามีพระยสเป็นปัจฉาสมณะตามเสด็จไปรับบิณฑบาตในเรือนของเศรษฐี พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ชื่อว่า อนุปุพพิกถา และ อริยสัจ ๔ แก่สตรีทั้งสอง คือ มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ ปรากฏว่าสตรีทั้งสองได้ดวงตา เห็นธรรม แสดงตนเป็นอุบาสิกา ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึก และนับได้ว่าสตรีทั้งสองเป็นอุบาสิกาที่เกิดขึ้นในโลกก่อนกว่า หญิงอื่นใด เมื่อเสร็จภุตกิจ ตรัสเทศนาสั่งสอนชนทั้งสามแล้วพรองค์จึงเสด็จกลับไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

    การอุปสมบท ของพระยสะในครั้งนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะว่าเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์สุขให้หมู่ชนเป็นอันมาก เพราะว่าท่านยังสามารถ ชักจูงผู้อื่นเข้ามาอุปสมบทด้วย เช่น สหายของท่านอีก ๕๔ คน ท่านได้เป็นกำลังสำคัญที่ช่วยประกาศพระศาสนาในตอน ปฐมโพธิกาลอีกองค์หนึ่ง เมื่อดำรงอายุสังขารพอสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระยโสชเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระยโสชะ เกิดในตระกูลชาวประมงในพระนครสาวัตถี บิดาของท่านเป็นหัวหน้าชาวประมง ๕๐๐ ตระกูล เดิมชื่อว่า "ยโสชะ" วันที่ท่านคลอดจากครรภ์มารดานั้น ภรรยาชาวประมงทั้ง ๕๐๐ คน ก็คลอดลูกออกมาพร้อมกันเป็นชายทั้งหมด ใช่แต่เท่านั้น วันที่ปฏิสนธิ ลงสู่ครรภ์มารดา ก็ปฏิสนธิพร้อมกันด้วย เหตุนั้นเมื่อบิดาของยโสชะทราบข่าวนั้น จึงใช้เครื่องบำรุงเลี้ยงมีค่าน้ำนมเป็นต้นแก่เด็กเหล่านั้นด้วยคิดว่าต่อไปจะได้เป็นเพื่อนกับลูกชายของตนเด็กเหล่านั้นทั้งหมดจึงเป็นเพื่อนเล่นฝุ่นมาด้วยกัน เจริญเติบโตขึ้นโดยลำดับ ยโสชะได้เป็นผู้เหนือกว่าเด็กเหล่านั้นโดยยศและโดยเดช เมื่อเจริญวัยแล้วได้เป็นสหายจับปลาด้วยกัน และมีความรักใคร่ซึ่งกันและกัน


    วันหนึ่งคนเหล่านั้นพากันถือแหไปจับปลา พากันทอดแหในแม่น้ำอจิรวดี ได้ปลาใหญ่ตัวหนึ่งเป็นปลาทองแต่มีกลิ่นปากเหม็น เมื่อชาวประมงทั้งหมดได้เห็นเช่นนั้นก็พากันส่งเสียงร้องด้วยความดีใจหารือกันว่าบุตรของพวกเราจับได้ปลาทองตัวใหญ่ พระเจ้าแผ่นดินคงจะโปรดปรานพระราชทานรางวัลให้ ชาวประมงเหล่านั้นทั้งหมดจึงจับปลาใส่ในเรือนำไปถวายพระเจ้าแผ่นดินเพื่อให้ทอดพระเนตร พระเจ้าแผ่นดินทอดพระเนตรแล้วทรงดำริว่า พระพุทธเจ้าคงจะทรงทราบเหตุที่ปลานี้เป็นทอง จึงรับสั่งให้คนหามปลานั้นเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค พอถึงที่เฝ้าแล้วปลานั้นก็อ้าปาก ส่งกลิ่นเหม็นตลบทั่วพระนคร พระบรมศาสดาจึงทรงรับสั่งว่า ปลานี้เมื่อก่อนเคยเป็นภิกษุชื่อว่า กบิล เป็นพหูสูตมีบริวารมาก แต่ประพฤติย่อหย่อนในพระธรรมวินัย ในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นรับสั่งดังนั้นแล้วจึงตรัสกปิลสูตร

    ในเวลาจบเทศนา ลูกชาวประมง ๕๐๐ คน ซึ่งมียโสชะเป็นหัวหน้าเกิดความเลื่อมใส จึงทูลขอบรรพชาอุปสมบทกับพระบรมศาสดา ครั้นอุปสมบทแล้วก็หลีกไปอยู่ที่เงียบสงัดเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม

    ครั้งหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่ที่พระเขตวันมหาวิหาร ในพระนครสาวัตถี ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป มีท่านพระยโสชะเป็นหัวหน้าพากันมาเฝ้าพระองค์ ครั้นถึงแล้วได้คุยหกันกับพวกภิกษุเจ้าถิ่นด้วยเสียงอันดังจนได้ยินถึงกระกรรณ พระองค์ทรงรับสั่งถามพระอานนท์ว่า ภิกษุพวกไหนนั่นมาคุยกันเสียงดังลั่นเหมือนชาวประมงแย่งปลากัน พระอานนท์กราบทูลให้ทรงทราบแล้วรับสั่งให้เรียกภิกษุเหล่านั้นเข้ามาเฝ้าตรัสถามอีก ท่านพระยโสชะกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ทรงขับไล่ไม่ให้อยู่ในสำนักของพระองค์ พวกภิกษุเหล่านั้นพากันถวายบังคมกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เที่ยวจาริกไปโดยลำดับบรรลุถึงฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาเขตแดนเมืองเวสาลี พากันทำกุฎีบังด้วยใบไม้เข้าพรรษา ณ ที่นั้น เป็นผู้ไม่ประมาท ตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผลพร้อมกันทั้งหมดภายในพรรษานั้น ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้ว พระบรมศาสดาเสด็จจาริกมายังกรุงเวสาลี ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ทรงทราบว่าภิกษุเหล่านั้นได้สำเร็จพระอรหันต์แล้ว จึงรับสั่งให้พระอานนท์ไปเรียกมาเฝ้า ครั้นมาถึงที่เฝ้าแล้วภิกษุเหล่านั้นได้เห็นพระองค์สั่งเข้าอเนญชาสมาธิ เมื่อทราบเช่นนั้นจึงพากันนั่งเข้า อเนญชาสมาธิตาม ส่วนพระอานนท์เห็นพระบรมศาสดาประทับนิ่งอยู่ จึงทูลเตือนถึงสามครั้งว่า ภิกษุอาคันตุกะมานั่งอยู่นานแล้ว จึงตรัสบอกว่า อานนท์ ฉันและภิกษุอาคันตุกะ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ นั่งเข้าอเนญชาสมาธิอยู่

    ท่านพระยโสชะนั้น นับเข้าในพระสาวกผู้ใหญ่รูปหนึ่ง เมื่อดำรงอายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ด็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระรัฏฐปาลเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระรัฏฐปาล เป็นบุตรของรัฏฐปาลเศรษฐี ผู้เป็นหัวหน้าในหมู่ชนชาวถุลลโกฏฐิตนิคม แคว้นกุรุ สมัยหนึ่ง พระบรมศาสดา เสด็จจาริกไปในแคว้นกุรุพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ บรรลุถึงถุลลโกฏฐิตนิคม ได้ทราบว่า พระบรมศาสดาเสด็จมา จึงพากันมาเข้า ไปเฝ้า บางพวกถวายบังคม บางพวกเป็นแต่พูดจาปราศรัย บางพวกเป็นแต่ประนมมือ บางพวกร้องประกาศชื่อและโคตรของตน บางพวกนิ่งอยู่ ทุกหมู่นั้นพากันนั่งอยู่ ณ ที่อันสมควรแห่งหนึ่ง พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา ให้เกิดความเลื่อมใสแล้วทูลลา กลับไป ส่วนรัฏฐปาละ ครั้นได้ฟังธรรมเทศนาแล้วเกิดความเลื่อมใสใคร่จะบวช พอพวกชาวนิคมนั้นกลับไปแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า พระบรมศาสดา ทูลขอบรรพชา ครั้นได้ทราบว่าพระบรมศาสดา ไม่ทรงบวชกุลบุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต รัฏฐปาละก็พูดอ้อนวอน เป็นหลายครั้ง มารดาบิดาไม่ยอม รัฏฐปาละเสียใจลงนอนไม่ลุกขึ้น อดอาหารเสียไม่กิน คิดว่าจักตายในที่นี้ หรือจักบวชเท่านั้น มารดาบิดาปลอบให้ลุกขึ้นกินอาหาร รัฏฐปาละก็นิ่งเสีย มารดาบิดาจึงไปหาสหายรัฏฐปาละขอให้ช่วยห้ามปราม สหายเหล่านั้นก็ไป ช่วยห้ามปราม เมื่อเห็นว่ารัฏฐปาละไม่ยอม จึงคิดว่า ถ้ารัฏฐปาละไม่บวชจักตายแล้ว หาเกิดคุณอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ถ้ารัฏฐปาละ ได้บวช มารดาบิดาและเราจักได้เห็นรัฏฐปาละตามเวลาที่สมควร อนึ่ง เมื่อรัฏฐปาละบวชแล้ว หากเบื่อหน่ายในการประพฤติ เช่นนั้นก็จักกลับมาที่นี้อีก ครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว จึงเข้าไปหามารด บิดาของรัฏฐปาละ ชี้แจงเหตุผลให้ฟัง มารดาบิดาของรัฏฐปาละ เห็นด้วยแล้ว ก็ยอมตาม แต่ว่าบวชแล้วขอให้กลับมาเยี่ยมบ้าง สหายเหล่านั้นก็กลับไปบอกความนั้นแก่รัฏฐปาละ ๆ ทราบว่ามารดาบิดา อนุญาตแล้ว ดีใจลุกขึ้นเช็ดตัว แล้วอยู่บริโภคอาหารพอร่างกายมีกำลังไม่กี่วันแล้ว ไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลว่าบิดามารดาอนุญาตแล้ว พระองค์ก็โปรดให้บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ครั้นพระรัฏฐปาละบวชแล้วไม่นาน ประมาณกึ่งเดือน พระบรมศาสดาเสด็จจาก ถุลลโกฏฐิตนิคม ไปประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถี ส่วนพระรัฏฐปาละตามเสด็จไปด้วย ท่านตั้งอยู่ในความไม่ประมาท บำเพ็ญสมณธรรม เจริญวิปัสสนา ได้สำเร็จพระอรหัตผลถึงที่สุดของพรหมจรรย์แล้ว ถวายบังคมลาออกจากสาวัตถี เที่ยวจาริกไปถึงถุลลโกฏฐิตนิคม พักอยู่ที่มิคจิรวัน พระราชอุทยานของพระเจ้าโกรัพยะ ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินกุรุ ในเวลาเช้าท่านเข้าไปบิณฑบาตในนิคมนั้น จนถึงที่ใกล้เรือนของท่าน นางทาสีเห็นท่านแล้วก็จำได้ จึงบอกเนื้อความนั้นให้แก่มารดาบิดาของท่านทราบ มารดาบิดาของท่าน จึงได้นิมนต์ท่านไปฉันในเรือนในวันรุ่งขึ้น แล้วอ้อนวอนให้ท่านกลับมาครอบครองสมบัติอีก ก็ไม่สมประสงค์ เมื่อท่านรัฏฐปาละฉันเสร็จ แล้วก็กล่าวคาถาอนุโมทนา พอเป็นทางให้เกิดสังเวชในร่างกายแล้วจึงกลับมิคจิรวันฯ


    ธรรมุทเทศ

    ส่วนพระเจ้าโกรัพยะเสด็จไปประพาสพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นรัฏฐปาละ ทรงจำได้ เพราะทรงรู้จักแต่เดิมมา เสด็จเข้าไปใกล้ ตรัสปราศรัยและประทับ ณ ราชอาสน์ ตรัสถามว่า รัฏฐปาละผู้เจริญ ความเสื่อมมีกี่อย่าง ที่คนบางจำพวก ต้องประสบเข้าแล้วจึงออกบวช คือ แก่ชรา, เจ็บ, สิ้นโภคทรัพย์, สิ้นญาติ ความเสื่อมสี่อย่างนี้ไม่มีแก่ท่าน ท่านรู้เห็นหรือได้ฟังอย่างไร จึงได้ออกบวช ท่านทูลว่า มหาบพิตร มีอยู่ ธรรมุทเทศ (ธรรมที่แสดงขึ้นเป็นหัวข้อสี่ข้อ) ที่พระบรมศาสดาซึ่งเป็นผู้รู้เห็น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงแสดงขึ้นแล้วจึงออกบวช ธรรมุทเทศสี่ข้อนั้นคือ

    ข้อที่หนึ่งว่า โลกคือหมู่สัตว์ อันชราเป็นตัวนำเข้าไปใกล้ความตาย ไม่ยั่งยืนฯ

    ข้อที่สองว่า โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีผู้ป้องกัน ไม่เป็นใหญ่จำเพาะตนฯ

    ข้อที่สามว่า โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีอะไรเป็นของ ๆ ตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไปฯ

    ข้อที่สี่ว่า โลกคือหมู่สัตว์พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหาฯ

    เอตทัคคะ

    ครั้นท่านพระรัฏฐปาละทูลเหตุที่ตนออกบวชแก่พระเจ้าโกรัพยะอย่างนี้แล้ว พระมหากษัตริย์ก็ทรงเลื่อมใส ตรัสอนุโมทนาธรรมีกถาแล้วเสด็จกลับไป ส่วนท่านพระรัฏฐปาละ เมื่อพำนักอาศัยอยู่ในนิคมนั้นพอสมควรแล้ว ก็กลับมาอยู่ในสำนัก ของพระบรมศาสดา อาศัยคุณที่ท่านเป็นผู้บวชด้วยศรัทธามาแต่เดิม และกว่าจะบวชได้ก็แสนยากลำบากนัก พระบรมศาสดาจึงทรง ยกย่องว่า เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บวชด้วยศรัทธา ท่านพระรัฏฐปาละดำรงเบญจขันธ์อยู่โดยสมควรแก่กาล แล้วก็ดับขันธ์ปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระราธเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระราธะ เกิดในสกุลพราหมณ์ ในนครราชคฤห์ เดิมชื่อ ราธะ สกุลของท่านเป็นสกุลที่มั่งคั่งสกุลหนึ่ง เมื่อราธพราหมณ์แก ่เฒ่าชราบุตรภรรยาไม่เลี้ยงดู เป็นคนยากจนเข็ญใจ จึงไปอาศัยเลี้ยงชีพอยู่กับพระภิกษุในพระเวฬุวันมหาวิหาร ต่อมาราธพราหมณ์ มีความประสงค์อยากจะบวช แต่ไม่มีใครบวชให้ เมื่อไม่ได้บวชสมประสงค์ จึงมีร่างกายซูบผอม มีผิวพรรณหม่นหมองไม่ผ่องใส พระบรมศาสดาทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์จึงตรัสถาม ทราบความแล้ว รับสั่งถามภิกษุทั้งหายว่า ใครระลึกถึงอุปการคุณของพราหมณ์ นี้ได้บ้าง พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้าระลึกได้อยู่ ในวันหนึ่งข้าพระพุทธเจ้าเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พราหมณ์ได้ ถวายอาหารแก่ข้าพระพุทธเจ้าทัพพีหนึ่ง พระบรมศาสดาตรัสว่า ดีละ ๆ สารีบุตร สัตบุรุษ เป็นคนกตัญญูกตเวที ถ้าอย่างนั้น สารีบุตร ให้พราหมณ์นั้นบวชเถิด


    พระบรมศาสดาครั้นทรงอนุญาตให้พระสารีบุตรบวชราธพราหมณ์อย่างนี้แล้ว จึงตรัสสั่งให้เลิกการอุปสมบทด้วยวิธีไตรสรณคมน์ ที่ได้ทรงอนุญาตไว้แล้วแต่เดิม ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ทรงอนุญาตให้สงฆ์อุปสมบทกุลบุตรด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ท่านพระราธะ เป็นองค์แรกในการอุปสมบทด้วยวิธีนี้ เมื่ออุปสมบทแล้ววันหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดากราบทูลว่า ขอพระองค์จงแสดงธรรม แก่ข้าพระพุทธเจ้าโดยย่อ ๆ ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังแล้ว จักหลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว เป็นคนไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไป ในภาวนา พระบรมศาสดาตรัสสอนว่า "ราธะ สิ่งใดเป็นมาร ท่านจงละความกำหนัดพอใจในสิ่งนั้นเสีย อะไรเล่า ชื่อว่า มาร รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน มีความสิ้นไปเสื่อมไป เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ชื่อว่า มาร ท่านจงละ ความกำหนัดพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นเสีย

    พระราธรับโอวาทที่พระบรมศาสดาตรัสสอนอย่างนี้แล้ว เที่ยวจาริกไปกับพระสารีบุตร ไม่นานก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ครั้นพระราธะ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ท่านพระสารีบุตรมาเฝ้าพระบรมศาสดา ๆ ทรงปราศรัยตรัสถามว่า สัทธิวิหาริกของท่าน นี้เป็นอย่างไร พระสารีบุตรกราบทูลว่า เป็นคนว่านอนสอนง่าย เมื่อแนะนำสั่งสอนว่าสิ่งนี้ควรทำ สิ่งนั้นไม่ควรทำ ท่านจงทำอย่างนี้ อย่าทำอย่างนั้น ดังนี้ ไม่เคยโกรธเลย

    พระบรมศาสดาตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลาย ถือเอาเป็นตัวอย่างว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ว่าง่ายอย่างราธะเถิด เมื่ออาจารย์ชี้โทษ สั่งสอน อย่าถือโกรธ ควรคบแต่บัณฑิตที่ตนเห็นว่าเป็นคนแสดงโทษกล่าวชม ให้เป็นดุจคนชี้บอกขุมทรัพย์ให้ เพราะคบบัณฑิต เช่นนั้นมีคุณประเสริฐ ไม่มีโทษเลย และทรงยกย่อง สรรเสริญพระราธะ ว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายด้านปฏิภาณ คือ ญาณแจ่มแจ้งในพระธรรมเทศนา ท่านพระราธะ ดำรงชนมายุ สังขาร โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระราหุลเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระราหุล เป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ กับพระนางยโสธรา (พิมพา) เป็นพระนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ เมื่อพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้แล้วเสด็จมาเทศนาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ที่นิโครธาราม วันหนึ่งพระองค์เสด็จไปที่พระราชนิเวศน์ของพระนางยโสธราพระราชเทวีเก่าของพระองค์ พระนางได้ส่งพระราหุลกุมาร ผู้เป็นพระโอรสออกมาทูลขอพระราชสมบัติที่ควรจะได้ราหุลกุมารออกไปเฝ้าเจรจาปราศรัยแสดงความรักใคร่มีประการต่าง ๆ ครั้นเห็นพระบรมศาสดาจะเสด็จกลับ จึงร้องทูลขอราชสมบัติพลางตามเสด็จพระบรมศาสดาทรงดำริว่า ทรัพย์สมบัติทั้งหลาย ที่จะมั่นคงถาวร และประเสริฐยิ่งกว่าอริยทรัพย์นั้นไม่มี ควรที่เราจะให้อริยทรัพย์แก่ราหุลเถิด


    เมื่อพระพุทธองค์ทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงตรัสสั่งพระสารีบุตรว่า สารีบุตร ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้ราหุลบวชเถิด ขณะนั้นราหุลกุมารยังเยาว์อยู่มีอายุยังไม่ครบอุปสมบท พระสารีบุตรจึงทูลถามว่า จะโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชราหุลกุมารอย่างไร พระบรมศาสดาทรงปรารภเรื่องนี้ให้เป็นเหตุ จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุบวชกุลบุตรที่มีอายุยังไม่ครบอุปสมบทให้เป็นสามเณร ด้วยการให้สรณคมน์ ๓ นับได้ว่าราหุลเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา เมื่อราหุลกุมารบวชเป็นสามเณรแล้ว ตามเสด็จพระบรมศาสดา และพระอุปัชฌาย์ของตนไป ครั้นมีอายุครบแล้วก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ

    วันหนึ่งในขณะที่พระราหุลพักอยู่ ณ สวนมะม่วงแห่งหนึ่งในกรุงราชคฤห์ พระบรมศาสดาเสด็จไป ณ ที่นั้น ทรงแสดงราหุโลวาทสูตรซึ่งว่าด้วยภาชนะน้ำเปล่า บรรยายเปรียบเทียบด้วยคนพูดมุสาวาทเป็นต้น ตรัสสอนให้พระราหุลสำเหนียกตามเทศนานั้นแล้วเสด็จกลับไป ต่อมาอีก วันหนึ่งพระราหุลเข้าไปเฝ้า พระบรมศาสดาตรัสสอนด้วยมหาราหุโลวาท ซึ่งว่าด้วรรูปกรรมฐานธาตุ ๕ อย่างคือ ปฐวีธาตุ ธาตุดิน,อาโปธาตุ ธาตุน้ำ,เตโชธาตุ ธาตุไฟ, วาโยธาตุ ธาตุลม และอากาศธาตุ ช่องว่าง ให้ใช้ ปัญญาพิจารณาให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริงว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ส่วนนั้นไม่เป็นของเรา ส่วนนั้นไม่ใช่ของตัวเราเป็นต้น ในที่สุดก็ตรัสสอนในกรรมฐานอื่น ๆ ให้เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อสุภสัญญา อนิจจสัญญา ครั้นทรงสอนจบแล้วพระราหุลมีจิตยินดีในคำสอนของพระบรมศาสดา ต่อมาพระราหุลได้ฟังพระพุทโธวาทเกี่ยวกับวิปัสสนา คล้ายกับโอวาทที่ตรัสสอนภิกษุปัญจวัคคีย์ เพียงแต่ในที่นี้ยกอายตนะภายในภายนอกเป็นต้นขึ้นแสดงแทนขันธ์ ๕ ท่านส่งจิตไปตามพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์

    พระราหุลนั้น ท่านเป็นผู้ใคร่ในการศึกษาธรรมวินัย ตามประวัติกล่าวไว้ว่า ครั้นท่านลุกขึ้นแต่เช้าก็ไปกอบทรายให้เต็มฝ่าพระหัตถ์แล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ในเวลานี้ข้าพเจ้าพึงได้รับซึ่งโอวาทคำสอนจากสำนักของพระบรมศาสดา หรือจากสำนักของอุปัชฌาย์อาจารย์ทั้งหลายให้ได้มากประมาณเท่าเม็ดทรายในกำมือแห่งข้าพเจ้านี้ ด้วยเหตุนี้เอง พระราหุลจึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ใคร่ในการศึกษา ครั้นท่านดำรงชนมายุสังขารโดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระลกุณฏกภัททิยเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระลกุณฏกภัททิยะ* เกิดในตระกูลมั่งคั่ง ในพระนครสาวัตถี ครั้งหนึ่งท่านพร้อมด้วยอุบาสกเป็นอันมาก ไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่เชตวันมหาวิหาร ได้ฟังธรรมเทศนาของพระองค์แล้ว เกิดศรัทธาเลื่อมใสอยากจะบวชในพระธรรมวินัย ครั้นได้บวชสมความประสงค์แล้วอุตส่าห์เล่าเรียนพระธรรมฐานในสำนักของพระบรมศาสดา บำเพ็ญเพียรในวิปัสสนากรรมฐานไม่นานก็ได้บรรลุพระโสดาปัตติผล ท่านยังเป็นเสขบุคคลอยู่ ครั้นกาลต่อมาท่านได้เข้าไปหาพระสารีบุตร ได้นั่งสนทนาธรรมีกถา กันโดยอเนกปริยาย เมื่อนั่งสนทนาอยู่จิตของท่านก็หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลเป็นพระอเสขบุคคลในพระศาสนา


    ท่านพระลกุณฏกภัททิยะนั้นปรากฏว่าเป็นคนมีรูปร่างเล็ก และต่ำเตี้ย ถ้าใครไม่เคยรู้จัก และไม่เคยเห็นท่านมาก่อน จะไม่รู้เลยว่าเป็นพระ คิดว่าเป็นสามเณร ดังมีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งท่านมาเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วหลีกไป ในเวลานั้นภิกษุผู้อยู่ในป่าประมาณ ๓๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ได้เห็นท่านหลีกไปเหมือนกัน

    พระบรมศาสดาตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า พวกเธอเห็นพระเถระรูปหนึ่งเดินไปจากที่นี่บ้างไหม? พวกภิกษุกราบทูลว่า ไม่เห็นพระพุทธเจ้าข้า พระพุทธองค์ตรัสถามย้ำว่า เห็นมิใช่หรือ ? พวกภิกษุทราบทูลว่า เห็นแต่สามเณรรูปหนึ่งพระพุทธเจ้าข้า พระพุทธองค์จึงตรัสยืนยันว่า นั่นแหละพระเถระ ไม่ใช่สามเณร พวกภิกษุต่างถวายความคิดเห็นในทำนองเดียวกันว่า เล็กเหลือเกินพระพุทธเจ้าข้า.

    ท่านพระลกุณฏกภัททิยะนี้ ปรากฏว่าเป็นผู้พูดไพเราะเสนาะโสดแก่ผู้ฟัง เหตุดังนั้น พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่อง สรรเสริญท่านว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายข้างมีเสียงไพเราะ เมื่อท่านดำรงเบญจขันธ์อยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.

    *ลกุณฏกภัททิยเถระ ในธรรมบทเคยแปลกันมาว่า พระเถระอยู่พระนครภัททิยะ ชื่อว่า ลกุณฏกะ โดยนัยนี้ได้ความว่า เดิมท่านชื่อว่า ลกุณฏกะ แต่อาศัยที่ท่ายอยู่ภัททิยนคร มหาชนจึงเรียกชื่อท่านผสม


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระวักกลเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระวักกลิ เกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ชื่อว่าวักกลิมาณพ เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาตามลัทธิของพราหมณ์จนจบไตรเพทฯ


    เหตุแห่งการออกบวช

    ครั้นเที่ยวไปในนครสาวัตถี วักกลิมาณพได้เห็นพระองค์ ก็บังเกิดความเลื่อมใสในพระรูปพระโฉมของพระองค์ ไม่อิ่ม ไม่เบื่อหน่ายในการดู อยากจะดูทุกเมื่อ จึงคิดว่าถ้าเราได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา จักได้เห็นพระองค์อยู่เป็นนิตย์ ครั้นคิดอย่างนั้นจึงได้ออกบวชในพระพุทธศาสนา ครั้นบวชแล้ว แทนที่จะท่องบ่นสาธยายธรรมและบำเพ็ญเพียรในกรรมฐาน แต่ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่ มัวเมาแต่เที่ยวดูพระรูปโฉมของพระบรมศาสดาอยู่เท่านั้น พระองค์ก็มิได้ตรัสว่าอะไร ๆ กะท่าน ท่านก็เที่ยวตามชมเชยอยู่เช่นนั้น ครั้นต่อมาพระบรมศาสดาตรัสสอนว่า ดูก่อนวักกลิ เธอต้องการดูกายที่เปื่อยเน่านี้เพื่อประโยชน์อะไร ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม แม้พระองค์ทรงตรัสสอนอย่างนี้แล้ว ท่านพระวักกลิก็ยังไม่ละ ซึ่งอันดูพระองค์หลีกหนีไปในที่อื่นเสีย พระบรมศาสดาจึงทรงดำริว่า ภิกษุนี้ ถ้าไม่ได้ความสลดใจเสียบ้างแล้ว ก็จะไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไร ครั้นทรงดำริในพระทัยอย่างนี้แล้ว เมื่อจวนจะถึงวันเข้าพรรษา พระองค์จึงเสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์มหานครในวันเข้าพรรษาพระองค์จึงมีพระพุทธฎีกา ประณามขับไล่พระวักกลิเสียจากสำนักของพระองค์ว่า
     
  15. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระวังคีสเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระวังคีสะ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพระนครสาวัตถี เมื่อเจริญเติบโตแล้ว ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์ในลัทธิของพราหมณ์ จนจบไตรเพท และได้เรียนมนต์พิเศษอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ฉวสีสมนต์ เป็นมนต์สำหรับพิสูจน์กะโหลหศีรษะของซากศพ แม้ตายแล้วหลายปีสามารถรู้ได้ว่าไปเกิดเป็นอะไรที่ไหน วังคีสพราหมณ์ได้อาศัยมนต์นั้นเป็นเครื่องหาทรัพย์เลี้ยงชีวิต ในตอนแรกได้แสดงมนต์นั้นให้พวกชนชาวพระนครได้ดูกัน ต่อมาพวกพราหมณ์ทั้งหลายได้เห็นแล้วคิดกันว่า พวกเราอาศัยวังคีสพราหมณ์นี้เลี้ยงชีวิตได้ จึงได้พาเที่ยวไปสู่ชนบทน้อยใหญ่ประกาศแก่หมู่มนุษย์เหล่านั้นว่า วังคีสพราหมณ์นี้รู้มนต์วิเศษ คือ เมื่อร่ายมนต์แล้วใช้เล็บเคาะที่กะโหลกศีรษะแห่งสัตว์ที่ตายแล้วสามารถรู้ได้ว่า ผู้นี้ไปเกิดในนรก ผู้นี้ไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ผู้นี้ไปเกิดในเปรตวิสัย ผู้นี้ไปเกิดในเทวโลก เมื่อพวกมนุษย์ได้ยินประกาศอย่างนั้น มีความประสงค์จะถามถึงพวกญาติของตน ๆ บ้าง จึงจ่ายทรัพย์ให้ตามกำลังของตนมากบ้าง น้อยบ้าง แล้วถามถึงที่เกิดของพวกญาติของตน ๆ


    พวกพราหมณ์เหล่านั้นพาวังคีสพราหมณ์เที่ยวไปในนิคมและชนบทอย่างนี้แล้วกลับมาถึงพระนครสาวัตถี พักอยู่ในที่ใกล้พระเชตวันมหาวิหาร เช้าวันหนึ่งพวกพราหมณ์เหล่านั้นเห็นมนุษย์เป็นอันมากถือดอกไม้ธูปเทียนไปเพื่อจะฟังเทศน์ในพระเชตวันมหาวิหาร จึงถาม ครั้นทราบความนั้นแล้วจึงพูดว่า พวกท่านจะไปที่นั่นทำไม เพราะคนที่จะดีวิเศษเช่นกับวังคีสพราหมณ์ของพวกเราหาไม่ได้อีกแล้ว เพราะเธอเรียนรู้มนต์มาก พวกมนุษย์ก็เถียงว่า วังคีสพราหมณ์จะรู้อะไร คนที่จะเหมือนกับพระบรมศาสดาของพวกเราก็หาไม่ได้เหมือนกัน เมื่อต่างฝ่ายต่างก็เถียงกันแต่ก็ตกลงกันไม่ได้ จึงได้พร้อมกันไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร

    พระบรมศาสดาทรงทราบว่า พวกวังคีสพราหมณ์มาสู่ที่ประทับพระองค์จึงรับสั่งให้นำกะโหลกศีรษะคนตายมา ๕ กะโหลก คือ กะโหลกของสัตว์ที่เกิดในนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน มนุษยโลก เทวโลก อย่างละกะโหลก และกะโหลกศีรษะของพระขีณาสพอีกหนึ่งกะโหลก ตั้งเรียงไว้โดยลำดับ เมื่อวังคีสพราหมณ์เข้ามาเฝ้าแล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่าเราได้ทราบว่า ท่านร่ายมนต์แล้วใช้เล็บเคาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ที่ตายแล้ว สามารถรู้ที่เกิดของเขาได้หรือ ? วังคีสพราหมณ์ กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ พระองค์จึงตรัสถามกะโหลกศีรษะของสัตว์ที่เกิดในที่ทั้งสี่ วังคีสพราหมณ์ก็ตอบได้ถูกต้องทั้งหมด พระองค์จึงตรัสประทานสาธุการว่าดีละ ๆ ถูกต้องละ จากนั้นพระองค์จึงตรัสถามกะโหลกที่ห้าว่า ผู้นี้ไปเกิดที่ไหน ? วังคีสพราหมณ์ร่ายมนต์แล้วเคาะกะโหลกแต่ไม่สามารถรู้ที่เกิดได้ เพราะเป็นกะโหลกศีรษะของพระอรหันต์ จึงนิ่งเฉยอยู่ พระบรมศาสดาตรัสถามว่า เธอไม่รู้หรือวังคีสะ ? ครั้นวังคีสพราหมณ์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่รู้ พระองค์จึงตรัสว่าแต่เรารู้ เขาทูลถามต่อไปอีกว่าพระองค์รู้ด้วยอะไร ? พระพุทธองค์ประทานคำตอบว่า รู้ด้วยกำลังมนต์ของเรา

    เมื่อวังคีสพราหมณ์ได้ทราบเช่นนั้นจึงได้ทูลขอเรียนมนต์นั้น พระองค์จึงตรัสว่าคนที่ไม่บวชเราให้เรียนไม่ได้ วังคีสพราหมณ์จึงคิดว่า ถ้าเราเรียนมนต์นี้ได้แล้ว เราจักเป็นใหญ่ใสชมพูทวีปทั้งสิ้น ครั้นแล้วจึงได้ส่งพวกพราหมณ์ที่เหลือเหล่านั้นไปพร้อมกับสั่งว่า พวกท่านจงกลับไปรอเราอยู่ที่นั่นแหละสักสองสามวัน เราจักบวชในสำนักของพระบรมศาสดา ครั้นวังคีสพราหมณ์ได้อุปสมบทแล้ว พระบรมศาสดาประทานกรรมฐานมีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์ ตรัสสั่งให้ท่องบ่นบริกรรมซึ่งมนต์นั้น ครั้นท่านสาธยายมนต์นั้นอยู่อย่างนี้ พวกพราหมณ์ก็คอยมาถามอยู่ว่าเรียนมนต์จบแล้วหรือยัง ? ก็ได้รับคำตอบว่า กำลังเรียนอยู่ ต่อมาไม่นานท่านพระวังคีสะก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา

    ครั้นท่านได้บรรลุพระอรหัตตผล เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณ ที่ใด ๆ ก็ตาม ย่อมกล่าวคาถาสรรเสริญพระพุทธคุณของพระองค์บทหนึ่ง ๆ ก่อนเสมอ ด้วยเหตุนี้เอง พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายข้างมีปัญญาปฏิภาณฉลาดในการผูกเป็นบทบาทคาถา ครั้นท่านพระวังคีสะดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระวัปปเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระวัปปเถระ เป็นบุตรพราหมณ์ในเมืองกบิลพัสดุ์ เมื่อคราวที่มหาบุรุษประสูติใหม่ พราหมณ์ผู้เป็นบิดาของท่านได้รับเชิญในการเลี้ยง โภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะ ท่านได้เห็นพระลักษณะถูกต้องตามตำราลักษณพยากรณ์ศาสตร์ของมหาบุรุษ จึงเกิดความเลื่อมใสและเคารพในพระองค์เป็นอันมาก มีความหวังว่าอยากจะเห็นพระองค์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคราวที่ตนจะสิ้นชีวิตจึงได้สั่งสอนบุตรของตนไว้ว่า เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชเมื่อใด ให้ติดตามเสด็จเมื่อนั้น ครั้นเมื่อพระมหาบุรุษออกทรงผนวชแล้วและกำลังบำเพ็ญทุกรกิริยา พระวัปปะพร้อมด้วยพราหมณ์ ๔ คน มีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า ออกบวชเป็นฤาษีตามเสด็จพระมหาบุรุษ คอยอุปัฏฐากทุกเช้าค่ำ คาดหวังว่าพระองค์ได้บรรลุธรรมแล้วจักได้สั่งสอนให้ตน ได้บรรลุธรรมนั้นบ้าง เมื่อเห็นพระองค์ทรงละการบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ทรงประพฤติมานานถึง ๖ ปี จึงมีความเห็นร่วมกันว่า พระองค์คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากในกามคุณเสียแล้วและพระองค์คงไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน จึงเกิดความเบื่อหน่ายคลายความเลื่อมใส พากันหลีกหนีไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี


    เมื่อพระมหาบุรุษ เมื่อพระมหาบุรุษได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์จึงเสด็จไปโปรดแสดงพระธรรมเทศนา ชื่อว่า "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" เป็นปฐมเทศนา เมื่อจบพระธรรมเทศนานั้น ท่านไม่ได้สำเร็จมรรคผลอะไรเลย พอถึงวันรุ่งขึ้น ท่านได้ฟังปกิณณกเทศนา จึงได้ดวงตาเห็นธรรม คือได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย

    พระวัปปเถระ บวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อท่านมีอินทรีย์ แกล้าแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อ อานัตตลักขณสูตร ก็ได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์ ท่านได้ช่วยเป็นกำลังสำคัญรูปหนึ่งในการประกาศพระศาสนา เมื่อท่านดำรงอายุสังขารพอสมควร ก็ ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระวิมลเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ประวัติย่อ ๆ ของพระวิมลเถระ ท่านเป็นบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งในเมืองพาราณสี ซึ่งเป็นสหายผู้มีความสนิทสนมและ ชอบพอกับ พระยสะมาก ท่านได้ ทราบข่าวคราวว่า พระยสะผู้เป็นสหายอันเป็นที่รักออกบวชแล้ว จึงคิดว่าพระธรรมวินัยที่ยสกุลบุตรออกบวชนี้จัก ไม่เลวทรามเป็นแน่แท้ คงจะเป็นสิ่งอันประเสริฐ อำนวยประโยชน์สุขให้แก่หมู่ชนผู้สนใจในการประพฤติปฏิบัติตาม คิดอย่างนั้นแล้ว จึงไปชักชวน สหายอีก ๓ คน คือ สุพาหุ ปุณณชิ ควัมปติ พากันเข้าไปหาพระยสะ บอกความประสงค์ในการมาของพวกตนให้ท่านทราบ พระยสะจึงพาท่านพร้อมด้วยสหายเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลขอให้พระองค์ทรงสั่งสอน พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ได้ บรรลุธรรม พิเศษและประทานอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาพระองค์ทรงสั่งสอนให้บรรลุพระอรหัตเป็นพระอเสขบุคคล ในคราวที่ พระบรมศาสดาทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาในตอนปฐมโพธิกาล ท่านก็ช่วยประกาศพระศาสนาในชนบท ต่าง ๆ สั่งสอน กุลบุตรให้เกิดความเชื่อความเลื่อมใสได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัย ท่านดำรงอยู่ถึงกาลกำหนดอายุขัยก็ดับขันธปรินิพพาน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระสภิยเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระสภิยะ มีชาติภูมิอยู่ที่ไหน เป็นบุตรของใคร ไม่ปรากฏในตำนาน ทราบแต่ว่าท่านเป็นแริพาชกชื่อว่า สภิยะ


    สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร ในกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นเทวดาที่เคยเป็นญาติสายโลหิตกันมาแต่ชาติก่อนได้ผูกปัญหาให้แก่สภิยปริพาชกแล้วสั่งว่า ดูก่อนสภิยะ สมณพราหมณ์ผู้ใดแก้ปัญหาที่ท่านถามนี้ได้ ท่านพึงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของสมณพราหมณ์ผู้นั้น สภิยปริพาชก เรียนปัญหาจากเทวดานั้นจนจำได้แล้ว เที่ยวถามสมณพราหมณ์ผู้เป็นคณาจารย์ใหญ่ซึ่งมียศปรากฏ มีชื่อเสียงในครั้งนั้น คือ ปูรณกัสสปะ,มักขลิโคศาล,อชิตเกสกัมพล,ปกุทธกัจจายนะ,สัญชัยเวฬัฏฐบุตร และนิคันถนาฏบุตร เป็นต้น ครูเหล่านั้นแม้แต่คนเดียวแก้ปัญหาไม่ได้ซ้ำยังกลับพูดเยาะเย้ยสภิยปริพาชกด้วย ประการต่าง ๆ เสียอีก

    ครั้งนั้น สภิยปริพพาชกเกิดความท้อใจ เพราะคำพูดเยาะเย้ยดังกล่าวจึงคิดจะกลับไปเป็นคนเลวบริโภคกามคุณ ครั้นมาหวนระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นได้ จึงตกลงใจจะไปเฝ้า แต่ยังมีความสงสัยอยู่ว่าพวกสมณพราหมณ์มีครูทั้งหกเป็นต้น ก็เป็นผู้เฒ่าผู้แก่ บวชมาเป็นเวลานาน เป็นคณาจารย์สั่งสอนหมู่ศิษย์เป็นอันมาก ยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้ แล้วไฉนพระสมณโคดมซึ่งยังเป็นเด็กอยู่ ทั้งบวชใหม่ด้วย จะแก้ปัญหานี้ได้เล่า แต่ได้บรรเทาความสงสัยด้วยตนเองว่าถึงแม้พระสมณโคดมจะยังเป็นเด็กอยู่ก็จริง แต่พระองค์เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพใหญ่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่พระเวฬุวันมหาวิหาร ในกรุงราชคฤห์กราบทูลขอโอกาสถามปัญหาเมื่อพระองค์ทรงอนุญาตแล้ว ได้ทูลถามปัญหาหลายหมวดหลายตอน พระองค์ทรงแก้ได้ทุกหมวด ทุกตอน

    ในที่สุดแห่งการพยากรณ์ปัญหา สภิยปริพาชกเกิดความเลื่อมใสแล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์รับสั่งให้อยู่ติตถิยปริวาส* เมื่อเวลาครบกำหนด ๔ เดือนแล้ว ก็ได้อุปสมบทเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ท่านหลีกอยู่ผู้เดียวไม่ประมาท ตั้งใจบำเพ็ญเพียรไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล เป็นพระอริยบุคคลนับเข้าในพระสาวกผู้ใหญ่รูปหนึ่ง

    ท่านพระสภิยะนั้น ดำรงเบญจขันธ์อยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระสาคตเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระสาคตเถระ ถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองสาวัตถี มารดาตั้งชื่อว่า "สาคตมาณพ" ครั้นเติบโตแล้วได้สดับพระธรรมเทศนาในสำนักพระบรมศาสดา เกิดศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา จึงได้บรรพชาอุปสมบท ทำฌานสมาบัติ ๘ ประการ ให้บังเกิดขึ้น มีความชำนาญในองค์ฌานนั้น ๆ ต่อมาพระบรมศาสดาเสด็จจาริกไปตามชนบท บรรลุถึงภัททวติกาคามในเมืองโกสัมพี ได้ประทับอยู่ในบ้านนั้น ท่านพระสาคตะได้ตามเสด็จไป ตามนำนานกล่าวไว้ว่า ณ ที่ท่าชื่อว่า อัมพะ มีพญานาคมีฤทธิ์เดชกล้า ชื่อว่า อัมพติฏฐนาค ท่านพระสาคตะได้ทำการทรมานพญานาคนั้นจนสิ้นฤทธิ์เดช แล้วได้กลับไปยังสำนักพระบรมศาสดาที่ภัททวติกาคาม เมื่อเสด็จประทับอยู่ในบ้านนั้นตามสมควรแก่พุทธอัฌยาศัยแล้ว ชาวบ้านได้ทำการรับเสด็จพระองค์ตามสมควร เมื่อได้ทราบว่าพระผู้เป็นเจ้าสาคตะได้สู้กับพญานาคซึ่งอยู่ ณ ท่าชื่อว่า อัมพะ มีชัยชนะ พากันปีติยินดี มีความประสงค์จะหาของอย่างดีเป็นที่พอใจถวาย จึงได้เข้าไปหาท่านพระสาคตะไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้วเรียนถามท่านว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ผู้เจริญ อะไรเป็นของหายาก และชอบใจยิ่งของพระผู้เป็นเจ้า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ (พวก ๖ รูป) จึงบอกแก่อุบาสกเหล่านั้นว่า สุราอ่อน ๆ ใสสีแดงดังเท้านกพิราบเป็นของหายาก ทั้งเป็นของถูกใจยิ่งของภิกษุทั้งหลายด้วย ท่านทั้งหลายจงจัดหาสุราเหล่านั้นไว้ถวายเถิด อุบาสก อุบาสิกาเหล่านั้นจึงจัดสุรานั้นไว้ทุก ๆ หลังคาเรือน เมื่อเห็นพระสาคตเถระเที่ยวบิณฑบาตจึงนิมนต์ท่านว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงดื่มสุราอ่อน แดงใสดังเท้านกพิราบก่อนเถิด พระเถระก็ได้ดื่มสุรานั้นทุกหลังคาเรือน จนมึนเมาหลงลืมสติ เพราะฤทธิ์สุรา เมื่อออกจากเมืองก็ล้มลงตรงประตูเมือง พระบรมศาสดา ทรงทราบ จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายพยุงเธอไปสู่วิหาร ทรงตำหนิด้วยถ้อยคำมีประการต่าง ๆ ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุไม่ให้ดื่มสุราอีกต่อไปว่า สุราเมรยปาเน ปาจิตฺติยํ แปลว่า เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพระดื่มสุราเมรัย วันรุ่งขึ้น พระสาคตะสร่างเมาได้สติแล้ว กราบทูลขอขมาให้พระบรมศาสดาทรงยกโทษให้แล้ว บังเกิดความสลดสังเวชใจในการกระทำของตนนั้น นับแต่นั้นมา ท่านก็ทำความเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล เป็นพระอเสขบุคคลในบวรพุทธศาสนา ในกาลต่อมา เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร ได้ทรงตั้งท่านพระสาคตเถระไว้ในตำแหน่งอันเลิศว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายข้างเป็นผู้ฉลาดในเตโชกสิณสมาบัติ ในตำนานกล่าวไว้ว่า ท่านเป็นพุทธอุปัฏฐากองค์หนึ่งด้วย ท่านพระเถระดำรงชีพอยู่โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. artty

    artty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    662
    ค่าพลัง:
    +2,386
    ผึ้งจ๋าโมทนาจ๊ะ กะรื่องดีๆๆๆนะ เราอ่านไปได้หน้าแรก หน้าสองยังไม่ได้อ่าน แต่ยังไม่นับครบ 80 องค์อ่ะยัง
     

แชร์หน้านี้

Loading...