ประวัติพระพุทธสาวกทั้ง 80 พระองค์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย phuang, 22 กันยายน 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระสารีบุตรเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระสารีบุตรเถระ เดิมชื่อว่า อุปติสสะ บิดาชื่อว่าวังคันตะพราหมณ์ มารดาชื่อว่านางสารีพราหมณี บิดาเป็นนายบ้านตำบลนาลกะหรือนาลันทา เพราะเป็นบุตรของนางสารีจึงได้นามว่า สารีบุตร ท่านเกิดในตำบลบ้านนาลกะหรือนาลันทา ไม่ห่างจากกรุงราชคฤห์ เมื่อท่านเข้ามาอุปสมบทในพระธรรมวินัยแล้ว เพื่อนสพรหมจารี (ผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน ในที่นี้หมายเอาภิกษุ) พากันเรียกท่านว่า พระสารีบุตร ทั้งนั้น ตระกูลพราหมณ์ของบิดาอุปติสสมาณพ เป็นตระกูลที่ร่ำรวย สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์สมบัติและบริวาร เมื่ออุปติสสมาณพเจริญวัยแล้วได้เล่าเรียนศิลปศาสตร์ มีปัญญาเฉียบแหลมเล่าเรียนได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว และได้เป็นเพื่อน ที่ชอบพอรักใคร่กันกับโกลิตมาณพ โมคคัลลานโคตร ผู้มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน และเป็นบุตรแห่งตระกูลที่ร่ำรวยเหมือนกัน เพราะว่าตระกูลทั้งสองนั้นเป็นเพื่อนกัน มีการติดต่อผูกพันกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ


    อุปติสสมาณพและโกลิตมาณพ ได้ไปเที่ยวดูเขาเล่นมหรสพในกรุงราชคฤห์ด้วยกันเป็นประจำ ขณะกำลังชมดูอยู่นั้นก็เกิดความร่าเริงในเวลาถึงบทสนุก เกิดความสลดใจ ในเวลาถึงบทเศร้า ถึงตอนชอบใจก็ให้รางวัลนักแสดงด้วย วันหนึ่งมาณพ ๒ สหายนั้นชวนกันไปดูมหรสพเหมือนวันก่อน ๆ แต่ว่าไม่เกิดความสนุกสนานร่าเริงอะไรเลย คนที่กำลังแสดงอยู่นั้นอีกไม่ถึง ๑๐๐ ปีก็จะต้องตายกันไปหมด เมื่อมีความคิดตรงกันอย่างนั้น จึงได้พากันไปบวชเป็นลูกศิษย์ในสำนักของสัญชัยปริพาชก และได้เรียนความรู้จากอาจารย์จนหมดสิ้น จนอาจารย์ได้ให้ช่วยสั่งสอน ศิษย์คนอื่นในสำนักนั้นด้วย แต่สองสหายนั้นยังไม่พอใจกับความรู้เพียงนั้น จึงได้ตกลงทำกติกานัดหมายกันว่าจะออกแสวงหาโมกขธรรม คือธรรมเครื่องหลุดพ้น จากกิเลสต่าง ๆ อันได้แก่พระนิพพานอีกต่อไป และถ้าใครพบโมกขธรรมก่อนขอให้กลับมาบอกแก่กัน

    สมัยนั้น พระบรมศาสดาได้ตรัสรู้แล้ว และได้ทรงแสดงธรรมสั่งสอนมหาชนยังสถานที่ต่าง ๆ เมื่อเสด็จมาถึงกรุงราชคฤห์และประทับอยู่ ที่พระมหาเวฬุวันมหาวิหาร วันหนึ่งท่านพระอัสสชิผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในพระปัญจวัคคีย์ ผู้ที่พระบรมศาสดาทรงส่งออกไปประกาศพระศาสนา ได้กลับมาเฝ้า ในตอนเช้าท่านก็ได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ อุปติสสปริพาชกเดินไปพบท่านในระหว่างทางก็เกิดความเลื่อมใส ในจริยาวัตรของท่าน และได้ถามถึงครูอาจารย์พร้อมกับขอร้องให้แสดงธรรมให้ฟังด้วย ท่านพระอัสสชิได้แสดงธรรมมีใจความย่อ ๆ ว่า "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุและความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้" อุปติสสปริพาชก ได้ฟังแล้วได้ดวงตาเห็นธรรมคือบรรลุโสดาบัน แล้วกลับไปบอกข่าวเพื่อนโกลิตะ และแสดงธรรมให้ฟังตามที่ได้ฟังมาจนโกลิตะได้ดวงตาเห็นธรรม เหมือนกัน จึงชวนกันไปเฝ้าพระบรมศาสดา ครั้นไปลาอาจารย์สัญชัยแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาทูลขออุปสมบท พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอนุญาต ให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ทั้งสองคน ครั้นบวชแล้วภิกษุทั้งหลายพากันเรียกท่านว่า สารีบุตร และ โมคคัลลานะ

    หลังจาก ได้อุปสมบทแล้ว พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่เหมาะแก่อุปนิสัยของพุทธบริษัท พวกภิกษุที่ร่วมฟังธรรมนั้นได้บรรลุพระอรหัตก่อน พระโมคคัลลานะอุปสมบทแล้ว ๗ วัน จึงได้สำเร็จพระอรหันต์ ฝ่ายพระสารีบุตรอุปสมบทแล้ว ๑๕ วัน จึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ด้วยการฟังเทศนาชื่อว่า เวทนาปริคคหสูตร ที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแก่ปริพาชกชื่อว่า ทีฆนขะะ ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฎ เมืองราชคฤห์ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระสารีบุตรอุปสมบทได้ ๑๕ วันแล้ว พระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่ที่ถ้ำสุรขาตา เขาคิชฌกูฎ เมืองราชคฤห์ ปริพาชกคนหนึ่งชื่อ ทีฆนขอัคคิเวสนโคตร เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วกราบทูลความเห็นของตนว่า "ข้าแต่พระโคตมะ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่ ข้าพเจ้าไม่ชอบใจหมด" พระบรมศาสดาจึงตรัสตอบว่า "ดูก่อนอัคคิเวสนะ ถ้าอย่างนั้นความเห็นอย่างนั้น ก็ต้องไม่ควรแก่ท่าน ท่านต้องไม่ชอบใจความเห็นอย่างนั้น" ครั้นตรัสดังนี้แล้วก็ทรงแสดงทิฏฐิ ๓ อย่าง ให้ปริพาชกนั้นเห็นว่าเป็นโทษ และแนวทางละทิฏฐิ ๓ อย่างนั้น ลำดับนั้นทรงแสดงอุบายเครื่องไม่ยึดมั่นอีกต่อไป ขณะนั้นพระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ (หลัง) ของพระบรมศาสดา ได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ตรัสแก่ทีฆนขปริพาชก แล้วใช้ปัญญาพิจารณาตามพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้น จากอาสวะ ไม่ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปทาน ส่วนทีฆนขปริพาชกได้เพียงดวงตาเห็นธรรม หมดสิ้นความเคลือบแคลงสงสัยในพระพุทธศาสนา แล้วทูลแสดงตยเป็นอุบาสก

    ท่านพระสารีบุตร เมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏว่าท่านเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด ได้เป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการประกาศ พระศาสนา พร้อมกับได้รับตำแหน่งเป็นอัครสาวกเบื้องขวา พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่า "เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ้งหลายในทางมีปัญญามาก" สามารถแสดงพระธรรมจักรและอริยสัจ ๔ ได้กว้างขวางพิสดารเหมือนกับพระพุทธเจ้า

    ท่านพระสารีบุตร ยังมีคุณความดีอีกหลายประการที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง ในที่นี้จะขอกล่าวไว้เฉพาะที่สำคัญ ดังนี้
    ๑. ทรงยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็นผู้มีความอนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิต ด้วยกัน มีตัวอย่าง เช่น เมื่อครั้งพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่เมืองเทวทหะ พวกภิกษุพากันไปเฝ้าพระบรมศาสดาพร้อมกับทูลลาจะไปชนบท พระองค์ตรัสให้ไปลาพระสารีบุตรก่อนเผื่อว่าท่านพระสารีบุตรจะได้แนะนำสั่งสอนในการไปและการประพฤติปฏิบัติตัวในชนบทนั้น จะได้อยู่กันอย่างสำราญ ไม่มีความเดือดร้อนเสียหายอะไรขึ้น
    ๒. ทรงยกย่องว่าพระสารีบุตรเป็น เป็นคู่กับพระโมคคัลลานะ คือเป็นอัครสาวกฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ตามที่ตรัสตอนหนึ่งว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายคบกับสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะเธอเป็นคนมีปัญาอนุเคราะห์เพื่อนบรรชิตทั้งหลาย สารีบุตรเปรียบเหมือนมารดาผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดแล้วน้น สารีบุตรย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องบนที่สูงกว่านั้น" เพราะเหตุนี้เองจึงมีคำยกย่องพระสารีบุตรว่าเป็นอัครสาวกฝ่ายขวา พระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย
    ๓. มีคำเรียกเพื่อยกย่องว่าพระสารีบุตร อีกอย่างหนึ่งว่า "พระธรรมเสนาบดี" ซึ่งเป็นคู่กับพระบรมศาสดาว่า "พระธรรมราชา"
    ๔. พระสารีบุตรมีปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนา คือชี้แจงแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจได้ชัดเจน มีตัวอย่าง คือ พระยมกะมีความคิดเห็นว่าพระขีณาสพตายแล้วดับสูญ พวกภิกษุคัดค้านว่า เห็นอย่างนั้นผิด พระยมกะไม่เชื่อ แต่พวกภิกษุไม่อาจเปลื้องเธอจากความเห็นนั้นได้ จึงเชิญพระสารีบุตรไปช่วยชี้แจงแสดงให้ฟัง เธอจึงหายความสงสัยนั้น
    ๕. พระสารีบุตรเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที ตัวอย่าง เช่น ท่านได้ฟังเทศนาจากพระอัสสชิจนได้บรรลุพระโสดาบันแล้วมาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมา ท่านนับถือพระอัสสชิ ว่าเป็นอาจารย์ ทำการเคารพกราบไหว้อยู่เสมอ พอทราบว่าพระอัสสชิอยู่ทางทิศใด ท่านก็จะทำการยกมือไหว้และนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น อีกเรื่องหนึ่งท่นเป็นผู้ช่วยเหลือให้ราธพราหมณ์ผู้ต้องการจะอุปสมบทในพระธรรมวินัย แต่ไม่มีพระรูปใดยอมบวชให้ จนในที่สุดพระสารีบุตรระลึกถึงอุปการคุณที่ราธพราหมณ์ถวายข้าว ๑ ทัพพี ในสมัยที่เข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ จึงช่วยเหลือให้ได้บวชตามความประสงค์


    อนึ่ง ท่านพระสารีบุตร นับได้ว่าเป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดาในการประกาศพระศาสนาในสถานที่ต่าง ๆ ธรรมภาษิตของท่านจึงมีปรากฏอยู่มากมาย เช่น สังคีติสูตร เป็นต้น ยกเว้นพระพุทธภาษิตแล้ว ภาษิตของพระสารีบุตรมีมากกว่าของพระสาวกรูปอื่น ๆ

    พระสารีบุตรนั้น นิพพานก่อนพระบรมศาสดา ก่อนแต่จะนิพพานท่านพิจารณาเห็นว่า สมควรที่จะนิพพานในห้องที่ตนเองคลอดจากท้องมารดา เมื่อคิดเช่นนั้นจึงเข้าไปกราบทูลสมเด็จพระบรมศาสดา แล้วเดินทางไปกับพระจุนทะผู้น้องชายพร้อมด้วยบริวาร เมื่อไปถึงบ้านเดิมแล้ว ก็เกิด ปักขันทิกาพาธ คือ โรคท้องร่วง ขึ้นในคืนนั้น ในเวลาที่ท่านกำลังอาพาธอยู่นั้น ก็ได้เทศนาโปรดมารดาจนได้บรรลุโสดาปัตติผล พอเวลาใกล้รุ่งของคืนเพ็ญเดือน ๑๒ ท่านก็ดับขันธปรินิพพาน พอรุ่งขึ้นพระจุนทะผู้น้องชายก็ได้ร่วมกับญาติทำฌาปนกิจสรีระของท่าน แล้วเก็บอัฐิธาตุนำไปถวายพระบรมศาสดา ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ในเมืองสาวัตถี พระพุทธองค์โปรดให้ก่อเจดีย์ บรรจุอัฐิธาตุของพระเถระไว้ ณ พระเชตวันมหาวิหารนั้น


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระสีวลีถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระสีวลี เป็นเป็นโอรสของพระนางสุปปวาสา ผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงโกลิยะ จำเดิมแต่พระราชโอรสมาถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา ทำพระมารดาให้สมบูรณ์ด้วยลาภสักการะเป็นอันมาก แต่อยู่ในครรภพระมารดาถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน จึงประสูติ เวลาประสูติก็ประสูติง่ายที่สุด เปรียบประดุจน้ำไหลออกจากหม้อ ด้วยอำนาจแห่งพุทธานุภาพคือ เมื่อพระนางมีครรภ์แก่ครบกำหนดประสูติแล้ว ได้เสวยทุกขเวทนาลำบากมาก พระนางจึงให้พระสวามีบังคมทูลพระบรมศาสดา พระองค์ตรัสพระราชทานให้พรว่า พระนางสุปปวาสา ผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงโกลิยะ จงเป็นหญิงมีความสุขปราศจากโรคาพยาธิ ประสูติพระราชบุตรผู้หาโรคมิได้เถิด พระนางสุปปวาสาก็ได้ประสูติพระราชบุตรพร้อมกับขณะที่พระศาสดาตรัสพระราชทานพร เมื่อประสูติแล้วพระญาติได้ขนานพระนามว่า
     
  3. artty

    artty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    662
    ค่าพลัง:
    +2,386
    อ๊ะ อ่ะ ท่าจะโพสท์บ่เสร็จ คิ้กคิ้ก
     
  4. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระสุพาหุเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระสุพาหุเถระ ท่านเป็นบุตรของเศรษฐี ในกรุงพาราณสีเป็นสหายกับพระยสเถระ พอทราบข่าวว่ายสกุลบุตรออกบวชแล้ว จึงคิดว่าธรรมวินัย ที่ยสกุลบุตรออกบวชนั้นจักไม่เลวทรามแน่ คงเป็นสิ่งประเสริฐ อำนวยประโยชน์สุขให้แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตามได้เป็นแน่ เมื่อคิดอย่างนั้นแล้วจึงพร้อมกับเพื่อนอีก ๓ คน คือ วิมล ปุณณชิ ควัมปติ เข้าไปหาท่านพระยสะ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ สถานที่อันสมควร ท่านพระยสะก็ได้พาสหายเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลขอให้พระองค์ตรัสสั่งสอน พระพุทธองค์ก็ตรัสสอนด้วยเทศนา อนุปุพพิกถา และ อริยสัจ ๔ ท่านเหล่านั้นก็ได้ดวงตาเห็นธรรม จึงทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ให้อุปสมบทด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาก็ทรงสั่งสอนด้วย ปกิณณกเทศนา ให้บรรลุพระอรหัตตผลเป็นพระอเสขบุคคล ต่อจากนั้นท่านก็ได้ ช่วยเป็นกำลังในการเผยแพร่ประกาศพระศาสนาตอนปฐมโพธิกาล เมื่อดำรงอยู่ถึงกาลอายุขัยแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. artty

    artty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    662
    ค่าพลัง:
    +2,386
    พยายามเค้าเด้อจ้า จะตามมาอ่านต่อให้จบ
     
  6. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระสุภูติเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระสุภูติ เป็นบุตรของสุมนเศรษฐี ในพระนครสาวัตถี ในวันที่อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ทำการฉลองพระเชตวันมหาวิหาร สุภูติกุฎุมพี ได้ไปสู่พระมหาวิหารพร้อมกับท่านมหาเศรษฐี เมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาแล้ว เกิดศรัทธาเลื่อใสอยากจะอุปสมบทในพระธรรมวินัย จึงทูลขออุปสมบทในสำนักของพระบรมศาสดา ครั้นได้อุปสมบทเป็นภิกษุสมตามความปรารถนาแล้ว ก็ศึกษาเล่าเรียนพระวินัยปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกจนชำนิชำนาญคล่องแคล่วแล้ว เรียนเอาพระกรรมฐานในสำนักของพระบรมศาสดา ไปกระทำสมณธรรเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในป่า ไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตตผลเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา


    ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ อรณวิหาร ชำนาญด้วยโลกุตตรธรรม สำราญอยู่ด้วยหากิเลสมิได้ และเป็นทักขิไณยบุคคล ผู้ควรรับซึ่งทักษิณาทาน ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับความยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางอรณวิหาร ( คือ เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา ) และทักขิไณยบุคคล

    พระสุภูติเถระนั้น ดำรงเบญจขันธ์อยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพา


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระเสลเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระเสละ มีชาติภูมิอยู่ที่ไหน เป็นบุตรของใคร ก็ไม่ปรากฏในตำนาน ทราบแต่ว่าท่านมีความชำนิชำนาญ เป็นคณาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ประมาณ ๓๐๐ คน


    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๑,๒๕๐ องค์ เสด็จจาริกไปยังอุตตราปถชนบท บรรลุถึงอาปณนิคม เสด็จประทับอยู่ ณ นิคมนั้น เกณิยชฎิลได้ยินกิตติศัพท์ว่า พระสมณโคดมศากยบุตร เสด็จออกทรงผนวชจากศากยตระกูล ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก เสด็จมาที่นิคมนั้น มีความปรารถนาจะเห็นพระองค์จึงเข้าไปเฝ้า ครั้นได้ฟังธรรมีกถาแล้วเกิดความเลื่อมใส ได้นิมนต์พระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น พระองค์ทรงรับสั่งว่า ดูก่อนเกณิยะ ภิกษุสงฆ์ที่เป็นบริวารมีมากถึง ๑,๒๕๐ องค์ ทั้งท่านก็ยังเลื่อมใสในลัทธิของพราหมณ์ด้วย เกณิยชฎิลทูลอ้อนวอนนิมนต์อย่างนั้นถึง ๕ ครั้ง พระองค์จึงทรงรับนิมนต์ ด้วยอาการนิ่งอยู่ เมื่อเกณิยชฎิลทราบว่า พระองค์ทรงรับแล้ว จึงถวายบังคมลา กลับมาบอกแก่มิตรสหาย และญาติสายโลหิตให้ช่วยกันจัดสิ่งของถวายพระในวันรุ่งขึ้น พวกชนเหล่านั้น ต่างคนต่างช่วยกันจัดแจงตามสมควร ส่วนเกณิยชฎิลจัดแจงโรงฉันด้วยตนเอง

    สมัยนั้น เสลพราหมณ์ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสของเกณิยชฎิล พร้อมด้วยมาณพผู้เป็นศิษย์ ๒๐๐ คน เที่ยวเดินเล่นผ่านไปทาง อาศรมของเกณิยชฎิลเห็นเขาจัดแจงโรงฉัน จึงไต่ถาม ทราบความว่า นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมกับภิกษุสงฆ์มาฉัน ครั้นได้ทราบอย่างนั้นแล้ว มีความประสงค์จะเห็นพระองค์ด้วยคิดว่า จะทรงสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะจริงหรือไม่ จึงถามเกณิยชฎิลว่า พระสมณโคดมเสด็จประทับอยู่ ณ ที่ไหน เกณิยชฎิลจึงบอกทางให้ จึงพาศิษย์ไปเฝ้าพระบรมศาสดา สนทนาปราศรัยไปพลางตรวจดูมหาปุริสลักษณะไปพลางเห็นมีครบบริบูรณ์ทุกอย่าง จึงเปล่งวาจาชมเชยด้วยความเลื่อมใสแล้ว พร้อมด้วยบริวารพากันทูลขอบรรพชาอุปสมบท เวลารุ่งเช้าพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จไปในที่นิมนต์เสวยเสร็จแล้วทรงอนุโมทนา

    ส่วนท่านพระเสละพร้อมด้วยบริวาร พากันหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาทตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผล ท่านพระเสละนั้นนับเข้าในจำนวนพระสาวกผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ท่านดำรงอายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระโสณกุฏิกัณณเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระโสณกุฏิกัณณะ เป็นบุตรของอุบาสิกา ชื่อว่า กาฬี ผู้โสดาบันในกรุงราชคฤห์ เดิมชื่อว่า โสณะ เพราะเหตุว่าท่านประดับเครื่องประดับที่หูควรค่าถึงโกฏิหนึ่ง จึงได้มีคำว่า กุฏิกัณณะ ตามหลังเป็น โสณกุฏิกัณณะ เมื่อครั้งพระมหากัจจายนะอาศัยอยู่ที่เขาชื่อว่า ปวัตตะ แขวงเมืองกุรุรฆระ ในอวันตีชนบท มารดาของโสณกุฏิกัณณะได้เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน เมื่อโสณกุฏิกัณณะเจริญวัยแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของท่าน เกิดความเลื่อมใส ได้แสดงคนเป็นอุบาสกและเป็นผู้อุปัฏฐากทานด้วย


    ครั้นต่อมาโสณกุฏิกัณณะมีความปรารถนาจะบวช จึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะ บอกความประสงค์ของตนให้ท่านทราบ ท่านได้ชี้แจงแก่โสณอุบาสกถึงการประพฤติพรหมจรรย์ว่า ลำบากอย่างไร แนะนำให้บำเพ็ญศาสนปฏิบัติในทางฆราวาส แต่โสณอุบาสกมีศรัทธาแรงกล้าถึงแม้จะทราบว่าลำบากอย่างไร ก็ยังปรารถนาเพื่อจะบวชอยู่ จึงได้อ้อนวอนขอให้ท่านสงเคราะห์อยู่เนือง ๆ ในที่สุดพระมหากัจจายนะก็ให้บวชเป็นสามเณรเท่านั้น เพราะในอวันตีชนบทมีภิกษุน้อย จะหาสงฆ์มีจำนวน ๑๐ รูป (ที่เรียกว่า ทสวรรค) ให้อุปสมบทได้ยาก โดยล่วงไปสามปี โสณกุฏิกัณณะ จึงได้อุปสมบท เมื่อได้อุปสมบทแล้ว ก็ศึกษาเล่าเรียนกรรมฐานในสำนักอุปัชฌาย์ ท่านไม่ประมาท อุตส่าห์บำเพ็ญเพียรวิปัสสนากรรมฐานไม่นาน ก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผล เป็นพระอเสขบุคคลในพระพุทธศาสนา เพราะยังไม่เคยเห็นพระศาสดาเลย ท่านจึงลาพระมหากัจจายนเถระ เพื่อไปเฝ้าพระศาสดา พระมหากัจจายนเถระ ก็อนุญาต และสั่งให้ไปถวายบังคมพระศาสดาด้วยเศียรเกล้าตามคำของท่าน และให้กราบทูลถึงการปฏิบัติพระวินัยบางอย่างอันไม่สะดวกแก่ภิกษุผู้อยู่ในชนบทนั้นมีการอุปสมบท เป็นต้น เพื่อจะได้รับพระพุทธานุญาตจากพระบรมศาสดา ครั้นลาพระอุปัชฌาย์แล้ว* จัดแจงเก็บเสนาสนะถือ บาตรและจีวร ออกจากอวันตีชนบท ไปเฝ้าพระบรมศาสดาซึ่งประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ในพระนครสาวัตถี ครั้นถึงที่ประทับแล้วถวายบังคมพระศาสดา นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง พระองค์ตรัสปฏิสันถารตามสมควรแล้วรับสั่งให้พระอานนท์จัดแจงที่พักให้ในพระคันธกุฏีเดียวกันกับพระองค์ ในเวลาราตรีจวนจะสว่าง พระบรมศาสดาทรงรับสั่งให้ท่านถวายพระธรรมเทศนา ท่านได้แสดงพระสูตรอันแสดงวัตถุ ๘ ประการ ด้วยเสียงอันไพเราะ พระองค์ทรงสดับแล้วตรัสสาธุการชมเชยว่า ดีละ ๆ ภิกษุแล้วตรัสถามถึงอายุพรรษา ท่านได้กราบทูลให้ทรงทราบทุกประการ

    ครั้นกาลต่อมา ท่านพระโสณกุฏิกัณณะได้โอกาสอันดีแล้ว จึงกราบทูลข้อความที่พระอุปัชฌาย์สั่งไว้ พระองค์ทรงทราบแล้วได้ทรงอนุญาตผ่อนปรนให้ตามความประสงค์ (เรื่องนี้มีพิสดารแล้วในประวัติของพระมหากัจจายนะ) เมื่อท่านอยู่ในที่ประทับของพระบรมศาสดาพอสมควรแก่กาลแล้ว ได้กราบถวายบังคมลากลับมายังสำนักพระมหากัจจายนะตามเดิม ครั้นกลับมาแล้วได้แสดงพระธรรมเทศนาที่ได้ถวายแก่พระบรมศาสดา ให้มารดาของท่านฟังโดยทำนองนั้นอีก

    ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ เมื่อท่านดำรงอายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.

    *ในอสีติมหาสาวกนิพพานกล่าวว่า เมื่อท่านลาพระมหากัจจายนะแล้ว และไปลามารดาอีก มารดาจึงได้ฝากผ้ากัมพลฝืนหนึ่งไปให้เอาไปปูลาดพระคันธกุฏี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระโสณโกฬิวิสเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระโสณโกฬิวิสะ เป็นบุตรของอสุภเศรษฐีในนครจำปา นับตั้งแต่มารดาเริ่มตั้งครรภ์จนคลอด ชาวเมืองต่างพากันนำเครื่องบรรณาการมามอบให้แก่เศรษฐีเป็นอันมาก เมื่อคลอดแล้วมีผิวพรรณผุดผ่องงดงามดังนั้นมารดาบิดาจึงได้ขนานามนามว่า โสณะ ส่วนโกฬิวิสะเป็นชื่อแห่งโคตร โสณกุมารนั้นเป็นคนสุขุมาลชาติ มีโลมาที่ละเอียดอ่อนบังเกิดที่ฝ่าเท้าทั้งสอง ได้รับการเลี้ยงดูเอาใจในจากมารดาบิดาเป็นอย่างดี เพราะมีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์ เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ แขวงกรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสาร เจ้าผู้ครองแคว้นมคธ มีความประสงค์จะทอดพระเนตรโลมาที่ฝ่าเท้าของโสณเศรษฐีบุตร จึงรับสั่งให้ไปเฝ้าพระบรมศาสดา โสณเศรษฐีบุตรพร้อมด้วยชาวบ้าน ประมาณแปดหมื่นคน เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาตามรับสั่งพระเจ้าพิมพิสารได้ฟังเทศนาอนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ ที่พระองค์ตรัสสอนชาวบ้านประมาณแปดหมื่นคนก็เกิดความเลื่อมใส ได้แสดงตนเป็นอุบาสกแล้วหลีกไป ส่วนโสณเศรษฐีบุตรเข้าไปกราบทูลพระบรมศาสดาว่า ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระองค์แสดงเห็นว่าผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ดุจสังข์ที่ขัดแล้วนั้นมิใช่จะทำได้โดยง่าย ข้าพระพุทธองค์ อยากจะบวช ขอพระองค์จงโปรดให้ข้าพระองค์บวชเถิด พระบรมศาสดาทรงให้บวชตามประสงค์


    ครั้นโสณโกฬิวิสะอุปสมบทแล้ว เดินทางไปทำความเพียรที่สีตวัน ปรารภความเพียรเกินขนาด เดินจงกรมไม่หยุดจนเท้าแตก ก็ไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงดำริว่า บรรดาสาวกของพระบรมศาสดาที่ปรารภความเพียรแล้ว เราก็เป็นคนหนึ่ง ถึงอย่างนั้นจิตของเราก็ยังไม่พ้นจากอาสวะทั้งปวง ได้สมบัติของเราก็ยังมีอยู่มากมาย ถ้ากระไรเราจะสึกออกไปเสวยสมบัติและบำเพ็ญกุศลจะดีกว่า ฝ่ายพระบรมศาสดาทราบว่า พระโสณโกฬิวิสะปรารภความเพียรเดินจงกรมจนเท้าแตกแล้ว คิดเช่นนั้น จึงเสด็จไปถึงที่อยู่ของพระโสณโกฬิวิสะตรัสสอนให้ปรารภความเพียร แต่พอปานกลางไม่ยิ่งนักไม่หย่อนนัก โดยยกสายพิณ ๓ สายขึ้นเปรียบเทียบ ครั้นตรัสสอนแล้ว ได้เสด็จกลับสู่ที่ประทับ

    พระโสณโกฬิวิสะตั้งอยู่ในโอวาท ที่พระบรมศาสดาได้ตรัสสอน ปรารภความเพียรแต่พอประมาณ เจริญวิปัสสนาไม่ช้าไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล

    ครั้นต่อมาวันหนึ่ง ท่านเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว จบพรหมจรรย์แล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องทำอีก มีภาระหนักอันวางแล้ว ได้ถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีธรรมที่ทำให้ติดอยู่ในภพหมดสิ้นแล้ว รู้ชอบ จึงพ้นแล้วจากอาสวะ ภิกษุผู้เป็นอรหันต์นั้นน้อมเข้าไปแล้วในคุณ ๖ สถาน คือ น้อมเข้าไปแล้วในบรรพชา,ในที่สงัด,ในความสำรวม ไม่เบียดเบียน,ในความไม่ถือมั่น,ในความไม่มีความอยาก และในความไม่หลง พระบรมศาสดาได้ทรงสดับแล้วตรัสสรรเสริญว่า พระโสณโกฬิวิสะพยากรณ์พระอรหันต์ กล่าวแต่เนื้อความไม่นำตนเข้าไปเทียบ และเพราะเหตุที่ท่านได้ปรารภความเพียรด้วยความอุตสาหะอย่างแรงกล้า แต่ครั้งยังไม่บรรลุอรหัตตผล พระบรมศาสดาจึงตรัสยกย่องว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ปรารภความเพียรในพระพุทธศาสนา ครั้นท่านได้ดำรงเบญจขันธ์อยู่ต่อมาโดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระเหมกเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระเหมกะ เกิดในสกุลพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิต ของพระเจ้าปเสนทิโกศล เพื่อศึกษาศิลปวิทยาตามลัทธิของพราหมณ์ ครั้นพราหมณ์พาวรีมีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงได้ทูลลา พระเจ้าปเสนทิโกศลออกจากตำแหน่งปุโรหิต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงออกบวชเป็นชฎิล ประพฤติพรตตามลัทธิของ พราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแว่นแคว้นทั้งสอง ชื่อว่าอัสสกะและอาฬกะต่อกัน เป็นอาจารย์ใหญ่บอกไตรเพท แก่หมู่ศิษย์ เหมกมาณพ ได้ออกบวชติดตามอาจารย์ไปด้วยและอยู่ในอาณพ ๑๖ คน ที่พราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระศาสดา ที่ปาสาณเจดีย์แว่นแคว้นมคธ กราบทูลขอโอกาสถามปัญหา เมื่อได้รับพระบรมพุทธานุญาตแล้ว อชิตมาณพทูลถามปัญหาเป็นคนแรก เพราะตนเป็นหัวหน้าฯ


    ทูลถามปัญหา ๑ ข้อ

    เหมกมาณพทูลถามปัญหาเป็นคนที่แปดว่า

    ในปางก่อนแต่ศาสนาของพระองค์ อาจารย์ทั้งหลาย ได้ยืนยันว่าอย่างนั้นได้เคยมีมาแล้ว อย่างนี้จักไม่มีต่อไปข้างหน้า คำนั้นล้วน เป็นแต่พูดกันอย่างเดียว มีแต่จะทำความตรึกให้ฟุ้งมากขึ้น ข้าพระพุทธเจ้าไม่พอใจในคำนั้นเลย ขอพระองค์ตรัสบอกธรรมเป็นเหตุพ้น ตัณหา ซึ่งถ้าข้าพระพุทธเจ้าทราบแล้ว จะพึงเป็นคนมีสติล่วงตัณหาที่ทำให้ติดอยู่ในโลกแก่ข้าพระพุทธเจ้าเถิด

    พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า ชนเหล่าใด ได้รู้ว่าพระนิพพานเป็นที่บรรเทาความกำหนัดพอใจในอารมณ์เป็นที่รัก ซึ่งได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว ได้ดมแล้ว ได้ชิมแล้ว ได้ถูกต้องแล้ว และรู้แล้วด้วยใจ และเป็นธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลงดังนั้นแล้วเป็นคนมีสติมีธรรมอันเห็น แล้ว ดับกิเลสแล้ว ชนเหล่านั้นแลก้าวพ้นจากตัณหา อันจะทำให้ติดอยู่ในโลกได้ฯ

    ในเวลาจบเทศนาปัญหาพยากรณ์ เหมกมาณพได้บรรลุพระอรหัตผล (ก่อนอุปสมบท) เมื่อมาณพที่เหลือทูลถามปัญหาของตน ๆ พระองค์ทรงพยากรณ์เสร็จแล้ว จึงพร้อมกันทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านพระเหมกะนั้นเมื่อดำรงเบญจขันธ์อยู่ ได้ช่วยทำกิจพระศาสนาตามหน้าที่ ท่านดำรงชนมายุสังขาร อยู่โดยสมควร แก่กาลเวลา ก็ดับขันธ์ปรินิพพานฯ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระองคุลิมาลเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระองคุลิมาล* เป็นบุตรของพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ในพระนครสาวัตถี มารดาชื่อว่า นางมันตานีพราหมณี เมื่อท่านคลอดจากครรภ์มารดา ได้บังเกิดเหตุอัศจรรย์ คือ บรรดาเครื่องศาสตราอาวุธยุทธภัณฑ์อันมีอยู่ในเรือนนั้นก็ดี เครื่องพระแสงศาสตราวุธของพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ดี ได้บังเกิดเป็นเปลวไฟรุ่งโรจน์โชตนาการ ฝ่ายปุโรหิตาจารย์ผู้เป็นบิดา เมื่อเห็นเหตุนั้นจึงออกจากเรือนเล็งแลดูฤกษ์บน (ฤกษ์ที่พระจันทร์เสวยประจำวันมี ๒๗ ฤกษ์) ฤกษ์นั้นก็ปรากฏในอากาศประหลาดใจยิ่งนัก ด้วยว่าบุตรนั้นจะเกิดเป็นโจร ครั้นรุ่งเช้าจึงเข้าไปสู่ที่เฝ้า กราบทูลเนื้อความนั้นให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบ และในที่สุดได้กราบทูลให้พระองค์ประหารชีวิตเด็กเสีย แต่พระเจ้าปเสนทิโกศลหาทรงทำไม่ ทรงรับสั่งให้บำรุงเลี้ยงรักษาไว้ ปุโรหิตาจารย์ก็อภิบาลบำรุงรักษากุมารนั้นไว้ และให้นามว่า "อหิงสกกุมาร" แปลว่า กุมารผู้ไม่เบียดเบียน


    เมื่ออหิงสกกุมารเจริญวัยแล้ว มารดาบิดาจึงส่งไปสู่พระนครตักกสิลา เพื่อจะให้ศึกษาเล่าเรียนวิชา และศิลปศาสตร์ เมื่ออหิงกกุมารไปถึงพระนครตักกสิลาแล้ว ก็เข้าไปหาอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ขอศึกษาศิลปวิทยา อุตส่าห์กระทำวัตรปรนนิบัติอาจารย์เป็นอันดี และมีปัญญาเล่าเรียนได้ว่องไว แม้จะเล่าเรียนศิลปศาสตร์วิชาการ ใด ๆ ก็รู้จบสิ้นทุกประการ เชี่ยวชาญยิ่งกว่าศิษย์ทั้งปวง จึงเป็นที่โปรดปรานของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ฝ่ายศิษย์อื่น ๆ อันเป็นเพื่อนเล่าเรียนด้วยกันนั้น ก็บังเกิดความริษยา จึงปรึกษากันเพื่อหาอุบายทำลายเจ้าอหิงสกกุมารเสีย เมื่อเป็นที่ตกลงกันแล้วได้ไปยุยงอาจารย์ถึงสองครั้งสามครั้ง ในที่สุดอาจารย์ก็ปลงใจเชื่อ คิดหาอุบายที่จะกำจัดอหิงสกกุมาร เมื่อเห็นอุบายเป็นที่แยบคายแล้ว จึงพูดกับอหิงสกกุมารว่า "ดูก่อนมาณพ เจ้าจงไปฆ่าคนแล้วตัดเอานิ้วมาให้ได้พันนิ้วแล้วจงนำมา เราจะประกอบศิลปศาสตร์อันชื่อว่า วิษณุมนต์ให้แก่เธอ"

    ในขั้นต้น อหิงสกกุมารมีความรังเกียจ ไม่พอใจ เพราะตนเกิดในตระกูลพราหมณ์ ไม่ควรเบียดเบียนฆ่าสัตว์ เป็นการผิดประเพณีวงศ์ตระกูลมารดาบิดา แต่ด้วยอาศัยความอยากสำเร็จศิลปศาสตร์อันมีชื่อว่า วิษณุมนต์ จึงได้ฝืนใจทำเริ่มจับอาวุธ ผูกพันให้มั่นกับตัวแล้ว ก็ลาอาจารย์เข้าสู่ราวป่า เที่ยวพิฆาตฆ่ามนุษย์อันเดินไปมาในสถานที่นั้น ๆ ครั้นฆ่าแล้วมิได้กำหนดนับเป็นจำนวนไว้ ก็บังเกิดลบเลือนสงสัย ตั้งแต่นั้นมาเมื่อฆ่าคนตายแล้วก็ตัดเอานิ้วร้อยเป็นพวงไว้ดุจพวงมาลานับได้ ๙๙๙ นิ้ว เพราะเหตุนั้นจึงมีนามปรากฏว่า "องคุลิมาลโจร" แปลว่า โจรผู้มีนิ้วมือเป็นพวงมาลา ข่าวคราวเรื่องนี้ก็ระบือกระฉ่อนไปตามนิคมชนบทต่าง ๆ มหาชนมีความสะดุ้งตกใจกลัวจึงพร้อมกันไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล เพื่อกราบทูลให้พระองค์กำจัดเสีย เมื่อพระองค์ทรงทราบแล้วจึงสั่งให้ตระเตรียมกำลังพล เพื่อจะไปจับองคุลิมาลโจรฆ่าเสีย ปุโรหิตาจารย์ผู้เป็นบิดาทราบว่า อันตรายจะมีแก่บุตร จึงปรึกษากับนางพราหมณี ให้นางพราหมณีรีบออกไปก่อนเพื่อบอกเหตุนั้นให้บุตรทราบ

    ในกาลครั้งนั้น สมเด็จพระบรมศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตตผลขององคุลิมาลโจรว่า ถ้าพระองค์ไม่ทรงเป็นพระภาระก็จะกระทำมาตุฆาต (ฆ่ามารดา) เสียจักเป็นเหตุเสื่อมจากมรรคผล จึงรีบเสด็จไปแต่เช้าตรู่ เมื่อพบเข้าแล้ว องคุลิมาลโจรก็ตรงเข้าไล่ทันที หมายจะพิฆาตฆ่าเอานิ้วพระหัตถ์ แม้ไล่เท่าไรก็ไม่ทันจนเกิดกายเหนื่อยเมื่อยล้าจึงร้องตะโกนให้พระบรมศาสดา หยุดพระองค์จึงตรัสบอกว่าพระองค์ได้หยุดแล้ว แต่เขาก็ยังไล่ตามไม่ทันจึงหาว่าพระองค์ตรัสสมุสาวาทพระองค์ก็ตรัสบอกว่าเราหยุดจากการทำอกุศลอันให้ผลเป็นทุกข์มานานแล้ว ส่วนท่านยังไม่หยุดพระสุรเสียงนั้นทำให้องคุลิมาลโจรรู้สึกสำนึก โทษของตน จึงเปลื้องเครื่องศัสตราวุธ และมาลัยนิ้วมือออกจากกายทิ้งไว้ในซอกภูเขา แล้วเข้าไปเฝ้าทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้อุปสมบท ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา แล้วทรงนำเข้าไปในพระเชตวันมหาวิหาร

    ครั้นเวลารุ่งเช้าพระองคุลิมาลเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีชาวพระนครได้เห็นท่านเกิดความตกใจกลัว พากันวิ่งหนีเป็นอลหม่านโดยวิ่งเข้าไปในกำแพงพระราชวังปิดประตูพระนครเสีย และพูดจากันต่าง ๆ นานาบางคนพูดว่า ท่านพระองคุลิมาลปลอมเป็นสมณะเพื่อหลบหนีราชภัยบางคนพูดว่า เพื่อหวังจะประทุษร้ายคนภายในพระนคร ท่านเที่ยวบิณฑบาตไปถึงไหนก็มีเสียงโจษจันเซ็งแซ่ไปถึงนั่น ไม่มีใครถวายบิณฑบาตเลยแม้แต่เพียงทัพพีเดียว ภิกษุรูปใดไปกับท่านภิกษุรูปนั้นก็พลอยอดไปด้วย แต่ก็เป็นโชคของท่านอย่างหนึ่งที่ท่านทำน้ำมนต์ให้หญิงมีครรภ์คลอดง่ายที่สุด คือ ครั้งหนึ่ง ท่านทำน้ำมนต์ให้หญิงมีครรภ์คนหนึ่งหญิงคนนั้นก็คลอดลูกง่ายเหมือนเทน้ำออกจากกระออม ตั้งแต่นั้นมาก็มีคนนิยมนับถือท่านจนกระทั่งว่า แท่นที่ท่านนั่งนั้นคนเอาน้ำไปรดแล้วใช้เป็นน้ำมนต์ ก็ให้ผลสมความประสงค์เช่นเดียวกัน คาถาที่ท่านทำน้ำมนต์นั้น ได้แก่ คาถาว่า

    ยโตหํ ภคินิ อริยาย ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สญฺจิจฺจ ปาณํ ชีวิตา โวโรเปตา เตน สจฺเจน โสตฺถิ เต โหตุ โสตฺถิ คพฺภสฺส.
    แปลว่า "ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่ฉันเกิดมาแล้วโดยอริยชาติ ยังไม่รู้สึกตัวว่าได้แกล้งปลงชีวิตสัตว์เลยด้วยอำนาจสัจวาจานั้น ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่หล่อน และครรภ์ของหล่อนเถิด"


    ท่านพระองคุลิมาลนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท ตั้งใจเจริญสมณธรรม แต่จิตฟุ้งซ่านไม่เป็นสมาธิได้ เพราะคนที่ท่านฆ่าประดุจดังว่ามาปรากฏอยู่ตรงหน้า พระบรมศาสดาทรงทราบจึงเสด็จมาแนะนำสั่งสอนไม่ให้ระลึกถึงสิ่งที่ล่วงมาแล้ว และสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ให้พิจารณาธรรมที่บังเกิดขึ้นเฉพาะหน้าอย่างเดียว ท่านประพฤติตามไม่ช้าก็สำเร็จอรหัตตผล เป็นพระอริยสาวกนับเข้าในจำนวนอสีติมหาสาวกองค์หนึ่ง เมื่อท่านดำรงอายุสังขารอยู่โดยสมควรแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน.

    *ท่านพระองคุลิมาล บางตำนานกล่าวว่า ท่านได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดา ว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้สามีบริโภค แต่ในเอตทัคคบาลีไม่ปรากฏว่าท่านได้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ เพราะฉะนั้นจึงไม่ได้กล่าวไว้เกรงว่าจะเกิน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระอชิตเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระอชิต เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี เดิมชื่อว่า อชิตมาณพ เมื่ออายุสมควรแก่การเล่าเรียนแล้ว มารดาบิดาได้นำไปฝากให้เป็นศิษย์ เล่าเรียนศิลปะในสำนักของพราหมณ์พาวรีผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมื่อพราหมณ์พาวรีคิดเบื่อหน่ายในฆารวาสวิสัย จึงได้ถวายบังคมลาพระเจ้าปเสนทิโกศลออกจากหน้าที่ปุโรหิต ออกบวชเป็นชฎิล ประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ ฝั่งแม่นำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะและอาฬกะต่อกัน เป็นอาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมูศิษย์ อชิตมาณพพร้อมกับมาณพอื่น ๆ ได้ออกบวชติดตามด้วย และอยู่ศึกษาศิลปวิทยาในสำนักของพราหมณ์พาวรีนั้น


    ต่อมาพราหมณ์พาวรี ได้ทราบข่าวว่า พระสิทธัตถราชกุมาร ผู้เป็นราชโอรสของพระเจ้าศากยะทรงผนวช ปฏิญาณพระองค์ว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แสดงธรรมสั่งสอนประชาชน มีคนเชื่อและเลื่อมใสยอมเป็นสาวกปฏิบัติตามคำสั่งสอนเป็นจำนวนมาก พราหมณ์พาวรีมีความประสงค์จะทราบข้อเท็จจริง จึงเรียกมาณพผู้เป็นศิษย์ ๑๖ คน มีอชิตมาณพเป็นหัวหน้า ผูกปัญหาให้คนละหมวด ให้ไปลองกราบทูลถามดู อชิตมาณพพร้อมด้วยมาณพอีก ๑๕ คนลาพราหมณ์พาวรีผู้เป็นอาจารย์ แล้วพากันไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดาที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ กราบทูลขอโอกาสถามปัญหาคนละหมวด เมื่อพระบรมศาสดาทรงประทานอนุญาตแล้ว อชิตมาณพผู้เป็นหัวหน้าจึงกราบทูลปัญหาชุดแรก ๔ ข้อ ว่า

    อชิตมาณพ : โลกคือหมู่สัตว์อันอะไรปิดบังไว้ จึงหลงดุจอยู่ในความมืด เพราะอะไรเป็นเหตุจึงไม่มีปัญญาเห็นปรากฏ พระองค์ว่าอะไรเป็นเครื่องฉาบไล้สัตว์โลกให้ติดอยู่ และอะไรเป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลกนั้น

    พระบรมศาสดา : โลกคือหมูสัตว์อันอวิชชา คือความไม่รู้แจ้งปิดบังไว้ จึงหลงดุจอยู่ในที่มืด เพราะความอยากมีประการต่าง ๆ และความประมาทเลินเล่อ จึงไม่มีปัญญาเห็นปรากฏ เรากล่าว่า ความอยากเป็นเครื่องฉาบไล้สัตว์โลกให้ติดอยู่ และเรากล่าวว่าทุกข์เป็นภัยใหญ่ของสัตว์โลกนั้น

    อชิตมาณพ : ขอพระองค์จงตรัสบอกว่า อะไรเป็นเครื่องห้าม เครื่องปิดกั้นความอยาก ซึ่งเป็นดุจกระแสน้ำหลั่งไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง ความอยากนั้นจะละได้เพราะธรรมอะไร

    พระบรมศาสดา : เรากล่าวว่า สติเป็นเครื่องห้าม เป็นเครื่องป้องกัน ความอยากนั้นจะละได้เพราะปัญญา

    อชิตมาณพ : ปัญญา สติ กับนามรูปนั้นจะดับไป ณ ที่ไหน ข้าพระองค์กราบทูลถามแล้ว ขอพระองค์ตรัสบอกข้อความนี้แก่ข้าพระองค์

    พระบรมศาสดา : เราจะแก้ปัญหาที่ท่านถามถึงที่ดับของนามรูปทั้งหมดไม่มีเหลือแก่เธอ เพราะวิญญาณดับไปก่อน นามรูปจึงดับได้ ณ ที่นั้นเอง

    อชิตมาณพ : ชนผู้ได้เห็นธรรมแล้ว (บรรลุมรรคผล) และชนผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่ สองพวกนี้มีอยู่ในโลกเป็นอันมาก ข้าพระองค์ขอกราบทูลถามถึงความประพฤติของชนพวกนั้น พระองค์มีปัญญาแก่กล้า ขอพระองค์ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์

    พระบรมศาสดา : ภิกษุผู้ได้เห็นธรรมแล้ว และชนผู้ต้องศึกษาอยู่ต้องเป็นคนไม่กำหนัดในกามทั้งหลาย มีใจไม่ขุ่นมัว ฉลาดในธรรมทั้งปวง มีสติอยู่ทุกอิรอยาบท

    ครั้นสมเด็จพระบรมศสดา ทรงพยากรณ์ปัญหาที่อชิตมาณพกราบทูลถามอย่างนี้แล้ว ในที่สุดแห่งการแก้ปัญหา อชิตมาณพก็ได้สำเร็จพระอรหัตตผล (ก่อนอุปสมบท) เมื่อจบโสฬสปัญหาพยากรณ์แล้ว อชิตมาณพพร้อมด้วยมาณพ ๑๕ คน กราบทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ทรงอนุญาต ให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านพระอชิตะดำรงชนมายุอยู่โดยสมควรแก่กาลก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระอนุรุทธเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระอนุรุทธะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ประสูติร่วมพระมารดาเดียวกัน ๓ พระองค์ คือ พระเชฏฐา (พี่ชาย) พระนามว่า มหานามะ พระกนิฏฐภคินี (น้องสาว) พระนามว่า โรหิณี รวมเป็น ๓ กับอนุรุทธกุมาร ถ้าจะนับตามลำดับพระวงศ์ก็เป็นพระอนุชาของพระบรมศาสดา อนุรุทธกุมารเป็นกษัตริย์สุมุมาลชาติ มีปราสาท ๓ หลังเป็นที่ประทับใน ๓ ฤดู สมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ศฤงคาร* และบริวารยศ แม้แต่คำว่า ไม่มี ก็ ไม่เคยรู้จัก และไม่เคยได้สดับเลย


    เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่อนุปิยนิคมของมัลลกษัตริย์ ในเวลานั้น ศากยกุมารซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมีคนรู้จักมาก ออกบวชตามพระบรมศาสดาเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งเจ้ามหานามะผู้เป็นพระเชฏฐา ได้ปรารภกับอนุรุทธะผู้น้องว่า พ่ออนุรุทธะ ในตระกูลของเรายังไม่มีใคร ๆ ออกบวชตามพระบรมศาสดาเลย เจ้า หรือพี่คนใดคนหนึ่งควรจะออกบวช อนุรุทธะตอบว่า น้องเป็นคนที่เคยได้รับแต่ความสุขสบาย ไม่สามารถจะออกบวชได้ พี่บวชเองเถิด เจ้ามหานามะจึงกล่าวขึ้นว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงเรียนให้รู้จักการงานของผู้ครองเรือนเสียก่อน พี่จะสอนให้ เจ้าจงตั้งใจฟัง ครั้นกล่าวดังนั้นแล้ว เจ้ามหานามะจึงสอนการงานของผู้ครองเรือน โดยยกเอาวิธีการทำนาเป็นอันดับแรกขึ้นมาสอน เมื่ออนุรุทธะได้ฟังแล้วก็เห็นว่าการงานไม่มีที่สิ้นสุดเบื่อหน่ายในการงาน พูดกับพี่ชายว่า ถ้าอย่างนั้น พี่อยู่ครองเรือนเถิด น้องจักบวชเอง ครั้นอนุรุทธะกล่าวอย่างนั้นแล้วจึงเข้าไปหาพระมารดาทูลว่า แม่ หม่อมฉันอยากจะบวช ขอพระแม่เจ้าจงอนุญาติให้หม่อมฉันบวชเถิด แม้ถูกพระมารดาตรัสห้าม ไม่ยอมให้บวช ท่านก็ยังอ้อนวอนขอให้อนุญาตให้บวชเป็นหลายครั้ง เมื่อมารดาเห็น ดังนั้นจึงคิดอุบายที่จะไม่ให้อนุรุทธะบวช ดำริถึง พระเจ้าภัททิยะผู้เป็นพระสหายของอนุรุทธะ ท่านคงจะไม่ออกบวชเป็นแน่ จึงพูดว่า พ่ออนุรุทธะ ถ้าพระเจ้าภัททิยะบวชด้วยจงบวชเถิด อนุรุทธะได้ฟังอย่างนั้นแล้วก็ไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยะ ทูลตามวาทะของผู้ที่คุ้นเคยกันว่า เพื่อนเอ๋ย บรรพชาของเรา เนื่องด้วยบรรพชาของท่าน ในตอนแรก พระเจ้าภัททิยะ ทรงปฏิเสธไม่ยอมบวช ในที่สุดเมื่อทนการอ้อนวอนไม่ได้ก็ตกลงใจยินยอมบวชด้วย อนุรุทธะจึงชักชวนศากยกุมารอื่นได้อีก ๓ คน คือ อานันทะ,ภคุ,กิมพิละ โกลิยกุมาร อีกองค์หนึ่ง คือ เทวทัต รวมทั้งอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลาเป็น ๗ พร้อมใจกันเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่อนุปิยนิคม ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย เมื่ออนุรุทธะได้อุปสมบทแล้ว เรียนกรรมฐานในสำนักของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร แล้วเข้าไปอยู่ในป่าปาจีนวังสมฤคทายวัน

    เมื่อพระอนุรุทธะบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ได้ตรึกตรองถึงมหาปุริสวิตก ๗ ประการ คือ
    ๑. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความมักมาก
    ๒. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สันโดษยินดีด้วยของที่มีอยู่ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ
    ๓. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้สงัดแล้ว ไม่ใช่ของผู้ยินดีในหมู่คณะ
    ๔. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน
    ๕. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีสติมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีสติหลง
    ๖. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีใจมั่นคง ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่มั่นคง
    ๗. ธรรมนี้เป็นธรรมของผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้มีปัญญาทราม


    เมื่อพระอนุรุทธะตรึกอยู่อย่างนี้ พระบรมศาสดาเสด็จมาถึงทรงทราบเหตุนั้นจึงทรงอนุโมทนาว่า ชอบละ ๆ อนุรุทธะ เธอตรึกตรองธรรมที่พระมหาบุรุษตรึกตรอง ถ้าอย่างนั้น เธอจงตรึกตรองธรรมที่พระมหาบุรุษตรึกข้อที่ ๘ ว่า "ธรรมนี้ เป็นธรรมของผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ให้เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมเนิ่นช้า"

    ครั้นตรัสสอนอนุรุทธะอย่างนี้แล้วก็เสด็จกลับสู่ที่ประทับ ส่วนพระอนุรุทธะบำเพ็ญความเพียรต่อไปก็ได้บรรลุ เป็นพระอรหันต์ ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เล็งแลดูสัตว์โลกด้วยทิพยจักษุอยู่เสมอ เล่ากันว่ายกเว้นแต่เวลาฉันเท่านั้น เวลาที่เหลือท่านย่อมพิจารณาแลดูหมู่สัตว์ทั้งปวงด้วยทิพยจักษุ ด้วยเหตุนี้เอง พระผู้มีพระภาคจึงตรัสยกย่อง สรรเสริญท่านว่า เป็นผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลายฝ่ายข้างผู้มีทิพยจักษุญาณ ครั้นท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.

    *ทรัพย์ศฤงคาร : ทรัพย์ที่ทำให้คนได้รับ เกิดความรัก ความชอบใจ


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระอัสสชิเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระอัสสชิเป็นบุตรพราหมณ์มหาศาล ในกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อบิดาได้เห็นพระมหาบุรุษมีลักษณะถูกต้องตามตำราลักษณพยา กรณ์ศาสตร์ ในคราวที่ได้รับเชิญเลี้ยงโภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณ์ จึงได้บอกเล่าให้ท่านฟังและสั่งไว้ว่า บิดา ก็ชราแล้ว คงจะไม่ทันเห็นพระองค์ ถ้าพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชเมื่อใดให้ออกบวชตามเสด็จเมื่อนั้น ตั้งแต่นั้นมา ท่านมีความเลื่อมใสและเคารพนับถือในพระองค์มาก ในคราวที่พระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชและทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ ท่านได้ทราบข่าวคราวจึงพร้อมกับพราหมณ์อีก ๔ คนซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้า พากันออกบวชเป็นฤาษีตามเสด็จ คอย อุปัฏฐากพระองค์ทุกเช้าค่ำ ตลอดเวลาที่ที่ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยานานถึง ๖ ปี แต่พระองค์ไม่สามารถบรรลุธรรมพิเศษได้ จึง ทำให้พระองค์ทรงทราบว่ามิใช่หนทางแห่งการตรัสรู้เป็นแน่แท้ จึงทรงเลิกการบำเพ็ญทุกกรกิริยานั้นเสีย พระองค์ตั้งพระทัยว่า จะบำเพ็ญเพียรสืบไป แต่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คน มีความเข้าใจว่าพระองค์ทรงคลายจากความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมากใน กามคุณเสียแล้ว จึงคิดว่าพระองค์คงจะไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษอันใดอันหนึ่งแน่นอน จึงพร้อมกันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อพระองค์ทรงบำเพียรทางใจได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์ จึงเสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงแสดงปฐมเทศนา ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คน และได้ แสดงปกิณณกเทศนา เมื่อครบวาระที่ ๔ พระอัสสชิก็ได้ดวงตาเห็นธรรม


    พระอัสสชิเถระ ได้บรรพชาอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาชื่อว่า อานัตตลักขณสูตร จึงบรรลุเป็นพระอรหันต์

    ในคราวที่พระบรมศาสดาทรงส่งสาวกออกไปประกาศพระศาสนา ท่านก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนนั้นที่ช่วยประกาศพระศาสนาที่สำคัญเช่นกัน ท่านเป็นผู้ที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด รู้จักประมาณตน ไม่ชอบโอ้อวด หรือมีความเย่อหยิ่ง ตลอดถึงกิริยามารยาทเรียบร้อยน่าเลื่อมใส เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ในกรุงราชคฤห์ อุปติสสปริพาชกเดินทางมาจากสำนักของสัญชัยปริพาชก ได้พบท่านเข้าระหว่างทาง จึงเกิดความเลื่อมใสในจริยาวัตรของท่าน จึงขอให้ท่านแสดงธรรมให้ฟัง ท่านตอบว่า "ผู้มีอายุ เราเป็นคนใหม่บวชไม่นาน เพิ่งเข้ามายังพระธรรมวินัยนี้ ไม่อาจจะแสดงธรรมแก่ท่านโดยพิสดาร เราจักกล่าวแก่ท่านโดยย่อ พอรู้ความ " แล้วก็ได้แสดงธรรมแก่อุปติสสปริพาชกพอได้ความว่า "ธรรมเหล่าใดเกิกแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุของ ธรรมนั้นและความดับของธรรมนั้น พระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้"

    อุปติสสปริพาชก ได้ฟังเช่นนั้นจึงได้ดวงตาเห็นธรรม ท่านได้ชักนำไปเฝ้าพระบรมศาสดา ปรากฏว่าในกาลต่อมาอุปติสสปริพาชกได้บรรพชา อุปสมบทในพระพุทธศาสนา มีนามว่า "พระสารีบุตร" เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา ซึ่งจะเห็นได้ว่าพระอัสสชิเถระได้ศิษย์ ที่มีความสำคัญองค์หนึ่ง ท่านดำรงอายุสังขารพอสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระอัญญาโกณฑัญญเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลในบ้านพราหมณ์ ซึ่งไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ "โกณทัญญะ" เมื่อเจริญวัยแล้วได้เข้าศึกษาเล่าเรียน จบไตรเพทและรู้ลักษณะมนต์ คือ ตำราทายลักษณะ ในคราวที่พระมหาบุรุษประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดาได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาเลี้ยงโภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะตามพระราชประเพณี ได้คัดเลือก พราหมณ์ ๘ คน ในจำนวนพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ให้เป็นผู้ทำนายลักษณะของพระมหาบุรุษ ในขณะนั้น โกณฑัญญะ พราหมณ์ยังเป็นหนุ่ม ได้รับเชิญมาในงาน และท่านก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับเลือก โกณฑัญญะพราหมณ์เป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุด ในบรรดาที่ได้รับการคัดเลือก ทั้งหมด พราหมณ์ทั้ง ๗ คน เมื่อตรวจดูลักษณะของพระมหาบุรุษแล้วทำนายไว้เป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้

    ๑. ถ้าอยู่ครองฆราวาสจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
    ๒. ถ้าเสด็จออกทรงผนวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลก


    ส่วนโกณฑัญญพราหมณ์นั้นมีความแน่ใจว่า พระองค์จักเสด็จออก ทรงผนวชแน่นอน จึงทำนายไว้เป็นลักษณะเดียวว่า พระองค์จักเสด็จออกทรงผนวช และจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลกแน่แท้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โกณฑัญญพราหมณ์มีความตั้งใจว่า ถ้าพระองค์เสด็จออกทรงผนวชเมื่อไร ถ้าตนเองยังมีชีวิตอยู่จะออกบวชตามเมื่อนั้น ในเวลาต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จออกทรงผนวชแล้วและทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ (ทุกรกิริยา คือ การกระทำที่ทำได้ยากอย่างยิ่ง หรือที่เรียกว่า การทรมานตนเอง เช่น อดอาหาร) โกณฑัญญพราหมณ์ได้ทราบข่าวนั้น จึงชักชวนพราหมณ์ ๔ คน คือ ๑. วัปปะ ๒. ภัททิยะ ๓. มหานามะ ๔. อัสสชิ เรียกว่า "ปัญจวัคคีย์" พราหมณ์ทั้ง ๕ คน ได้ติดตามพระองค์เพื่อคอยปรนนิบัติทุกเช้าค่ำ ด้วยหวังว่าถ้าพระองค์ได้บรรลุธรรมใดแล้ว จักได้เทศนาสั่งสอนตนเอง ให้บรรลุธรรมนั้นบ้าง

    เมื่อพระองค์ ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างเต็มที่ประมาณ ๖ ปีแล้ว พระองค์ทรงสันนิษฐานว่ามิใช่หนทางแห่งการตรัสรู้ ทรงตั้ง พระทัยว่า จะทำความเพียรทางใจ จึงทรงเลิกการกระทำทุกรกิริยานั้นเสัย ส่วนปัญจวัคคีย์ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้าคิดว่า พระองค์ ทรงคลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้วจึงหมดความเลื่อมใส เกิดความเบื่อหน่าย พากันละทิ้งพระองค์ไปอยู่ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ทรงดำริหาคนที่จะรับพระธรรมเทศนา เป็นคนแรก อันดับแรกพระองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ ๒ ท่าน คือ
    ๑. อาฬารดาบส กาลามโคตร
    ๒. อุททกดาบส รามบุตร


    ซึ่งพระองค์ได้อาศัยศึกษา ลัทธิของท่าน แต่ท่านทั้งสองได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว ลำดับต่อมาทรงระลึกถึงพวกปัญจวัคคีย์ ที่เคยเฝ้าปฏิบัติอุปัฏฐากพระองค์มา ครั้นทรงดำริอย่างนี้ก็เสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ขณะเดียวกันพวกปัญจวัคคีย์ได้เห็น พระองค์เสด็จมาแต่ไกล คิดว่า พระองค์เสด็จมาแสวงหาคนอุปัฏฐาก จึงได้ตกลงกันว่าพระสมณโคดมนี้คลายจากความเพียร มาเป็นผู้มักมากเสียแล้วเสด็จมาที่นี่ พวกเราไม่พึงไหว้ ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับ และอย่ารับบาตร จีวร ของพระองค์เลย จะปูอาสนะ ที่นั่งไว้เท่านั้น ถ้าพระองค์ทรงมี ความประสงค์ก็จะประทับนั่งเอง

    ครั้นเมื่อ พระองค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว อาศัยความเคารพที่เคยมีต่อพระองค์มาก่อน ได้บรรดาลให้ลืมกติกานัดหมาย ที่ทำกัน ไว้ทั้งหมด พากันลุกขึ้นต้อนรับและทำสามีจิกรรมดังที่เคยปฏิบัติมา แต่ก็ยังมีการแสดงกิริยากระด้างกระเดื่อง สนทนากับพระองค์ ด้วยถ้อยคำไม่เคารพ พระองค์ตรัสบอกว่าเราได้ตรัสรู้ "อมฤตธรรม" ด้วยตัวของเราเอง (อมฤตธรรม หมายถึงธรรมที่ไม่สูญหาย อยู่คู่โลกตลอดไป) ขอให้ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังเถิด เราจักแสดงให้ฟัง เมื่อท่านทั้งหลาย ตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม ที่เรา สั่งสอนแล้ว อีกไม่ช้าจักได้บรรลุอมฤตธรรมนั้น พวกปัญจวัคคีย์ได้กล่าว คัดค้านถึงสองสามครั้งว่า พระองค์คลายจากความเพียรเสียแล้ว จักบรรลุอมฤตธรรมได้อย่างไร พระองค์จึงตรัสให้ระลึกถึงกาลหนหลังว่า ก่อนนี้เธอทั้งหลายได้ยินได้ฟังวาจาที่เราพูดมา เช่นนี้บ้างหรือ ไม่ พวกปัญจวัคคีย์ระลึกขึ้นได้ว่า พระวาจาเช่นนี้พระองค์ไม่เคยตรัสมาก่อนเลย จึงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา ที่พระองค์เทศนาสั่งสอน สืบต่อไป

    พระองค์ ได้ตรัสปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณแก่ปัญจวัคคีย์ ในเวลาจบลงแห่งพระธรรม เทศนา ธรรมจักษุได้เกิดขึ้นแก่โกณธัญญะ (ธรรมจักษุ หมายถึง โสดาปัตติมรรค) ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา" ท่านที่ได้บรรลุปัตติมรรคเรียกว่าพระโสดาบัน เมื่อพระองค์ทรงทราบว่า โกณธัญญะ ได้ดวงตาเห็น ธรรมแล้ว ทรงเปล่งพระอุทานว่า "อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ" แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ เพราะอาศัยคำว่า อญฺญาสิ ที่แปลว่า ได้รู้แล้ว คำว่า อัญญา จึงนำหน้าท่านโกณฑัญญะว่า อัญญาโกณฑัญญะ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    เมื่อท่าน อัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมจึงได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ ทรงอนุญาตให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาด้วยพระวาจาว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจง ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อถึงที่สุดทุกข์โดยชอบ" การอุปสมบทของอัญญาโกณฑัญญะก็สำเร็จด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้ เรียกการ อุปสมบทแบบนี้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" ซึ่งพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับการอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นองค์แรก

    ต่อจากนั้น พระองค์ก็ทรงเทศนาให้ปัญจวัคคีย์อีก ๔ คนได้ดวงตาเห็นธรรม และได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุด้วย วิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เช่นเดียวกัน ต่อจากนั้นพระองค์ได้เทศนาเกี่ยวกับหนทางแห่งการอบรมวิปัสนาวิมุตติ อันเป็นที่สุดแห่ง พรหมจรรย์ชื่อว่า "อานัตตลักขณสูตร" ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ปัญจวัคคีย์ก็หลุดพ้นจากกิเลสาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปทานสำเร็จเป็น พระอรหันต์ (อุปาทาน หมายถึง ความยึดมั่นในสิ่งต่าง ๆ ด้วยอำนาจกิเลศ)

    พระอัญญา โกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า "เป็นยอดกว่าภิกษุทั้งหลายผู้รัตัญญู" แปลว่าผู้รู้ราตรี หมายถึง ท่านเป็นผู้เก่าแก่ ได้รับการอุปสมบทก่อนภิกษุรูปอื่นทั้งหมดในพระพุทธศาสนา เป็นผู้รอบรู้เหตุการณ์ต่าง ๆมาแต่ต้น เป็นผู้มี ประสบการณ์มาก

    พระอัญญา โกณฑัญญะได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศศาสนา เมื่อถึงเวลาอันสมควรท่านได้ดับขันธปรินิพพาน ก่อนที่ พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระอานนทเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>เมื่อนับตามลำดับศากยวงศ์แล้ว ท่านก็เป็นอนุชาของพระบรมศาสดาเมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ที่อนุปิยนิคมแคว้นมัลละ ท่านได้ออกบวชพร้อมด้วยเจ้าศากยกุมารเหล่านี้ คือ ภัททิยะ,อนุรุทธะ,ภคุ,กิมพิละ โกลิยกุมาร อีกหนึ่งองค์ คือ เทวทัต รวมทั้งอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลาเป็น ๗ เมื่อพระอานนท์ได้อุปสมบทแล้ว ได้ฟังโอวาทของพระปุณณมันตานีบุตร จนได้บรรลุโสดาปัตติผล


    วันหนึ่ง พระบรมศาสดาตรัสขอให้สงฆ์เลือกหาภิกษุอุปัฏฐากพระองค์เป็นประจำ เพราะเมื่อก่อนแต่กาลนี้ ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากของพระองค์ไม่ได้กำหนดแน่นอน คงผลัดเปลี่ยนถวายการอุปัฏฐากกันไป เวลาที่ผลัดเปลี่ยนเมื่อยังไม่มีผู้รับต่อ ต้องเสด็จอยู่เพียงลำพังพระองค์เดียวได้ความลำบาก สงฆ์จึงเลือกพระอานนท์ถวาย แต่ก่อนที่ท่านจะรับเป็นพุทธอุปัฏฐาก ก็ได้ทูลขอพร ๘ ประการ คือ
    ๑. อย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๒. อย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
    ๓. อย่าโปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
    ๔. อย่าทรงพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
    ๕. จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับเขาไว้
    ๖. ให้ข้าพระองค์พาบริษัทซึ่งมาเฝ้าพระองค์แต่ที่ไกลเข้าเฝ้าในขณะที่มาได้ทันที
    ๗. ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้เข้าเฝ้าทูลถามได้เมื่อนั้น ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่มั่นคง
    ๘. ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาเรื่องใดในที่ลับหลังข้าพระองค์ ขอพระองค์มาตรัสบอกธรรมเทศนาเรื่องนั้น แก่ข้าพระองค์


    พระบรมศาสดาจึงตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ เธอเห็นคุณและโทษอย่างไรจึงได้ขออย่างนี้ พระอานนท์กราบทูลว่า ถ้าข้าพระองค์จักไม่ได้พร ๔ ข้อข้างต้นก็จะมีคนพูดครหานินทาได้ว่า พระอานนท์ได้ลาภอย่างนั้น ๆ จึงบำรุงพระบรมศาสดา การบำรุงอย่างนี้จะหนักหนาอะไร ถ้าข้าพระองค์จักไม่ได้พระ ๓ ข้อเบื้องปลาย คนทั้งหลายก็จะพูดได้ว่า พระอานนท์บำรุงพระบรมศาสดาทำอะไร เพราะพระองค์ไม่ทรงอนุเคราะห์แม้ด้วยกิจเพียงเท่านี้ ถ้าข้าพระองค์จักไม่ได้พรข้อสุดท้าย จักมีผู้ถามข้าพระองค์ในที่ลับหลังพระองค์ธรรมนี้พระองค์ทรงแสดงที่ไหน ถ้าข้าพระองค์บอกไม่ได้ พวกเขาก็จะพูดติเตียนได้ว่า ท่านไม่รู้แม้แต่เรื่องเพียงเท่านี้ ท่านไม่ละพระบรมศาสดาแล้วยังเที่ยวตามเสด็จอยู่ดุจเงาตามตัวสิ้นกาลนานเพราะเหตุไร

    ครั้นพระอานนท์กราบทูลคุณและโทษของพร ๘ ประการ อย่างนี้แล้วพระบรมศาสดาก็ทรงอนุญาตให้ตามที่ขอ ตั้งแต่นั้นมาพระอานนท์ก็อุปัฏฐากพระบรมศาสดาโดยเอื้อเฟื้อ และมีความจงรักภักดีในพระองค์เป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ชีวิตก็สามารถ สละแทนพระองค์ได้ พึงเห็นตัวอย่าง เมื่อครั้งพระเจ้าอชาตศัตรูปล่อยช้างนาฬาคีรีเพื่อให้ทำอันตรายแก่พระองค์ พระอานนท์ออกยืนขวางหน้าช้างนาฬาคีรีเพื่อมิให้ทำอันตรายแก่พระองค์

    เพระเหตุที่ท่านอยู่ในที่ใกล้ชิดพระบรมศาสดา ได้ฟังธรรมที่ทรงแสดงแก่ตนเอง และผู้อื่นมีสติทรงจำไว้ได้มากเอาธุระในการศึกษาเล่าเรียนสาธยายทรงจำไว้ได้มากเอาธุระในการศึกษาเล่าเรียนสาธยายทรงจำ จึงเป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรมมาก ดังนั้น พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องสรรเสริญว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ๕ อย่าง คือ เป็นพหูสูต,มีสติ,มีคติ,มีความเพียร, และเป็นพุทธอุปัฏฐาก และเพราะเหตุที่ท่านเป็นพหูสูต เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะทำสังคายนาพระธรรมวินัย สงฆ์ได้เลือกท่านให้เป็นผู้วิสัชนาในส่วนพระสุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก ท่านได้บรรลุพระอรหัตตผล ก่อนวันที่จะทำสังคายนา ๑ วัน คือ เมื่อท่านได้รับคำเตือนจากพระมหากัสสปเถระ ครั้นถึงเวลาเย็นก็อุตส่าห์บำเพ็ญสมณธรรม จนได้สำเร็จพระอรหัตตผลในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ ซึ่งจะจัดว่าเป็นท่ายืน,เดิน,นั่ง หรือนอนท่าใดท่าหนึ่งก็ไม่ได้ เพราะอยู่ในท่าที่กำลังจะล้มตัวลงนอน

    ต่อมาเมื่อท่านพิจารณาถึงอายุสังขารเห็นว่าสมควรจะนิพพานแล้วจึงไปสู่แม่น้ำโรหิณีซึ่งมีอยู่ในระหว่างศากยวงศ์ และโกลิยวงศ์ ครั้นท่านจะนิพพานได้เหาะขึ้นสู่อากาศแล้วแสดงธรรมสั่งสอนแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ในที่สุดแห่งเทศนาได้แสดงอิทธิปาฎิหาริย์หลายอย่างแล้วตั้งสัตย์อธิษฐานว่า เมื่อนิพพานแล้วขอให้ร่างกายจงแตกออกเป็น ๒ ส่วนแล้วตกลงข้างพระญาติศากยวงศ์ส่วนหนึ่ง ข้างพระญาติโกลิยวงศ์ ส่วนหนึ่งเพื่อจะป้องกันมิให้ชนทั้ง ๒ พวกเกิดวิวาทกัน เพระเหตุแห่งอัฐิ ครั้นอธิษฐานเสร็จแล้วก็นิพพาน* ณ เบื้องบนแห่งอากาศ ท่ามกลางแม่น้ำโรหิณี สรีระร่างกายของท่านก็แตกออกเป็น ๒ ส่วน แล้วตกมายังภาคพื้น สมดังที่ท่านได้อธิษฐานไว้ทุกประการ.

    * พระอานนทเถระ เมื่อพิจารณาตามประวัติแล้ว แปลกจากพระสาวกรูปอื่นโดยกิเลสนิพพานบ้าง ขันธปรินิพพานบ้าง พระสาวกรูปอื่นบรรลุ พระอรหัตและนิพพานในอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ยืน,เดิน,นั่ง,นอน อิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่ง ส่วนท่านพระอานนท์ บรรลุพระอรหัตในระหว่าอริยาบถ ๔ ชื่อว่าต่างจากพระสาวกรูปอื่นโดยขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระอุทยเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระอุทยะ เกิดในสกุลพราหมณ์ ในนครสาวัตถี เมื่อเจริญวัยแล้ว ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาในสำนักของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นต่อมาพราหมณ์พาวรี มีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศลออกจากตำแหน่งปุโรหิต เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ได้ออกบวชเป็นชฏิลประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์ ตั้งอาศรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี ที่พรมแดนแห่งเมืองอัสสกะ และอาฬกะต่อกัน เป็นคณาจารย์ใหญ่บอกไตรเพทแก่หมู่ศิษย์ อุทยมาณพพร้อมด้วยมาณพอื่นผู้เป็นศิษย์ ออกบวชติดตามไปศึกษาศิลปวิทยาอยู่ด้วย อุทยมาณพเป็นคนหนึ่งซึ่งอยู่ในจำนวนมาณพ ๑๖ คน ที่พราหมณ์พาวรีผูกปัญหาให้ไปทูลถามพระบรมศาสดา ซึ่งประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ


    อุทยมาณพได้ทูลขอโอกาสถามปัญหา ครั้นพระบรมศาสดาทรงอนุญาตแล้ว ได้ทูลถามปัญหาเป็นคนที่สิบสามว่า

    อุทยะ : ขอพระองค์จงแสดงธรรมเป็นเครื่องพ้น (จากกิเลส) ที่ควรรู้อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นเครื่องทำลายอวิชชา คือ ความเขลา ความไม่รู้แจ้งเสีย ?

    พระบรมศาสดา : เราเรียกธรรมเป็นเครื่องละความพอใจในกามและโทมนัสเสียทั้งสองอย่าง เป็นเครื่องบรรเทาความง่วงเป็นเครื่องห้ามความรำคาญ มีอุเบกขากับสติเป็นธรรมบริสุทธิ์ มีความตรึกในธรรมเป็นเบื้องหน้าว่า ธรรมเป็นเครื่องพ้น (จากกิเลส) ที่ควรรู้อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นเครื่องทำลายอวิชชา ความเขลา ไม่รู้แจ้งเสีย

    อุทยะ : โลกมีอะไรผูกพันไว้ อะไรเป็นเครื่องสัญจรของโลกนั้น ท่าน กล่าวว่า นิพพาน ๆ ดังนี้ เพราะละอะไรได้ ?

    พระบรมศาสดา : โลกมีความเพลิดเพลินผูกพันไว้ ความตรึกเป็นเครื่องสัญจรของโลกนั้น ท่านกล่าว่า นิพพาน ๆ ดังนี้ เพราะละตัณหาเสียได้

    อุทยะ : เมื่อบุคคลมีสติระลึกอย่างไรอยู่ วิญญาณจึงจะดับ ข้าพระองค์ทั้งหลายมาเฝ้าแล้ว เพื่อจะทูลถามพระองค์ ขอให้ได้ฟังพระวาจาของพระองค์เถิด ?

    พระบรมศาสดา : พระบรมศาสดาทรงพยากรณ์ว่า เมื่อบุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนาทั้งภายในภายนอก มีสติระลึกอยู่อย่างนี้ วิญญาณจึงจะดับ

    ครั้นพระบรมศาสดา ทรงแก้ปัญหาที่อุทยมาณพทูลถาม อย่างนี้แล้ว ในเวลาจบเทศนาปัญหาพยากรณ์ อุทยมาณพได้บรรลุพระอรหัตตผล เมื่อจบโสฬสปัญหาพยากรณ์แล้ว อุทยมาณพพร้อมด้วยมาณพสิบห้าคน ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ททรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา ท่านพระอุทยะดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระอุทายีเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระอุทายี มีชาติภูมิที่ไหน มารดาบิดาชื่ออะไร และเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาเมื่อไร ที่ไหน อยู่ในสำนักของใคร ยังไม่มีหลักฐานปรากฏชัด นอกจากเรื่องราวของท่านที่มีอยู่ในปกรณ์ต่าง ๆ ก็ กล่าวถึงเฉพาะเรื่องที่ท่านได้อุปสมบทแล้ว ซึ่งปรากฏอยู่ในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย หน้า ๒๐๔ มีเนื้อความว่า ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จประทับอยู่ที่โฆสิตาราม ในพระนครโกสัมพี


    ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีกำลังนั่งแสดงธรรมแก่บริษัทอยู่จำนวนมาก ซึ่งได้นั่งแวดล้อมท่านอยู่ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านแสดงธรรมอยู่เช่นนั้นจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นมิใช่เป็นเรื่องที่ทำได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นผู้แสดงธรรมจะต้องมีธรรมประจำใจ ๕ ประการ คือ
    ตั้งใจว่า เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ ๑
    เราจักแสดงธรรมชี้แจงอ้างเหตุผลให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ๑
    เราจักตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง ๑
    เราจักไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภสักการะ ๑
    และเราจักไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น ๑


    เรื่องนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่า ท่านพระอุทายีแสดงธรรมแก่พุทธบริษัทหมู่ใหญ่เช่นนั้น ท่านก็ต้องตั้งอยู่ในธรรมทั้ง ๕ ประการนั้นด้วย ธรรมเทศนาของท่านจึงเป็นที่ชอบใจของพุทธบริษัท นับได้ว่า ท่านเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดสามารถแสดงธรรมได้เป็นอย่างดี

    เมื่อท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยกาลอันสมควรแล้ว ก็ได้ดับขันธปรินิพพาน พระเถระที่มีชื่อลงท้ายว่าอุทายีนั้นมีหลายรูป คือ กาฬุทายี ๑ โลลุทายี ๑ มหาอุทายี ๑ ท่านพระอุทายี ก็คือ ท่านพระมหาอุทายีนั่นเอง แต่เมื่อดูที่มาเพียงในพระบาลีแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้สงสัย และเข้าใจได้ยาก เพราะศัพท์บาลี่ท่านวางไว้ว่า อายสฺมา อุทายิ แปลว่า ท่านพระอุทายี คำนี้หมายเอาพระอุทายีองค์อื่นก็มี เช่นในมหาวิภังค์ ตอนว่าด้วยสังฆาทิเสส ๕ สิกขาบทข้างต้นนั้น ท่านก็วางศัพท์บาลีไว้ว่า อายสฺมา อุทายิ แต่ในอรรถกถาท่านแก้เป็นพระโลลุทายี พระโลลุทายีและพระมหาอุทายีสององค์นี้ มีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้น่าสงสัยว่าจะเป็นองค์เดียวกัน ในอสีติมหาสาวกนิพพาน ท่านได้กล่าวถึงพระมหาสมณเจ้า ฯ ท่านจัดไว้ในพุทธานุพุทธประวัตินั้น ไม่ได้จัดท่านพระโลลุทายีเข้าด้วย ทรงจัดเอาพระมหาอุทายีเข้าไว้ในจำนวน ๘ องค์ เรื่องพระสาวกสององค์นี้ข้าพเจ้าได้ เคยสอบถามกับท่านผู้รู้มามากแล้ว แต่ก็ได้รับคำอธิบาย ที่ยังไม่น่าพอใจเท่าที่ควร ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยอยู่ นอกเสียจากจะได้ค้นพบประวัติเดิมของท่านทั้งสององค์เสียก่อน เรื่องนี้ ขอให้นักธรรมวินัยช่วยกันวิจารณ์ด้วย เพื่อให้ความกระจ่าง เมื่อท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยกาลอันสมควรแล้ว ก็ได้ดับขันธปรินิพพาน พระเถระที่มีชื่อลงท้ายว่าอุทายีนั้นมีหลายรูป คือ กาฬุทายี ๑ โลลุทายี ๑ มหาอุทายี ๑ ท่านพระอุทายี ก็คือ ท่านพระมหาอุทายีนั่นเอง แต่เมื่อดูที่มาเพียงในพระบาลีแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้สงสัย และเข้าใจได้ยาก เพราะศัพท์บาลี่ท่านวางไว้ว่า อายสฺมา อุทายิ แปลว่า ท่านพระอุทายี คำนี้หมายเอาพระอุทายีองค์อื่นก็มี เช่นในมหาวิภังค์ ตอนว่าด้วยสังฆาทิเสส ๕ สิกขาบทข้างต้นนั้น ท่านก็วางศัพท์บาลีไว้ว่า อายสฺมา อุทายิ แต่ในอรรถกถาท่านแก้เป็นพระโลลุทายี พระโลลุทายีและพระมหาอุทายีสององค์นี้ มีเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้น่าสงสัยว่าจะเป็นองค์เดียวกัน ในอสีติมหาสาวกนิพพาน ท่านได้กล่าวถึงพระมหาสมณเจ้า ฯ ท่านจัดไว้ในพุทธานุพุทธประวัตินั้น ไม่ได้จัดท่านพระโลลุทายีเข้าด้วย ทรงจัดเอาพระมหาอุทายีเข้าไว้ในจำนวน ๘ องค์ เรื่องพระสาวกสององค์นี้ข้าพเจ้าได้ เคยสอบถามกับท่านผู้รู้มามากแล้ว แต่ก็ได้รับคำอธิบาย ที่ยังไม่น่าพอใจเท่าที่ควร ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยอยู่ นอกเสียจากจะได้ค้นพบประวัติเดิมของท่านทั้งสององค์เสียก่อน เรื่องนี้ ขอให้นักธรรมวินัยช่วยกันวิจารณ์ด้วย เพื่อให้ความกระจ่างแจ้งแก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป.แจ้งแก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระอุบาลีเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระอุบาลีเป็นบุตรของนายช่างกัลบกในนครกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อว่า อุบาลี เมื่อเจริญเติบโตแล้ว เจ้าศากยวงศ์ทั้ง ๕ พระองค์ ทรงโปรดปรานมาก จึงได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นนายภูษามาลาประจำพระองค์


    ครั้นเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาโปรดพระประยูรญาติ ที่กรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ ไปประทับอยู่ที่อนุปิยนิคมอัมพวนารามของมัลลกษัตริย์ ครั้งนั้น ศากยกุมารทั้ง ๕ พระองค์ คือ ภัททิยะ, อนุรุทธะ, อานันทะ, ภคุ, และกิมพิละ รวมทั้งเทวทัต ซึ่งเป็นเจ้าในโกลิยวงศ์ เข้าด้วยเป็น ๖ เสด็จออกจากพระนครด้วยจาตุรงคเสนา เพื่อจะออกบวชในพระพุทธศาสนา อุบาลี ผู้เป็นนายภูษามาลาได้ติดตามออกไปด้วย พากันเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา ที่อนุปิยนิคม แคว้นมัลละ ทูลขออุปสมบท แต่ก่อนจะอุปสมบทพวกเจ้าศากยะเหล่านั้นทูลขอให้พระองค์บวชอุบาลีผู้เป็นนายภูษามาลาก่อน พระองค์ก็ได้โปรดให้อุบาลีบวชก่อน เมื่ออุบาลีอุปสมบทแล้วได้ฟังพระกรรมฐานที่พระบรมศาสดาทรงสั่งสอน

    ต่อมาท่านไม่ประมาทตั้งใจบำเพ็ญความเพียร ไม่ช้าไม่นานก็ได้ บรรลุพระอรหัตตผลเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา และท่านได้ศึกษาทรงจำระวินัยปิฎกแม่นยำชำนิชำนาญมาก เป็นผู้สามารถจะทำเรื่องราวอะไรซึ่งเกี่ยวด้วยพระวินัยได้เป็นอย่างดี ในข้อนี้พึงเห็นตัวอย่างที่ท่านได้รับพระพุทธานุญาตให้เป็นผู้วินิจฉันอธิกรณ์ ๓ เรื่อง คือ ภารตัจฉกวัตถุ,อัชชุกวัตถุ, และกุมารกัสสปวัตถุ ด้วยเหตุนี้ ท่านพระอุบาลีจึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงไว้ซึ่งพระวินัย

    เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะกระทำสังคายนา พระธรรมวินัย สงฆ์ได้เลือกท่านให้เป็นผู้วิสัชนาในส่วนพระวินัยปิฎก เพราะท่านเป็นผู้มีความสามารถในเรื่องนี้ดี ครั้นท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    พระอุปวาณเถระ
    <TABLE width=500 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ท่านพระอุปวาณะนั้น มีชาติภูมิเป็นมาอย่างไร เป็นบุตรใคร เกิดในตระกูลไหน เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาได้อย่างไร อยู่ในสำนักของใคร ที่ไหน ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอน เรื่องราวของท่านที่ปรากฏในปกรณ์ต่างๆ ก็กล่าวถึงแต่เพียงเรื่องที่ท่านได้อุปสมบทแล้วเท่านั้น เช่นเรืองที่ปรากฏอยู่ในสังยุตตนิกาย มหาวรรค หน้า ๙๕ มีข้อความว่า ท่านพระอุปวาณะได้นั่งสนทนาอยู่กับท่านพระสารีบุตร กล่าวถึง โพชฌงค์ ๗ ประการเนื้อความในเรื่องนั้นมีอยู่ว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะและพระสารีบุตร พำนักอยู่ที่โฆสิตาราม ในพระนครโกสัมพี ขณะนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรเที่ยวเดินอยู่ในโฆสิตารามตามอัธยาศัย แล้วได้เข้าไปหาพระอุปวาณะ นั่งสนทนาธรรมพอเป็นเครื่องร่าเริงใจแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถามพระอุปวาณะว่า ดูกรท่านอุปวาณะ ท่านรู้ไหมว่าโพชฌงค์ ๗ ประการ ที่บุคคลตั้งใจอบรมไว้ดีแล้ว ย่อมอำนวยผลให้อยู่เป็นสุข ท่านพระอุปวาณะตอบว่า กระผมรู้ ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวต่อไปอีกว่า ดูกรท่านอุปวาณะ เมื่อบุคคลมาปรารภโพชฌงค์ ๗ ประการ มีสติสัมโพชฌงค์เป็นต้น แต่ละอย่างๆย่อมรู้ว่าจิตเราพ้นดีแล้ว เราถอนถีนมิทธะได้เด็ดขาดแล้ว เราจะระงับอุทธัจจกุกกุจจะได้ดีด้วย เราตั้งใจ ทำความเพียร ทำใจไม่ให้หดหู่ได้แล้ว อย่างนี้จึงชื่อว่า อำนวยผลให้อยู่เป็นสุข


    หลังจากนั้นไม่นานท่านพระอุปวาณะก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ และท่านพระอุปวาณะนี้ได้เคยเป็นพุทธอุปัฏฐากของพระบรมศาสดา ซึ่งมีปรากฏในตอนใกล้เวลาพระบรมศาสดาจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือในขณะนั้น ท่านพระอุปวาณะยืนถวายงานพัดอยู่ ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระบรมศาสดา ถูกพระองค์รุกรานให้ถอยไปด้วยพระดำรัสว่า "อเปหิ ภิกขุ ดูกรภิกษุ เธอจงหลีกไป อย่ายืนอยู่ข้างหน้าเรา" ท่านพระอานนท์ได้เห็นแล้วจึงดำริว่าท่านพระอุปวาณะองค์นี้เป็นผู้อุปัฏฐากใกล้ชิดพระองค์มานานแล้ว เพราะเหตุไรหนอ พระองค์จึงทรงรุกรานให้หลีกออกไปเสีย เมื่อได้โอกาสแล้วจึงเข้าไปกราบทูลถาม จึงได้ทราบเนื้อความนั้นว่า เพราะเทพยดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุมาเพื่อจะเฝ้าพระศาสดา แต่ท่านพระอุปวาณะยืนบังเสีย พวกเทพยดาจึงพากันติเตียน พระองค์จึงให้เธอหลีกออกไปเสีย ที่ได้นำเรื่องนี้มากล่าวเพื่อให้รู้ว่า ท่านพระอุปวาณะก็เคยเป็นพระอุปัฏฐากองค์หนึ่งด้วยเหมือนกัน

    เมื่อท่านดำรงชนมายุสังขารอยู่โดยสมควรแก่กาลแล้ว ก็ได้ดับขันธปรินิพพาน ตามเรื่องที่กล่าวมานี้ เข้าใจว่าท่านคงจะนิพพานภายหลังแต่พุทธปรินิพพาน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...